บทส่งท้าย..วิธีการฝึกปฏิบัติรู้ตนในหมวดกาย
หลักของการใช้ลมหายใจ
1. รู้ลักษณะของการหายใจกับความรู้สึก คือ..
1.1) ภาวะที่ใจปกติ..จะมีลักษณะของการหายใจ คือ..ลมหายใจที่สบายๆ ชิวๆ ไม่แรง ไม่เบา ไม่ยาว ไม่สั้น ไม่อัด ไม่เกร็ง
1.2) ภาวะที่ใจเกิดความโลภ ใคร่ได้ โหยหา..จะมีลักษณะของการหายใจ คือ..ลมและจังหวะการหายใจระส่ำระสายซ่านออก เหมือนลมหายใจพร่องขาดไม่เต็มปอด ระส่ำระส่ายสืบเนื่องไม่เป็นจังหวะ ลมหายใจแรงกว่าปกติแต่ขาดช่วงไม่ต่อเนื่อง ลมหายใจเข้ากรีดแป้วผ่านหน้าอก เหมือลมหายใจพร่องไม่เต็มปอด หายใจออกสั่นขาดช่วงไม่ต่อเนื่อง ลมหายใจสั่นไม่เป็นจังหวะ ลมหายใจสั้นสืบต่อแบบขาดช่วงในจังหวะสั้นไม่ปะติดปะต่อกัน ไม่ต่อเนื่องกัน ไม่เป็นจังหวะ หายใจเหมือนคนเป็นหอบหืด
1.3) ภาวะที่ใจเกิดความโกรธ แค้น เกลียด ชัง คนเราจะมีลักษณะของการหายใจที่..ลมหายใจอัดระคนปั่นป่วน กระแทก ดันปะทุขึ้น หายใจแรงเหมือนอัดปะทุขึ้น ลมหายใจร้อน ลมหายใจเข้าออกสั้นมีลักษณะอัดกระแทกลมหายใจ หรือลมหายใจเข้าออกยาวแต่แรงเหมือนอัดกระแทกเข้าและปะทุออกมา
1.4) ภาวะที่ใจเกิดความหวาดกลัว ระแวง..จะมีลักษณะของการหายใจ คือ..ลมและจังหวะหายใจที่วูบตกฉับพลัน เสียดซ่าน แผ่วปลาย ลมหายใจพุ่งแบบฉับพลันกรีดแผ่วที่อก ลมหายใจออกสั้นกระจายออก ทำให้เหมือนมีลมหายใจออกแรงแต่แผ่วช่วงปลายลมหายใจออก ลมหายใจเย็นแต่สะดุดชะงัก ขาดระยะ ขาดช่วงไม่เป็นจังหวะ ลมหายใจสั่นหวิวกรีดที่หน้าอก หายใจเหมือนคนหนาวสั่น
1.5.) ภาวะที่ใจหดหู่ ท้อแท้ เหนื่อยหน่าย จะมีลักษณะของการหายใจ คือ..ลมและจังหวะหายใจแผ่วเบา เคลื่อนตัวต่อเนื่อง แต่เนิบช้า อ่อนแรง
..จุดนี้คนที่เป็นซึมเศร้า ควรสังเหตุลมหายใจตนเอง ถ้ารู้ลมหายใจตนเองบ่อยๆแล้ว เวลาลมหายใจแปรปรวนสติก็จะเกิดขึ้นรู้ทันลักษณะลมหายใจ..หากเรารู้จุดนี้แล้วฝึกจิตให้มี..สติ ตื่นรู้..ก็จะเป็นตัวช่วยให้สามารถหยุดอาการดิ่งเข้ามิติภวังของซึมเศร้าได้
1.6) ภาวะที่ใจดิ่งลงสู่ภวังค์จากความรัก ชัง กลัว หลง คนเราจะมีลักษณะของการหายใจที่ลมหายใจหยุดชะงัก ค้าง เหมือนไม่เคลื่อนไหว ภาวะนี้ทางการแพทย์เรียกว่าภาวะหยุดหายใจเฉียบพลัน หรือหยุดหายใจขณะหลับ
1.7) ภาวะที่ใจสงบ นิ่ง ว่าง มีจิตตั้งมั่น เช่น ตอนทำสมาธิ คนเราจะมีลักษณะลมหายใจแบ่งเป็น 2 สภาวะ ดังนี้..
- ภาวะที่ ๑ คือ จิตตั้งมั่นเล็กน้อย มีความสงบใจ รับรู้สิ่งภายนอกปกติแต่จิตไม่ฟุ้งซ่านคล้อยกับสิ่งภายนอก
..ลักษณะลมหายใจจะโล่งเบา ไม่หายใจแรง เรื่อยๆ สบายๆ ไม่สั้น ไม่ยาว
- ภาวะที่ ๒ คือ จิตตั้งมั่นขั้นกลาง มีความหนักแน่น ไม่รับรู้ภายนอก หรือเหมือนจะรู้แต่ก็ไม่รับรู้ คือ ใจทำสักแต่ว่ารู้โดยไม่ใส่ใจกับสิ่งภายนอก จิตจะสนใจเฉพาะสิ่งที่อยู่ภายในใจที่จิตความรู้อยู่เบื้องหน้าเท่านั้น มีจิตจดจ่ออยู่แค่สิ่งที่จิตตั้งอารมณ์ไว้อยู่กับใจเท่านั้น
..ลักษณะลมหายใจจะเบาๆ เนิบๆ ใจสงบ สบาย ไม่ข้อง ไม่ขัด ไม่หน่วงตรึง ลมหายใจจะยาวต่อเนื่อง จนถึงยาวมากๆ เบา เนิบ ช้า
..สภาวะนี้จะรู้สึกเหมือน..ใจเราแยกการรับรู้ออกจากกองความคิด หรือสิ่งที่คิด ไม่เกี่ยวเนื่องกัน แต่รับรู้ได้อยู่ว่า..มีความคิดเป็นกองๆ กองนี้คิดอะไร กองนั้นคิดอะไร กองโน้นกำลังจะปรุงแต่งแต้มคิดจากความจดจำหมายรู้อารมณ์ไปในทิศทางใด นี่เรียกรู้ทันความคิดนึก..จนเมื่อจิตละเอียดขึ้น ก็จะรู้ทันความมุ่งหมายของใจ รู้ว่าใจที่กำลังมุ่งหมายนั้นมีจุดประสงค์จะทำอะไร นี่เรียก..รู้ทันเจตนา เมื่อฝึกจนชำนาญแม้ในเวลาปกติทั่วไป..ก็จะสามารถรู้ทันความคิดนึก ความมุ่งหมายของใจ รู้ทันเจตนาของใจได้
..หากผู้ป่วยซึมเศร้าสามารถฝึกเข้าถึงจุดนี้ได้ ก็จะสามารถแก้ไขจัดการสภาวะที่จิตตกภวังค์เข้าสู้อาการซึมเศร้าคิดทำร้ายตัวเองได้ ในทางการแพทย์ยาที่ให้ผู้ป่วยและการคุยบำบัดจิตก็เพื่อปรับการทำงานของสมอง ในเรื่องฮอโนมส์การรู้สึกรับรู้ความรู้สึกต่างๆ เพื่อปรับปรุงเสริมเพิ่มระบบประสาทส่วนที่สึกหรอหรือทำงานผิดพลาดที่มีผลต่อความคิด รับรู้ ความรู้สึก ที่สั่งสมองให้ทำงานให้กลับมาทำงานได้ตามเกณฑ์ปกติ
- ภาวะที่ ๓ คือ ฌาณ จิตตั้งมั่นจดจ่อแนบแน่น เป็นอารมณ์เดียวอยู่ได้นาน
..ลักษณะลมหายใจจะละเอียดมากจนเหมือนไม่หายใจ แต่ก็รู้ได้ว่ากำลังหายใจอยู่ ลมหายใจจะยาวต่อเนื่อง จนถึงยาวมากๆ เบา ละเอียด สบาย
สภาวะนี้จะรับรู้ได้ถึง..จิตจะไม่สนลมหายใจแล้ว มีใจจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน แม้สิ่งนั้นมีแค่แสง-สี ไม่มีอะไรเลยนอดจากนี้ เมื่อจิตละเอียดเข้าลึกขึ้น มีใจจดจ่ออยู่ด้วยสติสัมปะชัญญะ รับรู้อาการสภาวะภายใจกายใจเป็นอย่างๆ เห็นเหตุเกิด เหตุดับของสังขารทั้งปวง จิตทำความรู้ชัดในสภาวะนั้น มีความแจ้งใจผุดขึ้นในอริยะสัจ ๔
2. หลักการใช้ อานาปานสติ เพื่อบำบัดซึมเศร้า
1. ต้องรู้เหตุที่ทำให้สติเกิดขึ้น
2. ต้องรู้วิธีทำให้สติตั้งมั่น
3. ต้องรู้ว่ากายใจตนเองอยู่สภาวะใด
4. ต้องรู้ว่ากายใจที่ปกตินั้น จะสงบรำงับด้วยการทำไว้ในใจอย่างไร
6. ต้องรู้วิธีเข้าไปกำหนดรู้ความรู้สึก..รู้สุขอันเนื่องด้วยกาย กับ สุขอันเนื่องด้วยใจ
7. ต้องรู้วิธีเข้าไปกำหนดรู้เจตนาความนึกคิด
8. ต้องรู้วิธีเข้าไปสงบรำงับเจตนาความนึกคิดนั้น
9. ต้องรู้วิธีขจัดความติดใจข้องแวะ
10. ต้องรู้วิธีกำหนดเข้าไปรู้จิตทำจิตให้ร่าเริง
11. ต้องรู้วิธีเข้าไปกำหนดจิตให้ตั้งมั่น
12. ต้องรู้วิธีกำหนดเข้าไปคลายสิ่งที่ใจผูกติดไว้ออก
13. เมื่อใจที่เข้าไปกำหนดรู้นั้น มีความเป็นผู้รู้ของจริงต่างหากจากสมมติ คือ..
- เห็นสิ่งที่ใจรู้นั้นไม่เที่ยง..ความเข้าไปผูกใจยึดกอดไว้เป็นทุกข์..(กำหนดรู้ทุกข์)
- เห็นสิ่งที่ถูกใจรู้นั้นไม่ใช่ตัวตน..ย่อมคลายกำหนัด..(สมุทัยที่ควรละ)
14. เมื่อใจที่เข้าไปตามรู้นั้น มีความเป็นผู้ตื่นจากสมมติ คือ..
- เห็นความสงบรำงับสิ้นจากสิ่งปรุงแต่งทั้งปวง คือ ธรรมชาติที่สงบ ธรรมชาตินั้นสบาย ธรรมชาตินั้นเป็นสุข..(ทำนิโรธให้แจ้ง)
- การไม่เข้าไปกระทำไว้ในใจให้เกิดความปรุงแต่งห่อหุ้มจิต ย่อมทำให้จิตเข้าเห็นความว่าง ความไม่มี ..ถึงความสละคืนอุปธิทั้งปวง คือ เบิกบานพ้นแล้วจากสมมติกิเลสทั้งปวง..(มรรค)
ด้วยประการข้างต้นนี้..การเข้าถึงวิธีหลุดพ้นทุกข์เหล่าใด จึงต้องมี อริยะสัจ ๔ กำกับรู้เสมอ เพื่อรู้ผลนี้เกิดแต่เหตุใด เหตุนี้ให้ผลสืบต่ออย่างไร ซึ่งอริยะสัจ ๔ นี้สามารถใช้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกสถานการณ์ ไม่จำกัดกาล ดังนั้นทุกครั้งที่จะดับทุกข์ตน ก็ต้องรู้อริยะสัจ ๔ ก่อน หรือแม้จะทำสิ่งใดทุกครั้งในทางโลกหรือทางธรรม ก็ต้องกำหนดอริยะสัจ ๔ ก่อน, หรือแม้แต่จะตอบโจทย์ความต้องการของใจตนเองหรือคนอื่น ก็ต้องกำหนดรู้ อริยะสัจ ๔ ก่อน เมื่อกำหนดรู้ในอริยะสัจ ๔ คิดในอริยะสัจ ๔ ย่อมรู้ชัดโพชฌงค์ ธรรมแห่งการตรัสรู้ ซึ่งเป็นธรรมที่ใช้ขจัดอุปกิเลส หรือ อุปนิสัยเดิมของเราที่เราทำอยู่เป็นประจำๆ
การนำอริยะสัจ ๔ มาใช้เป็นการทำความรู้เห็นตามจริง เมื่อจะนำมาใช้ในทางโลกจะเป็นกาคิดวิเคราะห์พิจารณาไตร่ตรองรู้ คือ ใช้เป็นหลักความคิด หรือ วิธีการคิด เพื่อกำกับรู้ในสิ่งต่างๆเพื่อแก้ทุกข์และปัญหาชีวิตได้..จะสมดั่งคำที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงตรัสสอนไว้ว่า..ความตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง ที่ประกอบไปด้วยประโยชน์ คือ ความตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง อริยะสัจ ๔ เพราะเป็นไปเพื่อความหลุดพ้นทุกข์..ดังนั้นเราจึงควรคิดลงในอริยะสัจ ๔ ให้มาก
3. การคิดลงในอริยะสัจ ๔
อริยะสัจ ๔
• ทุกข์ (ความไม่สบายกายไม่สบายใจทั้งหลาย)..ทุกข์ ควรกำหนดรู้
• สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์)..สมุทัย ควรละ
• นิโรธ (ความดับทุกข์, ถึงที่สิ้นสุดแห่งกองทุกข์)..นิโรธ ควรทำให้แจ้ง(ทำให้ปรากฏขึ้นเห็นแจ้งชัด)
• มรรค (ทางแห่งการดับทุกข์)..มรรค ควรเจริญให้มาก(ตั้งใจปฏิบัติทำให้เต็มบริบูรณ์)
3.1 การนำอริยะสัจ ๔ มาใช้ไตร่ตรองพิจารณาในทุกข์และปัญหาชีวิต
ข้อนี้จะต้องทำคู่กับ กฎอิทัปปัจยตา เพื่อรู้ว่าผลนี้เกิดแต่เหตุใด และรู้ว่า เหตุนี้ให้ผลสืบต่ออย่างไร โดยอาศัยกฎว่า เพราะสิ่งนี้มี-สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ไม่มี-สิ่งนี้จึงไม่มี
- ทุกข์ หรือ ปัญหาชิวิตของเราเป็นแบบไหน..(กำหนดรู้การกระทำ..ที่ควรกำหนดรู้)
- เหตุแห่งทุกข์ หรือ ต้นเหตุปัญหาของเราคืออะไร..(รู้เหตุกระทำ..ที่ควรละ)
- ความดับทุกข์ หรือ ความหมดสิ้นปัญหาของเราเป็นแบบไหน..(รู้สภาวะหมดเหตุกระทำ..ที่ควรทำให้แจ้ง)
- ทางดับทุกข์ หรือ ทางแก้ปัญหาของเราคืออะไร..(รู้ทางดัับเหตุกระทำ..ที่ควรเจริญให้มาก)
3.2 การคิดแบบอริยะสัจ ๔ เพื่อรู้ในสัจจะ
วิธีฝึกคิดในสัจญาณ (เพื่อรู้ว่าสิ่งนี้คือตัวทุกข์, สิ่งนี้คือสมุทัย, สิ่งนี้คือนิโรธ, สิ่งนี้คือมรรค)
๑. การหาตัวทุกข์ เป็นการ..กำหนดรู้การกระทำ..กำหนดรู้ลักษณะของการกระทำที่เกิดขึ้น, กำหนดรู้กิริยาอาการของการกระทำที่เกิดขึ้นอยู่นี้
..เพราะสิ่งใดมี-สิ่งนี้จึงมี, เพราะสิ่งใดไม่มี-สิ่งนี้จึงไม่มี
๒. การหาสมุทัย เป็นการ..สืบสาวถึงเหตุให้กระทำ..พิจารณาจากสิ่งที่กระทำว่า ผลนี้เกิดแต่เหตุใด มีอะไรเป็นเหตุ
..สืบค้นหาสิ่งที่เป็นเหตุให้เกิดการกระทำนั้นๆขึ้นมา(เพราะสิ่งใดมี-สิ่งนี้จึงมี), การกระทำนี้จะไม่เกิดมีขึ้นมาได้..หากไม่มีในสิ่งใดเป็นเหตุ(สิ่งใดไม่มี-สิ่งนี้จึงไม่มี)
๓. การหานิโรธ เป็นการ..การเห็นแจ้งสภาวะที่หมดเหตุให้กระทำ..รู้ลักษณะ, กิริยา, อาการ, องค์ประกอบเหตุที่ทำให้เกิด..สภาวะที่หมดเหตุให้กระทำ..นั้นปรากฏขึ้นและดำรงอยู่
..เพราะไม่มีสิ่งใดอยู่..นิโรธนี้จึงเกิดมีประจักษ์แจ้งขึ้นมาได้(เพราะสิ่งใดไม่มี สิ่งนี้จึงมี), เพราะมีสิ่งใดอยู่..จึงทำให้นิโรธที่ประจักษ์แจ้งนี้ตั้งดำรงอยู่ได้(เพราะสิ่งใดมี-สิ่งนี้จึงมี)
๔. การหามรรค เป็นการ..รู้แจ้งทางดับเหตุให้กระทำ..พิจารณารู้ชัดในสภาวะนิโรธว่า มีการกระทำในสิ่งใด(สภาวะนี้มีการกระทำอย่างไร)-ไม่มีการกระทำในสิ่งใด(สภาวะนี้ไม่มีการกระทำอย่างไร)
..มีอะไรเป็นเหตุ(มรรค)กระทำให้(นิโรธ)เกิดขึ้น(เพราะสิ่งใดมี-สิ่งนี้จึงมี)..มีอะไรเป็นเหตุ(มรรค)กระทำให้(สมุทัย)ดับไป(เพราะสิ่งใดมี-สิ่งนี้จึงไม่มี)..เหตุแห่งการกระทำ(มรรค)อันใดเมื่อมีแล้ว-จะดับละเหตุแห่งการกระทำ(สมุทัย)อันนั้น..(เหตุละเหตุ)
..เมื่อทำให้มากในมรรค ก็จะทำให้มรรครวมองค์กันเป็นหนึ่งเดียว(มัคคสมังคี) เข้าสู่..โพชฌงค์ ๗ ละสังโยชน์ แล้วจะเดินเจ้าถึงวิชชา คือ อริยะสัจ ๔ ทำกิจญาณ
3.3 การนำมาใช้พิจารณาแก้ไขปัญหาหรือดับความดับทุกข์
๑. ทำความเข้าใจในทุกข์ หรือ ทำความเข้าใจปัญหาชีวิต กำหนดรู้ทุกข์หรือปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อรู้แจ้งชัดว่าตัวทุกข์ที่แท้จริงคืออะไร หรือ รู้ตัวปัญหาที่แท้จริงนั้นว่าคือสิ่งใด และรู้เหตุสืบต่อของมัน กล่าวคือ..รู้การกระทำ กำหนดรู้ว่าการกระทำใดที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้มีอารมณ์ความรู้สึกที่เป็นความโศรกเศร้า ร่ำไร รำพัน อัดอั้น คับแค้น กายใจ ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์ ความพรัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์ ความปารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์..ก็ความทุกข์หรือปัญหาในประการทั้งปวงนั้นมีอยู่ได้..ด้วยเพราะอาศัยสิ่งใด..เพราะมีอะไรที่ดำรงอยู่กับกายใจเรา จึงทำให้เกิดทุกข์หรือปัญหาในประการทั้งปวงเหล่านั้น..กำหนดรู้ตัวตนที่แท้จริงของมัน..น้อมไปในเหตุ
๒. ละที่เหตุแห่งทุกข์ หรือ ละต้นเหตุของปัญหา อาศัยจากการรู้ตัวทุกข์แล้วพิจารณาจากผลไปสู่เหตุ ว่าผลนี้เกิดแต่เหตุใด..สิ่งใดมี-ความทุกข์จึงมีสืบต่อ, สิ่งใดไม่มี-ความทุกข์นั้นจึงไม่มีสืบต่อ แล้วทำให้ความไม่มีทุกข์ปรากฏขึ้นมาได้..กล่าวคือ..รู้เหตุให้กระทำ แล้วละเหตุแห่งทุกข์และปัญหาเหล่านั้น
..(ทุกข์ ที่แสดงผลอยู่นี้ มีอะไรเป็นเหตุทำให้ทุกข์นั้นเกิดขึ้นมาได้..เพื่อรู้สมุทัย)
..(สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ที่รู้แล้วนี้ เมื่อดับไปแล้วจะมีอะไรเป็นผล..เพื่อแจ้งนิโรธ)
..(เป็นการพิจารณารู้ชัดว่า..ผลนี้มีอะไรเป็นเหตุ เพื่อหาสมุทัยจากทุกข์ และ พิจารณาจากเหตุไปสู่ผล เพื่อรู้ว่าเมื่อละสมุทัยตัวนั้นแล้ว ทุกข์ดับสิ้นจริงไหม ถูกตรงแล้วหรือไม่ และความดับสิ้นไปได้จริงนั้นมีสภาวะยังไง ยังคงมีสิ่งใดติดค้างอยู่อีกไหม(กตญาณ)..สิ่งนี้ถ้าเป็นผู้มีปัญญาทำกิจหยั่งรู้แล้ว เมื่อเข้าสภาวะทำก็สามารถเห็นได้ทันทีครบอริยะสัจ ๔ แต่เราเพียงปุถุชนคนธรรมดาปกติทั่วไป การเข้าถึงกิจญาณนั้นยาก เพราะเป็นของพระอริยะเจ้าเท่านั้น เราแค่คนธรรมดาจึงยังต้องอาศัยการเข้าไปวิเคราะห์ไตร่ตรองให้รู้ชัดซึ่ง เหตุสืบต่อไปสู่ผล และ จากผลสืบค้นมาหาเหตุ แต่การทำเช่นนี้ก็เป็นการฝึกในกิจญาณแบบปุถุชนเช่นกัน และเป็นการฝึกปฏิสัมภิทาญาณไปในตัวด้วย)
๓. ทำความสิ้นไปแห่งทุกข์ให้แจ้ง หรือ ทำความหมดสิ้นปัญหาให้แจ้ง คือ ให้ปรากฏขึ้น, เกิดขึ้น จนเห็นแจ้งชัด..กล่าวคือ..รู้แจ้งในสภาวะที่หมดเหตุให้กระทำ เพื่อรู้สิ่งสำคัญดังนี้..
ประการที่ 1 คือ เพื่อรู้ว่าความสิ้นสุดทุกข์ที่แท้จริง หรือ ความหมดสิ้นปัญหาที่แท้จริง..นั้นเป็นอย่างไร
ประการที่ 2 คือ เพื่อให้รู้แจ้งว่าเราได้ดับเหตุแห่งทุกข์หรือเหตุของปัญหาหมดสิ้นจริงแล้วหรือไม่ ยังคงมีการกระเพื่อมสั่นคลอนอยู่ไหม เมื่อตามรู้สภาวะนิโรธจะยังเห็นมีตะกอนอันเป็นเหตุแห่งทุกข์อยู่อีกหรือไม่
ประการที่ 3 เพื่อให้รู้ชัดในมรรค รู้ว่ามรรคมีประการใดบ้างจากสภาวะธรรมของนิโรธ เพื่อทำมรรคให้มาก เพื่อทำมรรคให้บริบูรณ์
ด้วยความสำคัญทั้ง 3 ประการ จึงต้องรู้ว่า นิโรธ นี้แท้จริงแล้วเป็นอย่างไร มีลักษณะอาการแบบไหน มีอะไรเป็นองค์ประกอบร่วม มีการกระทำในสภาวะนั้นอย่างไร มีได้เพราะอะไร มีสิ่งใด ไม่มีสิ่งใด..เพราะสิ่งใดมี-ความดับทุกข์จึงมี, เพราะสิ่งใดไม่มี-ความดับทุกข์จึงมี
..(เพราะละสมุทัยตัวใดไป นิโรธที่มีแสดงผลอยู่ดังที่ประจักษ์แจ้งนี้ จึงปรากฏขึ้นได้..สิ่งใดดับไป สิ่งนี้จึงเกิดมีขึ้น, แล้วตามรู้สภาวะของนิโรธว่า..มีกิริยาอาการของจิตอย่างไร มีองค์ประกอบร่วมยังไง และการกระทำของจิตในสภาวะนั้นเป็นอย่างไร นิโรธนี้จึงปรากฏแสดงได้ สิ่งใดมี-สิ่งนี้จึงมี เพื่อหาเหตุที่ใช้ละเหตุ(มรรค))
๔. ทำในทางดับทุกข์ หรือ ทางแก้ไขปัญหาให้มาก โดยพิจารณาเมื่อแจ้งนิโรธว่า เพราะสิ่งใดมี-ความดับทุกข์จึงมี, เพราะสิ่งใดไม่มี-ความดับทุกข์จึงมี, กำหนดรู้การกระทำของจิตในสภาวะนิโรธ..แล้วเฟ้นหาเหตุที่ทำให้การกระทำนั้นๆในสภาวะของนิโรธเกิดขึ้น เทียบเคียงกับสภาวะและกิริยาอาการของสมุทัย..เพื่อสืบค้นหาสิ่งที่ใช้ละสมุทัย สิ่งใดเป็นปฏิปักษ์กับสมุทัย..มรรค จึงได้ชื่อว่า เหตุละ หรือ เหตุละเหตุ..แล้วตั้งใจทำให้มาก เพื่อทำให้มรรคเต็มบริบูรณ์
..(นิโรธที่แสดงผลอยู่นี้ เพราะสมุทัยตัวใดดับ แล้วมีอะไรเป็นเหตุทำให้สามารถละสมุทัยตัวนั้นได้..ต้องใช้สิ่งใด มีวิธีทำอย่างไร..ใช้สิ่งใดละสิ่งใด..พิจารณาหาเหตุละ)
..(เป็นการพิจารณารู้ชัดว่า..ผลนี้มีอะไรเป็นเหตุ และ ทำเหตุใดละเหตุใด)
(ในทางธรรมนี้..เมื่อเกิด มัคคสมังคี ก็จะเข้าเห็นในมหาสติปัฏฐาน ๔ สังขารุุเปกขาเกิดขึ้น จิตเห็นสังโยชที่นอนเนื่องและที่เกิดขึ้นแล้ว จิตเดินเข้าโพชฌงค์พิจารณาใคร่ครวญเทียบเคียงสังโยชเพื่อละสังโยช เมื่อจิตทำการละสังโยช อริยะสัจ ๔ ทำกิจในรอบ ๓ อาการ ๑๒ สัจจะญาณ กิจจะญาณ กตะญาณ)
3.4 ตัวอย่างการเฟ้นหามรรค ในตัวอย่างที่ยกมานี้ เป็นเฟ้นหาแบบคนที่ยังไม่รู้ธรรมละ ไม่รู้โพชฌงค์ตามกาล แต่เฟ้นหามรรคเอาตามสภาวะธรรมที่เห็น
ตัวอย่างเฟ้นหามรรค เช่น..
..ร้อนเป็นไฟสุมใจ อัดอั้น คับแค้นกายใจ..จากความโกรธ เคียดแค้น พยาบาท ชิงชัง..(ทุกข์)
..ทุกข์นั้นมีอะไรเป็นเหตุ ความไม่พอใจ ความโกรธแค้นพยาบาทนั่นเอง..ดังนี้ โกรธ คือ..สมุทัย เป็นเหตุให้เกิดไฟสุมใจเราขึ้น ละโกรธ ได้เราก็จะดับทุกข์นั้นได้..(ละสมุทัย)
..เมื่อละโกรธแล้ว ผลจากการละโกรธได้นั้น มีสภาพเช่นไร จิตที่ดับโกรธได้แล้วเป็นไฉน จิตปกติทีัไม่มีโกรธเป็นอย่างไร น้อมใจไปตามรู้สภาพแห่งความดับโกรธนั้น
..สภาพใน นิโรธ ที่ โกรธดับ มันเป็นอย่างไรเมื่อน้อมไปตามรู้ก็จะเห็นสภาพจิตใจ..มันปรอดโปร่ง มันอิ่มเอม มันซาบซ่าน มันโล่ง มันเบา มันสบายเย็นใจ ..(กำหนดรู้ นิโรธ)
..ก็ในนิโรธนั้นจิตที่มีสภาพลักษณะที่ปรอดโปร่ง อิ่มเอม ซาบซ่าน โล่ง เบา สบาย เย็นใจ นั้นเกิดได้ด้วยประการใดหนอ..จิตกระทำกิริยาอาการอย่างไร ไม่กระทำกิริยาอาการอย่างไร..(ทำนิโรธให้แจ้ง)
..เมื่อน้อมใจตามรู้ก็จะเห็นสภาวะกิริยาอาการที่จิตกระทำดำเนินไปอยู่..มีอาการที่ใจปลดออก ปล่อยออก ไม่ผูก ไม่ดึง ไม่ติด ไม่ข้อง ไม่ขัด ไม่แวะ ไม่หน่วง ไม่ตรึง มีกิริยาอาการที่ใจเปิดกว้างออก ขยายออกกว้าง ขยายความอิ่มสบายออก แผ่ออกกระจายไป
..แล้วเราจะทำไฉนหนอ จึงจะดับโกรธนั้นได้ ใช้สิ่งใดดับ..(เฟ้นหามรรค คือ พิจารณาหาเหตุเพื่อละเหตุ)
- จากนิโรธที่เกิดขึ้น..เมื่อได้พิจารณาดูแล้ว มันเย็นใจ เบา สบาย ปรอดโปร่ง
- ส่วนโกรธเมื่อเกิดขึ้น..มันร้อนเร่าเป็นไฟสุมใจ อัดอั้น ติดขัด ไม่ปรอดโปร่ง
- ในนิโรธนั้นจิตมีการกระทำของจิตที่ปลดออก ปล่อยออก ไม่ผูกดึง ไม่ข้อง ไม่ขัด เปิดกว้าง แผ่ขยายออก
- ส่วนในโกรธนั้นจิตมีการกระทำที่ผูกตรึง ขึงรัด ผูกมัดไม่ยอมปล่อย มันเอาสิ่งที่ผูกดึงไว้นั้นมาสุมรวมระคนกันทำให้ใจถูกปิดกัน มันคับ มันแคบ กระทุ้ง กระแทก ทำให้เบียดอัดแน่น ปะทุขึ้น
- (เมื่อสังเกตุดูแล้ว ทั้งสภาพจิต สภาวะจิต การกระทำกิริยาอาการของจิตระหว่าง ความโกรธ กับ นิโรธ จะมีสภาพตรงข้ามกันเสมอ)
- แล้วประการดังนี้เราจะดับยังไง..(พิจารณาสืบค้นจากผลไปหาเหตุ)
..ที่เกิดอาการอัดอั้น → เป็นผลมาจากความคับแคบกีดกั้นภายในใจ → ความคับแคบกีดกั้นของใจ เกิดจากการกระทำที่ใจดึงเอาสิ่งที่ผูกมัดมาสุมรวมระคนกันไว้ → ที่ใจดึงสิ่งที่ผูกมัดมาสุมรวมกันได้ เพราะมีสิ่งที่ใช้ผูกมัด → ที่มีสิ่งผูกมัดได้ เพราะใจผูกปมโซ่ตรวนนั้นไม่ปล่อย..โดยปมที่ผูกมัดนั้น ร้อยรัดสิ่งที่รู้สัมผัสด้วยความรู้สึกไม่พอใจยินดี หรือ ที่รู้สัมผัสด้วยความรู้สึกยินร้ายเอาไว้
..นี่ใช่ไหมที่เรียก มีปมในใจ , ผูกปมไว้ในใจ
..นี่แสดงว่าเรา..รู้เหตุที่ควรละแล้ว..รู้เป้าหมายแล้ว
- พิจารณาจากเหตุที่สืบต่อไปหาผล
..เมื่อปล่อยไม่มีโซ่ตรวนที่ผูกปมเอาไว้ออก → ก็ไม่มีสิ่งที่ไม่พอใจยินดี ไม่มีสิ่งที่ยินร้ายทั้งหลายมาผูกมัดขึ้นไว้กับใจ → เมื่อไม่มีสิ่งใดมาผูกมัด ก็ไม่มีสิ่งใดที่จะดึงมากีดกั้นใจ → เมื่อไม่มีสิ่งที่จะดึงมากีดกั้นใจ ก็ไม่มีความแออัดภายในใจ → เมื่อไม่มีความแอดอัดในใจ ใจก็ไม่คับแคบ → เมื่อใจไม่คับแคบ ก็ไม่มีความอัดอั้น → เมื่อใจไม่อัดอั้น ใจก็ปลอดโปร่ง
- เมื่อพิจารณาเห็นก็รู้เหตุที่ควรละ นั่นก็คือ..การผูกปมเอาไว้ในใจ..เมื่อการผูกปมในใจเป็นกระกระทำของจิตฝ่ายโกรธแล้ว จากที่เราพิจารณานิโรธมา..จะเห็นได้ว่าจิตมีการกระทำที่ตรงข้ามกับโกรธเสมอๆ..ดังนั้นสิ่งตรงข้ามกันกับ..การผูกปม ก็คือ..การแก้ปมในใจ
- เมื่อใจผูกปม เราก็ต้องแก้ปม คลายปม แล้วจะใช้สิ่งใดคลายปมนั้นได้ละ..สิ่งที่มีลักษณะคลายปมออก..ก็คือ อภัยทาน
..อภัยทาน มีลักษณะที่..ปล่อยผ่าน คลายออก ไม่ผูกปม
..อภัยทาน ความหมายว่า..ไม่ถือสาหาความ ไม่ถือโทษ ไม่ถือโกรธ ไม่ยึดมาใส่ใจ ไม่เอามาผูกตั้งไว้ในใจ ไม่ผูกเงื่อนโกรธ
..เมื่อมาถึงจุดนี้จะเห็นได้ว่า..เราเห็นทางแก้โกรธแล้ว และจะเข้าใจมากขึ้นเลยว่า ทำไมพระท่านกล่าวว่า โกรธ ก็รู้จักให้ อภัย แล้วจะไม่เป็นทุกข์
..ทำให้หวนคิดใส่ใจตนเองว่า..นี่เรามัวทำอภัยทานด้วยการปล่อยนกปล่อยปลาอย่างเดียวเลย..จนลืมที่จะทำ..อภัยทานที่เป็นการปล่อยโกรธในใจตัวเอง..ลืมอภัยทานทั้งต่อตนเอง คือ ปล่อยละความโกรธในใจตนที่เป็นไฟสุมใจเราให้หมองไหม้อยู่ และ ผู้อื่นที่ทำให้เราขัดเคืองใจในเบื้องหน้าอยู่นั้น..แต่กลับเอาความโกรธ แค้น พยาบาท มาผูกมัดร้อยรัดกายใจตนเองไว้ไม่ปล่อย ก็เลยเป็นทุกข์สุมไฟใส่ใจตนเองต่อเนื่อง โหมไฟโทสะในใจตนจนหมองไหม้กายใจทุกข์ทรมาน..นี่มันแค่นี้เอง..แค่ปล่อยโกรธ ละความสืบต่อ เพื่อเป็นการสละให้ความสุขเกิดมีแก่กายใจตนเองและผู้อื่น ความสละให้นี้เป็นมหาทาน ความไม่สืบต่อนี้ก็คือเราได้ปล่อยวางแล้ว คือ ไม่สืบต่อไฟโทสะสุมใจเราอีก
..นี่แสดงว่าเรา..รู้จุดมุ่งหมาย..ในสิ่งที่จะใช้แก้ทางของไฟโกรธแล้ว
- แล้วเราจะเข้าถึงอภัยทานจิตนี้ได้ยังไง ก็ให้เรา..วิเคราะห์หาเหตุใกล้..ให้อภัยทานจิตเกิดขึ้นในใจ..อีกครั้ง
..สิ่งใดที่ทำให้ใจเราปล่อยผ่านได้ คลายได้ มีสิ่งให้ทำให้เราเข้าถึงได้หนอ เมื่อหวนระลึกถึงสภาวะของนิโรธ ที่แผ่กว้างออก ปรอดโปร่ง เย็นใจ..เมื่อการอภัย คือ การแก้ปม มีลักษณะ ปล่อย คลายออก การทำไว้ในใจให้เข้าถึงของอภัยทานจิต การทำไว้ในใจนั้นก็ต้องมีลักษณะที่ทำให้ ใจคลายปมออก นั่นเอง
..คุณลักษณะของการคลายออก แผ่ออก เปิดกว้าง..การเปิดกว้าง มีใจกว้าง..เป็นลักษณะของความเอื้อเฟื้อน้อมไปในการสละ สงเคราะห์เกื้อกูล มีจิตใจดีต่อกัน ไม่ติดใจข้องแวะกัน ซึ่งคุณลักษณะนี้เป็นของ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา นั่นเอง ดังนั้นการจะเข้าถึง อภัยทานจิต ได้ ก็ต้องอาศัย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา..ธรรม 4 ประการนี้ คือ อาการของจิต เป็นธรรมที่เป็นอารมณ์ความรู้สึก คือ เวทนา เป็นธรรมที่ประครองอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด
..ก็ด้วยประการนี้แล การดับโกรธ ก็คือ..การ อภัยทาน..การจะเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกที่จิตมีลักษณะ ปล่อย คลายออก ก็ต้องใช้ ธรรม 4 ประการ คือ..
- เมตตา คือ มีใจกว้าง เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่
- กรุณา คือ มีใจสงเคราะห์ เกื้อกูล
- มุทิตา คือ จิตใจดีต่อผู้อื่น
- อุเบกขา คือ ความไม่ติดใจข้องแวะ ไม่สืบต่อกรรม(การกระทำ)
- สาเหตุที่การพิจารณาสืบค้นหาเหตุนี้..สิ้นสุดที่การผูกปมในใจ เพราะคนทุกคน มีแค่กายกับใจ การแก้ความปรุงแต่งกระทำจิตภายใน จึงสิ้นสุดที่ใจเรานี้เท่านั้น เพราะอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดทั้งปวง..มีใจเป็นผู้น้อมไป(มนสิการ) มีใจเป็นผู้กระทำ(เจตนา) มีใจเป็นผู้ผูกยึด
3.5 การใช้..อริยะสัจ 4..แก้ทุกข์ตามกาลขั้นพื้นฐาน..เพื่อน้อมใจเข้าสู่โพชฌงค์ ๑๔ ตามกาล
๑. เมื่ออยากได้ต้องการใคร่เสพย์ ใคร่ครอง กระหาย โหยหา กระสันอยาก กำหนัด
- เป็นเวลาที่ควรแก่การน้อมหา..อริะยสัจ ๔ ทำสัมมาทิฏฐิให้เกิดขึ้น ใช้ปัญญาดับ กำหนดรู้ทุกข์ เพื่อให้เห็นตัวทุกข์(เห็นตัวยึด) เมื่อเห็นตัวทุกข์ใจย่อมน้อมหาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์นั้น จะเห็นสมุทัยที่ควรละ(เห็นตัวปารถนา) เมื่อเห็นสมุทัยย่อมตื่นรู้ เมื่อตื่นรู้ย่อมมีใจคลายเคลื่อนออกจากสมุทัยที่ใจผูกติดไว้อยู่(ไม่ผูกใจติดตรึงทำตัวตนไว้ในใจ, คลายตัวตนออกจากใจ) จิตเข้าสู่นิโรธ เห็นสุขในนิโรธ เห็นกิริยาจิตที่กระทำในสภาวะนิโรธ..ก็คือมรรคนั่นเอง มีใจน้อมเข้าสู่การกระทำจิตอย่างนั้นแนบแน่นเป็นหนึ่งเดียว(มัคคสมังคี)
..จิตที่โลภ ใคร่ กำหนัด กระหาย โหยหา อยากได้ เป็นเวลาที่ควรแก่การกำหนดรู้ เพื่อให้ใจเข้าถึง..อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
๒. เมื่อทุกข์ระทม เครียด พะวง กลัว โศรกเศร้า ร่ำไร รำพัน อ่อนไหวง่าย
- เป็นเวลาที่ควรแก่การน้อมหา..นิโรธ ความดับพ้นทุกข์ ให้ใช้นิโรธดับ ให้ระลึกถึงผลอันหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สิ่งทั้งปวง เพื่อดับความเครียด พะวง กลัว โศกเศร้า ร่ำไร รำพัน ระคน อัดอั้น คับแค้นกายใจ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจทั้งหลายนั้น เพราะเป็นเหตุใกล้ให้ดับทุกข์
..จิตที่อัดอั้น กระวนกระวาย โศรกเศร้า อึดอัด ไม่สบายกายใจทั้งปวง เป็นเวลาที่ควรแก่ความสุข คือ นิโรธ..จะไม่เครียดทุกข์กระวนกระวายกายใจอีก จนรู้วิธีทำไว้ในใจให้เข้าถึงความสุขโสมนัสที่เนื่องด้วยใจตนเองได้ เป็นเหตุให้รู้ว่าสุขหรือทุกข์มันอยู่ที่ใจเราเลือกเสพ
๓. เมื่อยามปกติจิตสบายเย็นใจ ผ่องใส ปลอดโปร่ง แช่มชื่น ชื่นบาน อิ่มเอม ซาบซ่าน รื่นรมย์เป็นสุข
- เป็นเวลาที่ควรแก่การน้อมหา..นิโรธ, สมุทัย, มรรค เพื่อทำความแจ้งชัดในนิโรธ กำหนดรู้สภาวะจิตที่ปกติเป็นสุขว่ามีลักษณะอาการอย่างไร เห็นองค์ประกอบในนิโรธ เห็นการกระทำของจิต เพื่อรู้ว่า..สิ่งใดไม่มี-สิ่งนี้จึงมี..สิ่งใดที่ดับไปไม่มีอยู่ก็คือ..สมุทัย..เป็นเหตุที่ควรละ และ สิ่งใดมี-สิ่งนี้จึงมี..สิ่งใดที่เป็นสภาวะจิตที่กำลังกระทำดำเนินไปอยู่ก็คือ..มรรค..เป็นเหตุที่ใช้ละเหตุ ที่ควรทำให้มากจนเต็มบริบูรณ์..ทำให้ใจไม่เครียด
..จิตที่ผ่องใสเป็นสุข เป็นเวลาที่ควรแก่การรู้วิธีสร้างสุขให้แก่ตนเอง รู้สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำในใจ
๔. เมื่อใดตกภวังค์ ไม่รู้สึกตัว หดหู่ ย้ำคิดย้ำทำ ซึมเศร้า จิตห่อเหี่ยวนอนเนื่อง หน่วงตรึงจิต ขาดความรู้สึกตัว
- เป็นเวลาที่ควรทำความ..กำหนดรู้(สติ)ใน ทุกข์ และสมุทัย เพื่อให้ใจตื่นรู้จากภวังค์กองวังวนความคิด เข้ามารู้สัมผัสโสมนัส..ความสุขที่เนื่องด้วยใจ เมื่อตามรู้พิจารณาทุกข์ย่อมเกิดความรู้สึกตัว เมื่อแจ้งใจในเหตุย่อมตื่นรู้ เหตุแห่งทุกข์ย่อมไม่สืบต่อ ย่อมเกิดปิติ สงบ สุข นิโรธ ความรู้ตัวทั่วพร้อมย่อมเกิด เพราะเป็นเหตุใกล้..สติ สัมปัญญะ และปัญญา
..การจมกับความคิดเพราะยึดติดเอามาเป็นตัวเป็นตนแนบแน่นกับใจ เหตุที่ยึดแนบแน่นมากเพราะปารถนามาก ซึ่งเป็นปารถนาที่จะได้รับสุขจากภายนอก ทำให้ย้ำคิดย้ำทำจนเอาเข้ามาสะกดจิตตนเอง ดังนั้นจึงต้องทำให้มีสติสัมปะชัญญะ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม น้อมไปรู้โสมนัสความสุขของแท้ที่เนื่องด้วยใจตนเอง ไม่ต้องอาศัยเอาสิ่งใดมาผูกเป็นเครื่องสุขกับใจตน
..จิตที่หดหู่ ซึมเศร้า ถูกห่อหุ้ม ปิดกั้น ย้ำคิดย้ำทำ ลืมตัว เป็นเวลาที่ควรแก่การทำให้จิตตั้งขึ้น สติจะทำให้จิตตั้งขึ้น ทำความรู้สึกตัว การกำหนดรู้จะช่วยให้ใจตื่นรู้แยกออกจากวังวนแห่งกองความรู้สึกนึกคิด การพิจารณาเห็นสิ่งที่ควรละจะทำให้เกิดความรู้ตัวทั่วพร้อมแยกออกจากกองความคิดที่ใจจมดิ่งอยู่
..ก็เมื่อฝึกทำทั้ง ๔ ประการ นี้เป็นประจำ ก็จะเห็นเข้าใจชัดในโพชฌงค์ ๑๔ และ นิวรณ์ ๑๐(สังโยชน์ ๑๐)..
4. วิธีที่ผู้เขียนแบ่งปันการใช้ อานาปานสติบำบัดเครียดและซึมเศร้า ในที่นี้..เป็นการใช้ปัญญาอันน้อยนิดของปุถุชนทำไว้ในใจให้เข้าถึงจากข้อปฏิบัติทั้งหมดใน 3 ข้อข้างต้น แล้วประมวลมาเพื่อใช้ลมหายใจคู่กับการทำไว้ในใจ
1. รู้ทันลมหายใจ เป็นเหตุเกิดให้สติ
2. รู้ลมหายใจตามจุดพักลม เพื่อให้สติตั้งอยู่ต่อเนื่องที่ลม
3. กำหนดหมายใน อวิปติสสาร คือ ความสบายเย็นใจ มีใจปรอดโปร่ง เพื่อให้กายใจที่เร่าร้อนอยู่สงบรำงับลง
4. กำหนดหมายรู้ ปราโมทย์ ปิติ ปัสสัทธิ สุข คือ ความแช่มชื่น ความซาบซ่าน อิ่มเอมใจ ความสงบ ความว่าง เพื่อเข้าถึงความสุข
5. กำหนดหมายจดจ่อที่ลมหายใจเพื่อให้จิตตั้งมั่น
ตัวอย่างที่ 1. เวลาที่เจอสถานการณ์ตรึงเครียด
ภาวะกดดันที่ต้องรีบเร่งที่จะเอาให้ได้ กดดันให้ต้องทำให้ได้ ตื่นกลัวจะทำไม่ได้ กลัวจะทำผิดพลาด ตกใจ ลุ้นระลึก กระวนกระวาย คุร่นคิด ว้าวุ่นใจ กลัวทำไม่ได้ รนราน ทำอะไรไม่ถูก..ไม่ว่าจะที่บ้าน โรงเรียน เพื่อนๆ สภาพแวดล้อมที่ตรึงเครียดวุ่นวาย ให้ทำดังนี้
เวลาที่เจอสถานการณ์ตรึงเครียด