ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธนาคารพระพุทธศาสนา-ความยากง่ายจัดระบบทรัพย์สินสงฆ์  (อ่าน 16 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29346
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.



ธนาคารพระพุทธศาสนา-ความยากง่ายจัดระบบทรัพย์สินสงฆ์

กระแสวิกฤติศรัทธาในวงการสงฆ์ จากปัญหาเรื่องทรัพย์สินของวัดและความประพฤติสงฆ์บางรูป กำลังเป็นที่จับตาและสร้างความไม่สบายใจแก่พุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ

เรื่องนี้ นายสุชาติ ตันเจริญ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  เน้นย้ำความจำเป็น “เร่งด่วน” ในการแก้ไขปัญหาที่เป็นอยู่ หนึ่งในแนวทางที่กำลังพิจารณาคือ การจัดตั้ง “ธนาคารพระพุทธศาสนา” เพื่อดูแลทรัพย์สินของศาสนาให้เป็นระบบและโปร่งใสยิ่งขึ้น

“ทีมข่าวอาชญากรรม” มีโอกาสสอบถามมุมมอง ตลอดจนความเป็นไปได้การจัดการทรัพย์สินของวัดในรูปแบบดังกล่าวกับผู้คลุกคลีในแวดวงศาสนาอย่าง นายจตุรงค์ จงอาษา นักวิชาการศาสนา ให้ความเห็นว่า ส่วนตัวรับหลักการดังกล่าวของนายสุชาติได้แค่บางส่วน เพราะสถานการณ์ปัจจุบันไม่ใช่ช่วงเวลาที่ดีที่จะจัดตั้งธนาคารขึ้นมาใหม่ และการตั้งธนาคารนับว่าไม่เหมาะสม เนื่องจากผลประกอบการในทุกวันนี้ก็แย่ ตนจึงรับเพียงแค่หลักการและไม่ได้อยากให้ตั้งธนาคาร 

นายจตุรงค์ ยกตัวอย่างหนึ่งใน Non-bank (ผู้ให้บริการทางการเงินอื่นๆ ที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน) อย่างทรูมันนี่ เพราะสามารถมีสเตตเมนต์ (Statement) หรือ รายการเดินบัญชีที่ดูเรื่องเงินเข้าออกได้ คิดว่าถ้าหากรัฐตั้งใจจะทำ ก็ควรทำแบบ Non-bank ดีกว่า โอกาสที่ไม่ขาดทุนและได้กำไรนั้นมีมากกว่า และต้นทุนในการบริหารก็น้อยกว่า





“หากมีการนำทรัพย์สินของวัดมาเกลี่ยก็ควรใช้ระบบ Non-bank แบบทรูมันนี่ ที่สามารถตรวจสอบได้ง่ายกว่า และในอนาคตพระก็ไม่จำเป็นที่จะต้องจับเงิน จับทอง เงินทั้งหมดก็จะเข้ากองกลางและนำมาใช้ดูแลพระแต่ละรูปแทน”

นายจตุรงค์ กล่าวด้วยว่า การที่รัฐจะปฏิรูปและจัดตั้งธนาคารพระพุทธศาสนาถือว่ายังเป็นเรื่องที่ไม่ใหม่ แนวคิดนี้มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 และก่อนหน้าในสมัยรัฐบาล คสช. ได้จัดให้วัดมีการจัดทำบัญชี เพื่อส่งให้สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) แต่ยุคนั้นก็ส่งบ้างไม่ส่งบ้าง ต่างกับปัจจุบันที่มีวัดส่งเอกสารการทำบัญชีมาขึ้นกว่า 70% หากเทียบกับในอดีต





ทั้งนี้ แนวคิดการจัดตั้งธนาคารพระพุทธศาสนานั้นต่างกันกับกองทุน เพราะกองทุนคือการลงทุน แต่ “เพย์เมนต์เซอร์วิส” นั้นต่างกัน หากต้องการให้พระจ่ายอะไรก็จะมีสเตตเมนต์ให้ดู มีคนเข้าถึงและเห็นถึงที่มาที่ไปของเงิน และในปัจจุบันก็มีการกล่าวว่าไม่ต้องการให้พระจับเงิน ก็สามารถใช้ “คิวอาร์ โค้ด” เข้ามา และให้ไวยาวัจกรเป็นผู้ดูแลอีกทีหนึ่ง การทำแบบนี้ “ง่าย” ต่อการตรวจสอบและ “ยาก” ต่อการทุจริต

นายจตุรงค์ กล่าวอีกว่า การที่ภาครัฐจะเข้ามาดูแลธนาคารพระพุทธศาสนาคงเป็นเรื่องที่ยาก ส่วนการตรวจสอบหลังจากนี้จะเป็นเรื่องยากหรือไม่นั้น มองว่าไม่น่าเป็นยาก เพราะมีหน่วยงานที่สามารถตรวจสอบได้ทำหน้าที่เหล่านี้อยู่แล้ว





ท้ายที่สุดท่ามกลางวิกฤติศรัทธาที่กำลังสั่นคลอนวงการสงฆ์ แนวคิดจัดตั้งธนาคารพระพุทธศาสนา อาจเป็นหนึ่งใน “ทางเลือก” เพื่อทำให้การเงินวัดเป็นระบบและตรวจสอบได้ แต่ก็ยังมีตัวอย่างอีกหลายวัดที่สะท้อนว่า “ระบบที่โปร่งใส” อาจเริ่มได้จากภายในวัดเอง





ทีมข่าวอาชญากรรม รายงาน
website : https://www.dailynews.co.th/news/4907778/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ