แทนที่จะนึกถึงวัด ควรนึกถึง จริตเราก่อนดีกว่านะคะ ว่าชอบแบบไหน ฝึกแบบไหนที่ถูกจริตเราคะ

เวลาใครไปเข้ากรรมฐาน(การฝึกจิตใจให้สูงขึ้น)ส่วน ใหญ่แล้ว พระกรรมฐานท่านจะบอกกรรมฐาน(วิธีการฝึกจิต) ตามลักษณะของจริตแต่ละคน เพราะการให้กรรมฐานที่ตรงกับจริตนั้น จะส่งผลให้ปฏิบัติได้ง่าย แต่ที่จริงแล้ว การมองจริตของใครๆ ออกนั้นทำให้เรามีแต้มต่อในการที่จะวางตัวกับคนคนนั้น หรือติดต่องาน หรือแม้แต่จีบ
จริตคืออะไร ?
ในพระพุทธศาสนา จริต คือ ลักษณะนิสัยของคนแต่ละคนที่เป็นไปตามอำนาจจิตที่ได้สั่งสมมาในปางก่อน อาจจะเป็นชาตินี้หรือชาติก่อนๆ ที่สั่งสมมา แต่ส่วนใหญ่มนุษย์เราจะได้จริตมาจากนิสัยชาติก่อนๆ เป็นส่วนมาก โดยทั่วไปแล้ว จริตแบ่งออกเป็นหกประเภท แต่เมื่อเจาะลึกจริงๆ แบ่งออกได้ราวๆ สี่สิบเจ็ด(จากเท่าที่จำมา) ทั้งนี้ จริตสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับการคบคน ถ้าตนเองมีจริตอย่างใดอย่างหนึ่งแต่มีจิตใจอ่อน คล้อยตามง่าย ก็จะเปลี่ยนจริตไปเป็นอย่างคนที่ตนเองคบได้ในเวลาต่อมา
คำว่า “จริต” มีความหมายคล้ายกับ “จริยา” หรือความประพฤติ เพื่อนๆคงเคยได้ยินคำๆ หนึ่งที่เรามักใช้ที่พูดถึงใครในทางไม่ดีว่าคนคนนี้ “ดัดจริต” ตรงนี้ หมายถึง การ “ดัด” หรือการ “แกล้ง” แสดงนิสัยที่ไม่ใช่นิสัยของตัวเองให้คนอื่นเห็นเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่าง หนึ่งนั่นเอง (แต่จริงๆเราว่าไม่มีประโยชน์นอกจากการถูกซุบซิบทีหลัง ดังนั้นควรทำตัวและวางตัวดีๆ ดีกว่า)
กลับมาที่เรื่องของจริต ในตอนนี้ เพื่อนๆ ทราบความหมายของคำๆนี้แล้ว ทีนี้เรามาดูกันค่ะว่า “จริต” มีกี่อย่าง และแต่ละอย่าง มีลักษณะอย่างไรกันบ้าง
ประเภทของจริต มี 6 อย่าง ได้แก่
1. ราคะจริต - คนชอบความสวยงาม ชอบความรัก
2. โทสะจริต - คนโมโหง่าย
3. โมหะจริต - คนจิตใจซึมเซาเชื่องช้า เข้าใจอะไรได้ยาก
4. วิตกจริต - คนคิดมาก แต่คิดไม่เป็นเรื่อง
5. ศรัทธาจริต - คนมีความเชื่อมั่นศรัทธาอย่างแรงกล้า
6. พุทธิจริต - คนที่พินิจพิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ ตามเหตุผล
เดี๋ยว เราจะมาแสดงลักษณะนิสัยของคนแต่ละจริตกัน ว่าขี้โมโห ขี้งอน ขี้อ้อน ขี้น้อยใจ หรือขี้เหนียวกันขนาดไหนดูอย่างไร ใครเป็นจริตไหน