..หลังจากชิวให้คำแนะนำเรื่องรู้ตน และภูได้ฝึกรู้ตนในหมวดกายแล้ว ภูก็เริ่มหลับสบายขึ้น ปรอดโปร่งขึ้น จนระยะเวลาพักฟื้นบำบัดจิตภูผ่านไปได้ 3 วัน..
Time Line
1. ภูฆ่าตัวตายวัน ศุกร์ ช่วง 13:00
2.รพ.จนเช้าวันเสาร์ พบจิตแพทย์ ออกจาก รพ. ในช่วงเช้า 9:00
3. ภูวิ่งให้รถชนวันเสาร์กลังจากไปเตะบอล 17:00
4. วันอาทิตย์ ภูไปซื้อข้าวพบข่าวนักเรียนกระโดดตึกฆ่าตัวตาย คนกล่าวถึงกรรมฆ่าตัวตายทำให้ภูกลัว และได้เรียน การรู้ตนหมวดกาย จากชิว
5. วันอาทิตย์-วันจันทร์-วันอังคาร ชิวให้ภูฝึกการรู้ตนหมวดกาย หลังอาหาร วันละ 3 ครั้ง ดังนี้..
- ฝึกรู้สถานะตนเองในสถานการณ์ปัจจุบัน
- ฝึกเดินจงกรม 20 นาที
- ฝึกนั่งสมาธิ 20 นาที
- ฝึกตรวจสอบอัตภาพร่างกาย 10 นาที
..พบจุดด้อยหรือปัญหาทางจิตและร่างกายว่า..
๑. สติ-สัมปะชัญะ และ สมาธิสั้น ไม่สามารถจดจ่อตั้งใจอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน จำอะไรนอกจากสิ่งที่ตนสนใจได้ไม่ค่อยดี กระวนกระวายง่าย เครียดง่าย
..เป็นผลมาจาก ภูนั้นเล่นแต่เกม ไม่เคยรับรู้โลกภายนอก ไม่ฝึกทำสมาธิ อยู่แค่สิ่งที่ชอบ สิ่งที่เป็นหน้าที่แต่ไม่ชอบใจก็หลีกหนี เช่นการศึกษาเรียนรู้เพิ่ม การทำงานบ้าน การบ้าน ฯ
..ชิวจึงแก้ด้วยการ ทุกๆเช้าให้ภูออกมาสูดอากาศนอกบ้าน มองสภาพแวดล้อมกว้างๆ สูดรับความสุขและรับรู้สภาพแวดล้อม และนอกจากเดินจงกรมและทำสมาธิทั่วไปแล้ว ก็ให้ภูฝึกตั้งสติไว้เฉพาะจุด เช่น รู้ลมหายใจเข้า-ออกโดยจับไว้ที่ปลายจมูก หายใจเข้า-ออก 1 รอบ นับ 1 ทำวันละ 50 ครั้ง เพื่อให้สติกับสมาธิตั้งจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ แม่จะชอบไม่ชอบใจก็ตาม แต่ก็ต้องทำ
๒. การเขียนลำบาก เขียนช้า มือแข็ง เกร็ง กดน้ำหนักเยอะ ปวดมือง่าย
..เป็นผลมาจาก ภูนั้นจำทีละคำแล้วเขียน ทำให้เขียนช้า และ ภูมีวิธีเขียนโดยวางมือในการจับ..ดินสอ-ปากกา แบบนี้มาตั้งแต่เด็กจนเคยชิน อีกทั้งเล่นแต่เกม ไม่เคยฝึกเขียนที่ถูกวิธี พอสะสมนานเข้าเอ็นและกล้ามเนื้อจึงหดเกร็ง ไม่สามารถเขียนตัวหนังสือให้สวยๆได้
..ชิวจึงแก้ด้วยการ ให้ภูเปลี่ยนการกระทำใหม่..ให้เขียนหนังสือโดยการ อ่าน-จำให้เป็นประโยคเว้นวรรคที่ยาวขึ้น และ ฝึกวิธีเขียนใหม่โดย ลดแรงกดปากกา ไม่ลงน้ำหนักมือแรง หัดวาดภาพเส้นตรง-โค้ง-งอ วาดเป็นมุมรูปเลขาคณิต วาดวงกลม วาดรูปภาพต่างๆ และระบายสี โดยที่ไม่ใช้ไม้บรรทัด..แล้วค่อยๆยืดเส้นข้อมือ ฝึกขยับไล่นิ้วมือแต่ละนิ้ว
๓. กำลังแขนและขาต่ำ และ เหนื่อยหอบง่าย
..เป็นผลมาจาก ภูแทบจะไม่เคยออกกำลังกายเลย เอาแต่นั่งเล่นเกมนานๆ และ นั่งเขียนการบ้านนานๆเหตุเพราะเขียนช้า
..ชิวจึงแก้ด้วยการ ให้ภูฝึกวิ่งจ๊อกกิ้งเบาๆ เช้า-เย็น จากหน้าบ้านไปปากซอย ไปท้ายหมู่บ้าน กลับมาบ้าน..ระยะทางประมาณ 200 ม. แล้วยืดเส้นแขน-ขา บริการข้อเท้า ข้อมือ ยืดเส้นข้อมือ ข้อเท้า ใช้เวลา 40 นาที
..ตลอดระยะเวลา 3 วัน ที่ฝึกโดยตั้งใจ ไม่อิดออด ภูก็เริ่มเคยชินกับการฝึกบำบัด ใจภูเริ่มโล่งขึ้น ปรอดโปร่งขึ้น สติไวขึ้น สงบขึ้น สุขภาพร่างกายดีขึ้น เริ่มมีกำลังแขนขา จับเขียนได้ดีและเขียนได้เร็วขึ้น ลดแรงกดปากกาลง ทำให้ปวดมือน้อยขึ้น
- เช้าวันพุธ 9:00 น. หลังอาหารเช้า และภูทานยาเสร็จ ชิวบินออกมาวนรอบภู เพื่อทบทวนวิธีรู้ตนในหมวดกายกับภูก่อนพักผ่อน -
ชิว : ชิวววว... Ꮚ\(。◕‿◕。)/Ꮚ ...ภูมาทบทวนจุดมุ่งหายการฝึกกัน..
ภู : (人*´∀`)。*゚+ โอเชเยย..
ชิว : ข้อ 1. เราฝึกรู้สถานะตนเอง ต่อสถานการณ์ เพื่ออะไร
ภู : เพื่อรู้ตัวเอง รู้สถานะตน รู้ขอบเขตบทบาทหน้าที่ รู้สิ่งที่ตนเองต้องทำในสถานการณ์นั้นๆ งับป๋ม
ชิว : ถั่วต้ม..เอ๊ย ถูกต้องนะครับ (。•̀ᴗ-)✧
ชิว : ข้อ 2. เราฝึกรู้ทันลมหายใจ เพื่ออะไร
ภู : เพื่อทำให้สติเกิดขึ้น มีกำลังเกิดบ่อยขึ้น และไวขึ้น งับป๋ม..
ชิว : ถั่วต้ม..เอ๊ย ถูกต้องนะครับ (。•̀ᴗ-)✧
ชิว : ข้อ 3. เราฝึกรู้สิ่งที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบัน และเดินจงกรมเพื่ออะไร
ภู : รู้กำลังสุขภาพ-เพื่อดูแลรักษา, รู้คุณค่าของกายนี้-เพื่อไม่ทำร้ายตนเอง, รู้ผลของการกระทำ-เพื่อการพัฒนาแก้ไขตนเองงับ
ชิว : สุดยอดไปเลย ภูเก่งมากเลย (。•̀ᴗ-)✧
ชิว : สำหรับหลักของการนำไปใช้ มีดังนี้..
: เวลาที่รู้สึกไม่สบายใจจาก..ความวิตกกังวล..มีความรู้สึกที่..เคร่งเครียด คือ ใจไม่ดี, ตื่นกลัว, ประหม่า, วิตกกังวลใจกับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน..หรือ..ว้าวุ่นใจ คือ ใจไม่ดี, กลุ้มใจ ห่วง พะวง วิตกกังวลกับเรื่องในอนาคต ที่ตนกลัวว่าจะเกิดขึ้นในทางไม่ดี กล่าวคือ..ความกระสับกระส่าย, ใจไม่ดี, สับสน, วุ่นวายใจ, ครุ่นคิด, กระวนกระวายใจ, หนักใจ, วิตกกังวล, ย้ำๆคิดย้ำๆทำ, กลุ้มใจ, งุ่นง่านกายใจ, พะวงใจ, กังวลใจเป็นห่วง
ภู : อ่า..เวลาคิดจนเครียด (;ŏ﹏ŏ)
ชิว : ใช่..เวลาคิดจนเครียด..เป็นเวลาที่ควรแก่การผ่อนคลาย เพราะความเครียดและความว้าวุ่นใจ มีลักษณะที่ใจเราคร่ำเคร่ง หรือ ใจเราผูกตรึงกังวล คือ ใจเราไปดึงเอาเรื่องใดเรื่องหนึ่งมาครุ่นคิด..จนทำให้ใจรู้สึกไม่ดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องในเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน หรือ เรื่องในอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น แต่ใจเราให้ค่าความสำคัญจนเอานึกคิดไปให้พะวงใจ
ภู : เวลาเครียดภูจะปวดหัว ปวดท้องโรคกระเพาะกำเริบ จุกเสียดที่อกที่คอ ถ้าเรอออกจะหาย แต่มันมักจะอ้วกนี่สิ
ชิว : ใช่แล้ว..นั่นเครียดลงกระเพาะ ความดันขึ้นสูง..ภูต้องระวังนะ บางครั้งมันตรึงเครียดอ่อนๆ จะเป็นเหมือนแค่ความรู้สึกที่งุ่นง่านอ่อนๆ ระคนใจ กระสับกระส่ายรนรานอ่อนๆ รู้สึกเหมือนใจไม่นิ่ง ใจไม่เป็นที่สบาย แต่ก็ไม่รู้ว่าคืออะไร ตรงนี้หากใจเราไม่สงบนิ่งตามรู้อาการ เราก็จะไม่รู้ว่ามีภาวะความขึงเครียดระคนอยู่ในขณะนั้น ภูต้องหัดสังเกตุอาการร่างกายจิตใจตนเองไว้นะ
ภู : รับแซบงับ..!!!
ชิว : ให้แก้ความคิดตรึงเครียดนั้น ด้วยการเอา “พุทโธ” เป็นที่พึ่งของกายและใจ จะช่วยให้เราเรียกสติจากลมหายใจได้ดีขึ้น แล้วสามารถใช้ลมหายใจเป็นเครื่องยึดให้น้อมใจไปในกิริยาจิตที่ความผ่อนคลายได้ง่าย
ภู : ทำยังไงอะชิว

ชิว : “พุทโธ” คือ การระลึกถึงพระพุทธเจ้า ซึ่งคำว่า..พุทโธ นี้เป็น คุณสมบัติหนึ่งของพระพุทธเจ้าที่แปลว่า “ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน”
ภู : งืมๆๆ.. (๑•﹏•)
ชิว : “ผู้รู้” คือ รู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบัน เป็นการรู้สึกตัวเท่าทันปัจจุบันขณะ..ก็คือ..
1. มีสติ ระลึกรู้จดจำได้ว่า..สภาวะสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนอยู่นั้น มันคือ ความคิด
2. มีสัมปะชัญญะ รู้ตัวได้ว่า..ตนกำลังครุ่นคิดอยู่, รู้ตัวว่าตนกำลังหลงครุ่นคิดในสิ่งใด..รู้ตัวว่าขณะนี้ตนกำลังหลงจมดิ่งอยู่ในภวังค์ความคิดนั้นอยู่..พร้อมทั้งหวนระลึกได้ว่าตนกำลังจะทำสิ่งใดก่อนจะตกภวังค์ และ รู้ตัวว่าปัจจุบันตนกำลังกระทำสิ่งใดอยู่..เป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมไม่จมดิ่งอยู่กับวังวนความคิด คือ ไม่สืบต่อวังวนความคิดให้จิตจมดิ่งลงสู่ภวังค์นั้น..จนไม่รู้สึกตัวอีก..สติ+สัมปะชัญญะ ที่เกื้อหนุนกันจนเต็มบริบูรณ์ เรียกว่า ความรู้ตัวทั่วพร้อม สัมปะชัญญะเป็นตัวคุมสติ จึงชื่อว่า ปัญญา
(ภวังค์ในที่นี้..เป็นการตกจมอยู่ในกองวังวนอารมณ์ความรู้สึกความคิด)
ภู : ว้าวๆๆ !!.. แค่เดินจงกรม รู้ว่าตนเอง ยืน เดิน นั่ง นอน และกำลังทำสิ่งใดอยู่ในปัจจุบัน ก็ได้ปัญญาแล้ว นี้ภูคือผู้มีปัญญานะนี่.. (*˘︶˘*).。*♡
ชิว : ใช่แย้ว.. Ꮚ\(◍•ᴗ•◍)/Ꮚ✧*。
ชิว : “ผู้ตื่น” คือ ตื่นจากภวังค์ เป็นการรู้กิจที่ควรทำ แล้วทำกิจที่ควรทำนั้น ข้อนี้คือ..ญาณ ที่เรียกว่า..ปัญญาหยั่งรู้ ได้แก่..
กิจที่ 1 คือ รู้ว่าการจมอยู่กับความคิด..เป็นทุกข์ เราควรดึงใจตนเองขึ้นมา..ยกออกจากภวังค์ความคิดที่ติดตรึงอยู่นั้น..เพื่อออกมารู้สึกตัวว่าตนกำลังจะทำกิจการงานใดอยู่ในปัจจุบัน..แล้วทำในกิจที่ 1 นี้ทันที
กิจที่ 2 คือ รู้ว่าสิ่งที่เอามานึกคิดอยู่นี้มีโทษ..สาเหตุที่ทำให้เอาสิ่งนั้นมาคิดควรละ สิ่งที่เอาคิดอยู่นั้นเป็นภัย เราไม่ควรหยิบยกเอาสิ่งนั้นมาคิดอีก..สาเหตุที่เราเอาสิ่งนั้นมาคิดเป็นเพราะอะไร..แล้วละที่เหตุนั้น, ละความคิดโดยดับที่เหตุเกิดของสิ่งที่คิดนั้น..(หากไม่รู้เหตุเกิดของความคิดนั้น..ก็ให้ระลึกตั้งมั่นในใจว่า..เราจะไม่สืบต่อความคิดนั้นอีก.. แล้วละที่เจตนาความนึกคิดนั้น)..แล้วทำในกิจที่ 2 ทันที
กิจที่ 3 คือ รู้สุขจากการเลิกนึกคิดในสิ่งนั้น..ผลนี้ควรทำ รู้ว่าเมื่อเหตุความคิดนั้นดับไปแล้ว เรามีกายใจเป็นสุขอย่างไร ไม่ตกอยู่ในวังวนความคิด ไม่หน่วงตรึงจิต ไม่ร้อนรนเป็นไฟสุมใจ ไม่กระวนกระวายใจ ไม่งุ่นงานกายใจ ไม่พะวงกังวลใจ มันมีความเย็นเบาใจแค่ไหน มันร่าเริงเบิกบานใจยังไง ซาบซ่านเพียงไร มันสงบสบายใจเช่นไร มันปลอดโปร่ง แช่มชื่น รื่นรมย์ เป็นสุขมากเท่าใด..แล้วทำในกิจที่ 3 ทันที
กิจที่ 4 คือ รู้วิธีทำไว้ในใจเพื่อดับความรู้สึกนึกคิดนั้น..ก็อาการความรู้สึกใดที่มีเมื่อดับเหตุของสิ่งที่เอามาคิดนั้นได้ สิ่งนั้นควรทำให้มาก, ก็กิริยาการกระทำใดที่ตรงข้ามกับการกระทำให้เกิดความคิดนั้นแหละ คือ มรรค สิ่งที่ควรทำให้เกิดมีขึ้นในใจให้มาก..แล้วทำในกิจที่ 4 นี้ให้มาก
ภู : อ่า.. (。・ˇ_ˇ・。) ชิวอธิบายเพิ่มได้มั้ยอะ นึกภาพไม่ออกเบย.. (☞ ಠ_ಠ)☞
ชิว : งั้นก็ยกตัวอย่างเช่น..
๑. เมื่อเราเอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับสิ่งใด → มันก็เกิดเป็นความวิตกกังวล → มันก็เกิดเป็นไฟสุมใจเราให้หมองไหม้เพราะสิ่งนั้น เป็นความทุกข์ทน อึดอึดใจ อัดอั้นใจ คับแค้นกายใจ ทรมานกายใจ เสียใจ ความไม่สบายกายไม่สบายใจทั้งปวง
๒. เมื่อเราดับเหตุนั้นได้ ก็คือ..เมื่อเราเลิกเอาใจของตนไปผูกใคร่ปารถนาที่จะได้เสพในสิ่งที่ตนติดตราตรึงใจ(สุข)จากสิ่งอื่นใดภายนอกได้..หมายความว่า..เราเลิกเอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับใครได้..สุขนั้นก็จะอยู่ที่เรา เกิดขึ้นที่ใจเรา ไม่ใช่จากใครอื่น ใจก็โล่ง เบา สบาย ปลอดโปร่ง ร่าเริง เบิกบานใจ
๓. สิ่งที่ดับไป ก็คือ..ความร้อนรุ่มเป็นไฟสุมใจเรา และ สิ่งที่เกิดขึ้น ก็คือ..ความโล่ง เบา สบาย ปลอดโปร่ง ร่าเริง เบิกบานใจ
๔. เมื่อทำทั้ง 3 ข้อข้างต้นครบ เราก็จะเห็นว่า..
๔.๑) สิ่งที่ควรละ คือ การผูกใจปารถนาเอาความสุขสำเร็จของตนจากผู้อื่น
๔.๒) สิ่งที่ควรทำให้มาก คือ ทำสุขที่เนื่องด้วยใจของตนโดยไม่อิงอาศัยผู้อื่นให้มาก..ดังนั้นเราก็คอยหมั่นตรึกนึกคำนึงถึงและทำสะสมเหตุในสิ่งที่ดีมีความสุขต่อกายใจเราโดยที่ไม่ต้องไปอิงอาศัยให้ได้รับมาจากผู้อื่นให้มาก → หมั่นนึกถึงและทำในสิ่งที่มีความโล่งเย็นใจ เบาใจ ผ่อนคลายกายใจ เย็นกายสบายใจ ปลอดโปร่ง ร่าเริง เบิกบานใจ..โดยปราศจากความเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ให้เกิดขึ้นกับกายใจตนให้มากๆ → เพราะเมื่อเราทำสะสมเหตุให้มากจนเต็มกำลังใจ → ใจเราก็จะรู้ว่าสุขนี้มันอยู่ที่ใจเราไม่ใช่ใครอื่นใด → ใจเราก็จะคลายจากความผูกใคร่ปารถนาเอาความสุขสำเร็จของตนจากใครอื่นใด → แล้วใจเราก็จะหยุดกระทำความผูกใจปารถนาสุขจากผู้อื่นด้วยตัวของมันเองอัตโนมัติ..เพราะใจเห็นแจ้งชัดว่า สุขนั้นไม่ยังยืน เป็นทุกข์ บังคับควบคุมไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตนแห่งสุขที่แท้จริง จิตไม่เห็นสิ่งใดที่น่าติดตราตรึงใจ จิตไม่กระทำนำไปสู่ความปล่อย ละ วาง สละคืน
ภู : อ่า.. (。・ˇ_ˇ・。) ชิวย่อลงได้มั้ยอะ งงๆ.. (☞ ಠ_ಠ)☞
ชิว : กล่าวสรุปย่อๆ..
ผู้ตื่น ก็คือ ตื่นออกจากความคิด → เลิกคิดสิ่งนั้น → เลิกพะวงคาดหวัง → แล้วทำใจให้สงบ สบาย ผ่องใส ปรอดโปร่ง ผ่อนคลาย เป็นสุข
ภู : โอเชเยย !!..เข้าใจแระงับ (*˘︶˘*).。*♡
ชิว : ผู้เบิกบาน คือ เบิกบานหลุดพ้นจากความคิดทั้งสิ้นนั้นแล้ว เข้าวิมุตติสุข (ถึงความสงบ ความว่าง ความไม่มี ความสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นสุข) ไม่ปารถนาเอาความสุขจากสิ่งอื่นใดภายนอกแล้ว นั่นคือ..ความอิ่มเต็มกำลังใจ เพียงพอแล้วไม่ต้องการอีก (เพราะกามมันอิ่มไม่เป็น) มีลักษณะอาการของจิตที่ แช่มชื่น เบิกบาน ผ่องใส ภาวะที่ปรอดโปร่ง, อิ่มเอม ซาบซ่านใจ ภาวะที่อิ่มเต็มกำลังใจ, ความสงบสบาย เย็นใจ ผ่อนคลายกายใจ ภาวะที่ใจปกติ เย็นใจ กายสบาย ใจสบาย ปราศจากความเบียดรุมเร้าทั้งภายนอกและภายใจกายใจตน อาการที่ใจไม่มีความติดใจข้องแวะสิ่งใดๆในโลก, จิตที่ร่าเริง รื่นรมย์ ชื่นบาน เป็นสุข เบาโล่งไม่หน่วงตรึงจิต ภาวะที่มีความแช่มชื่น รื่นรมย์ ซาบซ่านพลั่งพลูแผ่ขยายขึ้นเต็มในใจทำให้ใจชื่นบาน
ภู : อ่า..เบิกบาน คือ ความสุขที่หลุดพ้นจากทุกข์ คือ พ้นจากความคิด ไม่พะวงคาดหวัง ไม่ปารถนาเอาความสุขจากผู้อื่นนี่เอง เข้าใจละงับ ( ╹▽╹ )
ชิว : ดีมาก ภูเก่งมาก Ꮚ\(◍•ᴗ•◍)/Ꮚ✧*。
ชิว : เมื่อเข้าใจถึงความเป็น พุทโธ แล้ว ทีนี้เรามาเริ่มวิธีปฏิบัติกันเลย ง่ายนิดเดียว
ภู : โอเชเยย !!.. (*˘︶˘*).。*♡
ชิว : “พุทโธ”..เราจะใช้เป็นคำบริกรรมกำกับคู่ลมหายใจ ใช้เป็นคำกำกับรู้ความหมายของการกระทำ ดังนี้..
เราระลึกคำว่า “พุท“ กำกับให้ใจรู้..แทนการหายใจเข้า
เราระลึกคำว่า “โธ” กำกับให้ใจรู้..แทนการหายใจออก
แล้วให้ทำดังต่อไปนี้..
1. ปักหลักรู้ลมไว้ที่ปลายจมูก หายใจเข้ายาวๆ เนิบๆ สบายๆ บริกรรมในใจว่า “พุท“ โดยลากเสียงคำว่า..“พุท”..ยาวตามลมหายใจเข้า มีใจรับรู้ถึง..ลมหายใจที่ผ่านเข้าปลายจมูก → ลมเคลื่อนตัวซัดผ่านมากระทบเบื้องหน้า..แผ่ซ่านเอาความผ่องใส เย็นใจ ซาบซ่าน สงบ สบาย ชื่นบาน เป็นสุข → เมื่อใกล้ถึงปลายลมหายใจเข้า(ใกล้สุดลมหายใจเข้า)ที่เคลื่อนผ่านเข้ามา ให้เราเอาใจรับรู้ถึงควมเย็นซ่านไปถึงโพรงกะโหลกสมอง ทำให้สมองโล่ง ปรอดโปร่ง..ปราศจากความคิด..จนสุดลมหายใจเข้า → แล้วนิ่งค้างไว้ 3 วินาที ก่อนหายใจออก
**(ในกรณีที่ทำดังนี้แล้วปวดหัว ก็ให้ปักหลักจับรู้ลมหายใจเข้า แค่ที่ปลายจมูก หรือ เบื้องหน้า หรือ ท้องน้อย เลือกจับเอาเพียงจุดเดียวเท่านั้นพอ เลือกจุดที่เรารับรู้ง่ายสุด สบายกายใจที่สุด..โดยให้ทำความรู้ไว้ในใจว่า..“พุท”..คือ กิริยาอาการที่ลมหายใจหอบเอาเย็นซ่าน เป็นที่สบายกายใจ ปราศจากความคิด แผ่ไหลเข้ามาจากที่ปลายจมูก หรือ แผ่ซ่านในเบื้องหน้า หรือ ไหลมาที่ท้องน้อย)**
2. หายใจออกยาว บริกรรม “โธ” ลากเสียงยาวตามลมหายใจออก รับรู้ถึงลมหายใจทำให้เกิดความรู้สึกที่..โล่งเบา สบาย ปลอดโปร่ง ผ่อนคลาย..ปราศจากความคิด → ตามลมหายใจออกที่เคลื่อนผ่านออกจากโพรงกะโหลกสมอง → เคลื่อนผ่านแผ่ซ่านมาเบื้องหน้า → เคลื่อนออกทางปลายจมูกนั้น..จนสุดลมหายใจออก
**(ในกรณีที่ทำดังนี้แล้วปวดหัว ก็ให้ปักหลักจับรู้ลมหายใจออก แค่ที่ปลายจมูก หรือ เบื้องหน้า หรือ ท้องน้อย เลือกจับเอาเพียงจุดเดียวเท่านั้นพอ เลือกจุดที่เรารับรู้ง่ายสุด สบายกายใจที่สุด..โดยให้ทำความรู้ไว้ในใจว่า..“โธ”..คือ กิริยาอาการที่ลมหายใจออกทำให้เกิดความรูสึกที่โล่ง เย็นซ่าน ปลอดโปร่ง ผ่อนคลาย เป็นที่สบายกายใจ ปราศจากความคิด ลมหายใจไหลออกมาจากที่ปลายจมูก หรือ แผ่ซ่านในเบื้องหน้า หรือ ไหลมาที่ท้องน้อย)**
ภู : อธิบายจำกัดความสั้นลงได้มั้ยชิว จะได้เข้าใจง่าย จำได้ง่ายๆ (。・ˇ 。 ˇ・。)
ชิว : จำกัดความง่ายๆ สั้นๆ เลยก็คือ เอากิริยาจิต หรือคุณสมบัติที่เป็น “ผู้เบิกบาน จิตเข้าวิมุตติสุข” ของพระพุทธเจ้า มาเป็นอารมณ์ที่ตั้งของจิตใจเรา
1. “พุท” คือ ลมหายใจเข้า..ที่มีแต่ความสุข สบาย เบิกบานกายใจ
2. “โธ” คือ ลมหายใจออก..ที่มีแต่ความสุข เบิกบานผ่อนคลายกายใจ
ชิว : จริงๆแล้ว “พุทโธ” นี้ สามารถนำมาปฏิบัติทำได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกความรู้สึกเลยนะ เพราะทำได้ง่ายๆ แต่มีคุณประโยชน์สูง ทั้งเสริมกำลังให้สติปัญญาเกิดขึ้นบ่อยๆ ทำให้สติปัญญามีกำลังดึงใจออกจากภวังค์ความคิดได้ง่าย ทั้งเสริมพลังใจให้เข้มแข็ง ทำให้จิตใจตั้งมั่น รวมเป็นหนึ่งเดียว มั่นคงไม่อ่อนไหวง่าย เป็นปัญญาทำรู้สัจจะและกิจที่ควรทำของอริยะสัจ ๔ ด้วย..ขอแค่ภูจดจำสิ่งที่ต้องทำ ตามการจำกัดความหมายของคำบริกรรมได้ก็พอ
ภู : เยี่ยมเลยงับป๋ม..
ชิว : สรุป..ทุกครั้งที่ภาวนา ให้จดจำไว้เลยว่า เราทำ “พุทโธ”..ก็เพื่อคุณ 3 ประการดังนี้ คือ..
หลักการภาวนา “พุทโธ” 3 ประการ
1. มีใจมุ่งหมายจะทำให้จิตเราเป็น “พุทโธ..ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน” ตามพระพุทธเจ้า
2. มีใจมุ่งหมายจะทำให้จิตเรา..ตื่นรู้ออกจากภวังค์ความคิด → เลิกคิดในสิ่งนั้น → เลิกพะวงคาดหวัง → แล้วทำใจให้สงบ สบาย ผ่องใส ชื่นบาน ปลอดโปร่ง ผ่อนคลาย เป็นสุข
3. มีใจมุ่งหมายเอาวิมุติสุข คือ กิริยาจิตที่แช่มชื่น เบิกบานใจ ปลอดโปร่ง เย็นใจ รื่นรมย์ เป็นสุข พ้นแล้วจากสมมติกิเลสของปลอมทั้งปวง ให้ปรากฏขึ้นภายในกายใจตน ไม่ยึดความคิด ไม่ยึดสิ่งที่ใจรู้ทั้งปวง..เพราะมันเป็นสมมติกิเลสทั้งสิ้น ยึดมันไปก็มีแต่ทุกข์ (ทั้งเรื่องที่ใคร่ปารถนา-ไม่ชอบใจ-ไม่สบายใจ, ทั้งอาการที่อึดอัด อัดอั้น คับแค้นกายใจ ไม่สกายใจทั้งปวง) ของแท้มีแค่ลมหายใจเรานี้เท่านั้น ลมหายใจนี้ไม่มีทุกข์ ลมหายใจที่ไม่มีโทษ ลมหายใจนี้ไม่มีภัย ลมหายใจเป็นที่สบาย อย่าทิ้งลมหายใจ อย่าทิ้งพุทโธ แล้วทำดังนี้..
หายใจเข้ายาว-เบาสบาย-ช้า ระลึก “พุท” ลากเสียงยาวตามลมหายใจ พัดเอาความสุข ปลอดโปร่ง แช่มชื่น เบิกบาน เป็นวิมุติสุข เข้ามาตามลมหายใจเข้า
หายใจออกยาว-เบาสบาย-ช้า ระลึก “โธ” ลากยาวตามลมหายใจ ทำให้ใจเป็นสุข ชื่นบาน ร่าเริง ผ่อนคลายกายใจ เป็นวิมุติสุข
********************************
(“พุท” คือ ลมหายใจเข้า ที่เป็นสุข แช่มชื่น เย็นใจ ซาบซ่าน ปลอดโปร่ง พ้นแล้วจากสมมติคความคิดกิเลสของปลอม ไม่ยึดสิ่งที่ใจรู้ทั้งปวง เป็นวิมุติสุขที่เข้ามาสถิตย์ในใจ)
(“โธ” คือ ลมหายใจออก ที่เป็นสุข แช่มชื่น เย็นใจ ซาบซ่าน ผ่อนคลาย พ้นแล้วจากสมมติคความคิดกิเลสของปลอม ไม่ยึดสิ่งที่ใจรู้ทั้งปวง เป็นวิมุติสุขที่เข้ามาสถิตย์ในใจ)
(วิมุตติสุข แปลว่า สุขเกิดจากวิมุตติ สุขเกิดจากความหลุดพ้น..ความสงบ ความว่าง ความไม่มี ความสละคืนพ้นจากสมมติกิเลสของปลอม ไม่ยึดสิ่งที่ใจรู้ทั้งปวง)
ภู : โอเชเยย..!!! (人*´∀`)。*゚+ ..แต่ภูกินยาแล้วเหมือนจะหลับเยย แหะๆๆๆ
ชิว : งั้นภูนอนทำ “พุทโธ” แล้วหลับไปเลยนะ
ภู : โอเชเยย..!!! (人*´∀`)。*゚+ ..แต่ภูกินยาแล้วเหมือนจะหลับเยย แหะๆๆๆ
..แล้วภูก็นอนแล้วทำ “พุทโธ” จนหลับไปตอน 10:00 น. ( ु⁎ᴗ_ᴗ⁎)ु.。oO ( ु⁎ᴗ_ᴗ⁎)ु.。oO ( ु⁎ᴗ_ᴗ⁎)ु.。oO ..
..หลังจากภูตื่นขึ้นมาตอน 13:00 น. ก็ล้างหน้าล้างตา เดินออกไปซื้อข้าวอีกครั้ง..
..ตอนภูซื้อข้าว ก็เจอลุงป้าแถวบ้าน ที่เป็นทั้งพ่อแม่ของกลุ่มเพื่อนภู และคนที่รู้ข่าวภูฆ่าตัวตาย..
ป้า : อ้าวภูมาซื้อข้าวหรอลูก
ภู : ใช่ครับป้า
ป้า : ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง สุขภาพจิตใจดีขึ้นหรือยัง
ภู : ตอนนี้ดีขึ้นมากแล้วครับป้า..เดี๋ยวผมกลับก่อนนะครับ
ป้า : จ้า..
ลุง : ภูเข้มแข็งนะ สู้ๆ อย่าฆ่าตัวตายอีกนะ ภูเก่งเรื่องแค่นี้ผ้านได้สบายแน่นอน
ภู : ครับลุง (ノ◕ヮ◕)ノ*.✧ โย่ว..!!
..แล้วภูก็เดินกลับบ้านอย่างยิ้มแย้มแจ่มใส เพราะรู้สึกว่าลุงๆป้าๆให้ความห่วงใย คุยดีด้วย..
..พอกลับถึงบ้านบ้าน ภูก็ทานข้าวตามปกติ แล้วก็ทำ “พุทโธ” 20 นาที..
..เมื่อภาวนาพุทโธเสร็จ ภูก็เปิดเกมเล่น ทั้ง Robox ทั้ง PG เมื่อเล่นไปในเกม คุยสตรีมกับเพื่อนในเกมที่ร่วมทีมกลุ่มเดียวกัน ภูมีเล่นเก่งบ้าง ชนะบ้าง แพ้บ้าง ส่วนมากจะแพ้ ภูก็ไปเอาเงินไปเติมเกมซื้อไอเทมเพื่อกวังว่าจะเก่ง เพื่อนในทีมจะชมชอบ แล้วเล่นต่อ แล้วก็แพ้อีกไม่มีเงินซื้อไอเทม เพื่อนในทีมก็เริ่มด่าภู
A : ภูมึงไอ้อ่อนเอ๊ย..
B : ภูมึงกากจังวะ แทนทีจะคุมดูแต่เสือกเดินไปให้เขายิง โคตรโง่เลยมึง
ภู : นิ่งเงียบ โดยนั่งรู้ลมหายใจเข้าออก บริกรรม พุทโธ แต่ทำแบบกดข่มใจไว้อัดแน่นในใจ จนลืมลมหายใจ ไม่น้อมใจเอาความสุข เบิกบานใจ วิมุตติสุขใดเข้ามาในใจ จนเหลือกลายเป็นคำบ่นพร่ำว่า พุทโธ ย้ำๆสะกดใจกดข่มบีบอัดไว้
C : ควายจริงมึงไอ้ภู แม่งมีไอเทมดีๆแต่เสือกอ่อน
ภู : นิ่งเงียบ โดยนั่งรู้ลมหายใจเข้าออก บริกรรม พุทโธ แต่ทำแบบกดข่มใจไว้อัดแน่นในใจ จนลืมลมหายใจ ไม่น้อมใจเอาความสุข เบิกบานใจ วิมุตติสุขใดเข้ามาในใจ จนเหลือกลายเป็นคำบ่นพร่ำว่า พุทโธ ย้ำๆสะกดใจกดข่มบีบอัดไว้
ภู : อ่า..โทษนะ เราเล่นไม่เก่ง
A : เล่นไม่เก่งก็อย่ามาเข้าทีมสิวะ ไอ้อ่อน
ภู : นิ่งเงียบ โดยนั่งรู้ลมหายใจเข้าออก บริกรรม พุทโธ แต่ทำแบบกดข่มใจไว้อัดแน่นในใจ จนลืมลมหายใจ ไม่น้อมใจเอาความสุข เบิกบานใจ วิมุตติสุขใดเข้ามาในใจ จนเหลือกลายเป็นคำบ่นพร่ำว่า พุทโธ ย้ำๆสะกดใจกดข่มบีบอัดไว้
C : เลิกคุยกับมันเหอะ อยู่ร่วมทีมแล้วแม่งแพ้ตลอด
B : เออว่ะ ไปดีกว่า
ภู : หายใจเข้าออก บริกรรม พุทโธ แต่ทำแบบกดข่มใจไว้อัดแน่นในใจ จนลืมลมหายใจ ไม่น้อมใจเอาความสุข เบิกบานใจ วิมุตติสุขใดเข้ามาในใจ จนเหลือกลายเป็นคำบ่นพร่ำว่า พุทโธ ย้ำๆสะกดใจกดข่มบีบอัดไว้
..แล้วเพื่อนทุกคนก็ออกจากกลุ่มเหลือภูคนเดียว ก็เลยเล่นโหมดคนเดียว แต่ก็ไม่มีเพื่อนคนอื่นเข้ามาทักหรือคุยด้วยเลย..พอเล่นไปสักพัก ภูก็รู้สึกอัดอั้นใจร้องไห้ออกมา..
ภู : ฮือ...ฮือ..ว้ากกกกกกก !!! .·´¯`(>▂<)´¯`·. ทำไมมีแต่คนเกลียดภูห๊ะ ทำอะไรให้นักหนาห๊ะ ...ฮือๆๆๆๆ...อ้ากกกก...ฮือฮือ.. 。:゚(;´∩`;)゚:。
ชิว : ชิวววว... Ꮚ\(。・`-´・。)/Ꮚ ... ชิวบินวนรอบตัวภู แล้วมาจับแก้มภู เป็นอะไรหรือเปล่า..ลองทำพุทโธยัง..ทำพุทโธ..ก่อน
ภู : ภูทำแล้วแต่ไม่ช่วยเลย ฮือ....
ชิว : อ่าใจเย็นๆนะ ทำแบบไหนอะ
ภู : ก็หายใจเข้าพุท หายใจออกโธ แต่ความคิดมันปะทุ ภูก็ย้ำพุทโธในใจรัวๆแล้วก็ไม่ได้ ฮือๆๆ
ชิว : โอ่เอ้...ชิวรู้แล้วๆ
ภู : ฮือ..ฮือ..
ชิว : ภูทำตามชิวใหม่นะ ฟังชิวนะภู ทำตามชิวพูดนะ ชิวววว... Ꮚ\(。・`-´・。)/Ꮚ ...
..ภูผงกหัว พยักหน้ารับทั้งน้ำตา.. (。ŏ﹏ŏ) ..
ชิว : ภูหลับตา..ทำไว้ในใจไม่ยึดเอาสิ่งใดที่ใจรู้ทั้งปวง ทั้งเรื่องที่ทุกข์ ทั้งความคิด ความอัดอั้นตันใจ แล้วเอาใจปักหลักจับไว้ที่ปลายจมูก → แล้วหายใจเข้าบริกรรม “พุท” กำหนดลมหายใจเข้า เบาๆ ช้าๆ ยาวๆ ลึกๆ..โดยนึกถึงความรู้สึกที่เป็นสุข ซาบซ่านแผ่ซัดตามลมหายใจเข้าจากปลายจมูก → ผ่านโพรงจมูก → เข้ามาที่หน้าภู ..ลมหายใจนั้นเป็นที่สบาย ไม่มีทุกข์ ไม่มีโทษ ไม่มีความคิด → พอใกล้จะสุดลมหายใจให้นึกถึงความสุขแผ่ซ่านไปทั่วโพรงสมอง ทำให้สมองปลอดโปร่ง โล่ง สบาย เย็นใจ → รู้ปลายลมหายใจที่โพรงสมอง → ความเย็นใจ ซาบซ่าน สบาย ปลอดโปร่ง มีอยู่ที่โพรงสมอง → เมื่อสุดลมหายใจเข้าให้กลั้นลม นิ่ง แช่ไว้..รับรู้ถึงความแช่มชื่น ปลอดโปร่งที่โพรงสมอง นับ 1-2-3
ภู : ( ´> _ <` )«°×°⁰«°⁰×°⁰«
ชิว : แล้วหายใจเข้าบริกรรม “โธ” กำหนดลมหายใจออก เบาๆ ช้าๆ ยาวๆ..โดยนึกถึงความรู้สึกที่เป็นสุข เย็นใจ เราจะปล่อยทิ้งกายใจที่เศร้าหมองเสียใจนี้ออก..จากโพรงสมอง → มาที่เบื้องหน้าภู → ทำความผ่อนคลายกายใจออก..ตามลมเคลื่อนผ่านโพรงจมูก → ออกไปที่ปลายจมูก → แผ่กายใจภูออก คลายออก → ปล่อยกายใจสบายๆ ไม่จับสนอะไรนอกจากการปล่อย คลายออก → รู้ปลายลมหายใจออกสิ้นสุดที่ปลายจมูก นิ่ง แช่ ปล่อยออก นับ 1-2-3
ภู : ( ´◡‿◡` )•»•°⁰»°⁰»°⁰
ชิว : ปักหลักรู้ลมหายใจอยู่ที่ปลายจมูก หายใจเข้า บริกรรม “พุท” นึกถึงความสุข ซาบซ่าน พรั่งพรูเข้ามาตามลมหายใจเข้า จากปลายจมูก → เข้ามาปะทะซ่านที่เบื้องหน้าภู → ความแช่มชื่น ปลอดโปร่งเข้าไปที่โพรงสมอง
ภู : ( ´◡‿◡` )*•°⁰ °⁰ °⁰
ชิว : หายใจออก บริกรรม “โธ” นึกถึงความสุข ซาบซ่าน ผ่อนคลายกายใจ พรั่งพรูออกมาตามลมหายใจออกจากสมอง → มาที่เบื้องหน้าเรา → เคลื่อนออกทางโพรงจมูก → ไปที่ปลายจมูก → ทำกายใจให้ปล่อยออก คลายออก แผ่ออก สบายกายใจตามลมหายใจออกที่ปลายจมูก
ภู : ( ´◡‿◡` )*•°⁰ °⁰ °⁰
ชิว : ปักหลักรู้ลมหายใจเข้าที่ปลายจมูก หายใจเข้า บริกรรม “พุท” ลากเสียงยาวตามลมหายใจเข้า → พัดเอาความสุขชื่นบานจากปลายจมูก → เข้ามาปะทะที่เบื้องหน้าภู
ภู : ( ´◡‿◡` )*•°⁰ °⁰ °⁰
ชิว : ปักหลักรู้ลมหายใจเข้าที่เบื้องหน้า หายใจออก บริกรรม “โธ” ลากเสียงยาวตามลมหายใจออก → พัดเอาความสุขชื่นบานซ่านดระทบที่เบื้องหน้าภู → ปรอดโปร่ง สบาย ผ่อนคลาย ตามลมหายใจออกที่ปลายจมูก
ภู : ( ´◡‿◡` )*•°⁰ °⁰ °⁰
ชิว : เอาใจจับไว้ที่ปลายจมูก..หายใจเข้า “พุท” หายใจออก “โธ“
ภู : ( ´◡‿◡` )*•°⁰ °⁰ °⁰
ชิว : เอาใจจับไว้ที่ปลายจมูก..หายใจเข้า “พุท” หายใจออก “โธ“ ทำไปเรื่อยๆ สบายๆ
ภู : ( ´◡‿◡` )*•°⁰ °⁰ °⁰
...เวลาผ่านไป 25 นาที...
ภู : ( ु⁎ᴗ_ᴗ⁎)ु.。oO ..คร่อกก..ฟี้..zzZZ
..หลังจากนั้นอีก 20 นาทีให้หลัง..ภูก็รู้สึกตัวลืมตาขึ้นมา รู้สึกเบาโล่ง ปลอดโปร่ง สบาย คลายทุกข์ทุกอย่าง ใจก็เบิกบาน ก็พอดีถึงเวลา 16:00 น. ..
ภู : ว้าวว..เผลอหลับ..แหะๆๆ..แต่ตื่นขึ้นมาแล้วสมองโล่งมากเลย.. ( ´◡‿◡` ) ♪°♪°•*•° ฮื้ม..ฮืม..นี่หรอมันสบายอย่างนี้เอง
ชิว : ใช่แล้วล่ะ..ท