บทส่งท้าย Skill รู้กาล และ บรรณานุกรม
สาธยายธรรมอ้างอิง
กาลัญญุตา เป็นผู้รู้จักกาลคือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการประกอบกิจ กระทำหน้าที่การงาน เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา ให้เหมาะเวลา เป็นต้น
ก็ภิกษุเป็นกาลัญญูอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น...
ธัมมัญญูสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 23
ธัมมัญญูสูตร
ก็ภิกษุเป็นกาลัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักกาลว่า นี้ เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาล หลีกออกเร้น หากภิกษุไม่พึงรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น เราไม่พึงเรียกว่าเป็น กาลัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็น กาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็น กาลัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู กาลัญญู ด้วย ประการฉะนี้ ฯ
หลักแนวคิดอ้างอิง รู้จักคำว่า คิดในปัจจุบัน และ การจัดการในปัจจุบัน
การคิดปัจจุบัน..ไม่ใช่ว่า..รู้ว่างานจะต้องทำ หรือ จะต้องใช้ในวันและเวลาพรุ่งนี้ ไม่ใช่ตอนนี้ แล้วปล่อยและละเลย มารอจัดการในวันพรุ่งนี้เอา แล้วมาบอกว่ารอทำในปัจจุบัน มันก็จะเกิดความยุงยากวุ่นวาย ก็จะไม่ทันการ
แต่การคิดในปัจจุบัน คือ คิดในสิ่งที่รับรู้ หรือ กระทำอยู่ในขณะนั้น แล้วจัดการกับสิ่งที่ได้รับรู้ และ ความคิดที่มีต่อสิ่งนั้น ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมควรแก่กาล กล่าวคือ เป็นการไม่ส่งจิตออกนอก เช่น เรียนอังกฤษอยู่ใจก็จดจ่อเอาใจใส่ในสิ่งมี่เรียนในเวลาปัจจุบัน ไม่เผลอไผลไปคิดเรื่องอื่น, หรือ..ปัจจุบันครูสั่งการบ้านต้องส่งในสัปดาห์หน้า / หัวหน้ามอบหมายงานให้ทำซึ่งเป็นแผนงานการประชุมในสัปดาห์หน้า สิ่งนี้ก็เป็นงานของปัจจุบัน เป็นหน้าที่ของปัจจุบันที่ต้องทำ เพียงแต่มีระยะเวลาจัดทำและต้องส่งงสนในสัปดาห์หน้าเท่านั้น
ส่วนการคิดในสิ่งที่ไม่เป็นปัจจุบัน คือ การกระทำที่เป็นการส่งจิตออกนอกนี้ เป็นอาการที่จิตไม่รู้ในกิจหน้าที่ของตนในปัจจุบันที่ควรกระทำ แต่ไปรำลึกถึง ตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึงสิ่งที่ไม่ใช่หน้าที่ตนใจปัจจุบัน เช่น กำลังทำงานปัจจุบันอยู่ แต่ไปนึกถึงเลิกงาน, กำลังเรียนคณิตศาสตร์ ไปคิดภาษาไทย หรือ ไปคิดเรื่องรักใคร่ เป็นต้น
..เมื่อจะกล่าวถึงการวางแผนดำรงชีวิต ก็การวางแผนนั้นเป็นกิจหน้าที่ของตนในทุกๆวัน เพื่อสืบต่อผลสำเร็จใจวันพรุ่งนี้ ดังนั้น การวางแผน ก็คือ การจัดการปฏิบัติทำในปัจจุบันเพื่อไปสู่ผลลัพธ์ที่มุ่งหมาย เป็นกิจหน้าที่การงานของตนที่ต้องทำในปัจุบันทุกวัน
โดยการวางแผน ก็คือ การรู้หลักการ แนวทาง วิธีการนั่นเอง เป็นการรู้เหตุ ทำเหตุ ซึ่งเป็นกิจหน้าที่ของตนในทุกๆวัน ในทุกๆขณะเวลา ชื่อว่า ผู้รู้เหตุที่จะสืบต่อไปสู่ผลในปัจจุบัน แล้วทำเหตุนั้น ส่วนการดำเนินชีวิตตามแผนการนั้น เป็นการรู้ผล รู้ว่าสิ่งนี้ที่ทำเพื่อมุ่งหมายผลอย่างไร ทำเพื่อประโยชน์สิ่งใด มีอะไรเป็นผลสืบต่อ
ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ไม่มีขัดกัน เป็นธรรมจองปัจจุบันกาล คือ เป็นการกระทำในปัจจุบัน (เหตุ) ที่ให้ผลสืบต่อในกาลต่อไป (ผล)
โดยการจัดการและจัดสรรการกระทำทั้งหมด ให้ถูกต้องเหมาะสมควรแก่กาลนี้..ก็คือ..การรู้ลำดับความสำคัญ การรู้ว่่าเวลานี้ควรทำสิ่งใด เวลานี้ไม่ควรทำสิ่งใด เวลานั้นควรทำสิ่งใด เวลานั้นไม่ควรสิ่งใด สิ่งนั้นควรทำเวลานี้ สิ่งนี้ควรทำเวลานั้น สิ่งโน้นควรทำเวลาใด พอถึงเวลาก็จัดการตามที่วางไว้นั้น นี่คือ..การรู้เวลา ที่เรียกว่า การรู้กาล ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอน เป็นแผนการดำเนินงาน เป็นการจัดตารางเวลาของตนนั่นเอง
อุปมา..เปรียบเหมือนนักเรียนมีตารางเรียนในแต่ละวันอยู่แล้ว เมื่อรู้หน้าที่ตน หลังทำการบ้านเสร็จ ก่อนนอนก็ต้องจัดตารางเรียนของวันพรุ่งนี้ไว้ เมื่อตื่นเช้ามา หลังทำธุระส่วนตัวเสร็จ ก็สะพายกระเป๋าไปเรียนได้ทันทีเลย นี่คือการเตรียมแผนงานในปัจจุบัน
อุปไมย..เปรียบการจัดตารางเรียนของวันพรุ่งนี้ ในคืนวันนี้ ก็คือ..หน้าที่การงานสิ่งที่เราต้องทำของวันนี้ ไม่ใช่สิ่งที่ต้องทำวันของพรุ่งนี้ เพราะเป็นหน้าที่การงานตามระเบียบวินัยของเราในวันนี้นั่นเอง ..ส่วนชุดอุปกรณ์การเรียนที่เราจัดไว้ตามตารางเรียนวันพรุ่งนี้ คือ สิ่งที่เราต้องการใช้งานในวันพรุ่งนี้ คือ ผลสืบต่อจากการกระทำในปัจจุบันนั่นเอง
..ทั้งหมดก็ปัจจุบันขณะนั้นทั้งนั้น การจัดการตรงนี้เรียกว่าปัญญา
..ดังนั้นการเตรียมแผนงานที่ต้องทำ ก็คือสิ่งจำเป็น เช่น วันนี้เราได้รับมอบหมายให้จัดทำแผนงานดำเนินการมีกำหนดส่งในอีก 3 วัน ก็แผนงานนั้นที่จริงก็คืองานของวันนี้ที่เราได้รับมอบหมายมา แต่มีหมายกำหนดการส่งงาน..ในอีก 3 วัน ข้างหน้าเท่านั้นเอง ดังนั้นมันก็คืองานของวันนี้ที่เราต้องตรวจสอบว่ามีงานอะไรบ้างเนื้อหาเช่นไร ต้องเตรียมเอกสารอะไร ลำดับงานยังไง โดยมีระยะเวลาจัดการอีกสองวันข้างหน้า
*******************
• การใช้ธรรมธรรมแก้ทางตามกาล (ธรรมอันเป็นฆ่าศึกต่อกัน)
ธรรมการแก้กิเลสต่างๆ
เป็นกรรมฐานที่ใช้อบรมจิตแก้กิเลส และ การใช้โพชฌงค์ตามกาล
โพชฌงค์ หรือ โพชฌงค์ 7 คือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ มีเจ็ดอย่างคือ
สติ (สติสัมโพชฌงค์) ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง
ธัมมวิจยะ (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์) ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม
วิริยะ (วิริยสัมโพชฌงค์) ความเพียร
ปีติ (ปีติสัมโพชฌงค์) ความอิ่มใจ
ปัสสัทธิ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) ความสงบกายใจ
สมาธิ (สมาธิสัมโพชฌงค์) ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์
อุเบกขา (อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง
*******************
สติเป็นคู่ปรับกับอวิชชา
ธัมมวิจยะเป็นคู่ปรับกับทิฏฐิ (สักกายทิฏฐิ และสีลัพพัตปรามาส)
วิริยะเป็นคู่ปรับกับวิจิกิจฉา
ปีติเป็นคู่ปรับกับปฏิฆะ
ปัสสัทธิเป็นคู่ปรับกับกามราคะ
สมาธิเป็นคู่ปรับกับภวราคะ (รูปราคะ อรูปราคะ (ภพที่สงบ) กับ อุทธัจจะกุกกุจจะ (ภพที่ไม่สงบ ความฟุ้งซ่าน))
อุเบกขาเป็นคู่ปรับกับมานะ
*******************
ธัมมวิจยะและวิริยะทำลายทิฏฐิและวิจิกิจฉาอนุสัย บรรลุเป็นพระโสดาบันและหรือพระสกทาคามี
ปีติและปัสสัทธิทำลายปฏิฆะและกามราคะอนุสัย บรรลุเป็นพระอนาคามี
สมาธิ อุเบกขาและสติทำลายรูปราคะ อรูปราคะ อุทธัจจกุกกุจจะ มานะ อวิชชาอนุสัย บรรลุเป็นพระอรหันต์
สติ ความระลึกได้ ธรรมดาสตินั้นเป็นธรรมชาติทำลายโมหะคือความหลง ท่านกล่าวว่าโมหะทำให้เกิดอวิชชา และอวิชชาทำให้เกิดโมหะเช่นกัน ดังนั้นผู้เจริญสติจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำลายอวิชชาลงเสียได้
ธัมมวิจยะ ความพิจารณาในธรรมจนเห็นชัดตามความเป็นจริงย่อมทำลายสักกายทิฏฐิในตัวตนว่าขันธ์ 5 เป็นตัวกู (อหังการ) ของกู (มมังการ) ลงเสียได้และย่อมทำลายสีลัพพัตตปรามาส การถือมั่นในศีลพรตอย่างผิด ๆ ด้วยการเห็นตามความเป็นจริงว่าสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามกฎแห่งกรรม
วิริยะ ความแกล้วกล้าของจิต ที่เพียรพยายามด้วยศรัทธาที่มั่นคง จนประสบผลจากการปฏิบัติจนสิ้นความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือเป็นความศรัทธาในระดับวิริยะ คือมีความแกล้วกล้า (วิร ศัพท์ แปลว่ากล้า) อันหมายถึงความเพียรอันเกิดจากความแกล้วกล้าเพราะศรัทธา
ปีติ ความสุขจากความแช่มชื่นใจของปีติ ย่อมดับสิ้นซึ่งพยาบาทและปฏิฆะความไม่พอใจใด ๆ ลงเสียได้
ปัสสัทธิ ความสงบกายสงบใจ ย่อมทำให้กามราคะที่เกิดเมื่อเกิดย่อมต้องอาศัยการนึกคิดตรึกตรองในกาม เมื่อสำรวมกายคืออินทรีย์ 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และสำรวมใจไม่ให้คิดตรึกตรองในกาม ย่อมยังกามราคะที่จะเกิดไม่ให้เกิดเสียได้
สมาธิ ความตั้งใจมั่น สมาธิระดับอัปปนาสมาธิย่อมกำจัดความฟุ่งซ่านรำคาญใจลงเสียได้ และสมาธิระดับอรูปราคะย่อมทำลายความยินดีพอใจในรูปราคะเสียเพราะความยินดีในอรูปราคะ และสมาธิระดับนิโรธสมาบัติย่อมต้องทำลายความยินดีพอใจในอรูปราคะเสียเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์ (ในชั้นนี้ ผู้ปฏิบัติที่สามารถละปฏิฆะและกามราคะได้เด็ดขาด ย่อมบรรลุเป็นพระอนาคามีที่มีปกติเข้าถึงนิโรธสมาบัติได้แล้ว)
อุเบกขา ความวางเฉย คือวางเฉยในสมมุติบัญญัติและผัสสะเวทนาทั้งหลาย ทั้งหยาบ เสมอกัน และปราณีต จนข้ามพ้นในความเลวกว่า เสมอกัน ดีกว่ากัน จนละมานะทั้งหลายลงเสียได้
*******************
อ้างอิง
https://th.m.wikipedia.orgพระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 241
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม"
พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์"
อานาปานสติสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔
แหล่งข้อมูลอื่น
เจริญสติปัฏฐาน๔ บำเพ็ญโพชฌงค์๗ ให้บริบูรณ์ ในวิกิซอร์ซ
*******************
โพชฌงค์ตามกาล จำเพาะภาวะจริตของผู้เขียนนำมาใช้
เพื่อแสดงว่าธรรมของพระพุทธเจ้าให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
1.) ใช้อสุภะ ละ กามฉันทะ [เป็นการเจริญสติสัมโพชฌงค์ ธัมมะวิจยะสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปิติสัมโพชฌงค์ คือ กายคตาสติ หรือ กายานุปัสสนา และ เวทนานุปัสสนา(อารมณ์ความรู้สึก สุขเวทนา กามคุณ ๕) ถึงสุขที่เนื่องด้วยใจ โสมนัสเวทนา วินิจฉัยทำความรู้เห็นตามจริง / เจริญในปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา เพื่อละกามฉันทะ]
2.) ใช้เมตตา ละ พยาบาท [เป็นการเจริญสติสัมโพชฌงค์ ธัมมะวิจยะสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปิติสัมโพชฌงค์ คือ เวทนานุปัสสนา(อารมณ์ความรู้สึก สุขเวทนา และ โสมนัสเวทนา) และ จิตตานุปัสนา(เจตนา ความคิดนึก) ทำความรู้เห็นตามจริง / เจริญในธัมมะวิจยะ วิริยะ ปิติ(ความอิ่มเอมก็ดี ซาบซ่านก็ดี โยกโคลงก็ดี ตัวเบาลอยก็ดี น้ำตาไหลจากความอิ่มเอมซ่านใจก็ดี ล้วนเป็นจุดเริ่มต้นจากอาการที่กายเริ่มแยกจากจิตเข้ามาสัมผัสรู้เพียงสุขภายใน อันเป็นสุขที่เนื่องด้วยใจ) เพื่อละพยาบาท]
3.) ใช้ธัมมะวิจยะสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปิติสัมโพชฌงค์ ละ จิตหดหู่ ซึมเศร้า เซื่องซึม ง่วงซึม
4.) ใช้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (สุขเป็นรอยต่อระหว่างปัสสัทธิและสมาธิ) สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ละ ความฟุ้งซ่าน วิตกกังวล งุ่นง่าน กระสับกระส่าย กระวนกระวาย รำคาญใจ
5.) ใช้สติสัมโพชฌงค์ พิจารณาจิตตานุปัสสนา ธัมมานุปัสสนา เข้าเห็นการกระทำใน ทุกข์(การกระทำ และ ผลสืบต่อของการกระทำ), สมุทัย(เหตุให้กระทำ), นิโรธ(การหยุดกระทำ และ ผลสืบต่อของการกยุดกระทำ), มรรค(เหตุละการกระทำ) ..จนรู้ชัดในธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล มีโทษและไม่มีโทษ เลวและประณีต เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาว ละ ความลังเล สงสัย ติดข้องใจ เคลือบแคลงใจ
บทอ้างอิงจากพระไตรปิฏก
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=123https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=3277&Z=3327******************
.. ภิกษุ ท.! ภิกษุ ..
เจริญ อสุภะ เพื่อละ ราคะ
เจริญ เมตตา เพื่อละ พยาบาท
เจริญ อานาปานสติ เพื่อตัดเสียซึ่งวิตก
เจริญ อนิจจสัญญา เพื่อถอน อัสมิมานะ
เจริญ ธาตุ เพื่อสลัดออกซึ่ง วิจิกิจฉา
*******************
๓. เมตตาสูตร
ถอนอัสมิมานะได้แล้ว
สลัดวิจิกิจฉาด้วยธาตุ
..อรหัตมัคที่ถอนอัสมิมานะได้แล้วนี้ เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งลูกศร คือ วิจิกิจฉา (ความสงสัย เคลือบแคลง)
..ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุ เป็นเครื่องสลัดออก ๖ ประการนี้แล ฯ
*******************
[ ๑๔๕ ] ดูกรราหุล!
เธอจงเจริญ เมตตาภาวนาเถิด
เพราะเมื่อ เธอเจริญเมตตาภาวนาอยู่
..จักละพยาบาทได้
เธอจงเจริญ กรุณาภาวนาเถิด
..เมื่อเจริญกรุณาภาวนาอยู่
..จักละวิหิงสาได้
เธอจงเจริญ มุทิตาภาวนาเถิด
..เมื่อเจริญมุทิตาภาวนาอยู่
..จักละอรติได้
เธอจงเจริญ อุเบกขาภาวนาเถิด
..เมื่อเจริญอุเบกขาภาวนาอยู่
..จักละปฏิฆะได้
เธอจงเจริญ อสุภภาวนาเถิด
..เมื่อเจริญอสุภภาวนาอยู่
..จักละราคะได้
เธอจงเจริญ อนิจจสัญญาภาวนาเถิด
..เมื่อเจริญอนิจจสัญญาภาวนาอยู่
จักละอัสมิมานะได้
*******************
..ราหุโลวาทสตร..
..ราหุล ! ..
เธอจงอบรมจิตให้หนักแน่น
เสมอด้วยแผ่นดินเถิด
" ..(เสมอด้วยธาต ๕ .. ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ).. "
เมื่อเธออบรมจิต
ให้เสมอด้วยแผ่นดินอยู่
ผัสสะทั้งหลายที่น่าพอใจ
และไม่น่าพอใจอันเกิดขึ้นแล้ว
จักไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่
ฉันนั้นเหมือนกัน
..เปรียบเหมือนคนทั้งหลายทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลงที่แผ่นดิน แผ่นดินจะอึดอัดหรือระอา ก็หาไม่
*******************
..การกำหนดสุขให้ตรงกับสถานการณ์ปัจจุบัน หรือ สิ่งที่กำลังทำอยู่ ที่เรียกว่า..รู้ความโสมนัสที่ควรเสพ และ รู้ความโสมนัสที่ไม่ควรเสพ เป็นการใช้ พุทโธวิมุตติสุขร่วมกับพุทโธอริยะสัจ ๔ + โพชฌงค์ตามกาล ว่าด้วย จิตตสังขาร เวทนา สัญญา สังขาร เป็นปัญญาทำให้จิตเราตั้งขึ้น ขจัดความหดหู่ ท้อถอย เหนื่อยถ่าย เกียจคร้าน ง่วงซึม จนถึงขจัด Toxic อันเป็นเหตุให้หดหู่ซึมเศร้าได้เลยนะ ให้ทำโสมนัสที่ควรเสพดังนี้..
วิธีใช้..พุทโธวิมุติสุข ทำความสุขที่ควรเสพ (โสมนัส)
พุทโธวิมุตติสุขนี้..คือ นิโรธ เป็นผลจากความดับทุกข์ เป็นสุขที่เนื่องด้วยใจ
• เป็นทั้งการแผ่เมตตาให้ตนเองไปในตัว คือ ปรารถนาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ความสุขให้แก่ตนเอง สุขไปถึงดวงจิตของจน น้อมไปในการสละ สละให้ผู้อื่นถึงความเผื่อแผ่(เป็นการเมตตาผู้อื่น) สละคืนอุปธิถึงความพ้นกิเลส
• เป็นทั้งกรุณา คือ ความเกื้อกูล เผื่อแผ่ แบ่งปันสุข ถึงสุขที่เนื่องด้วยใจ สุขอยู่ที่จิต รวมลงอยู่ที่จิต จนอัดปะทุพลั่งพลูสุขอันแช่มชื่นซาบซ่านขึ้นมาฟุ้งกระจายไปทั่ว ที่พ้นจากสุขที่เนื่องด้วยกาย คือ กามคุณ ๕ มีอาการที่แผ่ไป
• เป็นทั้งอุปสมานุสสติกรรมฐาน ธรรมชาตินั้นสงบรำงับจากความปรุงแต่ง ธรรมชาตินั้นไม่มี ธรรมชาติที่สละคืน ถึงความว่าง ความสงบ ความไม่มี
• เป็นทั้งการทำปัสสัทธิความสงบใจจากความปรุงแต่งจิต สงบจากความรู้สึกนึกคิด สงบจากไฟกิเลสสุมใจ
• เป็นทั้งเหตุใกล้ให้สติเกิดขึ้นและทำสติให้ตั้งมั่น เมื่อเดินลมตามจุดพักลมต่างๆ ทำให้ใจมีกำลังตั้งมั่นหนักแน่นตาม
• เมื่อใช้คู่กับ พุทโธอริยะสัจ ๔ ก็จะละกิเลสที่เกิดมีขึ้นได้ดี
• หมายเหตุ ทำไมผู้เขียนจึงกล่าวรวบยอดว่า พุทโธวิมุติสุข และ พุทโธอริยะสัจ ๔ คือ ธรรมแก้ได้ในหลายอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดและจริตนิสัย นั่นเพราะ พุทโธ คือ คุณสมบัติของพระพุทธเจ้า ว่าด้วยความเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน / ก็เมื่อเป็นผู้รู้ ย่อมรู้กายใจตน รู้กิเลสตน รู้ของจริงต่างหากจากสมมติ รู้กิริยาจิตตน รู้ทางแก้กิเลสและจริตนิสัย รู้การทำไว้ในใจตนเพื่อเป็นละกิเลส รู้โพชฌงค์ รู้ชิชชา คือ รู้ในอริยะสัจ ๔ รู้วิมุตติ / ก็เมื่อเป็นผู้ตื่น ย่อมตื่นจากสมมติกิเลสของปลอม รู้ออกจากกิเลส อุปกิเลส อุปนิสัยกิเลส เดินโพชฌงค์ตามกาลได้ ทำกิจในอริยะสัจ ๔ ได้ / ก็เมื่อเป็นผู้เบิกบาน ถึงปัญญา ถึงญาณ ถึงมรรค ถึงผล อริยะสัจ ๔ ทำกิจในรอบ ๓ อาการ ๑๒ ย่อมบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ถึงวิมุตติสุข พ้นจากกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวงได้ นี่คือคุณของ “พุทโธ” ซึ่งกว้างใหญ่มาก พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่า..พุทธะ
• ส่วน..วิมุตติสุข นั้นคือ พระนิพาน เป็นอมตะสุข สุขจากการหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง เป็นอมตะสุขตามคุณของพระนิพพาน
• ส่วน..อริยะสัจ ๔ นั้นคือ สัจจะ เป็นธรรมอันประเสริฐ เป็นธรรมเอก เป็นวิชชา ให้เข้าถึงความพ้นทุกข์ วิมุตติสุข
1. เมื่อปรารถนาใคร่เสพในสิ่งที่ชอบที่ติดตราตรึงใจ กระหายอยากได้ โหยหา ตราตรึง หมายใคร่ต้องการ ติดใจใคร่เสพในสิ่งที่ปรนเปรอบำเรอตน หรือ ลุ่มหลงอบายมุข ๖ คือ กาลอันควรแก่เวลาให้เรานึกถึง..วิมุติสุข อันเป็น..นิโรธ..ความสุขจากความอิ่มเต็มกำลังใจ อิ่มเต็มจนเพียงพอแล้วไม่ต้องการอีก มีชิวิตอยู่อย่างปกติสุขเย็นใจโดยปราศจากความติดใคร่ร้อนรนแสวงหาโหยหาให้ได้เสพย์ได้ครอบครองในสิ่งนั้นๆ มีชีวิตเป็นปกติสุขชื่นบานได้โดยไม่ต้องอิงพึ่งพาอาศัยในสิ่งนั้นๆ ..นิพพิทาวิราคะ สุขที่หลุดพ้นจาก..ราคัคคิ คือ ไฟราคะ ได้แล้ว..ก็สุขอิ่มเต็มกำลังใจนี้เป็นผลจากการไม่มี คือ..
• ไม่มีความอยาก หลุดพ้นความกระสันอยากแล้ว หลุดพ้นความกระหายแล้ว หลุดพ้นจากความทะยานอยากอันร้อนรนดิ้นรนแสวงหาจากความใคร่เสพแล้ว
• ไม่มีสิ่งใดมากระทบใจเราได้อีก คือ ไม่มีสิ่งใดมากระทบใจเราให้ติดตราตรึงใจ-โหยหา-หมกมุ่น-ผูกใฝ่-กระหายใคร่เสพได้อีก
• สุขจากความไม่มีใจเข้ายึดครองตัวตนในสิ่งนั้น หรือ สิ่งอื่นใดในโลกอีก
• สุขจากความไม่มีใจเข้าผูกยึดหมายมั่นในสิ่งนั้น หรือ สิ่งอื่นใดในโลกอีก ไม่มีใจโหยหาต้องการสิ่งใดอีก
• มันอิ่มเต็มกำลังใจ สงบ สบาย อิ่มเอมกายใจ ซาบซ่าน ไม่ต้องการสิ่งใดจากภายนอก มันสุขรื่นรมย์อยู่ภายในใจ ไม่ต้องดิ้นรนแสวงหาเอาสิ่งใดให้เป็นทุกข์ ไม่มีสิ่งขาดใดในชีวิต ไม่ต้องกระหายใคร่เสพให้ร้อนรนหมกมุ่นเป็นทุกข์ทรมาน ไม่ต้องกระวนกระวายเป็นทุกข์เพราะแสวงหา ไม่ทุกข์เพราะต้องการให้ได้มา ไม่ต้องทุกข์เพราะใคร่เสพ มันอิ่มเต็มกำลังใจเพียงพอแล้ว
• สุขนี้ก็ชื่อว่า..วิมุตติสุข คือ อิ่มเต็มกำลังใจ ไม่อยากอีก เพราะกามมันอิ่มไม่เป็น มันจึงทุกข์ร้อนดิ้นรนแสวงหา แต่วิมุตติสุขนี้มันอิ่มเต็มกำลังใจไม่ต้องการสิ่งใดอีก ไม่เอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับใครหรือสิ่งใดในโลกอีก เพราะไม่มีใจครองแล้ว ไม่เอาใจเข้ายึดกอดสิ่งใดมาผูกขึ้นไว้เป็นสุขของตนอีก (เป็นการสร้าง..ฉันทะอิทธิบาท ๔ ให้เกิดประกอบขึ้นด้วย วิริยะอิทธิบาท ๔ ความเพียร คือ พอใจยินดีใน วิมุตติสุข อันเป็นสุขที่รู้จักอิ่ม รู้จักพอ รู้จักเต็ม ไม่ต้องดิ้นรนแสวงหาเอาสิ่งนั้นมาปรนเปรอตนให้เป็นทุกข์เร่าร้อนถูกไฟราคะสุมใจจากความทะยานอยากได้มาครอบครองนั้นอีก
• การเข้าถึงนิพพิทาวิราคะที่แท้จริงนั้น ต้องเข้าไปรู้เห็นตามจริง โดยทรงอารมณ์สุขนั้นไว้ แล้วน้อมเข้ามาพิจารณา เห็นว่าไม่งาม(อสุภะ) ก็สักแต่ว่าธาตุ เป็นแค่ธาตุที่อาศัยเกิดประชุมกัน เพื่อละความติดตราตรึงใจ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ จนรู้ชัดว่า..จิตรู้สิ่งใดสิ่งนั้นคือสมมติทั้งหมด สิ่งใดถูกรู้สิ่งนั้นไม่ใ่ช่ตัวตน ไม่มีตัวตน
2. เมื่อเอาความสุขสำเร็จของจนไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่นสิ่งอื่น แล้วประสบกับความไม่สมปรารถนา ประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจ เกิดความหดหู่ ซึมเศร้า โศรกเศร้า เสียใจ ร่ำไร รำพัน เป็นกาลอันควรแก่เวลาให้เรานึกถึง..วิมุตติสุข อันเป็นสุขที่เนื่องด้วยใจ ความแช่มชื่น เบิกบาน รื่นรม เย็นใจ พลั่งพลูมาจากภายในใจ สุขเกิดที่กายใจตน เพราะสุขจากของอื่นภายนอกมันสุขเพียงชั่วคราว แค่มีสิ่งมากระทบเล็กน้อยก็ดับไป นึกถึงเมื่อไหร่ก็ทุกข์แสวงหาเมื่อนั้น ส่วนสุขที่เนื่องด้วยใจ ที่ไม่ยึดเอาสิ่งภายนอกมาเป็นสุขของตน มั้นตั้งอยู่ได้นาน นึกถึงเมื่อไหร่ก็สุขเมื่อนั้น (เป็นการสร้าง..ฉันทะอิทธิบาท ๔ ให้เกิดประกอบขึ้นด้วย วิริยะอิทธิบาท ๔ ความเพียร คือ พอใจยินดีใน วิมุตติสุข อันเป็นสุขที่เนื่องด้วยใจ สุขโดยไม่อิงอาศัยในกามคุณ ๕ อีก (กามคุณ ๕ คือ ๑. สุขเพราะตาได้สัมผัสเห็นสิ่งที่ชอบที่พึงใจ / ๒. สุขเพราะหูได้สัมผัสเสียงที่ชอบที่พึงใจ / ๓. สุขเพราะจมุกได้สัมผัสกลิ่นที่ชอบที่พึงใจ / ๔. สุขเพราะลิ้นได้สัมผัสรสที่ชอบที่พึงใจ / ๕. สุขเพราะกายได้สัมผัสความรู้สึกทางกายที่ชอบที่พึงใจ)
3. เมื่อเคร่งเครียด หรือ กดดัน หรือ อึดอัด กระวนกระวาย ร้อนรนใจ หรือ ประหม่า หรือ วิตกกังวลกลัว หรือ ฟุ้งซ่าน ไม่สงบ คือ กาลอันควรแก่เวลาให้เรานึกถึง..วิมุตติสุข อันเป็นอมตะสุขที่เกิดจากเป็นธรรมชาติที่สงบ ธรรมชาตินั้นสบาย ธรรมชาตินั้นผ่อนคลาย ธรรมชาตินั้นไม่มี คือ พ้นแล้วจากเจตนาความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่งกายใจทั้งปวง มันปรอดโปร่ง มันโล่ง มันเบา เย็นกาย เย็นใจ หมดความกระทำไว้ในใจ ถึงความสงบรำงับจากการกระทำปรุงแต่งทั้งปวง ถึงความว่าง ถึงความไม่มี ถึงความสละคืน นี่คือ คุณสมบัติหนึ่งของพระนิพพาน เป็นอุปสมานุสสติกรรมฐาน เป็น วิมุตติสุข (เป็นการสร้าง..ฉันทะอิทธิบาท ๔ ให้เกิดประกอบขึ้นด้วย วิริยะอิทธิบาท ๔ ความเพียร คือ พอใจยินดีใน วิมุตติสุข อันเป็นสุขที่ถึงความสงบ ความสบาย ความว่าง ความไม่มี ความสละคืน นิพพาน
4. เมื่อโกรธแค้น เกลียดชัง ต่อต้าน ผลักไส ริษยา พยาบาท อาฆาตแค้น เป็นกาลอันควรแก่เวลาให้เรานึกถึง..วิมุตติสุข อันเป็น..นิโรธ..ความสุขที่เนื่องด้วยใจ ที่สงบเย็นใจเข้าไปในดวงจิต (ตามฐานจิต..ที่อก หรือ ลิ้นปี่ หรือ ท้องน้อย หรือ อาการอัดอั้นคับแค้นกายใจ โกรธเกลียด ชิงชัง ริษยาเกิดอยู่ที่ไหน ก็ให้ถือเอาจุดนั้นเป็นฐานที่ตั้งของจิต แล้วปักจิตเอาความสุขเย็นใจลงไปที่จุดนั้น) มีใจกว้างออก แผ่ออก ขยายออก มีอาการที่ใจคลายออก ปล่อย ไม่ผูกใจ อาการที่ใจคลายปมโทสัคคิในใจออก สุขจากการที่ใจของเราหลุดพ้นจากการผูกปม-มัดปม-ผูกมัด-รัดตรึง-ยึดเกี่ยว-ดึงรั้งเอาไฟโทสะอันร้อนรุ่มมาอัดสุมเผาไหม้อยู่ในกายใจตน มันแช่มชื่น ปรอดโปร่ง เบาโล่ง สบาย เย็นใจ ไม่เร่าร้อนทิ่มแทงตน เป็นอาการสุขเย็นใจนั้น มันพลั่งพลูจากดวงจิตเอ่อล้นขึ้นมา มันอัดแน่นภายในใจแผ่ซ่านไปทั่วทั้งตนเองและผู้อื่น เป็นลักษณะของเมตตาสุขในความเย็นใจไม่เร่าร้อน อาการที่ใจแผ่กว้างออกเอื้อเฟื้อสุข เป็นสุขที่หลุดพ้นจาก..โทสัคคิ คือ ไฟโทสะ ได้แล้ว (เป็นการสร้าง..ฉันทะอิทธิบาท ๔ ให้เกิดประกอบขึ้นด้วย วิริยะอิทธิบาท ๔ ความเพียร คือ พอใจยินดีใน วิมุตติสุข อันเป็นสุขที่เย็นใจ เบา ผ่อนคลาย ไม่ติด ไม่ขัด ไม่ขุ่น ไม่ข้อง มีแต่ใจที่ผ่องใส ร่าเริง ปรอดโปร่ง อิ่มสุข เอิบอิ่ม ซาบซ่าน สงบ สบาย ร่มรื่น ชื่นบาน เป็นสุข
5. เมื่อป่วย หรือ หยุดเรียน หรือ ปิดเทอม หรือ บวช ไม่มีสิ่งใดเป็นภาระ เป็นกาลอันควรแก่เวลาให้เรานึกถึง..วิมุตติสุข อันเป็นสุขที่เนื่องด้วยใจ อาการที่แช่มชื่น เบิกบาน อิ่มเอม เย็นใจ ซาบซ่าน ซัดผ่านตามลมหายใจเข้าจากปลายจมูกเข้ามาปะทะที่เบื้องหน้า มีสุข ผ่อนคลาย เป็นที่สบายกายใจ สละคืนหมดสิ้นความรู้สึกนึกคิดอันเศร้าหมองและกิเลสอุปธิทั้งปวงออกทิ้งไป..จากเบื้องหน้า ออกทางปลายจมูก ตามหายใจออก / มีจิตตั้งจิตจับที่จิตไว้ในภายในใจ มีความแช่มชื่นรื่นรมย์รวมลงอยู่ในดวงจิต แล้วปะทุพลั่งพลูความชื่นบาน ซาบซ่าน เป็นสุขจากภายในใจขึ้นมา (เป็นการสร้าง..ฉันทะอิทธิบาท ๔ ให้เกิดประกอบขึ้นด้วย วิริยะอิทธิบาท ๔ ความเพียร คือ พอใจยินดีใน วิมุตติสุข อันเป็นสุขที่เย็นใจ ไม่ติด ไม่ข้อง ไม่แวะสิ่งใด มีใจสดใส เบิกบาน หมดความวิตกกังวล สงบ สบาย ปรอดโปร่ง ปล่อยวาง ว่าง โล่ง ชื่นบาน มันสบายกว่าที่ยึดเอากายเป็นอารมณ์ เห็นสุขเกิดที่ใจ อยู่ที่ใจเลือกเสพ สติอยู่เป็นเบื้องหน้า หมดความลุ่มหลงปรุงแต่ง
6. เมื่ออยู่ในแวดวงกลุ่ม Toxic ที่โรงเรียน ที่ทำงาน คือ กาลอันควรแก่เวลาให้เรานึกถึง..วิมุตติสุข สุขที่เนื่องด้วยใจตน ไม่เอาความสุขสำเร็จไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่น เมื่อหนีสังคม Toxic ไม่พ้น ให้น้อมนึกถึงความสุขที่ตนอยู่กับคนกลุ่มนั้นได้โดยไม่ทุกข์ สุขที่ใช้ชีวิตอยู่ในกลุ่ม Toxic ได้โดยไม่ทุกข์ร้อนสุมไฟ โกรธ เกลียด ชัง..ใส่ใจตน เราเก่ง เราสุขที่ไม่ใส่ใจให้ค่าความสำคัญกับเขาเหล่านั้นเกินความจำเป็น เหมือนเขาเป็นเพียงสิ่งแวดล้อมในฉากละครทีวีฉากหนึ่งเท่านั้น ไม่คิดสืบต่อ Toxic จากเขา ไม่มีความติดใจข้องแวะอะไรกับเขาเหล่านั้น มันเย็น เบาใจ ปลอดโปร่ง โล่ง สุขสบายใจ (เป็นการสร้าง..ฉันทะอิทธิบาท ๔ ให้เกิดประกอบขึ้นด้วย วิริยะอิทธิบาท ๔ ความเพียร คือ พอใจยินดีใน วิมุตติสุข อันเป็นสุขที่เนื่องด้วยใจ ไม่ใส่ใจให้ค่าความสำคัญในเรื่อง Toxic ไม่คิดสืบต่อ Toxic มีความเพียรประครองใจตนไว้อยู่ ละความขุ่นข้องขัดเคืองใจ โกรธ เกลียด ชัง ซึมเศร้า เสียใจ ร่ำไร รำพัน ออกเสียจากใจเราได้ ให้ดำรงอยู่โดยความสุขเบาใจ ไม่ติดใจข้องแวะโลก(กลุ่มสังคม Toxic) )
7. เมื่อคิดจะทำสิ่งใดตามอารมณ์ รัก ชัง หลง กลัว หรือ คิด พูด ทำ..ในสิ่งที่ไม่ดีตามความรู้สึกนึกคิดที่..โลภ ใคร่ โกรธ เกลียด ชัง พยาบาท ลุ่มหลง คือ กาลอันควรแก่เวลาให้เรานึกถึง..วิมุติติสุข อันเป็น..นิโรธ..ความสุขในการมีใจเป็นมหากุศล มีใจสูงเหนือ..รัก-โลภ-โกรธ-หลง / มีกาย-วาจา-ใจ ตั้งอยู่ในกุศลธรรมทั้งปวง / มีใจแช่มชื่น ผ่องใส ชื่นบาน..พ้นแล้วจากกิเลสที่หน่วงตรึงจิต..มีใจหลุดพ้นจากสิ่งทุกข์ร้อนกายใจทั้งปวง..คือ เป็นสุขพ้นแล้วจาก..รัก โลภ ตระหนี่ หวงแหน โกรธ เกลียด ชัง ริษยา ผลักไส ดิ่ง ซึมเศร้า โศรกเศร้า เสียใจ ขุ่นข้อง มัวหมอง อัดอั้น คับแค้น ลุ่มหลง มัวเมา กลัว / สุขในการทำสิ่งที่เป็นกุศลดีงาม ปราศจากการทำร้ายเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น มีสติตั้งไว้อยู่เป็นเบื้องหน้ายั้งคิด แยกแยะ เห็นคุณ-โทษ-ถูก-ผิด-ดี-ชั่ว รู้เลือกเสพอารมณ์์ความรู้สึกนึกคิดที่ดีงาม มีคุณประโยชน์สุข อิ่มเอม ซาบซ่าน เย็นกายสบายใจ รื่นรมย์ใจ ปราศจากอกุศลธรรมทั้งปวง / นอนก็เป็นสุข ตื่นก็เป็นสุข ไม่มีสิ่งที่ทำให้เราต้องหวาดกลัว หวาดระแวง เป็นโทษ ทุกข์ ภัย..ต่อตนเองในภายหลัง ไปที่ใดก็เย็นใจ อยู่ที่ใดก็สบายใจ ชีวิตเป็นสุขพ้นจากทุกข์ภัยแล้ว (เป็นการสร้าง..ฉันทะอิทธิบาท ๔ ให้เกิดประกอบขึ้นด้วย วิริยะอิทธิบาท ๔ ความเพียร คือ พอใจยินดีในการทำสิ่งดีมีกุศล ยินดีในการ หยุด/เลิก..คิด พูด ทำ..ในสิ่งที่ชั่วตามอารมณ์ความรู้สึกใน..รัก โลภ โกรธ หลง / ยินดีในการทำใจสละคืนเจตนาความคิดนึกกระทำตามใจ..รัก โลภ โกรธ หลง / มีความเพียรประครองใจตนไว้อยู่ ดำรงมั่นในการตัดทิ้งความคิด Toxic ใคร่ได้ เกลียด ชัง ซึมเศร้า หลง กลัว ออกจากใจ)
• กุศล แปลว่า ถูกต้อง เหมาะสม ดี จิตใจดี สิ่งดีงาม / สภาวะจิตผ่องใส ปรอดโปร่ง ไม่มีทุกข์-โทษ-ภัย-พยาบาท-ลุ่มหลง / ความฉลาดของจิต จิตฉลาดพอใจยินดีเลือกเสพย์เลือกทำแต่สิ่งดีงาม(บุญ) / อาการที่จิตไม่จับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดใน..รัก ชัง หลง กลัว ให้หน่วงตรึงจิต..มีผลเป็นความอิ่มเอมใจ ซาบซ่าน ฟูใจ ชื่นบาน สุข
คลิกเพื่อดู..วิธีทำ พุทโธ-วิมุตติสุข
คลิกเพื่อดู..วิธีทำ พุทโธ-อริยะสัจ ๔
8. เมื่อจะทำงานบ้าน คือ กาลอันควรแก่เวลาให้นึกถึง..สุขจากผลสำเร็จของงานที่ทำ ให้นึกถึงความสุขสำเร็จ ความสะอาดเรียบร้อย สิ่งดีงามจากการทำงานบ้านนั้น มันสะอาดตา สบายใจ มีระเบียบ ปรอดโปร่ง เป็นสุข เหมือนอยู่ท่ามกลางความสะอาดงดงามฉันนั้น (เป็นการสร้าง..ฉันทะอิทธิบาท ๔ ให้เกิดประกอบขึ้นด้วย วิริยะอิทธิบาท ๔ ความเพียร)
9. เมื่อจะกำลังจะเข้าเรียน คือ กาลอันควรแก่เวลาให้เรานึกถึง..สุขจากผลสำเร็จของสิ่งที่เราเรียนรู้ ฝึกฝน ปฏิบัติทำ ให้นึกถึงความสุขจากการที่เราได้เรียนรู้ เข้าใจ ทำได้ งานครบ ประสบผลสำเร็จ สอบได้คะแนนดีๆ เก่ง ฉลาด มันสุข มันชื่นบานใจ (เป็นการสร้าง..ฉันทะอิทธิบาท ๔ ให้เกิดประกอบขึ้นด้วย วิริยะอิทธิบาท ๔ ความเพียร)
10. เมื่อจะทำการบ้าน คือ กาลอันควรแก่เวลานึกถึงผลลัพธ์ และ ผลสำเร็จจากการทำการบ้านนั้น + รู้เหตุ (หลักวิธีการทำของการบ้าน) + รู้ผล (เนื้อหาหลักวิธีการ/เนื้อหาการบ้าน, ความต้องการของงาน) + รู้ตน (ความรู้และทักษะความสามารถที่ตนมี) + Skill ประเมิน (ตนเอง + สิ่งที่ทำ/การบ้าน + สถานการณ์ = ยาก/ง่าย, มาก/น้อย, ช้า/เร็ว) + Skill รู้กาล (ระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินงานจนแล้วเสร็จ) ให้นึกถึงการบ้านวิชาต่างๆ นึกถึงเราทำการบ้านเสร็จสิ้น มีงานส่งครู มันว้าวมาก ไม่ต้องเหนื่อยแก้ส่งการบ้าน แถมได้ฝึกฝนตนเองให้เก่งขึ้น มันสบายกายใจจริงๆ (เป็นการสร้าง..ฉันทะอิทธิบาท ๔ ให้เกิดประกอบขึ้นด้วย วิริยะอิทธิบาท ๔ ความเพียร) แล้วเปิดใช้ Skill ประเมิน ลำดับความสำคัญ ดังนี้..
• นึกว่าการบ้านวิชาใดมีมากน้อยเพียงใด แต่ละวิชาทำสิ่งใดบ้าง แล้วนึกถึงว่า..เราทำสิ่งใดวิชาใดก่อน