ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ภิกษุทะเลาะกัน ห้ามไม่ฟัง ทรงรำคาญ เลยหนีไปอยู่ป่า  (อ่าน 7297 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28906
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ภิกษุทะเลาะกัน ห้ามไม่ฟัง ทรงรำคาญ เลยหนีไปอยู่ป่า



ครั้งหนึ่งเสด็จไปจำพรรษา ณ ป่าปาเลไล โดยมีช้างกับลิง เป็นพุทธอุปัฏฐาก

ภาพที่เห็นเป็นภาพเหตุการณ์ตอนหนึ่งในประวัติของพระพุทธเจ้า เป็นตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาในป่าโดยลำพังพระองค์ ไม่มีพระภิกษุใดหรือใครอื่นตามเสด็จไปจำพรรษาอยู่ด้วยเลย ป่าที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาครั้งนี้ เป็นป่าใหญ่ เป็นที่อยู่อาศัยของช้างโทนเชือกหนึ่ง ชื่อว่า "ปาลิไลยกะ" หรือ "ปาลิไลยก์" ป่าแห่งนี้จึงได้นามตามช้างนี้ว่า "ป่าปาลิไลยก์" คนไทยเราเรียกว่า "ป่าปาเลไล" อันเดียวกันนั่นเอง

มูลเหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาที่ป่าแห่งนี้ เพราะทรงรำคาญพระภิกษุชาวเมืองโกสัมพีสองคณะ พิพาทและแตกสามัคคีกัน ถึงกับไม่ยอมลงโบสถ์ร่วมกัน พระพุทธเจ้าทรงทราบเข้า ได้เสด็จมาทรงระงับให้ปรองดองกัน แต่พระภิกษุทั้งสองคณะก็ไม่เชื่อฟัง พระพุทธเจ้าจึงทรงเสด็จหนีไปจำพรรษาอยู่ในป่าดังกล่าว

ด้วยอำนาจพุทธบารมีและพระเมตตาของพระพุทธเจ้า ช้างปาลิไลยก์ก็ได้เข้ามาอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า เช้าขึ้นหาผลไม้ป่ามาถวาย ตอนเย็นต้มน้ำร้อนถวายพระพุทธเจ้า ด้วยวิธีกลิ้งก้อนหินที่เผาไฟให้ร้อนลงในแอ่งน้ำ

ลิงตัวหนึ่งเห็น ช้างปรนนิบัติถวายพระพุทธเจ้า ก็ได้นำรังผึ้งมาถวายพระพุทธเจ้าบ้าง พระพุทธเจ้าทรงรับแต่ไม่ทรงฉัน ลิงจึงได้เข้าไปนำรวงผึ้งกลับมาพิจารณาดู เมื่อเห็นตัวอ่อนของผึ้ง จึงนำตัวอ่อนออกหมด แล้วจึงนำแต่น้ำผึ้งหวานไปถวายใหม่ คราวนี้พระพุทธองค์ทรงรับแล้วฉัน ลิงแอบดูอยู่บนต้นไม้ เห็นพระพุทธเจ้าทรงฉันรวงผึ้งของตน ก็ดีใจ กระโดดโลดเต้นบนกิ่งไม้ จนพลัดตกลงมา ถูกไม้แหลมเสียบท้องทะลุตาย

เมื่อออกพรรษา พระภิกษุที่แตกกันเป็นสองฝ่ายยอมสามัคคีกัน เพราะชาวบ้านไม่ยอมทำบุญใส่บาตรให้ ได้ส่งผู้แทนไปกราบทูลพระพุทธเจ้าเสด็จกลับเข้าเมือง ช้างปาลิไลยก์อาลัยพระพุทธเจ้านักหนา เดินตามพระพุทธเจ้าออกจากป่า ทำท่าจะตามเข้าไปในเมืองด้วย พระพุทธเจ้าจึงทรงหันไปตรัสบอกช้างว่า "ปาลิไลยก์ ถิ่นของเธอหมดแค่นี้ แต่นี้ต่อไปเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ ซึ่งเป็นภัยต่อสัตว์เดรัจฉานเช่นเธอ เธอไปด้วยไม่ได้หรอก"

ช้างปาลิไลยก์ก็ยืนร้องไห้เสียใจ ไม่กล้าเดินตามพระพุทธเจ้า พอพระพุทธเจ้าลับสายตา ก็เลยอกแตกตายอยู่ ณ ที่นั้น คัมภีร์บอกว่า ทั้งลิงและช้างตายแล้ว ไปเกิดเป็นเทพบุตรอยู่ที่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ที่มา   http://www.84000.org/tipitaka/picture/f66.html




พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๘.  อุปักกิเลสสูตร  (๑๒๘)


   [๔๓๙]  ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
   สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารโฆสิตาราม  เขตพระนคร  โกสัมพี
สมัยนั้นแล  พวกภิกษุในพระนครโกสัมพีเกิดขัดใจทะเลาะวิวาทกันเสียดสีกันและกันด้วย
ฝีปากอยู่  ฯ


   [๔๔๐]  ครั้งนั้นแล  ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับครั้นแล้วถวาย
อภิวาทพระผู้มีพระภาค  ยืนอยู่  ณ  ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง  พอยืน  เรียบร้อยแล้ว  ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  พวกภิกษุในพระนครโกสัมพีนี้  เกิดขัดใจทะเลาะ
วิวาทกัน  เสียดสีกันและกันด้วยฝีปากอยู่  ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดอาศัยความอนุเคราะห์
เสด็จเข้าไปยังที่อยู่ของ  ภิกษุเหล่านั้นเถิด  พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยดุษณีภาพ  ต่อนั้น  ได้เสด็จ
เข้าไปยังที่อยู่ของภิกษุเหล่านั้น  ครั้นแล้วได้ตรัสกะภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า 

ดูกรภิกษุทั้งหลายอย่าเลย  อย่าขัดใจ  อย่าทะเลาะ  อย่าแก่งแย่ง  อย่าวิวาทกันเลยเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัส
แล้วอย่างนี้  ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ขอพระผู้มีพระภาค
ผู้เป็นเจ้าของธรรม  ทรงยับยั้งก่อนขอได้โปรดทรงเป็นผู้ขวนขวายน้อย  ทรงประกอบเนืองๆ
แต่สุขวิหารธรรมในปัจจุบันอยู่เถิด  พวกข้าพระองค์ยังจักปรากฏอยู่ด้วยการขัดใจ  ทะเลาะ
แก่งแย่งวิวาทกันเช่นนี้  ฯ


   [๔๔๑]  พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุเหล่านั้นแม้ในวาระที่  ๒  ดังนี้ว่า  ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย  อย่าเลย  อย่าขัดใจ  อย่าทะเลาะ  อย่าแก่งแย่ง  อย่าวิวาทกันเลย  ภิกษุรูปนั้นก็ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาค  แม้ในวาระที่  ๒  ดังนี้ว่า  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ขอพระผู้มีพระภาค
ผู้เป็นเจ้าของธรรม  ทรงยับยั้งก่อน  ขอได้โปรดทรงเป็นผู้ขวนขวายน้อย  ทรงประกอบเนืองๆ
 แต่สุขวิหารธรรมในปัจจุบันอยู่เถิด  พวกข้าพระองค์ยังจักปรากฏอยู่ด้วยการขัดใจ  ทะเลาะ  แก่งแย่ง
วิวาทกันเช่นนี้  ฯ

[๔๔๒]  พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะภิกษุเหล่านั้นแม้ในวาระที่  ๓  ดังนี้ว่า  ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย  อย่าเลย  อย่าขัดใจ  อย่าทะเลาะ  อย่าแก่งแย่ง  อย่าวิวาทกันเลย  ภิกษุรูปนั้นก็ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคแม้ในวาระที่  ๓  ดังนี้ว่า  ข้าแต่พระ  องค์ผู้เจริญ  ขอพระผู้มีพระภาคผู้
เป็นเจ้าของธรรม  ทรงยับยั้งก่อน  ขอได้โปรดทรงเป็นผู้ขวนขวายน้อย  ทรงประกอบเนืองๆ
แต่สุขวิหารธรรมในปัจจุบันอยู่เถิดพวกข้าพระองค์ยังจักปรากฏอยู่ด้วยการขัดใจ  ทะเลาะ
แก่งแย่ง  วิวาทกันเช่นนี้  ฯ


   [๔๔๓]  ครั้งนั้นแล  พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งสบง  ทรงบาตร  จีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาต
ยังพระนครโกสัมพีในเวลาเช้า  ครั้นเสด็จกลับจากบิณฑบาต  ภายหลังเวลาพระกระยาหารแล้ว  ทรง
เก็บเสนาสนะ  กำลังประทับยืนอยู่นั่นแหละ  ได้  ตรัสพระคาถาดังนี้ว่า ฯลฯ
   
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  บรรทัดที่ ๖๐๑๗ - ๖๓๑๑.  หน้าที่  ๒๕๕ - ๒๖๖.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=6017&Z=6311&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=439



หลักธรรมเพื่อความสามัคคี ไม่ทะเลาะกัน


สารณียธรรม ๖ (ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง, ธรรมเป็นเหตุที่ระลึกถึงกัน, หลักการอยู่ร่วมกัน) สารณียธรรม ก็ใช้

๑. เมตตากายกรรม (ตั้งเมตตากายกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยเหลือกิจธุระของผู้ร่วมคณะด้วยความเต็มใจ แสดงกิริยาอาการสุภาพ เคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง)

๒. เมตตาวจีกรรม (ตั้งเมตตาวจีกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยบอกแจ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์ สั่งสอน แนะนำตักเตือนด้วยความหวังดี กล่าววาจาสุภาพ แสดงความเคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง)

๓. เมตตามโนกรรม (ตั้งเมตตามโนกรรม ในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือตั้งจิตปรารถนาดี คิดทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน มองกันในแง่ดี มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสต่อกัน)

๔. สาธารณโภคี (ได้ของสิ่งใดมาก็แบ่งปันกัน คือ เมื่อได้สิ่งใดมาโดยชอบธรรม แม้เป็นของเล็กน้อย ก็ไม่หวงไว้ผู้เดียว นำมาแบ่งปันเฉลี่ยเจือจาน ให้ได้มีส่วนร่วมใช้สอยบริโภคทั่วกัน) ข้อนี้ ใช้ อัปปฏิวิภัตตโภคี ก็ได้

๕. สีลสามัญญตา (มีศีลบริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ มีความประพฤติสุจริตดีงาม ถูกต้องตามระเบียบวินัย ไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจของหมู่คณะ)

๖. ทิฏฐิสามัญญตา (มีทิฏฐิดีงามเสมอกันเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ มีความเห็นชอบร่วมกัน ในข้อที่เป็นหลักการสำคัญที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น สิ้นทุกข์ หรือขจัดปัญหา)


ธรรม ๖ ประการนี้ มีคุณคือ
เป็น สารณียะ (ทำให้เป็นที่ระลึกถึง)
เป็น ปิยกรณ์ (ทำให้เป็นที่รัก)
เป็น ครุกรณ์ (ทำให้เป็นที่เคารพ)
เป็นไปเพื่อ ความสงเคราะห์ (ความกลมกลืนเข้าหากัน)
เพื่อ ความไม่วิวาท
เพื่อ ความสามัคคี และ เอกภาพ (ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน)


อ้างอิง  ที.ปา.๑๑/๓๑๗/๒๕๗; องฺ.ฉกก.๒๒/๒๘๒-๓/๓๒๑-๓.
ที่มา   พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม  พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 06, 2011, 08:25:56 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

whanjai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +10/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 106
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สมัยปัจจุบันนี้ ถ้านำสาราณียธรรม มา join กัน จะเป็นไปได้หรือไม่ เพราะตอนนี้ แยกเป็นนิกาย เป็นฝั่ง เป็นระบบ ต่าง ๆ เอาแค่ มหายาน กับ หินยาน นี้ ก็แตกนิกาย ไปเท่าไหร่แล้ว คะ

  แค่วัดใน .... ยัง ไม่ร่วมมือกันเลย พระ ก็ว่ากันไปคนละแบบ ถึงแม้จะให้สัดส่วนเป็น

   คันถะธุระ และ วิปัสสนาธุระ ก็ยังขัดกันอยู่ดี

  คิดว่าถ้าใช้ หลัก สารา๊ณียธรรม แ้ล้วจริง ก็น่าจะไม่มีการแตกแยก
  แต่ถึงแม้จะเห็นว่าไม่ลงรอยกัน แต่ในยามที่ เดือดร้อนกัน ก็มักจะรวมตัวกันได้ดี

  เขาบอกว่า มองเห็นเพื่อนแท้ ต้องมองเห็นยามยาก  เมตตากายกรรม วจีกรรม มโนกรรม

  วิเคราะห์ไม่ค่อยเป็น แต่อยากให้ทุกคนได้อ่านเรื่องนี้ เพื่อจะได้ join กันได้ดีคะ

 :58:
บันทึกการเข้า