ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: นิยายธรรมะ วัยรุ่นต้องรอด บังไคปลดปล่อยแรงกดดัน รู้ประมาณ(Skill ประเมิน)  (อ่าน 1 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1076
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
      ..วันพฤหัสบดี เวลา 06:50 น. : ภูตื่นมาอาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน เข้าห้องน้ำ เสร็จ 07:25

      ..07:30 น. : ชิวให้ภูเริ่มฝึกฝนบำบัดจิตตน
      1. ฝึกรู้ตน 15 นาที รู้สถานะตน เดินจงกรม รู้ทันลมหายใจว่ากำลังหายใจเข้าหรืออก สั้นหรือยาว โดยปักหลักรู้ลักษณะลมหายใจไว้ที่ปลายจมูก เอาปลายจมูกเป็นจุดที่ตั้งของสติ รู้อัตภาพตน  (⁠ ⁠´⁠◡⁠‿◡⁠`⁠ )
      2. ฝึกพุทโธวิมุตติสุข 10 นาที  (⁠ ⁠´⁠◡⁠‿◡⁠`⁠ )
      3. พุทโธอริยะสัจ ๔ 10 นาที ทำตอนที่ยังมีสติและสมาธิดี ดังนี้..
          3.1) กำหนดรู้สภาพจิตใจตนในขณะนั้น ว่าเป็นอย่างไร มีความรู้สึกเช่นไร
          3.2) สืบค้นหาเหตุเกิดของสภาพจิตใจนั้น
          3.3) ทำความรู้แจ้งเมื่อใจไม่มีทุกข์ หรือ เป็นสุขพ้นจากทุกข์นั้นแล้ว รู้ความรู้สึกที่เกิดขึ้นอยู่นั้น(นิโรธ) ว่ามีลักษณะอาการอย่างไรบ้าง สิ่งใดดับ(สมุทัย) สิ่งใดมี(มรรค) โดยใจรู้ความรู้สึกได้ที่ไหน ก็เอาใจตัวรู้คือสติจับที่จุดนั้น   (⁠ ⁠´⁠◡⁠‿◡⁠`⁠ )
     4. ฝึกทำใจให้ในลักษณะอาการของความดับทุกข์นั้นให้มาก โดยน้อมนึกถึงลักษณะอาการแบบนี้ เอาใจน้อมไว้ที่ดวงจิตจับตรงจุดเหนือสะดือ

      ..08:15 น. : ภูมองดูนาฬิกาเสร็จ เห็นยังเช้าอยู่ ภูก็นั่งเล่นเกม

      ..09:20 น. : ภูหิวข้าวจัด จึงหยิบเงิน 70 บาท ออกไปซื้อข้าว (โดยที่มีชิวลิยิยู่ด้านบน แอบมองดูพฤติกรรมของภูอยู่ห่างๆ) พอภูเดินมาถึงแถวร้านอาหารตามสั่งที่ภูเคยซื้อ มีร้านข้าวมันไก่เปิดใหม่ ตอนนี้นร้านประจำคนน้อยแต่ภูไม่ซื้อ จะไปลองร้านข้าวมันไก่เปิดใหม่เพราะเห็นคนเยอะดูน่าอร่อยมาก แต่คิวก็ยาวมากทำให้รอนาน 45 นาที ก็ยังไม่ได้สั่ง ทนไม่ไหวจึงกลับไปสั่งร้านเดิม ภูหิวจัดจึงบอกเอาพิเศษ เอาไข่เจียวด้วย ก็พอดีร้านเดิมเริ่มมีคน ใช้เวลา 20 นาที กว่าจะได้กินก็ 10:27 น. หลังกินเสร็จ 10:50 น. จ่ายค่าข้าวไป 60 บาท ภูก็ไปเซเว่นใกล้บ้านเพื่อซื้อเลย์สักห่อ ในเซเว่นมีแต่เลย์ห่อละ 20 บาท ภูจึงหยิบไป พอจะไปจ่ายเงิน ภูล้วงกระเป๋ากลับมีเงินเกลือแค่ 10 บาท จึงนึกขึ้นได้ว่าหิวจัด จึงหยิบเงินแค่ 60 บาท แล้วเดินก็เดินกลับบ้าน 11:00 น.

      ..14:35 น. : ภูจะออกไปซื่อข้าวมันไก่ เพื่อจะกินตอนบ่าย 3 จึงรีบไปซื้อข้าวมันไก่ แต่ร้านก็บอกขายหมดแล้ว ภูจึงเดินจากไปแบบคับข้องใจในวันนี้มาก แล้วไปซื้ออาหารตามสั่ง

           ภู : วันนี้มันอะไรเนี่ย ทำไมมีแต่เรื่องขัดข่องไปหมด ทำอะไรก็ไม่ได้ แย่ไปหมดเลย วันนี้มันวันซวยจองเราหรือไงนะ ( ╬ಠ益ಠ)

      ..16:00 น. : ภูทำการฝึกรู้ตนกับชิวอีกรอบ เมื่อทบทวนสถานะภาพตนก็นึกขึ้นได้ว่า ตนเรียนอยู่ มีหน้าที่ต้องเรียน ชิวทบทวนรู้ตนกับภู
          ชิว : หน้าที่ของนักเรียน คืออะไร
          ภู : ตั้งใจเรียน ทำงานส่งครู
          ชิว : ดีมาก หลักการเรียนและการศึกษาทำงานทุกอย่าง เราต้องจำหลักการดังนี้ คือ..

❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️
           หลักแห่งความสำเร็จทั้งเรียนและงาน
♻️  ตั้งใจ  ➡️   ขยัน  ➡️ ทบทวนตรวจสอบ ↩️

        ↕️           ↕️               ↕️

↪️  เข้าใจ  ➡️  ทำได้  ➡️     งานครบ    ♻️
❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️

                       อย่ายอมแพ้

         ชิว : โดยหลักการที่สืบต่อกันตามลำดับ คือ ถ้าภูตั้งใจ → ขยันเรียนรู้ฝึกฝน → หมั่นทบทวนบทเรียน → ตรวจสอบงานที่ทำส่งครู → ก็จะทำให้ภูเข้าใจบทเรียน → ทำได้ และส่งงานครูครบ
          ภู : อืมๆๆๆ เห็นจะจริง
          ชิว : ในอีกทางที่สื่อกันในเป็นคู่เหตุและผลกัน คือ ตั้งใจ «-» ก็เข้าใจ, ขยัน «-» ก็ทำได้, ทบทวน/ตรวจสอบ «-» ก็งานครบ
          ภู : จริงด้วย
          ชิว : ถ้าทำตามนี้รัับรองเรีบนได้เกรดสูงแน่นอน
          ภู : (⁠☆⁠▽⁠☆⁠) ว้าวๆๆๆ..
          ภู : งั้นแย่แล้ว !!! กี่โมงแล้วๆๆๆๆๆ 16:10 น. ภูต้องไปสอบถามและขอจดลอกเอาบทเรียนที่ครูสอน, การบ้าน, กับโครงงานที่ตรูสั่งจากเพื่อนมาทำก่อน ต้องมีงานส่งวันจันทร์เยอะแน่ヽ⁠(⁠(⁠◎⁠д⁠◎⁠)⁠)⁠ゝ

      ..จากนั้นภูก็วิ่งหน้าตั้งปั่นจักรยานไปหาเพื่อนที่อยู่อีกหมู่บ้านซึ่งเรียนห้องเดียวกัน เพื่อไปสอบถามและขอจดลอกเอาบทเรียนที่ครูสอน การบ้าน และโครงงานในช่วงที่หยุดเรียนจากเพื่อน จะได้ทำส่งครูเพราะกลัวจะเยอะแล้วทำไม่ทัน เพราะจะต้องไปเรียนและส่งครูในวันจันทร์

      ..หลังจากืี่ถึงบ้านเพื่อน 16:18 น. ภูก็ร้องเรียกเพื่อน พอเพื่อนออกมาก็ขอยืมสมุดเพื่อไปลอกบทเรียนที่ครูสอนกับสอบถามการบ้านและรายงาน เพื่อนบอกยังไม่ว่าง ต้องช่วยพ่อแม่เอาของไปลงที่ตลาดเพื่อขายของก่อน

      ..ภูจึงรอจนถึง 16:49 น. เพื่อนกลับมา ก็ต้องรอเพื่อนอาบน้ำเพราะขนยกของตัวเปื้อน

      ..17:10 น. เพื่อนก็บอกว่าครูให้ดารบ้านหน้าไหนในหนังสือภูก็จดใส่ดระดาษไว้ มีทั้งหมด 5 วิชา และยืมสมุดเพื่อนมาจดได้ 3 วิชา ส่วนรายงานโครงงานไม่มี (ภูก็รอดไปสินะ อิอิ)

      ..17:25 น. ภูก็รีบปั่นจักรยานกลับบ้านเพราะถึงเวลาต้องจัดเตรียมถ้วยจานไว้รอแะป๊าซื้อข้าวเย็นกลับมาหลังเลิกงาน

      ..17:40 น. ถูถึงบ้าน รีบล้างมือเอาถ้วย จาน ช้อนมาวางรอไว้ที่โต๊ะ หุงข้าว แล้วไปอาบน้ำ

      ..18:10 น. ปะป๊ากลับถึงบ้าน ก็สังเกตุเห็นว่าภูดูสภาพอิดโรยหมดแรง จึงถามภูว่าไปทำอะไรมา ภูตึงตอบว่าปั่นจักรยานไปสอบถามงานช่วงวันหยุดเพื่อนมาคับ ปะป๊าก็บอกว่าดีแล้วรู้จักรับผิดชอบตัวเอง ทำให้ได้ตลอด จะได้เป็นผู้เป็นคนดับเขาได้สักที (ทั้งๆที่ในใจก็ดีใจจนใจฟูที่ลูกรู้จัดรับผิดชอบต่อหน้าที่)

      ..19:10 น. ทานข้าวเสร็จ เก็บของเสรผ็จ ภูก็เอากระดาษจเงานวางไว้บนโต๊ะเครื่ิงเขียน พร้อมถอนหายใจ แบบหมดอาลัยตายหยาก พร้อมบ่น..เฮ้อ..หมดแรง .วันนี้คงไม่มีแรงจดงานแล้ว นี่มันวันอะไรของภูกันนะ (⁠〒⁠﹏⁠〒⁠) จากนั้นชิวก็บินออกมา ชิวววว...  Ꮚ\(。⁠◕⁠‿⁠◕⁠。)/Ꮚ
          ภู : ชิวมาแย้วเหยอ..เฮ้อออ..โคตรเหนื่อยเลย วันนี้วุ่นวายมาก จะกินข้าวมันไก่ก็ไม่ได้ วิ่งวุ่นเรื่องการบ้านอีก เฮ้อ.. (⁠。⁠ŏ⁠﹏⁠ŏ⁠)
          ชิว : ชิวเห็นแล้ว ตลอดทั้งวันชิวติดตามดูภู ภูพลาดตรงไม่รู้ประมาณตนเอง จึงจัดการทุกอย่างไม่ลงตัวไว
          ภู : ยังไงอะ ไม่รู้ประมาณตน คืออะไรหรอ
          ชิว : ก็รู้ความพอดีตน รู้ประมาณตนเอง ไม่รู้ประเมิณสถานการณ์ และสิ่งที่ต้องใช้ตอบโจทย์ความต้องการของใจภูไง
          ภู : อ่าาาา  (⁠。⁠ŏ⁠﹏⁠ŏ⁠)
          ชิว : ชิวจะอธิบายเปรียบเทียบให้ฟังนะ แต่ก่อนที่จะรู้สกิลประเมิน ภูต้องรู้จัก หลักแห่งมหาบุรุษ 7 ประการ ก่อน เพราะคือที่มาของ SKILL ประเมิน
          ภู : ว้าว..ชื่อเท่มากๆเลย หลักแห่งมหาบุรุษ 7 ประการ
          ชิว : ถูกต้องและชื่อคือของจริง เป็นหลักของยอดคนเลยนะ มีดังนี้..

สัปปริสธรรม 7

รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ รู้กาล รู้สังคม รู้บุคคล

1. รู้เหตุ คือ รู้ว่าผลนี้มีอะไรเป็นเหตุ (หลักพิจารณา)
       1.1 รู้กิจของตน มีระเบียบวินัยในตน รู้กิจในหน้าที่การงานของตน ที่ตนทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบอยู่
           1.1.1) รู้หน้าที่ รู้ว่ากิจการงานหน้าที่ความรับผิดชอบของตนมีอะไรบ้าง
           1.1.2) รู้งาน มีความรู้และความเข้าใจชัดเจนในสิ่งที่ทำ
           1.1.3) รู้วิธี รู้ว่างานที่ทำมีหลักวิธีในการปฏิบัติหน้าที่การงานนั้นๆอย่างไร
       1.2. รู้หลักการ ผลนี้เกิดแต่เหตุใด รู้ว่าผลทุกอย่างล้วนมีเหตุให้เกิดขึ้น ผลทุกอย่างอยู่ที่การกระทำ เป็นการวินิจฉัยไตร่ตรองสืบค้นหาเหตุของสิ่งที่แสดงผลปรากฏขึ้นมาอยู่นั้น รู้เหตุเกิด หรือ เหตุกระทำของสิ่งนั้น และ เฟ้นหาแนวทางการจัดการในสิ่งนั้น คือ รู้ในสิ่งที่ทำว่า
           1.2.1) รู้เหตุเกิด ผลที่ปรากฏอยู่นั้น มีเหตุและปัจจัยองค์ประกอบอย่างไร มีเหตุการกระทำเช่นใดจึงเกิดสิ่งนั้นขึ้นมาได้ (ใช้วิเคราะห์สืบค้นหาเหตุที่ทำให้สิ่งนั้นเกิดมีขึ้น หรือ แสดงผลอย่างนั้นออกมา)
           1.2.2) รู้เหตุทำ ส่งที่ทำอยู่นั้น เราต้องใช้ความรู้ในหลักใด มีวิธีการเช่นไร ต้องทำแบบไหน ต้องใช้สิ่งใดเป็นส่วนประกอบเหตุทำให้เกิดผลลัพธ์ในสิ่งนั้นขึ้นมาได้ (ใช้วิเคราะห์ค้นคว้าหาความรู้ เพื่อเฟ้นหาหลักการแนวทางที่ตนจะนำมาใช้ทำสิ่งนั้น เพื่อให้สำเร็จผลได้ประโยชน์สุขที่ต้องการ)

2. รู้ผล คือ รู้ว่าเหตุนี้มีอะไรเป็นผล (หลักพิจารณา)
          รู้ผล คือ เหตุนี้มีอะไรเป็นผล รู้ว่าการกระทำทุกอย่างมีผลสืบต่อทั้งหมด การกระทุกอย่างให้ผลเสมอ เป็นการวินิจฉัยไตร่ตรองรู้แจ้งชัดผลสืบต่อจากการกระทำ ตั้งความมุ่งหมาย หรือ รู้ผลสืบต่อในสิ่งที่ทำ และ รู้ความมุ่งหมายที่ต้องการจากสิ่งที่เกิดขึ้น รู้ในสิ่งที่ทำว่า
           2.1) รู้ผลลัพธ์ สิ่งที่ทำอยู่นี้จะให้ผลอย่างไร มีผลสืบต่อเช่นใด มีอะไรเป็นผล (ใช้วิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดขึ้นสืบต่อจากปัจจุบัน, ผลสืบต่อจากการกระทำของตน)
           2.2) รู้ความต้องการ สิ่งที่ทำอยู่นี้มีจุดประสงค์ที่มุ่งหมายอะไร ต้องการได้รับผลตอบสนองกลับอย่างไร หรือ ผลที่ปรากฏอยู่นี้หมายความว่าอย่างไร สื่อความหมายว่าอย่างไร, มีจุดประสงค์อะไร, บ่งบอกถึงความมุ่งหมายต้องการในสิ่งใด (ใช้วิเคราะห์เพื่อรู้ความต้องการของใจตนเอง และ การสื่อสารเพื่อรู้ความต้องการของผู้อื่น หรือ สิ่งอื่น)
           2.3) รู้สรุปแนวทาง ผลลัพธ์ที่ต้องการจากสิ่งที่ทำนี้ ต้องใช้หลักวิธีการปฏิบัติข้อใด (ใช้วิเคราะห์เพื่อรู้สิ่งที่ตนต้องทำในขณะนั้นๆ)

• เมื่อรู้ทั้งเหตุและผล ก็เป็นการปฏิบัติให้เข้าถึง พุทโธอริยะสัจ ๔

3. รู้ตน คือ ใช้ความรู้เหตุ รู้ผล รู้พุทโธอริยะสัจ ๔ มาพิจารณาเพื่อรู้สิ่งที่ตนมีตนเป็นอยู่ ทั้งร่างกาย, จิตใจ, ทรัพย์สิน สิ่งของ, อุปนิสัย, วินัย, ความรู้, ความเข้าใจ, ทักษะความสามารถตน ลงธรรม ๖ คือ ลง สัทธา, ศีล, สุตะ, จาคะ, ปัญญา, ปฏิภาณ ตลอดจนรู้ความต้องการของใจตน รู้จักตอบโจทย์แก้ไขปัญหาของตน รู้ว่าสิ่งใดขาด-ควรเพิ่ม, รู้ว่าสิ่งใดเกิน-ควรลดละ, รู้ว่าสิ่งใดพอดี-ควรคงไว้ เพื่อความเหมาะสมดีงาม และ รู้มหาสติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ รู้กาย, รู้เวทนา, รู้จิต, รู้ธรรม แล้วเจริญโพชฌงค์ตามกาล ๑๔ ให้มากเพื่อลด ละ ขจัด ในสิ่งที่ควรละหรือสิ่งที่ให้โทษแก่ตน

4. รู้ประมาณ คือ รู้ประเมิณความเหมาะสมตามกาล (Skill ประเมิน) ใช้ความรู้เหตุ รู้ผล รู้พุทโธอริยะสัจ ๔ มาพิจารณารู้โจทย์ความต้องการของสิ่งที่เราประเมิน เพื่อรู้ว่าสิ่งใดที่ควรทำ-สิ่งใดที้ไม่ควรทำ..ตอบโจทย์ความต้องการนั้นๆ ให้เหมาะสมดำเนินไปได้ด้วยดี รู้ว่าสิ่งใดขาด-ควรเพิ่ม, รู้ว่าสิ่งใดเกิน-ควรลดละ, รู้ว่าสิ่งใดพอดี-ควรคงไว้ ทั้งต่อตนเอง, ต่อช่วงระยะเวลา, ต่อสถานการณ์, ต่อสถานที่, ต่อสังคม, ต่อบุคคล

5. รู้กาล คือ รู้ว่าเวลาใดเราควรทำสิ่งใดจึงจะประกอบด้วยประโยชน์ ไม่มีโทษ อาศัยการรู้มารยาทความเหมาะสม รู้ทำเนียมปฏิบัติ รู้สิ่งที่ควรทำในปัจจุบัน รู้สิ่งที่ควรทำทีหลัง รู้สิ่งที่ควรละ รู้สิ่งที่ควรรอ ในสถานการณ์นั้นๆ ต่อตนเอง, ต่อสถานที่, ต่อสังคม, ต่อกลุ่มคน, ต่อบุคคล อาศัยใช้ร่วมกันกับการประเมิณสถานการณ์ ท่าที การแสดงออก, ผลกระทบ, รู้ความต้องการของสถานการณ์, คุณประโยชน์สุข และ ทุกข์ โทษ ภัย

6. รู้ชุมชน คือ รู้สังคม รู้วิถีชีวิตการประพฤติปฏิบัติของสังคมชุมชนนั้นๆ, ขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชนสังคมนั้นๆ, รู้สถานการณ์ในชุมชนสังคมนั้นๆ, รู้ความต้องการของชุมชนสังคมนั้นๆ คือ รู้โจทย์ปัญหาและวิธีการตอบโจทย์ปัญหานั้นๆ เพื่อการวางตัวเหมาะสม และรู้วิธีเข้าหาสังคมชุมชน หรือ ชนชั้นนั้นๆ
    - ใช้ความรู้เหตุ รู้ผล รู้ประมาณ, รู้กาล ด้วยพุทโธอริยะสัจ ๔ พิจารณา

7. รู้บุคคล คือ รู้ว่าคนๆนี้มีอุปนิสัยใจคอเช่นไร, มีความต้องการของใจอย่างไร, จะตอบสนองโจทย์ปัญหาของใจเขาอย่างไร, ควรจะเข้าหาด้วยวิธีการใด
    - ใช้ความรู้เหตุ รู้ผล รู้ประมาณ, รู้กาล ด้วยพุทโธอริยะสัจ ๔ พิจารณา

*****************************

         ชิว : การที่ภูฝึกทุกวันก็เป็นเหตุของ..หลักแห่งมหาบุรุษนี้ คือ พุทโธอริยะสัจ ๔ ก็คือ การรู้เหตุ + รู้ผล และ ในส่วนการฝึกรู้ตนหมวดกาย (สร้างสติสัมปะชัญญะ) + พุทโธวิมุตติสุข (รู้เวทนา) + พุทธโธอริยะสัจ ๔ (รู้จิตตสังขาร) ก็คือการรู้ตนนั่นเอง ซึ่งเมื่อฝึกคล่องแล้วจะส่งผลต่อ..การรู้ประมาณ รู้กาล รู้สังคม รู้บคคล
          ภู : ว้าว..ชื่อเท่มากๆเลย ภูจะเป็นมหาบุรุษแล้ว
          ชิว : ใช่..สิ่งที่ชิวบอกภูไม่ใช่แค่บำบัดจิตซึมเศร้า แต่เป็นการเข้าถึงการใช้ชีวิตอย่างมหาบุรุษเลยนะ ทีนีมาต่อเรื่องการใช้สกิลประเมิน ก็คือการรู้ประมาณ ในหลักแห่งมหาบุรุษข้อที่ 4 นั่นเอง

          การรู้ประมาณตน คือ การรู้ความเหมาะสมพอดีของตน
          ก็เป็นการ “วินิจฉัยไตร่ตรองวัดค่าปริมาณความเหมาะสมพอดีของตนเอง” ที่เรียกว่า “การประเมิน” นั่นเอง
          ..อุปมา..เปรียบเหมือนลูกโป่งสามารถบรรจุก๊าซหรืออากาศได้มากเท่าไหร่ หากไม่รู้ประมาณความจุของลูกโป่ง แล้วเราอัดก๊าซเข้าไปเยอะๆต้องการให้ได้ลูกโป่งใบใหญ่ๆ มันก็แตกและใช้การไม่ได้..ฉันใด
          ..อุปไมย..เปรียบลูกโป่งเป็นตัวเรา เปรียบก๊าซที่อัดบรรจุเข้าในลูกโป่งเป็นสิ่งที่ต้องใช้ ต้องจ่าย ต้องทำ..ฉันนั้น
          ดังนั้น..เราจึงต้องประเมินตนเองในสถานการณ์ต่างๆ สิ่งที่เราต้องใช้ ต้องทำ ต้องพึ่งพา เช่น เงิน เวลา สิ่งของ เป็นต้น รวมไปถึงศักยภาพทักษะความสามารถของตนเอง ที่จะต้องใช้ในสถานการณ์นั้นๆ (SKILL) เพื่อรู้การประมาณตนที่พอดี พอเหมาะ พอควร และพอเพียงเพื่อดำเนินสิ่งที่ต้องทำต่อไปได้ด้วยดี

   ..ชิวจึงเรียกการรู้ประมาณตนนี้ว่า SKILL ประเมิน

          ภู : งับป๋ม  (⁠。⁠◕⁠‿⁠◕⁠。⁠)⁠➜
          ชิว : ยกตัวอย่าง เมื่อเช้า หลังฝึกรู้ตนหมวดกาย ฝึกพุทโธวิมุตติรู้สุขที่ตน ฝึกพุทโธอริยะสัจ ๔ รู้จิตตนเสร็จแล้ว ภูนั่งเล่นเกมต่อทันที ปล่อยจนตัวเองหิวจัด แล้วหุนหันพลันแล่นออกไปซื้อข้าว..แต่ถ้าภูรู้ประมาณตน ก็จะไม่วุ่นวายอย่างวันนี้ไง
          ภู : อ่าาาา  (⁠。⁠ŏ⁠﹏⁠ŏ⁠)
          ชิว : ถ้าภูฝึกบำบัดจิตเสร็จ ภูดูเวลาก็ควรจะรู้ว่าต่อไปตัวเองต้องกินข้าว ปกติกินเวลาไหน แล้วจัดเตรียมเงินเผื่อจำเป็นต้องใช้เอาไว้ และควรออกไปซื้อข้าวไว้ก่อน เพราะคนทุกคนต้องกินข้าวเพื่อหล่อเลี้ยงสารอาการให้ร่างดาย และอีกอย่างก็ใกล้เวลาต้องทานข้าวทานยาแล้ว ส่วนเกมนี้เล่นตอนไหนก็ได้ แต่ภูใช้ความอยากเล่นเกมเป็นใหญ่ไงเลยว้าวุ่นเลย คริๆๆ นี่เรียกว่า..ภูไม่รู้ประมาณตน
          ภู : อ่าาาา แล้วมันประมาณตนเองยังไงอะ (⁠。⁠ŏ⁠﹏⁠ŏ⁠)
          ชิว : ก็ภูไม่รู้ประมาณตนเองว่า ร่างกายภูเป็นอย่างไร ภูต้องทานข้าวทานยาเวลาไหน ไม่รู้ความจำเป็นที่จะต้องใช้เวลาให้คุ้มค่าของตน แถมไม่ประมาณตนเองว่ามีเงินแค่ไหนยังจะไปซื้อขนมต่ออีก 5555
          ภู : อ่าาาา ชิวอะ (⁠。⁠ŏ⁠﹏⁠ŏ⁠) อายมากเลย
          ชิว : ดังนั้นจากนี้ไป ภูต้องเรียนรู้และเปิดใช้งาน SKILL ประเมิน สกิลนี้จะมีในตัวเราทุกคน อยู่ที่เราสามารถดึงมาใช้ได้มากน้อยเพียงไร ส่วนจะเกิดประโยชน์ได้มากน้อยแค่ไหนนั้น..ก็อยู่ที่ว่าภูรู้สถานการณ์ปัจจุบันแค่ไหน ประเมิณถูกจุดไหม รู้ชัดเหตุหรือไม่ รู้แจ้งผลเพียงใด รู้ลำดับความสำคัญดีแค่ไหน และใช้ถูกเวลามากน้อยเพียงใด แต่หากภูฝึกฝนใช้จนชำนาญแล้ว ก็จะสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกสถานการณ์

SKILL ประเมิน มีหลายระดับ คือ LV.1 ใช้ประเมินตนเอง, LV.2 ใช้ประเมินสถานการณ์ในปัจจุบัน, LV.3 ใช้ประเมินสังคมกลุ่มคนระดับฐานะความเป็นอยู่ต่างๆ, LV.4 ใช้ประเมินบุคคล, LV.5 ใช้วางแผน
         • แต่หลักการใช้จะคล้ายๆกัน เพราะหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าสอนนั้นครบพร้อมดีแล้ว อยู่ที่เรานำมาประยุกต์ใช้ คือ..
         • ใช้หลัก รู้เหตุ, รู้ผล, รู้วิถีชีวิต, รู้ความต้องการของใจ และ รู้กาล มาประเมินสิ่งต่างๆ
         • เพราะเราเป็นเพียงปุถุชนคนธรรมดา จึงสามารถเข้าถึงได้แบบคนธรรมดาทั่วไป ที่มีตามกำลังของสติปัญญาที่จะเข้าถึงได้ จึงต้องรู้ว่าธรรมนี้เราประยุกต์นำมาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อสะสมปัญญา เป็นหลักการที่น้อมนำเอาพระสัทธรรมมาประยุกต์ใช้สะสมเหตุ แต่ก็จะได้รับประโยชน์อย่างแน่นอนจากหลักปฏิบัตินี้ไม่มากก็น้อย แต่ไม่มีทางที่จะไม่ได้เลย ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคน

          ภู : อ่าาาา งับ (⁠。⁠ŏ⁠﹏⁠ŏ⁠)
          ชิว : งั้นมาเรียนรู้การฝึก “SKILL ประเมิน Level 1 ประเมินตนเอง” กันเลย

        SKILL ประเมินตนเอง ก็คือ การรู้ความต้องการ เอามาเปรียบเทียบกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น นั่นเอง คือ รู้กิจของตน, รู้เหตุ, รู้ผล, รู้ตนเอง, รู้สิ่งที่ตนเองมีอยู่เป็นอยู่, รู้สิ่งที่ตนเองขาด ที่ควรทำให้เกิดมีขึ้น ที่จำเป็นจะต้องมี, สิ่งที่ไม่่ควรมีอยู่ที่ควรกำจัดออกไป, สิ่งที่ควรคงรักษาไว้, ลำดับความสำคัญ

เมื่อภูเปิดใช้สกิลประเมิน ภูจะต้องพิจารณาไตร่ตรองดังนี้..

1. รู้กิจของตนในปัจจุบัน คือ รู้หน้าที่และระเบียบวินัยข้อปฏิบัติของตน พิจารณาจากสิ่งที่ทำ..
      • รู้หน้าที่
      • รู้งาน
      • รู้วิธี
(การรู้หน้าที่และมีระเบียบวินัยในตนเอง เป็นการทำเหตุสะสมความเพียร..ที่จะส่งผลให้เราตัดความขี้เกียจ เกียจคร้าน เบื่อหน่าย ออกไปจากใจเราได้ ให้สามารถทำตามกิจหน้าที่ของตนได้เป็นผลสำเร็จ ดังนั้นข้อนี้ก็เป็นหนึ่งใน “เหตุ” แต่จับแยกออกมาให้ภูรู้ความสำคัญและจดจำง่ายเท่านั้นเอง)
      • โดยให้ทำความรู้ตัวทั่วพร้อมแล้วทบทวนสิ่งที่ต้องทำในปัจจุบันขณะนั้น แล้ววินิจฉัยไตร่ตรองว่า..วันนี้ภูมีกิจการงานสิ่งใดที่จะต้องทำบ้าง แล้วในปัจจุบันเวลานี้กิจการงานที่จะต้องทำคืออะไร มีสิ่งใดบ้าง
        เช่น ภูรู้ปัจจุบันว่ามีกิจการงานสิ่งใดที่ภูจะต้องทำในขณะนี้บ้าง ภูอบรมจิตเสร็จ 08:15 น. ในเวลานั้นมีกิจการงานใดที่ภูต้องทำบ้าง เมื่อทบทวนพิจารณาก็จะรู้ว่า ต้องกินข้าวกินยาให้ตรงเวลา ซื้อข้าว ฝึกทบทวนบทเรียน จดงาน ทำการบ้าน ทำแบบฝึกหัด ล้างจาน กวาดบ้าน ถูบ้าน เป็นต้น ภูก็จะรู้ทันทีว่าตนต้องทำอะไรในวันนี้บ้าง สิ่งที่จำเป็นต้องทำใตเวลานี้ คือ ไปซื้อข้าว เพราะต้องกินให้ตรงเวลา

2. รู้เหตุปัจจัยของสิ่งที่ทำ พิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้น ผลที่ปรากฏขึ้นมาอยู่ในปัจจุบัน หรือ สิ่งที่ทำอยู่ ว่า..ผลนี้เกิดแต่เหตุใด..
      • เพื่อรู้สาเหตุและองค์ประกอบเหตุที่ทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นมาได้
      • เพื่อรู้หลักการแนวทาง และ วิธีการจัดการที่จะให้ผลนั้น
(เหตุ = หลักการ, แนวทาง และ วิธีทำ / ปัจจัย คือ องค์ประกอบเหตุ ให้เกิดผล)
      • โดยมองดูสิ่งที่ภูกำลังจะทำในปัจจุบันนั้น แล้ววินิจฉัยไตร่ตรองว่า..ภูจะทำสิ่งนั้นได้จะต้องมีสิ่งใด ต้องใช้หลักการใด มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นองค์ประกอบ ต้องใช้ความรู้หลักการและสิ่งใดทำบ้าง มีวิธีการทำอย่างไร..เพื่อรู้หลักวิธีการที่จะนำมาปฏิบัติในสิ่งนั้น
        เช่น.. ภูต้องกินข้าวจะไปซื้อข้าว(สิ่งที่ต้องการรู้เหตุ) ภูต้องรู้สิ่งใดและใช้สิ่งใดบ้าง หลักการที่ต้องใช้ก็คือ..
        1. รู้ว่าตนเองต้องการอะไร..กินข้าวมันไก่ (ผลลัพธ์ที่ต้องการ)
        2. รู้วิธีการที่ใช้ตอบโจทย์ความต้องการนั้นว่า..ภูต้องใช้เหตุวิธีการใดและสิ่งใด องค์ประกอบใดจึงจะใช้ซื้อข้าวมันไก่ได้ คือ..
            2.1) รู้ราคา ข้าวมันไก่ราคาเท่าไหร่ ธรรมดากี่บาท พิเศษกี่บาท (องค์ประกอบเหตุสิ่งที่ต้องรู้)
            2.2) รู้ว่าตนมีเงินเท่าไหร่ เพียงพอซื้อข้าวมันไก่ไหม หรือ เพียงพอซื้อได้ในราคาพิเศษ หรือ ธรรมดา มีเงินเพียงพอจะซื้อได้แค่ไหน แล้วก็เตรียมเงิน (องค์ประกอบสิ่งที่ต้องใช้)
            2.3) รู้สถานที่ตั้งร้าน รู้เวลาร้านเปิดกี่โมง
      • นี่เป็นกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบของหลักการรู้เหตุปัจจัยในสิ่งที่ทำ
        เปรียบเหมือนภูจะคูณเลขได้ ภูก็ต้องรู้หลักการคูณ ดังนั้นหลักการที่ภูต้องการ ก็คือ รู้แม่สูตรคูณนั่นเอง
        เปรียบเหมือนครูสั่งภูทำรายงานโครงงานใดๆ(รายงานคือผลสำเร็จที่ต้องการ)..ภูก็ต้องรู้หลักการเขียนรายงาน รู้วิธีทำรายงาน ว่า รายงาน 1 เล่ม ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง มีลำดับและวิธีเขียนอย่างไรบ้าง ๑.) คำนำ, ๒.) มีสารบัญ, ๓.) เนื้อหา + รูปหรือแผนภูมิประกอบเนื้อหา, ๔.) บทสรุป..เป็นต้น
        เปรียบเหมือนเมื่อภูจะทำรายงาน..ภูก็ต้องรู้ว่าต้องใช้สิ่งใดบ้าง คำนำเขียนเองจาก “จุดประสงค์ของเนื้อหา” ที่ทำเป็นสิ่งแรกในรายงานที่สามารถเขียนได้ทันที (ดังนั้นจึงเป็นส่วนแระกอบรอง), สารบัญตั้งเองตามลำดับหน้าของเนื้อหา ดังนั้นสารบัญแม้อยู่ก่อนเนื้อหาแต่ต้องทำหลังเนื้อหาเพราะต้องใช้เลขหน้ากำกับ (ดังนั้นจึงเป็นส่วนประกอบรอง), บทสรุปก็มาจากเนื้อหาที่เขียนทั้งหมดแล้วสรุปเนื้อหา (ดังนั้นจึงเป็นส่วนประกอบรอง) เอาไว้เขียนภายหลัง ดังนั้น “เนื้อหาของโครงงาน” ที่จะเขียนลงรายงานนั้นเป็นส่วนหลักที่จะต้องมี ส่วนประกอบต่อมาที่ต้องใช้ก็คือ ปกรายงาน สมุดกระดาษรายงาน ปากกา ไม้บรรทัด แม๊คเย็บดระดาษ เทปติดรวบเล่ม

3. รู้ผลสืบต่อจากสิ่งที่ทำ พิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้น ผลที่ปรากฏขึ้นมาอยู่ในปัจจุบัน หรือ สิ่งที่ทำอยู่..ว่า..เหตุนี้มีอะไรเป็นผล..
      • เพื่อรู้ผลกระทบสืบต่อ
      • เพื่อรู้จุดมุ่งหมายที่ตนทำ (รู้ความต้องการของใจตนเอง)
      • เพื่อรู้จุดมุ่งหมายที่คนอื่นทำ (รู้ความต้องการของใจที่ผู้อื่นที่สื่อสารกับเรา)
      • เพื่อรู้สิ่งที่ตนต้องทำ
      • โดยมองดูสิ่งที่ภูกำลังจะทำในปัจจุบันนั้น แล้ววินิจฉัยไตร่ตรองว่า..ภูทำสิ่งนี้มีจุดประสงค์อะไร มีความมุ่งหมายต้องการสิ่งใด สิ่งที่ภูทำนี้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เช่นไร หากต้องการผลลัพธ์แบบไหนจะต้องทำยังไง คือ รู้วิธีทำให้สำเร็จได้ตามเป้าหมายหรือความทุ่งหมายที่ต้องการนั้น
        ยกตัวอย่างเช่น 
        ประการที่ 1 ที่ภูต้องไปซื้อข้าว เพื่อจะได้กินข้าวอิ่มท้องและกินยาให้ตรงเวลา ไม่เป็นโรคกระเพาะ..สิ่งนี้คือรู้ความมุ่งหมาย คือ ความต้องการของใจที่ทำ 
        ประการที่ 2 ภูมีเงิน 70 บาท ไปซื้อข้าวสั่งพิเศษราคา 60 บาท ผลคือจะเหลือเงินเพียง 10 บาท แต่หากกินข้าว 50 บาท จะเหลือเงิน 20 บาท ซื้อขนมได้ 
        ภูก็จะรู้ผลลัพธ์จากการกระทำได้ว่า ประหยัดจุดนี้ก็จะมีกินมีใช้จุดในจุดนั้น ภูต้องการให้มีเงินใช้ในส่วนไหนมาก..ภูก็ต้องประหยัดเงินในอีกส่วนนั้น นี่คือ ผลลัพธ์จากการกระทำ รู้ว่าทำอย่างไรให้ผลอย่างไร 
        ประการที่ 3 ภูเจอโจทย์คำถามว่า 5 เท่า ของ 15 เป็นเท่าไหร่ แล้วรู้ทันทีว่านี่คือ โจทย์การคำนวณวิชาคณิตศาสตร์ เป็นหลักการคูณ เขาต้องการรู้ผลคำตอบด้วยหลักการคูณเลข ภูสามารถใช้กลักการคูณแก้ไขได้ทันที 5 × 15 = 75 เป็นต้น นี่ก็คือรู้ผล คือ รู้ความต้องการของผล รู้ว่าผลลัพธ์เนื้อหานี้ๆมาจากหลักการใด รู้ว่าผลลัพธ์ข้อนี้ต้องใช้วิธีการใดทำเพื่อตอบโจทย์ปัญหานี้
        ประการที่ 4 ภูเคยเรียนรู้วิธีการซ่อมไฟภายในบ้าน หรือ เคยเห็นช่างมาซ่อมหลอดไฟที่บ้านและการเหตุเสียต่างๆมา เมื่อภูเห็นหลอดไฟที่บ้านกระพริบ แสงไฟอ่อนเหลือง หรือ ไม่สว่าง ขอบตรงขั้วหลอดไฟมีสีดำ ภูเห็นแล้วรู้ทันทีว่า..หลอดไฟเสีย ต้องซื้อหลอดไฟมาเปลี่ยนใหม่ นี่ก็ชื่อว่ารู้ผล คือ รู้สิ่งที่เกิดขึ้น รู้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจะต้องแก้ไขอย่างไร สิ่งที่ต้องการจากปัญหานี้คืออะไร เช่น หลอดไฟ ไขควง คีม เทปพันสายไฟ เราต้องทำสิ่งใด ใช้วิธีการใดแก้ไข เป็นการใช้ประสบการณ์ที่เคยเรียนรู้ เคยเห็น เคยทำมาก่อน นี่ภูใช้สแตนด์ Gold Experience Requiem ของ โจรูโน่ โจบาน่า เลยนะนี่ (⁠。⁠•̀⁠ᴗ⁠-⁠)⁠✧ คริๆ ถ้าภูรู้กิจ รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน แล้วเปิดใช้สกิลประเมินได้ รู้กาล รู้สังคม รู้บุคคล ก็จะไม่มีใครสามารถโจมตีภูได้ เพราะการโจมตีนั้นจะไม่มีวันไปถึงความจริงได้เลย
        [ภูร้องว้าวเลย (⁠☆⁠▽⁠☆⁠)  เพราะชอบการ์ตูนเรื่อง JoJo ล่าข้ามศตวรรษ]

4. รู้ตนเอง คือ รู้สภาพร่างกายและจิตใจตนเอง รู้อััตภาพชีวิตของตน รู้สิ่งที่ตนมีอยู่ ความรู้และทักษะความสามารถของตนเองที่มีอยู่ (สัทธา, ศีล, สุตะ, จาคะ, ปัญญา, ปฏิภาณ ที่ตนมีอยู่) รู้สิ่งที่ตนขาด ส่วนที่ขาด สิ่งของที่ขาด ที่ต้องทำให้มี ต้องเพิ่ม ที่ต้องหาหรือสร้างทดแทน ความรู้ความสามารถที่ตนขาดไป (สัทธา, ศีล, สุตะ, จาคะ, ปัญญา, ปฏิภาณ ที่ตนขาดไป)
        • โดยมองดูสิ่งที่ภูต้องทำ หรือ เผชิญหน้าในสถานการณ์ปัจจุบันนั้น แล้ววินิจฉัยไตร่ตรองว่า..ภูทำอะไรในตอนนี้ได้บ้าง..เพื่อรู้สิ่งที่ภูมีอยู่ สิ่งที่ภูขาดไป และ สิ่งที่ภูสามารถทำได้ในทันที
        4.1) รู้สภาพร่างกายและจิตใจของตน คือ รู้สุขภาพร่างกายของตนในปัจจุบัน ว่า..แข็งแรง หรือ ป่วยไข้ / รู้สภาพจิตใจของตนในปัจจุบัน ว่า..สภาพจิตใจปกติ แจ่มใส หรือ หน่วงตรึงจิตให้เศร้าหมอง คือ คิด อคติ ๔  ได้แก่ มีสภาพจิตใจที่เอนเอียงเป็นไปใน..
        4.1.1) รัก (ยินดี, อยาก, ใคร่, โหยหา, หมายใจใคร่เสพ, เสน่หา)
        4.1.2) ชัง (ยินร้าย, หดหู่, ซึมเศร้า, โกรธ, เกลียด, ผลักไส, แค้น, คิดร้าย, อาฆาต, พยาบาท)
        4.1.3) หลง (ใช้อารมณ์ความรู้สึก ไม่ใช้ปัญญา, ลุ่มหลง, งมงาย, โลเล, ไม่รู้จริง หรือ ใช้ปัญญาแสวงหาประโยชน์โดยไม่รู้ถูก-ผิด..แล้วทำตามที่ใจใคร่อยากหรือเกลียดชัง)
        4.1.4) กลัว (ขลาดกลัว, หวาดกลัว, หวาดระแวง, พะวง, สะเทือนใจ, หวั่นใจ, ใจสั่น, ไม่สงบ)
        4.2) รู้สิ่งที่ตนมีอยู่ คือ รู้ว่าตนมีสิ่งที่จะใช้ทำในกิจการงานนั้นๆอยู่หรือไม่ มีมากน้อยเท่าไหร่ เพียงพอจะทำสิ่งนั้นหรือไม่ รู้อัตภาพความเป็นอยู่ของตน เพื่อรู้ว่าสิ่งที่ตนเองมีอยู่นั้นเพียงพอให้ใช้งานหรือไม่ หรือ สามารถใช้จ่ายได้มากน้อยแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็น เงิน สิ่งของ อุปกรณ์ต่างๆ ฯลฯ ตลอดไปจึงถึงทักษะความรู้ความสามารถของตน
        4.3) ศรัทธา หรือ สัทธา คือ การใช้ปัญญาไม่ใช้ความรู้สึก รู้ชัดว่า..ทุกการกระทำมีผลสืบต่อทั้งหมด พิจารณาใช้ความรู้เหตุและรู้ผลก่อนทำ เพื่อก่อประโยชน์สุขไม่มีทุกข์ โทษ ภัย ต่อตนเองให้ได้มากที่สุด และ แผ่ไปถึงผู้อื่นด้วย..ภูมีข้อนี้หรือไม่ เพราะเห็นยังเล่นเกมจนลืมกินข้าว หยุดยาวจนไม่สนการบ้าน ( ภูทำหน้ามุ่ย (⁠;⁠ŏ⁠﹏⁠ŏ⁠) )
        4.4) ศีล คือ การสำรวมระวังการกระทำที่ให้โทษ ส่งผลให้เย็นใจเป็นสุข เป็นกฎระเบียบ วินัย หน้าที่ ข้อปฏิบัติ จึงต้องมีความรับผิดชอบในตนเอง ที่เรียกว่า มีวินัยในตนเอง เพื่อทำให้กิจหน้าที่การงานของตนดำเนินไปได้ด้วยดีจนสำเร็จ เป็นการสร้างปลูกฝังความเพียร ตัดทิ้งความขี้เกียจ ท้อแท้เบื่อหน่ายออกจากใจ
        4.5) สุตะ คือ การศึกษาใฝ่หาความรู้ เรามีความรู้มากน้อย รู้ว่าน้อยก็ต้องศึกษาเพิ่ม ขาดความรู้กลักการใด ไม่เข้าใจก็ต้องศึกษาค้นคว้าวินิจฉันเพิ่ม เมื่อรู้แล้วก็ต้องทำความเข้าใจให้แจ้งชัด รู้เหตุ รู้ผล
        4.6) จาคะ คือ อุปนิสัยดี แจ่มใส ขจัด Toxic ออกจากใจตลอดเวลา เพราะเมื่อไม่มี Toxic ก็จะทำให้วินิจฉัยสิ่งต่างๆได้โดยแราศจากความอคติลำเอียงในใจเพราะ รัก ชัง หลง กลัว ทำให้สมองโล่งไม่มีความอยากลากดึงปิดกั้นใจจากความจริง ก่อให้เกิดปัญญาเข้าใจชัด
        4.7) ปัญญา คือ ความเข้าใจแจ้งเห็นชัดตามจริง ในสิ่งที่ทำ หรือ ในสิ่งที่กำลังศึกษาเรียนรู้อยู่นั้น ไม่เข้าใจก็ต้องค้นคว้าทำความเข้าใจ คนเราแต่ละคนมีความรู้ความเข้าใจที่ต่างกัน ถนัดต่างกัน ลงใจต่างกัน เราจึงต้องศึกษาค้นคว้าทำความเข้าใจในแบบของเรา จึงจะเกิดผลประโยชน์สูงสุด และทำให้รู้ได้แจ้งชัดถูกต้องตามจริง
        4.8) ปฏิภาณ คือ ทักษะความสามารถ (Skill) ความคล่องแคล่วว่องไว มีไหวพริบในการพูดหรือทำตอบโต้สนองกลับสถานการณ์หรือผู้อื่น อันเป็นผลมาจากการมีความรู้แจ้งแทงตลอดในสิ่งที่ทำที่เรียนรู้ คือ
        4.8.1) รู้ว่าผลนี้เกิดแต่เหตุใด ทักษะความเข้าใจในหัวข้อหลักการ วิธีการ วิธีทำ จำแนกประเภทได้ ลำดับขั้นตอนได้ สรุปโดยย่อได้ใจความ
        4.8.2) รู้ว่าเหตุนี้มีอะไรเป็นผล ทักษะความเข้าใจในการรู้ความหมายวัตถุประสงค์ที่ทำ อธิบายขยายความได้ถูกต้องตามจริง
        4.8.3) รู้หลักภาษาที่ใช้ ทักษะความเข้าใจในการใช้ภาษาสื
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ