ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ‘อโยธยา’ คำเดียวเถียงกัน 59 ปี วันนี้ยังไม่จบ เห็นด้วย หรือ คัดค้าน.?  (อ่าน 14 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29286
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.



‘อโยธยา’ คำเดียวเถียงกัน 59 ปี วันนี้ยังไม่จบ! เห็นด้วย หรือ คัดค้าน? หลักฐานใหม่มาต่อเนื่อง

ถกกันเฉียด 6 ทศวรรษ นับเฉพาะ ‘อย่างเป็นทางการ’ เป็นลายลักษณ์ ไม่รวมในแวดวงการพูดคุยและบทสนทนา สำหรับเรื่องราวของ ‘อโยธยา’ ที่บ้างก็ว่า มีแค่ในตำนาน ขณะที่นักวิชาการส่วนหนึ่งงัดหลักฐานตีพิมพ์ทั้งบทความ และหนังสือเล่ม

เปิดปฐมบท ตัดริบบิ้น คิกออฟตั้งแต่ พ.ศ. 2509 โดย ศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม ซึ่งขณะนั้น ยังเป็นอาจารย์คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ตีพิมพ์ข้อเขียน ‘กรุงอโยธยาในประวัติศาสตร์’ วารสารระดับตำนาน อย่าง ‘สังคมศาสตร์ปริทัศน์’ ฉบับพิเศษ ว่าด้วยประวัติศาสตร์ พ.ศ.2509 เป็นที่ฮือฮา กล่าวขวัญ ทอล์กออฟเดอะทาวน์ในหมู่ชาวสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์

มีทั้งเสียงเชียร์ เห็นด้วย ช่วยหนุย มีทั้งเสียงค้าน ต่อต้าน ส่ายหน้าเซย์โน กระทั่งเสียงอึกๆ อักๆ ยังลังเล ขอสังเกตการณ์หลักฐานเพิ่มเติม


ภาพถ่ายทางอากาศ พ.ศ. 2497 และผังเมืองอโยธยา (กรอบขวามือ) มีคูน้ำคันดินทำผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 1.4 x 3.1 กิโลเมตร (สำรวจและทำผังโดย พเยาว์ เข็มนาค อดีตข้าราชการกรมศิลปากร)


จากวันนั้นถึงวันนี้ เป็นเวลาถึง 59 ปี ที่ยังถกกันไม่จบ ท่ามกลางข้อเขียนที่มีมากขึ้น ท่ามกลางหลักฐานที่ปรากฏเพิ่มเติม และในปัจจุบัน ก็ยังคงมีทั้งฟากฝั่งเห็นพ้อง มุมมองตรงข้าม กระทั่ง ‘ทีมอ่านคอมเมนต์’ คือ ขออยู่ห่างๆ อย่างจับตา เรียกได้ว่า แม้รุมถกกันมาสู่ปีที่ 60 ก็ยังเป็นประเด็นเผ็ดมันส์ไม่เลิก

ล่าสุด เมื่อพบจารึกใหม่ บนฐานพระพุทธรูปสุโขทัย ปรากฏคำว่า ‘ศรีอโยธยา’ ตรงกับรัชกาลเจ้าสามพระยา ต้นกรุงศรีอยุธยา จึงนำมาซึ่งกระแสความสนใจอีกครั้ง



ผังเมืองอโยธยา บนแผนที่อยุธยาปัจจุบัน


ในหนังสือเล่มล่าสุดที่รวบรวมหลักฐานการมีอยู่ของ ‘อโยธยา’ จากการรวบรวม เรียบเรียง และวิเคราะห์ โดย รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ ม.รามคำแหง คำนำเสนอโดย สุจิตต์ วงษ์เทศ ไล่เรียงความเป็นมาของการศึกษา และข้อถกเถียง โดยระบุว่า เมื่อครั้ง ศาสตราจารย์ศรีศักร เผยแพร่แนวคิดดังกล่าว

นักโบราณคดีกระแสหลักสมัยนั้นคัดค้านแนวคิดที่ว่า ‘เมืองอโยธยา’ มีอยู่จริงก่อน พ.ศ. 1893 เพราะกระทบกระเทือนรัฐในอุดมคดิ คือ ‘สุโขทัยราชธานีแห่งแรกของไทย’



เจดีย์วัดอโยธยา ตั้งอยู่ในจุดที่เชื่อว่าเป็นที่ตั้งของเมืองอโยธยา นอกเกาะเมืองอยุธยา ฝั่งตะวันออก


สุจิตต์ เชื่อว่า ต้นตอของการเห็นค้าน มาจากความไม่แข็งแรงในข้อมูลและแนวคิดประวัติศาสตร์สังคม-วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ-การเมือง เนื่องจากถูกฝังหัวลึกมากด้วยประวัติศาสตร์ศิลปะแบบอาณานิคมที่มีอำนาจชี้ขาดประวัติศาสตร์ไทยจนถึงทุกวันนี้อย่างน่าอัศจรรรย์

คอลัมนิสต์ ไม่ติดกระดุมเสื้อเชิ้ต ยังยืนยันว่า หลักฐานทั้งหลายทั้งมวลชี้ชัด ว่าอยุธยาไม่ใช่ราชธานีที่สอง ซึ่งมีขึ้นหลังการล่มสลายของสุโขทัยราชธานีแห่งแรก ตามตำราคลาดเคลื่อนของทางการ แต่ไม่พบหลักฐานสนับสนุน

เมืองอโยธยา มีคูน้ำคันดินทำผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ ราว 1.4 x 3.1 กิโลเมตร (1,400 x 3,100 เมตร) อยู่ทางตะวันออกนอกเกาะเมืองอยุธยา อ. เมืองฯ จ.พระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันคือบริเวณสถานีรถไฟอยุธยาและปริมณฑล

ตามหลักฐานพัฒนาการแล้ว อยุธยาเป็นทายาททางสังคมและวัฒนธรรมสุวรรณภูมิ ที่สืบเนื่องมรดกตกทอดจากบ้านเมืองเก่าแก่นับพันปีมาแล้วของบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา บนภาคพื้นทวีป ซึ่งนานมากก่อนกรุงสุโขทัยที่เพิ่งมีสมัยหลัง โดยการสนับสนุนของกลุ่มบ้านเมืองที่ภายหลังเป็นกรุงศรีอยุธยา

ดังนั้น กรุงสุโขทัยไม่ใช่ราชธานีแห่งแรก เพราะสุโขทัยเป็นรัฐขนาดเล็กแห่งหนึ่งในครั้งนั้นที่เติบโตขึ้นจากการสนับสนุนของรัฐละโว้และรัฐอโยธยา โดยกรุงสุโขทัยมีพื้นที่ทางใต้สุดแค่เมืองพระบาง (จ. นครสวรรค์) ส่วนบริเวณต่ำลงไปต่อจากนั้นเป็นพื้นที่ของรัฐละโว้–อโยธยา (จ. ลพบุรี–จ. พระนครศรีอยุธยา) กับรัฐสุพรรณภูมิ (จ. สุพรรณบุรี)



ศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม นักวิชาการไทยคนแรกทีนำเสนอหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดีเกี่ยวกับ ‘เมืองอโยธยา’ อย่างเป็นระบบ ตีพิมพ์ในสังคมศาสตร์ปริทัศน์ เมื่อ พ.ศ.2509


เมืองอโยธยามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งเป็นที่รับรู้มากกว่า 100 ปี มาแล้ว ตั้งแต่แผ่นดิน ร.5 และมีการแบ่งปันแผยแพร่ข้อมูลความรู้เป็นครั้งคราวต่อเนื่อง

นักปราชญ์และนักวิชาการตั้งแต่แผ่นดิน ร.5 ถึงปัจจุบัน มีการศึกษาค้นคว้าวิจัยอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับความสำคัญเมืองอโยธยา ได้แก่

พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา, ควบคุมงานขุดค้นและบูรณะพระราชวังโบราณอยุธยา ถวาย ร.5, ธนิต อยู่โพธิ์ (อดีตอธิบดีกรมศิลปากร), มานิต วัลลิโภดม (อดีตนักปราชญ์ข้าราชการผู้ใหญ่ กรมศิลปากร) หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล อดีตคณบดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ,ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ,จิตร ภูมิศักดิ์ ,พเยาว์ เข็มนาค (อดีตหัวหน้าช่างสำรวจโบราณคดี กรมศิลปากร) เป็นต้น

นอกจากนั้นทุกวันนี้ยังมีนักค้นคว้านักวิชาการร่วมสมัยจำนวนไม่น้อยทุ่มเทศึกษาค้นคว้าและวิจัยอย่างต่อเนื่อง



จารึกบนฐานพระพุทธรูปวัดอินทาราม บางยี่เรือ กรุงเทพฯ ซึ่งเพิ่งพบเมื่อต้นเดือนเมษายน 2568 ปรากฏคำว่า ‘ศรีอโยธยา’




โดยเฉพาะ ศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม ซึ่งเมื่อ 8 ปีก่อน ยังเพิ่งตีพิมพ์ผังเมืองอโยธยาพร้อมหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดี ในวารสาร เมืองโบราณ ฉบับอโยธยาศรีรามเทพนคร (มกราคม–มีนาคม 2560)

นับเป็นอีกหนึ่งประเด็นร้อนแรงเป็นระลอก รองจาก ‘คนไทยมาจากไหน?’ และ ‘สุโขทัยไม่ใช่ราชธานีแห่งแรก’ ที่ล้วนต้องถกและเถียงกันต่อไปภายใต้หลักฐานทางโบราณคดี ไม่ใช่ ‘อีโม (ชั่น)






ขอบคุณ : https://www.matichon.co.th/local/arts-culture/news_5141736
วันที่ 16 เมษายน 2568 - 19:25 น.   
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ