เห็นอาจารย์สายทองมาตอบกระทู้แล้ว ชื่นใจและสุขใจมากครับ อยากเห็นแบบนี้บ่อยๆ
หวังใจเป็นอย่างยิ่งว่า จะเห็นอาจารย์ทำอย่างนี้ตลอดไป
อาจารย์ตอบได้ดีครับ แต่ผมขออนุญาตขยายความต่อจากอาจารย์สักเล็กน้อยนะครับ
คำถามที่ว่า “พระที่เป็นเนื้อนาบุญ เราจะดู หรือ รู้ได้อย่างไรครับ”
ตอบตรงๆว่า “คนธรรมดาอย่างเราๆ ดูไม่ได้ และก็ รู้ไม่ได้ ยกเว้นคนที่มีทิพยจักษุญาณ”
เนื่องจากเนื้อนาบุญก็คือ อริยบุคคลนั่นเอง ซึ่งมีอยู่ ๘ ประเภท อริยบุคคลคือ บุคคลที่ตัดหรือละสังโยชน์ในขั้นต่างๆได้ การตัดสังโยชน์เป็นการตัดทางจิต คนธรรมดายากที่จะเห็นได้ อริยบุคคลเท่านั้นที่จะรู้ด้วยตัวเองว่า จิตของตัวเองละสังโยชน์ได้กี่ข้อแล้ว (ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ-เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน)
อย่างไรก็ตามพอที่จะอธิบาย ความหมาย คุณสมบัติ ของเนื้อนาบุญหรืออริยบุคคลได้
เพื่อให้คุณปักษาวายุและเพื่อนสมาชิกทุกท่านมีความเข้าใจที่ตรงกัน
จึงขอให้อ่านและทำความเข้าใจ สังฆานุสสติ, สังฆคุณ ๙, อริยบุคคล ๔,
อริยบุคคล ๘, มรรค ๔, ผล ๔, และสังโยนช์ ๑๐ ไปตามลำดับ ดังนี้
สังฆานุสสติ
(บทสวดทำวัตรเย็น)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใดปฏิบัติดีแล้ว
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใดปฏิบัติตรงแล้ว
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใดปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใดปฏิบัติสมควรแล้ว
ยะทิทัง
ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ
จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่*** นับเรียง ตัวบุรุษได้ ๘ บุรุษ
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
นั่นแหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า
อาหุเนยโน
เป็นสงฆ์ควรแก่การสักการะที่เขานำมาบูชา
ปาหุเนยโย
เป็นสงฆ์ควรแก่การสักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ
ทักขิเณยโย
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน
อัญชะลีกะระณีโย,
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี
อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ
เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้
***๔ คู่ คือ โสดาปัตติมรรค-โสดาปัตติผล
สกทาคามิมรรค-สกทาคามิผล
อนาคามิมรรค-อนาคามิผล
อรหันตมรรค-อรหัตตผล
ที่มา คู่มือสวดมนต์แปล วัดสังฆทาน
-------------------------------------------------------------------------
สังฆคุณ ๙ (คุณของพระสงฆ์)
๑. สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ (พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี)
๒. อุชุปฏิปนฺโน (เป็นผู้ปฏิบัติตรง)
๓. ายปฏิปนฺโน (เป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง)
๔. สามีจิปฏิปนฺโน (เป็นผู้ปฏิบัติสมควร)
ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺ ปุริสปุคฺคลา (ได้แก่ คู่บุรุษ ๔ ตัวบุคคล ๘)
เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ (พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้)
๕. อาหุเนยฺโย (เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ คือควรรับของที่เขานำมาถวาย)
๖. ปาหุเนยฺโย (เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ)
๗. ทกฺขิเนยฺโย (เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา, ควรแก่ของทำบุญ)
๘. อญฺชลีกรณโย (เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี, ควรแก่การกราบไหว้)
๙. อนุตฺตรํ ปุญฺกฺเขตฺตํ โลกสฺส (เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก, เป็นแหล่งปลูกฝังและเผยแพร่ความดีที่ยอดเยี่ยมของโลก)
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)
-------------------------------------------------------------------------
อริยบุคคล ๔
๑. โสดาบัน ท่านผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว, “ผู้ถึงกระแส”
๒. สกทาคามี ท่านผู้บรรลุสกทาคามิผลแล้ว, “ผู้กลับมาอีกครั้งเดียว”
๓. อนาคามี ท่านผู้บรรลุอนาคามิผลแล้ว, “ผู้ไม่เวียนกลับมาอีก”
๔. อรหันต์ ท่านผู้บรรลุอรหัตตผลแล้ว, “ผู้ควร” “ผู้หักกำแห่งสงสารแล้ว”
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)
-------------------------------------------------------------------------
อริยบุคคล ๘ แยกเป็น มรรคสมังคี (ผู้พร้อมด้วยมรรค) ๔, ผลสมังคี (ผู้พร้อมด้วยผล) ๔.
๑. โสดาบัน ท่านผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล
๒. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค
๓. สกทาคามี ท่านผู้บรรลุสกทาคามิผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล
๔. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิมรรค
๕ อนาคามี ท่านผู้บรรลุอนาคามิผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล
๖. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล พระตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค
๗. อรหันต์ ท่านผู้บรรลุอรหัตตผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล
๘. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)
-------------------------------------------------------------------------
มรรค ๔ (ทางเข้าถึงความเป็นอริยบุคคล, ญาณที่ทำให้ละสังโยชน์ได้ขาด)
๑. โสดาปัตติมรรค (มรรคอันให้ถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพานทีแรก, มรรคอันให้ถึงความเป็นพระโสดาบัน เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส)
๒. สกทาคามิมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระสกทาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อต้น กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง)
๓. อนาคามิมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอนาคามี เป็นเหตุละสังโยชน์เบื้องต่ำได้ทั้ง ๕)
๔. อรหัตตมรรค (มรรคอันให้ถึงความเป็นพระอรหันต์ เป็นเหตุละสังโยชน์ได้หมดทั้ง ๑๐)
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)
-------------------------------------------------------------------------
ผล ๔ (ผลที่เกิดสืบเนื่องจากการละกิเลสได้ด้วยมรรค, ธรรมารมณ์อันพระอริยะพึงเสวย ที่เป็นผลเกิดเองในเมื่อกิเลสสิ้นไปด้วยอำนาจมรรคนั้นๆ)
๑. โสดาปัตติผล (ผลแห่งการเข้าถึงกระแสที่นำไปสู่พระนิพพาน, ผลอันพระโสดาบันพึงเสวย)
๒. สกทาคามิผล (ผลอันพระสกทาคามีพึงเสวย)
๓. อนาคามิผล(ผลอันพระอนาคามีพึงเสวย)
๔. อรหัตตผล (ผลคือความเป็นพระอรหันต์, ผลอันพระอรหันต์พึงเสวย)
ผล ๔ นี้ บางทีเรียกว่า สามัญญผล (ผลของความเป็นสมณะ, ผลแห่งการบำเพ็ญสมณธรรม)
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)
-------------------------------------------------------------------------
สังโยชน์ ๑๐ (กิเลสอันผูกใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือผูกกรรมไว้กับผล)
ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ (สังโยชน์เบื้องต่ำ เป็นอย่างหยาบ เป็นไปในภพอันต่ำ)
๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน เช่น เห็นรูป เห็นเวทนา เห็นวิญญาณ เป็นตน เป็นต้น)
๒. วิจิกิจฉา (ความสงสัย, ความลังเล ไม่แน่ใจ)
๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร)
๔. กามราคะ (ความกำหนัดในกาม, ความติดใจในกามคุณ)
๕. ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งในใจ, ความหงุดหงิดขัดเคือง)
ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ (สังโยชน์เบื้องสูง เป็นอย่างละเอียด เป็นไปแม้ในภพอันสูง)
๖. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต, ความปรารถนาในรูปภพ)
๗. อรูปราคะ (ความติใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน หรือในอรูปธรรม, ความปรารถนาในอรูปภพ)
๘. มานะ (ความสำคัญตน คือ ถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่)
๙. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
๑๐. อวิชชา (ความไม่รู้จริง, ความหลง)
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)
-------------------------------------------------------------------------