ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การปฏิบัติพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา  (อ่าน 9490 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28559
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
การปฏิบัติพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา
« เมื่อ: มีนาคม 16, 2010, 07:37:52 pm »
0

การปฏิบัติพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา


พุทธศาสนพิธี
ความสำคัญของศาสนพิธี : การกระทำบุญกุศลในทางพระพุทธศาสนาของเรานั้นมีมากมายหลายอย่างต่างกันไป ตามแต่ละวิธีการที่จะเกิดขึ้นนั้น ๆ และแต่ละอย่างล้วนเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญ แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของประเพณีและวัฒนธรรมประจำชาติ – ศาสนา – องค์พระมหากษัตริย์ และประจำจิตใจของพุทธศาสนิกชนคนไทยของเรามาเป็นเวลานับเป็นพัน ๆ ร้อย ๆ ปีผ่านมา และจะมีความเจริญรุ่งเรืองสืบต่อไปตลอดกาลนาน

เมื่อกล่าวโดย จำเพาะเจาะจงแล้ว มูลเหตุแห่งการทำบุญมี ๓ ประการด้วยกัน คือ
     ๑. บุญในวันสำคัญของชาติ ศาสนา องค์พระมหากษัตริย์

     ๒. บุญประจำประเพณีในเทศกาลต่าง  ๆ เช่น ตรุษสงกรานต์ สารท เข้าพรรษา ออกพรรษาเป็นต้น
     ๓. บุญที่มีความเกี่ยวข้องเฉพาะตัวบุคคล

 
บุญ ตามข้อ ๑ – ๒ นั้น เป็นหน้าที่ของคนไทยชาวพุทธทั้งหลายจะพึงกระทำบำเพ็ญเป็นสามัคคีธรรมร่วมกัน ตามแต่ละสถานที่ และท้องถิ่นนั้น ๆ
 
ส่วนบุญตามข้อ ๓  นั้น  เป็นหน้าที่ของผู้เป็นเจ้าภาพ  และญาติมิตรจะพึงกระทำกันเป็นการเฉพาะ และยังแบ่งบุญนี้ออกเป็น  ๒  ประเภทด้วยกัน  ดังนี้  คือ

     ๑. บุญในพิธีกรรมมงคลต่างๆ  เช่น  ทำบุญอายุ  บวชนาค  โกนจุก  แต่งงาน  ขึ้นบ้านใหม่  เป็นต้น  หรือที่เรียกว่าบุญที่ปรารภเหตุที่เป็นมงคล  นั่นเอง
     ๒. บุญอวมงคล  ในพิธีทักษิณานุปทาน  อุทิศส่วนกุศลให่ท่านผู้ล่วงลับดับขันธ์ไปแล้ว  นับตั้งแต่ทำบุญอุทิศหน้าศพ  ๗  วัน  ๕๐  วัน  ๑๐๐  วัน  และครบรอบปี  เป็นต้น  หรือที่เรียกว่า  บุญปรารภ -เหตุอวมงคล  นั่นเอง


งานบุญทั้ง หมดนี้  ล้วนมีศาสนพิธี  คือการกระทำตามหลักเกณฑ์ของศาสนาที่วางไว้นั้นเหมือนกันหมด ซึ่งนอกเหนือไปจากผู้เป็นเจ้าภาพ  จะดำเนินการกำหนดวัน – เวลา  ทำบุญนิมนต์พระ  เชิญญาติมิตร  หรือแขกเหรื่อ  จัดสถานที่  และการตระเตรียมสิ่งของ  และเครื่องใช้ต่างๆไว้ก่อนงานอย่างพร้อมเพรียงแล้ว  ศาสนพิธี  ได้แก่  การกล่าวคำบูชาพระและอาราธนาศีลเป็นต้น  จนกว่าพิธีการจะเสร็จเรียบร้อยนั้น  นับเป็นพิธีการระดับหัวใจของงานทีเดียวที่จะต้องทำให้ถูกต้อง  เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ต่างๆ  ดังนี้  คือ
     ๑. ได้บุญกุศลอย่างถูกต้อง  และครบถ้วนตามพิธีการที่ต้องการเจ้าภาพ
     ๒. ชื่อว่ายกย่องเชิดชูพิธีการทำบุญนี้ให้มีความเจริญรุ่งเรืองในทางที่ถูกต้อง ตามประเพณี วัฒนธรรมต่อไป
     ๓. เป็นเกียรติคุณแก่ผู้เป็นเจ้าภาพ  และผู้ร่วมกุศลทั้งหลายให้เกิดเพิ่มพูนกุศล  จิตศรัทธามากยิ่งๆ  ขึ้นไป


ดังนั้นจึงใคร่เชิญผู้เป็นเจ้าภาพดำเนินการตามหลักศาสนพิธีอย่างถูกต้องตามลำดับดังต่อไปนี้


เหตุเกิดศาสนพิธี

ระเบียบวิธีการปฏิบัติของชาวพุทธเพื่อเข้าถึงพระรัตนตรัยเรียกว่า  ศาสนพิธี  ซึ่งหมายถึง  แบบอย่างหรือแบบแผนต่างๆ  เป็นสื่อในการทำความดีในพระพุทธศาสนา กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ  การทำกิจกรรมเพื่อเข้าถึง   พระรัตนตรัยนั่นเอง  ดังนั้น  ศาสนพิธีจึงมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าส่วนอื่นๆ  เลย

เหตุเกิดศาสนพิธี  จัดว่าเป็นสื่อกลางที่นำคนเข้าถึงสาระ  หรือแก่นพระศาสนาโดยการเข้าถึงสาระแก่นแท้ของพระพุทธศาสนานั้นสามารถเข้าถึง ทั้งด้วยการทำบุญให้ทาน  การรักษาศีล  และการเจริญ  ภาวนาตามลำดับ  และที่สำคัญคือ  การปฏิบัติตามหลักการของพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้อันเรียกว่า  “โอวาท ปาติโมกข์” พระโอวาทที่เป็นหลักของพระพุทธศาสนา

ในโอวาท ปาติโมกข์นั้นมีหลักการสำคัญที่ทรงวางไว้เป็นหลักทั่วๆไป  ๓  ประการ  คือ
     ๑. สอนไม่ให้ทำความชั่วทั้งปวง  (ละเว้นชั่ว)
     ๒. สอนให้อบรมกุศลให้ถึงพร้อม  (ประกอบควมดี)
     ๓. สอนให้ทำจิตใจของตนให้ผ่องใส  (ทำจิตผ่องใส
)

การพยายามทำตามคำสอนใน หลักการนี้เป็นการพยายามทำความดีที่เรียกว่า  ทำบุญ  และการทำบุญนี้  พระพุทธเจ้าทรงแสดงวัตถุคือที่ตั้งแห่งการทำบุญไว้โดยย่อ  เรียกว่า  “บุญกิริยาวัตถุ”  มี  ๓  ประการ  คือ
     ๑. ทาน      การบริจาคสิ่งของตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
     ๒. ศีล        การรักษากายวาจาให้สงบเรียบร้อย  ไม่ล่วงบัญญัติที่ทรงห้าม
     ๓. ภาวนา   การอบรมจิต ใจให้ผ่องใสในการกุศล


บุญกิริยาวัตถุนี้  เป็นแนวทางให้พุทธบริษัทประพฤติตามหลักการที่กล่าวข้างต้นและเป็นเหตุให้ เกิด   ศาสนพิธีต่างๆขึ้น  โดยนิยม

ประโยชน์ของศาสนพิธี
     ๑. เป็นวิธีการดึงคนเข้าสู่หลักธรรมทางพระศาสนา
     ๒. เป็นรูปแบบวิธีการที่มีแบบแผน  งดงาม  สอดคล้องกับวัฒนธรรมไทย
     ๓. เป็นกระบวนการที่ทำให้คนในสังคมมีความรักสามัคคีปราถนาดีต่อกัน
     ๔. ผู้ที่ศึกษาศาสนพิธีดีแล้ว  ย่อมเป็นผู้ฉลาดในพีธีกรรมที่ต้องปฏิบัติในการบำเพ็ญกุศล
     ๕. สามารถจรรโลงให้พระพุทธศาสนามีความเจริญยั่งยืนสืบไป



ที่มา  http://www.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1312:2009-09-28-16-34-12&catid=99:2009-09-28-16-15-01&Itemid=333

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 16, 2010, 07:45:56 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ลูกเกด

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 50
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การปฏิบัติพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 17, 2010, 07:26:18 am »
0
 :25:
อนุโมทนา ด้วยคะกับสาระ
สงสัย ช่วงนี้สมาชิก ไปเดินขบวนแน่เลย...... :13:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28559
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การปฏิบัติพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 17, 2010, 08:24:47 am »
0

คุณลูกเกด หายไปนานเลย สบายดีนะครับ  :c017: :49: :bedtime2:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ