ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: รอยประวัติ "สมเด็จโต" จากวัตถุพยานที่ปรากฏ  (อ่าน 6681 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28595
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
พระราชประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

            เพื่อการศึกษา ประวัติ และผลงานของสมเด็จพระพ่อเจ้าโต พรหมรังสี ทาง Web Site  somdejto.com  ตระหนักในความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  จึงขอจัดให้สมาชิก Web และผู้เข้าเยี่ยมชมได้ศึกษา ประวัติและผลงาน จากหลักฐาน แผ่นจารึก ทองคำ, เงิน, ทองเหลือง, ดีบุก, พระแผ่น, พระเครื่องชนิดผง, พระแผ่นหิน และแม่พิมพ์พระประเภทต่างๆ จำนวน ๓,๐๐๐ กว่าแม่พิมพ์ พอเป็นสังเขป (ไม่ใช่เขาเล่า หรือ ท่านเล่ามา) ดังต่อไปนี้ :-

                เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๑๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๓๑ เป็นวันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ ปีวอก เวลา ๗ โมงเช้าตรง ประชาชนชาวพุทธและคนของเมืองสยาม ได้รองรับพระมหาบารมี ของพระมหาโพธิสัตว์เจ้า     ผู้ยิ่งใหญ่  “ศรีอริยเมตตรัยเจ้า”  โดยไม่มีใคร ท่านผู้ใดได้รับรู้ หรือคาดคิดมาก่อนว่า พระมหาโพธิสัตว์เจ้าฯ พระองค์นี้ จะมาอุบัติขึ้นเพื่องานพระพุทธศาสนา ในประเทศสยามในขณะนั้น และทรงพระนามว่า โต
 
                จากวันนั้น ถึงวันนี้ เป็น  ระยะเวลา ๒๒๒ ปี พระนามของพระองค์ ยังโด่งดังกึกก้องอุโฆษ (เสมือนพระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่)  ...เป็นเพราะลูกหลาน-บริวาร ทั่วทุกหนทุกแห่ง ทั้งในประเทศสยามและ ทั่วทุกมุมของโลก... ยังคงเรียกหา กราบไหว้ วิงวอนขอพร ขอบารมีจากพระองค์ ตลอดเวลา ทั้งเช้า-สาย-บ่าย-ค่ำ-ดึกดื่น ตลอดจนรุ่งแจ้ง ซึ่งพระนามของพระองค์ ตั้งมั่นอยู่มิได้จางหายไปจากใจ... ของลูกหลาน-บริวารเลยแม้แต่น้อย... เพราะพระองค์ประทานพรให้ได้จริง ขจัดทุกข์ให้ได้จริง... นั่นเอง...

                พระมารดาเป็นสามัญชน ผู้เพียบพร้อมไปด้วย เบญจกัลยาณี ทรงพระนามว่า “เกสรคำ” ประกอบอาชีพ ทำไร่ ทำนา ในท้องทุ่ง ณ เมืองกำแพงเพชร พระบิดานั้น ทรงเป็นทหารหาญ ผู้แกร่งกล้า ในตระกูลกษัตริย์ ทรงเป็นผู้มีสติปัญญาอันปราดเปรื่อง ทรงปรีชาสามารถเด็ดเดี่ยวและเด็ดขาด ในการทำศึกสงคราม และในที่สุดได้เถลิงถวัลย์ราชสมบัติ เป็น “รัชกาลที่ ๒”  (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)

                สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ทรงเป็นพระภิกษุสงฆ์ที่ไม่ธรรมดา ผู้ที่สนใจศึกษาพระราชประวัติ และผลงานของพระองค์ท่าน ต้องทำใจให้กว้าง และใช้ปัญญาให้มาก เพื่อที่จะเปิดสมอง รับข้อมูลต่างๆ ที่เป็นหลักฐานที่ชัดเจน และ นำมาวิเคราะห์พิจารณาเพื่อหาข้อสรุปด้วยตัวเองแล้วจึงค่อยเชื่อ สำหรับข้าพเจ้า ได้สวดมนต์ไหว้พระ ทำสมาธิมากว่า ๓๖ ปี ได้วิเคราะห์จากหลักฐานจำนวนมาก (ไม่ใช่เขาเล่า) ได้พิจารณาอย่างละเอียดชัดเจนแล้ว ขอสรุปว่า

 “... สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ประสูติมาเพื่อการพระศาสนาอย่างแท้จริง และทรงเป็นพระภิกษุสงฆ์ที่ไม่ธรรมดา... ” ทรงได้ฌาน ๔ อภิญญา ๖ สมาบัติ ๘ ได้ โสฬสญาณ ขั้นสัมภิทาญาณ สามารถเหาะเหิรเดินอากาศได้ จุดเทียนเดินลงในน้ำได้ โดยจีวรไม่เปียก และเทียนไม่ดับ (เมื่อขึ้นมาจากน้ำ) สำเร็จ วิชา   “ เทียนระเบิดน้ำ ” ทรงปลุกเสกพระและวัตถุมงคลที่ใจกลางทะเล หรือทรงเรียกว่า“ สะดือทะเล ” และ “ ลอยตัวในอากาศ ” (เอาศีรษะลง)

ทรงล่วงรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าเป็นระยะเวลาร้อยๆ ปี ได้อย่างแม่นยำ ด้วยอานาคตังสญาณ ทรงสร้างวัตถุมงคลเอาไว้หลากหลายรูปแบบ พระอิริยาบถ นั่ง ยืน เดิน นอน ทั้งพระเครื่อง พระพุทธรูป ปางต่างๆ พระรูปเหมือน เหรียญ พระศาสตราวุธ เทวรูป พระบรมรูปบูรพกษัตราธิราช สิ่งของเบ็ดเตล็ดต่างๆ อีกมากมาย ล้วนสวยงามวิจิตรบรรจง ฝีมือการสร้างประณีต ละเอียดลออ สวยงาม ทั้งรูปลักษณ์และลวดลาย เสด็จธุดงค์ที่ไหน ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ก็สร้างวัตถุมงคลเอาไว้ที่นั่น

โดยทรงมีเป้าหมายชัดเจน สร้างเพื่อท่านผู้ใด สร้างเพื่อใคร ที่ไหน สร้างอย่างไร  ปลุกเสกอย่างไร กี่ครั้ง กี่หน จำนวนเท่าไหร่  ใช้อิทธิวัตถุมงคลอะไรบ้าง บรรจุไว้ที่ไหน จำนวนเท่าไหร่ ถวายท่านผู้ใด จำนวนเท่าไหร่ มอบให้ผู้ใด จำนวนเท่าไหร่ ทรงบันทึกไว้อย่างละเอียดน่าศึกษายิ่ง...

ในการสร้างวัตถุมงคลเหล่านั้น พระองค์ท่านมีเป้าหมายอย่างแท้จริงว่า ต้องการสร้างพระให้เป็นเครื่องผูกใจมนุษย์ ให้ทำดีละชั่ว ไม่ได้มุ่งให้มนุษย์ติดอยู่ในวัตถุ ให้มุ่งสวดมนต์ไหว้พระปฏิบัติธรรม ตามมรรค ๘ ซึ่งทรงบันทึกไว้ในแผ่นจารึก (ถ้ำ ๑๒ คูหา)

นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญยิ่งต่อพุทธศาสนิกชน คือ “ พระคาถาชินบัญชร ” ที่ทรงดัดแปลงจากภาษาสิงหล มาเป็นภาษามคธ-บาลี และทรงแปลเป็นภาษาไทย ทำให้ผู้ที่นำไปสวดท่องภาวนา จำได้ง่ายสะดวกขึ้น อีกทั้งยังเข้าใจความหมายของพระคาถาด้วย

พระปางกำแพงศอก ทรงจารพระคาถาชินบัญชร ภาษาไทยไว้ด้านหลัง
สร้างที่วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร เมื่อ ร.ศ.๘๐ (พ.ศ.๒๔๐๕)

ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ท่าน ได้ทรงกระทำภารกิจต่างๆ เพื่อการเจริญพระศาสนา (ตามหลักฐานที่พบในขณะนี้) จวบจนกระทั่งวาระสุดท้าย ของพระชนม์ชีพ

            สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ทรงละกายเนื้อเมื่อเช้าตรู่ เวลา ๐๖.๐๐ น.  ในวันอาทิตย์ที่ ๑๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๑๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย สิริพระชนมายุรวมได้ ๘๔ พรรษา กับ ๒ เดือนเศษ  ทรงเป็นพระภิกษุสงฆ์ ๕ แผ่นดิน (ทรงประสูติ และบรรพชาเป็นสามเณรในรัชสมัยของรัชกาลที่ ๑ ทรงละกายเนื้อ ในรัชสมัย รัชกาลที่ ๕) ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ องค์ที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


๑.พระชนมายุ ๕ พรรษา ทรงบรรพชาเป็นสามเณร

ท่านกินอุทัย ไก่ป่า

แผ่นจารึก สร้างที่วัดพลับ(วัดราชสิทธาราม)ธนบุรี
โดย สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน เมื่อ ร.ศ.๗๐ (พ.ศ.๒๓๓๒)
                 
               
          จากแผ่นจารึก ท่านกินอุทัย พญาไก่เถื่อน บันทึก และสร้างโดย สมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน มีใจความว่า “ ไก่ตัวนี้ สุก ไก่เถื่อน เป็นผู้สร้าง ประสมทอง เงิน นาน (นาก) ปลุกเสก ๓ พรรษา พ.ศ. ๒๓๓๒ พอ พ.ศ. ๒๓๓๕ หัวโต วัดระฆังก็ขอไปเลี้ยง ”

          ซึ่งเป็นการยืนยันอย่างชัดแจ้งว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี (หัวโต) ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร เมื่อพระชนมายุ ๕ พรรษา โดยมีสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน เป็นพระอุปัชฌาย์  (ไม่ใช่พระชนมายุ ๑๒ พรรษา ดั่งที่ทราบกัน)


๒.พระชนมายุ ๗ พรรษา ทรงเริ่มเสด็จออกธุดงค์

         เมื่อพระชนมายุ ๗ พรรษา ทรงธุดงค์ไปยัง ถ้ำอิสีคูหาสวรรค์ เมืองกำแพงเพชร และทรงพบพระคาถาชินบัญชร เขียนเป็นภาษาสิงหล บนใบลานเก่าที่ชำรุดมาก ทรงนำกลับมาเรียบเรียงเป็นภาษามคธ-บาลี เพื่อให้อ่านง่ายและเข้าใจ และได้แปลความหมายของพระคาถาอันศักดิ์สิทธิ์ มาเป็นร้อยแก้ว เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญและอานุภาพของพระคาถา ที่มีค่าท่วมหลังช้าง   สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้    ๑๐๘    ประการ  ด้วยการสวดท่อง และอธิษฐาน ให้ขจัดทุกข์ บำรุงสุขได้อย่างมหัศจรรย์   ผู้สวดท่องจะทราบทุกคน เพราะเป็น  ปัจจัตตัง และเป็นสมบัติตกทอดมาจนถึงทุกวันนี้

                ตลอดพระชนม์ชีพของ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ทรงเสด็จธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อทรงมุ่งหวังในการเจริญพระศาสนา และโปรดลูกหลาน-บริวาร ให้พ้นจากกองทุกข์ ขจัดโรคภัยไข้เจ็บ ด้วยดวงจิตที่สะอาดบริสุทธิ์  อีกทั้งทรงสร้างวัตถุมงคล ต่างๆไว้ มากมาย ในช่วงระยะเวลาต่างๆ กัน เช่น

ในประเทศ         
    - วัดไตรคลองข่อย จ. ราชบุรี
    - ถ้ำ ๑๒ คูหา, ถ้ำป่ายางโดน, ถ้ำขุนแผน, ถ้ำดาวดึงส์, ถ้ำพระธาตุ ฯลฯ จ. กาญจนบุรี
    - เมืองลับแล จ. อุตรดิษถ์
    - เมืองศรีสัชนาลัย จ. สุโขทัย 
    - ฯลฯ
ต่างประเทศ       
- ประเทศอินเดีย สร้างพระเชียงแสน, โปรดเจ้าชายตาบอด
- วัดเส้าหลิน, เมืองเทียนฟง ประเทศจีน ทรงสร้างวัตถุมงคลเป็นพระแผ่น
ทรงจารึก เป็นภาษาจีน และภาษาไทย สร้างกระโถนลายคราม เครื่องกังไส เป็นต้น
- ประเทศพม่า สร้างพระแผ่นเป็นรูปนางฟ้าไม่มีหน้าตา, โปรดยาเล่บ้านด่าน
- ประเทศลาว  สร้างพระรูปเหมือน รัชกาลที่ ๑ และพระรูปเหมือนนั่งโต๊ะ
- ประเทศเขมร  สร้างพระรูปเหมือน รัชกาลที่ ๒

         
๓.พระชนมายุ ๙ พรรษา พระอัจฉริยภาพในการเทศนา

           ทรงมุ่งมั่นศึกษาค้นคว้าทางด้านปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ จึงทำให้ทรงแตกฉานและเพลิดเพลินในพระธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างรวดเร็ว และลึกซึ้งมาก จดจำได้แม่นยำ เพราะความเป็นอัจฉริยะ โดยการสั่งสมบารมีญาณอยู่ในขันธสันดาน อย่างมั่นคงและแก่กล้า มาเป็นเอนกอนันตชาติ ทรงพระปัญญาคมกล้าเป็นยอดเยี่ยม จึงสามารถบรรลุมรรคผลอย่างรวดเร็ว

โดยการเริ่มเทศน์จากพระคัมภีร์ใบลาน จนกระทั่งเทศน์ด้วยปากเปล่า และในรูปแบบของปุจฉาและวิสัชนา เป็นที่ยอมรับของอุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลาย ได้ฟังพระสุรเสียงเป็นที่ไพเราะจับใจ ความชัดเจน ของอักขระ การเอื้อนทำนองวรรคตอนได้ถูกต้อง ภาษาสละสลวย เนื้อหาสาระที่เทศน์ ไม่ว่าจะเป็นพระธรรมเจ็ดคัมภีร์ หรือพระเจ้า ๑๐ ชาติ ก็สามารถเทศน์ให้ญาติโยมได้รับฟังอย่างจับจิตจับใจ และฟังอย่างมีความสุข จดจำเนื้อหาที่เทศน์ได้ และกอปรด้วยพระอัจฉริยภาพที่สง่างามน่ารัก ของ “สามเณรจิ๋ว”

          สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ทรงรับนิมนต์เทศนาธรรมตามบ้านเรือนผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาอยู่เป็นนิจ ทรงเทศน์โปรดชนทุกชั้น ตั้งแต่ยาจกเข็ญใจ คหบดี เจ้าขุนมูลนาย ราชนิกุล จนถึงเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ทรงมิได้เลือก ชั้น วรรณะ เพศ วัย การศึกษา ศาสนา ชาติกำเนิด อาชีพ มีทั้งชาวต่างชาติที่เลื่อมใสศรัทธาในพระองค์ท่านมากมาย เช่น ชาวจีน , ฝรั่ง, มลายู, ลาว, พม่า, เขมร เป็นต้น

๔.พระชนมายุ ๑๒ พรรษา ได้แสดงบุญฤทธิ์ให้ประกฎ

ทรงปราบแม่นาคพระโขนง ทรงสร้างพระภควัม พระองค์ได้แสดงบุญฤทธิ์ให้ปรากฏ โดยการส่งกระแสจิตลงสู่บาตร  ซึ่งบรรจุพระภควัม (พระปิดตา สร้างด้วยเนื้อไม้รัก ไม้มะยม ไม้แก่นจันทน์  แกะสลักเป็นรูปพระปิดตา ลงรัก ปิดทอง สวยงาม) เป็นจำนวนมาก โดดลอยสูงขึ้นมามากกว่าพระองค์อื่นๆ ที่มาร่วมพิธีทดสอบ คัดเลือกผู้มีอำนาจจิตสูง เพื่อเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก ต่อหน้าพระพักตร์ พระอาจารย์ สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน ซึ่งเป็นการสร้างพระในพิธีหลวง

๕.พระชนมายุ ๑๙ พรรษา สร้างพระสมเด็จ รุ่น ๑

จากหลักฐานที่พบ ไม่ว่าจะเป็นด้านหลังแม่พิมพ์พระ และแผ่นจารึก สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ทรงสร้างพระสมเด็จรุ่น ๑ เมื่อพระชนมายุ ๑๙ พรรษา ยังทรงเป็นสามเณร และยังมิได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ ในการสร้างพระสมเด็จนั้น ทรงมีต้นแบบ และ ผงที่ใช้ในการสร้างพระ จากพระอาจารย์ คือ สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน ทรงมีความมุ่งมั่น มีวิริยอุตสาหะ พากเพียร พยายาม ในการสร้างผงวิเศษ หรือผงศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมี ผงอิทธิเจ ปถมัง ตรีนิสิงเห มหาราช พุทธคุณ และทรงรวบรวมผงที่ได้รับการถวายจากพระอาจารย์ ก็ได้เก็บสะสมไว้

นอกจากนี้ได้รวบรวมเกสรร้อยแปด ดินเจ็ดโป่ง เจ็ดท่า ดินใจกลางเมือง ดินกำฤาษี ผงวิเศษ จากเทพยดามานิมิตให้ ไปเอาตามป่าตามเขา ตามถ้ำต่างๆ ดินอยู่ในพระหัตถ์ของพระประธาน ไคลเสมา ไคลโบสถ์ ว่านยาต่างๆ โดยออกธุดงค์ไป กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สุโขทัย กำแพงเพชร เป็นต้น ทรงรวบรวมผงและดินต่างๆเหล่านี้ โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเอาไว้สร้างพระ เมื่อพระองค์ท่านรวบรวมอิทธิวัตถุมงคล ได้มากพอสมควรก็เริ่มแกะพิมพ์ด้วยพระองค์เอง แม่พิมพ์นั้นทรงสร้างจากเนื้อผงเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์

พระสมเด็จรุ่น ๑ พิมพ์หูใบสีอกครุฑ

สำหรับการสร้างพระสมเด็จรุ่น ๑ นั้น ทรงสร้างเมื่อ ร.ศ. ๒๔ =  พ.ศ. ๒๓๔๙ ทรงสร้างไว้จำนวนมาก ในจำนวนนี้ บางพิมพ์ทรงจารึกไว้ด้านหลังแม่พิมพ์ว่า “ร.ศ. ๒๔” บ้าง บางพิมพ์ทรงจารึกด้านหลังแม่พิมพ์ ว่า “พระสมเด็จรุ่น ๑ ร.ศ. ๒๔” 

บางพิมพ์ ทรงจารึกชื่อพิมพ์ต่างๆ ไว้ที่ด้านหลังแม่พิมพ์ด้วย มี “แม่พิมพ์สมเด็จทรงใหญ่” “แม่พิมพ์สมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์” “แม่พิมพ์ทรงนิยม” “แม่พิมพ์ทรงไกรเซอร์” “แม่พิมพ์ทรงปรกโพธิ์” “แม่พิมพ์สังฆาฏิ” “แม่พิมพ์เกศไชโย” “แม่พิมพ์ขุนแผน” “แม่พิมพ์ซุ้มกอ” “แม่พิมพ์พระรอด” “แม่พิมพ์ทุ่งเศรษฐี” “แม่พิมพ์นางพญา” “แม่พิมพ์ผงสุพรรณ” เป็นต้น

พร้อมทั้งลงพระนาม “ ต ” เอาไว้ด้วย เช่น “ แม่พิมพ์พระสมเด็จ ต ร.ศ. ๒๔ ”

พระสมเด็จรุ่น ๑ นั้น ทำด้วยผง บางองค์แกะพิมพ์สวยงาม ประณีตบรรจง บางองค์พิมพ์โย้ บางองค์พิมพ์หนา บางองค์พิมพ์ก็บาง แต่อย่างไรก็ตามมวลสารเนื้อหาที่ใช้สร้างหรือกดพิมพ์จะเหมือนๆ กันเกือบทั้งหมด เพราะพระองค์ท่านมีสูตรเฉพาะในการสร้างพระ


๖.ทำไม.....จึงเชื่อว่าเป็นพระสมเด็จรุ่น๑...?

เพระ..ทรงจารไว้ด้านหลังแม่พิมพ์ว่า “....พระสมเด็จ รุ่น ๑...” และทรงจารปีที่สร้างเอาไว้ด้วย..คือ “ร.ศ.๒๔ (พ.ศ.๒๓๔๙)

ต่อมา ใน ร.ศ. ๒๕ = พ.ศ. ๒๓๕๐ ทรงได้รับความไว้วางใจจากพระอาจารย์ คือ สมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่ เถื่อน ให้กดพิมพ์แต่เพียงผู้เดียว ในการสร้าง พระผงพิมพ์ตุ๊กตาเล็ก โดยสมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน ทรงจารไว้ในแผ่นจารึก การสร้างพระพิมพ์นี้ว่า “...ให้มหาโต สัพพัญญู สำนักวัดระฆัง เป็นผู้กดพิมพ์แต่ผู้เดียว...” และยังให้มหาโต นำไปบริกรรม มหาพิเศส ประจุอาคมพิเศส ๑๐๘ คาบมหาอาคม วาสนา โชคลาภ โภคทรัพย์

ซึ่งเป็นการบอกได้อย่างชัดแจ้งว่า ... สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ได้บวชเป็นพระ และอยู่ในสำนักวัดระฆัง มาเกี่ยวข้องกับการสร้างพระ โดยได้รับความไว้วางใจอย่างมาก จากพระอาจารย์ ให้เป็นผู้กดพิมพ์แต่เพียงผู้เดียว และยิ่งกว่านั้นทรงเห็น ในความเป็นผู้มีดวงจิตอันถึงธรรม อย่างเพียบพร้อม และแก่กล้า ด้วยอาคมพิเศษ จึงให้นำพระมาบริกรรมเพิ่มเติม (ก็เท่ากับว่าเป็นผู้สร้างด้วย ปลุกเสกด้วย นั่นเอง)

และที่สำคัญที่สุด พระอาจารย์ ทรงเรียกว่า “ มหาโต สัพพัญญู ” หมายถึง เป็นผู้รู้แจ้งเห็นจริง และแตกฉานในพระธรรม..อันละเอียดอ่อนลึกซึ้งอย่างแท้จริง

หลักฐานในการสร้างพระ และวัตถุมงคล ของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ซึ่งทางสำนักธรรมพรหมรังสี ได้เก็บรวบรวมไว้ มีแผ่นจารึก เป็นแผ่นทองเหลือง แผ่นเงิน แผ่นนาก แผ่นทองคำ แผ่นดีบุก รวมเกือบ ๒๐๐ แผ่น แม่พิมพ์พระสมเด็จ ทรงต่างๆ เกือบ ๓๐๐ แม่พิมพ์ พบว่า ทรงสร้างวัตถุมงคลต่างๆ ไว้อย่างต่อเนื่อง ตามสถานที่ต่างๆ และในปีต่างๆ กัน ซึ่งได้รวบรวมไว้เป็นตารางในหนังสือ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ที่ข้าพเจ้ารู้จัก เล่ม ๒, ๓,
                 
จากเรื่องราวทั้งหมดที่ข้าพเจ้าได้จัดเสนอมานั้น ก็เพราะข้าพเจ้าได้ตระหนักในพระมหาบารมีของพระองค์ท่านได้ใช้พระมหาบารมีของพระองค์ท่าน ในการดำเนินชีวิตมาตลอดระยะเวลากว่า ๓๖ ปี ได้พิจารณาอย่างรอบคอบ แล้วจึงได้นำเสนอ ให้ท่านผู้มีจิตเลื่อมใสศรัทธารับทราบเพิ่มเติม  ได้กราบไหว้บูชาพระองค์ท่านได้ถูกต้อง มากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความเชื่อมั่น ความศรัทธา จะได้เพิ่มพูนสติปัญญา และแบ่งภาระของผู้ที่กำลังศึกษาพระราชประวัติของพระองค์ท่านอยู่

อีกประการหนึ่งเพื่อเป็นการ ยับยั้งความคิด และให้สติ แก่บุคคลบางคน (เท่าที่ข้าพเจ้าได้พบมา) ที่จะเขียนพระราชประวัติของพระองค์ท่านอยู่ ตลอดจนวิธีการติดต่อกับพระองค์ท่านในแนวต่างๆ และบางท่านเข้าใจว่า พระองค์ท่านเป็นพรหมบ้าง เป็นท้าวมหาพรหมบ้าง (เพราะใช้พระฉายานามว่า พรหมรังสี)

บ้างก็ว่า เป็นพระอรหันต์ได้เข้าพระนิพพานไปแล้วบ้าง บ้างก็ว่า ถูกทำโทษ ถูกกักบริเวณบ้าง ฯลฯ จะได้พิจารณาศึกษาให้มากขึ้น และใช้ความระมัดระวังมากขึ้น เพื่อประโยชน์สุขแก่ตัวท่านเอง ท่านผู้อ่าน ท่านผู้ปฏิบัติทั่วไป จะได้กระทำได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม  และใช้เวลาอันพอสมควรไม่มากจนเกินไปนัก และที่สำคัญจะได้เข้าถึงพระองค์ท่านมากยิ่งขึ้น...!

อ่านรายละเอียดอื่นๆและชมรูปภาพที่น่าสนใจได้ที่ เว็บสมเด็จโต
ขอขอบคุณ ภาพประกอบจากเว็บสมเด็จโต
ที่มา  http://www.somdejto.com/index.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 10, 2011, 12:07:20 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

prachabeodee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 135
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: รอยประวัติ "สมเด็จโต" จากวัตถุพยานที่ปรากฏ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2011, 10:26:30 am »
0
อิอิ....ป้ารู้แต่เพียง....พระสมเด็จที่ท่านสร้าง.......กับ กระดูกหน้าผากนางนากที่ไปทำปั้นเหน่งของกรมหลวงชุมพรฯ.....(จากภาพยนต์)...เท่านั้นแหละ..... :hee20hee20hee: :hee20hee20hee: :hee20hee20hee:
บันทึกการเข้า

pmorn

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: รอยประวัติ "สมเด็จโต" จากวัตถุพยานที่ปรากฏ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 16, 2011, 04:09:01 pm »
0


ของปลอมทั้งหมดครับ

http://board.palungjit.com/f128/ตีแผ่-สมเด็จวัดพระแก้ว-สมเด็จพระธาตุพนม-บางพิมพ์-307843.html
http://forum.khonkaenlink.info/index.php?topic=16712617.msg7953257#msg7953257
บันทึกการเข้า

indy

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 101
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: รอยประวัติ "สมเด็จโต" จากวัตถุพยานที่ปรากฏ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ตุลาคม 17, 2011, 06:26:40 am »
0
ข้อมูลผิดเพี้ยนไปหน่อยนะ
บันทึกการเข้า