ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สวดมนต์ ต้องไม่โค่น "สาธยาย"  (อ่าน 979 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28906
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
สวดมนต์ ต้องไม่โค่น "สาธยาย"
« เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2024, 06:32:33 am »
0
.



สวดมนต์ ต้องไม่โค่น "สาธยาย"

"นี่ เราสวดมนต์กันอย่างไร สวดกันมา ๕๐ ปี ยังไม่รู้ว่า พระพุทธเจ้าสอนอะไร"

การสวดมนต์นั้น ตัวแท้ตัวจริง แก่นสาระของมัน ก็คือการสาธยาย และมนต์ที่เราเอาคำของพราหมณ์มาใช้แบบเทียบเคียงหรือล้อคำพูดของเขานั้น เราหมายถึงพุทธพจน์ คือคำตรัสสอนแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า การสวดมนต์จึงมุ่งให้เป็นการสาธยายพุทธพจน์ คำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระสูตร เป็นคาถา เป็นเนื้อความในพระไตรปิฎก

ที่ว่าสาธยาย ก็คือมีสติจำได้ระลึกถึงจับยกนำเอาข้อมูล ความรู้(ในที่นี้คือพุทธพจน์) ขึ้นมาระบุบ่งชี้จัดเรียงเข้าที่ตรงตามลำดับอย่างถูกต้องครบถ้วน อาจจะเป็นการท่อง การทวน หรือการทาน ก็ได้ สติจึงเป็นตัวทำงานของการสาธยาย




 :25:

บอกกล่าว

"สวดมนต์ ต้องไม่โค่นสาธยาย" โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
พิมพ์ ครั้งที่ ๓. ,ตุลาคม ๒๕๖๓ ๕๐๐ เล่ม ,งานพระราชทานเพลิงศพ นาวาอากาศเอก บํารุง กันสิทธิ์

พิมพ์เป็นธรรมทาน โดยไม่มีค่าลิขสิทธิ์
ท่านผู้ใดประสงค์จัดพิมพ์ โปรดติดต่อขออนุญาตที่...
วัดญาณเวศกวัน ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ.นครปฐม ๗๓๒๑๐
http://www.watnyanaves.net
ขอบคุณที่มา : https://www.watnyanaves.net/th/book_detail/682

ผู้โพสต์จะขอนำบทความบางตอนที่น่าสนใจ ในหนังสือเล่มนี้ มานำเสนอตามลำดับ ท่านใดประสงค์จะอ่านฉบับเต็ม สามารถดาวน์โหลด pdf file ได้ ผู้โพสต์ได้แนบไว้ ในตอนท้ายของโพสต์นี้

หรือดาวน์โหลดต้นฉบับได้ที่ https://www.watnyanaves.net/th/book_detail/682
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 05, 2024, 07:34:41 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28906
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: สวดมนต์ ต้องไม่โค่น "สาธยาย"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2024, 06:33:30 am »
0
.



ตอน ๑. รู้ไว้ก่อน กันเขว



 :25: :25: :25:

เรื่องเก่าคําเก่า พระพุทธเจ้าสอนให้คิดใหม่ทําใหม่

พูดถึงเรื่องที่ว่าชาวพุทธจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์จะทําอะไรๆ ก็ให้มีความรู้เข้าใจ ให้มองด้วยความรู้ ให้มีให้ได้ความรู้ ก็เลยขอพูด กว้างออกไปขอยกตัวอย่างสักหน่อย ที่เรียกกันว่าชาวพุทธเวลานี้ มีอะไร หลายอย่างที่ทําตามๆ กันไป ว่ากันเรื่อยเฉื่อย บางทีก็ทําไปแค่ ตามความรู้สึก คิดได้แค่ที่ถูกความรู้สึกลากไป ถึงเวลาจะต้องมา สะกิดใจนึกว่า เอ๊ะ.. ที่เราทํานั่นทํานี่นั้น เรารู้เรื่อง เราเข้าใจดีไหม

เอาง่ายที่สุด เรื่องสวดมนต์ อย่างพระมานี่ ก็มีการสวดมนต์ สวดปาติโมกข์ เอ๊ะ.. สวดมนต์นี้คืออะไร เราทําไปทําไม มี วัตถุประสงค์อะไรนะ เรารู้เราเข้าใจไหม บอกแล้วว่าพุทธศาสนา เป็นศาสนาของผู้รู้ ถ้าทําไปโดยไม่รู้ว่าไปตามความรู้สึก มันก็ไม่ใช่ ไม่เข้าหลักแล้ว

คําว่า “สวดมนต์” นี่ มามองดูกันหน่อย ว่ากันไปแล้ว มันก็ ไม่ใช่ศัพท์พระพุทธศาสนา ไม่ใช่คําพุทธแท้ด้วยซ้ำ “มนต์” มาจากไหน.? มนต์ คือ มันตะ มาจากบาลีว่า “มนุต” ใช้กันมาแต่เดิมในคัมภีร์ทั้งหลาย เป็นเรื่องของพวกพราหมณ์ พวก ฤๅษี ตรงกับคําสันสกฤตว่า “มนตร” คือ มันตระ แล้วก็มนตร์

ว่ากันตั้งแต่ดั้งเดิม มันตระ คือมนตร์นี่ ในความหมายที่ ๑ ซึ่งเป็นความหมายหลัก ก็คือ คัมภีร์พระเวท ที่เรียกว่าไตรเพท ในพระไตรปิฎกมากหลายแห่ง เมื่อกล่าวถึงพราหมณ์ ใหญ่โตคนสําคัญที่มาเฝ้ามาสนทนา มาโต้ตอบวาทะกับ พระพุทธเจ้าจะบอกว่าพราหมณ์นั้นๆ ผู้เป็น “อชฌายโก มนฺตธโร ติณณ์ เวทาน ปาร์ค..” คือ ผู้คงแก่เรียน ผู้ทรงมันตระ/มนตร์ (อรรถกถามักไขความว่า หมายถึงอาถรรพเวท แต่ก็มีคัมภีร์ที่อธิบายว่า มนต์ มันตระนี้หมายถึงมูลเวท คือพระเวทดั้งเดิม ส่วนทางฝ่ายสันสกฤตว่าคือ ตัวแท้ของพระเวท) จบไตรเพท

มนต์/มนตร์นั้น พวกพราหมณ์พวกฤษีบางทีก็เอาไว้สาปแช่ง คนอื่น แล้วก็มีมนต์ที่เป็นคําขลังศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เช่น มนต์สะกดคน สะกดสัตว์ต่างๆ เช่นจะให้คนอ้าปากค้างพูดไม่ออก จะให้ช้างเชื่อง ให้ช้างให้เสืออยู่ใต้อํานาจ สามารถสั่งบังคับมันได้ ก็ร่ายมนต์ สะกดมัน คือมีมนต์ขลังสารพัดเลย แล้วคนก็มาวุ่นอยู่กับเรื่องขลัง เรื่องศักดิ์สิทธิ์ฤทธิ์อํานาจ ไปๆ มาๆ เมื่อไม่เอาความรู้ ไม่เอาปัญญาเป็นหลัก ก็จะพากันเพลินไปจนหลงเข้ากระแสของไสยศาสตร์

@@@@@@@

ทีนี้ ทําไมในพระพุทธศาสนาเราจึงมีการสวดมนต์ หรือใช้คํา ว่า “สวดมนต์” ด้วย นี่ก็น่าคิด

อย่างที่รู้กัน พระพุทธศาสนานั้นเกิดขึ้นในชมพูทวีป ในสมัย ที่ศาสนาพราหมณ์เป็นใหญ่ เรียกได้ว่าครอบงําสังคมทั้งหมด สภาพสังคม จนถึงบรรยากาศของสังคมเป็นเรื่องของศาสนา พราหมณ์ เช่น ไม่ว่าจะไปไหน ก็มีการสวดสาธยายมนต์ มีพิธีบูชา ยัญ มีการไหว้เทพเจ้าที่มีพระพรหมเป็นใหญ่ ถ้อยคําพูดจาของ ผู้คนก็มีความหมายตามความเข้าใจของคนที่อยู่ในศาสนา พราหมณ์ มีอะไรต่ออะไรที่เป็นเรื่องของศาสนาพราหมณ์ทั้งนั้น

เมื่อพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นมาในสภาพอย่างที่ว่านั้น จะทําอย่างไร เราจะสอนอะไรแปลกใหม่ ก็ไม่มีศัพท์แสงถ้อยคําที่ผู้คน จะเข้าใจ แล้วจะทําอย่างไร ถึงแม้ว่าเราจะมีคําใหม่ๆ ขึ้นมา เราก็ ต้องเอาศัพท์ของเขามาใช้บ้างเป็นธรรมดา แต่คําอย่างของเขาที่ เราใช้นั้น มีความหมายไม่เหมือนกับของเขา เราก็ต้องค่อยๆ ชี้แจง ว่า คําเดียวกับเขาที่เราใช้นี่ มิใช่หมายความอย่างของเขานะ นอกจากนั้น บ่อยครั้ง พระพุทธเจ้าทรงใช้คําของพราหมณ์ เพื่อจะทรงสอนให้เขาเปลี่ยนความคิดความเข้าใจเสียใหม่ คือให้ เลิกคิดเรื่องนั้นๆ ในความหมายเก่าของเขา แต่ให้หันมาคิดมาทําอย่างใหม่

ถ้อยคําสําคัญของพราหมณ์ ที่เป็นหลักการใหญ่ของเขา พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เขาคิดใหม่ทําใหม่ เช่น ในการบูชายัญของ พราหมณ์ เขาเอาแพะ แกะ วัว มาฆ่าบูชายัญ โดยเฉพาะผู้ครอง แผ่นดิน อย่างพระมหากษัตริย์ก็ทรงทําพิธีบูชายัญสําคัญ อย่าง อัศวเมธที่ใหญ่ยิ่ง ก็ฆ่าม้าที่เยี่ยมยอดบูชายัญ พร้อมทั้งฆ่าสารพัด พ่วงไปด้วย แต่ถ้าเป็นพิธีบูชายัญใหญ่ๆ รองลงมา ซึ่งทํากันบ่อย หน่อย ก็ฆ่าวัว ๕๐๐ แพะ ๕๐๐ แกะ ๕๐๐ ดังที่ท่านเล่าไว้ บ่อยครั้งในพระไตรปิฎก

ทีนี้ พระพุทธเจ้าทรงสอนให้คนเลิกบูชายัญ ซึ่งมีเรื่องเล่าไว้ มากในพระไตรปิฎก บางครั้ง พระพุทธเจ้าก็เสด็จไปพบกับ พราหมณ์ใหญ่ที่กําลังจะทําพิธี เช่น พราหมณ์เจ้าเมืองแห่งหนึ่ง กําลังจัดเตรียมพิธีบูชายัญ เริ่มต้นตั้งแต่ให้จับวัว แพะ แกะ เอามา ผูกกับหลักที่บูชายัญ พระพุทธเจ้าเสด็จตรงไปหาเจ้าเมืองผู้ทําพิธีนั้น แล้วก็ทรงสนทนาด้วย

พระพุทธเจ้าตรัสบอกเขาว่า มีวิธีบูชายัญที่ไม่ต้องทําอย่างนี้ คือไม่ต้องทําให้ข้าทาสบริวารลําบากเดือดร้อน และสัตว์ทั้งหลายก็ ไม่ต้องเสียชีวิตถูกฆ่าถูกเฉือน แต่ได้ผลดีกว่าวิธีที่มีการฆ่าแบบนี้ ซึ่งในยุคโบราณก่อนนั้นก็ได้มีมาแล้ว

@@@@@@@@

เขาถามว่า มีอย่างไร พระพุทธเจ้าก็ตรัสบอกให้ โดยสรุป พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนวิธีบูชายัญ ด้วยการจัดการทรัพย์สิน โดยให้ผู้ครองเมือง หรือผู้ครองแผ่นดิน จัดตั้งแผนการจัดสรรทรัพย์ โดยรวบรวมทุน แล้วก็จัดสรรแบ่งปันกระจายออกไปให้ทั่วถึงกันแก่คนทุกหมู่เหล่าผู้ทําหน้าที่การงานการอาชีพประเภทนั้นๆ ให้ทั่วจนถึงราษฎรยากจนทั้งแผ่นดิน ให้อยู่กันดีมีพอกินพอใช้พอใจที่จะ ได้ตั้งใจทําการงานอาชีพของตนๆ ต่อไป

เมื่อผู้ครองเมืองบูชายัญแบบนี้ ก็จะเกิดผลดีถึงขั้นที่เรียกว่า "บ้านเรือนไม่ต้องลงกลอน ให้บุตรฟ้อนบนอก”

นี่เป็นสํานวนบาลี หมายความว่า ถ้าทําพิธีบูชายัญแบบนี้ ประชาชนก็จะอยู่กันร่มเย็นเป็นสุข ถึงขั้นที่ว่า “บ้านเรือนไม่ต้องลง กลอน” หมายความว่า ไปไหนก็ไม่ต้องใส่กุญแจบ้าน เพราะไม่มี คนที่จะมาลักขโมย ไม่มีโจรผู้ร้าย

แล้วที่ว่า “ให้บุตรฟ้อนบนอก" ก็หมายความว่า ในบ้านใน ครอบครัวจะมีความสุข ถึงขั้นที่ว่าไม่ต้องห่วงกังวลหวาดกลัวภัย อะไรๆ สามารถเล่นกับลูกน้อยให้เขากระโดดโลดเต้นบนอกของพ่อ แม่ คนจะมีความสุขกันอย่างนี้ นี่คือการบูชายัญตามคติของ พระพุทธศาสนา ไม่ใช่ยัญแบบพราหมณ์ แต่เป็นยัญแบบพุทธ ผู้ปกครองจะต้องทําบ้านเมืองให้คนอยู่กันได้อย่างนี้

เรื่องยัญนี้ พระพุทธศาสนาสอนเยอะ เพราะว่าพวก พราหมณ์นั้นมีพิธีบูชายัญทุกบ้านทุกครอบครัวและเป็นประจําทุกวัน ตั้งแต่เริ่มวันใหม่กันเลย แต่ละบ้านต้องบูชายัญประจําวัน ขาด ไม่ได้ และมีกําหนดว่าต้องทําอย่างนั้นๆ พระพุทธเจ้าเสด็จไปถึง ก็ทรงสอนให้เลิกทํา หรือให้แก้ไขเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด นอกจากการบูชายัญ ก็ทรงยกเลิกระบบวรรณะด้วย

อีกตัวอย่างหนึ่งที่ง่ายๆ คือคําว่า “ทักษิณา” คํานี้เราก็เอา ของพราหมณ์มาใช้ เป็นบาลีว่า “ทักขิณา

ทักษิณา คือ ของตอบแทนที่มอบให้หรือถวายให้แก่พราหมณ์ ผู้ทําพิธีบูชายัญ ถ้าพูดอย่างไม่เกรงใจ ก็คือ ค่าจ้างทําพิธีบูชายัญ ทีนี้พระพุทธศาสนาเกิดขึ้น พระพุทธเจ้าทรงให้เลิกพิธีบูชายัญ ทักษิณาก็เปลี่ยนมามีความหมายใหม่ หมายถึงสิ่งที่นํามาทําบุญ ด้วยใจศรัทธา ที่เชื่อในบุญในกรรมในธรรม ความหมายเปลี่ยนใหม่ แต่สิ่งของก็คล้ายๆกัน คือเป็นของให้ ของถวาย

เรื่องที่ว่าความหมายเปลี่ยนไป หลักการเปลี่ยนไปอย่างนี้ มี ตัวอย่างเยอะแยะทั่วไป คือ คําเก่าเขาใช้มา เราเกิดมาใน สภาพการณ์อย่างนั้น ก็เอาคําของเขามาใช้ แล้วก็ค่อยๆ ให้คน เข้าใจใหม่ให้ถูกต้อง

@@@@@@

รู้จักพุทธมนต์ไว้ พอไม่ให้กลายเป็นไสยศาสตร์

ทีนี้ก็มาดูกันในเรื่องการสวดมนต์ ที่จริงเรามีศัพท์ของเราอยู่ แล้ว และแต่เดิมนั้นเราใช้คําว่า “มนต์” เพียงบางครั้งบางโอกาส โดยเป็นการใช้แบบเทียบเคียงเพื่อให้เขาเข้าใจเรื่องของเรา ด้วยค่าเรียกเรื่องที่เขารู้จักดีอยู่แล้ว

บางทีเราก็ใช้คําว่ามนต์นั้น เป็นเชิงล้อศัพท์ของพราหมณ์ เพื่อให้เห็นความหมายอย่างอื่นต่างออกไป ที่ประชาชนควรเข้าใจจะได้เลิกหลงเลิกติดอยู่กับมนต์ในความหมายอย่างเก่าของพวกพราหมณ์พวกฤษี

อย่างที่ได้บอกแล้วเมื่อกี้นี้ว่า มนต์ (บาลี : มนุต) หรือมนตร์ (สันสกฤต : มนตร) ตามความหมายหลักแต่เดิมมา หมายถึงพระ เวท ที่เป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของพราหมณ์ แล้วรองลงมาก็หมายถึง ค่าขลังศักดิ์สิทธิ์ ที่พวกพราหมณ์พวกฤษนั้นเอามาร่ายมาเสกมา สาธยาย ให้เกิดอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ สาปแช่งคนให้ตายหรือให้ เป็นไปต่างๆ บ้าง ชุบคนตายให้เป็นขึ้นมาบ้าง สะกดคนสะกดสัตว์ ให้อยู่ในบังคับ ให้เป็นไปต่างๆ บ้าง

พวกฤษีนั้นโกรธเกลียดใครมากๆ ก็มักสาปแช่งให้ศีรษะแตก ตายใน ๗ วัน พระโพธิสัตว์ก็เคยถูกสาปแช่งอย่างนั้น โดยฤษีที่มา จากวรรณะพราหมณ์ คือพราหมณ์ที่มาบวชเป็นฤษี

ในเรื่องนั้น พระโพธิสัตว์เกิดเป็นคนจัณฑาล ต้องการปราบ มานะคือความเย่อหยิ่งถือตัวของพวกพราหมณ์ ก็ไปแกล้งฤษี พราหมณ์ แล้วก็ถูกฤษีพราหมณ์นั้นสาปแช่งว่า ให้แกต้องไปทําอย่างนั้นๆ ไม่อย่างนั้นให้ศีรษะแตกใน ๗ วัน แต่พระโพธิสัตว์แก้ไขได้ ไม่เป็นไร จนในที่สุดฤษีพราหมณ์นั้นต้องยอมแพ้ อะไรอย่างนี้มีเยอะ เรื่องผจญกับพวกพราหมณ์ ลัทธิเก่านี่มีมากมาย

@@@@@@@@

ทีนี้ คําว่า มนต์, มนตร์, มันตระนี่ ดังที่ว่าแล้ว เดิมนั้นเป็น เรื่องของพราหมณ์ ไม่ใช่เป็นคําพุทธ แต่บางครั้งท่านนํามาใช้ใน พระพุทธศาสนาในความหมายเชิงเทียบเคียง เช่น ในเรื่องของพระเถรีชื่อว่ากุณฑลเกสี

พระกุณฑลเกสี เป็นพระเถรีสําคัญมาก เป็นมหาสาวิกาองค์ หนึ่ง ท่านมีชื่อเป็นทางการว่า “พระภัททากุณฑลเกสา" พระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในด้านชิปปาภิญญา คือ ตรัสรู้ฉับพลัน (ค่าไทยว่า “ตรัสรู้” นี้ เท่าที่ค้นได้ สมเด็จพระสังฆราช สมัยก่อน ครั้ง ร.๒ อย่างน้อยถึง ร.5 ทรงใช้สําหรับทุกบุคคลที่บรรลุมรรคผล แต่สมัยนี้จํากัดว่าให้ใช้เฉพาะพระพุทธเจ้า)

พระกุณฑลเกสีเถรีนี้เป็นธิดาของเศรษฐีในเมืองราชคฤห์ มีประวัติเป็นเรื่องผจญทุกข์เผชิญภัย แล้วด้วยปัญญาไวก็เอาชนะ ผ่านมาได้ เป็นเรื่องตื่นเต้นน่าสนใจ แต่ขอเล่ารวบรัดว่า ต่อมาท่านได้เป็นปริพาชิกาในลัทธิภายนอก เที่ยวเดินทางไปแสวงธรรมหาความจริง และเพราะเป็นคนมีปัญญาเยี่ยม ก็เที่ยวท้าหาคนเก่งๆ มาตอบปัญหาโต้วาทะ จนมาเจอกับพระสารีบุตร ท่านถามปัญหา มากมาย พระสารีบุตรตอบได้หมด

แล้วพระสารีบุตรถามบ้าง ท่าน ตอบไม่ได้ และจึงถามด้วยความอยากรู้อยากเรียนว่า ที่พระสารีบุตรถามนั้นเป็นเรื่องอะไร พระสารีบุตรก็ตอบโดยใช้คําว่าเป็น “พุทธมนต์” นี่คือใช้คําว่ามนต์มาสื่อความหมายให้คนภายนอก เข้าใจถึงความสําคัญ ท่านกุณฑลเกสีอยากจะเรียน จึงได้บวช และต่อมาก็ได้เป็นพระภิกษุณีสําคัญ

ดังที่ว่า อย่างไรก็ดี ในเรื่องของพระกุณฑลเกสีเถรีนี้ คําที่ใช้ยังไม่แน่ชัด คือในคัมภีร์ฉบับของพม่า ของสิงหล และฉบับอักษรโรมัน บอกว่าพระสารีบุตรตอบโดยใช้คําว่าเป็น “พุทธปัญหา” ไม่ได้ใช้ คําว่าเป็น “พุทธมนต์” อย่างในฉบับของไทย ก็ไม่เป็นไร ถ้าจะให้ เป็นเรื่องที่แน่ชัดกว่านี้ ก็ต้องเอากรณีที่คนผู้เป็นพราหมณ์ชํานาญเวทมาพบกับพระเถราจารย์องค์สําคัญๆ

พระสาวกองค์สําคัญๆ ของพระพุทธเจ้า ส่วนมากมาบวช โดยสลัดออกจากตระกูลพราหมณ์ เพราะในระบบวรรณะนั้น คนที่เกิดในวรรณะพราหมณ์ถือตัวว่าเป็นชนชั้นสูงสุด เป็นคนพวกเดียว ที่ติดต่อถึงกับพระพรหมผู้เป็นเจ้าได้ และเข้าถึงการศึกษาได้จริงจังเต็มที่ พราหมณ์จึงเป็นทั้งผู้มีอํานาจใหญ่โต และเป็นปัญญาชนของยุคสมัยนั้น

@@@@@@@@

ในที่นี้ จะพูดถึงพราหมณ์ ๒ ท่าน ที่ได้สละความเป็นพราหมณ์ออกมาบวช และได้เป็นบุคคลสําคัญ

ในประวัติศาสตร์ พระพุทธศาสนา ยุคหลังพุทธกาล หลังพุทธปรินิพพาน ๒๐๐ ปี เศษ พระเจ้าอโศกได้เป็น มหาราชปกครองชมพูทวีปในยุคที่อินเดียกว้างใหญ่ไพศาลที่สุด พระองค์ทรงหันมานับถือพระพุทธศาสนา ทรงอุปถัมภ์บํารุงวัด และพระสงฆ์เต็มที่ แล้วก็ได้มีคนจากลัทธิภายนอก ซึ่งอยากได้ ลาภมากมายเพื่อให้เป็นอยู่สุขสบาย เข้ามาบวชและเอาคําสอนที่ ผิดเพี้ยนเข้ามาสั่งสอน เป็นอันตรายต่อพระพุทธศาสนา ทําให้ ความรู้ความเข้าใจหลักธรรมฟันเฟือน พระเจ้าอโศกมหาราชจึงได้ ทรงอุปถัมภ์พระสงฆ์ในการทําสังคายนา (ครั้งที่ ๓) โดยได้พระ โมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธานการสังคายนานั้น

พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระนี้ เดิมทีก็เกิดในวรรณะพราหมณ์ มีชื่อว่าติสสะ เป็นเด็กสมองดี จึงเรียนจบไตรเพทตั้งแต่เป็นมาณพ น้อยอายุเพียง ๑๖ ปี แล้ววันหนึ่งมีเหตุการณ์ที่ทําให้พระเถระชื่อว่าสิคควะ มานั่งบนแท่นที่นั่งของเขา ติสสมาณพนั้นถือตัวนัก กลับจากบ้านของอาจารย์มาเห็นเข้า ก็โกรธมากและต่อว่า แล้วลงท้ายก็ถามกันถึงความรู้เรื่องมนต์

พระถามว่า “นี่มาณพน้อย เธอรู้มนต์บ้างไหม.?"
ติสสะตอบว่า “ถ้าคนอย่างข้าไม่รู้ คนอื่นที่ไหนใครจะรู้"
แล้วเขาก็ยกเอาเรื่องที่ยากๆ ในไตรเพทและคัมภีร์สําคัญของพราหมณ์ขึ้นมาพูดและถามพระเถระเพื่อจะข่ม แต่พระสิคควะตอบได้ อธิบายได้หมด เพราะท่านก็ได้เรียนจบไตรเพทมาแล้ว แถมได้ปฏิสัมภิทามีปัญญาแตกฉาน

มาณพหมดภูมิที่จะถามแล้ว พระเถระก็บอกว่า เธอถามมามากแล้ว ฉันถามบ้างได้ไหม ขอข้อเดียวแหละ มาณพบอกว่า ก็ถามมาสิ พระเถระถามว่า
     “จิตของผู้ใดเกิด ไม่ดับ จิตของผู้นั้น จักดับ จักไม่เกิด หรือว่า จิตของผู้ใด จักดับ จักไม่เกิด จิตของผู้นั้น เกิด ไม่ดับ”

มาณพน้อยเมื่อกี้หมดภูมิที่จะถามแล้ว คราวนี้ไม่มีภูมิ ที่จะตอบ คิดทางไหนก็ไปไม่ได้ ในที่สุดจึงถามว่า ที่ท่านถามมานั้น เป็นเรื่องอะไร พระตอบว่าเป็น “พุทธมนต์”

มาณพถามว่าให้ฉันได้ไหม พระตอบว่า ถ้าเธอเป็นเหมือนอย่างฉันนี่ ก็ให้ได้ (คือ ถ้าบวช เป็นพระเป็นเณรเหมือนกันแล้ว ก็จะให้) มาณพน้อยอยากได้พุทธมนต์ ก็ไปขออนุญาตบิดามารดา ฝ่ายพราหมณ์พ่อแม่คิดว่าลูกไปบวชได้มนต์แล้ว ก็จะกลับมาบ้านเอง จึงยอมให้ไป

พระเถระให้มาณพน้อยบวชเป็นสามเณรแล้ว ก็จัดการให้ได้ฝึกได้เรียนพุทธพจน์ จนถึงเวลาก็อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่มีความรู้เชี่ยวชาญทรงพระไตรปิฎก แล้วก็ได้เป็นพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระที่เป็นประธานการสังคายนาครั้งที่ ๓ นั้น ใน พ.ศ. ๒๓๕-๖

@@@@@@@

ในเรื่องนี้จะเห็นว่า พระเถระใช้คําว่า “พุทธมนต์" เพื่อให้ มาณพได้ความคิดความเข้าใจและสนใจโดยเทียบเคียงกับเรื่อง จําพวกไตรเพทที่เขารู้จักอยู่แล้วและเขาถือว่าสําคัญยิ่งใหญ่ แต่ที่จริงพุทธมนต์นั้นก็คือพุทธพจน์ หรือบทธรรมข้อธรรมทั้งหลาย นี่เอง และพุทธมนต์ คือมนต์ของพระพุทธเจ้านี้เป็นเรื่องสําหรับ ศึกษาที่จะต้องเรียนให้รู้เข้าใจด้วยปัญญา ไม่ใช่แค่เอามาจําให้ แม่นใจแล้วว่าให้คล่องปาก โดยไม่รู้ว่าอะไรเป็นอย่างไร

(คําว่า “พุทธมนต์” นี้ มีการใช้ในความหมายแบบที่เป็นมนต์ ของพราหมณ์ด้วย คือหมายถึงมนต์ในคัมภีร์มหาบุรุษลักษณะ ที่ ใช้ทํานายลักษณะของพระพุทธเจ้า และบุคคลสําคัญในระดับใกล้เคียง)

หลังสังคายนาเสร็จแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชทรงพอพระทัยว่าพระพุทธศาสนธรรมจะเจริญมั่นคง และควรจะให้ประเทศถิ่นดินแดนอื่นได้ประโยชน์ด้วย จึงทรงอุปถัมภ์ให้ส่งพระเป็นศาสนทูตไปประกาศพระพุทธศาสนาในดินแดนต่างๆ ๙ สาย รวมทั้งสุวรรณภูมิที่ตั้งประเทศไทยนี้ด้วย โดยเฉพาะที่ถือได้ว่าเป็น หลัก คือสายที่ ๙ สู่ลังกาทวีป ซึ่งพระหัวหน้าสาย คือพระมหินทเถระ เป็นโอรสของพระองค์เอง

สิ่งที่พระมหินทเถระนําไปเพื่อประดิษฐานพระพุทธศาสนาในลังกาทวีป คือ พระไตรปิฎกและอรรถกถาทั้งหลายนั้น (นําไปในตัวพระสงฆ์ ที่สมัยนั้นใช้วิธีสาธยายทรงจําไว้) ได้เป็นฐานที่มั่นสําคัญของพระพุทธศาสนา โดยต่อมาได้จารึกเป็นตัวอักษร และหลายประเทศได้มารับเอาไป รวมทั้งรับกลับไปสู่อินเดียแดนเดิมของพระพุทธศาสนาเอง

ที่ศรีลังกานั่นแหละ ต่อมา พระราชาก็ได้ทรงส่งทูตไปทูล พระเจ้าอโศก ขออาราธนาพระสังฆมิตตาเถรีมาประดิษฐานภิกษุณีสงฆ์ในลังกาทวีป พระสังฆมิตตาเถรีก็คือพระราชธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราชเอง และพระเถรีได้นํากิ่งพระศรีมหาโพธิ์ไปปลูกไว้ที่อนุราธปุระซึ่งเป็นเมืองหลวงของศรีลังกาในสมัยนั้นด้วย และในปัจจุบัน พระศรีมหาโพธิ์ต้นนี้ก็ยังยืนต้นอยู่ โดยมีชื่อว่าเป็น ต้นไม้ประวัติศาสตร์ที่มีอายุยืนยาวที่สุดในโลก




รู้จักพุทธมนต์จริง ก็จบพระพุทธศาสนา

ที่เล่าเมื่อกี้นี้เป็นเรื่องราวในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ที่ พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก ซึ่งอยู่ในช่วงเวลา ๓ ศตวรรษแรก แต่หลังจากนั้น พุทธศาสนาในอินเดียก็ประสบภัย ถูก เบียดเบียนเรื่อยมา

บอกแล้วว่าพวกพราหมณ์ถือตัวว่าเป็นวรรณะประเสริฐ สูงสุด เป็นเจ้าคัมภีร์ที่พระพรหมทรงลิขิตชีวิตคนและสังคมไว้ และ พราหมณ์ก็ได้ผลประโยชน์ทุกอย่างจากอํานาจในฐานะของตน แต่เมื่อพระพุทธศาสนาเกิดขึ้น

พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เลิกถือวรรณะ ให้เลิกบูชายัญ ให้รู้ว่าคนมีชีวิตที่เกิดมาตามเหตุปัจจัยของธรรมชาติ ไม่ใช่เกิดจากพระพรหมสร้าง และมนุษย์สามารถฝึกศึกษาพัฒนาตัวให้ดีเลิศประเสริฐได้เหนือพระพรหม นี่ก็เท่ากับโค่นล้มพราหมณ์ลงทั้งหมด

แต่ก็พราหมณ์นั่นแหละจํานวนไม่น้อย ที่ใจดีมีปัญญา ได้ฟัง พระพุทธเจ้าแล้ว ก็เห็นตามที่พระองค์ทรงสอน และสละวรรณะ พราหมณ์ออกมาเป็นพุทธสาวกช่วยพระพุทธเจ้าสอนประชาชนให้ รู้เข้าใจความจริงและดําเนินชีวิตนําทางสังคมอย่างใหม่

เรื่องราวความเป็นไปอย่างที่ว่ามานี้ ทําให้พวกพราหมณ์ที่ยึดถือมั่นไม่พอใจ บ้างก็ถึงกับหาทางกําจัดพระพุทธศาสนา เฉพาะอย่างยิ่ง การบูชายัญเป็นหลักปฏิบัติใหญ่ เป็นที่ใช้อํานาจสิทธิ์ขาด และเป็นที่มาของผลประโยชน์มากมายของ พราหมณ์ เมื่อพระพุทธศาสนาสอนว่าการบูชายัญไม่มีผล และ สอนคนให้เลิกบูชายัญ พราหมณ์ก็ยิ่งผูกความแค้นเคืองอันไว้ จนถึงยุคหลังๆ ต่อมา พราหมณ์ใหญ่ที่ออกมาเป็นฮินดูทั้งหลาย ทั้งสายไวษณพ ที่นับถือพระวิษณุนารายณ์ และสายไศวะ ที่นับ ถือพระศิวะอิศวร ก็พากันพุ่งเป้ามาที่จะต้องกําจัด พระพุทธศาสนาลงให้ได้

เริ่มแต่ในยุคแรก ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (พ.ศ. ๒๑๘- ๒๖๐) ที่ทรงนับถือพระพุทธศาสนา อํานาจและอิทธิพลของ พราหมณ์ยิ่งน้อยลง พระเจ้าอโศก ถึงกับทรงให้เขียนประกาศใน ศิลาจารึกห้ามทําการบูชายัญด้วยชีวิต ไม่ว่าสัตว์ใหญ่น้อยชนิด ไหนๆ นี่คือทําให้พราหมณ์ขัดใจแค้นเคืองมาก

แต่ในเวลาเดียวกัน เมื่อพระเจ้าอโศกไม่ทรงถือวรรณะ พราหมณ์ซึ่งเป็นคนชั้นสูงเจ้าคัมภีร์ก็เข้ามารับราชการเป็นใหญ่เป็นโตโดยสะดวก เหมือนรอเวลาที่จะเอาคืน (เมื่ออังกฤษเข้ามาครองอินเดียเป็นอาณานิคม ก็ใช้อํานาจบังคับ ห้ามเอาคน เอาเด็ก เอาสาวพรหมจารีมาบูชายัญ จนถึงรัฐบาลอินเดียสมัยปัจจุบันก็มีกฎหมายห้าม แต่ขนาดมีกฎหมายให้ลงโทษอย่างแรง ก็ยังมีการลักลอบเอาเด็กหญิงพรหมจารีไปบูชายัญสังเวยเจ้าแม่กาลี นี่คืออํานาจความเชื่อแบบพราหมณ์)

@@@@@@@

เวลาผ่านมาแค่ราว ๑ ศตวรรษ ถึงรัชกาลพระเจ้าพฤหัทรถ ที่เป็นนัตตาหรือปนัดดาของพระเจ้าอโศกมหาราช พวกพราหมณ์ก็ ได้โอกาส โดยพราหมณ์ชื่อว่าบุษยมิตร ซึ่งเข้ามารับราชการจนได้เป็นเสนาบดี ได้วางแผนปลงพระชนม์ในพิธีสวนสนาม ล้มโมริยวงศ์ของพระเจ้าอโศกลงในราว พ.ศ. ๒๕๖ แล้วพราหมณ์ปุษยมิตร ก็ขึ้นเป็นราชา ตั้งราชวงศ์ใหม่ชื่อว่าคุงคะราชาปุษยมิตรได้รื้อฟื้นการบูชายัญขึ้นมา โดยทําพิธีอัศวเมธ (ฆ่าม้าบูชายัญ) อย่างยิ่งใหญ่ และทําลายพระพุทธศาสนา โดยเผาวัด กําจัดพระภิกษุสงฆ์ ถึงกับให้ค่าศีรษะแก่ผู้ฆ่าพระภิกษุ ได้ รูปละ ๑๐๐ ทินาร์

แต่ปุษยมิตรคงทําลายได้ไม่เต็มที่ เพราะแว่นแคว้นแตกแยก ออกไป บางถิ่นก็ยังบํารุงพระพุทธศาสนา เช่น พญามิลินท์ หรือ เมนานเดอร์ กษัตริย์พุทธแห่งแคว้นโยนก หรือ Bactria ซึ่ง ครองราชย์ที่เมืองสาคละ หรือสากละ (ในปัญจาบปัจจุบัน) ก็เป็น องค์อุปถัมภกสําคัญ

ต่อมาอีกราว ๗๐๐ ปี ใน พ.ศ. ๑๐๕๐ เศษ ที่เมืองสาคละ นั่นแหละ กษัตริย์มิตรกุละ (หรือ มหิรกุละ) ซึ่งเป็นชนเผ่าฮั่นขาว หรือหูณะ ที่บุกเข้าอินเดียมาทางอิหร่านและอัฟกานิสถาน ได้ขึ้น ครองราชย์ อยู่ในศาสนาพราหมณ์ โดยเป็นฮินดูนิกายไศวะ (นับ ถือพระศิวะ คืออิศวร) ได้ทําการร้ายตามที่พระถังซัมจั๋งเขียนเล่าไว้ ว่า มิหิรกุละได้สั่งให้กําจัดพุทธศาสนาให้หมดสิ้นจากดินแดนของพระองค์ทุกแห่ง

แต่มิหิรกุละถูกตอบโต้โดยพระเจ้าพาลาทิตย์ กษัตริย์ราชวงศ์ คุปตะ แห่งมคธ แล้วทําสงครามกัน มีหิรกุละถูกจับได้และขังไว้

ต่อมา มีหิรกุละหนีได้ ไปลี้ภัยอยู่ในแคว้นกัษมีระ (แคช เมียร์) แล้วสังหารกษัตริย์กับมีระเสีย ขึ้นเป็นกษัตริย์เอง แล้วรื้อฟื้น แผนการกําจัดพระพุทธศาสนา โดยล้มล้างพระสถูปทั้งหลาย ทําลายวัด ๑,๖๐๐ วัด สังหารพุทธศาสนิกชน ๙๐๐ โกฏิ แต่ใน ที่สุด ได้กระทําอัตวินิบาตกรรม โดยโจนเข้ากองไฟ

ต่อมาอีก ๑๐๐ ปี ราว พ.ศ. ๑๑๕๐ ศาสางกะ ซึ่งอยู่ใน ศาสนาพราหมณ์นั่นแหละ โดยเป็นกษัตริย์ฮินดูนิกายไศวะ เช่นเดียวกัน ครองราชย์ในแคว้นเคาตะ ในเบงกอลปัจจุบันภาค กลาง ได้ปลงพระชนม์กษัตริย์พุทธพระนามว่าราชยวรรธนะ แล้ว ทําลายพุทธศาสนาอย่างมากมาย แม้แต่เหรียญเงินตราของ กษัตริย์นี้ ก็เขียนกํากับชื่อราชาไว้ว่า “ผู้ปราบพุทธศาสนา” พระถังซัมจั๋งเขียนบันทึกไว้ว่า ศาศางกะได้สังหารพระภิกษุ ในแถบกุสินารา (กุศนคร) หมดสิ้น ทําให้สงฆ์พินาศไป และเป็นราชาที่ไปโค่นต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่พุทธคยาลง และขุดรากขึ้นมาเผา กับทั้งนําเอาพระพุทธรูปออกไปจากพระวิหารทางทิศตะวันออกของต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น นําเอาศิวลึงค์เข้าไปไว้แทน

นอกจากนี้ นักบวชไศวะที่สําคัญคือ กุมารละ และตั้งกราจารย์ ก็เที่ยวสั่งสอนโจมตีพระพุทธศาสนา และไม่เท่านั้น เมื่อเดินทางไปไหน ก็พยายามชักจูงชวนกษัตริย์และคนชั้นสูงที่มีอํานาจ ให้เลิกอุปถัมภ์บํารุงวัดและพระพุทธศาสนา

แล้วสุดท้าย ราว พ.ศ. ๑๗๔๙ กองทัพมุสลิมเตอร์ก ก็บุกทําลายล้างพระพุทธศาสนาหมดสิ้นจากอินเดีย
ที่เล่ามานี้ เป็นตัวอย่างให้เห็นภัยอันตราย ที่ทําให้พระพุทธศาสนาเสื่อมสลาย

@@@@@@@

ทีนี้ก็มาดูเหตุการณ์สําคัญเมื่อใกล้ก่อนถึง พ.ศ. ๑๐๐๐ จะ ได้เห็นว่าเวลานั้น ในอินเดีย พระพุทธศาสนาก็โทรมหนักแล้ว การเล่าเรียนศึกษาธรรมวินัยอ่อนกําลัง ทําได้ยาก

มีเรื่องว่า เมื่อราว พ.ศ. ๙๕๖ ที่อินเดีย ณ ถิ่นใกล้เคียงต้นมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้นั่นเอง ในบ้านพราหมณ์ครอบครัวหนึ่ง มีเด็กฉลาดเกิดขึ้น ชื่อโมสะ มาณพน้อยนี้เรียนจบไตรเพท เก่งกล้าในศิลปศาสตร์ทุกอย่าง และเป็นเจ้าวาทะ จึงได้เดินทางไปในคามนิคมนครราชธานี ทั่วชมพูทวีป เที่ยวถกเถียงทางวิชาการไปทั่ว จนมาถึงวัดหนึ่ง ยังไม่พบใคร

ถึงราตรีก็สาธยายคําสอนของปตัญชลี (ผู้แต่ง “โยคสูตร”) พระมหาเถระที่วัดนั้นชื่อเรวัตได้ยิน ฟังแล้วก็รู้ว่าเขาเป็นคนเก่งมาก คิดว่าควรจะให้เขารู้จักธรรม จึงแกล้งพูดว่าใครหนอมา ร้องเสียงอย่างกับลา

มาณพถามกลับมาว่า ท่านรู้เข้าใจ ความหมายในเสียงลาหรือ พระเถระตอบว่ารู้ มาณพจึงซักถาม ตามหลักวิชาของพราหมณ์ ตั้งแต่ไตรเพท พระเถระก็ตอบได้หมด เสร็จแล้วจึงขอเป็นฝ่ายถามบ้าง (ในพุทธโฆสปปวตฺติกถา ท้าย คัมภีร์วิสุทธิมัคคี ฉบับอักษรไทย คําถามของพระเถระที่นี่ ตรงกับ ในเรื่องของพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ในสมันตปาสาทิกา น่าจะ มีความพลั้งเผลออะไรสักอย่าง จึงขอเล่าพอเป็นเค้าตามคัมภีร์สาสนวงศ์)

โดยถามเรื่องปรมัตถธรรมตามนัยแห่งอภิธรรมมาติกา มาณพตอบไม่ได้ จึงถามว่าเป็นเรื่องอะไร พระเถระก็ตอบว่า เป็น "พุทธมนต์" มาณพก็อยากเรียน แล้วก็ได้บรรพชาและ อุปสมบท และศึกษาพุทธพจน์จนจบพระไตรปิฎก มีชื่อเสียง ปรากฏว่าเป็นพระพุทธโฆส

พระพุทธโฆสนี้มีปรีชาสามารถมาก จึงคิดแต่งตํารา เริ่มด้วยคัมภีร์ญาโณทัย เสร็จแล้วก็จะแต่งอรรถกถาอภิธรรม พระอาจารย์ คือพระมหาเถระเรวัตจึงบอกให้รู้ว่า ในชมพูทวีปนี้มีเหลือแต่พระไตรปิฎกบาลีเท่านั้น ไม่มีอรรถกถาและคัมภีร์อื่นๆ แต่ในสิงหลทวีปมีอรรถกถา ที่พระมหินทเถระจัดรวบรวมไว้เป็นภาษาสิงหล ซึ่งยังสืบกันมา ขอให้พระพุทธโฆสไปที่สิงหลทวีปนั้น สํารวจดูแล้ว แปลกลับมาเป็นภาษามคธคือภาษาบาลี ก็จักก่อเกิดประโยชน์แก่คนทั่วโลก

ด้วยเหตุนี้ พระพุทธโฆสจึงได้ลงเรือเดินทางไปลังกาทวีป เข้าไปอยู่ที่มหาวิหาร ในเมืองอนุราธปุระ และได้ขออนุญาตสังฆะ ที่นั่นในการที่จะแปลอรรถกถาภาษาสิงหลกลับมาเป็นภาษาบาลี เพื่อนํากลับไปใช้ที่ถิ่นแดนเดิมในชมพูทวีป

ทั้งนี้มีเรื่องราวยืดยาว เริ่มตั้งแต่ทดสอบความสามารถด้วย การแต่งคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ แล้วได้รับอนุญาตให้แปลอรรถกถา จนในที่สุดก็สําเร็จจบสิ้นตามปรารถนา และนํากลับมายังชมพูทวีป ดังที่เรามีอรรถกถาภาษาบาลีซึ่งใช้ประกอบการศึกษาพระไตรปิฎกอยู่ในบัดนี้

ขอให้เข้าใจว่า พระพุทธโฆสาจารย์เป็นผู้เริ่มต้นยุคอรรถกถาที่กลับมีเป็นภาษาบาลีขึ้นใหม่ ท่านได้จัดทําอรรถกถาขึ้นเป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่ถึงกับครบบริบูรณ์ มีพระอรรถกถาจารย์รูปอื่นๆ ทําส่วนที่ยังขาดอยู่จนเสร็จสิ้น ในระยะเวลาใกล้เคียงกันนั้นและ ต่อจากนั้นไม่นาน

(ยังมีต่อ..)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 05, 2024, 07:35:11 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28906
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: สวดมนต์ ต้องไม่โค่น "สาธยาย"
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2024, 07:30:03 am »
0
.



ตอน ๒. มาดูตํานาน ของเรื่องที่เป็นตํานาณ



 :25:

หลีกจากมนต์ มามีปริตร

ได้บอกแต่ต้นแล้วว่า มนต์ มนตร์ มันตระ นี่ เป็นคําสําคัญ ของพวกพราหณ์มาแต่เดิม ในความหมายหลัก เขาหมายถึงพระ เวท คือคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของพราหมณ์ ที่เรียกว่าไตรเพท เฉพาะ อย่างยิ่งพระเวทที่ ๔ คืออาถรรพเวท แล้วก็หมายถึงคําขลัง ศักดิ์สิทธิ์ ที่พวกพราหมณ์พวกฤษเอามาร่ายมาเสกมาสาธยาย แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ สาปแช่งคนให้ตายหรือให้เป็นไปต่างๆ บ้าง ชุบคนตายให้เป็นขึ้นมาบ้าง สะกดคนสะกดสัตว์ให้อยู่ใน บังคับ ให้เป็นไปต่างๆ บ้าง

ทีนี้ พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นในบรรยากาศของสังคมที่ พราหมณ์เป็นใหญ่ บางทีหรือบ่อยครั้งก็ต้องใช้คําของเขา แต่เรา ใช้คํานั้นๆ ในความหมายแบบของเรา ทํานองว่าเป็นการใช้แบบ เทียบเคียงหรือล้อคําล้อความ อย่างคําว่า “มนต์” ที่เราสวดนี้ เป็น พุทธมนต์ ก็คือค่าสอนของพระพุทธเจ้า อย่างที่ได้เล่าเรื่องตัวอย่าง ให้ฟังมาแล้ว นี่คือ มนต์ของพุทธไม่ใช่เป็นอย่างมนต์ของพราหมณ์

แล้วก็ให้สังเกต ในหนังสือสวดมนต์ รวมบทสวดมนต์ที่นิยม ใช้กันเป็นประจํา คือเจ็ดตํานาน สิบสองตํานาน รวมทั้งทําวัตรเช้า ทําวัตรค่ํา ด้วยนั้น ถ้าตรวจค้นดูจะรู้ว่า คําว่า “มนต์” มีในชื่อหนังสือ เท่านั้น แต่ในคําสวดหมดทั้งเล่มหนังสือนั้น ไม่มีคําว่ามนต์เลย (ที่ว่านี้ นอกจากว่าใครจะพิมพ์ให้แปลกพิเศษออกไป โดยเก็บเอาคาถามนต์ขลังข้างนอกเข้ามาใส่รวมไว้)

ถ้ามนต์ไม่ใช่เป็นชื่อเรียกคําสวดของพุทธ แล้วของพุทธจะเรียกว่าอะไร ที่จริง นานมาแล้วก่อนมีหนังสือสวดมนต์ ตั้งแต่ในพุทธกาล ก็มีคําตรัสคําสอนของพระพุทธเจ้า ที่ต่อมาชาวพุทธนํามาสวดกันโดยใช้ในลักษณะที่พอเทียบได้ในบางแง่กับมนต์ของพราหมณ์

ขอให้ดูตัวอย่าง ชีวิตพระนี้อยู่กับธรรมชาติ กลางป่า บนเขา ถึงพระจะขยันกวาดลานวัด จัดเก็บเสนาสนะสะอาดเรียบร้อย แต่ก็ยังมีโอกาสเจอะเจอกับสัตว์ร้ายได้มากพระจึงต้องมีจิตใจดีด้วย

ในพระไตรปิฎก (วินย. ๒/๒๖/๑๑ เป็นต้น) มีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่ง มี พระภิกษุถูกงูกัดถึงมรณภาพ คราวนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสแนะนํา ให้พระภิกษุแผ่เมตตาแก่ประดางู ๔ ตระกูล และขยายไปถึงสัตว์ อื่นทั้งหลายทุกอย่างด้วย พุทธพจน์ที่ตรัสคราวนี้ ซึ่งมีทั้งส่วนที่เป็น คาถา และที่เป็นความร้อยแก้ว เราก็เอามาสวดกัน เรียกชื่อว่า “ขันธปริตร”*

ทําไมจึงเรียกว่า "ปริตร” (บาลีว่า “ปริตฺต”) ในพุทธพจน์ที่ ตรัสแนะนําครั้งนี้ก็มีคําว่า “ปริตฺต” คือตอนที่แผ่เมตตานั้น ก็บอก กํากับไปด้วยว่า “กตา เม รักขา, กตา เม ปริตตา” (ข้าฯ ได้ทําการ รักษา, ข้าได้ทําการป้องกัน) นี่คือ ปริตฺตปริตร แปลว่า ป้องกัน

____________________________
*เรื่องนี้มีในชาดกด้วย เรียกว่า ขนฺธปริตฺตชาตก (ชา.อ.๑/๒๕๔/๒๗๔) แต่ฉบับอัฏฐ สังคีติ-พม่า เรียกว่า ชนธชาดก บ้าง ขณฑชาดก บ้าง และในพระสูตรก็มีอีก (องฺ.จตุกฺก.๒๑/๖๗/๙๔)

@@@@@@@

การที่แผ่เมตตาและการที่นํามาสวดนี้ ก็เพื่อเป็นการป้องกัน นี่แหละ สาระหรือวัตถุประสงค์อยู่ที่นี่ ก็จึงเรียกพุทธพจน์ คําสอน คาถา ที่นํามาสวดอย่างนี้ว่า “ปริตฺต” เป็นไทยว่า “ปริตร” หรือ “ปริตต์” (ส่วน “ขันธ” เป็นชื่อเฉพาะของคําสวดนี้

ที่ว่า ปริตฺตปริตร แปลว่า ป้องกันนั้น จะเห็นว่าเมื่อกี้มีคําว่า “รกขา” คือรักษา ด้วย ที่จริง คําที่มีความหมายเหมือนๆ กัน อยู่ใน ชุดเดียวกันนี้ มีหลายคํา เอามาใช้ได้ทั้งนั้น ที่ควรรู้คือ รักขา อารักขา ปริตฺต ตาณะ ปริตตาณะ ปริตตาณา (ตาณ แผลงเป็น “ตํานาน” ก็ได้) แปลว่า คุ้มครอง ป้องกัน รักษา

ทีนี้ ในอดีตกาลนานมานั้น ท่านผู้รู้ก็ได้เลือกพุทธพจน์คํา สอนในที่ต่างๆ เป็นพระสูตรบ้าง เป็นชาดกบ้าง ซึ่งมีลักษณะที่เป็น การรักษา คุ้มครอง ป้องกัน ตลอดจนช่วยให้ปลอดโรคปลอดภัย อย่างนี้ เอามาจัดเป็นปริตรชื่อนั้นๆ เพิ่มขึ้น จนมีมากหลายปริตร บางปริตรมีตํานานเป็นเรื่องสําคัญทีเดียว ตัวคําสอนเป็น พระสูตรมีในพระไตรปิฎก แต่เรื่องที่เล่ามาในอรรถกถา (ขุททก.อ. ๑๔๐) บอกว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปโปรดด้วย ตามเรื่องว่า

คราวหนึ่ง เวสาลี เมืองหลวงของแคว้นวัชชี ที่เคยมั่งคั่ง รุ่งเรือง ได้เกิดทุพภิกขภัย ข้าวยากหมากแพง และอหิวาตกโรค ระบาด คนล้มตายมากมาย กลิ่นศพเหม็นคลุ้งทั่วไปหมด พวก อมนุษย์ก็เข้ามาวุ่นวาย ในที่สุด เจ้าลิจฉวีได้ขออัญเชิญพระพุทธเจ้า เสด็จจากพระนครราชคฤห์ ข้ามฝั่งแม่น้ําคงคา มาโปรด ชาวเมืองเวสาลี พอพระพุทธเจ้าเสด็จถึงเหยียบพระบาทลงบนฝั่ง แม่พระคงคาฟากเมืองเวสาลี ฝนใหญ่โบกขรพรรษก็ตกลงมาเนื่อง นอง พัดพาเอาศพไปกับน้ําหมดสิ้น บ้านเมืองก็สะอาดหมดจด

เมื่อเสด็จเข้าเมืองแล้ว พระพุทธเจ้าได้โปรดให้พระอานนท์ เรียนรับเอารัตนสูตรจากพระองค์ และถือบาตรของพระพุทธเจ้าใส่น้ํา เดินสวดรตนสูตรนั้นเป็นปริตร พร้อมกับประพรมน้ําไปทั่วทั้ง เมือง ชาวเมืองเวลาลีก็พ้นโรคพ้นภัย คืนสู่ความสงบสุข นี่คือรัตน สูตร ได้มาเป็นรตนปริตร

@@@@@@@

ในทํานองนี้ พระอาจารย์ปางก่อนผู้พหูสูตมีความรู้มองไป เห็นได้ทั่ว ทราบอยู่ว่า พระสูตรว่าด้วยโพชฌงค์ ๗ นั้น พระพุทธเจ้า ตรัสยกย่องว่าสําคัญมาก และเมื่อพระองค์และพระมหาสาวก สําคัญบางท่านอาพาธ ได้สดับชื่นชมโพชฌงค์ ๗ นั้น ก็ได้หายจากอาพาธ ท่านก็เอาพระสูตรที่ว่าด้วยโพชฌงค์มาจัดใช้เป็นโพชฌังคปริตร เพื่อสวดให้คนเจ็บไข้ได้สดับจะได้หายโรคภัย ดังนี้เป็นต้น

จากการที่โบราณาจารย์ได้เลือกพระสูตร พุทธพจน์ ชาดก มาใช้เป็นปริตร และนิยมสวดสืบกันมา จึงมีรายชื่อปริตรต่างๆ ปรากฏอยู่ในหลายคัมภีร์ เท่าที่พบบ่อยเป็นรายชื่อ ๕ ปริตร แต่มี ๒ คัมภีร์ที่พบว่าบอกไว้มากที่สุด ๔ ปริตร (ธ.อ. ๒/๒๓๕, นิท.ศ. ๑/๓๘๖) ได้แก่ อาฏานาฏิยปริตร อิสศิลปริตร ธชัคคปริตร โพชฌงคปริตร ขันธปริตร โมรปริตร เมตตปริตร และรัตนปริตร

นอกจากนี้ ได้พบ อังคุลิมาลปริตร ในมิลินทปัญหา ฉบับ อักษรพม่า และก็พบในมิลินทปัญหา ฉบับอักษรไทยว่า ท่านเรียก รตนปริตร เป็น สุวัตถีปริตร

ปริตรทั้งหลายนี่แหละ คือบทสวดของพุทธิกชน ที่มีลักษณะ ซึ่งปรากฏให้เห็นเป็นว่าคล้ายกับมนต์ของพราหมณ์ เช่น บางที ท่านเรียกโมรปริตรว่าเป็น “พุทธมนต์” (๒๑/๔๖) แต่ที่จริงต่างกันมาก จะต้องตระหนักรู้ไว้ อย่างน้อยจึงเห็นความแตกต่างที่สําคัญ คือ

     ๑. มนต์/มนตร์ แบบของพราหมณ์ เป็นเรื่องของการแช่งด่า ทําร้าย ข่มขู่ กําจัดผู้อื่นบ้าง สะกด บังคับเพื่อเอาจากเขาบ้าง เป็น การแสดงออกของโลภะโทสะโมหะ แต่ปริตรนี้เป็นการคุ้มครองปกปักรักษาตนและหมู่ชนให้ปลอดโรคพ้นภัยได้ความเกษมสวัสดี ด้วยใจมีเมตตาการุณย์แก่ทุกฝ่ายตั้งไว้นําหน้า

     ๒. มนต์/มนตร์ แบบเดิมอย่างพราหมณ์ เป็นการใช้การอ้าง อํานาจของเทพเจ้าและอิทธิฤทธิ์ความยิ่งใหญ่ต่างๆ มาบันดาลมา กําราบให้ได้ให้สําเร็จตามใจตัว (อย่างไสยศาสตร์) แต่ปริตรที่ เรียกว่าเป็นพุทธมนต์นี้ใช้โดยอ้างเอาสัจจะเอาธรรมเอาคุณความดีที่ตนมีที่ประจักษ์แก่ตนเป็นพลังอํานาจ

     ๓. การสวดการร่ายมนต์ มนตร์อย่างพราหมณ์ เป็นการแสดงออกของความรุนแรง ตามอํานาจของกิเลสเช่นโลภโกรธ ริษยาที่เริ่มโหมระดมเร้าออกมา เท่ากับยิ่งพัฒนากิเลส แต่การสวดสาธยายปริตรที่เป็นพุทธมนต์นี้มากับการตั้งเจตนาในจิตสํานึกที่จะฝึกตนให้เจริญในธรรม เป็นการปฏิบัติในสิกขา คือ เป็นส่วนของการศึกษา ที่นิยมเรียกกันว่าปฏิบัติธรรม โดยพัฒนาจิตใจให้มีเมตตาเป็นต้น ด้วยความรู้เข้าใจที่เป็นปัญญา





แต่แล้วปริตร มาอยู่ในหนังสือสวดมนต์

รายชื่อปริตรในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาที่ยกมาให้ดูเมื่อกี้ว่ามี ๕ จนถึง 4 นั้น ก็คือคําบอกเล่าเมื่อราว พ.ศ. ๑๐๐๐ นับต่อจากนั้น มาถึงเวลานี้ ผ่านมาอีกกว่า ๑๕๐๐ ปี

ระหว่างเวลาที่ยาวนานมากนี้ กว่าจะมาถึงเมืองไทยใน ปัจจุบัน การสวดพระปริตรก็ย่อมได้วิวัฒน์มามากมาย ตั้งแต่ว่ามี ปริตรจํานวนมากขึ้น มีความนิยมและขนบธรรมเนียมแบบแผน ประเพณีต่างๆ ในการปฏิบัติกับปริตรเหล่านั้นพอกพูนขึ้น

ที่ว่านี้ก็เช่นว่า มีการนิมนต์พระไปสวดพระปริตรในโอกาส ต่างๆ มีการจัดตั้งวางระบบระเบียบแบบแผนเกี่ยวกับการสวดว่าจะสวดเป็นพิธีมีลําดับอย่างไร ปริตรไหนนิยมให้สวดในงานใด จะ จัดเป็นชุดในการสวดอย่างไร ชุดไหนมีปริตรใด ฯลฯ

เอาเป็นรวบรัดว่า ในเมืองไทยมาถึงปัจจุบันนี้ ได้มีการจัด ปริตรรวมชุดเป็นแบบแผน โดยเฉพาะที่ใช้กันเป็นประจําลงตัว มี ๒ ชุด คือ ชุดเล็ก เรียกว่า เจ็ดตํานาน และชุดใหญ่ เรียกว่า สิบสองตานาน

@@@@@@@

ชุดเล็ก คือ เจ็ดตํานาน เรียกอย่างคําบาลีว่า สัตตปริตต์ (ทางการให้เขียน “สัตปริตร” เมื่อใช้เป็นแบบแผนในพระราชพิธี มีชื่อเป็น คําศัพท์เฉพาะว่า จุลราชปริตร คือปริตรหลวงชุดเล็ก) ได้แก่
    ๑. มงคลสูตร
    ๒. รตนปริตร (มักเรียก รตนสูตร)
    ๓. เมตตปริตร (มักเรียก กรณียเมตตสูตร)
 ๔/๐. ขันธปริตร
 ๕/๐. โมรปริตร
 ๖/๐. ธชัคคปริตร (มักเรียก ธชัคคสูตร)
 ๗/๐. อาฏานาฏิยปริตร
 ๐/๗. โพชฌังคปริตร มีอังคุลิมาลปริตรนํา (ลําดับท้ายนี้ อาจเข้าแทนลําดับใดหนึ่งใน ๔-๗)

ชุดใหญ่ คือ สิบสองตํานาน เรียกอย่างคําบาลีว่า ทวาทส ปริตต์ (ทางการให้เขียน “ทวาทศปริตร” เมื่อใช้เป็นแบบแผนในพระราช พิธี มีชื่อเป็นคําศัพท์ว่า มหาราชปริตร คือปริตรหลวงชุดใหญ่) ได้แก่
    ๑. มงคลสูตร
    ๒. รตนปริตร (มักเรียก รตนสูตร)
    ๓. เมตตปริตร (มักเรียก กรณียเมตตสูตร)
    ๔. ขันธปริตร มี ฉัททันตปริตร ตาม
    ๕. โมรปริตร
    ๖. วัฏฏกปริตร
    ๗. ธชัคคปริตร (มักเรียก ธชัคคสูตร)
    ๘. อาฏานาฏิยปริตร
    ๙. อังคุลิมาลปริตร
   ๑๐. โพชฌงคปริตร
   ๑๑. อภยปริตร (มีขึ้นในยุคหลัง)
   ๑๒. ชยปริตร (มีขึ้นในยุคหลัง)


@@@@@@@

ขอรวบรัดอีกที โดยขอให้สังเกตแค่ ๒ อย่าง คือ

    ๑. ที่เรียกว่า เจ็ดตํานานและสิบสองตํานานนั้น อธิบายกันได้ว่า แต่ละปริตรมีเรื่องราวที่เป็นมาอันให้เกิดมีปริตรนั้นๆ เป็นเรื่องหนึ่งๆ บางปริตรก็เป็นคําบอกเล่าเรื่องราวหนึ่งๆ ไปด้วยในตัว ปริตรหนึ่งก็จึงมีตํานานหนึ่งหรือเป็นตํานานหนึ่ง แล้วจึงมีชุดที่เป็น เจ็ดตํานาน เป็นสิบสองตํานานนั้น

    อีกอย่างหนึ่ง ดังได้บอกข้างต้นแล้วว่า คําว่าปริตต์นี้ มีคําอื่น ที่มีความหมายอย่างเดียวกันว่ารักษา คุ้มครอง ป้องกัน ซึ่งบางที มาด้วยกันเข้าชุดกัน ได้แก่ รักขา อารักขา ตาณ ตาณา ปริตตาณ ปริตตาณา ใช้แทนกัน ใช้เสริมกัน หรืออธิบายกัน (เช่น อตฺตปริตฺตํ กาตุนฺติ อตฺตโน ปริตฺตาณํ กาตุํ, วิมติ.ฏี.๒/๒๙๗)

    ดังนั้น เจ็ดปริตร ก็เรียกได้ว่า เจ็ดตาณ สิบสองปริตร ก็เป็น สิบสองตาณ แล้วตาณ แผลงเป็นตํานาน ก็เป็นเจ็ดตํานาน คือ เจ็ดปริตร และสิบสองตํานาน คือสิบสองปริตร

    ๒. ขอให้สังเกตว่า ทั้งเจ็ดตํานาน และสิบสองตํานานนั้น ขึ้นต้นด้วยมงคลสูตร เป็นข้อแรก คือมีมงคลสูตรนําหน้า และแปลก ด้วยว่ามงคลสูตรนี้ ไม่เป็นปริตร ไม่เรียกว่าปริตร แต่เอามานําหน้า ขึ้นก่อนปริตรทั้งหมดทั้งชุด และทุกชุด

    ในคัมภีร์ภาษาบาลีทั้งหลาย ไม่มีที่ใดเรียกว่ามงคลปริตร ต่างจากพระสูตรอื่นๆ ซึ่งเมื่อนํามาใช้เป็นปริตร ก็เรียกเป็นปริตร เช่น รัตนสูตร ก็เรียกว่ารตนปริตร

    บางท่านอธิบายว่า พระสูตรใดนํามาใช้เต็มๆ สวดทั้งสูตร ก็เรียกคงเดิมว่าเป็นสูตร แต่ถ้าตัดบางส่วนมาใช้ ก็เรียกส่วนที่ นํามาใช้นั้นว่าเป็นปริตรตามชื่อของพระสูตรนั้น แต่นี่ก็ต้องยกเว้น มงคลสูตร คือ มงคลสูตรนี้ ไม่ว่าจะเอามาแค่ไหน เช่นตัดส่วน เริ่มต้นออก นํามาเฉพาะส่วนที่เป็นคาถา หรือแม้แต่ตัดคาถาแรก ออกไปแล้ว นํามาแค่ไหน ก็เรียกว่ามงคลสูตร ไม่เป็นอื่น

@@@@@@@

เรื่องนี้อย่างที่ว่าแล้ว ในคัมภีร์ภาษาบาลีตั้งแต่เดิม เมื่อ แสดงชื่อปริตร ไม่มีมงคลปริตรในที่ไหนๆ และท่านก็ไม่ได้พูดออก ชื่อมงคลสูตรในที่ที่พูดเรื่องปริตร แต่ก็มีเค้าจากการที่ท่านพูดเรื่อง การสวดพระปริตรนั่นแหละ ที่ทําให้เห็นการนํามงคลสูตรเข้ามา

ในอรรถกถาที่อธิบายอาฏานาฏิยสูตรตอนหนึ่ง ท่านพูดถึง เรื่องที่ชาวบ้านนิมนต์พระไปสวดอาฏานาฏิยสูตรเป็นปริตรซึ่งทําเป็นพิธีใหญ่ ท่านว่าไม่ควรสวดอาฏานาฏิยสูตรนั้นเป็นบทต้น แต่ ให้สวดเมตตสูตร ธชัคคสูตร และรตนสูตร ก่อน พระผู้สวดปริตรพึ่ง ตั้งเมตตาจิตนําหน้าเป็นปุเรจาริก เมื่อเป็นการใหญ่ พระสงฆ์ ประชุมกันกล่าวมงคลกถา (บางฉบับว่ามงคลคาถา) แล้วจึงสวดปริตร (ดู ที.อ.๓/๑๖๑)

ตามเรื่องที่เป็นเค้านี้อาจเป็นว่า การกล่าวมงคลกถาหรือ มงคลคาถานั้น จะได้ปฏิบัติกันมาและถือเป็นสําคัญ และเมื่อนึก ถึงมงคลกถา/มงคลคาถา ก็เป็นธรรมดาที่มงคลสูตรย่อมจะเด่น ขึ้นมานําหน้าทั้งหมด และก็กลายเป็นว่า การสวดพระปริตรเริ่มต้น ด้วยสวดมงคลสูตรนําหน้า และมงคลสูตรก็มาเป็นบทนําของการ สวดพระปริตร เรื่องนี้มีสาระสําคัญที่ควรสนใจในเชิงปฏิบัติ ซึ่งจะพูดถึงอีกข้างหน้า

เป็นอันว่า การสวดพระปริตรได้เป็นหลักยืนหรือเป็นแกน ของบุญกิริยาที่เรียกว่าการสวดมนต์ เมื่อมีงานบุญ มีงานมงคลที่ ไหนเมื่อไร พระสงฆ์ที่ได้รับนิมนต์ไป ก็สวดพระปริตรเหล่านี้เป็น อย่างเดียวกันทั่วไปหมด

แต่อีกด้านหนึ่ง แต่ไหนแต่ไรมา สืบแต่พุทธกาล ชาวพุทธโดยเฉพาะพระสงฆ์ ก็ได้ท่องได้จําได้ทวนได้ทาน ได้สาธยายคํา สอนและคําอธิบายคําสอนของพระพุทธเจ้ากันเรื่อยมา ทั้งในการศึกษาเล่าเรียนของตนๆ และสาธยายท่องทวนเพื่อรักษาคํา สอนของพระพุทธเจ้านั้น และก็มีการท่องการสาธยายอย่างเป็น ทํานอง ซึ่งก็เรียกว่าเป็นการสวด

แม้ว่าการท่องทวนสาธยายเพื่อรักษาพุทธพจน์จะลดถอย เพราะถือกันว่าเวลานี้มีพระไตรปิฎกและคัมภีร์อื่นทั้งหลายจารึก เป็นตัวพิมพ์อยู่ในเล่มหนังสือเป็นต้นแล้ว แต่ผู้ที่มีฉันทะในการ ท่องทวนสาธยายทรงจําพุทธพจน์ไว้ ก็ยังมีอยู่บ้าง


@@@@@@@

โดยเฉพาะในวัดทั้งหลาย ก็ยังถือประเพณีที่พระสงฆ์ประชุม กันประจําวันเวลา พร้อมกันทําวัตรสวดคําบูชาคุณพระรัตนตรัย และสาธยายพุทธพจน์ ทํากันมากบ้างน้อยบ้าง แต่ก็ยังมีอยู่ทั่วไป แล้วในบรรยากาศอย่างนี้ ก็มีการเลือกนําเอาพระสูตรที่ถือว่า สําคัญๆ มางัดเข้าลําดับในการสวดสาธยายเป็นประจํา ตั้งแต่ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร กระทั่งถึงมหาสติปัฏฐานสูตร

ในการนี้ท่านก็คิดโยงไปถึงงานพิธี งานมงคล งานอวมงคล ต่างๆ เมื่อมองเห็นว่าพระสูตรไหน บทธรรมใด เหมาะที่จะสวดใน งานไหน ในพิธีใด ก็ตกลงกันจัดเข้าไปเป็นส่วนหลักบ้าง เป็นส่วนเสริมบ้างในระบบแบบแผนของการสวดในงานพิธีนั้นๆ

แต่ส่วนที่จัดเพิ่มขึ้นมานี้ ไม่เรียกว่าเป็นปริตร เพราะมิใช่เป็น คําสวดเพื่อปกปักรักษาคุ้มครองป้องกันอย่างในชุดที่จัดไว้แต่เดิม นั้น ก็จึงถือได้ว่าเป็นส่วนที่เสริมมงคลอย่างมงคลสูตรที่กล่าวแล้ว ข้างต้น หรือเป็นส่วนแห่งการเพิ่มพูนบุญกิริยา

ทีนี้ บทสวดมากมาย คําสาธยายทั้งหลาย ที่ได้พูดถึงทั้งหมดนี้ เมื่อนํามาไว้ด้วยกัน หรือเรียกรวมทีเดียวทั้งหมด จะใช้ คําเรียกเป็นอย่างเดียวกันว่าอย่างไร คราวนี้จะเรียกว่าปริตร ก็ไม่ ครอบคลุมแล้ว (ในสมัยไม่นานมานี้ มีการพิมพ์รวมเป็นส่วนๆ เช่น เล่มนี้เป็น “เจ็ดตํานาน” เล่มนั้นเป็น “สิบสองตํานาน”) จะใช้คํา เรียกรวมว่าอย่างไรดี แล้วก็ปรากฏว่าได้ใช้คําว่า “สวดมนต์” เช่น ว่าเป็นบทสวดมนต์ หนังสือสวดมนต์ อย่างที่ได้รู้เห็นกันอยู่นี้

เมื่อตกลงกันในการใช้ถ้อยคําอย่างนี้แล้ว ก็พึ่งนึกถึง กล่าวถึงจึงใช้คําว่า “มนต์” นั้น ด้วยความรู้เข้าใจเท่าทันเรื่องราว ความเป็นมา และความหมายของคํา ดังที่ได้บอกเล่ามาแล้ว อย่างน้อยก็ให้นึกว่าเป็นพุทธมนต์ อย่างที่ได้ยกมาให้ดูข้างต้นนั้น

(ยังมีต่อ..)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 05, 2024, 07:35:56 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28906
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: สวดมนต์ ต้องไม่โค่น "สาธยาย"
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2024, 10:39:56 am »
0
.



ตอน ๓. ถึงไม่ร่ายมนต์ ก็สาธยายธรรม



 :25: :25: :25:

สาธยายเป็นจุดเริ่มจุดรวมงานของการปฏิบัติธรรม

ทีนี้มาศึกษาถ้อยคํากันหน่อย คําว่า “สวด” นี่เราลองมาดูคําพระ ว่าได้แก่อะไร

คําหนึ่งที่เราแปลว่าสวด คือ “สาธยาย” ใช่ไหม
อีกคําหนึ่ง คือ “คายนะ” หรือ “คายนา” เช่น สังคายนา = คายนาพร้อมกัน คือสวดพร้อมกัน

แล้วก็คําเดียวกัน คือ "คายนะ” นี้ ออกไปเป็น “คีตะ” เป็น “คีติ” ซึ่งคนไทยได้ยินบ่อย อย่างสังคายนา ก็เรียกว่า “สังคีติ” แต่ โยมคงบอกว่า เอ๊ะ.. คีตะ และ คีติ ก็เป็นเพลง ใช่แล้ว สวดก็ใช่ ร้องเพลงก็ใช่ หรือขับร้องก็ได้ คือคําเดียวกันแปลออกมาเป็นไทย ยักเยื้องไปได้

ที่พูดนี้หมายความว่า คําว่า “สวด” ในภาษาไทยนี่เทียบ ภาษาทางพระ เราใช้สําหรับคําบาลีสันสกฤต ๒ คํา คือ หนึ่ง “สาธยาย” ซึ่งเราได้ยินกันบ่อย และสอง คือ “คายนา” “คีตะ” “คีติ” “อภิคีติ” ทั้งหมดนี้แปลว่าสวดได้ทั้งนั้น อย่างพระทําวัตรค่ํา ก็มีบทที่ ขึ้นว่า หนุท มย์ พุทธาภิคีต กโรมเส (มักเขียนเป็น กโรม เส) "อภิคีติ" ก็คือบทสวดชื่นชม นกร้องเจื้อยแจ้ว ก็เป็นอภิคีตะ

แล้วยังมีอีกคําหนึ่ง คือ “ภาณะ” หรือ “ภณนะ” (จาก คํากริยาว่า “ภณ”) เช่น สวดภาณยักษ์ สวดภาณพระ ภาณ แปลว่าคําสวดก็ได้ แล้วใช้ในเชิงกิริยาอาการ ก็เป็น ภณนะ แปล เป็นกลางๆ ว่า การกล่าว ท่านกล่าว แต่เราฟังว่าสวด อย่างพระ สวดพระปริตร ก็ขึ้นว่า ปริตฺตนฺตมภณามเส (มักเขียนเป็น ภณาม เส)

เอาละ.. เป็นอันว่า เรามองจากไทยกลับไปทางบาลีว่า “สวด” มีคําว่า สาธยาย แล้วก็มี คายนา คีตะ คีติ แล้วก็ ภณนะ ภาณะ ภาณ ก๊วนกันอยู่ในนี้ รวมแล้ว สวดของไทย มักใช้กับ ๓ ศัพท์ของบาลี

@@@@@@@

เริ่มด้วย “สาธยาย” แปลว่า ท่อง แปลว่า ทวน แปลว่า ทาน ท่องก็ได้ ทวนก็ได้ ทานก็ได้ ที่นี้ คําบาลีว่าอย่างไร บาลี และ สันสกฤต ต้องดูทั้งคู่

สาธยาย บาลีเรียกว่า “สัชฌายะ” ไม่ค่อยเข้ากับลิ้นไทย คน ไทยไม่ใช้ แต่เราไปเอาสันสกฤต สันสกฤตว่า “สวาธยายะ” ออก เสียงยากพูดลําบาก คนไทยก็ไม่ไหวอีก จะเอาอย่างไรดี

สวาธยายะ นี้เอา “ยายะ” ตัวท้ายเป็น “ยาย” เป็น “สวาธยาย แล้ว ก็ยังว่ายาก จะทําอย่างไรดี เอาอย่างนี้สิ ก็ตัด “สวา” เหลือแต่ “สา” ให้ง่ายขึ้น สวาธยาย ก็มาเป็น “สาธยาย” นี่ทางหนึ่งละ

แต่นั่นก็ยังไม่เต็มใจ มานึกว่า ที่ไปตัดของเขา เอา สวา เป็น สานั้นไม่ถูกนะ แต่จะว่าสวาธยาย ก็ยาก มีอีกทางหนึ่งคือแปลง “สวาธ” เป็น “สังวัธ” ได้ “สังวัธยาย” ค่อยถนัดหน่อย

ตกลงว่า สวาธยายของสันสฤกตนี้ ไทยเอามาใช้เป็น ๒ อย่าง อย่างสั้นว่า “สาธยาย” อย่างยาวว่า “สังวัธยาย" มีใช้ทั้งสอง อย่าง แต่ที่ได้ยินบ่อยคือ “สาธยาย”

ทีนี้ ที่ว่าสาธยาย หรือสังวัธยาย คือ ท่อง ทวน ทานนั้น ก็ เนื่องจากว่า เรามีบทมีคํามีถ้อยความที่เราศึกษาเล่าเรียน ซึ่งเป็น เรื่องสําคัญ เช่น พุทธพจน์ เรื่องที่ครูอาจารย์สอนกําชับไว้ เราก็จึง ท่อง ในเวลาที่ท่อง เราก็ว่าไปตามนั้น นี่คือสาธยาย หรือสัชฌายะ สมัยก่อนนั้นไม่มีเครื่องบันทึกเสียง ก็ต้องสาธยาย เราว่าไปๆ จนกระทั่งจําได้ เป็นอันว่า สัชฌายะ หรือสาธยายนั้น หนึ่ง ก็ท่อง เพื่อให้จําได้ สาธยายเพื่อให้จ่าได้

ทีนี้ต่อไป เมื่อจําได้แล้ว ก็ทวน เวลานั่งอยู่คนเดียว หรืออยู่ ว่างๆ เราก็เอาบทที่จําได้นั้น ซึ่งถ้าไม่ทวน ก็อาจจะลืม เราก็เอาบท นั้นมาสาธยายอีก คือว่าไปตามนั้นแหละ แต่ว่าบท เรื่องที่จําไว้แล้ว ก็เป็นทวน

ทีนี้ทานคืออย่างไร ก็คืออยากจะรู้ว่า ที่ท่านผู้นี้ท่องมานั้น จ๋ามาถูกหรือเปล่า ก็ให้คนอื่นฟังเพื่อเป็นการตรวจสอบ คนอื่นที่ฟัง นั้นจะต้องเป็นคนที่แม่น อาจจะเป็นอาจารย์หรือที่ประชุม ถ้าเป็น ที่ประชุม ผู้ฟังก็มาประชุมกัน เอ้า...ท่านผู้นี้สาธยายมานะ บทสวด นี้ คําสอนนี้ พระสูตรนี้ เช่นว่าเอาพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนะ ว่ามาซิ ท่านผู้นั้นว่าไป สวดไป ที่ประชุมก็ฟัง ตรงนี้ไม่ถูก คํานี้ผิด แก้เสีย อะไรๆ ก็ว่าไป จนกระทั่งที่ประชุมทั้งหมดยอมรับ จึงผ่าน ได้ นี่ก็สาธยาย

จะเห็นว่า สาธยายนี้สําคัญนัก มีประโยชน์มาก ใช้โดยตรง ในการศึกษา เรียกได้ว่าเป็นตัวนำ เป็นแกนของการเล่าเรียน เพราะฉะนั้น ในการศึกษาสมัยก่อนจึงถือสัชฌายะหรือสาธยายเป็นกิจสําคัญ

@@@@@@@

เอาละ คําว่าสาธยาย เอาแค่นี้ก่อน พูดพอเป็นความรู้ ประกอบไว้ แล้วเรื่องเป็นมาอย่างไร

เดิมนั้น ความหมายที่แท้ของการสาธยายที่เรามาเรียกเป็น สวดมนต์นี้ คืออะไร การสาธยายมีความหมายและความมุ่งหมาย ที่แท้ว่าอย่างไร ที่เรียกกันว่าสวดมนต์นี้เดิมในพระพุทธศาสนา ท่านใช้ทําอะไร ใช้เพื่ออะไร ตอบง่ายๆ ว่าโดยหลักใหญ่ๆ มี ๒ อย่าง

    ๑. เป็นวิธีการศึกษา เป็นเรื่องของการเล่าเรียน
     อย่างที่บอก เมื่อกี้ว่า การสาธยายแทบจะเป็นตัวแรกของปฏิบัติการใน การศึกษาเล่าเรียน สาธยาย ก็คือบอกเล่า ว่าให้ตรงตามข้อมูลที่ ประสบ ที่ได้อ่านได้พบได้เห็นได้ยินได้ฟัง ระบุบอกว่าข้อมูลไปให้ ตรงให้เต็มตามลําดับ

อย่างที่ว่าแล้ว สมัยนั้นไม่มีเครื่องบันทึกเสียง เมื่อจะบอก เล่าว่าให้แม่นให้ตรงแท้ ก็มาเป็นท่อง นี่คือต้องการความแม่นยํา ก็ ต้องสาธยายว่าไปให้บ่อย ก็เรียกว่าท่อง จนกระทั่งจําได้แม่นไป เลย ก็คือที่เรียกว่าท่องจํานั่นเอง แล้วก็สาธยายทบทวนอีก แล้วก็ มาทานตรวจสอบกัน เป็นอันว่า ๓ ชั้น สาธยายจึงจะได้ข้อมูลแบบแผนที่แน่นอนลงตัว

อย่างที่ว่าแล้ว สาธยายใช้ในการเล่าเรียนศึกษาเป็นขั้นที่ หนึ่ง ขอให้ดูในแนวของโพชฌงค์ เราจะเรียนจะศึกษาปฏิบัติ เช่น อย่างที่ตรัสไว้ในพระสูตร เริ่มแรก เราไปฟังอาจารย์มา เริ่มต้นเรา ทําอะไร เราก็มีสติระลึกนึกได้ ก็คือจําคําจําความได้ จับข้อมูลมา ได้ถูกตรงครบก่อน

ดังที่พระพุทธเจ้าทรงยกตัวอย่าง ภิกษุไปฟังพระพุทธเจ้า หรือไปฟังอาจารย์ซึ่งเป็นพระภิกษุผู้ทรงคุณความรู้
ท่านเทศน์ท่านแสดงธรรมให้ฟัง ตัวเองเห็นว่าเป็นหลักเป็นฐานมีความหมาย สําคัญ ก็ว่ามา แต่จ๋ามาแล้ว ตัวรู้ความหมายยังไม่ชัด ก็ไปในที่ สงบหลีกเร้น ในเวลาศึกษา หลีกเร้นก็เป็นข้อปฏิบัติอันหนึ่ง

เรามาดูวิธีการศึกษาสมัยโบราณ ในพุทธกาล ท่านได้ฟังธรรมมาแล้ว ก็หลีกเร้นเข้าไปใต้ร่มไม้หรือสถานที่สงบ พออย่างนี้เข้าที่แล้วก็เริ่มด้วย

ขั้นที่หนึ่ง ระลึกถึง นี่คือ สติ ก็ระลึกนึกถึงคําสอน เทศน์ที่ ฟังมาเมื่อเย็นหรือเมื่อบ่าย จากพระพุทธเจ้า หรือจากพระอาจารย์ ผู้ใหญ่ ที่ติดใจไว้ว่าท่านเทศน์ดี เราก็มาระลึก คือทวนความจํา นี่ แหละที่ท่านว่าเข้ามาในป่าในดงไม้ แล้วสาธยาย เอาข้อมูลที่ ต้องการที่จะใช้ขึ้นมาเรียงให้ครบ ให้ตรง ก็คือทวน หรือทบทวน

สติเป็นตัวสําคัญในการสาธยาย เพราะว่าระลึกได้ ก็คือจับ เอาขึ้นมาได้ ก็คือต้องจําได้ นี่คือสติทั้งนั้น หยิบจับเอาขึ้นมาได้ แล้ว ก็จับยกมาจัดเข้าที่ เรียงลําดับต่อกันเชื่อมโยงให้ถูกต้องและ ให้ครบถ้วน พูดสั้นๆ ว่า แม่นข้อมูล จับคําได้ครบ จับความได้ตรง นี่คืองานของสติ

เมื่อมีสติซึ่งทําหน้าที่ได้ดี มั่นใจว่า นี่เราจําจับเอามา เรานึก ทวนได้ความชัดตรง ไม่ผิดจากที่ท่านสอน หรือได้บอกเล่า ก็ก้าวสู่ ขั้นที่สอง

@@@@@@@

ขั้นที่สอง เรียกว่า ธัมมวิจยะ หรือธรรมวิจัย พูดสั้นๆ ว่าวิจัย วิจัย ก็คือ ใช้ปัญญา พิจารณาพื้นเส้น ตรวจสอบ สืบค้น

“วิจย” คําโบราณว่า “เป็น” คือ เฟ้นหาความหมายที่แท้ เฟ้น หาสาระสําคัญ เฟ้นเอาตัวที่ตอบตรงเรื่อง คือตัวที่จะเอาไปใช้ แก้ปัญหาทําประโยชน์นั้นๆ ได้ รวมทั้งไตร่ตรอง วิเคราะห์วิจารณ์ สืบสาวเหตุปัจจัยอะไรต่ออะไร อยู่ในวิจัยทั้งหมด

วิจัยเป็นคําสําคัญมากในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อหนึ่งของ ปัญญา นี่ก็คือ หนึ่ง สติระลึกมา ทวนระลึกนึกถึงเรื่องหรือจับข้อมูล ขึ้นมา แล้วเอาสิ่งที่ระลึกด้วยสตินั้นมาเป็นตัวตั้ง สอง เอาปัญญา วิจัย นี่คือส่วนสําคัญที่สุดของโพชฌงค์ หลักการตรัสรู้อยู่ที่นี่

ต่อจากนี้ก็มี วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา พวกนี้เป็นตัว ร่วมงานที่จะมาทําให้กระบวนการศึกษาดําเนินไป ช่วยให้สติ และ วิจัยนั้น ทํางานได้ถนัด คล่อง เต็มที่ ตั้งแต่วิริยะ ที่ทําให้งานแข็งขัน จริงจังเดินหน้า จนกระทั่งถึงอุเบกขา ที่ใจปลอดนิ่งให้สติทํางาน คล่อง และเป็นกลาง ไม่เอนเอียงไปตามความรู้สึก ทําให้ปัญญา มองเห็นได้ชัดโล่งตรงเต็มตามเป็นจริง (อุเบกขา แปลว่าเป็นกลาง คืออย่างนี้ ไม่เข้าข้างไหน ไม่ไปตามความรู้สึก ไม่ว่าชอบใจไม่ ชอบใจ แต่มองตรง จึงได้ปัญญาแท้ ไม่ใช่นิ่งเฉยไม่รู้เรื่องรู้ราว)

นี่ละ ก็เป็นอันว่า กระบวนการศึกษามีโพชฌงค์เป็นเนื้อตัว แต่องค์สําคัญคือนี่ คือ สติ ที่ได้ข้อมูลมาเก็บรักษาและเอามาใช้ โดยเอาสาธยายมาเป็นเครื่องมือทํางาน การสาธยายทําให้สติ ทํางานเต็มที่ ในการระลึกนึกถึงจําไว้ แล้วเราก็จะได้ใช้ ปัญญา วิจัย ฟันเฟ้น พิจารณา วิเคราะห์สืบค้นสิ่งที่เอามาตั้งไว้ให้นั้น

เป็นอันว่าเข้าใจแล้ว นี่คือสัชฌายะ หรือสาธยาย ซึ่งเป็น กิจกรรมในการเล่าเรียนของแต่ละบุคคล มีการท่อง มีการทวน พวกเราเดี๋ยวนี้ก็ใช้ได้ แม้จะมีสมุดจดไว้แล้ว ถ้าในใจทวนได้แม่น ก็แสดงว่าเก่งยิ่งกว่าจุด จุดก็มาเป็นตัวที่ช่วยให้แม่นมั่น

นี่คือสาธยายที่ใช้ในการศึกษาของบุคคล การศึกษานี้ ก็คือ การปฏิบัติธรรม ที่ชื่อว่าโพชฌงค์ ซึ่งเป็นองค์ของการตรัสรู้

@@@@@@@

ชาวบ้านมีคีตะ พระอรหันต์ข้ามไปมีสังคีติ

ทีนี้ย้อนกลับไปหน่อย ที่บอกว่า "สวด” ใช้คําว่า คายนะ คีตะ คีติ นั้น คนไทยอาจท้วงว่า เอ๊ะ... นั่นมันเพลงนี้ ก็ถูก คําบาลีของท่าน ที่ว่า คีตะ-คีติ-คายนะ นี่ จะว่าเป็นคําที่เราแปลว่าสวด ก็ได้ แปลว่า ร้องเพลง หรือขับร้อง ก็ได้ อย่าไปนึกว่าต้องแปลอย่างใดอย่างหนึ่ง

นี่เป็นเรื่องที่ต้องทําความเข้าใจกันเล็กน้อย คือไทยเราเอาคำเหล่านี้มาใช้ แต่ไม่ได้แยกแยะความหมายว่ามีขั้นตอนหรือเป็น ระดับอย่างไร ในภาษาบาลีนั้น เขาใช้คําเดียวกัน แต่มีความหมาย แยกออกไปในต่างระดับ หมายความว่า การสวดนั้น ก็คล้ายว่า หรือจัดได้ว่าเป็นการขับร้องชนิดหนึ่ง เราอาจใช้คําว่าเป็นการ “ว่าเป็นทํานอง"

สวด ก็เป็นการว่าเป็นทํานอง ขับร้อง ก็เป็นการว่าเป็น ทํานอง ร้องเพลง ก็เป็นการว่าเป็นทํานอง แล้วมันต่างกันอย่างไร?

ดูตรงนี้ คือ พระท่านมีวินัยกํากับว่า พระจะว่าเป็นทํานองได้ แค่นี้นะ เกินนี้ไม่ได้ ผิดวินัย คือท่านเปื้อนมากนักไม่ได้ เพราะมี วินัยกํากับไว้ โดยมีพุทธบัญญัติห้าม ตามเรื่องที่ว่า (วินย. ๒/๒๐/๘) พระฉัพพัคคีย์ “อายตเกน คีตสฺสเรน ธมุม คายนฺติ” สวดธรรมด้วย เสียงขับร้องที่เอื้อนยืดยาว ชาวบ้านพากันติเตียนว่า พวกพระ สมณะศากยบุตรเหล่านี้สวดธรรมด้วยเสียงขับร้องที่เอื้อนยืดยาวเหมือนอย่างที่พวกเราร้องเพลง เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบ จึงได้ ทรงบัญญัติห้ามพระไม่ให้สวดอย่างนั้น

มีคําอธิบายประกอบว่า การสวดด้วยเสียงขับร้องที่เอื้อนยืดยาวขึ้นลงฮวบฮาบนั้น ทําให้อักขระผิดเพี้ยนเสียหาย ใจของตัวก็ มัวไปเพลิดเพลินตามไปกับเสียง กล่อมตัวเอง ชื่นชมตัวเอง ไม่อยู่ กับธรรมที่ตัวสวด แล้วก็เสียสมาธิ

แต่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้สวดด้วยเสียงที่กลมกล่อม พอดีให้ถ้อยคําาอักขระชัดเจนครบบริบูรณ์ไม่เสียหาย โดยทรงอนุญาตให้พระสวดสรภัญญะ (อนุชานามิ ภิกขเว สรภัญญ์, วินย. ๒/๒๑/๔) คือ ใช้เสียงสื่อธรรม

@@@@@@@

คําว่า “สวดสรภัญญะ” นี้ คํากริยาที่ว่าสวด ก็ใช้คําว่า “ภณ” ซึ่งแปลตรงๆ ตามปกติ ก็คือ “กล่าว” นั่นเอง แต่เราพูดแบบไทยว่า สวด ดังที่ได้เคยอธิบายแล้วข้างต้น

นี่คือ พระสวดก็ว่าเป็นทํานองคล้ายอย่างจะร้องเพลงนั่น แหละ แต่ทําได้แค่ในระดับหนึ่ง อยู่ในทํานองและระดับเสียงตามที่ วินัยกําหนดไว้ หรือพูดเปลี่ยนไปอีกสํานวนหนึ่งว่า พระร้องได้แค่ สวด แต่โยมสวดได้เต็มที่ตามที่อยากร้อง

จะเห็นว่า พระก็สวดเป็นทํานอง ซึ่งสอนให้โยมสวดด้วย ก็ ไพเราะเหมือนกัน แต่ถ้าเกินจากนั้นไป เราไม่เรียกว่าสวด แต่เรียกว่าขับร้อง กลายเป็นร้องเพลงไปเลย

ทีนี้โยมก็เข้าใจละนะว่า ในภาษาบาลีบางทีก็ใช้ศัพท์ เดียวกัน แต่ของพระก็ให้อยู่ในขอบเขตของพระวินัย ส่วนของโยมก็ มักจะว่ากันไปตามที่พอใจ

แล้วที่ว่า “สังคายนา” ก็คือ เมื่อท่านนําเอาพุทธพจน์ที่ได้ เรียนรู้จําได้มาว่าให้กันฟัง ทบทวนตรวจทานกันให้แม่นมั่นจนตก ลงกันได้ว่าคําสอนของพระพุทธเจ้าว่าอย่างนี้ แล้วก็ลงมติว่าเอา ละ แล้วก็สวดพร้อมกันอย่างที่ได้ตกลงนั้น เพื่อจะได้จดจํากําหนดเป็นแบบไว้ อย่างนั้น ก็จะแม่นยําและคงอยู่ยั่งยืน ก็จึงเรียกว่า สังคายนา แปลว่าสวดพร้อมกัน เท่ากับลงมติแล้วว่า เอาอย่างนี้นะ จึงได้สวด พร้อมกันตั้งวางเป็นแบบไว้แล้วต่อไปก็จะได้สวดพร้อมกันเพื่อรักษาสืบต่อกันไป

สังคายนา เป็นคํายุติที่หมายถึงว่า ลงมติว่าอย่างนี้นะ นี่คือ แบบแผน แล้วก็สําทับมตินั้นด้วยการสวดพร้อมกัน ก็คือยอมรับ แล้วว่าเอาอย่างนี้ นี่คือสังคายนา หรือว่าสังคีติ ก็คืออันเดียวกัน

ก็เป็นอันว่า คายนา คีติ จนถึงสังคายนา และสังคีติ คือการ ว่าเป็นทํานอง ไปจนถึงขับร้อง ร้องเพลง ใครมีขอบเขตทําได้แค่ไหน ก็ว่าไปแค่นั้นๆ

สําหรับพระ มีวินัยกํากับระดับเสียงและทํานองอย่างที่ว่าแล้ว ไม่ให้เป็นการร้องเพลงอย่างคฤหัสถ์ชาวบ้าน และท่านก็จํากัด การใช้คําว่า คายนะ-คีตะ-คีติ ให้หมายถึงการร้องเพลงหรือขับร้อง ของชาวบ้าน ดังจะเห็นว่าในคัมภีร์ทั้งหลาย ไม่มีที่ไหนกล่าวถึง พระภิกษุว่าทําคายนะ หรือ คีตะ หรือคีติ ซึ่งถือเป็นเรื่องใน ขอบเขตของชาวบ้าน

แต่พระข้ามไปมีสังคายนา หรือสังคีติ ซึ่งใช้ในความหมายพิเศษอย่างที่ว่าแล้ว

@@@@@@@

คีตะ ร้องเพลงของชาวบ้าน พระก็ละ
คีตะ เพลงขับสืบลัทธิของพราหมณ์ พระก็เว้น


ได้บอกแต่ต้นแล้วว่า มนต์ มนตร์ มันตระ เป็นหลักสําคัญ แกนกลางของศาสนาพราหมณ์ คือหมายถึงตัวพระเวทดั้งเดิม จนถึงอาถรรพเวทที่เป็นท้ายสุด พระพุทธศาสนาไม่ใช้คํานี้ นอกจากใช้เชิงเทียบเคียงอย่างที่ว่าล้อคําล้อความ เช่นเรียกพุทธ พจน์ว่าพุทธมนต์ อย่างที่ได้เล่าให้ฟังแล้ว

ทีนี้ เคียงคู่มากับคําว่า "มนต์” นั้น ก็มีคําว่า "คีตะ” นี้แหละ ซึ่งบอกว่า บทมนต์อันเป็นปาพจน์ (คําสอนที่เป็นหลักประธานของ ลัทธิ) ของพราหมณ์นั้น อันเหล่าฤาษีปางก่อนผู้ทรงไตรเพท คือ ฤาษีอัฏฐกะ ฤาษีวามกะฤาษีวามเทพ ฤๅษีเวสสามิตต์ (วิศวามิตร) ฤาษียมตัคคี ฤาษีอังคีรส ฤาษีภารทวาช ฤาษีวาเสฏฐะ ฤาษีกัสสปะ ฤาษีภค ซึ่งเป็นผู้ผูกมนต์ บอกมนต์ ที่บัดนี้พวกพราหมณ์ ผู้ทรงไตรเพท ก็บอกเล่ากล่าวขานขับร้องกันอยู่ พากันขับขานตามอย่าง (อนุคายนฺติ, อนุคีตะ) เล่าเรียนตามกันมา ตามบทมนต์เก่านี้ ที่เหล่า ฤาษีปางบรรพ์เหล่านั้นได้ขับร้องมาแล้ว (คีตะ) ผูกไว้ บอกไว้รวบรวมไว้

ข้อความที่ว่ามานี้ อยู่ในพุทธพจน์ที่ตรัสตอบโต้และทรงสอน พราหมณ์ใหญ่ๆ ในคราวเผชิญวาทะครั้งสําคัญๆ ปรากฏใน พระไตรปิฎกถึง ๑๒ ครั้ง (เช่น ที.ส.๙/๓๗๐/๒๙๙) พระองค์ทรงยก ความนี้ขึ้นมาตรัส เพื่อให้เขารู้เข้าใจว่าเหตุใดพระองค์จึงทรงปฏิเสธระบบความคิดความเชื่อและคําสอนของพวกพราหมณ์

ดังเช่นที่ตรัสว่า การที่เหล่าฤาษีจนถึงพวกพราหมณ์เหล่านั้น พากันกล่าวอ้างพระพรหมผู้เป็นเจ้าอย่างนั้นอย่างนี้ ถ้าถามเหล่า ฤาษีและพวกพราหมณ์เหล่านั้น ไม่ว่าท่านใด ว่าได้เคยพบเห็น ประจักษ์องค์พระพรหมเป็นเจ้านั้นไหมว่า พระองค์อยู่ที่ไหน ไปมา อย่างไร ก็ไม่มีใครตอบได้ ระบบความคิดของพราหมณ์จึงเป็น เหมือนแถวคนตาบอด คนข้างท้ายก็อ้างตามคนที่ต่อมาก่อนตัว อ้างกันไปๆ แต่ลงท้ายที่แท้แม้แต่คนหัวแถวก็ไม่ได้เห็น

(“ภควัทคีตา” คือบทเพลงของพระเป็นเจ้า อันเป็นคําสอนสําคัญยิ่งของฮินดู ซึ่งพระกฤษณะกล่าวในตอนเริ่มสงครามมหา ภารตะ ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของคีตะนี้)

ตามที่กล่าวนี้ เห็นได้ชัดว่า “คีตะ” เป็นอาการสําแดงตัว เป็นความปรากฏตัว ของระบบการสืบสายถ่ายทอดลัทธิของ ศาสนาพราหมณ์ จึงเป็นธรรมดาว่าพระพุทธศาสนาจะไม่ทําตาม อย่าง แต่จะใช้วิธีที่ทําให้คนสะดุดมองเห็นความแตกต่างตั้งแต่แรกพบเห็น

แต่ก็อย่างที่ว่าแล้ว เช่นเดียวกับคําว่ามนต์ มีกรณีที่ใน พระพุทธศาสนาใช้คําว่าคีตะในเชิงเทียบเคียงทํานองเลียนคําล้อความคีตะของพราหมณ์

ขอให้สังเกตว่าบทมนต์ที่เหล่าฤาษีปางก่อนขับร้องไว้ เป็น “คีตะ” และพวกพราหมณ์ก็ “อนุคาย, อนุคีต, อนุคีติ” คือขับร้อง สืบทอดต่อกันมาตามนั้น

@@@@@@@

กรณีที่จะยกมาเล่านี้ เป็นเรื่องใหญ่ในเหตุการณ์ที่เด่นดัง คือ มีพราหมณ์ใหญ่ชื่อพาวรี ไปบวชเป็นชฏิลตั้งอาศรมอยู่ที่ริมฝั่ง แม่น้ําโคธาวรี ในอัสสกรัฐ มีลูกศิษย์เก่งๆ มากมาย

ต่อมา ท่านได้ข่าวว่าพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว เมื่อมีโอกาส จึงจัดส่งมาณพชั้นนํา ๑๖ คนไปถามปัญหาที่มคธรัฐ พระพุทธเจ้า ทรงตอบให้ทุกคนเข้าใจแจ่มแจ้ง เกิดความเลื่อมใสขอบวชทั้งหมด คําถามชุดนี้เรียกรวมว่าโสฬสปัญหา และธรรมบรรยายที่ พระพุทธเจ้าตรัสตอบชี้แจงอธิบายเรียกว่า “ปารายน" (ทางไปถึงฝั่ง)

ในมาณพ ๑๖ คนนั้น คนสุดท้ายที่ชื่อว่าปิงคิยะ เมื่อบวช เป็นภิกษุแล้ว ได้กราบทูลลาพระพุทธเจ้าขอกลับไปส่งข่าวแก่ อาจารย์เก่า คือท่านพราหมณ์พาวรี เพราะได้รับปากไว้ว่าจะกลับไปเล่าเรื่องเล่าผลให้ทราบ

พาวรีพราหมณ์พบพระปิงคิยะกลับมา ได้ต้อนรับอย่างดีและจัดที่ให้พระปิงคิยะนั่งเล่าเรื่องราวในการถามตอบปัญหาที่ได้ไปฟังไปรู้มาตลอดทั้งหมด

พระปิงคิยะพอเริ่มเล่า ก็ขึ้นต้นว่า “ปารายนมนุคายิสส์" นี่คือ ใช้ภาษาของพราหมณ์ ที่พราหมณ์ด้วยกันฟังแล้วเข้าถึงซึ้งใจทันที ถ้าแปลตามถ้อยคําแบบพราหมณ์นั้น ก็คือบอกว่า “ข้าพเจ้าจักขับ ร้องปารายนธรรมบรรยาย ตาม (อย่างที่พระพุทธเจ้าได้ขับร้องไว้)" ดังที่อรรถกถาไขคําไขความไว้ให้ว่า “ภควตา คีติ อนุคามิสส์" (ข้าพเจ้าจักขับร้องตาม ซึ่งธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงขับร้อง ไว้แล้ว, สุตต.อ. ๒/๕๕๕)

นี่คือพระปิงคิยะ แม้จะสละความเป็นพราหมณ์มาบวชเป็น ภิกษุในพระพุทธศาสนาแล้ว แต่ด้วยความที่ท่านมีความชํานาญ ถนัดในระบบของพราหมณ์มาเป็นอย่างดี เมื่อจะบอกความแก่ท่านผู้ เป็นพราหมณ์ใหญ่ ก็จึงเรียบเรียงถ้อยคําสํานวนบอกเล่าเรื่องพุทธ ด้วยภาษาของพราหมณ์ ดังที่ว่านั้น ซึ่งทําให้ท่านพราหมณ์อาจารย์ เก่าเข้าถึงธรรมบรรยายของพระพุทธเจ้าได้ถนัดจิตถนัดใจ

แต่ว่าโดยสาระ พูดด้วยถ้อยคําสามัญ ก็คือ พระปิงคิยะบอกว่า ข้าพเจ้าจะเล่าปารายนธรรมบรรยาย ตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ เท่านั่นเอง และที่ตรัสคราวนั้น จะมีทํานองเสียงอย่างไร เรารู้ไปไม่ถึง แต่ก็คือไม่ใช่ทํานองอย่างของพราหมณ์ เพียงแต่เป็นเชิงเทียบเคียงล้อ คําล้อความดังที่ว่าแล้ว

เรื่องที่มีการใช้คําจําพวก “-คาย-” “-คีต-” “-คีติ-” ในเชิง เทียบเคียงเลียนค่าล้อความของพราหมณ์อย่างนี้ มีอีกไม่มาก ล้วนเป็นเรื่องของการที่พระพุทธเจ้าทรงเผชิญและผจญพราหมณ์ เช่นที่ตรัสคําว่า "คาถาภิคีต” ซึ่งก็พึงเข้าใจตามนัยที่พูดไปแล้ว*

ทีนี้ก็มาถึงคําสําคัญคุมท้าย คือ สังคายนา และสังคีติ ซึ่ง เป็นค่าที่ใช้ในความหมายพิเศษ ที่ว่าสวดพร้อมกันเป็นการแสดง ความยอมรับเป็นมติอันหนึ่งอันเดียวกัน อย่างเรื่องที่ว่า หลังจาก พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ๓ เดือน พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์มาประชุมกัน โดยมีพระมหากัสสปะเป็นประธานและซักถาม ฟังพระอานนท์และพระอุบาลี วิสัชนา บอกเล่า สาธยายพระธรรม วินัย ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนแสดงไว้ บัญญัติไว้ เมื่อตรวจสอบ ทวนทานจบ ยอมรับกันแล้ว ที่ประชุมทั้งหมดก็สวดค่าความที่ ยอมรับแล้วนั้นพร้อมกัน เรียกว่าสังคายนา คือร้อยเรียงรวมไว้ โดย ถือเป็นการตั้งเป็นแบบแผนที่ยุติแล้ว เป็นการสาธยายพร้อมกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวของที่ประชุมทั้งหมด แต่จะสวดว่าเป็นทํานอง เสียงอย่างไรที่สมควรแก่พระสงฆ์นั้น ไม่อาจทราบแน่นอนได้

_______________________________
* การจัดนําคําว่า มูลคีติ อนุติ สังคีติ มาใช้ในการอธิบายธรรม จึงดูในคัมภีร์เนตติปกรณ์

(ยังมีต่อ..)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 07, 2024, 10:46:39 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28906
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: สวดมนต์ ต้องไม่โค่น "สาธยาย"
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2024, 10:45:34 am »
0
.



กว่าจะเป็นสังคีติได้ ก็สาธยายกันแม่นแล้ว

     ๒. ในเรื่องการสาธยายที่ใช้ในวงกว้าง คือ การรักษาคําสอนของพระพุทธเจ้า ขอพูดเพิ่มเติมอีกนิดหน่อย

     บอกแล้วว่า ในสมัยก่อนโน้น ยังไม่มีเครื่องบันทึกเสียง และ โรงพิมพ์ก็ยังไม่มี ต้องยอมรับว่าความถูกต้องแม่นยําเที่ยงตรงของ ข้อมูล เป็นฐานเป็นจุดเริ่มสําคัญที่สุด ทําอย่างไรจะมีข้อมูลที่แม่น ที่แท้ไว้ใช้ไว้ศึกษา ในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ พระภิกษุแต่ละรูปจึงท่องจํากันจนชํานาญ คือมีการสาธยายกันจนเป็น ส่วนหนึ่งของชีวิตประจําวัน ซึ่งกลายเป็นการฝึกความจําไปในตัว

     อย่างที่เราจะเห็นได้ชัดว่า คนเรานี้ที่จริงมีความสามารถใน การจํามากกว่าที่หลายคนคิดว่าจะเป็นไปได้ เช่นเวลานี้มีพระพม่า สืบต่อกันมาไม่ขาด ที่จําพระไตรปิฎกได้ทั้งหมดเป็นหมื่นๆหน้า

     ในพุทธกาลนั้น พระภิกษุแต่ละรูปคอยตามข่าวว่า วันนี้ พระพุทธเจ้าแสดงธรรมเรื่องอะไร ถ้าตัวไม่ได้ไปฟังเอง ก็จะถาม องค์ที่ไปฟังมาว่า วันนี้พระพุทธเจ้าเทศน์อะไร เอ้า... ท่านว่ามาให้ ฟังซิ องค์ที่ถูกถามก็สาธยายให้ฟัง องค์ที่ถาม ฟังแล้ว ก็สาธยาย เพื่อให้แน่ใจว่าตนได้พระเทศนานั้น ที่จะได้นําไปศึกษา

    นี่คือ การสาธยายจึงสําคัญมาก เพราะจะได้แน่ใจว่า
    หนึ่ง. ตัวเองได้สิ่งที่ฟังมา
    สอง. แล้วก็มาบอกคนอื่นได้ถูกต้อง
    ต้องบอกให้ตรงนะ เดี๋ยวกลายเป็นบอกผิดไป ถ้าบอกผิดไป ถือว่าเสียหาย มาก จะกลายเป็นคู่พระพุทธเจ้า หรือทําให้เกิดสัทธรรมปฏิรูป จึง ต้องสาธยายให้แม่น ให้ตรง

โดยเฉพาะพระที่เป็นครูอาจารย์จะติดตามพระธรรมเทศนา ของพระพุทธเจ้าเป็นพิเศษ เพื่อว่า เวลาพบปะสอนลูกศิษย์ ก็จะได้ บอกเล่าพระธรรมเทศนานั้นให้ได้ทั่วกัน ในพุทธกาลจึงสืบต่อพระ พุทธศาสนากันมาได้อย่างดี ทั้งที่ไม่มีเครื่องมือสื่อสารอย่างปัจจุบัน ในบรรยากาศของพุทธกาลอย่างที่ว่านั้น พระภิกษุทั้งหลาย

จึงมีการฟัง มีการสาธยายเป็นเรื่องของชีวิตประจําวันอย่างที่ว่า แล้ว เรื่องที่ได้แล้ว ท่านก็สาธยายทบทวนไว้ เรื่องใหม่ก็เพิ่มมา เรื่อย จึงเป็นธรรมดาว่ามีพระเถระมากมายที่รักษาคือจําพุทธพจน์ จําพระสูตรไว้ได้มากมายเท่ากับชีวิตในพระศาสนาของตัวท่าน บางองค์ก็จําได้แทบจบแทบครบทั้งหมด

ในปัจจุบันนี้ก็ยังเห็นได้ ที่ว่าในเมืองพม่าหรือเมียนม่าร์ ยังมี คล้ายเป็นประเพณีให้มีพระที่มีตําแหน่งเป็นติปิฎกธร คือผู้ทรง พระไตรปิฎก และบางทียังมีอยู่พร้อมกันหลายองค์ด้วย แต่ละองค์ ท่องจําพระไตรปิฎกได้หมดทั้ง ๒๐,๐๐๐ กว่าหน้า โดยมีการสอบ ตามที่จะจัด แสดงว่าพระไตรปิฎกเป็นหมื่นๆ หน้านี่คนเดียวจําได้ และมีจริงเป็นจริงอยู่ในปัจจุบัน

@@@@@@@

ในสมัยพุทธกาล ก็มีเป็นปกติอย่างที่ว่าเมื่อกี้ คือ พระแต่ละรูปถือเป็นหน้าที่หรือเป็นเรื่องชีวิตประจําวันของตัว ที่จะต้องตามรู้ ตามฟังคําสอนของพระพุทธเจ้า ให้ทันกับพระธรรมวินัยที่เวลานั้น ยังมีเพิ่มเติมอยู่เรื่อยแทบทุกเวลา พูดเทียบคําสมัยนี้ว่าไม่ให้ตก ข่าว ทั้งตัวเองก็อยากรู้ อย่างพระปุถุชนก็ว่าต้องให้ทันพวก ไปฟัง มาแล้ว พอได้โอกาส ก็ปลีกตัวไปเข้าที่สงบหลีกเร้น แล้วก็มีสติทํา การสาธยาย แล้วก็พินิจพิจารณาวิจัยไป ให้เกิดให้เจริญปัญญา ก็เป็นการศึกษา และนี่ก็คือการปฏิบัติธรรม

ทีนี้ต่อมาพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน จะทําอย่างไร อย่างที่รู้กันดีแล้ว พระมหากัสสปะก็ชวนบรรดาพระอรหันตเถระ ที่มาพร้อมกันมากที่สุดในคราวถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ให้ มาประชุมกันรวบรวมพระธรรมวินัย พูดง่ายๆ ว่าคําสั่งสอนทั้งหมด ของพระพุทธเจ้า ที่จะได้ยอมรับยืนยันพร้อมกันแล้ว รักษาไว้เป็น หลักสืบไป

ทีนี้ก็เลือกได้พระอานนท์ ที่เป็นพระอุปัฏฐากประจําพระองค์ ของพระพุทธเจ้า ซึ่งจําพระสูตร พระพุทธธรรมเทศนาไว้ได้มาก ที่สุดแม่นที่สุด ให้ทําหน้าที่วิสัชนาพระสูตร ที่จริงองค์อื่นก็จํากันได้ มากมาย องค์อื่นก็เท่ากับเป็นผู้สอบทาน คือมาตรวจสอบคําของ พระอานนท์ แล้วพระอุบาลีผู้เป็นเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้ทรง พระวินัย (วินัยธร) ก็ได้ทําหน้าที่วิสัชนาพระวินัย

เมื่อเข้าที่ประชุมแล้ว พระมหากัสสปะ องค์ประธาน ก็ทํา หน้าที่ปุจฉา คือถามพระอุบาลีจนจบเรื่องพระวินัยแล้ว ก็ถามพระ อานนท์จนจบพระสูตร จบทั้ง ๕ นิกาย ก็สาธยายให้ได้บันทึกคือ จํากันไว้ เช่นว่า พระพุทธเจ้าเมื่อเสด็จประทับที่นั่น มีเรื่องนี้ๆ เกิดขึ้น ได้บัญญัติวินัยข้อนี้ว่าอย่างนี้ หรือได้ตรัสแสดงธรรมว่า อย่างนี้ ท่านผู้อยู่ในที่ประชุมนั้นก็รู้มาคราวเดียวกันบ้าง ต่างคราว กันบ้าง บางองค์ก็รู้มาก บางองค์ก็รู้น้อย บางองค์ก็รู้เรื่องที่นั่น บาง องค์ก็รู้เรื่องที่นี่ ก็ได้ตรวจสอบพระอุบาลี และพระอานนท์ไปด้วย ว่าตรงกันไหม

จนกระทั่งในที่สุด เมื่อยอมรับร่วมกัน โดยทวนทานกันแล้ว ยอมรับตกลงเป็นมติที่ลงกันแล้ว ก็ตั้งเป็นแบบไว้สืบต่อไป ด้วย การสวดพร้อมกัน เรียกว่า “สังคายนา"

หลังจากสังคายนา ถือว่ามีพระธรรมวินัยกันครบถ้วนเท่านี้ แล้ว ก็ถือว่าเป็นหน้าที่ของพระทุกรูปที่จะรักษาไว้ ทั้งเพื่อถือและ ใช้เป็นหลัก เช่นในการตัดสินวินิจฉัยเรื่องพระธรรมวินัย แล้วก็ใช้ เพื่อการศึกษา การสั่งสอนเผยแพร่ทุกอย่าง

ทีนี้ การที่จะรักษาไว้ได้ วิธีการก็คือสาธยายอย่างที่ว่า มาแล้ว ตั้งแต่การสาธยายเป็นส่วนตัวของแต่ละบุคคล และที่เป็น ของกลางก็คือการประชุมหรือชุมนุมกันสาธยายพร้อมกันเป็นหมู่ เป็นคณะ ที่เรียกว่า “คณสาธยาย”

คณสาธยาย คือการสาธยายพร้อมกัน สวดพร้อมกันนี้ แหละ ที่เป็นหลักในการรักษาพระธรรมวินัยสืบกันมา ท่านทํามาเหมือนกับแบ่งงานแบ่งหน้าที่กัน จะเรียกว่าจัดหน้าที่ให้ก็ได้

นี่ก็คือ พุทธพจน์ หรือเรียกรวมๆ ว่าพระไตรปิฎกนี้ แบ่งเป็น หมวดๆ เรียกว่า ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตร นิกาย ขุททกนิกาย ก็จัดแบ่งภาระกันไป พระเถระองค์นี้เชี่ยวชาญ ในทีฆนิกาย ก็เป็นหัวหน้า แล้วก็มีลูกศิษย์จํานวนมากมารวมกัน เป็นคณะใหญ่ นอกจากศึกษาให้รู้ชํานาญในทีฆนิกายนั้นแล้ว ก็ พร้อมกันสาธยายทีฆนิกายนั้นเป็นประจํา เพื่อรักษาไว้ให้มั่นใจ ก็ รวมเรียกคณะนี้ว่า ทีฆภาณกา

@@@@@@@

นี่เห็นไหม ที่นี่ใช้คําว่า "ภาณ" อย่างที่บอกเมื่อกี้ว่าสวดบาง ทีก็ใช้คําว่า “ภาณ” ที่นี่ ทีฆภาณุกา ก็แปลว่า เป็นพระพวกที่สวด ทีฆนิกาย และอย่างที่ว่าแล้ว ที่ว่าสวด ไม่ใช่หมายความว่าสวด เฉยๆ ต้องถึงขั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญในทีฆนิกายนั้นเลยทีเดียว หมายความว่า รู้ความหมาย รู้คําสอนในทีฆนิกายนั้น อธิบายได้ ด้วย แล้วก็มีหน้าที่จํารักษาไว้ให้แก่ส่วนรวมทั้งหมดด้วย

ต่อจากทีฆภาณุกา ก็มีภาณกาคณะอื่นๆ ทั้งมัชฌิมภาณกา ส่งยุค ภาณการ อังคุตตรภาณกา ขุททกภาณกา แม้กระทั่งชา ก ภาณกา ธรรมบทภาณกา ตลอดจนขันธกภาณกาทางด้านพระ วินัย และนักอภิธรรมก็เป็นอาภิธัมมิกา

นี่ก็คือว่า เมื่อได้ผลมติจากการสวดพร้อมกันใน “สังคายนาแล้ว ก็เอามารักษาสืบทอดด้วยการสวดพร้อมกัน โดยสาธยายเป็นหมู่ หรือประชุมกันทํา “คณสาธยาย”

จากการที่แต่ละองค์สาธยายของตนๆ แล้ว ๑๐ องค์ ๑๐๐ องค์ ก็มาสาธยายพร้อมกันเป็นคุณสาธยาย เหมือนพระสวดมนต์นี่ เมื่อเป็นคณะสวดพร้อมกัน องค์ไหนๆ ก็สวดผิดไม่ได้ เพราะถ้า ผิดตัวเดียว ก็ขัดกับพวก แล้วไปไม่ได้

เพราะฉะนั้น วิธีสวดพร้อมกันนี้ จึงถือเป็นสําคัญในการที่จะ รักษาค่าสอนให้คงทนอยู่ได้แม่นยํา ขอให้ดู อย่างของพราหมณ์นั่น เขาสวดกันมาตั้งแต่ยุคพระเวท ๒-๓-๔-๕ พันปี จนเดี๋ยวนี้ พวก ฝรั่งที่เขียนตําราเรื่องของอินเดีย ก็ยอมรับว่า พวกฤษี ท่องจําทรง จําพระเวทไว้อย่างเดิมเลย ไม่มีเปลี่ยนไม่มีผิดพลาด ของพุทธเรา นี้ ก็ต้องมีคุณสาธยายไว้ การที่ว่า พระทีฆภาณกาก็สวดทีฆนิกาย มัชฌิมภาณกาก็สวดมัชฌิมนิกาย อะไรอย่างนี้ จัดเป็นพวกๆไป ก็รักษาพุทธพจน์ไว้ได้

    เป็นอันว่า การสาธยายนี้
    หนึ่ง. ใช้ในการศึกษาในส่วนของ แต่ละบุคคล
    สอง. ใช้ในการรักษาพุทธพจน์คําสอนของพระพุทธเจ้า
    โดยกลุ่มโดยหมู่ที่ใช้วิธีคุณสาธยาย คือ สวดพร้อมกัน และนั่นก็เป็นแบบแผนสืบมา ที่ทําให้เราได้มีการสวดมนต์ทั้งส่วน ตน และเป็นกลุ่มเป็นหมู่ในปัจจุบันนี้ จะเรียกว่าเป็นต้นทางก็ได้

แต่ทีนี้ ระบบการปฏิบัติของเราเวลานี้ได้เปลี่ยนไปแล้ว เรา ไม่ค่อยใช้สาธยายในการเรียนส่วนตัว และก็ไม่ได้ใช้คุณสาธยาย ในการรักษาค่าสอน เราบอกว่ามีคัมภีร์พระไตรปิฎกจารึกไว้แล้ว พิมพ์เป็นเล่มแล้ว มีแม้กระทั่งที่เป็นดิจิทัล เพราะฉะนั้น เราก็จึง ละเลย ไม่ใช้วิธีสาธยาย ซึ่งก็ทําท่าจะค่อยๆ เลือนหายไป แล้วเราก็เหลือแต่การสวดมนต์

แต่แล้วก็เข้าทํานองเดียวกันอีก เราสวดมนต์ไปสวดมนต์มา เราก็ลืมความหมายเดิมที่ว่า ท่านให้สวดมนต์เพื่อจะได้สาธยายคํา สอนของพระพุทธเจ้า แล้วเราจะได้คิดพิจารณาคําสอนของ พระองค์ ให้ได้ศึกษาและนําไปใช้ไปปฏิบัติ เออ.. พระพุทธเจ้าสอน ไว้อย่างนี้ เราเอามาสวดมาสาธยาย ก็ดูสิว่าเราเข้าใจความหมาย ดีไหม และเราจะเอาไปใช้ไปปฏิบัติอย่างไร อย่างนี้จึงจะเรียกว่า ตรงตามความหมายเดิมของการสวดสาธยาย

แต่ตอนนี้เราสวดกันไปอย่างนั้นเอง ใช่ไหม ก็สวดไปเพลินๆ แล้วบางทีก็เคลิบเคลิ้ม เลยจะกลายเป็นกล่อมตัวเองหรือกล่อม กันเอง จะว่าเจริญสมาธิก็ไม่ใช่ แต่คือเขวออกไปแล้ว ที่จะได้ก็คือ อาจจะหลับไปเลย แล้วเราก็อาจจะบอกว่า นี่ก็เป็นการใช้ ประโยชน์ได้อย่างหนึ่ง คือช่วยให้นอนหลับ

แต่อย่าพอใจแค่นั้น ควรจะพากันไปให้เข้าถึงหลักคําสอนของ พระพุทธเจ้า แล้วอีกขั้นหนึ่งคือรักษาคําสอนของพระพุทธเจ้าไว้

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สาธยายที่ใช้ในการศึกษานี่ อย่าลืม อย่าทิ้ง แม้มีคําสอน มีคัมภีร์ มีการพิมพ์แล้ว เราก็เอาสาธยายมาใช้เป็น ประโยชน์ได้ต่อไป

@@@@@@@

ตัวหนังสือก็เขียนกันได้ ทําไมไม่เอามาใช้

ทีนี้ก็มีคําถามแทรกเข้ามาว่า เอ้อ.. สมัยก่อนนี้ที่บอกว่าใน พุทธกาลเรียนโดยใช้ความจํา ด้วยการสาธยายท่องเอา นี่ หมายความว่า สมัยนั้นไม่มีการเขียนหรืออย่างไร ก็เลยเอาเรื่องนี้ มาคุยมาบอกกันไว้หน่อย

ก็ตอบสั้นๆ ก่อนว่า มีแล้ว ในสมัยพุทธกาลก็มีการเขียนหนังสือ
ก็ถามอีกว่า อ้าว.. แล้วทําไมจึงไม่ใช้วิธีเขียน ทําไมจึงไม่จารึกพุทธพจน์ไว้ด้วยการเขียนล่ะ

อันนี้ก็จะเล่าให้ฟัง ดูง่ายๆ อย่างในวินัยปิฎก มีสิกขาบทที่ พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุถือเอาทรัพย์ที่เขาไม่ได้ให้ ตั้งแต่ห้ามาสก คือบาทหนึ่งขึ้นไป ต้องอาบัติปาราชิก ในวินัยปิฎก ตอนนั้น ก็พูดถึงเรื่องโจรขโมยต่างๆ แล้วต่อมาในตอนอื่น ก็มีเรื่อง ที่เกี่ยวกับการบวชด้วย คือ คนที่ไปลักขโมย ที่เรียกว่าโจรนั้น ก็มี พุทธบัญญัติไม่ให้พระบวชให้โจร

โจรนี่มีหลายระดับ โจรอย่างองคุลิมาล เขาเรียกว่าโจรถือธง หมายความว่าเป็นโจรที่ใหญ่จริงๆ เรียกว่า มีธงนําเลยทีเดียว

ทีนี้โจรอีกพวกหนึ่ง เรียกว่า “ลิขิตกโจร” ลิขิตแปลว่าเขียนใช่ ไหม ภาษาบาลีว่า “ลิขิตโก โจโร" แปลว่า โจรที่มีหมายจับ คือ หมายจับของพระราชา ท่านอธิบายว่า โจรพวกนี้ พระราชาทรง ออกหมายไว้ในหมายนั้นจะเขียนว่า โจรคนนี้ชื่อนี้ ใครเจอที่ไหน ก็ ให้ฆ่าเสียที่นั่น หรือว่า โจรผู้นี้ ใครเจอที่ไหน ก็ให้จับตัวไว้ อะไร อย่างนี้ นี่เรียกว่ามีหมายของพระราชา เป็นลิขิตโก โจโร ก็แสดงว่า สมัยนั้นมีการเขียนหนังสือแล้ว

อ้าว.. ก็เมื่อมีตัวหนังสือ มีการเขียนหนังสือแล้ว ทําไมจึงไม่ ใช้ในการเล่าเรียน ต้องเข้าใจว่า การเขียนสมัยนั้นน่ะ มันไม่ เหมือนพิมพ์

ในการพิมพ์นี้ เราตรวจให้ถูกต้องแน่ใจดีแล้วครั้งเดียว แล้วก็ พิมพ์ออกไปเท่าไรๆ เป็นพันเป็นหมื่นเป็นแสนฉบับ มันก็เหมือนกันหมด ถ้าตรวจแน่นอนทีเดียวแล้ว ก็ไว้ใจได้ แน่ใจว่าเป็นแบบแผน

ทีนี้ในสมัยพุทธกาลนั้น คนเขียนโดยไม่มีเครื่องพิมพ์ การ เขียนก็เป็นเรื่องส่วนตัวสิ ใครมีความรู้แค่ไหน เข้าใจถูกต้องไหม จําไว้ได้แม่นยําหรือผิดเพี้ยน หรือแม้แต่ถ้อยคําภาษา เขามีความ เข้าใจภาษาถูกต้องไหม บางคนเขียนอักขระจะบอกคําสอน แต่ตัว ก ข ค ง บางทีก็สะกดไม่ถูก ทําให้คนที่อ่านเข้าใจผิด

@@@@@@@

เพราะฉะนั้นท่านจึงถือว่า การเขียนนี่ไว้ใจไม่ได้ ในสมัยก่อน เมื่อยังไม่มีการพิมพ์ ถือว่าการเขียนใช้เป็นทางการหรือเอาจริงจัง ไม่ได้ ให้เป็นเรื่องของการใช้ส่วนตัว เช่น อยากจะเรียนอะไร ทบทวนเขียนอะไร ก็เขียนเฉพาะตัว เราไปเห็นใครเขียนอะไรไว้บอกอะไรไว้ เชื่อได้ที่ไหนล่ะ เราไม่รู้ว่าคนเขียนนี่มีความรู้จริงหรือ เปล่า ไว้ใจได้หรือเปล่า เพราะฉะนั้นในเรื่องสําคัญ เรื่องจริงจัง เขา ไม่เอาเลย เขาต้องใช้วิธีทรงจํา เพราะมันจะมีแบบให้แม่นยํา เดี๋ยวจะเล่าต่อ

ทีนี้แทรกเข้ามา คือว่า การใช้วิธีเขียนในสมัยก่อนนี่ มันเข้าคติ ที่บอกในเรื่องตํารายาว่า “ลอกสามที่กินตาย” เคยได้ยินไหม เอ๊ะ.. ลอกกี่ทีกินตายนะ อันนี้ชักจําไม่แม่นแล้ว เอาเป็นว่า จะลอกสามที่ กินตาย หรือลอกเจ็ดทีกินตาย หรือกี่ทีก็แล้วแต่ ก็คือว่าคัดลอก ต่อๆ กันไป พอเอาไปทํายากิน แทนที่จะโรคหาย คนก็เลยตาย

ยกตัวอย่างเรื่องหนึ่ง มีตํารายาบอกว่า “ลูกประคําดีควาย รากขี้กาแดง" ทีนี้ คนที่มาคัดลอกไปไม่มีความรู้ว่าต้นไม้ที่เป็นตัว ยาชื่อนี้คือต้นอะไร ก็ได้แต่ลอกตัวหนังสือไปตามนั้น แต่เพราะว่า ไม่รู้จักของจริง ไม่มีความรู้ ก็นึกเอาตามความรู้ความเข้าใจของตัว ก็เขียนแยกวรรคผิด หรือแยกวรรคไม่ผิด แต่เขียนติดกันเป็นพืดไปเลย คนอ่านไม่รู้จักของจริง ก็แยกวรรคไม่ถูก

ทีนี้ ลูกประคําดีควายรากขี้กาแดง ก็มาแยกเอาสิ ลูกประคํา เออ.. ใช่แล้ว ลูกประคํา ได้ตัวยาหนึ่งแล้ว ดีควาย เออ... ดีควาย ก็ ได้แล้ว ดีควายไปเอามา ต่อไปว่า ราก อ๋อ... ราก คนก็รากออกมา คืออาเจียน ขี้ ก็ได้ละ แล้วก็ กาแดง เอ... ตัวนี้หายากจริงๆ หา เท่าไร ก็ไม่ได้

เอาละสิ ทําไงล่ะ ตํารับยานี้กินเข้าไปก็มีหวัง ถ้าไม่ตาย ก็ ปางตายใช่ไหม ทีนี้ที่จริงมันเป็นอย่างไร

“ประคําดีควาย” เป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ผลของมัน ก็เป็นลูก ประคําดีควาย ใช่ไหม คือลูกของต้นประคําดีควาย แล้วก็ราก ขี้กาแดง "ขี้กาแดง" นี่เป็นชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ก็เอารากของต้น ขี้กาแดงนั้นมา เป็นอันว่ามีตัวยาสองอย่างนี้เท่านั้นเอง

นี่อย่างนี้ก็เป็นตัวอย่างของคําที่ว่า ลอกสามทีกินตาย

เพราะฉะนั้นก็จึงเป็นอันว่า เรื่องการเขียนนี่เสี่ยงอันตราย มาก แต่วิธีท่องของท่านนี้ ใช้วิธีสังฆะที่ประชุมส่วนรวม ต้องมีการ สาธยายสอบทานกันจนมั่นใจได้

@@@@@@@

ต่อหนังสือ ไม่ต้องใช้ตัวหนังสือ

เมื่อกี้นี้บอกว่า วิธีสาธยายนั้น มีการท่อง ทวน ทาน นี่คือ สําทับว่าต้องเอามาทานกัน คือต้องมีการสอบทาน หรือตรวจทาน

ถึงจะเรียนมาแล้ว ท่องแล้ว ทวนแล้ว จําได้ ก็ต้องเอามาให้ที่ ประชุมยอมรับ หรืออย่างน้อยเอาพระอาจารย์ที่มีความรู้แม่นยํา ชัดเจนมา ว่าให้ท่านฟัง แล้วท่านจะได้ยอมรับว่าถูกหรือผิด และ แก้ไขได้ให้มั่นใจว่าถูกต้อง

ทีนี้ก็มาพูดถึงวิธีเรียนสมัยโบราณสักหน่อย เคยได้ยินไหม การเรียนแบบต่อหนังสือ เป็นวิธีเรียนที่มีการสาธยายอย่างนี้ วันนี้ ก็เลยมาพูดคุยเรื่องนี้หน่อย จะได้รู้ว่าในสมัยโบราณ เขามีวิธีเรียน กันอย่างไร บางทีอาจจะได้แง่ที่เป็นประโยชน์ ที่เอามาใช้ในสมัยปัจจุบันที่เจริญด้วยเทคโนโลยีได้

วิธีเรียนแบบต่อหนังสือนี่ ตัวผู้พูดเองก็ไม่ทันนะ แต่ทันได้รู้ บ้างจากรุ่นหลวงพ่อที่ท่านถือคัมภีร์แบกคัมภีร์ไปต่อหนังสือ หลวงพ่อนั้นท่านมรณภาพไป ๔๐ ปีแล้ว เมื่อมรณภาพนั้นท่านอายุ ๙๐ ปี ก็เป็นอันว่านับอายุท่านมาถึงเดี๋ยวนี้ก็ ๑๓๐ ปี เป็นศตวรรษ นี่ก็ บอกไว้ก่อนว่าไม่ใช่รู้ชัดเจนมาโดยตรง เป็นการปะติดปะต่อให้ฟัง

ทีนี้ คนรุ่นเก่าสมัยนั้นยังไม่มีระบบการพิมพ์ที่เจริญ การพิมพ์หนังสือก็มีแล้ว แต่ยังน้อย ไม่แพร่หลาย ในการเรียนยังต้อง ใช้วิธีเก่า บางทีก็จารใบลานเอามาสําหรับตัว แล้วก็แบกคัมภีร์ไป หาอาจารย์ และเรียนโดยใช้วิธีต่อหนังสือ

“ต่อหนังสือ” ทําอย่างไร เอาอย่างนี้คือ คัมภีร์เป็นตัวช่วย เท่านั้น ตัวอาจารย์นั่นแหละเป็นตัวหลักตั้งไว้ ลูกศิษย์มา อาจจะ คนเดียวหรือกลุ่มเล็กๆ ๒-๓ องค์ เรียนกันแทบจะเป็นแบบตัวต่อตัว

เออ.. ลูกศิษย์มาต่อหนังสือ มาถึงแล้ว เริ่มต้น... อาจารย์ก็ บอกอุเทศ (บาลี "อุทเทส") ก่อน

อุเทศ คืออะไร อุเทศก็คือ ตัวบท บทตั้ง หัวข้อหลัก แม่บท เฉพาะอย่างยิ่งพุทธพจน์ ซึ่งถือเป็นอุเทศ เป็นแม่บท เป็นหัวข้อ เป็นหลัก ที่เราจะต้องทําความเข้าใจ พระอาจารย์ก็ตั้งอุเทศขึ้นมา ถ้าอุเทศนั้นเป็นคาถาสั้นๆ ก็ว่าให้ฟัง ก็คือสาธยายนั่นแหละ แล้ว ให้ลูกศิษย์สาธยายตามนั้น สาธยายให้ได้ให้ถูกต้องให้เต็มอย่าง นั้น ถ้ายังไม่ได้ ฉันยังไม่สอน ต้องสาธยายให้แม่นก่อน

ทีนี้บางทีอุเทศเป็นพระสูตรที่ยาว ก็ต้องสาธยายกันเป็นสูตร เลย นี่เรียกว่าอุเทศ คือตั้งตัวบทให้ เป็นบทตั้ง นี่คือต้องสาธยาย เป็นการท่องจนจ๋าได้ว่าได้แม่นยํา

พอได้อุเทศแม่นยําแล้ว ก็ไม่อยู่แค่ท่อง ไม่อยู่แค่จํา เอาละนะ เธอได้ตัวบทคืออุเทศ สาธยายได้แม่นยําแล้ว ต่อไปก็ถึงปริปุจฉา

ปริปุจฉา แปลว่า ซักรอบสอบถาม ซักกันให้ปริ ให้ปรุโปร่ง กันไปเลย ซักถามไปและอธิบายกันไป ปุจฉาแปลว่าถาม เดิม “ปริ” เข้าไป “ปริ” แปลว่า รอบ หมายความว่าซักถาม แล้วฟังตอบ ชี้แจงอธิบายกันไปจนปรุโปร่ง

@@@@@@@

นี่ก็หมายความว่า อาจารย์อธิบายให้ฟัง บรรยายชี้แจงว่า อุเทศที่ตั้งขึ้นมาเมื่อกี้นี้ มีความหมาย มีเนื้อความอย่างไร เอ้า... ถ้า สงสัย ก็ถามมา ตอบกันไป จนชัดเจนแล้ว ก็บอกว่า เอาละ รู้เข้าใจ ดีแล้ว วันนี้พอ กลับไปได้ และอาจารย์ก็นัด หรืออาจจะมีวันที่ กําหนดไว้แล้ว ที่จะมาในครั้งต่อไป

ควรย้ําไว้เป็นสําคัญว่า ในการเรียนทั้งหมดนั้น ต้องมีโยนิโสมนสิการ รู้จักใส่ใจพิจารณาโดยแยบคายให้สว่างชัดพัฒน์ปัญญา ไปโดยตลอด และเมื่อกลับถิ่นไปที่วัด ตัวเองก็สามารถสาธยาย และโยนิโสมนสิการอีก เพื่อทบทวนและจะได้เกิดมีความรู้ความ เข้าใจกว้างลึกทั่วตลอดเห็นรอบเห็นไกลยิ่งขึ้นไป จนถึงวันนัด ก็มาหาอาจารย์

พอเริ่มครั้งใหม่ อาจารย์บอกว่า เออ... ฉันจะต่อให้เธอก็ต้อง ได้ของเก่าให้แน่ก่อน ใช่ไหม ถ้าของเก่าเธอยังไม่ได้ จะไปต่อให้ได้ อย่างไรล่ะ

นี่คือต่อหนังสือ จะต่อ ก็ต้องได้ของครั้งก่อนแล้ว เอ้า.. ที่ เรียนวันก่อนนั้น ว่ามา นี่คือต้องทวนของเก่าทั้งหมด อาจารย์บอก ว่า เอาละนะ อุเทศว่ามา ก็ว่าอุเทศให้อาจารย์ฟัง เออ.. ใช้ได้

ทีนี้ที่เธอว่าอุเทศมานี่ ความหมายเนื้อความทั้งหมดของ อุเทศนั้น เธอมีความเข้าใจอย่างไร ว่ามาให้ฉันฟัง ลูกศิษย์ก็ต้อง อธิบายสิว่าตัวมีความเข้าใจอย่างไร อาจารย์ก็บอกว่า เออ... คนนี้ ถูก คนนั้นไม่ถูก ตรงไหนผิดถูก เป็นอย่างไร หรือเพื่อนนักเรียนที่ ฟังอยู่ด้วย ก็ช่วยกันตรวจสอบ ถ้าอาจารย์เห็นว่ายังมีข้อที่ไม่ได้ เล็กๆ น้อยๆ ก็บอกอธิบายแก้ไขทําให้ถูกให้ชัด จนกระทั่งแน่ใจว่า ลูกศิษย์คนนี้จําได้ รู้เข้าใจชัดเจน มั่นใจแล้ว ก็ยอมรับ แล้วก็ต่อ หนังสือ คือให้อุเทศต่อ แล้วก็ปริปุจฉากันต่อไป

แต่ถ้ายังไม่เป็นที่พอใจ อาจารย์ก็ยังไม่ต่อหนังสือให้ ต้อง เอาอันเก่าให้ได้ก่อน จึงต่อให้

จะเห็นว่า วิธีศึกษาแบบนี้ค่อนข้างเป็นการเรียนตัวต่อตัว เป็นวิธีศึกษาแบบเอาจริงเอาจัง

ดังนั้น ถ้าอาจารย์ หนึ่ง เป็นผู้ที่มีความรู้เชี่ยวชาญจริงๆ สอง เป็นคนเอาจริงในการสอน ตั้งใจมุ่งมั่นในการที่จะให้เขาศึกษาได้ จริง สาม มีวิธีสอนที่ดีด้วย ก็จะได้ลูกศิษย์ที่ดีที่เก่งมากเลย ใช่ไหม

อันนี้เป็นวิธีศึกษาที่เรียกว่า “ต่อหนังสือ”  ทีนี้สมัยนี้เราไป ไว้ใจเทคโนโลยีมาก อย่าไปประมาทนึกว่าจะเก่งกว่าคนเก่า ลองนึกดูว่า วิธีต่อหนังสืออย่างนี้ได้ผลดีไหม ถ้าอาจารย์เอาจริง เอาให้แม่น ให้รู้จริง ให้คิดขยายและเห็นทางใช้ ต้องไว้ใจได้จริง จึงจะยอมต่อให้

ทีนี้เอาอย่างที่ว่านั้นลองมาเทียบกับเวลานี้ที่คนเรียนไปฟัง กันเป็นร้อย หรือหลายร้อย บางทีไม่ได้เข้าถึงตัวอาจารย์ แทบไม่ได้ สื่อสัมพันธ์กัน เทคโนโลยีนั้นช่วยได้เยอะ แต่ในเวลาเดียวกันมันก็ มีจุดอ่อนที่จะต้องแก้ไข ทําอย่างไรจะไม่ให้แพ้วิธีต่อหนังสือได้ ต้องให้มั่นใจ นี่ก็เอามาเล่าให้ฟังพอที่จะเข้าใจ

เป็นอันว่า เรื่องสาธยาย หรือสัชฌายะ ก็ใช้ในการศึกษาเล่า เรียน จนกระทั่งมาอยู่ในวิธีที่เป็นระบบของการต่อหนังสือนี้ แล้วก็ นํามาใช้เป็นสําคัญในการรักษาพุทธพจน์ คําสอนของพระพุทธเจ้า โดยเน้นคุณสาธยาย ก็ทรงจํากันมา พระไตรปิฎกและคัมภีร์ ทั้งหลายก็รักษากันมาได้ด้วยวิธีอย่างนี้แหละ จึงมาถึงพวกเรา โดยถือเป็นเรื่องสําคัญมากว่าจะต้องให้แม่นยําด้วยการที่จะต้องตรวจสอบ ที่เรียกว่าสอบทานกัน

ในเมืองไทยเราเดี๋ยวนี้ก็เหลือแค่มาสอบทาน เอาคัมภีร์มา เทียบเคียงกัน แล้วก็มาตรวจสอบอ่านกัน องค์นั้นอ่านของอักษร พม่า องค์นั้นอ่านของอักษรสิงหล คนนี้อ่านของอักษรโรมัน มา เทียบกันดู มีผิดกันต่างกันตรงไหน ก็บันทึกเป็นหลักฐานไว้ แต่ถ้า ได้พระที่จําแม่นหมดทั้งพระไตรปิฎก ก็ยิ่งดีใหญ่ มั่นใจยิ่งขึ้น

(ยังมีต่อ..)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 07, 2024, 10:53:32 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28906
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: สวดมนต์ ต้องไม่โค่น "สาธยาย"
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2024, 10:20:57 am »
0
.



ตอน ๔. ฟื้นสาระขึ้นมา รักษาหลักไว้



 :25: :25: :25:

สวดมนต์ไป ต้องได้ธรรมมา

ได้เล่าให้ฟังในเรื่องของการสวดมนต์พอให้เห็นความสําคัญว่า ในฐานะที่เราเป็นพุทธศาสนิกชน เมื่อพระพุทธศาสนาเป็น ศาสนาของผู้รู้ เราก็ควรทําอะไรๆ กันด้วยความรู้ ไม่ใช่อยู่แค่สวด กันไปๆ จนกระทั่งไปๆ มาๆ กลายเป็นมนต์ของพราหมณ์

ข้อสําคัญอยู่ที่ว่า ต้องให้เป็นมนต์ที่โยงไปถึงหลักคําสอน ของพระพุทธเจ้า ให้รู้ถึงสาระ ได้ทั้งจิตใจ ไปถึงปัญญา ไม่ใช่อยู่ กันแค่ความรู้สึก

เวลานี้ เมื่อเราเพลินจนลืมไปว่า การสาธยายสวดมนต์เป็น ส่วนสําคัญของการเล่าเรียนศึกษาปฏิบัติ และเป็นกิจใหญ่ในการ รักษาคําสอนของพระพุทธเจ้า เวลาเรามาสวดกันเป็นกลุ่ม บางทีก็ สวดกันเพียงเพื่อให้ทุกคนได้มีจิตใจสงบ นั่นก็ดีอยู่บ้าง แต่ไม่ควรพอใจแค่นั้น

มองดูสภาพปัจจุบัน ดูเหมือนมีแนวโน้มที่มุ่งจะจัดทําแต่งสรรการสวดให้ไพเราะชวนให้คนติดใจฟังติดใจจะสวดให้มากขึ้นๆ แล้วใจก็อยู่กับการที่จะสวดให้ไพเราะนั้น และจัดหาบทมาให้ได้ สวดให้มากๆ โดยไม่รู้เข้าใจไม่ได้นึกถึงสิ่งที่ตนกําลังสวดอยู่ ถ้าเพลินกันไปจนลืมนึกถึงการสาธยาย ไม่เอาใจใส่นึกถึงธรรมที่สวดกันเลย ก็จะกลายเป็นการเขวออกไปจากทางหรือไม่

ขอให้นึกถึงพุทธบัญญัติที่ทรงห้ามพระมิให้สวดธรรมด้วย เสียงขับร้องเอื้อนยืดยาวขึ้นลงฮวบฮาบ ซึ่งทําให้อักขระผิดเพี้ยน เสียหาย ใจเพลิดเพลินตามไปกับเสียง กล่อมทั้งตัวเองและคนอื่น ชื่นชมตัวเอง ใจมัวแต่อยากทําเสียงให้เพราะให้ดีจนไม่อาจจะมี สมาธิ ใจไม่อยู่กับธรรมที่ตัวสวด แต่ทรงอนุญาตให้พระสวด “สรภัญญะ” ซึ่งคัมภีร์บอกว่ามีถึง ๓๒ ทํานอง มาถึงเมืองไทยสมัย นี้ ก็ยากนักที่จะไปหาผู้รู้จักทํานองเหล่านี้ได้ที่ไหน

ก็จับเอาที่สาระว่า การกล่าวธรรมด้วยเสียง หรือใช้เสียงสื่อ ธรรม คือเอาเสียงที่ดีที่เสนาะที่รื่นไพเราะมาใช้กล่าวธรรม ให้เป็นทํานองคล่องชัดถนัดฟังง่าย โดยไม่ใช่แค่ปล่อยใจไปตามเสียง แต่มีสติว่าไป ใจก็นึกระลึกรู้ถึงถ้อยคําบอกธรรมที่กําลังสวดอยู่นั้น มองเห็นเข้าใจความหมายของบทสวด ทั้งแต่ละคํา และสารัตถะ ใจความของบทสวดทั้งบทนั้น อย่างที่สวดกันอยู่นี้ ถ้ารู้เข้าใจ ก็ทําได้

@@@@@@@

ที่ว่า มีสติ ว่าไป ใจก็นึกระลึกรู้ถึงตามทันบทธรรมแต่ละ ถ้อยคํา นี่คือ “สาธยาย

ที่ว่า สวดโดยเอาเสียงที่ดีที่เสนาะรื่นไพเราะมาใช้กล่าวธรรม โดยว่าเรียงบทให้ชัดคําชัดความทุกบทพยัญชนะไม่คละกัน ครบ สมบูรณ์ กลมกล่อม ชวนฟังชวน นี่คือ “สรภัญญะ”

สาธยาย ดําเนินไปด้วยการทํางานของสติ มีสติเป็นตัวทํางานให้สําเร็จผล โดยระลึกระบุจัดเรียงข้อมูลเข้าที่เข้าลําดับของมัน ที่จะพิจารณารู้เข้าใจ นี้เป็นแกนของการสวด และเป็นส่วนของการปฏิบัติธรรม

สรภัญญะ เป็นการสาธยายนั่นแหละ แต่อาศัยทํานองและเสียงที่ไพเราะมาคุมกํากับไปในตัวให้ถ้อยคําต้องรับต่อทอดกันไป อย่างกลมกลืน ช่วยให้คําสวดครบถ้วนชัดเจนถูกต้อง ชวนฟังชวน จ๋า พร้อมทั้งโน้มนําจิตใจให้สงบสดชื่นเกิดมีปีติ

การสวดที่ดี จึงให้ได้ให้มีสาธยายเป็นแกน และเอาการใช้ เสียงมาช่วยเสริมกํากับ ถ้าทําได้อย่างนี้ ก็ได้ครบลักษณะการสวดที่ถูกต้อง

แม้แต่ในการสวดมนต์ของพราหมณ์ ท่านก็กล่าวไว้ในคัมภีร์ต่างๆ ว่า "คายนวเสน สชฌาย์” คือ พวกพราหมณ์นั้นก็สวด มนต์ของเขา ด้วยการสาธยายโดยสวดเป็นทํานองขับร้องไป นี่คือ ถึงจะร้องเป็นเพลงอย่างไร ก็ต้องให้เป็นการสาธยายอยู่ในตัว ถ้า ชาวพุทธทําแค่นี้ไม่ได้ จะปฏิบัติและรักษาพระพุทธศาสนาไว้ให้อยู่ดีได้อย่างไร

เป็นอันว่า การสวดมนต์ที่ถูกที่ดี (คือสวดพุทธพจน์บทธรรม ตั้งแต่พระปริตรเป็นต้นไป) ได้ทั้ง ๒ อย่างไปพร้อมกัน คือได้ทั้ง “สาธยาย” ระลึกนึกรู้ธรรมที่กําลังสวดอยู่ โดยเป็นการฝึกสติไปด้วย และได้ทั้ง “สรภัญญะ” ที่ได้เสียงอันไพเราะเป็นทํานอง มาหนุนให้ ชัดเจนแม่นยําจําง่ายทั้งชวนใจให้มีปีติปราโมทย์ด้วย

(คนที่สาธยาย ก็คือระลึกนึกถึงจับยกเอาข้อมูลขึ้นมาระบุ เรียงลําาดับไปจนตลอด การ "สาธยาย” จึงเป็นการมีสติใช้สติ ดังที่ ตรัสไว้ในข้อ ๑ ของโพชฌงค์)

@@@@@@@

สวดมนต์ให้พอได้มาชุมนุมรวมใจพร้อมกัน

ถ้าจะสวดมนต์เอาแค่สวดให้ไพเราะชวนใจให้ซาบซึ้ง ก็พอจะ เหมาะที่จะใช้กับท่านที่มีสติสัมปชัญญะพร่องลงไป เช่นท่านที่เฒ่าชรา หรือผู้เจ็บไข้มากๆ โดยมุ่งไปที่จะให้เสียงและคําสวดมนต์โน้มนําใจของท่านให้สงบหรือเกิดอนุสติระลึกไปในทางของบุญกุศล เช่นนึกถึงพระพุทธรูป นึกถึงบรรยากาศในการที่ได้ไปทําบุญ นึกถึง บุญทั้งหลายที่ได้ทํา

แต่ถ้ายังมีสติสัมปชัญญะที่เจริญได้ ไม่ว่าจะสวดอย่างไร ก็ ต้องให้มีสาธยายอยู่เป็นแกน ดังที่ว่ามา

การสวดมนต์อย่างที่ทําสืบๆ กันมานี้ เป็นการกระทําของ บุคคล คือแต่ละคนทํากิจของตนๆ ถึงจะมาสวดพร้อมกัน หรือ ประชุมพร้อมกันสวด แต่ละคนก็ทํากิจของตนๆ ในฐานะเป็นส่วน ร่วมของคณะหรือของที่ประชุม โดยมาประสานกัน จะว่าเป็นคณ สาธยาย ก็ไม่ใช่ เพราะไม่ได้มีความมุ่งหมายที่จะระลึกรู้เข้าใจธรรม หรือตั้งใจว่าจะรักษาพุทธพจน์เอาไว้แต่อย่างใด สาระที่พอจะ ได้ ก็คือเป็นกายสามัคคี และเป็นจิตตสามัคคี อันนี้ก็เป็นความดีที่ เป็นพื้นฐานไว้ แต่ยังไม่ใช่เป็นตัวสาระ

ส่วนที่ว่าเมื่อสวดไปใจมาอยู่กับอารมณ์ที่ดีงามได้มีความ สงบสดชื่นรื่นใจห่างหายทุกข์ บางทีเกิดมีปีติปราโมทย์ นั่นก็เป็น บุญกิริยาดีอยู่ แต่ยังกึ่งหรือเสี่ยงต่ออกุศลที่จะเป็นความเสื่อม เสีย เมื่อกลายเป็นความติดเพลินสุขอยู่ในความเคลิบเคลิ้ม สมาธิก็ ไม่ไป สติก็ไม่มีที่จะตื่นจะทัน ปัญญาก็ไม่มารู้เข้าใจ เลยกลายไป เป็นชีวิตแห่งความประมาท มีสติขาดๆ พร่องๆ

การสวดมนต์อย่างที่ว่ามานั้น ถ้าจะว่าเป็นการสืบทอดมา ตามประเพณี ก็ไม่ถูกแท้ เป็นได้แค่ประเพณีที่เสื่อมจางรางเลื่อน ขาดด้วนจากสาระ (ที่เคยพอมีอยู่บ้าง)

การสวดมนต์อย่างที่สืบๆ กันมานั้น แม้จะเลือนรางจางสาระ ลงไป ก็ยังมีความหมายเป็นขั้นตอนหนึ่งของการเจริญกุศลหรือ การปฏิบัติธรรม เรียกได้ว่าเป็นการเตรียมตัวให้พร้อมที่จะปฏิบัติ ธรรมหรือเจริญกุศลขั้นต่อไป ที่เป็นความมุ่งหมายอันแท้จริง

ตามประเพณีที่สืบจากเดิมนั้น ใช้การมาประชุมสวดมนต์ พร้อมกันนี้ เป็นการเตรียมตัวเพื่อกิจกรรม (บุญกิริยา) ที่สําคัญขั้นต่อไป

@@@@@@@

การสวดมนต์เป็นการเตรียมตัวเตรียมคนที่มาประชุมหรือชุมนุมกันนั้น พูดให้เป็นภาษาชาวบ้านว่า รวมพล โดยเอาคนมา รวมกัน แล้วก็ รวมใจ ให้ใจของทุกคนที่มาชุมนุมกันนั้นสงบชื่น บานมองมุ่งไปที่จุดหมายอันเดียวกัน ใครมีเรื่องหงุดหงิดกังวล ฟุ้งซ่าน พอมาสวดมนต์ ก็สงบลงอย่างที่ว่าแล้ว แล้วก็รวมใจพร้อม ใจกับคนอื่นๆ มุ่งไปที่จุดมุ่งอันหนึ่งอันเดียวกันนั้น

งานหรือกิจกรรมที่ว่าเป็นบุญกิริยาอะไรที่ผู้สวดมนต์มุ่งจะทําต่อไป นี่ก็คือการฟังธรรม ได้แก่ ธรรมสวนะ อันนี้มิใช่เป็นเพียง ว่าเรามีประเพณีที่ว่าสวดมนต์แล้วฟังธรรม แต่การฟังธรรมนั่น แหละเป็นตัวบุญกิริยาที่ทําให้เกิดประเพณีนี้

ธรรมสวนะ คือการฟังธรรมนี้ ที่ว่าเป็นบุญกิริยาสําคัญนั้น ก็ คือเป็นหน้าที่ของพุทธบริษัท ทั้งพระและโยม จะต้องเอาจริงเอาจัง

การที่เรามีพระพุทธเจ้า การที่ชาวบ้านมีพระสงฆ์ไว้ ความหมายแท้สุดสําคัญ ก็เพื่อให้เรา เพื่อให้ประชาชนชาวบ้านจะ ได้ฟังธรรม เมื่อได้ฟังธรรมก็จะได้รู้เข้าใจว่าอะไรเป็นอะไร จะได้ทํา ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องเพื่อให้เจริญก้าวไปในการเรียนการรู้และการปฏิบัติธรรมต่อไป

ดังนั้น ตั้งแต่เดิมมาจึงจัดให้การฟังธรรมนี้เป็นกิจประจําวัน ของพระของโยม ถึงกับมีคําว่า “ธัมมัสสวนโฆสนา” คือการโฆษณาประกาศป่าวร้องให้รู้ทั่วกันถึงรายการฟังธรรม แต่กาลนาน ผ่านมา ชาวพุทธอ่อนแอลง เสื่อมถอยจากธรรมสวนะ ไม่รู้จักที่จะ ใส่ใจในเรื่องการฟังธรรม

ตั้งแต่ไม่รู้จักหน้าที่สําคัญของตนคือการฟังธรรมนี้แล้ว อะไรๆก็เลื่อนรางลงไป จะทําอะไรๆ ก็ไม่ทําด้วยความรู้เข้าใจ แล้วความ เสื่อมก็ตามมา จากยุคแรกแห่งการรักษาธรรมวินัย ก็กลายเป็นแค่ ยุคสมัยของการรักษาประเพณี แล้วประเพณีเองก็ค่อยๆ เลือนราง ลงไป ได้แค่รักษารูปแบบไว้ (รักษาขวดไว้ได้ แต่น้ําหรือยาหายไป บางทีกลายเป็นมีสุราเข้ามาแทน)

การสวดมนต์แล้วฟังธรรมนี้ มีเค้าความที่โยงกับเรื่องซึ่งจะ พูดถึงดังจะเห็นในข้อต่อไปข้างหน้าด้วย

@@@@@@@

เป็นอันว่า คนที่มาพร้อมกันสวดมนต์ด้วยกันนั้น ตระหนักรู้อยู่ว่า เบื้องหน้าต่อจากนี้พวกเราจะได้ฟังธรรม จากนั้น เมื่อญาติ โยมสวดมนต์พร้อมกัน ใจสงบพร้อมดีแล้ว พระก็แสดงธรรมให้ฟัง หรือมีการพูดธรรมต่อไป นี่คือไม่ใช่ว่าสวดมนต์แล้วก็จบคือเลิกกัน

งานหรือบุญกิริยาอีกอย่างหนึ่ง ที่ใช้การสวดมนต์เป็นการเตรียมตัวเตรียมใจให้พร้อมที่จะทําต่อไป ก็คือใช้การสวดมนต์เป็น การเตรียมจิตเพื่อการทําสมาธิ อย่างที่บอกแล้วว่า จิตใจของผู้ที่มา แต่ละคนๆ เมื่อมาถึงที่นั่น อยู่ในภาวะต่อเนื่องมาจากการถูก กระทบภายนอกที่ต่างๆ กันไป บ้างก็หงุดหงิดฟุ้งซ่าน บ้างก็ค้าง จิตติดอารมณ์โน่นนี่มา อะไรต่างๆ ทําให้ใจไม่พร้อม ก็มาสวดมนต์ ด้วยกัน เป็นทั้งรวมพล รวมคน รวมใจ ให้สงบนิ่งปลอดสิ่งรบกวน เข้าที่ พร้อมที่จะเจริญสมาธิให้ก้าวหน้า

แต่การทําสมาธินี่ที่จริงเป็นเรื่องการปฏิบัติภายในของแต่ละคนนั้นๆ เอง เขาอยู่ในที่ของเขา เขาก็สวดมนต์ในส่วนของตัวเอง เพื่อเตรียมจิตให้สงบพร้อมน้อมที่จะมั่นแน่วเป็นสมาธิ การชุมนุม สวดมนต์ด้วยกันเพื่อผลในการเจริญสมาธิจึงเป็นส่วนเสริมเพิ่มเข้ามา ไม่ใช่เป็นผลที่หมายตัวแท้ตัวจริง

การสวดมนต์ที่เป็นการปฏิบัติภายในของตัวบุคคลที่ควร สนับสนุนอย่างหนึ่ง คือสวดมนต์เพื่อช่วยให้นอนหลับ การสวด มนต์เพื่อนําการเจริญสมาธิและเพื่อแก้ปัญหานอนไม่หลับนี้ เป็น ประโยชน์จําเพาะทางจิตใจที่ระบุความมุ่งหมายแยกไว้เป็นพิเศษแล้ว จึงไม่มาสับสนปนเปกับวัตถุประสงค์ทั่วไปตามปกติของการสวดมนต์

รวมแล้ว ถ้าจะให้เข้าหลักแท้ ก็อย่างที่ว่า คือ ให้การสวดมนต์หมู่ตามต่อมาด้วยกิจกรรมที่เป็นบุญกิริยาใหญ่ อันให้ ประโยชน์ ที่ได้ทางจิตใจแล้วก็ได้ปัญญาด้วย ก็คือ การฟังธรรมนั่น แหละ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่จะให้ได้ครบไปจบถึงปัญญา

นอกจากนั้น บางครั้งการชุมนุมสวดมนต์ด้วยกันพร้อมกันนี้ก็อาจใช้เป็นการเตรียมตัวให้สงบมั่นคงมั่นใจพร้อมเพื่อการทํากิจ สําคัญอย่างอื่น ตั้งแต่การรวมกําลังทํางานบุญของชาวบ้าน ไป จนกระทั่งถึงกิจการของบ้านเมือง

@@@@@@@

ในบ้านเมืองไทยสืบมาแต่สมัยก่อนโน้น มีวัดที่ชื่อว่า “ชนะสงคราม” อย่างที่กาญจนบุรี มีวัดชัยชุมพลชนะสงคราม วัดนั้น เป็นอย่างไร ตามเรื่องเก่าที่พอได้ทราบว่า ในยามที่พระมหากษัตริย์ ทรงเตรียมทัพออกศึก จะโปรดฯ ให้ทหารมาชุมพลคือมาประชุม พร้อมกันที่วัดนั้น ทําจิตใจให้สงบมั่น เป็นการได้รับพร ให้พร้อม ก่อนที่จะยกทัพออกไป จึงมีชื่อว่าวัดชัยชุมพลชนะสงคราม

ที่กรุงเทพฯ ก็มีวัดชนะสงคราม ซึ่งตามที่ทราบว่าเป็นวัดที่มี โบสถ์ใหญ่ที่สุด ซึ่งเป็นที่ชุมนุมทหารได้เหมาะ หมายความว่า องค์ พระมหากษัตริย์ทรงไปรบชนะกลับมา ก็มารวมพลที่วัดชนะสงคราม ก่อนที่จะปล่อยแยกย้ายกันไป อันนี้พูดสั้นๆ ว่าเป็นการทําจิตให้ เข้าที่ ลงท้ายโดยมารวมกันในกุศล ให้ความสงบมาปิดท้ายจบ ความวุ่นวาย ให้พร้อมดีที่จะกลับไปดําเนินชีวิตในยามปกติต่อไป

ที่พูดมานี้ ว่าไปตามที่ได้ยินได้ฟังมาบ้าง ยังไม่ได้สอบสวน ค้นคว้าอะไร ดังนั้นท่านใดซึ่งใกล้ชิดที่ ใกล้ชิดเรื่อง และมีโอกาส ก็อาจจะนําเนื้อความที่หนักแน่นชัดเจนสักหน่อยมาบอกเล่ากัน

ทีนี้ ว่าถึงการรวมพลที่จะไปรบนั้น ก็หมายความว่าทาง บ้านเมืองได้เอาการสวดมนต์เป็นต้นนี้ ขยายไปใช้ประโยชน์ โดย ยกความสงบมั่นคงความพร้อมด้านจิตใจเป็นสําคัญขึ้นมา ให้ชีวิตมีฐานทางด้านบุญก่อน แล้วเรื่องไปรบจึงมาต่อในจิตที่เตรียมไว้ให้พร้อมแล้ว

ถ้าไม่เตรียมให้พร้อมตีในด้านจิตใจ ทหารหรือคนที่จะไปรบ นั้นตื่นเต้น หลายคนก็หวาดผวา ใจไม่ดี บางคนก็คิดถึงครอบครัว ห่วงกังวลโน่นนี่ ใจฟุ้งซ่านไปต่างๆ ก็มาร่วมชุมพลที่วัดพร้อมกัน แล้วสวดมนต์ ใจจะได้สงบ นี่ก็คือรวมพล รวมคน รวมใจ ใจก็สงบ จากเรื่องทั้งหลาย มามองหมายมุ่งไปที่งานอันจะทําต่อไป และองค์พระจอมทัพก็อาจจะตรัสความนําใจนําปัญญา พามวลพลกายให้มีใจหนึ่งเดียวมุ่งไปยังจุดหมายของการรักษาบ้านเมือง เพื่อประโยชน์สุขของมวลประชาราษฎร์ ทีนี้ใจก็จะเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกันมั่นสงบพร้อม ดังนั้น การสวดมนต์ก็จึงใช้แม้แต่ในเรื่อง ของทางการบ้านเมือง เรื่องก็เป็นมาทํานองนี้

ต้องพูดแทรกบอกไว้กันความเข้าใจผิดด้วยว่า หลายคนอาจ พูดว่า การทําอย่างนี้ก็เป็นการเอาสวดมนต์ เอาเรื่องพระเรื่องบุญไปใช้ในการรบราฆ่าฟันกันด้วยสิ

ขอให้เข้าใจตามหลักที่ได้พูดไปแล้วข้างต้นว่า การสวดมนต์ เจริญพระพุทธมนต์ อวยชัยให้พร หรือแม้แต่จะพรมน้ํามนต์ให้แก่ เหล่าทหาร แก่กองทัพนั้น ในพระพุทธศาสนา เป็นไปตามหลักของ ปริตร/ปริตต์/ปริตตาณะ คือเพื่อการคุ้มครองป้องกัน หรือปกปัก รักษา ให้ตนเองและหมู่ชนปลอดภัย มีความเกษมสวัสดี พ้นเลย จากนั้นไปแล้ว ก็เป็นเรื่องของตัวคนนั้นๆ เองที่ไปคิดไปทํา การที่จะ ไปเข่นฆ่าทําร้ายใคร หรือจะไปมีโชคลาภร่ํารวยอะไรนั้น พระไม่ไป ยุ่งด้วย พระได้แต่อ้างอิงสัจจะอ้างอิงธรรมให้อํานวยความคุ้มครอง ให้มั่นคงปลอดภัย ปกป้องรักษาให้ได้ความสงบ มั่นใจหลักการนี้ออกมาเป็นประเพณีที่มีการปฏิบัติสอดคล้องกันในขอบเขตแค่นั้น

@@@@@@@

ทีนี้ว่าถึงในปัจจุบัน การชุมนุมสวดมนต์รวมพลรวมใจให้ สงบพร้อมมั่นคงมั่นใจแบบนี้ ก็น่าจะใช้ได้ดีกับกิจกรรมบุญกุศล ส่วนรวมต่างๆ เช่นให้ชาวบ้านมาชุมนุมสวดมนต์พร้อมด้วยกัน ก่อนที่จะรวมกําลังกันทํางานบุญบําเพ็ญประโยชน์ เช่นพัฒนา หมู่บ้าน พัฒนาชุมชนให้ทุกคนอยู่กันดีมีศีลมีธรรม

เป็นอันว่า ถึงแม้เราจะไม่ใช้การสวดมนต์ในความหมาย แบบเดิมในครั้งพุทธกาล คือ หนึ่ง ใช้ในการเรียนธรรมของตน สอง ใช้ในการรักษาพุทธพจน์ ก็เอาการสวดมนต์มาใช้ในการรวมพล รวมคน รวมใจ เตรียมตัวให้พร้อมที่จะทํางานบุญหรือกิจกรรมที่ดี งาม เมื่อจะทําอะไรที่สําคัญ เราก็มารวมพลสวดมนต์กันให้ใจสงบ มั่นแน่ว แล้วก็เริ่มทําการที่คิดหมายไว้ ตัวคนก็จะพัฒนา งานของ ชุมชนก็จะได้ผลจริงจัง นี่ก็เล่าให้ฟังไว้

ข้อสําคัญคือ ในเรื่องนี้ ต้องจับให้ได้สารธรรม ที่จะทําการ สวดมนต์นั้นโดยมีปัญญารู้เข้าใจ และทําให้ได้ประโยชน์แท้ที่มุ่ง หมาย ไม่ใช่แค่สวดไปสวดมาว่าตามๆ กันไป จนกลายเป็นแย่กว่า สวดมนต์ของพราหมณ์ ได้แต่มัวเคลิบเคลิ้มเพลินๆ กันไป กลายเป็นว่าทําให้คนยิ่งเฉื่อยชาไปกันใหญ่ ดีไม่ดีก็เลยไถลลงไป อยู่ในความประมาท สติก็ห่างหาย ปัญญาก็ไม่มาฉายแสงนําทางให้

การเข้ามารวมกลุ่มชุมนุมกันสวดมนต์มากมายใช้เวลานานๆ ให้เคลิ้มจิตเคลิ้มใจอยู่กับใจของตัวได้ หายทุกข์หาย กังวลนั้น จะยอมให้ได้ก็สําหรับคนที่เจ็บไข้หนัก และท่านผู้เฒ่าชรา (และเด็กเล็กเด็กน้อย) ซึ่งไม่มีแรงกายแรงใจที่จะทําอะไรได้ มากกว่านั้น ให้ได้มีที่พึ่งจิตที่พักใจได้ชื่นชมชูกําลังให้ฟื้นคืนความ แจ่มใสขึ้นมา

แต่สําหรับคนทั่วไปที่ยังมีเรี่ยวแรง การสวดมนต์จะต้องเป็น แรงขับเคลื่อนให้เดินหน้าก้าวต่อไปกับสติและปัญญา ไม่ใช่เป็นแค่ที่พักใจให้มาติดเพลิน และไม่ใช่จะให้มาติดอยู่แค่การแก้ปัญหา จิตใจ แต่ต้องไปให้ถึงจุดหมายที่แท้แต่ดั้งเดิม คือมุ่งไปที่การมีสติ ที่จะได้เจริญปัญญา

สําหรับคนที่มีทุกข์สุมรุมล้อมจิตใจวุ่นวาย แล้วมาได้การ ชุมนุมกันสวดมนต์ เป็นที่หลบทุกข์ห่างปัญหา ได้มาชุบชูใจ สงบ ใจ หรือกล่อมใจให้พ้นเรื่องราววุ่นวายยุ่งใจไปได้คราวหนึ่งๆ ก็ให้รู้ ว่าเรื่องไม่ใช่จบแค่นั้น แต่ต้องให้การเข้ามาร่วมชุมนุมสวดมนต์นั้น เหมือนเป็นการหลีกปลีกตัวมาแวะสถานีบริการหยุดพักสักครู่เพื่อ ซ่อมเสริมเติมพลัง และได้เรียนรู้เสริมปัญญาที่จะออกไป ปฏิบัติการให้เก่งที่มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น พร้อมทั้งจะได้รู้จักปรับแก้
พัฒนาการดําเนินชีวิตและกิจการงานให้ถูกต้องดีงามเป็นคุณประโยชน์แท้จริงหรือยิ่งขึ้นไป

เอาเป็นว่า การสวดมนต์นี้ ถ้าไม่ใช้ตามความหมายเดิม ๒ อย่าง คือ หนึ่ง ใช้ในการศึกษา สอง ใช้เพื่อรักษาพุทธพจน์ ก็ใช้ใน การเตรียมตัวทํางานทํากิจการบําเพ็ญบุญกิริยาที่ยิ่งขึ้นไป โดยทํา ให้มีใจสงบพร้อมมั่นแน่ว ถ้าทําได้ในทางนี้ ก็จะดีขึ้น

เพราะฉะนั้น อย่างน้อยก็ให้ได้ประโยชน์อย่างที่สามนี้




ต้องให้สวดธรรม มาย้ำเสริมแรงแสดง-สดับธรรม มิใช่ว่าสวดมนต์มาพาแสดงสดับธรรมให้ลับหาย

ที่พูดมายืดยาว ก็เพราะเกรงว่าที่ชาวพุทธชอบมาสวดมนต์ กันนี่ ไปๆ มาๆ กลายเป็นว่าสวดกันไปอย่างนั้นๆ สวดกันให้เพลิน สวดกันให้หลับไปเลยอะไรอย่างนี้ แล้วก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา ถ้าอย่างนั้น มันก็จะเข้าทางที่ใกล้เป็นพราหมณ์เข้าไปเต็มที่ หรืออาจจะแย่ยิ่งกว่าพราหมณ์ลงไปอีก

ทางหนึ่งที่จะช่วยไม่ให้ผิดพลาดหลงทาง คือ ย้อนหลังไปดูการสวดมนต์ในการดําเนินชีวิตเป็นอยู่และทํากิจประจําวันของชุมชนชาวพุทธทั้งพระสงฆ์และชาวบ้าน ในยุคสมัยที่สืบต่อจากพุทธกาลไม่นานไม่ห่างมากนักจากสมัยของพระพุทธเจ้า เฉพาะอย่างยิ่งในยุคสมัยที่เห็นได้จากบันทึกในคัมภีร์ทั้งหลายว่าเป็นสภาพในกาลเวลาที่การเล่าเรียนศึกษาปฏิบัติ คือทั้งปริยัติและปฏิบัติ ยังหนักแน่นจริงจังตามพระธรรมวินัย เอาง่ายๆ ชัดๆ คือในยุคที่ฟื้นอรรถกถาขึ้นมาช่วยการศึกษาพระไตรปิฎก คือ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๐๐๐

ในคัมภีร์ต่างๆ แห่งยุคสมัยนั้น เมื่อท่านเขียนแสดงไขขยาย ความหลักธรรมวินัย ไปๆ ก็มีบ่อยๆ ที่ท่านเล่าเรื่องราวความ เป็นไปของพระพุทธศาสนาและชีวิตความเป็นอยู่ของพระสงฆ์กับทั้งเหล่าพุทธบริษัทแทรกไปด้วย ข้อความบางท่อนบางประโยคของท่าน ทําให้เรามองเห็นชีวิตความเป็นอยู่และกิจประจําวันของพระและโยมสมัยนั้นได้อย่างชัดเจน

มีข้อความเป็นคําบาลีคําหนึ่ง ซึ่งพูดถึงการทํากิจในชีวิตประจําวันของพระภิกษุ เมื่อพันห้าร้อยปีก่อนโน้น เป็นคํายาวมาก และในหลายคัมภีร์ยกขึ้นมาพูดอย่างเดียวกัน  (เช่น ปฏิสํ.อ.๑/๓๕๗ ; วิสุทฺธิ.๒/๒๒๒ ; วินย.ฏี.๓/๗๒)  ท่านเขียนว่า “ปทภาณธมฺมกถาสรภัญญปัญหา วิสสชชนรชนปจนจีวรสพพนโธวนาทีน” คือบอกว่า “ภิกษุทั้งหลายซึ่ง กําลังทํากิจต่างๆ) เช่น สวดบทภาณอยู่บ้าง แสดงธรรมกถาอยู่ บ้าง สวดสรภัญญะอยู่บ้าง ถาม-ตอบปัญหาอยู่บ้าง ย้อมจีวรอยู่บ้าง ต้มจีวรอยู่บ้าง เย็บจีวรอยู่บ้าง ซักจีวรอยู่บ้าง"

จะเห็นว่ากิจกรรมต่างๆ มีแต่เรื่องของการพูดธรรม สวดธรรม การเทศน์ การอธิบายธรรม ตอบปัญหาธรรม และน่าสังเกต ว่ากิจกรรมในการเล่าเรียนศึกษาสั่งสอนธรรมเหล่านี้ เป็นกิจกรรม สามัญในชีวิตประจําวันของพระสมัยนั้น เหมือนกับการซักจีวรเย็บ จีวรย้อมจีวร

ส่วนทางฝ่ายชาวบ้าน ท่านพูดถึงกิจกรรมเช่นว่า “เจติยวนทน ธมฺมสฺสวนกาลาทีสุ" บอกว่า "ในกาละต่างๆ เช่นเวลาไปไหว้พระ เจดีย์ (พระพุทธรูปก็เป็นเจดีย์ชนิดหนึ่ง) เวลาไปฟังธรรม เป็นต้น"

นี่คือบอกว่า หน้าที่ของชาวพุทธ ได้แก่ การพูดธรรม-ฟังธรรม หรือแสดงธรรม-สดับธรรม แล้วก็มีสวดธรรมมาช้อนเสริมเข้าไปให้ แสดงธรรม-สดับธรรมนั้นได้ผลดียิ่งขึ้น ทั้งในด้านชัดเจนจริงจัง กระชับสาระ และไพเราะเสนาะชวนฟัง คือสวดธรรมนั้นมาเป็น ช่องทางมาเป็นวิธีปฏิบัติในการแสดงธรรม ไม่ใช่มาแทนที่การแสดงธรรม

@@@@@@@

กิจของพระที่ท่านพูดถึงเมื่อกี้ ก็คือวิธีต่างๆ ในการพูดธรรม แสดงธรรม อธิบายธรรมนั่นเอง ดังนี้

    ๑. ปทภาณ คือ การสวดแสดงธรรมเรียงบท อย่างที่ได้พูด ข้างต้นแล้วว่า “ภาณ” เป็นคําหนึ่งที่แปลกันว่า “สวด” แต่ที่จริง ภาพนี้เป็นคําสามัญ แปลว่า “พูด” “ว่า” “กล่าว” นั่นเอง แต่เมื่อ พูด-ว่า-กล่าว เป็นทํานอง เราก็เรียกว่าสวด

แล้ว “ปทภาณ” กล่าวหรือสวดตัวบทเรียงบท คืออย่างไร “บท” หมายถึงคาถาหนึ่งๆ (อย่างที่ว่า สี่บาท เป็นคาถาหนึ่งบท) ก็ ได้ หมายถึงข้อธรรมหนึ่งๆ ก็ได้ ในที่นี้มุ่งเอาพุทธพจน์

“ปทภาณ” (จะพูดว่า ปทภาณะ หรือบทภาณ ก็ได้) คือการ ยกเอาพุทธพจน์ จะเป็นคาถา เป็นพระสูตร หรือคําตรัสบทหนึ่งๆ ก็ตาม ขึ้นมากล่าวมาสวด โดยอธิบายความหมายไปด้วยเรียงตามลําดับตัวบทนั้น

    ๒. ธรรมกถา คือ การกล่าวอธิบายบรรยายธรรมหรือพูด เรื่องธรรมอย่างกว้างๆ ทั่วๆ ไป ที่มักเรียกกันว่าเทศน์ หรือแสดง ธรรม และเรียกตัวผู้แสดงว่าธรรมกถูก

    ๓. สรภัญญะ คือ การกล่าวธรรมด้วยเสียงที่เสนาะไพเราะ ชัดเจนเป็นทํานองกลมกล่อมน่าฟัง (“สร” คือ เสียง + “ภัญญะ” คือ คําเดียวกับ ภณน, ภาณ) โดยยกเอาคาถา พระสูตร พุทธพจน์ ขึ้นมาเปล่งเสียงกล่าวออกไป เรียกว่าสวดสรภัญญะ

   ๔. ปัญหาวิสัชนา (บางทีเรียกเต็มว่า ปัญหาปุจฉน-ปัญหาวิสัชนา เวลานี้นิยมเรียกว่า ปุจฉาวิสัชนา) คือ การถามปัญหา-ตอบปัญหา เป็นวิธีแสดงธรรมสอนธรรมที่ตรงกับความต้องการ และช่วยเสริมเติมเต็มให้แก่การแสดงธรรมอธิบายธรรมอย่างอื่นๆ

ย้ําว่า กิจสามัญอันสําคัญซึ่งเป็นหน้าที่ประจําตัวของชาวพุทธ คือการพูดธรรม-ฟังธรรม แสดงธรรม-สดับธรรม หรือสอน ธรรม-เรียนธรรม โดยมีการสวดธรรมเป็นวิธีการอย่างหนึ่งของการ แสดงธรรมนั้น อย่างน้อยการสวดธรรม ก็เป็นการสาธยายทบทวน ธรรมที่ได้แสดงได้สดับนั้น (มิใช่ให้การสวดเป็นกิจกรรมอะไรที่ ต่างหากออกไป จนกลายเป็นสวดมนต์เวียนวนเรื่อยไปให้ เคลิบเคลิ้มใจแค่ได้พักผ่อนได้เพลิดเพลิน)*

___________________________________
*ในข้อ ๑. บทภาณนั้น ถ้ายกเอาคาถา พระสูตร พุทธพจน์ ขึ้นมากล่าวเป็นหลัก โดย ปรารถนาให้มีการอธิบายความหมาย แต่ยังไม่บอกความหมายไม่อธิบาย ก็ไม่เรียกว่า บทภาณ แต่เรียกว่า โอสารณา ; กิจกรรมของพระภิกษุในการแสดงธรรมสอนธรรม ยังมี อีกหลายอย่าง ซึ่งพึ่งใช้ตามกาลโอกาส เช่น อุปนิสินนกถา ปริกถา อนุโมทนาถา

@@@@@@@

เมื่อนักเทศน์ ได้นักสวด มาเข้าชุด

ในคัมภีร์ชั้นฎีกาแห่งหนึ่ง (สํ.ฏี.๑/๘๙) กล่าวถึงวิธีสวด-แสดง ธรรมไว้อย่างหนึ่ง ซึ่งน่าสนใจ แม้จะไม่พบหลักฐานยืนยันในคัมภีร์ อื่น ก็น่าจะนํามาบอกไว้ เป็นวิธีปฏิบัติที่ชวนให้ติดตามรอฟังธรรม ไปให้ตลอด และทําให้รู้สึกว่าได้เนื้อหาสาระหนักแน่นจริงจัง

วิธีนี้คือ ให้พระนักสวดมาทําหน้าที่เข้าชุดกับพระนักเทศน์ โดยที่ว่า เมื่อพระ เมื่อโยม อยากฟังอยากรู้ต้องการเล่าเรียนศึกษา พุทธพจน์คําสอนธรรมเรื่องใด ก็นิมนต์พระนักสวดเข้ามายกเอา คาถา พระสูตร พุทธพจน์นั้นขึ้นมาสวดสรภัญญะ ตั้งเป็นหลักหรือ เป็นบทตั้งน่าไว้ก่อน

เมื่อพระนักสวดสรภัญญะ (เรียกว่า สรภาณ) สวดบทตั้งจบแล้ว ก็นิมนต์พระนักเทศน์ (คือ ธรรมกถึก) ขึ้นมาบรรยายอธิบาย คาถา พระสูตร พุทธพจน์ ที่พระสรภาณได้สวดตั้งเป็นหลักไว้ให้ แล้วนั้น อย่างละเอียดพิสดารให้ผู้ฟังรู้เข้าใจชัดเจน

วิธีที่นิมนต์พระนักสวด มาเข้าชุดกับพระนักเทศน์อย่างนี้ ท่านเรียกว่า “สรภาณธรรมกถา

@@@@@@@

ทีนี้ ถ้าไม่มีหรือหาพระสรภาณนักสวดสรภัญญะ ไม่ได้ ก็อาจ ยักเยื้องปรับแปรในขั้นตอนนี้ได้ โดยที่ประชุมนั้นเองสวดคาถา พระสูตร พุทธพจน์ที่จะให้พระนักเทศน์ คือพระธรรมกถูกขึ้นมาอธิบายนั้น เป็นการชุมนุมสวดมนต์หรือสวดมนต์หมู่นําหน้าธรรมกถาของ พระนักเทศน์ หรือที่ประชุมจะตั้งตัวแทนขึ้นมาสวดก็ได้

ถ้าชาวพุทธชวนกันปฏิบัติให้ได้อย่างที่ว่ามานี้ ก็จะทําให้การ สวดมนต์เกิดมีประโยชน์สมตามธรรม และจะเป็นการช่วยกันฟื้นการสวดมนต์นั้นให้เป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องตามความหมายที่แท้จริง ให้การสวดเป็นส่วนร่วมอยู่ในบุญกิริยาแห่งธรรมสวนะและ ธรรมเทศนา ที่จะพาให้ก้าวหน้าไปในการปฏิบัติธรรมได้จริง

อย่างง่ายๆ ถ้าทําอย่างที่ว่ามานั้นก็ยังไม่ไหว ก็เอาแค่ว่า เมื่อใดมีการชุมนุมสวดมนต์ พระก็ใช้เป็นโอกาสที่จะสอนจะบอก ธรรมแก่ญาติโยมมากบ้างน้อยบ้าง พอให้ญาติโยมรู้เข้าใจธรรม เพิ่มขึ้นบ้าง ได้ครั้งละเล็กละน้อย ก็ยังพอสมให้ชื่อว่าได้ปฏิบัติตาม หลักที่ทําการสวดมนต์ให้เป็นส่วนแห่งบุญกิริยาข้อธรรมสวนะ(ธัมมัสสวนมัย บุญกิริยาวัตถุ) และพระก็ชื่อว่าได้ทําหน้าที่ของตนใน ฐานะเป็นผู้ให้ธรรม ในบุญกิริยาข้อธรรมเทศนา (ธัมมเทสนามัย บุญกิริยาวัตถุ) ไม่เป็นกิจกรรมที่เลื่อนลอย แต่มีพระที่เป็นผู้ให้ธรรมมิใช่แค่นำสวดมนต์

(ยังมีต่อ..)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 12, 2024, 07:07:03 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28906
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: สวดมนต์ ต้องไม่โค่น "สาธยาย"
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2024, 10:14:53 am »
0
.



ตอน ๕ : ไม่ลืมสาธยาย ไปให้ถึงมงคลที่สูงสุด



 :25: :25: :25:

ปากสวดมนต์ ใจคนต้องไปถึงสาธยาย

ก. สาธยาย เป็นแก่นสารของการสวดมนต์

ได้บอกแล้วแต่ต้นๆ ว่า การสวดมนต์นั้น ตัวแท้ตัวจริง แก่น แกนสาระของมัน ก็คือ การสาธยาย และมนต์ที่เราเอาคําของ พราหมณ์มาใช้แบบเทียบเคียงหรือล้อคําพูดของเขานั้น เราหมายถึง พุทธพจน์ คือคําตรัสสอนแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า การสวดมนต์ จึงมุ่งให้เป็นการสาธยายพุทธพจน์ คําสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่ง เป็นพระสูตร เป็นคาถา เป็นเนื้อความในพระไตรปิฎก

(ในยุคหลังพุทธกาลนานมา ได้รวมเอาบทสวดที่พระเถระ พระอาจารย์ในสมัยต่อๆ มา แต่งขึ้นใหม่ เพิ่มเข้าไปด้วย แต่บท สวดที่เพิ่มเข้าไปเหล่านั้น โดยปกติจะเป็นจําพวกคําอวยชัยให้พร หรืออนุโมทนา หรือไม่ก็เป็นคําสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย)

ที่ว่าสาธยาย ก็คือ มีสติจําได้ระลึกนึกถึงจับยกนําเอาข้อมูล ความรู้ (ในที่นี้คือพุทธพจน์) ขึ้นมาระบุบอกบ่งชี้จัดเรียงเข้าที่ตรง ตามลําดับอย่างถูกต้องครบถ้วน อาจจะเป็นการท่อง การทวน หรือการทาน ก็ได้ สติจึงเป็นตัวทํางานของการสาธยาย

เมื่อสติจับเอาข้อมูลข้อธรรมนํามาเสนอต่อหน้าต่อตาอย่างนี้ ก็เป็นหน้าที่ของปัญญาที่จะพิจารณาพินิจพิจัยสอบสวนฟั้นเฟ้นตรวจตราให้รู้เข้าใจเรื่องนั้นธรรมนั้น จนถึงขั้นที่มองเห็นว่า จะนําไปใช้แก้ไขปัญหา หรือทําประโยชน์อะไร อย่างไรต่อไป

จะเห็นว่า การสาธยายนี้ดําเนินไปด้วยการทํางานของสติ โดยมีปัญญามาสืบสานให้การปฏิบัติธรรมดําเนินไป จึงมีการทํางานของ ธรรมสําคัญ ๒ อย่าง คือ สติ และปัญญา (เรียกชื่อให้เข้ากับ ลักษณะการทํางานในที่นี้ว่า “ธรรมวิจัย”) ซึ่งเป็นธรรมองค์นําใน โพชฌงค์ (องค์แห่งการตรัสรู้) ๗ ทําให้การสาธยายเป็นการปฏิบัติธรรม

ตามที่ว่านี้ จะเห็นว่า สาธยายนี่แหละเป็นเนื้อใน เป็นตัวแท้ ตัวจริงของการสวดมนต์ ส่วนการสวดเป็นแค่ลักษณะอาการใน การเปล่งเสียง โดยมุ่งเน้นในแง่ที่ว่าจะเปล่งเสียงออกมาให้เป็น ทํานองอย่างไร ทําอย่างไรจะให้เสียงไพเราะเสนาะน่าฟัง นี่คือ เหมือนว่าการสวดเป็นเปลือกสวยงามห่อหุ้มการสาธยายไว้อีกชั้นหนึ่ง

ทีนี้ ถ้าใจมัวมุ่งไปที่การเปล่งเสียงจะเอาทํานองและเสียง ไพเราะเข้าว่า ไปๆ มาๆ ก็เลยไม่มีสติที่จะนึกถึงการสาธยาย มีแต่ การสวดมนต์ที่ไม่มีสาธยาย สวดไปเรื่อย แต่ไม่นึกไม่รู้ว่าบทสวด ถ้อยคําที่ตัวสวดนั้นบอกอะไร เป็นเรื่องอะไร ท่านสอนอะไรไว้ ยิ่ง ถ้าเป็นสวดมนต์หมู่ ก็พากันชื่นชมเพลินใจไปเรื่อยๆ กับสุ่มเสียง จังหวะทํานอง จนบางทีเคลิบเคลิ้ม กลายเป็นเหมือนเอาการ สวดมนต์มากล่อม เลยหลับไปบ้าง หลับๆ ตื่นๆ บ้าง

การสวดมนต์ที่ทําให้มีใจชื่นชมสงบสบายเพลินไปกับการสวดนั้น ก็มีประโยชน์อยู่บ้าง โดยช่วยให้จิตใจพ้นออกมาจาก อารมณ์ร้ายอันเป็นข้าศึก เช่นเรื่องที่กังวล กลุ่ม เครียด วุ่นวายใจ ต่างๆ ให้ใจนั้นย้ายมาจับอยู่กับการสวดมนต์ซึ่งเป็นอารมณ์ที่ไร้ โทษ (รวมทั้งช่วยเตรียมจิตนําการเจริญสมาธิ และการช่วยให้นอน หลับได้)

แต่ความดีที่ว่านั้น เป็นคุณค่าข้างเคียง เป็นประโยชน์พลอย ได้ ที่ไม่จริงจังยั่งยืน ข้อสําคัญคือเสียหลัก ซึ่งเป็นหลักการใหญ่ พื้นฐานว่า ทุกคนจึงเป็นอยู่อย่างมีสติ ท่านให้มีสติอยู่กับตัว โดยมีปัญญาที่จะดูแลปกครองตัวเองให้ก้าวดําเนินไปตลอดเวลา ให้ดีได้ เราจึงต้องฝึกตัวอยู่เสมอให้มีสติอย่างนั้น

ยิ่งในกรณีนี้เป็นการสาธยาย ซึ่งเป็นการใช้สติอย่างเด่นชัด พ่วงด้วยปัญญาที่รู้เข้าใจสิ่งที่สาธยาย มองเห็นทางที่จะใช้จะปฏิบัติ คือการที่จะก้าวออกสู่ปฏิบัติการให้มีผลเป็นประโยชน์สมจริง เป็นการก้าวหน้าไปในการปฏิบัติธรรม

ทีนี้ ถ้าสวดมนต์กันแล้วกลายเป็นอยู่กับความเพลิดเพลิน เคลิบเคลิ้ม ก็กลายเป็นการอยู่อย่างขาดสติ กลายเป็นชีวิตแห่งความประมาท

นี่แหละ ดังที่ว่าแล้ว จึงยอมได้แค่ให้เป็นช่วงพักช่วงคั่น เมื่อจิตได้ย้ายเปลี่ยนอารมณ์พ้นเรื่องร้ายเรื่องวุ่นวายมาพอสงบได้แล้ว ก็ต้องเดินหน้าตามหลักต่อไป โดยมีสติ ใช้ปัญญา ที่จะออกสู่ ปฏิบัติการ (ก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม) ในความเป็นจริงของชีวิตต่อไป

@@@@@@@

ข. สวดมนต์ที่ดี ขึ้นมาเป็นวิธีแสดงธรรม

ในเรื่องการสวดมนต์นี้ ได้เล่าไว้ข้างต้นแล้วว่า พระพุทธเจ้า ทรงห้ามพระภิกษุมิให้ขับร้องด้วยเสียงร้องเพลง (คีตสร) อย่าง ชาวบ้าน ซึ่งมีการเอื้อนยาวยืดยาดขึ้นลงวูบวาบ ทําให้อักขระ ผิดเพี้ยนเสียหาย และมีโทษหลายอย่าง แต่ทรง “อนุญาต สรภัญญะ" ซึ่งเราแปลกันว่าทรงอนุญาตให้สวดสรภัญญะ

สรภัญญะ แปลตามศัพท์ว่า การกล่าว (ธรรม) ด้วยเสียง (สเรน (ธมุม) ภณ) แต่เสียงในที่นี้ หมายถึงเสียงที่ตั้งใจบรรจง เปล่งออกมาอย่างเป็นทํานองเสนาะรื่นไพเราะ เราจึงเรียกว่าสวด

ท่านกําชับว่า การใช้เสียงที่ดีกล่าวธรรม คือสรภัญญะนี้ เป็น การกล่าวเรียงบทให้ชัดค่าชัดความทุกบทพยัญชนะไม่ตกหล่นขาดหาย และไม่คละกัน ถ้อยคํารับต่อทอดกันไปอย่างกลมกลืน ไม่ทําให้อักขระผิดพลาดคลาดเคลื่อน ว่าตรงลงตัว ไม่คลุมเครือ ให้คําสวดครบถ้วนชัดเจนถูกต้อง ครบสมบูรณ์ กลมกล่อม ไพเราะ แต่ไม่มีวิการ (อาการผิดแปลกหรือไม่เหมาะสม) ดํารงสมณสารูป พาให้ชวนฟังชวนจํา พร้อมทั้งโน้มนําจิตใจให้สงบสดชื่นเกิดมีปิติ

ทําไมท่านจึงกําชับในเรื่องความถูกต้องแม่นยําชัดเจน ก็ เพราะเนื้อตัวที่แท้ข้างในของสรภัญญะก็คือการสาธยาย นี่คือให้ สรภัญญะเป็นเปลือกงดงามมาห่อหุ้มเนื้อในอันแท้ที่ดีจริง

เป็นอันว่า สรภัญญะเป็นวิธีสวด หรือวิธีกล่าวธรรมอย่างเป็น ทํานองไพเราะ และท่านก็บอกไว้ด้วยว่า วิธีสวดสรภัญญะนั้นมี ๓๒ ทํานอง แต่ทํานองเหล่านั้นเวลานี้จะไปหาฟังที่ไหนได้ครบหรือ แม้แต่สักกระผีก ดังนั้น เมื่อรู้หลักที่ท่านกําชับไว้นั้นแล้ว ผู้ที่ถนัด ก็ อาจจะคิดสรรทํานองสวดขึ้นมาใหม่ให้สวดกันได้ดีตามหลักนั้น

การสวดสรภัญญะดีทั้งเปลือกและได้เนื้อที่แท้อย่างนี้ ท่าน จึงนิยมให้ใช้สรภัญญะนั้นในการแสดงธรรม ซึ่งสมตาม ความหมายของสรภัญญะที่ว่า “การกล่าว (ธรรม) ด้วยเสียง” เอา เสียงสื่อธรรม คือ ใช้เสียงเป็นเครื่องกล่าวธรรมแสดงธรรมสอนธรรม

ตามที่ว่านี้ ท่านจึงจัดการสวดสรภัญญะนี้เป็นวิธีแสดงธรรม อย่างหนึ่ง เช่นที่เคยยกมาให้ดูข้างต้นแล้ว ในชุด ๔ คือ ปทภาณ, ธรรมกถา, สรภัญญะ และปัญหาวิสัชนา ทําให้เรามีทางเลือกใน การแสดงธรรมเรียนธรรมสอนธรรม เช่น แทนที่จะกล่าวบรรยาย อธิบายธรรมด้วยถ้อยคํา ที่เรียกว่า “ธรรมกถา” ก็สวด “สรภัญญะ”

เอาเสียงที่ตั้งใจเปล่งออกไปอย่างประณีตบรรจง ด้วยจิตเมตตา และ เคารพธรรม อันชัดเจนเรียบรื่น กลมกลืน สม่ําเสมอ เป็นทํานอง ไพเราะ นุ่มนวล ชวนฟัง มาเป็นสื่อ เพื่อนําธรรมที่มีอยู่เป็นหลัก ที่ร้อยเรียงไว้ดีแล้ว เป็นคาถา พระสูตร เป็นต้น ออกไปให้ถึงใจของผู้สดับ

มิใช่แค่นั้น ทางเลือกยังมีอีก เช่นที่เล่าให้ฟังเมื่อกี้ ที่ว่า เมื่อ จะฟังจะเรียนธรรมเรื่องใด ก็นิมนต์พระสรภาณขึ้นมาสวด สรภัญญะ กล่าวคาถา พระสูตร พุทธพจน์ที่เป็นบทตั้งนําไว้ เสร็จ แล้ว ก็นิมนต์พระธรรมกถูกขึ้นมาบรรยายอธิบายคาถา พระสูตร พุทธพจน์ที่เป็นบททั้งนั้น ที่เรียกว่า “สรภาณธรรมกถา”

บอกเล่ามายืดยาว ก็มาลงที่จุดย้ําว่า ถ้าเราสวดมนต์กัน และเห็นแก่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบ้าง ก็อย่าลืมสวดให้ถูกทาง ที่จะเป็นการสาธยายคําสอนของพระองค์

เมื่อให้เป็นการสาธยาย ก็ต้องมีสติระลึกนึกได้ว่า ตรงที่เรา สวดอยู่นี่ พระองค์ตรัสเรื่องอะไร ตรัสว่าอย่างไร แล้วก็สํารวจ ตรวจดูตัวเองไปด้วยว่า เรารู้เข้าใจได้ปฏิบัติธรรมที่พระองค์ตรัสนี้หรือเปล่า

@@@@@@@

ค. ปฏิบัติธรรมด้วยสาธยาย ก้าวไปในวิถีของปัญญา

พระและโยมสวดมนต์กันบ่อย สวดกันเป็นประจํา สวดกัน เป็นกิจวัตรเลยทีเดียว ถ้าสวดมนต์ถูกต้องตามหลักที่ว่ามา คือมี การสาธยายเป็นเนื้อใน ก็จะได้ปฏิบัติธรรมสําคัญอยู่เป็นประจําไม่ว่างเว้น และก็จะมีความเจริญงอกงามในธรรมกันอย่างจริงจังแล้ว ก็จะนํามาซึ่งความเจริญมั่นคงของพระพุทธศาสนา และความ เจริญแพร่หลายแห่งประโยชน์สุขของประชาชนยั่งยืนยาว

ที่ว่าการสาธยายเป็นการปฏิบัติธรรมสําคัญนั้น ก็อย่างที่พูด มาย้ําแล้วย้ําอีกว่า พอเริ่มสาธยาย ก็คือสติมาทํางาน การสาธยาย จึงเป็นการฝึกสติ เจริญสติ และฝึกความจําด้วย และที่สติทํางานก็ คือเอาข้อมูลมานําเสนอต่อปัญญา ที่จะได้วิจัย นี่คือธรรมองค์นํา ทั้งสองของโพชฌงค์ ๗ แล้วองค์อีก ๕ ก็มาเข้ากระบวน รวมทั้ง สมาธิด้วย (วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา) เมื่อองค์ทั้ง ๗ พร้อมดี ก็สัมฤทธิ์โพธิ คือบรรลุมรรคผล

พระพุทธเจ้าตรัสเรียกการสาธยายธรรมอย่างถูกต้องได้ผล ว่าเป็น วิมุตตายตนะ (แหล่งวิมุตติ คือเหตุแห่งวิมุตติ) แหล่งที่ 4 ดังความว่า (องฺ.ปญฺจก.๒๒/๒๖/๒๓)

    "ภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมทําการสาธยายธรรม ตามที่ได้สดับ ตามที่ได้เล่าเรียนมา โดยพิสดาร เธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น...เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ก็เกิด ปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ก็เกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายก็ ผ่อนคลายสงบ เธอมีกายผ่อนคลายสงบแล้ว ก็ได้เสวยสุข เมื่อมี สุข จิตก็มั่นแน่วเป็นสมาธิ"

    "ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นวิมุตตายตนะ (แหล่งวิมุตติ) อย่างที่ ๓ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น ก็หลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ก็ถึงความสิ้นไป หรือว่าเธอก็จะบรรลุโยคเกษมอันสูงสุด (นิพพาน) ที่ยังไม่ได้บรรลุ"


พระมหาสาวกที่เผยแผ่ธรรมสั่งสอนประชาชนทําให้ พระพุทธศาสนาเจริญแพร่หลายมั่นคงและดํารงพระศาสนาให้ยืนยงอยู่ได้ จนถึงพระที่เป็นหลักในการดํารงอยู่ของสังฆะ คือ ส่วนรวมและผู้บริหารหมู่คณะทั่วๆไป มีและควรมีคุณสมบัติสําคัญอย่าง หนึ่ง คือเป็นพหูสูต ดังที่พระอานนท์เป็นเอตทัคคะในบรรดาพระพหูสูต (องฺ.เอก.๒๐/๑๔๙/๓๒) และผู้ที่เป็นพหูสูตทั่วๆไป ก็เป็นผู้มีทุนภายในอันทําให้พร้อมด้วยโอกาส ที่จะก้าวไปถึงจุดหมายแห่งการบรรลุธรรม

ผู้เป็นพหูสูต มีคุณสมบัติ ๕ อย่าง (เช่น องฺ.ทสก.๒๔/๑๗/๒๕)  คือ
    ๑. ได้สดับมาก (พหุสสุตา)
    ๒. ทรงไว้แม่น (ธตา, ฉบับอักษรพม่าเป็น ธาดา)
    ๓. บอกกล่าวเล่าได้คล่องจัดเจน (วจสา ปริจิตา)
    ๔. มองเห็น สว่างใจ (มนสานุเปกขิตา)
    ๕. ใช้ปัญญาแทงทะลุได้ทั่วตลอดเหตุผล จนถึงความจริง (ทิฏฐิยา สุปฏิวิทธา)

ข้อ ๓. นั้นท่านอธิบายว่า ก็คือสาธยายนี่แหละ (เช่น ม.อ.๒/๑๕๙ : วจสา ปริจิตาติ...วาจาย สชฺฌายิตา) ดังนั้น ผู้เป็นพหูสูต จึงมีแหล่ง วิมุตติ (วิมุตตายตนะ) อย่างที่ ๓ อยู่ในตัว (บอกไว้แล้วข้างบน)

ที่ว่านี้ก็ตรงกับที่พระมหากัจจายนะบอกไว้ในคัมภีร์เปฎโก-ปเทส (เนตฺติ-เปฏก.๓๖๖) ว่า วาสา ปริจิตา (บอกกล่าวเล่าได้คล่องจัด เจน) นี้ เป็นวิมุตตายตนะ คือแหล่งวิมุตติ ที่ ๒ และที่ ๓

ที่พูดมามากมายนี้ ให้เห็นแล้วว่าการสวดมนต์คืออะไร มี ความหมาย และความมุ่งหมายอย่างไร อยู่ตรงไหนในระบบและ กระบวนการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา

อย่างน้อยมีแง่เน้นว่า อย่าเผลอใช้การสวดมนต์เป็นแค่เครื่องมือแก้ปัญหาจิตใจ (ยอมให้เป็นที่ผ่อนพักใจให้ได้หลบพ้น ทุกข์ภัยเพียงชั่วคราว เป็นช่วงต่อหรือเปลี่ยนผ่าน แต่ถ้าเผลอติด เพลิดเพลินไป จะไถลเลยลงไปกลายเป็นคนเฉื่อยชาจมอยู่ใน ความประมาท และขัดขวางความเจริญก้าวหน้าในธรรม) แต่จะต้องเดินหน้าต่อไปในวิถีทางของปัญญา ที่จะพาให้ถึงจุดหมายที่แท้

ผู้ที่สวดมนต์ถูกต้องตามหลักการสาธยายเข้าในหลักที่จะ เป็นพหูสูต พระพุทธเจ้าตรัสว่ามีผลดีติดตัวไปเป็นอานิสงส์ในกาลเวลายาวไกล กล่าวคือ ธรรมที่สดับต่อเนื่องมาและได้สาธยาย จนคล่องทรงไว้แม่นชัดเป็นอย่างกระแสภวังค์ แม้ว่าเมื่อถึงมรณ กาลตายไปโดยไม่มีสติ แต่ในภพใหม่นั้น บทธรรมที่ได้สดับ ได้
สาธยายคล่องแม่น และได้พินิจไว้ ก็จะแจ่มชัดขึ้นมาแก่ตัวเขา ถึงแม้จะมีเหตุเตือนให้ได้สตินั้นมาล่าช้า แต่เขาจะเป็นผู้บรรลุคุณ วิเศษ (ฌาน จนถึงนิพพาน) ได้เร็วพลันฉับไว (เรื่องนี้ ท่านที่สนใจ พึ่งอ่านดูใน องฺ.จตุกฺก.๒๑/๑๙๐/๒๕๑; องฺ.อ.๒/๒๙๙, ๔๑๑)





ก่อนอื่นใด พึงสวดมนต์ ที่ทํามงคลให้แก่ชีวิต

ก. สวดมนต์ จะให้ได้สาธยาย หลายคนบอกไม่ไหว

“สวดมนต์” ที่พระไทยพื้นถิ่นพื้นบ้าน และชาวชนบททั่วๆ ไป รู้จักกันมาแต่โบราณ ซึ่งได้ยินทั่วไปในงานมงคลต่างๆ เช่น แต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่ ฉลองพระใหม่ และงานฉลองต่างๆ มากมาย คือพระปริตร ที่รู้จักกันว่าเจ็ดตํานาน และสิบสองตํานาน ถ้าเป็นงานมงคลสามัญ ก็สวดเจ็ดตํานาน ถ้าเป็นงานพิเศษใหญ่ๆ ก็อาจจะสวดสิบสองตํานาน

ทั้งเจ็ดตํานาน และสิบสองตํานานนั้น ได้บอกรายชื่อ และนํามาแสดงรายการให้ดูครบหมดแล้ว

ทีนี้ ที่วัดทั้งหลาย ถึงแม้ไม่ใช่ในงานพิธี ก็มีการสวดมนต์กัน เป็นประจําทุกวัน เรียกว่าทําวัตรเช้า ทําวัตรค่ํา (ทําวัตรเย็น ก็ได้) พูดกันเป็นสามัญว่า ทําวัตรสวดมนต์ โดยไหว้พระด้วยการสวดคํา สรรเสริญคุณพระรัตนตรัยเป็นหลักก่อน แล้วสวดมนต์บทต่างๆทยอยไป

เมื่อกี้นี้ได้บอกว่า "สวดมนต์" เป็นถ้อยคําที่เราหยิบคําของ พราหมณ์ที่เขาใช้กันมาก่อน เรานํามาใช้เพื่อสื่อเรื่องราวใหม่ของ เราให้คนที่อยู่มาเก่าเข้าใจพอจับเค้าได้ แต่เราใช้แบบล้อคําของเขา คือเราต้องให้คนเข้าใจความหมายของเราที่ต่างจากของเขา

ขอทบทวนว่า มนต์/มนตร์ของพราหมณ์ หมายถึงคัมภีร์พระเวท คําศักดิ์สิทธิ์ ใช้สื่อกับเทพเจ้า อ้อนวอนเทวดา แสดงฤทธิ์ เสก สาป ด่า แช่ง ทําร้ายเช่นสะกดคนอื่น เป็นต้น

“มนต์” นี้แม้จะนํามาใช้ในพระพุทธศาสนาแบบเทียบเคียง ดังว่านั้น ก็ใช้น้อยนัก ในคัมภีร์ทั้งหลายพูดถึงมนต์ ก็มุ่งไปที่ พราหมณ์ และเมื่อนํามาใช้ทางพุทธ ก็ให้หมายถึงพุทธพจน์คํา ตรัสคําสอนของพระพุทธเจ้า

คําสอนที่เทียบใกล้กับมนต์ ก็คือปริตรที่ว่าแล้ว ซึ่งบ่อยครั้ง เรียกว่า "พุทธมนต์” แต่ปริตรของพุทธไม่ให้กิเลสเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่มีการสาปแช่งทําร้ายใครๆ แต่เป็นการอ้างสัจจะ อ้างธรรม เป็นอํานาจที่จะปกป้องคุ้มครองตัวเองและคนที่พึ่งดูแลรักษา

ทีนี้ ก็ได้บอกว่า การสวดมนต์ที่ถูกต้องของชาวพุทธนี้ มีตัว แท้ตัวจริงอยู่ที่การ “สาธยาย” เวลาว่าไปสวดไป ต้องมีสติระลึกนึก ได้นึกทันถ้อยคําเนื้อความที่ตัวสวด และมีปัญญารู้เข้าใจสิ่งที่สวด นั้น แล้วโยงออกมาสู่การใช้การปฏิบัติ

พอถึงตรงนี้ หลายคนบอกว่าไม่ไหว เพราะคําสวดเป็นภาษา บาลี ที่ไม่รู้ความหมาย แล้วก็สวดและฟังกันมาเรื่อยๆ เปื่อยๆ แสน นาน ไม่ได้นึกไม่ได้ใส่ใจเนื้อความ (ถึงเวลานี้ แม้แต่แค่รับศีล ก็ว่า เรื่อยเปื่อยให้จบๆ ไปเท่านั้นเอง) นี่ก็คือฟ้องถึงความเสื่อมที่ปล่อย ปละละเลยกันมาจนจะหมดโดยไม่รู้ตัว

นี่อะไรกัน บอกว่าเป็นชาวพุทธ แต่ไม่รู้เลยว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร

เอาละ ก็มองในแง่ว่าเห็นใจ บทที่สวดนั้นมากมายนัก จะให้ สวดด้วยสติและรู้เข้าใจทั้งหมด ก็ไม่ไหว แต่จะมัวอยู่กันในความ ประมาท ปล่อยเรื่อยเปื่อยเรื่อยไป ก็คือจะหมด น่าจะเริ่มฟื้นเอา ส่วนที่เป็นแก่นเป็นแกนขึ้นมา ตั้งหลักให้ได้ก่อน

ตั้งหลักอย่างไร เอาที่พระปริตร ทั้งเจ็ดตํานาน และสิบสอง ตํานานนี่แหละ ถึงจะมากมาย แต่ท่านมีระบบให้ไว้ ถ้าเราเข้าใจ ระบบของบทสวดมนต์นั้น ก็จับแกนได้ แล้วก็ตั้งหลักขึ้นมา

@@@@@@@

ข. ทําไม จะสวดปริตร ต้องสวดมงคลสูตรนําหน้า

ขอทบทวนให้สังเกตว่า ในรายชื่อปริตร ที่จัดเป็นระบบเป็นชุด ไม่ว่าเจ็ดตํานาน หรือสิบสองตํานานนั้น ขึ้นต้นด้วยมงคลสูตร เป็นข้อแรก คือ มีมงคลสูตรนําหน้า

ข้อที่แปลกไม่น้อย คือ มงคลสูตรนี้ ไม่เป็นปริตร ไม่เรียกว่า ปริตร แต่เอามานําหน้าขึ้นก่อนปริตรทั้งหมดทั้งชุด และทุกชุด

ท่านจัดตั้งวางเป็นระเบียบแบบแผนในการเจริญพระพุทธมนต์ว่า เมื่อจะสวดพระปริตร ไม่ว่าชุดใด ต้องสวดมงคลสูตร นําหน้าก่อน (ทั้งทีมงคลสูตรไม่เป็นปริตร)

ยิ่งกว่านั้น ในเวลาสวด ถ้ามีเวลาน้อยหรือเร่งรัด อาจจะเว้น ไม่สวดบางปริตรในชุดนั้นๆ ก็ได้ แต่ต้องสวดมงคลสูตร

นี่เป็นความสําคัญพิเศษของมงคลสูตร ที่รวมเข้ามานําหน้าในชุดปริตร ทั้งที่ไม่เป็นปริตร

เรื่องนี้จะอธิบายอย่างไร ที่จริงก็ได้อธิบายไว้นิดหน่อยก่อนนี้ แล้ว ที่นี่จะอธิบายไม่ให้ยืดยาว

บอกแล้วว่า ปริตรนั้นเป็นบทสวดเพื่อคุ้มครองป้องกัน โดยมี อานุภาพต่างๆ กัน เป็นด้านๆ บทหนึ่งก็ใช้เพื่อคุ้มครองป้องกัน ด้านหนึ่ง เช่น

โมรปริตร ใช้สวดในเวลาเช้าที่จะออกจากถิ่นจาก บ้าน (และเย็นค่ำที่กลับเข้าบ้านเข้าถิ่น) ให้ไปหากินโดยสวัสดี

ขันธปริตร (บางทีเรียก อหิราชปริตร) ใช้สวดแผ่เมตตาผูก มิตรกับเหล่าพญางู ๔ ตระกูล เป็นต้นไป มีอานุภาพป้องกันงูร้าย สัตว์เลื้อยคลาน ตลอดจนสัตว์ทั้งปวง

โพชฌงคปริตร ใช้สวดให้คนเจ็บไข้ฟังช่วยให้หายโรค (ปริตรอย่างโพชฌงค์นี้ ที่จริงแสดงหลักธรรมสําคัญยิ่ง ดังที่ว่าเป็นองค์ของการตรัสรู้ แต่สําหรับคนทั่วไปซึ่งมองที่เรื่องราวว่า พระพุทธเจ้าและพระมหาสาวกบางรูป สดับการสวดโพชฌงค์แล้วหายอาพาธ ก็จับมาใช้กันในความหมายที่เป็นปริตร) อย่างนี้เป็นต้น

ทีนี้มาดูมงคลสูตร ที่ว่าไม่เป็นปริตร ไม่ใช้สวดเพื่อป้องกันแก้ โรคแก้ภัยอะไร แต่สําคัญมาก คือใช้สวดเพื่อสร้างมงคลแก่ชีวิต ทําชีวิตให้ดีงามเป็นมงคล ตรงนี้ดูให้ดี

ที่เราสวดปริตรเพื่อปกป้องรักษาตัวนั้น ชัดอยู่แล้วว่าสิ่ง สําคัญคือชีวิต ซึ่งเป็นเนื้อตัวของเรา เราจึงปกป้องรักษาชีวิตที่เป็น ตัวเรานั้นให้พ้นโรคพ้นภัย การป้องกันภัยเป็นเรื่องด้านนั้นด้านนี้ และชั่วครั้งชั่วคราว แต่ชีวิตที่เราจะป้องกันรักษานี่สิเป็นสิ่งที่เรา จะต้องดูแลทําให้ดีตลอดเวลา และชีวิตที่ดีที่เลิศประเสริฐนั่นแหละ จึงควรแท้แก่การที่จะปกป้องรักษา (ชีวิตที่ร้ายที่ไม่ดีบางทีก็เลยไม่ น่าจะป้องกันรักษาด้วยซ้ํา)

นี่แหละเป็นความสําคัญของมงคลสูตร คือ มงคลสูตรสวดเพื่อสร้างมงคลแก่ชีวิต เพื่อทําชีวิตคือตัวเรานี้เอง ให้ดีมีความสุข ความเจริญ ให้เป็นชีวิตที่ดีเลิศประเสริฐ ที่มีคุณค่าควรแก่การที่จะ ให้พระปริตรนั้นนี้มาปกปักรักษา พูดง่ายๆ ว่าทําชีวิตนี้ให้ดีมี คุณค่าเสียก่อนสิ แล้วจึงไปเรียกหาปริตรนั้นนี้มาคุ้มครองรักษา นี่แหละมงคลสูตรจึงต้องมานําหน้าปริตรทั้งหมด

@@@@@@@

ค. ได้มงคลสูตรไว้บทเดี๋ยวนี้ ก็มีฐานมั่นที่จะก้าวไปถึงจุดหมาย

มงคลสูตรมีธรรม ๓๘ ข้อ ที่จะสร้างมงคลอันสูงสุดให้แก่ ชีวิตครบทุกอย่าง ตั้งแต่เริ่มต้นจนตลอด เราก็มาตั้งเป้าที่ชีวิตของ ตัวๆ นี้ แล้วก็เรียนรู้ธรรม ๓๘ ข้อ ที่จะทําให้ชีวิตของเราได้มงคล ครบทั้ง ๓๘ ประการ

อย่างที่ว่านี้ มงคลสูตรแสดงธรรมครบทั้งหมด ตั้งแต่สําหรับเด็กไปจนถึงผู้เฒ่าชรา ตั้งแต่เริ่มปฏิบัติธรรมไปจนบรรลุนิพพาน แม้จะบอกไว้เป็นหลักกว้างๆ แต่ก็เป็นระบบที่จะแยกย่อยไปโยง กับธรรมข้อย่อยมากมายที่ทรงแสดงไว้ในที่อื่นๆ พูดง่ายๆว่า ครอบคลุมธรรมทั้งหลายได้ทั้งหมด จึงเชื่อมถึงบรรดาปริตรด้วย

ในตอนท้ายที่จะจบมงคลสูตรนี้เอง พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า ผู้ ที่สร้างมงคล ๓๘ ที่พระองค์ตรัสไว้นี้แล้ว จะเป็นผู้ไม่ปราชัยในที่ ทุกสถาน ประสบความสวัสดีในทุกสถานการณ์ นี่คือเท่ากับได้ ปริตรทั้งหลายมารวมครอบคลุมไว้ทุกประการ

การที่ท่านวางแบบแผนไว้ว่า เมื่อจะสวดพระปริตรทั้งหลาย ให้สวดมงคลสูตรนําก่อนนั้น น่าจะชวนให้นึกโยงไปถึงหลักทั่วไป ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ในธรรมวินัยนี้ มีอนุบุพสิกขา คือ การศึกษาตามลําดับ อนุบุญกิริยา คือการกระทําตามลําดับ อนุปุพปฏิปทา คือการปฏิบัติตามลําดับ (เช่น ขุ.อุ.๒๕/๑๑๘/๑๕๕) เป็นขั้นตอนต่อเนื่องไป ไม่ใช่จะปฏิบัติข้ามขั้นตอนให้บรรลุถึงนั่นถึงนี้ ได้ปุบปับ เหมือนมหาสมุทรซึ่งตามปกติจะลาดลุ่มลึกลงไปๆ ไม่ฮวบฮาบอย่างลงเหว

ดังที่ว่าแล้ว มงคลสูตรมีข้อปฏิบัติครบถ้วน และพระพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงไว้เป็นขั้นตอนตามลําดับ ตั้งแต่เริ่มต้นไปจนจบสูงสุด ทุกคนต้องไม่ประมาทในธรรม การสวดมงคลสูตรจึงเป็นเครื่องเตือนให้ผู้ปฏิบัติธรรม ตรวจดูการปฏิบัติของตนให้ครบให้ถูกต้องสมควร เช่น ถ้าเป็นคฤหัสถ์จะเจริญสมถวิปัสสนาให้แจ้งปรมัตถ์ ก็ต้องไม่ละเลยการเจริญประโยชน์ขั้นตาเห็นเป็นทิฏฐธัมม์ให้พร้อม ให้ดีไว้ เช่น บํารุงมารดาบิดา เลี้ยงดูบุตรธิดา เกื้อกูลภรรยา ทํา กิจการงานเข้มแข็งให้สําเร็จผลดี เป็นต้น

เมื่อรู้ตัวเห็นว่า อย่างน้อยเฉพาะหน้าเวลานี้ จะไม่สามารถ สวดมนต์มากมายได้ตามหลักให้ถึงแก่นแท้ที่เป็นการสาธยาย ก็ จับเอาแค่มงคลสูตรนี้แหละ ให้ได้เป็นหลักเป็นแกนไว้ มนต์บทอื่นๆ ก็สวดไปเท่าที่เคยได้ ยอมไปก่อน นี่คือ

    ๑. สวดมนต์ทุกครั้ง จะมีบทอื่นๆ อะไรบ้าง ก็ไม่ว่า แต่ต้องมี มงคลสูตร เป็นบทนําาอันเอกเสมอไป นี่คือว่าตามแบบแผนอยู่แล้ว)
    ๒. ถึงตอนสวดมงคลสูตรนั้น ต้องให้ได้ตามหลักจริงๆ คือให้ มีเนื้อแท้ที่เป็นการสาธยาย โดยมีสติระลึกได้นึกถึงทันทุกคําทุก ความที่เปล่งออกมา พร้อมด้วยปัญญารู้เข้าใจความหมายของคํา ความเหล่านั้น

    แล้วก็สํารวจตรวจสอบตัวเองว่าได้สร้างมงคลข้อนั้นๆ หรือยัง พร้อมทั้งมองเห็นธรรมเพื่อสร้างมงคลที่ตนจะตั้งใจปฏิบัติให้เกิดขึ้นต่อไป

@@@@@@@

เมื่อสวดมงคลสูตรได้สมจริงไว้บทหนึ่ง เป็นหลักเป็นแกน อย่างนี้แล้ว ก็ตั้งมงคลสูตรนี้เป็นฐานที่มั่นไว้ แล้วต่อไป เมื่อเก่งขึ้น จะขยายไปเลือกบทอื่นๆ ที่จะสวดให้ครบเต็มตามหลักอย่างนี้ เพิ่มขึ้นไปๆ ก็ได้ และก็จะดี

ที่จริงก็แสนจะชัดอยู่แล้วว่า มงคลสูตรนี้ เป็นบทสวดมนต์ พื้นๆ ที่พระทั้งเมืองไทยสวดกันทั่วไป ทุกคนได้ฟัง ทั้งที่วัด ในบ้าน ทุกครั้งที่ทําบุญงานมงคล เพียงแต่ได้ยินผ่านๆ กันไป ไม่ได้สังเกต ไม่ได้ใส่ใจ

จะเป็นการดีงามเลิศประเสริฐแค่ไหน ถ้าทุกรูปทุกนามที่เป็นพุทธิกชนคนไทย ไม่ว่าพระหรือโยม ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ สวด มงคลสูตรนี้ ได้ถูกต้องตามหลักของการสาธยาย (พร้อมทั้งมีใจรัก ที่จะปฏิบัติด้วย) ให้อันนี้เป็นจุดรวม เป็นฐานร่วมหนึ่งเดียวกัน ก็จะทําให้พระพุทธศาสนาในสังคมไทยมีฐานที่มั่นชัดด้วย

(ไม่ควรให้มีใครในที่ไหนๆ พูดได้ว่า คนพุทธไทยนั้น แต่มงคลสูตร สวดมนต์บทแรก ก็ไม่รู้เรื่อง)

คิดว่าได้พูดมามากนักหนาพอแก่การแล้ว ก็ว่ากันเท่านี้ก่อน

ท้ายนี้ เพื่อให้สะดวกแก่ผู้มีฉันทะที่จะสวดมงคลสูตรให้เป็น หลักเป็นแกน และตั้งเป็นฐานที่มั่นไว้ อย่างที่ว่าแล้ว จึงนําเอา มงคลสูตรนั้น ทั้งคาถาภาษาบาลี และคําแปลภาษาไทยมาลงผนวกท้ายไว้

(ยังมีต่อ..)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 17, 2024, 06:24:10 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28906
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: สวดมนต์ ต้องไม่โค่น "สาธยาย"
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2024, 10:52:36 am »
0
.



ผนวก : มงคล ๓๘
ในวงเล็บ (...) เป็นคําอธิบาย ไม่ต้องสวด

คาถาที่ 1.
    ๑. เว้นคนพาล ไม่คบหา
    ๒. เสวนาบัณฑิตชน
    ๓. บูชาคนที่ควรเชิดชู
        นี่เป็นมงคลอันอุดม

คาถาที่ 2.
    ๔. อยู่ในถิ่นที่เหมาะ
    ๕. บ่มเพาะความดีเป็นทุนไว้แต่ต้น
    ๖. ตั้งตนไว้ถูกทางอย่างมั่นคง
        นี่เป็นมงคลอันอุดม

คาถาที่ 3.
    ๗. เล่าเรียนทรงความรู้ให้เชี่ยวชาญ
    ๘. มีวิชาชีพวิชาช่างที่ชํานาญพร้อมไว้
    ๙. มีวินัยที่ได้ฝึกเป็นอย่างดี
  ๑๐. มีถ้อยวจีที่พูดได้งดงาม
        นี่เป็นมงคลอันอุดม

คาถาที่ 4.
  ๑๑. บําารุงมารดาบิดาด้วยกตัญญู
  ๑๒. ใส่ใจเลี้ยงดูบุตรธิดา
  ๑๓. เกื้อหนุนภรรยาให้สมเป็นคู่ชีวิต
  ๑๔. ทํากิจการงานไม่คั่งค้างสับสน
        นี่เป็นมงคลอันอุดม

คาถาที่ 5.
  ๑๕. ให้ปันแก่คนทั้งหลาย (มิให้มีใครถูกทอดทิ้ง)
  ๑๖. มั่นในหลักธรรมจรรยา
  ๑๗. มีใจน่าพาสงเคราะห์ญาติ
  ๑๘. ไม่ขาดกิจกรรมดีงามบําเพ็ญประโยชน์
        นี่เป็นมงคลอันอุดม

คาถาที่ 6.
  ๑๙. งดเว้นจากความชั่ว
  ๒๐. คุมตัวจากของมึนเมา
  ๒๑. เร่งเร้าตัวไม่ประมาทในธรรม
        นี่เป็นมงคลอันอุดม

คาถาที่ 7.
  ๒๒. มีคารวะให้ความสําคัญสมควรแก่คุณค่า
  ๒๓. กิริยาวาจาอ่อนโยนสุภาพ ไม่กระด้างถือตน
  ๒๔. สันโดษด้วยลาภผลที่มีตามธรรม(พอใจลาภผลแต่ที่ได้มาด้วยเรี่ยวแรงของตนโดยชอบธรรม)
  ๒๕. สํานึกกตัญญูรู้ค่าของผู้มีคุณความดี
  ๒๖. จัดให้มีเวลาฟังธรรมหาความรู้
        นี่เป็นมงคลอันอุดม

คาถาที่ 8.
  ๒๗. เป็นผู้ที่เข้มแข็งอดทน
  ๒๘. เป็นคนที่พูดกันง่าย
  ๒๙. ไปพบพระเพื่อเจริญธรรมเจริญปัญญา
  ๓๐. จัดเวลาสากัจฉาถกปัญหาถูกธรรม
        นี่เป็นมงคลอันอุดม

คาถาที่ 9.
  ๓๑. มีตบะห้ามใจไม่มัวเมามุ่งมั่นทําหน้าที่
  ๓๒. มีชีวิตดีงามดําเนินในอริยมรรคา
  ๓๓. มีปัญญาเห็นอริยสัจถึงความจริงของชีวิต
  ๓๕. สัมฤทธิ์ที่หมายได้ประจักษ์แจ้งนิพพาน
        นี้เป็นมงคลอันอุดม

คาถาที่ 10.
  แม้จะถูกโลกธรรมผ่านกระทบ
  ๓๕. ก็มีใจสงบได้ไม่หวั่นไหว
  ๓๖. มีใจชื่นสบายไร้โศกศัลย์
  ๓๗. มีจิตผ่องใสไร้ธุลีละอองควัน
  ๓๘. และจิตนั้นเกษมศานต์มั่นคง
        นี่เป็นมงคลอันอุดม

(คาถาที่ 11. สรุปท้ายมงคล ๓๘)
   "เหล่าเทวะมนุษย์ได้กอปรมงคลเช่นนี้ เป็นผู้ที่ไม่ปราชัยในทุกสถาน จะถึงความสวัสดีในทุกสถานการณ์ นั่นคือ อุดมมงคลของเทวะมนุษยชน เหล่านั้นแล"


@@@@@@@

มงคลสูตร

คาถาที่ 1.
๑. อเสวนา จ พาลานํ   ๒. ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา
๓. ปูชา จ ปูชนียานํ         เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

คาถาที่ 2.
๔. ปฏิรูปเทสวาโส จ   ๕. ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา
๖. อตฺตสมฺมาปณิธิ จ       เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

คาถาที่ 3.
๗. พาหุสจฺจญฺจ ๘. สิปฺปญฺจ   ๙. วินโย จ สุสิกฺขิโต
๑๐. สุภาสิตา จ ยา วาจา           เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

คาถาที่ 4.
๑๑. มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ   ๑๒-๑๓. ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห
๑๔. อนากุลา จ กมฺมนฺตา         เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

คาถาที่ 5.
๑๕. ทานญฺจ ๑๖. ธมฺมจริยา จ   ๑๗. ญาตกานญฺจ สงฺคโห
๑๘. อนวชฺชานิ กมฺมานิ                 เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

คาถาที่ 6.
๑๙. อารตี วิรตี ปาปา   ๒๐. มชฺชปานา จ สญฺญโม
๒๑. อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ     เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

คาถาที่ 7.
๒๒. คารโว จ ๒๓. นิวาโต จ   ๒๔. สนฺตุฏฺฐี จ ๒๕. กตญฺญุตา
๒๖. กาเลน ธมฺมสฺสวนํ               เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

คาถาที่ 8.
๒๗. ขนฺตี จ ๒๘. โสวจสฺสตา   ๒๙. สมณานญฺจ ทสฺสนํ
๓๐. กาเลน ธมฺมสากจฺฉา              เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

คาถาที่ 9.
๓๑. ตโป จ ๓๒. พฺรหฺมจริยญฺจ   ๓๓. อริยสจฺจาน ทสฺสนํ
๓๔. นิพฺพานสจฺฉิกิริยา จ               เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

คาถาที่ 10.
ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ   ๓๕. จิตฺตํ ยสฺส. น กมฺปติ
๓๖. อโสกํ ๓๗. วิรชํ ๓๘. เขมํ  เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ

(คาถาที่ 11.)
เอตาทิสานิ กตฺวาน  สพฺพตฺถมปราชิตา
สพฺพตฺถ โสตฺถึ คจฺฉนฺติ  ตนฺเตสํ มงฺคลมุตฺตมนฺติ

(ยังมีต่อ..)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 16, 2024, 11:07:00 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28906
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: สวดมนต์ ต้องไม่โค่น "สาธยาย"
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2024, 11:31:27 am »
0
.



บันทึกประกอบ ในการพิมพ์ครั้งที่ ๑

ผู้เขียนนี้มานึกว่า เมื่อครั้งทําบุญครบ ๑ ปี อุทิศ โยมคุณหญิงกระจ่างศรี รักตะกนิษฐ ในวันที่ ๘ ก.พ. ๒๕๖๒ ได้พิมพ์หนังสือ จารึกบุญ จารึกธรรม เป็นธรรมทานที่ระลึก สําหรับปีที่ ๒ นี้ ก็ควรจะพิมพ์หนังสือธรรมทานเช่นนั้น อีกทั้งมาคํานึงว่า ถัดจากวันทําบุญครบ ๑ ปีในวันที่ ๘ ก.พ. นั้น รุ่งขึ้นวันที่ ๙ ก.พ. ก็จะเป็นวันทําบุญประจําปีของครอบครัวอารยางกูร อุทิศโยมบิดา-มารดา และพี่น้อง ตามปกติตัวผู้เขียนเองนี้จะไม่ได้ไปร่วมอยู่ในงานพิธีทั้งสองนั้น แต่ ก็เป็นธรรมดาที่ปรารถนาจะให้มีหนังสือธรรมทาน และคราวนี้ ถ้าได้เรื่องที่เหมาะมาพิมพ์ ก็จะเป็นหนังสือธรรมทานสําหรับงานทั้งสองต่อกัน

เวลานั้น วันงานใกล้เข้ามาแล้ว พอดีได้จังหวะมองเห็น file "สวดมนต์ฯ” ซึ่งพระครูประคุณสรกิจ (การุณย์ กุสลนนฺโท) เพิ่งส่งมาให้ใหม่ๆ อันเป็นบท คัดลอกถอดเสียงเป็นตัวหนังสือ ซึ่งทีมงานจิตอาสาของชมรมกัลยาณธรรม มี ทพญ. อัจฉรา กลิ่นสุวรรณ์ เป็นประธาน ได้จัดทําส่งต่อกันมาให้ผู้เขียนนี้ที่ เป็นผู้พูดเรื่องนั้น ตรวจทาน เพื่อนําลงพิมพ์ในวารสารโพธิยาลัย

ตัวผู้เขียนเอง เนื่องจากปัญหาสภาพปอดที่เสียหายมาก เกินกว่าครึ่ง ทํางานไม่ได้ นอกจากในพิธีอุปสมบทที่วัดญาณเวศกวันเอง ซึ่งเป็นกิจอัน จําเป็นแล้ว ก็มิได้มีการพูดคุยสนทนากับหรือแก่ที่ประชุม คณะ หรือหมู่คน มา นานนักหนาแล้ว เว้นแต่ต้องพูดคุยเป็นการภายในกับพระวัดญาณเวศกวันบ้าง ในบางโอกาส และมีโอกาสหนึ่งโอกาสเดียวซึ่งได้กลายเป็นเรื่องค่อนข้างประจํา คือ การไปที่วัดนั้นในวันกลางเดือนและวันสิ้นเดือน แล้วยามค่ําหลังสวด ปาติโมกข์ ได้พูดคุยกับพระแบบง่ายๆ สบายๆ ในเรื่องเบ็ดเตล็ด แล้วก็มีโยมที่ สนใจมาฟังบ้าง จนไปๆ มาๆ เหมือนว่าได้กลายเป็นรายการหนึ่ง เรียกว่า เกร็ดความรู้ธรรม เรื่อง "สวดมนต์ฯ" ที่ว่านั้น ก็เป็นคําพูดคุยของผู้เขียนใน โอกาสอย่างนี้ เมื่อวันเพ็ญกลางเดือน ๒ (๙ มกราคม ๒๕๖๓)

@@@@@@@

ได้มองเห็นว่า การสวดมนต์เป็นกิจที่พุทธศาสนิกชนปฏิบัติกันเป็น ประจํา และเด่นในความนิยม จึงควรรู้เข้าใจกันให้ดี เพื่อปฏิบัติได้ถูกต้อง และให้เกิดมีผลที่ดี บทถอดเสียงเป็นตัวหนังสือนั้นก็ไม่ยืดยาวนัก แค่ ๑๓ หน้า ถ้าตรวจทานจัดปรับต้นฉบับเสร็จ งานทางด้านวารสารโพธิยาลัยก็จะ ลุล่วงไป และก็จะได้หนังสือสําหรับงานบุญที่ปรารภนั้นด้วยพร้อมกัน เป็นอันตกลงและเริ่มทํางาน แต่ประจวบว่าเวลานั้น อีกด้านหนึ่ง เป็น ช่วงกาลที่เพิ่งได้เริ่มที่จะต้องรอฟังและปฏิบัติตามคํากําหนดและนัดหมาย

ของคุณหมอและโรงพยาบาล เพราะเพิ่งผ่านการตรวจและพิสูจน์ว่าผู้เขียนนี้ เป็นโรคมะเร็ง แม้ว่าจะทํางานหนังสือไปตามปกติ แต่เมื่อผ่านการตรวจและ พิสูจน์โรครู้แน่ชัดแล้ว ก็จะเข้าสู่กระบวนการบําบัดรักษาที่ยืดเยื้อยาวนาน มาก เมื่อผู้เขียนอยู่ห่างไกล บางทีก็ต้องไปนอนในโรงพยาบาล ถึงแม้ไม่ต้อง นอนพัก แค่เดินทางไปกลับก็หมดเวลาค่อนวัน แทนที่จะทํางานหนังสือได้ ๑๐ ชม. ก็เหลือทําได้ ๑-๒ ชม. หรือไม่ได้เลย พร้อมกันนั้น เรื่อง "สวด มนต์” นั้น เมื่อตรวจไป ก็เขียนขยายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุด ก็ไม่ทันที่จะได้ พิมพ์เป็นเล่มหนังสือเพื่อแจกในงานวันที่ ๘ และ ๙ กุมภาพันธ์

ถึงแม้ไม่ทันการอย่างที่คิดหมาย ก็ตกลงใจว่าจะทําหนังสือนั้นให้ เสร็จเป็นบุญกิริยาเนื่องในงานพิธี โดยเป็นธรรมทานตามหลังงาน อันน่าจะ มีผลได้ยืดยาวยืนนาน แล้วคราวนี้ยิ่งต้องเร่งรัดจริงจังเต็มที่ ให้หนังสือเสร็จไม่ล่าช้าหลังงานนานเกินไป จึงเป็นวาระที่ยิ่งต้องระดมทํางานนั้นเต็มแรงมากขึ้น

ที่จริง ตั้งแต่เริ่มตรวจเติมต้นฉบับหนังสือนี้ ก็ได้หยุดวางงานหนังสือ และเรื่องราวที่เกี่ยวข้องจากภายนอกทั้งหมด เช่น แม้แต่มีหลายท่านขอพิมพ์ หนังสือเล่มนั้นเล่มนี้ จะทํานั่นทํานี่กับหนังสือธรรมนั้นนี้ ก็ต้องขอให้รอก่อน จึงมีเรื่องค้างรอวันอยู่ไม่น้อย

@@@@@@@

ในขณะเดียวกัน มาถึงเวลานี้ ทางด้านโรงพยาบาล การรักษาผู้อาพาธ บําบัดมะเร็ง ก็เข้าสู่ช่วงตอนสําคัญ ต้องเข้าไปนอนพักใน รพ. เกือบครึ่ง เดือน เพื่อรับการฉายรังสีอย่างเข้มข้น หรือเต็มอัตรา ก็จึงมุ่งว่าในช่วงเวลา
นั้น จะทํางานหนังสือได้มาก หนังสืออาจจะเสร็จในคราวนี้

แต่ถึงเวลาจริง ใน รพ. ก็ทํางานหนังสือได้ไม่มากอย่างที่คาด เพราะ เวลาที่โปร่งโล่งมีน้อย สภาพร่างกายที่ติดขัดต่างๆ ก็กลายเป็นเครื่องขัดถ่วง ด้วย และฝ่ายดูแลรักษาก็บอกให้พักให้มาก อิริยาบถนั่งก็เป็นการกดทับ อวัยวะที่เป็นโรค ควรหลีกเลี่ยง จึงออกจาก รพ. ศิริราช มาโดยงานยังไม่จบ

จากโรงพยาบาล ที่คุณหมอ ทั้งเจ้าของเรื่อง และที่ผ่านเข้ามาในเรื่อง พร้อมทั้งพยาบาลและเจ้าหน้าที่เจ้าพนักงาน ได้สละเวลาให้เรี่ยวแรงกําลังทํา ปฏิบัติการทางแพทย์ และดูแลอย่างเต็มที่ ด้วยน้ําใจปรารถนาดีจริงจัง จบการบําบัดรักษาไปอีกขั้นตอนหนึ่ง ออกไปพักรับผลการบําาบัดในชนบท รอเวลานัดหมายของคุณหมอต่อไป ปรากฏว่าร่างกายทรุดโทรมอ่อนเปลี้ยเกินคาดหมาย ได้ความว่าเป็นผลสืบเนื่องจากการฉายรังสีนั้นเป็นธรรมดา

ในที่พักถิ่นชนบทนั้น งานตรวจชําระทําต้นฉบับหนังสือเดินหน้าไป มิได้ช้า จาก ๑๓ หน้าบทถอดเสียงที่ได้รับ ขยายเป็น ๓๖ หน้า แล้วจัดทํา เป็นเล่มหนังสือได้ ๘๘ หน้า เสร็จในวันเพ็ญกลางเดือน ๔ ตรงกับ ๘ มีนาคม ๒๕๖๓ หลังงานทําบุญ ๑ เดือนพอดี คือออกจาก รพ.มาได้ ๘ วัน เป็นอันจบเนื้องาน แต่ตกลงทํางานแถมผนวกท้ายไว้ด้วย คือ มงคลสูตร พร้อมทั้งค่าแปลภาษาไทย

คราวนี้เห็นว่าควรให้ความสําคัญแก่คําแปล ในแง่ที่จะให้เข้าใจง่าย และใช้สวดได้ด้วย พอดีว่ากองอุปถัมภ์พระอาพาธที่ รพ. ซึ่งมีอาผา (คือคุณ บุบผา คณิตกุล) เป็นผู้นํา พร้อมด้วยจูน (คุณศศิธร ศรีโสภา) เมื่อถอน กําลังมากลับคืนถิ่นที่สหปฏิบัติและค่ายอารยาภิวัทธน์ ซึ่งอาดา (คุณกานดา อารยางกูร) ตั้งหลักอยู่ ก็พร้อมกันอุปถัมภ์พระอาพาธต่อ

@@@@@@@

ชาวถิ่นชาวค่ายนี้ มีชีวิตที่คุ้นชินกับการสวดมนต์และการอบรมสั่งสอนธรรมอยู่แล้ว พอพูดถึงการสวดคําแปลมงคลสูตร ก็สนใจ รวมทั้งผู้ที่ห่วงใยตามดูแลในระยะอาพาธคราวนี้ ได้แก่ ดร.อัมรินทร์ จันทนะศิริ ดต.มงคล รัตนะรองใต้ และผู้อยู่ประจําคือ นายวิชัย ปะโคทัง ก็ช่วยกันอ่าน คําแปลและทดลองสวด พระครูสังฆวิจารณ์ (พงศธรณ์ เกตุญาโณ) ซึ่งดูแล อยู่ใกล้ชิด นอกจากช่วยสะสางภาระทั่วไปแล้ว ก็ช่วยอ่านช่วยฟังคําแปลนี้ จริงจังด้วย ทําให้ได้ขัดเกลาค่าแปลนั้น จนถือเป็นอันยุติไปคราวหนึ่งก่อน

เป็นอันได้นํามงคลสูตร พร้อมทั้งคําแปล มาเติมท้ายได้เป็น ภาคผนวก เมื่อนับส่วนหน้าที่เพิ่มเข้าไปให้ครบลักษณะหนังสือด้วย รวมเป็น ๑๐๑ หน้า ตั้งชื่อหนังสือว่า สวดมนต์ ต้องไม่โค่นสาธยาย ได้สําเร็จเสร็จการ ในวันที่ ๑๔ มี.ค. ๒๕๖๓

บันทึกนี้เขียนบอกไว้เพื่อให้ท่านที่ติดค้างอยู่ ไม่ว่าที่วัดก็ตาม ที่อื่นใด นอกวัดก็ตาม ซึ่งมีกิจมีงานมีเรื่องราวเกี่ยวข้องไปถึงผู้เขียนนี้ ที่ต้องรออยู่ กับความเงียบเหมือนเรื่องหายไป จักได้เข้าใจว่า งานทําหนังสือ สวดมนต์ ต้องไม่โค่นสาธยาย นี่เอง ได้กักกันเรื่องราวเหล่านั้นไว้ในความเงียบงัน และ เมื่อรู้เข้าใจแล้วคงจะมีจิตผ่อนคลาย ปลงความติดค้างใจให้หมดหายไป

แบบปกหนังสือมี ๒ ท่าน ที่ได้เอื้อเฟื้อออกแบบให้ท่านละ ๑ แบบ คือ แบบที่ ๑ โดย อาจารย์เถกิง พริ้งพวงแก้ว และแบบที่ ๒ โดย คุณสาธิต โยคเสนะกุล ซึ่งได้จัดทําให้พร้อมไว้นานแล้ว ตั้งแต่ก่อนวันทําบุญในเดือนกุมภาพันธ์ ขออนุโมทนาไว้ ณ ที่นี้ เป็นอย่างมาก

ขออนุโมทนาทุกท่านทุกนามที่ได้มีน้ําใจเป็นบุญช่วยเกื้อกูลในด้านต่างๆ โดยตรงบ้าง โดยอ้อมบ้าง ทําให้หนังสือเล่มนี้เสร็จสําเร็จเป็นธรรมทานสมหมาย

                                        สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ปยุตฺโต)
                                              ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๓






ขอยุติการนำเสนอ บทธรรมจากหนังสือ "สวดมนต์ ต้องไม่โค่นสาธยาย" ของ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ปยุตฺโต) ไว้แต่เพียงแค่นี้ ขอขอบพระคุณที่ติดตาม 

 st11
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ