ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: คำถามสำคัญกว่าคำตอบ  (อ่าน 910 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
คำถามสำคัญกว่าคำตอบ
« เมื่อ: มกราคม 07, 2021, 06:03:03 am »
0



คำถามสำคัญกว่าคำตอบ

วิทยาศาสตร์ให้ความสำคัญกับการตั้งคำถาม เพราะคำถามเปิดมุมมองได้หลากหลายมากกว่าการให้คำตอบสำหรับเรื่องราวหนึ่งๆ การค้นพบดาวพลูโตเป็นตัวอย่างคลาสสิกของการตั้งคำถาม

หอเอนเมืองปิซ่านอกจากโด่งดังในฐานะสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ยังถูกพาดพิงในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการทดลองของกาลิเลโอ ด้วยการปล่อยวัตถุน้ำหนักต่างกันลงสู่พื้นดิน การทดลองนี้เกิดขึ้นจริงหรือเป็นการคิดคำนึงยังเป็นที่ถกเถียง แต่ที่เป็นข้อยุติคือ การทดลองนี้หักล้างความเชื่อของอริสโตเติล นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งกรีกที่กล่าวไว้ว่า ความเร็วของวัตถุน้ำหนักต่างกันย่อมต่างกันเมื่อปล่อยลงสู่พื้นดิน

การทดลองของกาลิเลโอเป็นตัวอย่างของค่านิยมและวิธีคิดในวงการวิทยาศาสตร์ที่เชื่อในการพิสูจน์ด้วยข้อเท็จจริง ทฤษฎีหรือหลักการใดๆ จะยืนหยัดอยู่ได้ต้องคงทนต่อการทดสอบหรือตรวจสอบซ้ำแล้วซ้ำอีก ในยุคของกาลิเลโอและก่อนหน้านั้น นักวิทยาศาสตร์ที่แสดงออกอย่างโจ่งแจ้งว่าเห็นต่างจากคำสอนของศาสนจักรโรมันคาทอลิกมักประสบชะตากรรมอันน่าเศร้าทำนองเดียวกับกาลิเลโอ


@@@@@@@

ปัจจุบันวิทยาศาสตร์คือค่านิยมและความคิดกระแสหลักของโลกก็จริง แต่ค่านิยมและความคิดแบบศาสนจักรโรมันคาทอลิกไม่ได้หายไปไหน (เข้าข่ายสำนวน "เชื่อผู้ใหญ่หมาไม่กัด") ดูอย่างข้อสอบและคำเฉลยในสถาบันการศึกษาทั้งหลายของไทยทุกระดับ ก็จะพบเห็นเป็นตัวอย่างดาษดื่น ในครอบครัวก็ยังมีพ่อแม่ผู้ปกครองอีกมากปฏิบัติต่อลูกหลานไม่ต่างจากท่าทีของศาสนจักรโรมันคาทอลิกในยุคนั้นปฏิบัติต่อกาลิเลโอ แม้แต่ในวงการวิทยาศาสตร์เองก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น

ครั้งหนึ่งในการประชุมวิชาการขององค์การอนามัยโลกเมื่อค.ศ. 1955 นักวิทยาศาสตร์หนุ่ม (Ancel Keys) เล่าผลวิจัยจากการติดตามชายอายุ 45-55 ปีเกือบสามร้อยคนอยู่สิบปี พบว่าคนที่มีระดับโคเลสเตอรอลเมื่อตั้งต้นสูง 260 มกต่อดล.ขึ้นไป มีโอกาสตายเพราะโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันมากกว่าคนที่มีตัวเลขนี้ต่ำกว่า 200 มกต่อดล.

ความที่ข้อค้นพบนี้เป็นผลงานวิทยาศาสตร์ครั้งแรกในโลกในยุคที่คำว่า “ปัจจัยเสี่ยง” ไม่มีที่ยืน นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากจึงไม่ยอมรับ ในจำนวนนั้นรวมเจ้าพ่อของวงการวิชาการโรคหัวใจผู้หนึ่งด้วย เลยเกิดคำถามเชิงเย้ยหยันทำนองว่า ข้อค้นพบของ Keys ไม่มีน้ำหนักพอให้เชื่อถือได้



แต่ Keys ไม่ยอมแพ้ 15ปีต่อมาเขาตีพิมพ์ผลงานอีกชิ้นหนึ่งที่ให้ข้อสรุปคล้ายเดิมแต่ได้จากการติดตามผู้ชายวัยกลางคน 12,000 กว่า คนใน 7 ประเทศ (สหรัฐอเมริกา ยุโรปและญี่ปุ่น) ผลงานชิ้นนี้ทำให้สมาคมแพทย์โรคหัวใจของสหรัฐฯ เชื่อถือถึงขั้นรณรงค์ลดการบริโภคอาหารไขมันสูงอย่างจริงจังในเวลาต่อมา

วิทยาศาสตร์ให้ความสำคัญกับการตั้งคำถาม เพราะคำถามเปิดมุมมองได้หลากหลายมากกว่าการให้คำตอบสำหรับเรื่องราวหนึ่งๆ การค้นพบดาวพลูโตเป็นตัวอย่างคลาสสิกของการตั้งคำถาม

ก่อนที่จะค้นพบดาวเคราะห์ดวงสุดท้ายในระบบสุริยะจักรวาลดวงนี้ นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์มีคำถามว่า ทำไมวิถีโคจรของดาวเนปจูนและยูเรนัสจึงไม่เป็นไปตามทฤษฏี เป็นไปได้ไหมว่า น่าจะมีดาวเคราะห์ที่ยังไม่มีใครพบอยู่ไกลออกไปและมีอิทธิพลต่อวิถีโคจรของดาวเคราะห์สองดวงนี้ ...คำถามนี้สำคัญถึงขั้นบันดาลให้มีความพยายามค้นหาดาวเคราะห์ดวงใหม่ดังกล่าวยาวนานถึงห้าสิบปีจนในที่สุดค้นพบพลูโต




คอลัมน์ : เวทีชวนคิด โดย : ชวนคิด
ขอบคุณภาพจาก : Wikipedia , Pixabay
ขอบคุณ : https://www.dailynews.co.th/article/789304
อาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม 2563 เวลา 09.00 น.
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ