ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระพุทธราชานฤมิตมิ่งมงคล มหามงคลแห่งชีวิต นิรมิตความรุ่งเรืองสู่ตระกูล  (อ่าน 832 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29319
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระพุทธราชานฤมิตมิ่งมงคล มหามงคลแห่งชีวิต นิรมิตความรุ่งเรืองสู่ตระกูล

สวัสดีครับ ในสัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้กล่าวถึงผลงานประติมากรรม  “พระพุทธญาณมุนีอู่ทองสุวรรณภูมิ”  วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง เป็นพระพุทธรูปศิลปะอู่ทองยุคกลาง ที่ถือกำเนิดขึ้น ณ ดินแดนทุ่งโพธิ์ทอง อันเป็นที่ตั้งของวัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง ในปัจจุบัน ถือเป็นดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์และอุดมสมบูรณ์เป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำ จึงเป็นที่มาแห่งพระนามพระพุทธญาณมุนีอู่ทองสุวรรณภูมิ ถือเป็นสุดยอดแห่งความเป็นสิริมงคลเมื่อได้มีไว้บูชาและยังถือเป็นพระประจำตระกูล เพื่อความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลและเป็นมรดกสืบทอดไปยังลูกหลานในภายหน้า

สำหรับในสัปดาห์นี้ผมจะต้องขอหยิบยกเรื่องเก่ามานำเสนอกันอีกครั้งเนื่องจากถือเป็นผลงานประติมากรรมที่อยู่ในชุดเดียวกันนั่นคือ  “พระพุทธราชานฤมิตมิ่งมงคล” หนึ่งใน “พระพุทธรูปชุดสุดยอดมหาไตรภาคี” พระพุทธรูปองค์นี้เกิดขึ้นจากความศรัทธาและปฏิปทาอันแรงกล้าที่มีต่อพระพุทธศาสนาในอันที่จะสร้างพระพุทธรูปขนาดบูชาที่มีความงดงามเป็นที่สุดในแต่ละยุคสมัย

ซึ่งประกอบไปด้วยพระพุทธสิงหอินทราชาบดีหรือพระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์หนึ่งซึ่งถือเป็นที่สุดในความงามของพระพุทธรูปในแบบศิลปะล้านนา และพระพุทธราชานฤมิตมิ่งมงคลเป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่ถือเป็นพระพุทธรูปที่มีความงดงามอ่อนช้อยโดดเด่นเป็นที่กล่าวขานและรู้จักกันดีในบรรดานักสะสมพระพุทธรูปทั้งหลาย

สำหรับพระพุทธญาณมุนีอู่ทองสุวรรณภูมิ พระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง ที่ได้รับการกล่าวขานถึงความงดงามในพุทธลักษณะที่ดูเข้มขลัง ก่อให้เกิดสติและความมั่นคงในอารมณ์ พระพุทธรูปทั้งสามองค์นี้ถือเป็นสุดยอดแห่งงานศิลปะพระพุทธรูปยุคคลาสสิกทั้งสามสมัย



ในปีพุทธศักราช 1843 พระยาเลอไทพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงสุโขทัยในครั้งนั้นได้ทรงเสด็จประพาสทางชลมารพร้อมกับเหล่าข้าราชบริพาร เพื่อไปยังวัดเขาสมอคอนแห่งเมืองละโว้หลังจากเสร็จภารกิจแล้วจึงได้เสด็จกลับไปยังกรุงสุโขทัยระหว่างทางขบวนเรือพระที่นั่งได้ล่องเข้าสู่ลำน้ำในเขตหมู่บ้านบางพลับ (ตำบลอินทประมูล ในปัจจุบัน) ซึ่งขณะนั้นใกล้เวลาพลบค่ำจึงไม่เหมาะกับการเดินทาง ท่านจึงทรงสั่งให้ประทับแรม ณ บริเวณริมน้ำ ในคืนนั้นเองพระองค์ทรงพระสุบินนิมิตว่า ทรงเห็น ดวงแก้วสุกสว่างไสวลอยขึ้นเหนือที่บรรทมของพระองค์ไปยังทิศตะวันออก

เมื่อทรงตื่นจากบรรทมจึงทรงให้ปุโรหิตทำนายพระสุบินนิมิต ปุโรหิตได้กราบบังคมทูลว่า พระสุบินนิมิตนี้ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี อันดวงแก้วสุกสว่างที่เห็นในฝันนั้น อาจเป็นพระบรมธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จแสดงปาฏิหาริย์ให้พระเจ้าแผ่นดินได้ทรงทราบความว่าพระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองในสมัยแห่งพระองค์ จึงสมควรจะสร้างพระพุทธรูปไว้เป็นอนุสรณ์ว่า ครั้งหนึ่งพระองค์ได้เคยเสด็จมาประทับค้างแรมยังสถานที่แห่งนี้

พระองค์จึงทรงมีดำริให้สร้าง พระพุทธไสยาสน์ แบบก่ออิฐถือปูนขึ้นและทรงมีพระมหากรุณาโปรดให้ชาวบ้านได้มีส่วนร่วมในมหากุศลครั้งนี้ด้วย โดยใช้เวลาในการจัดสร้างทั้งสิ้น 6 เดือนจึงแล้วเสร็จและพระราชทานพระนามว่า “พระพุทธไสยาสน์ลือไทนฤมิต”

ต่อมาในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา ได้พระราชทานพระนามใหม่เป็น “พระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูล” เพื่อเป็นที่ระลึกถึงขุนอินทประมูล นายอากรผู้บูรณะพระนอนองค์นี้ด้วยดวงจิตแห่งศรัทธาอันแรงกล้าเป็นที่เลื่องลือในรัชสมัยของพระองค์ ดังนั้นสถานที่แห่งนี้จึงถือเป็นดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่มาแห่งพระนาม “พระพุทธราชานฤมิตมิ่งมงคล” 

@@@@@@@

ดังนั้นเพื่อเป็นการระลึกถึงเหตุการณ์ในครั้งอดีตอันเป็นจุดเริ่มต้นของวัดขุนอินทประมูลแห่งนี้ คณะกรรมการวัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง จึงได้มอบหมายให้  อ.ธนทัศน์ ทองเนียม  เป็นประธานดำเนินงาน มี  ดร.ทรงพล เขมะบุลกุล  เป็นที่ปรึกษาในโครงการในการจัดสร้างพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยแท้ๆ ที่มีความงดงาม ประณีต วิจิตรบรรจง ขึ้นมาใหม่

เพื่อมอบให้แด่ผู้มีจิตศรัทธาในการร่วมสร้างที่พักสถานปฏิบัติธรรมและศาลาอเนกประสงค์ภายในวัดขุนอินทประมูล รวมทั้งเพื่อมีไว้เป็นเครื่องเจริญพุทธานุสติและสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา เพื่อฝากไว้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของคนไทยสืบไป

พระพุทธราชานฤมิตมิ่งมงคลจัดสร้างเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่ ที่มีความงดงามตรงตามพุทธลักษณะทุกประการ มีพระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม ไม่มีไรพระศก พระองค์ค่อนข้างอ่อนช้อยงามสง่า มีจีวรบางๆ แนบติดพระวรกาย ครองจีวรห่มเฉียง เปิดพระอังสาขวามีชายสังฆาฏิพับพาดอยู่เหนือพระอังสาซ้าย ห้อยลงมาด้านหน้าจรดพระนาภี พระรัศมีเป็นรูปเปลวต่อขึ้นไปจากพระเกศมาลา อันเชื่อว่าเป็นรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะลังกา นิ้วพระหัตถ์เป็นแบบธรรมชาติ คือปลายนิ้วพระหัตถ์ไม่เสมอกัน

พระพุทธราชานฤมิตมิ่งมงคล เหมาะสำหรับมีไว้บูชาเป็นพระประจำตระกูล เพื่อเป็นเครื่องเจริญพุทธานุสติและมรดกสืบต่อไปยังลูกหลานสืบไป



พระพุทธราชานฤมิตมิ่งมงคล

ผู้ออกแบบแนวคิดและรังสรรค์ผลงาน : ARTMULET
ออกแบบและปั้นโดยประติมากร : อ.สุชาติ แซ่จิว
หล่อด้วยโลหะบรอนซ์ออสเตรเลีย (สำริด)
โรงหล่อ : เอเชียไฟน์อาร์ต
พิธีบวงสรวงเทวาภิเษกและพุทธาภิเษก : วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง

จัดสร้าง 2 ขนาดดังนี้
1.ขนาดหน้าตักกว้าง 9 นิ้ว องค์กับฐานแยกได้
ขนาดองค์พระสูง 13 นิ้ว ฐานชั้นล่างถึงปลายพระเกศ สูง 18 นิ้ว
ฐานกว้าง 12.5 นิ้ว ฐานลึก 8.5 นิ้ว ฐานสูง 5.2 นิ้ว
สั่งจององค์ละ  26,900.- ถึง 29,900.- (ปิดจองแล้ว)

2.ขนาดหน้าตักกว้าง 5.9 นิ้ว องค์กับฐานแยกได้
ขนาดองค์พระสูง 8.5 นิ้ว ฐานชั้นล่างถึงปลายพระเกศ สูง 11.8 นิ้ว
ฐานกว้าง 8.2 นิ้ว ฐานลึก 5.6 นิ้ว ฐานสูง 3.4 นิ้ว
สั่งจององค์ละ  13,900.- ถึง 15,900.- 

ครั้งนี้เปิดให้จองขนาดหน้าตัก 5.9 นิ้วเท่านั้น และมีทั้งหมด 3 สี จัดสร้างสีละ 399 องค์ คือ สีทองน้ำผึ้ง,
สีทองบรอนซ์ด้าน, สีน้ำตาลดำ (ขนาดหน้าตัก 9 นิ้ว ปิดรับจองทุกรายการแล้วครับ)

ค่าจัดส่งขนาด 5.9 นิ้ว 200 บาท ต่อ 1 องค์
กรณีรับที่วัดขุนอินทประมูลจ.อ่างทอง ไม่มีค่าส่ง

รายการจองในครั้งนี้มีกำหนดประมาณการจัดส่งปลายเดือนธันวาคม 2564 เป็นต้นไป หลังผ่านพิธีบวงสรวงเทวาภิเษกและพิธีมหาพุทธาภิเษกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

สำหรับท่านที่สนใจต้องการสั่งจองหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่
Facebook Inbox : artmulet
Facebook Inbox : artmulet official
Line Id : @artmulet
เว็บไซต์ : www.artmulet.com
และที่วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง T. 0925577511 
รายได้ร่วมจัดสร้างที่พักสำหรับผู้มาปฏิบัติธรรมและศาลาอเนกประสงค์ วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง




ขอขอบคุณ :-
คอลัมน์ ศิลปะแห่งศรัทธา โดย ARTMULET
web : https://mgronline.com/daily/detail/9640000092425
เผยแพร่ : 17 ก.ย. 2564 17:53 ,ปรับปรุง : 17 ก.ย. 2564 17:53 , โดย : ผู้จัดการออนไลน์
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ