..SKILL รู้กาล คือ..
• รู้ว่าตนต้องใช้เวลาในการทำในสิ่งนั้นๆมากน้อยเพียงไร (ประเมินระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินงานนั้นๆ)
• รู้ลำดับความสำคัญของสิ่งที่ทำเปรียบเปรียบกับเวลาปัจจุบัน..เป็นการรู้ว่าเวลาใดควรทำสิ่งใด เวลานี้ควรแก่กิจหน้าที่การงานใด
• สิ่งใดตรงกับเวลาและสถานการณ์ปัจจุบันให้ทำก่อน
• สิ่งใดเป็นหน้าที่ในปัจจุบันให้ทำทันที
• สิ่งใดเป็นจุดหลักสำคัญที่ส่งผลสืบต่อไปในส่วนอื่นๆให้ทำก่อน
• สิ่งใดสามารถทำเสร็จสิ้นได้ทันทีให้ทำได้เลย
• สิ่งใดเร่งด่วน..ให้ประเมิณงาน (รู้เหตุ คือ หลักการ + แนวทาง + วิธีการ และ รู้ผล คือ เนื้อหา + ความต้องการของงาน + วิธีการข้อที่ใช้ทำหรือแก้ไขที่ตรงจุด + ผลสำเร็จ) + สถานการณ์ + ระยะเวลาที่ใช้ดำเนินงาน + การลำดับจัดสรรที่เหมาะสม..แล้วลงมือทำทันที
• สิ่งใดที่ไม่ตรงกับสถานการณ์ปัจจุบันให้ทำในเวลาถัดไป
• สิ่งใดยังไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนให้ทำในเวลาถัดไป
• สิ่งใดไม่ใช่หน้าที่ในปัจจุบันให้ทำในเวลาถัดไป
• สิ่งใดที่ไม่ใช่จุดหลักและใช้ระยะเวลานานในการดำเนินงานให้ทำภายหลัง
..ภูตื่นมา 05:40 น. ทำธุระส่วนตัว เสร็จ 06:10 ก็รีบมาทำการบ้าน ชิวก็เห็นดีด้วย เพคาะเป็นการรู้หน้าที่มีความรับผิดชอบ แต่พอทำไปได้ 40 นาที ภูปวดมือ พอนึกถึงการบ้านมีเยอะ ก็เริ่มเครียดไม่อยากทำ (。ŏ﹏ŏ)
..ชิวจึงออกมา แล้วสอนภูว่า..หากมีงานเร่งด่วน หรือ สิ่งจำเป็นต้องทำ ภูก็ควรจัดการลำดับความสำคัญของงานทั้งหมดไว้ก่อน เพราะการลำดับจัดการนั้นคือสิ่งที่ปัจจุบันที่ต้องทำ เรียกว่า การวางแผนงาน หากมาทำวันที่ทำงานเลย มันจะวุ่นวายจนทำไม่ได้
ภู : อ่าาาา (。ŏ﹏ŏ)
ชิว : โดยการจัดการนี้ก็คือ..การรู้ลำดับความสำคัญ การรู้ว่่าเวลานี้ควรทำสิ่งใด เวลานี้ไม่ควรทำสิ่งใด เวลานั้นควรทำสิ่งใด เวลานั้นไม่ควรทำสิ่งใด สิ่งนั้นควรทำเวลานี้ สิ่งนี้ควรทำเวลานั้น สิ่งโน้นควรทำเวลาใด พอถึงเวลาก็จัดการตามที่วางไว้นั้น นี่คือ..การกำหนดรู้การกระทำที่เหมาะต่อเวลา เรียกว่า การรู้กาล เพราะเป็นที่สิ่งต้องทำในปัจจุบันตลอดเวลา เพื่อจะรู้ว่าเวลานี้ควรทำสิ่งใด สิ่งนี้ควรทำเวลาใด จึงเป็นสิ่งปัจจุบันที่ต้องทำ เป็นการจัดตารางเวลางานของตนในปัจจุบันเพื่อประโยชน์สุขของตนในวันข้างหน้านั่นเอง
ภู : งืมๆ (。ŏ﹏ŏ)
ชิว : เปรียบเหมือนภูมีตารางเรียนในแต่ละวันอยู่แล้ว เมื่อรู้หน้าที่ตน หลังทำการบ้านเสร็จ ก่อนนอนก็ต้องจัดตารางเรียนของวันพรุ่งนี้ไว้ เมื่อตื่นเช้ามา หลังทำธุระส่วนตัวเสร็จ ก็สะพายกระเป๋าไปเรียนได้ทันทีเลย นี่คือการเตรียมแผนงานในปัจจุบัน
เปรียบการจัดตารางเรียนของวันพรุ่งนี้ ในคืนวันนี้ ก็คือ..หน้าที่การงานสิ่งที่เราต้องทำของวันนี้ ไม่ใช่สิ่งที่ต้องทำวันของพรุ่งนี้ เพราะเป็นหน้าที่การงานตามระเบียบวินัยของเราในวันนี้นั่นเอง ..ส่วนชุดอุปกรณ์การเรียนที่เราจัดไว้ตามตารางเรียนวันพรุ่งนี้ คือ สิ่งที่เราต้องการใช้งานในวันพรุ่งนี้
ภู : อ่าาาา (。ŏ﹏ŏ)
ชิว : ส่วนการบ้านภู ภูรู้อยู่แล้วต้องทำวิชาอะไรบ้าง การที่ภูคิดจัดการไว้ว่าจะทำงานอย่างไรเขาเรียกว่า แผนการลำดับงาน คือ การบ้านมี 5 วิชา → ภูดูให้รู้ก่อนว่าแต่ละวิชาทำตามหลักการวิธีใด..นี่เรียกว่ารู้เหตุในปัจจุบัน..เพราะการดูนั้น คือ ปัจจุบัน ไม่ใช่การคิดว้าวุ่นอนาคต เมื่อรู้เหตุ คือ หลักวิธีทำในแต่ละวิชาแล้ว ก็พิจารณาผลว่า → วิชานี้จะทำสำเร็จได้ต้องใช้วิธีจัดการแบบใด → วิชานี้มีความยากง่ายอย่างไร → ประเมินสิ่งที่ต้องทำ → แล้วประเมินระยะเวลาในการทำ → แล้วจัดเรียงลำดับความสำคัญตามยากง่ายและระยะเวลาที่ใช้ทำ → วิชาไหนต้องส่งก่อนทันทีให้ทำก่อน + แต่หากยังไม่ต้องส่งทันทีและทีเวลาทำก็ให้พิจารณาว่า..วิชาไหนทำง่าย หรือ เสร็จไว ก็ทำก่อน → สิ่งไหนต้องใช้ความคิดเยอะ หรือ ใช้เวลาทำนานก็จัดไว้ภายหลัง เพื่อไม่ให้โหลด (Load ภาระ) งานอื่น
ภู : อ่อ..อย่างนี้นี่เอง (ノ゚0゚)ノ→
ชิว : เพราะเมื่อวานภูไม่ได้ทำ วันนี้ภูจึงควรตื่นมาทำกิจส่วนตัวเสร็จแล้ว ให้ทำ..พุทโธวิมุตติสุขร่วมกับพุทโธอริยะสัจ ๔ ทำความรู้หน้าที่ รู้เหตุ รู้ผล เปิดใช้ Skill ประเมินสถานการณ์ ประเมินระยะเวลาที่ใช้ในการทำสิ่งนั้นๆ เพื่อรู้สิ่งที่ภูควรทำ รู้ลำดับ รู้ทางปฏิบัติ
ภู : โอ้ว..(✧Д✧)→
ชิว : โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลามีงานเร่งเยอะๆ, หรือ..จัดการไม่ถูก, หรือ..รู้สึกท้อแท้มองว่างานนี้ยากและเยอะเกินไป ยิ่งควรทำพุทโธวิมุตติร่วมกับพุทโธอริยะสัจ ๔ พิจารณาการกระทำ..เพื่อรู้เหตุ คือ รู้ว่าผลนี้เกิดจากเหตุใด..หรือ รู้ว่าหลักการนี้ๆมีวิธีทำอย่างไร, และ เพื่อรู้ผล คือ รู้ว่าสิ่งที่ปรากฏอยู่นี้มาจากการกระทำนี้ๆ รู้ผลจากการกระทำเป้าหมาย วิธีการนี้ใช้แก้ไขสิ่งใด แล้วประเมินสถานการณ์เทียบระยะเวลาดำเนินการ เพื่อประโยชน์ดังนี้..
• ประการที่ ๑ เพื่อปรับสภาพจิตใจให้สงบ สบาย ปลอดโปร่ง ก่อนทำกิจการงานใด..เหมือนไปโรงเรียนครูให้เข้าแถวหน้าเสาธงสงบนิ่งสบายๆก่อน 3-5 นาที เพื่อให้จิตสงบไม่ฟุ้งซ่านวุ่นวายควรแก่งานนั่นเอง
• ประการที่ 2 เพื่อประเมินสิ่งที่ทำ ประเมินเวลา ลำดับความสำคัญ รู้สิ่งที่ควรทำ รู้ทางปฏิบัติเพื่อตอบของโจทย์ปัญหา
..การทำพุทโธวิมุตติสุข จุดจะนี้สำคัญมาก..เพราะถ้าเรานึกถึงสุข..แต่ว่าสุขที่ใจเราหมายรู้นั้นผิดต่อหน้าที่การงานในปัจจุบันของตน จะทำให้เมื่อออกจากสมาธิแล้วมาเจอหน้าที่การงานที่ต้องทำ ก็ทำให้เบื่อหน่ายได้ ก่อให้เกิดผลเสียกับใจตนเอง
• เช่น.. ภูต้องเรียน หรือ ทำการบ้าน แต่ไปกำหนดสุขในวิมุตติสุข ที่เบิกบาน เป็นสุข ไม่มีกิจ ไม่มีสิ่งใดต้องทำอีก พอออกจากสมาธิมาเจอสิ่งที่ต้องทำ ก็จะเกิดเหนื่อยหน่าย เบื่อ จะไม่อยากเรียน ไม่อยากทำการบ้าน ติดอยู่ในสุขสบายนั้น
• หรือ หากภูคิดถึงสุขจากการหมดชั่วโมงเรียนรายวิชา เลิกเรียน ไม่มีการบ้าน กลับบ้าน ทำให้ปลดเปลื้องไม่มีทุกข์ เพราะเลิกเรียน เลิกงานกลับบ้าน เสร็จสิ้นผ่านพ้นไปวันๆแล้ว..ก็สุขในตอนทำวิมุตติสุขนั้นมันสุขจริง..แต่ความหมายรู้ในสุขนี้ มันกลับจะยิ่งพอกพูนความคิด Toxic ทำให้เมื่อออกจากสมาธิแล้ว ภูไม่อยากเรียน ภูไม่อยากทำงาน เกียจคร้าน เบื่อหน่าย ต่อต้านได้ อยากเลิกเรียน เลิกงานไวๆด้วยซ้ำ
ภู : อ่าาาา..งืมๆๆ จริงด้วย..รู้สึกเหมือนตอนที่ภูไปโรงเรียนเลย แหะๆ (^~^;)ゞ
ชิว : ดังนั้นต้องกำหนดสุขให้ตรงกับสถานการณ์ปัจจุบัน หรือ สิ่งที่กำลังทำอยู่ นี้เรียกว่า..รู้ความโสมนัสที่ควรเสพ และ รู้ความโสมนัสที่ไม่ควรเสพ ที่เคยสอนภูไว้เรื่องจิตตสังขารตอนฝึกพุทโธอริยะสัจ ๔ ไง เป็นปัญญาทำให้จิตเราตั้งขึ้น ขจัดความหดหู่ ท้อถอย เหนื่อยถ่าย เกียจคร้าน ง่วงซึม จนถึงขจัด Toxic อันเป็นเหตุให้หดหู่ซึมเศร้าได้เลยนะ ให้ทำความสุข(โสมนัส)ที่ควรเสพดังนี้..
วิธีใช้..พุทโธวิมุติสุข ทำความสุขที่ควรเสพ (โสมนัส)
1. ถ้าเคร่งเครียด หรือ กดดัน หรือ อึดอัด กระวนกระวาย ร้อนรน หรือ ประหม่า หรือ วิตกกังวล หรือ ฟุ้งซ่าน ไม่สงบ หรือ มีใจอัดอั้นพลุุกพ่านไม่ปกติเย็นใจ หรือ ติดตรึงใคร่เสพสุขจากภายนอก หรือ ถูก Toxic หรือ กลัว หรือ ป่วย หรือ หยุดเรียน หรือ ปิดเทอม หรือ บวช ไม่มีสิ่งใดเป็นภาระ คือ กาลอันควรแก่เวลาให้เรานึกถึง..วิมุตติสุข อาการที่แช่มชื่น เบิกบาน อิ่มเอม เย็นใจ เป็นที่สบายกายใจ ปลอดโปร่ง รื่นรมย์ ปะทุพลั่งพลูความชื่นบาน ซาบซ่าน เป็นสุขจากภายในใจขึ้นมา (เป็นการสร้าง..ฉันทะอิทธิบาท ๔ ให้เกิดประกอบขึ้นด้วย วิริยะอิทธิบาท ๔ ความเพียร
• พุทโธวิมุตติสุขนี้..คือ สุขที่เนื่องด้วยใจ, เป็นทั้งการแผ่เมตตาให้ตนเองไปในตัว คือ ปารถนาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ความสุขให้แก่ตนเอง, เป็นทั้งการทำปัสสัทธิความสงบใจไปในตัว, เป็นทั้งการทำสติให้ตั้งมั่นเมื่อเดินลมตามจุดพักลมต่างๆ ทำให้ใจมีกำลังตั้งมั่นหนักแน่นตาม เมื่อใช้คู่กับ พุทโธอริยะสัจ ๔ ก็จะละกิเลสที่เกิดมีขึ้นได้ดี)
2. ถ้าอยู่ในแวดวงกลุ่ม Toxic ที่โรงเรียน ที่ทำงาน คือ กาลอันควรแก่เวลาให้เรานึกถึง..วิมุตติสุข สุขที่เนื่องด้วยใจตน ไม่เอาความสุขสำเร็จไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่น เมื่อหนีสังคม Toxic ไม่พ้น ให้น้อมนึกถึงความสุขที่ตนอยู่กับคนกลุ่มนั้นได้โดยไม่ทุกข์ สุขที่ใช้ชีวิตอยู่ในกลุ่ม Toxic ได้โดยไม่ทุกข์ร้อนสุมไฟ โกรธ เกลียด ชัง..ใส่ใจตน เราเก่ง เราสุขที่ไม่ใส่ใจให้ค่าความสำคัญกับเขาเหล่านั้นเกินความจำเป็น เหมือนเขาเป็นเพียงสิ่งแวดล้อมในฉากละครทีวีฉากหนึ่งเท่านั้น ไม่คิดสืบต่อ Toxic จากเขา ไม่มีความติดใจข้องแวะอะไรกับเขาเหล่านั้น มันเย็น เบาใจ ปลอดโปร่ง โล่ง สุขสบายใจ (เป็นการสร้าง..ฉันทะอิทธิบาท ๔ ให้เกิดประกอบขึ้นด้วย วิริยะอิทธิบาท ๔ ความเพียร คือ พอใจยินดีใน วิมุตติสุข อันเป็นสุขที่เนื่องด้วยใจ ไม่ใส่ใจให้ค่าความสำคัญในเรื่อง Toxic ไม่คิดสืบต่อ Toxic มีความเพียรประครองใจตนไว้อยู่ ละความขุ่นข้องขัดเคืองใจ โกรธ เกลียด ชัง ซึมเศร้า เสียใจ ร่ำไร รำพัน ออกเสียจากใจเราได้ ให้ดำรงอยู่โดยความสุขเบาใจ ไม่ติดใจข้องแวะโลก(กลุ่มสังคม Toxic) )
3. ถ้าคิดจะทำสิ่งใดตามอารมณ์ รัก ชัง หลง กลัว หรือ คิด พูด ทำ..ในสิ่งที่ไม่ดีตามความรู้สึกนึกคิดที่..โลภ ใคร่ โกรธ เกลียด ชัง พยาบาท ลุ่มหลง คือ กาลอันควรแก่เวลาให้เรานึกถึง..สุขในการทำสิ่งที่เป็นกุศลดีงาม ปราศจากการทำร้ายเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น มีสติยั้งคิด แยกแยะ คุณ โทษ ถูก ผิด มันสุขกายสบายใจ นอนก็เป็นสุข ตื่นก็เป็นสุข ไม่มีสิ่งที่ทำให้เราต้องหวาดกลัว หวาดระแวง เป็นโทษ ทุกข์ ภัย ต่อตนเองในภายหลัง ไปที่ได้ก็เย็นใจ อยู่ที่ใดก็สบายใจ ชีวิตเป็นสุขพ้นจากทุกข์ภัยแล้ว (เป็นการสร้าง..ฉันทะอิทธิบาท ๔ ให้เกิดประกอบขึ้นด้วย วิริยะอิทธิบาท ๔ ความเพียร คือ พอใจยินดีในการทำสิ่งดีมีกุศล ยินดีในการ หยุด / เลิก ทำสิ่งที่ชั่วตามอารมณ์ความรู้สึกใน..รัก โลภ โกรธ หลง ยินดีในการทำใจสละคืนความคิดนึกกระทำตามใจรัก โลภ โกรธ หลง มีความเพียรประครองใจตนไว้อยู่ดำรงมั่นในการตัดทิ้งความคิด Toxic ใคร่ได้ เกลียด ชัง ซึมเศร้า หลง กลัว ออกจากใจ)
คลิกเพื่อดู..วิธีทำ พุทโธวิมุตติสุข
4. ถ้าทำงานบ้าน คือ กาลอันควรแก่เวลาให้นึกถึงผลสำเร็จจากงานที่ทำ ให้นึกถึงความสุขสำเร็จ ความสะอาดเรียบร้อย สิ่งดีงามจากการทำงานบ้านนั้น มันสะอาดตา สบายใจ มีระเบียบ ปรอดโปร่ง เป็นสุข เหมือนอยู่ท่ามกลางความสะอาดงดงามฉันนั้น (เป็นการสร้าง..ฉันทะอิทธิบาท ๔ ให้เกิดประกอบขึ้นด้วย วิริยะอิทธิบาท ๔ ความเพียร)
5. ถ้ากำลังเข้าเรียน คือ กาลอันควรแก่เวลาให้เรานึกถึงผลสำเร็จจากสิ่งที่เราเรียนรู้ ฝึกฝน ปฏิบัติทำ ให้นึกถึงความสุขจากการที่เราได้เรียนรู้ เข้าใจ ทำได้ งานครบ ประสบผลสำเร็จ สอบได้คะแนนดีๆ เก่ง ฉลาด มันสุข มันชื่นบานใจ (เป็นการสร้าง..ฉันทะอิทธิบาท ๔ ให้เกิดประกอบขึ้นด้วย วิริยะอิทธิบาท ๔ ความเพียร)
6. ถ้าทำการบ้าน คือ กาลอันควรแก่เวลานึกถึงผลลัพธ์ และ ผลสำเร็จจากการทำการบ้านนั้น + รู้เหตุ (หลักวิธีการทำของการบ้าน) + รู้ผล (เนื้อหาหลักวิธีการ/เนื้อหาการบ้าน, ความต้องการของงาน) + รู้ตน (ความรู้และทักษะความสามารถที่ตนมี) + Skill ประเมิน (ตนเอง + สิ่งที่ทำ/การบ้าน + สถานการณ์ = ยาก/ง่าย, มาก/น้อย, ช้า/เร็ว) + Skill รู้กาล (ระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินงานจนแล้วเสร็จ) ให้นึกถึงการบ้านวิชาต่างๆ นึกถึงเราทำการบ้านเสร็จสิ้น มีงานส่งครู มันว้าวมาก ไม่ต้องเหนื่อยแก้ส่งการบ้าน แถมได้ฝึกฝนตนเองให้เก่งขึ้น มันสบายกายใจจริงๆ (เป็นการสร้าง..ฉันทะอิทธิบาท ๔ ให้เกิดประกอบขึ้นด้วย วิริยะอิทธิบาท ๔ ความเพียร) แล้วเปิดใช้ Skill ประเมิน ลำดับความสำคัญ ดังนี้..
• นึกว่าการบ้านวิชาใดมีมากน้อยเพียงใด แต่ละวิชาทำสิ่งใดบ้าง แล้วนึกถึงว่า..เราทำสิ่งใดวิชาใดก่อน แล้วมันสบายเสร็จไว ผ่อนคลาย มีเวลาทำอย่างอื่นได้ (พุทโธอริยะสัจ ๔ ว่าด้วย..นิโรธ เปิดใช้งาน Skill ประเมิน, รู้กาล)
• นึกถึงหลักการ บทเรียน เนื้อหา วิธีทำ แต่ละรายวิชาที่มี (ไม่ใช่นึกถึงความยากลำบากตรากตรำที่ต้องทำ..แต่ให้นึกถึงว่า..วิชานี้ๆมีวิธีทำอย่างไร ใช้ระยะเวลาในการดำเนินงาน..นาน..หรือ..เร็ว)
• นึกถึงความสำเร็จ คือ การที่เราทำการบ้านเสร็จได้ด้วยดีนั้น มันทำให้เราเก่ง เรามีงานส่งครู ไม่ต้องตามแก้ มันสบาย เป็นสุข (พุทโธอริยะสัจ 4 ว่าด้วย..มรรค รู้เหตุ, รู้ผล, เปิดใช้งาน Skill ประเมิน, รู้กาล) อีกทั้งจะทำให้เรารู้ลำดับความสำคัญได้ว่า เราจะทำการบ้านวิชาใดก่อนจึงจะดีกับเราได้อีกด้วย ทำให้เราทำงานได้ไวสำเร็จโดยเร็ว มีเวลาส่วนตัว ไม่มีเรื่องเร่งรีบให้เคร่งเครียด การบ้านมันแค่นี้เอง
• เมื่อเวลางมือทำการบ้าน เราก็แค่ทำไปสังเกตุ วิเคราะห์ทำความเข้าใจไป ไม่เข้าใจก็ให้ถาม หรือ ตั้งสมมติฐานเพื่อทดสอบ แล้วทดลองฝึกฝนทำ หรือ จดไว้ว่ามีสิ่งใดต้องทบทวนใหม่อีกครั้ง เมื่อมีเวลาก็กลับไปทบทวนใหม่ เมื่อเข้าใจแล้วก็จดบันทึกไว้กันลืมในแบบที่เราเข้าใจง่าย กลับมาทบทวนได้ มันแค่นี้เอง สบายมาก เมื่อการบ้านเสร็จครบหมด เราก็มีเวลาทำอะไรอีกเยอะแยะ (อาศัย..ฉันทะ + วิริยะ + จิตตะ + วิมังสา ในอิทธิบาท ๔ พอใจยินดีเต็มใจทำ + มุ่งมั่นตั้งใจทำเพือความสำเร็จ + ความเอาใจใส่ในงาน + สอดส่องดูแล..โดยใช้ทักษะความสามารถที่ตนมี ในการทำการบ้านให้ได้ผลสำเร็จออกมาดีงาม เรียบร้อยไปได้ด้วยดี)
7. ถ้าทำงานปฏิบัติตามหน้าที่ความรับผิดชอบตน ทำกิจการงานตามหน้าที่ปฏิบัติที่ต้องทำของตน คือ กาลอันควรแก่เวลาให้เรานึกถึงผลลัพธ์ และ ผลสำเร็จจากการทำงานนั้น + หลักวิธีการทำ + เนื้อหา/ความต้องดารของงาน + ตน(ความรู้และทักษะความสามารถที่ตนมี) + Skill ประเมิน + กาล(ระยะเวลาแล้วเร็จ) ให้หมายรู้สุขจากการทำการที่สำเร็จครบพร้อมดีงาม มีผลสำเร็จของงานออกมาเป็นที่พึงพอใจ สามารถตอบโจทย์ความต้องการของใจทีมงาน หัวหน้างาน ลูกค้าได้ดี ทำงานได้สำเร็จ คล่องแคล่วว่องไว ถามได้ ตอบได้ชัดเจน (เป็นการสร้าง..ฉันทะอิทธิบาท ๔ ให้เกิดประกอบขึ้นด้วย วิริยะอิทธิบาท ๔ ความเพียร) (พุทโธอริยะสัจ ๔ ว่าด้วย..นิโรธ)
• การทำงานของเรา จะต้องทำอย่างไรจึงจะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของใจได้บ้างหนอ ไม่มากก็น้อย ดีกว่าไม่ได้เลย เช่น เพื่อนร่วมงานในทีม หัวหน้างาน ลูกค้า มักจะสอบถามความคืบหน้าของงาน ใช้อะไรดำเนินการ ตอนนี้ดำเนินการถึงไหนแล้ว สถานะดำเนินการเป็นอย่างไร ติดปัญหาสิ่งใด มีแผนการรองรับหรือมีแนวทางแก้ไขอย่างไร เวลาไหนจึงจะสำเร็จ สิ่งเหล่านี้คือ คำถามซ้ำๆของทุกๆงาน (หากเป็น Creative ก็จะมีเรื่องมุมมอง แนวคิด จินตนาการ เข้ามา ซึ่งจะจัดอยู่ในแผนงาน แผนผังมุมมองแนวคิด)
• สรุปโดยรวมก็คือ เราต้องรู้หลักการทำงาน เข้าใจเนื้อหาของงาน รู้การดำเนินงาน รู้วิธีทำ และ การแก้ไขสถานการณ์ (พุทโธอริยะสัจ ๔ ว่าด้วย..มรรค รู้เหตุ, รู้ผล, รู้ตน, เปิดใช้งาน Skill ประเมิน และ รู้กาล)
• ดังนั้นแนวทางแก้ไขตอบโจทย์ปัญหาของเรานี้ ที่ต้องทำก็มีดังนี้..
7.1) รู้เหตุ(รู้หลักการแนวทางปฏิบัติ) เราก็ต้องมีความรู้ในงานของเรา คือ รู้และมีแผนการทำงานในสิ่งที่ทำ
7.2) ทำเหตุ การลงมือปฏิบัติงาน การดำเนินงานตาม PLAN ที่วางไว้ (อาศัย..ฉันทะ + วิริยะ + จิตตะ + วิมังสา ในอิทธิบาท ๔ พอใจยินดีเต็มใจทำ + ความมุ่งมั่นตั้งใจทำให้สำเร็จ + ความเอาใจใส่ในงาน + สอดส่องดูแล..โดยใช้ทักษะความสามารถที่ตนมี ในการทำงานให้ได้ผลสำเร็จออกมาดีงาม เรียบร้อยไปได้ด้วยดี)
7.3) รุู้เหตุ(รู้กิจ และ รู้วิธีการ) + รู้ผล อาศัย..จิตตะ + วิมังสา ในอิทธิบาท ๔ เอาใจใส่ในงาน + สอดส่องดูแล..โดยใช้ทักษะความสามารถที่ตนมี ในการทำงานให้ได้ผลสำเร็จออกมาดีงาม เรียบร้อยไปได้ด้วยดี มีการตรวจสอบความคืบหน้าของงานที่กำลังอยู่เป็นระยะๆ เมื่อการดำเนินงานมาถึงจุดนี้แล้วจะสืบต่อผลอย่างไร จะต้องปฏิบัติตามแนวทางใดสืบต่อไปอีก คุณภาพของงาน
7.4) รู้ผล + รู้ประมาณ(Skill ประเมิน) + รู้กาล เป็นการประเมินผลสำเร็จ หรือ ประเมินระยะเวลาแล้วเสร็จ(EET) เป็นการประเมินผลคร่าวๆ ถึงกำหนดการณ์ระยะเวลาที่ใช้ดำเนิงานที่คาดว่าจะแล้วเสร็จ จากการปฏิบัติงานที่ทำอยู่ จะใช้เวลาโดยประมาณ..กี่นาที..กี่ชั่วโมง..กี่วัน..กี่เดือน ที่มีความเป็นไปได้ว่าตะแล้วเสร็จที่แน่นอน หรือ ใกล้เคียงที่สุด
7.5) กำหนด..รู้ผล หากมีข้อผิดพลาด หรือ ล่าช้า เราจะทำสิ่งใดต่อ มีแผนงานไว้รองรับอย่างไร ใช้หลักการข้อใดในการแก้ไขให้ตรงจุด (กลับไปใช้หลักการตามข้อที่ 7.1 - 7.4 อีกครั้ง)
ภู : โอเคเลย..(☆▽☆)
ชิว : งั้นภูรีบทำ พุทโธวิมุตติสุข + รู้เหตุ + รู้ผล + รู้ตน + รู้ประมาณ + รู้กาล ได้เลย
..จากนั้นภูจึงทำตามชิวบอก กำหนดเข้าวิมุตติสุขในการทำการบ้าน นึกถึงความสำเร็จ ดีงามหากทำการบ้านเสร็จ ก็เกิดความยินดีทำ มีใจอยากทำให้เสร็จ แล้วภูก็พิจารณา เหตุ ผล หลักการวิธีทำการบ้านแต่ละวิชา ประเมินความมากน้อย ยากง่าย แล้วพิจารณาเวลาในการทำการบ้านของแต่ละวิชาเทียบกับความสามารถตน ก็ได้ข้อสรุปลำดับวิชา วิชาที่จดบันทึกลอกจากหนังสือไม่มาก ภูก็ทำก่อน วิชาที่มีจดจากหนังสือและคำนวณไม่มากก็ทำรองลงมา วิชาที่เน้นการคำนวณเยอะทำยาก ก็เอาไว้มีหลังจะได้ไม่กินเวลาทำวิชาอื่น แล้วก็ลงมือทำ
..เมื่อพอถึงเวลา 8:20 น. ชิวจึงเตือนภูว่า
ชิว : ภูไม่รู้เวลาอีกแล้วนะ
ภู : ห๊ะ.. (ノ゚0゚)ノ→ โอ้ว ได้เวลาไปซื้อข้าวแล้วนี่นา
ชิว : เวลาทำงานอย่างนี้ภูก็ควรจะตั้งเวลาเตือนความจำไว้นะ ใช้มือถือตั้งนาฬิกาปลุกไว้สิ ทำตารางเวลาตัวเองไว้ว่าเวลานี้ต้องทำสิ่งใด ใช้ทุกอย่างให้เป็นประโยชน์
ภู : โอ้ว..(✧Д✧)→ เข้าใจแล้ว..
..หลังภูออกไปกินข้าวเสร็จกลับมา 09:30 น. ก็เริ่มปั่นการบ้านต่อ โดยตั้งนาฬิกาปลุกไว้ตอน 12:20 น. เพื่อพักทานข้าวเที่ยง
..เมื่อนาฬิกาปลุกดัง ภูทำงานเสร็จไป 3 วิชา ออกไปซื้อข้าวด้วยความรู้สึกดีว่า ตนเองทำอะไรก็คล่องขึ้นง่ายขึ้น ไม่หลงลืม การจัดตารางเวลามันดีอย่างนี้นี่เอง การรู้ว่าสิ่งไหนควรทำเวลาใด ลำดับตามความสำคัญ นี่สินะการรู้กาล ภูนึก..ว้าวว..ในใจ
..ภูกลับถึงบ้าน 13:10 น. แล้วเริ่มทำการบ้านต่อ ประมาณเวลา 15:00 น. ภูทำการบ้านอีก 2 วิชา เสร็จ แล้วก็ยืนขึ้นบิดขี้เกียจยืดเส้นสาย แล้วเก็บของเข้าที่
ภู : โอ้ว.. (ノ◕ヮ◕)ノ*.✧ ทำเสร็จแล้ว..
ชิว : ภูเก่งมากๆเลย ชิวววว Ꮚ\(。◕‿◕。)/Ꮚ ทีนี้รู้หรือยังว่า การลำดับความสำคัญแล้วจัดสรรเวลาทำงานให้ลงตัวมันดีแค่ไหน
ภู : โอ้ว ดีมากๆเลยชิว (≧▽≦) ภูชอบ มันไม่ยากเลยเนอะ แค่ทำสิ่งไหนได้ก่อนให้ทำก่อน อันไหนง่ายทำก่อน อันไหนทำเสร็จได้เลยใก้ทำก่อน แล้วค่อยเรียงตามระยะเวลาที่ต้องใช้ในการทำงาน ว้าวววววว (☆▽☆) นึกว่าวันนี้จะไม่เสร็จซะละ 5555
ชิว : การรู้กาล หรือ SKILL รู้กาล เป็น Skill ที่รู้ความเหมาะสม รู้กาละเทศะ ว่าเวลานี้ควรทำอะไร ไม่ควรทำอะไร และ ยังเป็น Skill ควบคุมเวลาในชีวิตประจำวันของเราด้วยนั่นเอง
ภู : ว้าววว เท่เลย SKILL ควบคุมเวลา (☆▽☆)
ชิว : เช่น ถ้าภูเข้าเรียนวิชาคณิตศาสตร์อยู่ ภูควรจะตั้งใจเรียนคณิต หรือนั่งเล่นเกม หรือ คิดวิชาอังกฤษหรือไม่ เพราะอะไร
ภู : ไม่ เพราะจะเรียนวิชาคณิตศาสตร์ไม่รู้เรื่อง
ชิว : ถูกต้อง..แล้วถ้าเราเรียนไม่เข้าใจ ควรถามทันทีตอนนั้น หรือ ต้องรอให้ครูสอนเสร็จก่อน
ภู : ถามเลยทันที เอ๊ะ หรือจะถามตอนสอนเสร็จ
ชิว : ถ้าครูกำลังสอนในเรื่องนั้นอยู่ ก็ให้ฟังครูสอนในเรื่องนั้นให้จบก่อน แล้วค่อยถามก่อนครูจะเปลี่ยนไปสอนในเรื่องอื่น บอกว่าครูครับภูไม่เข้าใจตรงนี้พอจะอธิบายเพิ่มได้ไหมครับ มีวิธีจับจุดประเด็นหลักยังไงครับ ถ้าครูถามว่ามีใครไม่เข้าใจไหม ก็ให้ยกมือขึ้นขอถามทันที แต่หากไม่มีโอกาสถามในชั่วโมงเรียน ก็รอดูตอนชั่วโมงว่างของครูแล้วค่อยไปสอบถามเพิ่มเติม ถ้ายังไม่เข้าใจอีก..เราก็ลองหาความรู้เพิ่มเติมจากหลายๆช่องทาง เช่น ถามเพื่อน หรือ ใช้อินเตอร์เน็ตให้เป็นประโยชน์เสาะหาตามกูเกิล หรือ ยูทูป เพราะคนเรามีวิธีเข้าถึงที่ต่างกัน บางครั้งเราอาจจะเข้าใจในหลักวิธีทำและการจดจำอีกแนวทาง นี่ก็เป็นการรู้กาละเทศะ รู้กาล
ภู : โอเชเยย (ノ◕ヮ◕)ノ*.✧
ชิว : อีกอย่าง ภูต้องรู้ว่าเวลาไหนควรเล่น เวลาไหนควรทำสิ่งใด เช่น ถ้าเสร็จกิจหน้าที่การงานที่ต้องทำหมดแล้ว ก็แบ่งเวลาเล่นได้
ภู : เย้ๆๆๆ (≧▽≦)
ชิว : อย่าเพิ่งดีใจ ภูต้องกำหนดรู้ทบทวนตนก่อน ว่ายังมีสิ่งใดต้องทำอีกไหม ภูต้องเปิดใช้ Skill ประเมินตนเอง + Skill รู้กาล ก่อนเลย
ภู : ได้เลย (ノ◕ヮ◕)ノ*.✧
..แล้วภูก็นั่งกำหนดรู้กิจของตน ก็รู้ว่าตนยังเหลือขอการบ้านในวันนี้ ล้างจาน กวาดบ้าน ที่ควรละคือเล่นเกม ที่ควรรักษาคือวินัย เมื่อพิจารณาเรื่องขอการบ้าน รู้สถานการณ์เทียบกับเวลาตอนนี้ อีก 30 นาที เพื่อนๆถึงจะเลิกเรียนกัน ตอนนี้ภูมีไลน์กลุ่มเพื่อน เบอร์โทรเพื่อน กลุ่มไลน์ห้อง กลุ่มไลน์ตามรายวิชาแล้ว เนื่องจากได้ให้เพื่อนดึงเข้ากลุ่มให้ จึงเป็นเรื่องง่ายในการขอการบ้านเพื่อน โดยสามารถพิมพ์ของในไลน์กลุ่มรายวิชา ตามตารางเรียนของวันนี้ได้เลย
..เมื่อภูนั่งพิจารณา ลำดับความสำคัญร่วมกับระยะเวลาที่ใช้ทำแล้ว ก็เห็นว่า การบ้านก็เพียงแค่ไลน์แจ้งขอการบ้านจากครู ข้อนี้สำคัญ อีกทั้งทำได้ง่ายและเสร็จไว แต่ต้องรอช่วงเวลา 15:40 น. เพราะตอนเลิกเรียนเพื่อนหรือครูจะไม่ติดเรียนกรือติดสอนอยู่ / ล้างจาน ทำได้ทันที มีจานชามเพียง 4 ใบ ใช้เวลาไม่นาน ทำเสร็จก็ได้เวลาของานครูพอดี / กวาดบ้าน ใช้เวลานาน
..ภูก็จึงสรุปว่า..ล้างจาน → ขอการบ้านครูในกลุ่มไลน์ของรายวิชา → กวาดบ้าน แล้วลงมือทำทันที
..ล้างจานเสร็จ ก็ขอการบ้านครูในไลน์โดยแท็คครูทิ้งไว้ทุกวิชา รอครูตอบกลับประมาณ 5 นาที เมื่อยังไม่มีก็กวาดบ้านในทันที ใช้เวลา 30 นาที กวาดบ้านเก็บของ 16:25 น. ภูมาเปิดดูไลน์อีกครั้ง พบมีครูตอบกลับมา 4 วิชา ภูส่งสติ๊กเกอร์ขอบคุณครูตอบกลับ
ชิว : การบ้านมีกี่วิชา ต้องส่งวันไหนหรอภู
ภู : มี 4 วิชา ส่งวัน อังคารกับวันศุกร์หน้า
ชิว : แล้วการบ้านที่ครูสั่งเป็นของวันนี้ ปัจจุบันนี้ หรือวันไหน
ภู : อ่า..ครูสั่งมาวันนี้ แต่ส่งในอีก 4 วัน
ชิว : ถ้าสั่งวันนี้ก็คืองานของวันนี้ แต่มีระยะเวลาในการทำอีก 3 วัน คือ เสาร์ อาทิตย์ จันทร์ แต่ควรทำให้เสร็จภายในวันอาทิตย์นี้ เพื่อไปไปโหลดภาระการบ้านวิชาอื่นในวันจันทร์ ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำวันนี้ตอนนี้คืออะไร
ภู : งืมๆๆๆ (ภูนึกถึงเรื่องเมื่อเช้า) ทำพุทโธวิมุตติสุขในการบ้าน + Skill ประเมินการบ้าน + Skill รู้กาล ประเมินระยะเวลาที่ใช้ในการทำ + การจัดลำดับความสำคัญ แล้วนำมาเทียบกับเวลาในปัจจุบัน
ชิว : ถูกต้อง ภูเก่งมากๆ ตอนนี้รู้หลักการแล้ว งั้นลงมือทำเลย
..แล้วภูก็ทำ พุทโธวิมุตติสุขในการบ้าน + Skill ประเมินการบ้าน + Skill รู้กาล ประเมินระยะเวลาที่ใช้ในการทำ + การจัดลำดับความสำคัญ แล้วเทียบกับเวลาในปัจจุบัน..ก็สรุปผลออกมาว่า วันนี้จะทำ 2 วิชา เพราะมีน้อยทำได้ไว ถ้ามีเวลาเหลือ ค่อยทำต่อ แต่จะทำหลังทานข้าวเย็นเสร็จ เพราะตอนนี้ขอผ่อนคลายเล่นเกมก่อนที่ปะป๊าจะมาในอีก 1:30 ชั่วโมง (≧▽≦) เพราะทำการบ้านมาทั้งวันแล้ว..
ชิว : จัดสรรเวลาให้ดีๆนะภู จะได้ไม่ยุ่งยากภายหลัง.. SKILL รู้กาล คือ การเปิดใช้ Skill ประเมิน (ประเมินตนเอง + ประเมินสิ่งที่ทำ ประเมินสถานการณ์ + ประเมินความต้องการที่จำเป็นต้องใช้ + ประเมินระยะเวลาที่ทำ) + การลำดับความสำคัญจัดสรรตามเวลาที่เหมาะสมกับปัจจุบัน คือ รู้ว่าเวลานี้ควรแก่กิจหน้าที่การงานใด-ไม่ควรแก่การทำสิ่งใด เวลาไหนควรแก่กิจหน้าที่การงานใด-ไม่ควรแก่การทำสิ่งใด..นั่นเอง เรื่องของเวลาจะข้องเกี่ยวกับทุกสิ่งที่ทำจึงต้องให้ความสำคัญให้ดี ทุกๆคนมีเวลาเท่ากัน คือ 1 วัน มี 24 ชั่วโมง 1 ชั่วโมง มี 60 นาที 1 นาที มี 60 วินาที เหมือนกันทุกคนบนโลก ถ้าจัดสรรเวลาที่ควรทำ และ ไม่ควรทำได้ลงตัว ก็จะสามารถใช้เวลาใน 1 วันนี้นเกิดประสิทธิภาพได้มากมาย
ภู : โอ้ว เยสเซอร์ รับทราบแล้วครับ (ノ゚0゚)ノ→
คุยกันท้ายตอน
กาลัญญุตา เป็นผู้รู้จักกาลคือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการประกอบกิจ กระทำหน้าที่การงาน เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา ให้เหมาะเวลา เป็นต้น
ก็ภิกษุเป็นกาลัญญูอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น...
ธัมมัญญูสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 23
ธัมมัญญูสูตร
[๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นผู้ ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๗ ประ การเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นธัมมัญญู รู้จักธรรม ๑ อัตถัญญู รู้จักอรรถ ๑ อัตตัญญู รู้จักตน ๑ มัตตัญญู รู้จักประมาณ ๑ กาลัญญู รู้จักกาล ๑ ปริสัญญู รู้จักบริษัท ๑ ปุคคลปโรปรัญญู รู้จักเลือก คบคน ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นธัมมัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ธรรม คือ สุตตะ เคยยะ ไวยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ หากภิกษุไม่พึงรู้จักธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ เราก็ ไม่พึงเรียกว่าเป็นธัมมัญญู แต่เพราะภิกษุรู้ธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ ฉะนั้นเราจึงเรียกว่าเป็นธัมมัญญู ด้วยประการฉะนี้ ฯ
ก็ภิกษุเป็นอัตถัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักเนื้อความ แห่งภาษิตนั้นๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ๆ หากภิกษุไม่พึงรู้เนื้อความ แห่งภาษิตนั้นๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ๆ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็น อัตถัญญู แต่เพราะภิกษุรู้เนื้อความแห่งภาษิตนั้นๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่ง ภาษิตนี้ๆ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นอัตถัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู ด้วยประการฉะนี้ ฯ
ก็ภิกษุเป็นอัตตัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักตนว่า เรา เป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เพียงเท่านี้ ถ้าภิกษุไม่ พึงรู้จักตนว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เพียงเท่านี้ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นอัตตัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จักตนว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เพียงเท่านี้ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นอัตตัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู ด้วยประการฉะนี้ ฯ
ก็ภิกษุเป็นมัตตัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ รู้จักประมาณในการรับ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หากภิกษุไม่พึงรู้จัก ประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เราก็ ไม่พึงเรียกว่าเป็นมัตตัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จักประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นมัตตัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู ด้วยประการฉะนี้ ฯ
ก็ภิกษุเป็นกาลัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักกาลว่า นี้ เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาล หลีกออกเร้น หากภิกษุไม่พึงรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น เราไม่พึงเรียกว่าเป็น กาลัญญู แต่เพราะภิก