ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การล้างบาปด้วย "มรรคญาณ" และ "โมเนยยธรรม"  (อ่าน 2489 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29347
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
การล้างบาปด้วย "มรรคญาณ" และ "โมเนยยธรรม"
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2022, 09:32:41 am »
0



การล้างบาปในศาสนาพุทธ | ล้างบาปด้วย "มรรคญาณ" และ "โมเนยยธรรม"

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “ผู้มีสัมมาทิฏฐิ ย่อมล้างมิจฉาทิฏฐิได้ ล้างบาปอกุศลเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัยได้"

คำว่า “บาป” ในที่นี้ มีความเข้าใจที่ แตกต่างกันอยู่ คือ ชาวบ้านทั่วไปเข้าใจคำนี้ว่า “คือวิบากของกรรมชั่วที่ต้อง ชดใช้” แต่ในศาสนาพุทธมุ่งหมายถึง สภาวะที่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง เป็นเหตุ ให้ทำทุจริตทางกาย วาจา ใจ นั่นก็คือกิเลสนั่นเอง

ฉะนั้น คำถามนี้จึงตอบได้ว่า เฉพาะบุญอย่างเดียวยังล้างบาปไม่ได้ บุญช่วยได้แต่ชะลอวิบากกรรมไว้ชั่วคราวเท่านี้ และไม่มีวิธีการใดที่จะลบล้างกรรมที่ทำไปแล้วด้วยเจตนาได้

แต่พระพุทธเจ้าทรงพบเงื่อนไขว่า กรรม..ลบล้างไม่ได้ก็จริง แต่สามารถหลีกหนี้ไปให้พ้นจากการต้องรับวิบากกรรมได้ ด้วยการกำจัดเชื้อที่ ทำให้ต้องเกิดอีก เพราะเมื่อไม่เกิดอีกก็ไม่ต้องรับวิบากกรรมใด ๆ อีกต่อไป

เชื้อที่ก่อให้เกิดการเกิดใหม่ก็คือ “กิเลสตัณหา” นั่นเอง ซึ่งสามารถชำระล้างได้อย่างเป็นขั้นตอน ด้วย “มรรคญาณ” ที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนาในพระพุทธศาสนา เพียงเท่านั้น

ศาสนาพุทธล้างบาปได้หรือไม่.?

ตอบว่า : ศาสนาพุทธล้างบาปให้ ใครไม่ได้ นอกจากผู้นั้นจะได้ลงมือปฏิบัติวิปัสสนาทำมรรคญาณให้เกิดขึ้น ด้วยตนเอง ซึ่งมรรคญาณนี้แหละเป็นคุณเครื่องชำระล้างบาป ได้อย่าง แท้จริง มิใช่เพียงแค่ความเชื่อลมๆ แล้งๆ เพราะเมื่อผู้ปฏิบัติเข้าถึงแล้วก็จะ รู้แจ้งสภาวะจิตของตนเองว่า ล้างบาปได้แล้วหรือยัง ไม่ต้องให้ใครมาบอก หรือบงการ เหมือนกับเราลิ้มรสมะนาวแล้วรู้ว่าเปรี้ยวโดยไม่ต้องไปเชื่อใคร หรือให้ใครมาบอก อีกต่อไป

พระพุทธเจ้าตรัสถึงมุนีผู้ล้างบาปได้แล้วไว้ว่า “บุคคลผู้เป็นมุนีทางกาย เป็นมุนี้ทางวาจา เป็นมุนี้ทางใจ ผู้ไม่มีอาสวะแล้ว เป็นมุนีผู้สมบูรณ์ ด้วยโมเนยยธรรม เป็นผู้ล้างบาปได้แล้ว”

@@@@@@@

คัมภีร์อรรถกถาอธิบายว่า “ล้างบาปได้แล้ว เพราะเป็นผู้ชำระล้าง บาปทั้งปวง.ทั้งภายในและภายนอกได้แล้ว ด้วยมรรคญาณ”

มรรคญาณ คือ ญาณที่ทำหน้าที่ประหารกิเลส หรือจะกล่าวว่าล้าง กิเลสก็ได้ เป็นญาณลำดับขั้นที่ ๑๔ ในญาณ ๑๖ ที่เกิดแก่ผู้เจริญวิปัสสนา ภาวนาเพื่อบรรลุมรรค ผล นิพพาน เท่านั้น ซึ่งแบ่งความสามารถในการ ประหาณกิเลสออกเป็น ๔ ขั้น ดังนี้

    ๑. โสดาปัตติมรรคญาณ ทำหน้าที่ประหาณสักกายทิฏฐิวิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส (มิจฉาทิฏฐิ และวิจิกิจฉา) ได้เด็ดขาด ผู้ปฏิบัติวิปัสสนา จนสำเร็จญาณนี้ชื่อว่าเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบัน เป็นผู้มีศีล ๕ อยู่โดย ปกติ (โดยไม่ต้องรักษา) มีศรัทธาตั้งมั่นในพระรัตนตรัย ไม่ตกไปในนรกอีก แล้ว มีความแน่นอนที่จะสำเร็จพระอรหันต์อีกไม่เกิน ๗ ชาติ

    ๒. สกทาคามิมรรคญาณ ไม่ได้ประหาณกิเลส เพียงแต่บรรเทาราคะ โทสะให้เบาบาง ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาจนสำเร็จญาณนี้ ชื่อว่าเป็นพระสกทาคามี มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า เมื่อเกิดในภพใหม่เป็นเทวดา หรือ มนุษย์ก็เกิดได้เพียง ๑ ครั้ง

    ๓. อนาคามิมรรคญาณ ทำหน้าที่ประหาณราคะ โทสะ ได้โดยเด็ด ขาดสิ้นเชิง และบรรเทาโมหะให้เบาบาง ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาจนสำเร็จญาณนี้ ชื่อว่าเป็นพระอนาคามี

    ๔. อรหัตตมรรคญาณ ประหาณสังโยชน์ที่ผูกมัดใจ ได้ทั้ง ๑๐ ประการ โดยเด็ดขาด ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาจนสำเร็จญาณนี้ ชื่อว่าบรรลุ อรหันต์โดยสมบูรณ์ นับว่าเป็นผู้ล้างบาปได้แล้ว เพราะไม่มีกิเลสอันเป็นเหตุ ให้เกิดบาป และไม่มีกิเลสให้ถือกำเนิดในภพใหม่อีกต่อไป” พระอรหันต์ไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป เมื่อไม่เกิดอีกก็ต้อง ไม่แก่ไม่ต้องตาย ไม่ต้องรับวิบากกรรมใดๆ อีกต่อไป


(บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ หมายถึง พระอริยบุคคลชั้นโสดาบันขึ้นไป เป็นผู้มีความเห็นชอบ (ม.อ.อ. (บาลี) ๓/๑๒๗/๓๔, องเอกก.อ. (บาลี) ๑/๒๖๘/๕๐๒) ดูใน อง.ทสก. (ไทย) ๒๔/๑๐๗/๒๕๐. bey ๖๘
ล้างบาปด้วยมรรคญาณ (ขุ.ม.อ. (บาลี) ๑๔/๑๗๓)





Thank to : dhamma.serichon.us/2022/02/15/การล้างบาปในศาสนาพุทธ/
15 กุมภาพันธ์ 2022 , By admin.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 28, 2022, 09:45:14 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29347
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การล้างบาปด้วย "มรรคญาณ" และ "โมเนยยธรรม"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2022, 10:59:25 am »
0



ว่าด้วยโมเนยยธรรม ๓ ประการ (ธรรมที่ทำให้เป็นมุนี)

คำว่า พระมุนี อธิบายว่า ญาณท่านเรียกว่า โมนะ ได้แก่ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ พระผู้มีพระภาคทรงประกอบด้วยญาณนั้น จึงชื่อว่าพระมุนี คือ ผู้ทรงบรรลุโมนญาณแล้ว โมเนยยธรรม (ธรรมที่ทำให้เป็นมุนี) มี ๓ ประการ คือ
    ๑. โมเนยยธรรมทางกาย 
    ๒. โมเนยยธรรมทางวาจา
    ๓. โมเนยยธรรมทางใจ

    โมเนยยธรรมทางกาย เป็นอย่างไร
    คือ การละกายทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย กายสุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย ญาณมีกายเป็นอารมณ์ ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย กายปริญญา (การกำหนดรู้กาย) ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย มรรคที่สหรคตด้วยปริญญา ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในกาย ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย ความดับแห่งกายสังขาร การบรรลุจตุตถฌาน ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางกาย

    โมเนยยธรรมทางวาจา เป็นอย่างไร
    คือ การละวจีทุจริต ๔ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา วจีสุจริต ๔ อย่างชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา ญาณมีวาจาเป็นอารมณ์ ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจาวาจาปริญญา (การกำหนดรู้วาจา) ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา มรรคที่สหรคตด้วยปริญญา ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในวาจา ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา ความดับแห่งวจีสังขาร การบรรลุทุติยฌาน ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางวาจา

    โมเนยยธรรมทางใจ เป็นอย่างไร
    คือ การละมโนทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ มโนสุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ ญาณมีใจเป็นอารมณ์ ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ จิตต-ปริญญา (การกำหนดรู้จิต) ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ มรรคที่สหรคตด้วยปริญญา ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ การละความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในจิต ชื่อว่า
โมเนยยธรรมทางใจ ความดับแห่งจิตตสังขาร การบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ นี้ชื่อว่าโมเนยยธรรมทางใจ


    @@@@@@@

    (สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า)
    "บัณฑิตทั้งหลาย เรียกบุคคลผู้เป็นมุนีทางกาย เป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ ผู้ไม่มีอาสวะ ว่าเป็นมุนีผู้สมบูรณ์ด้วยโมเนยยธรรม ละกิเลสทั้งปวงได้   
    "บัณฑิตทั้งหลาย เรียกบุคคลผู้เป็นมุนีทางกายเป็นมุนีทางวาจา เป็นมุนีทางใจ ผู้ไม่มีอาสวะ ว่าเป็นมุนีผู้สมบูรณ์ด้วยโมเนยยธรรม ล้างบาปได้แล้ว(๑-)
   
    มุนีผู้ประกอบด้วยโมเนยยธรรม ๓ ประการเหล่านี้ มี ๖ จำพวก คือ
    (๑) อาคารมุนี
    (๒) อนาคารมุนี
    (๓) เสขมุนี
    (๔) อเสขมุนี
    (๕) ปัจเจกมุนี
    (๖) มุนิมุนี

    ๑) อาคารมุนี เป็นอย่างไร คือ บุคคลผู้ครองเรือน เห็นทาง(นิพพาน)แล้ว รู้แจ้งหลักคำสอนแล้ว
เหล่านี้ชื่อว่า อาคารมุนี
    ๒) อนาคารมุนี เป็นอย่างไร คือ บุคคลผู้เป็นบรรพชิต เห็นทาง(นิพพาน)แล้ว รู้แจ้งหลักคำสอนแล้ว
เหล่านี้ชื่อว่า อนาคารมุนี
    ๓) พระเสขะ ๗ จำพวก ชื่อว่า เสขมุนี
    ๔) พระอรหันต์ทั้งหลาย ชื่อว่า อเสขมุนี
    ๕) พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่า ปัจเจกมุนี
    ๖) พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสเรียกว่า มุนิมุนี

    (สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า)
    บุคคลโง่เขลาไม่รู้อะไร เพียงแต่นั่งนิ่งๆ หาชื่อว่าเป็นมุนีไม่
    ส่วนบุคคลผู้ฉลาดเลือกชั่งเอาแต่สิ่งที่ดี ละทิ้งสิ่งที่ชั่ว เหมือนบุคคลชั่งสิ่งของ จึงจะชื่อว่าเป็นมุนีแท้
    ผู้ที่รู้โลกทั้ง ๒ ก็เรียกว่า เป็นมุนี(เช่นกัน)(๒-)
    ผู้รู้ธรรมทั้งของอสัตบุรุษและสัตบุรุษทั้งภายในและภายนอกในโลกทั้งปวง เทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้อง(๓-) และตัณหาดุจตาข่ายได้แล้ว ชื่อว่ามุนี(๔-)


เชิงอรรถ :-
(๑-) ล้างบาป หมายถึง ล้างบาปด้วยมรรคญาณ (ขุ.ม.อ. ๑๔/๑๗๓)
(๒-) ขุ.ธ. ๒๕/๒๖๘-๒๖๙/๖๓
(๓-) เครื่องข้อง มี ๗ อย่าง ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส และทุจริต (ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๘๓/๕๒๐)
(๔-) ขุ.สุ. ๒๕/๕๓๓/๔๓๘





ที่มา : พระไตรปิฏกเล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๐ หน้า : ๑๒๗-๑๒๙
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=30&page=127&pages=1&x=10&y=8&edition=mcu
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=30&page=128&pages=1&x=9&y=12&edition=mcu
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/read_page.php?book=30&page=129&pages=1&x=9&y=8&edition=mcu
ขอบคุณภาพจาก pinterest
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ