ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "นาค" แห่งพระธาตุพนม : จากความเชื่อสู่งานศิลป์  (อ่าน 5206 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28595
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
"นาค" แห่งพระธาตุพนม : จากความเชื่อสู่งานศิลป์ (สยามรัฐ)

บายศรีพญานาค ฝีมือพระสงฆ์วัดพระธาตุพนม และคณาจารย์โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)

          ผ่านไปหมาด ๆ กับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีความหมายต่อผู้คนในดินแดนลุ่มน้ำโขงกับเรื่องราวของ "บั้งไฟพญานาค" อัน มีตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมาในท้องถิ่นว่า แรกเริ่มเดิมทีนั้น พญานาคซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองบาดาลมีนิสัยดุร้าย ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดสัตว์จึงเกิดความเลื่อมใสในพุทธศาสนา คิดจะออกบวชเป็นพระภิกษุ แต่นาคไม่ใช่มนุษย์ไม่สามารถบวชได้ จึงปวารณาตนเป็นพุทธมามกะนับแต่นั้น

          ครั้นเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปโปรดพระมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จนครบ 1 พรรษา และเสด็จกลับโลกมนุษย์ในวัน ขึ้น15 ค่ำ เดือน 11 มนุษย์ก็พากันทำบุญตักบาตร นำดอกไม้ธูปเทียนไปสักการะ ฝ่ายพญานาคจึงพ่นไฟเพื่อเป็นพุทธบูชา และนี่คือที่มาของ บั้งไฟพญานาค             

          อย่างที่ทราบกันดีว่า บั้งไฟดังกล่าวมีลักษณะเป็นลูกไฟลอยขึ้นมาเหนือน้ำ โดยจุดที่พบมากที่สุดคือ แม่น้ำโขงช่วงที่ไหลผ่านอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ซึ่งมีชาวบ้านมากมายทั้งคนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวไปรอชมอย่างล้นหลาม

          แต่ความจริงแล้ว ยังมีอีกจังหวัดหนึ่งทางภาคอีสานซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของ "นาค" อย่างน่าสนใจ นั่นก็คือ "นครพนม"       
         
          นครพนม แปลตรงตัวหมายถึง "เมืองแห่งภูเขา" เป็นจังหวัดชายแดน ติดกับแม่น้ำโขง อันเป็นเส้นเลือดใหญ่ของดินแดนอุษาคเนย์ โดยมี "พระธาตุพนม" เป็นศาสนสถานคู่บ้านคู่เมือง พระธาตุแห่งนี้มีตำนานที่สัมพันธ์กับนาค คือ "ตำ" เมืองสุวรรณภูมินานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) ซึ่งปรากฏข้อความในตอนต้นว่า

          นี้เป็นที่อยู่แห่งนาคทั้งหลาย มี "สุวรรณนาค" เป็นเค้า แลผีเสื้อน้ำ เสื้อบกยักษ์ทั้งมวล

          คำว่า "อุรังคธาตุ" หมาย ถึง พระบรมธาตุส่วนพระอุระ หรือ หน้าอกของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระมหากัสสปเถระนำมาประดิษฐานไว้ ณ ดอยกัปปนคีรี หรือ ภูกำพร้า อันป็นที่ตั้งของพระธาตุพนมในทุกวันนี้นั่นเอง       

          ตำนานดังกล่าว มีความสำคัญกับสังคมในลุ่มแม่น้ำโขงอย่างมาก นักวิชาการหลายท่าน   

          ตี ความว่าตำนานอุรังคธาตุ ชี้ให้เห็นถึงการอพยพของผู้คน ซึ่งกระจายกันตั้งหลักแหล่งในบริเวณต่างๆ ตั้งแต่ลุ่มน้ำปิงจนถึงลุ่มน้ำโขง รวมทั้งมูล-ชี โดยผูกเป็นเรื่องราวการเดินทางของนาคไปตามที่ต่างๆ
         

          ปัจจุบัน วัดพระธาตุพนม มีการจัดงาน "วันสัตตนาคารำลึก" เพื่อ ถวายผลบุญแด่พญานาค 7 ตน ที่ปกปักรักษาพระธาตุ ทุกวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 11 ก่อนออกพรรษา (ขึ้น 15 ค่ำ) สำหรับปีนี้ตรงกับวันที่ 23 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งก็มีผู้คนไปร่วมงานอย่างล้นหลามเหมือนทุกครั้ง

          ผู้คนในลุ่มแม่น้ำโขง รวมทั้งจังหวัดนครพนมมีความเชื่อเรื่องนาคอย่างลึกซึ้ง แม้แต่การบายศรีสู่ขวัญ ยังมีการจัดพานด้วยใบตองเป็นรูปเศียรนาคอย่างสวยงามประณีต

          ท่านเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม กรุณาเล่าให้ฟังว่า พานบายศรีที่ทางวัดประดิษฐ์ขึ้นเป็นรูปร่างต่าง ๆ นั้น นอกจากพญานาคแล้วยังมีรูปนกยูง และอื่น ๆ อีกหลายแบบ แต่สำหรับรูปพญานาค จะใช้สำหรับผู้ที่เราให้ความเคารพนับถือ         

          ดังนั้น ล่าสุด จึงได้เห็นพานบายศรีรูปพญานาคในงานวันเกษียณอายุราชการของผู้อำนวยการ,ครู บาอาจารย์รวมถึงบุคคลากรของโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ซึ่งผู้ปกครองท่านหนึ่งได้เชิญเจ้าอาวาสมาร่วมงาน โดยมีครูใหญ่จากโรงเรียนในจังหวัดนครพนม มาเป็น "หมอขวัญ" ในพิธี

          การทำพานบายศรีเป็นรูปทรงต่าง ๆ อย่างอิสระนั้น เข้าใจว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในยุคหลัง โดยมีการนำความเชื่อในท้องถิ่น อย่างเช่นเรื่องราวของพญานาคเข้ามาประกอบ  ถือเป็นงานศิลปะอย่างหนึ่งที่แสดงถึงศรัทธาและความคิดสร้างสรรค์ได้เป็น อย่างดี

          คนอุษาคเนย์ ผูกพันกับนาคมาเนิ่นนาน และได้ฝังรากลึกลงในวิถีชีวิต ในจิตวิญญาณ ในการดำรงอยู่ของชุมชน เฉกเช่นเรื่องราวของบายศรีรูปพญานาค ณ ดินแดนลุ่มน้ำโขงแห่งนี้

 

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
หนังสือพิมพ์สยามรัฐ
ที่มา  http://travel.kapook.com/view5544.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

หมิว

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 398
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: "นาค" แห่งพระธาตุพนม : จากความเชื่อสู่งานศิลป์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 21, 2011, 07:07:48 pm »
0
คนอิสาณ จะมีความเชื่อ เรื่องพญานาค มากคะ

  นาค มี 4 กำเนิด ตามกำเนิด คะ

 :58:
บันทึกการเข้า
ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ
แสงพระธรรม นำทาง นำสู่ใจ ได้รับแสงสว่าง
แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี

rainmain

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 323
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: "นาค" แห่งพระธาตุพนม : จากความเชื่อสู่งานศิลป์
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: เมษายน 22, 2011, 04:42:53 pm »
0
ศรัทธาของชาวอิสาณ กับความเชื่อ เรื่องนาค ว่าแต่เรื่องนาค นี้ปรากฏในพระไตรปิฏกบ้างหรือไม่ครับ หรือ มีแต่เพียงตำนานเล่าขานบอกกล่าวกันมา ใครรู้ช่วยนำมาแถลงเพิ่มความรู้หน่อยครับ

 :c017:
บันทึกการเข้า
คิดดี พูดดี ทำดี เป็นกุศล และ กรรมฐาน เป็นมหากุศล นะครับ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28595
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: "นาค" แห่งพระธาตุพนม : จากความเชื่อสู่งานศิลป์
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: เมษายน 23, 2011, 11:16:36 am »
0
ศรัทธาของชาวอิสาณ กับความเชื่อ เรื่องนาค ว่าแต่เรื่องนาค นี้ปรากฏในพระไตรปิฏกบ้างหรือไม่ครับ หรือ มีแต่เพียงตำนานเล่าขานบอกกล่าวกันมา ใครรู้ช่วยนำมาแถลงเพิ่มความรู้หน่อยครับ

 :c017:

ในอรรถกถามีการกล่าวถึงนาค เชิญคลิกลิงค์นี้ได้เลย

การกราบไหว้ บูชา รอยพระพุทธบาทมีอานิสงค์อะไรครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3176.msg11260#msg11260

 ;)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28595
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: "นาค" แห่งพระธาตุพนม : จากความเชื่อสู่งานศิลป์
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: เมษายน 23, 2011, 11:41:59 am »
0
ศรัทธาของชาวอิสาณ กับความเชื่อ เรื่องนาค ว่าแต่เรื่องนาค นี้ปรากฏในพระไตรปิฏกบ้างหรือไม่ครับ หรือ มีแต่เพียงตำนานเล่าขานบอกกล่าวกันมา ใครรู้ช่วยนำมาแถลงเพิ่มความรู้หน่อยครับ

 :c017:

อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาสมัยสูตร
(คัดมาเพียงบางส่วน)

บทว่า อนึ่ง พวกนาคชาวสระนาภสะ และพวกนาคชาวไพศาลีก็มาพร้อมกับตัจฉกะ คือ พวกนาคชาวสระนภสะ และพวกนาคชาวเมืองไพศาลี ก็มาพร้อมกับบริษัทของตัจฉกนาคราช.

               บทว่า กัมพลและอัสดร คือ กัมพล ๑ อัสดร ๑.
               เล่ากันมาว่า นาคเหล่านี้ อยู่ที่เชิงเขาสิเนรุ เป็นนาคชั้นผู้ใหญ่ที่แม้พวกสุบรรณ (ครุฑ) ก็พึงฉุดไป (= นำไป จับไป) ไม่ได้.

               บทว่า และพวกนาคชาวประยาคะ พร้อมกับหมู่ญาติ คือ และพวกนาคที่อยู่ท่าประยาคะ ก็มากับหมู่ญาติ. บทว่า และพวกชาวยมุนาและพวกธตรัฏฐ์ คือ พวกนาคที่อยู่ในแม่น้ำยมุนา และพวกนาคที่เกิดในตระกูลธตรัฏฐ์.
               บทว่า ช้างใหญ่ชื่อเอราวัณ คือ และเอราวัณเป็นเทวบุตร ไม่ใช่เป็นช้างโดยกำเนิด แต่เทวบุตรนั้นถูกเรียกว่าช้าง. บทว่า แม้เขาก็มา คือ แม้เอราวัณเทวบุตรนั้นก็มา.


               บทว่า พวกใดนำนาคราชไปได้รวดเร็ว คือ พวกครุฑเหล่าใด มีความโลภครอบงำแล้วนำ คือจับเอาพวกนาคมีประการที่กล่าวแล้วนี้ไปได้อย่างรวดเร็ว.

               บทว่า เป็นทิพย์ เกิดสองครั้ง มีปีก มีตาหมดจด คือ ชื่อว่าเป็นทิพย์ เพราะมีอานุภาพทิพย์ ชื่อว่าเกิดสองครั้ง เพราะเกิดแล้วสองครั้ง คือจากท้องแม่และจากกะเปาะไข่ ชื่อว่ามีปีก เพราะประกอบด้วยปีก ชื่อว่ามีตาหมดจด เพราะประกอบด้วยตาที่สามารถเห็นหมู่นาคในระหว่างร้อยโยชน์บ้าง พันโยชน์บ้าง.

               บทว่า พวกเหล่านั้น ไปถึงกลางป่าทางเวหา คือ พวกครุฑเหล่านั้นถึงป่าใหญ่นี้โดยทางอากาศนั่นเอง. บทว่า ชื่อของพวกเหล่านั้นว่าจิตระและสุบรรณ คือ ครุฑเหล่านั้นชื่อจิตระและสุบรรณ.


               บทว่า ในครั้งนั้นได้มีการอภัยแก่พวกนาคราช พระพุทธเจ้าทรงทำความปลอดภัยจากสุบรรณ คือ (เพราะเหตุใด) เพราะเหตุนั้น พวกนาคและครุฑทั้งหมดนั้น ทักกันด้วยวาจาที่สุภาพคุยกันเพลิดเพลิน เหมือนเพื่อนและเหมือนญาติ สวมกอดกันจับมือกันวางมือบนจะงอยบ่า มีจิตร่าเริงยินดี.

               บทว่า พวกนาค พวกสุบรรณ ทำพระพุทธเจ้าให้เป็นสรณะ คือ พวกเขาเหล่านั้นถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึก.

ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=235&p=1


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
๗. มหาสมัยสูตร (๒๐)
(คัดมาเพียงบางส่วน)


 [๒๔๓]    พวกบ่าวของท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้น มีมายา ล่อลวง
                          เจ้าเล่ห์ มาด้วยกัน มีชื่อคือกุเฏณฑุ ๑ เวเฏณฑุ ๑
                          วิฏ ๑ วิฏฏะ ๑ จันทนะ ๑ กามเสฏฐะ ๑ กินนุฆัณฑุ ๑
                          นิฆัณฑุ ๑ และท้าวเทวราชทั้งหลายผู้มีนามว่าปนาทะ ๑ โอป-
                          มัญญะ ๑ เทพสารถีมีนามว่า มาตลิ ๑ จิตตเสนะ ผู้คนธรรพ์ ๑
                          นโฬราชะ ๑ ชโนสภะ ๑ ปัญจสิขะ ๑ ติมพรู ๑ สุริยวัจฉสา
                          เทพธิดา ๑ มาทั้งนั้น

                          ราชาและคนธรรพ์พวกนั้น และพวกอื่น
                          กับเทวราชทั้งหลายยินดี มุ่งมายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ

                          อนึ่งเหล่านาคที่อยู่ในสระชื่อนภสะบ้าง อยู่ในเมืองเวสาลีบ้าง
                          พร้อมด้วยนาคบริษัทเหล่าตัจฉกะก็มา กัมพลนาค และอัสสตร-
                          *นาคก็มา นาคผู้อยู่ในท่า ชื่อปายาคะ กับญาติ ก็มา นาคผู้อยู่ใน
                          แม่น้ำยมุนา เกิดในสกุลธตรัฏฐ
ผู้มียศ ก็มา เอราวัณเทพ
                          บุตรผู้เป็นช้างใหญ่ แม้นั้นก็มายังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ ฯ

             [๒๔๔]    ปักษีทวิชาติผู้เป็นทิพย์ มีนัยน์ตาบริสุทธิ์ นำนาคราชไปได้
                          โดยพลันนั้น มาโดยทางอากาศถึงท่ามกลางป่า ชื่อของปักษี
                          นั้นว่า จิตรสุบรรณ ในเวลานั้น นาคราชทั้งหลาย ไม่ได้มีความ
                          กลัว พระพุทธเจ้าได้ทรงกระทำให้ปลอดภัยจากครุฑ นาคกับ
                          ครุฑเจรจากัน ด้วยวาจาอันไพเราะ กระทำพระพุทธเจ้าให้


                          เป็นสรณะ พวกอสูรอาศัยสมุทรอยู่ อันท้าววชิรหัตถ์รบชนะ
                          แล้ว เป็นพี่น้องของท้าววาสพ มีฤทธิ์ มียศ เหล่านี้คือพวก
                          กาลกัญชอสูร มีกายใหญ่น่ากลัวก็มา พวกทานเวฆสอสูรก็มา
                          เวปจิตติอสูร สุจิตติอสูร ปหาราทอสูร และนมุจีพระยามาร


                          ก็มาด้วยกัน บุตรของพลิอสูรหนึ่งร้อย มีชื่อว่าไพโรจน์ทั้งหมด
                          ผูกสอดเครื่องเสนาอันมีกำลังเข้าไปใกล้อสุรินทราหู แล้วกล่าว
                          ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ บัดนี้ เป็นสมัยที่จะประชุมกัน ดังนี้แล้ว
                          เข้าไปยังป่าอันเป็นที่ประชุมของภิกษุ ฯ

ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=10&A=5540&Z=5726
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 23, 2011, 11:49:58 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ