ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: หลักธรรมเพื่อการบรรลุธรรม  (อ่าน 9764 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28595
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
หลักธรรมเพื่อการบรรลุธรรม
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 25, 2011, 09:47:54 pm »
0


หลักธรรมเพื่อการบรรลุธรรม

ในบรรดาคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีมากมาย ทั้งส่วนที่เป็นคำสอนสำหรับประชาชนโดยทั่วไป และคำสอนสำหรับพระภิกษุทุกรูป สำหรับคำสอนที่ทรงแสดงแก่พระภิกษุสงฆ์ส่วนมาก พระองค์พระประสงค์ให้พระพระภิกษุทุกรูป นำไปประพฤติเพื่อความหลุดพ้นจากอาสวกิเลส เพื่อความพ้นทุกข์ เพื่อปัญญาและวิมุตติ เพื่อนิพพานเป็นสำคัญ ในพระไตรปิฎกที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำแก่ภิกษุทั้งหลาย เมื่อถูกพวกปริพาชกถามว่าบวชเพื่ออะไร ก็ขอให้ตอบดังนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก (นักบวชนอกพระพุทธศาสนา) พึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ท่านทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อประโยชน์อะไร เธอทั้งหลายถูกถามอย่างนี้พึงชี้แจงอย่างนี้ว่า

ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เราทั้งหลายอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อคลายราคะ... เพื่อคลายกำหนัด... เพื่อละสังโยชน์... เพื่อถอนอนุสัย... เพื่อกำหนดรู้สังสารวัฏอันยืดยาว... เพื่อความสิ้นอาสวะ... เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งวิชชาและวิมุตติ... เพื่อญาณทัสสนะและเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน
(สํ.ม. ๑๙/๔๑-๔๘/๓๗-๔๐ มหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐.)

จะเห็นว่าพระองค์ถือว่าการออกบวชเป็นการสละบ้านเรือน เพื่อการแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ที่พระอริยะเจ้าทั้งหลายปฏิบัติ ซึ่งคำสอนแต่ละเรื่องที่ทรงนำมาแสดงแก่พระภิกษุแต่ละรูปนั้นก็ต้องเหมาะแก่อุปนิสัยของแต่ละท่าน เมื่อภิกษุนั้นๆ ได้ฟังแล้วน้อมนำเอาไปปฏิบัติไม่นานก็ได้ดวงตาเห็นธรรมสำเร็จเป็นอริยบุคคลชั้นใดชั้นหนึ่ง

เมื่อมีความเพียรต่อไปก็บรรลุมรรคผลเป็นพระอรหันต์ รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มีอีกแล้ว เป็นผู้พ้นบ่วงแห่งมาร พ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิง มีปรินิพพานเป็นที่สุด ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายในวัฏฏทุกข์นี้อีกต่อไป

หลักธรรมเพื่อการบรรลุธรรม

หลักธรรมคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีมากมาย แต่ที่จัดว่าเป็นหลักธรรมที่สำคัญเพื่อนำไปสู่มรรคผลนั้น ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม หมายถึง ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายของการตรัสรู้ คือ เกื้อกูลแก่การตรัสรู้ ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ แบ่งเป็น ๗ หมวด ดังนี้

๑. สติปัฏฐาน ๔
๒. สัมมัปปธาน ๔
๓. อิทธิบาท ๔
๔. อินทรีย์ ๕
๕. พละ ๕
๖. โพชฌงค์ ๗
๗. มรรคมีองค์ ๘


รวมเป็น ๓๗ ประการ จึงเรียกว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ซึ่งในแต่ละหมวดมีความสมบูรณ์ในตัวอยู่แล้ว การปฏิบัติตามธรรมหมวดใดหมวดหนึ่งก็ได้ชื่อว่าปฏิบัติธรรมหมวดอื่นๆ ด้วย

สาเหตุที่ท่านแบ่งไว้ถึง ๗ ประการอย่างนี้ เป็นเพียงการจำแนกตามเกณฑ์ที่เอามาเป็นกรอบในการพิจารณา เช่น
เอาสติเป็นเกณฑ์ก็เป็น สติปัฏฐาน ๔
ถ้าเอากำลังในการปฏิบัติเป็นเกณฑ์ก็เป็น พละ ๕
ถ้าเอาองค์แห่งความรู้เป็นเกณฑ์เป็นโพชฌงค์ ๗
ถ้าเอาหนทางในการปฏิบัติเป็นเกณฑ์ก็เป็น มรรคมีองค์ ๘ ดังนี้

เปรียบเสมือนมนุษย์ ถ้าเราจะแบ่งความเป็นมนุษย์ก็สามารถแบ่งได้หลายอย่าง เช่น ถ้าเอาเพศเป็นเกณฑ์ก็มี ๒ เพศ คือ ชายกับหญิง ถ้าเอาอวัยวะเป็นเกณฑ์มี ๓๒ ประการ มี เนื้อ หนัง กระดูก หัวใจ ตับ อาหารเก่า เสลด น้ำเลือด เป็นต้น

ถ้าเอาระบบการทำงานของร่างกายเป็นเกณฑ์ก็มี ๗ ประการ เช่น ระบบหายใจ ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาท ระบบต่อมไร้ท่อ เป็นต้น จะเห็นว่ามนุษย์ในความหมายที่เรารู้จัก สามารถแบ่งออกเป็นหลายอย่างเช่นเดียวกัน


ความสำคัญของโพธิปักขิยธรรม ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ มีดังนี้
โพธิปักขิยธรรม อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์ เพื่อถอนอนุสัย เพื่อกำหนดรู้สังสารวัฏอันยืดยาว เพื่อความสิ้นอาสวะ...
(สํ.มหา. ๑๙/๔๒๑-๔๒๓/๓๖๖-๓๖๗ มหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐.)

และหวังผล ๒ อย่าง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความถือมั่นเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี
(สํ.มหา. ๑๙/๕๓๕/๓๖๘ มหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐.)
พิจารณาหลักธรรมอันเป็นหลักปฏิบัติเพื่อการบรรลุธรรม ที่เรียกว่า โพธิปักขิยธรรม ดังนี้



๑. หลักโพธิปักขิยธรรมมี ๓๗ ประการ เป็นการรวมหัวข้อธรรมทั้งหมดโดยมิได้สนใจว่าหัวข้อธรรมซ้ำกันหรือเปล่า ซึ่งเป็นวิธีการนับที่นิยมกันอยู่ในการรวบรวมหัวข้อธรรมในพระไตรปิฎก จะสังเกตเห็นมากในอภิธรรมปิฎกที่นับจิตเป็นดวงๆ มากมาย โดยวิธีการนี้อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ว่าการปฏิบัติเพื่อการบรรลุธรรมมีถึง ๓๗ ประการ

แท้จริงแล้วการปฏิบัติเพื่อการบรรลุธรรมเพียงแต่ปฏิบัติตามหมวดธรรมหมวดหนึ่งหมวดใด ก็เป็นการปฏิบัติที่ครอบคลุมหลักการปฏิบัติแล้ว เช่น ถ้าใช้สติในการปฏิบัติก็ปฏิบัติแค่ ๔ ประการ ตามหลักสติปัฏฐาน ๔ ถ้าปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ก็ปฏิบัติแค่ ๘ ประการ อยู่ที่ผู้ปฏิบัติจะถืออะไรเป็นหลักในการปฏิบัติเท่านั้น แต่มีข้อแม้ว่าเมื่อถือหลักใดต้องปฏิบัติให้ครบตามหลักนั้นๆ

๒. โพธิปักขิยธรรม แบ่งเป็น ๗ หมวด แต่ละหมวดมีความสมบูรณ์ในการปฏิบัติครบถ้วนแม้ว่าจะอธิบายแยกกัน แต่เมื่อปฏิบัติตามหมวดธรรมหมวดใดหมวดหนึ่งก็เท่ากับปฏิบัติตามหมวดธรรมอื่นอีก ๖ หมวดด้วย การปฏิบัติเพื่อการบรรลุธรรมเปรียบได้กับการเดินทางไปยังเป้าหมายที่เหมือนกัน ใครจะเดินทางไปตามเส้นทางใดก็เท่ากับกำลังเดินทางเข้าสู่เป้าหมายเดียวกัน ต่างกันแต่เพียงเส้นทาง

แต่การปฏิบัติเพื่อการบรรลุธรรมนั้น ในขณะที่กำลังปฏิบัติตามหมวดธรรมหนึ่งก็เท่ากับปฏิบัติหมวดธรรมอื่นไปด้วย นี้เป็นลักษณะพิเศษของคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า

เห็นได้ชัดเจนที่มรรคมีองค์ ๘ คำอธิบายแสดงให้เห็นว่าการปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ เท่ากับรวมการปฏิบัติหมวดอื่นเข้าไว้ทั้งหมด ทั้งสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ พละ ๕ อินทรีย์ ๕ โพชฌงค์ ๗ รวมอยู่ในมรรคมีองค์ ๘ แม้แต่สติปัฏฐาน ๔ ถ้าพิจารณาให้ดีจะเห็นว่ารวมเอาองค์ธรรมในหมวดอื่นๆ ไว้ทั้งหมดเช่นกัน นี่คือความสอดคล้องของหลักธรรมในการปฏิบัติเพื่อการบรรลุธรรม

๓. การปฏิบัติธรรมมีจุดประสงค์เดียว คือ การพ้นทุกข์ สภาวะของการพ้นทุกข์ คือ การไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรๆ ในโลก มีความเข้าใจสภาวธรรมต่างๆ จนจิตหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่น การปฏิบัติตามหลักโพธิปักขิยธรรม ไม่ว่าจะเป็นหมวดธรรมใด ย่อมโน้มน้าวจิตใจของผู้ปฏิบัติไปสู่ความไม่ยึดมั่นถือมั่นเป็นอันเดียวกันทั้งสิ้น เปรียบน้ำจากแม่น้ำทุกสายไม่ว่าระหว่างทางจะมีรสอย่างไร เมื่อลงสู่ทะเลย่อมมีรสเค็มรสเดียวกันหมด การปฏิบัติเพื่อการบรรลุธรรมก็เช่นกัน ย่อมเป็นไปเพื่อความพ้นทุกข์ทั้งสิ้น

๔. โพธิปักขิยธรรม เป็นธรรมปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้มรรคผลหรือการบรรลุธรรม ผู้ปฏิบัติตามหลักโพธิปักขิยธรรมต้องมีความโน้มเอียงของสภาวะจิตไปเพื่อการตรัสรู้เท่านั้น คือ เมื่อปฏิบัติตามหลักนี้แล้ว กิเลสต้องลดลงๆ จนหมดไปในที่สุด ในทางกลับกันถ้าผู้ปฏิบัติๆ ไปแล้วกิเลสเพิ่มขึ้น มีความโลภ ความโกรธ ความหลงมากขึ้น แสดงว่าการปฏิบัตินั้นผิดหลักโพธิปักขิยธรรม กิเลสที่ลดลงเป็นเครื่องวัดการปฏิบัติ ถ้ากิเลสไม่ลดแสดงว่ากำลังปฏิบัติผิด ต้องทบทวนการปฏิบัติใหม่ว่าผิดพลาดจุดไหน ให้รีบแก้ไข

๕. การบรรลุธรรมเป็นอุดมการณ์ของโพธิปักขิยธรรม
โดยมี สัมมัปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ พละ ๕ อินทรีย์ ๕ และโพชฌงค์ ๗ เป็นหลักการ
มีสติปัฏฐาน ๔ และมรรคมีองค์ ๘ เป็นวิธีการ

-->> การศึกษาวิเคราะห์โพธิปักขิยธรรมทั้ง ๓๗ ประการ ข้างต้นมาแล้วอย่างไรก็ไม่สามารถทำให้ผู้ศึกษาบรรลุธรรมได้ นอกจากการลงมือปฏิบัติตามหลักการนั้นอย่างจริงจังและมุ่งมั่น

         เจริญในธรรมครับ
             hs6kjg





ขอขอบคุณ :-
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=21559
โพสต์โดย hs6kjg | 07 เม.ย. 2009, 15:24
http://board.palungjit.com/f4/หลักธรรมเพื่อการบรรลุธรรม-127012.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 26, 2023, 07:57:03 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

poepun

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 134
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: หลักธรรมเพื่อการบรรลุธรรม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2011, 04:05:26 am »
0
เป็นธรรมที่ควรแก่การสนใจ มากครับเพราะโพธิปักขิยธรรม กล่าวว่าเป็นธรรมที่ทำให้พ้นจากสังสารวัฏได้

ชื่ออีกอย่างว่า อภิญญาเทสิตธรรม

อ้างถึง
และหวังผล ๒ อย่าง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความถือมั่นเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี
(สํ.มหา. ๑๙/๕๓๕/๓๖๘ มหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐.)

เป็นหลักการภาพรวมสำหรับ ชาวพุทธอย่างเรามากเลยนะครับ


อนุโมทนาด้วยครับ
 :25:
บันทึกการเข้า

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: หลักธรรมเพื่อการบรรลุธรรม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2011, 06:24:51 am »
0
หลักธรรม นี้จัดเป็นขั้นสูง หรือไม่คะ เพราะอ่านแล้วยังไม่ค่อยจะเข้าใจเลยคะ

 :25:
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ