ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มิจฉาสมาธิ และ สัมมาสมาธิ ต่างกันอย่างไร ?  (อ่าน 11398 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
พูดถึง สมาธิ แล้ว คงต้องทำความเข้าใจ กับสมาธิ

คือเข้าใจ กับ มิจฉาสมาธิ ว่าสมาธิที่ผิดเป็นอย่างไร ?
              สัมมาสมาธิ ว่าสมาธิ ที่ถูกเป็นอย่างไร ?

อย่างไร ชื่อว่า เห็นตามความเป็นจริง ?

==================================
สำหรับผม เข้าใจง่าย ๆ ว่า


    มิจฉาสมาธิ คือ ความตั้งใจมั่นที่ไม่เป็นเพื่อการละกิเลส

ส่วน
     
    สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งใจมั่นที่เป็นไปเพื่อละกิเลส

ดังนั้น ความเข้าใจผม การภาวนาสมาธินั้น ไม่เพียงต้องมีรูปแบบ มากมาย
เพียงเมื่อใจตั้งมั่น เพื่อการละจากกิเลส ก็เห็นตามความเป็นจริงว่า

   รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน

เท่านี้เพียงพอหรือไม่ ในการภาวนา หรือจำเป็น ต้องภาวนาให้ถึงระดับ อัปปนาสมาธิ ที่ทรงจิตลึกที่ตามเห็นได้ยากขึ้น

-------------------------------------------------------
ิจิต เป็นเพียงธาตุ รู้

รู้ เห็น ตามความเป็นจริง ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ดังนี้่เป็นต้น

---------------------------------------------------------------------------
;)
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

ISSARAPAP

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +11/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 129
  • โดดเดี่ยว แต่ไม่เดียวดาย สัจจะธรรมแท้ ไม่มีสูตร
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: มิจฉาสมาธิ และ สัมมาสมาธิ ต่างกันอย่างไร ?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 25, 2010, 10:21:06 pm »
0
อ้างถึง
มิจฉาสมาธิ คือ ความตั้งใจมั่นที่ไม่เป็นเพื่อการละกิเลส

ส่วน
     
    สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งใจมั่นที่เป็นไปเพื่อละกิเลส

     สำหรับผม ในสติปัฏฐาน 4 สมาธิมีโดยธรรมชาติ แห่งจิต  จะเป็น มิจฉา ( ผิด ) หรือ สัมมา ( ถูก ) ไม่ได้
 ขึ้นอยู่กับ บัญญัติ สมมุติ ว่าให้เป็นถูกหรือผิด สำหรับ สมาธิโดยธรรมชาตินั้น เป็นประำัภัสสรแห่งจิตเดิมแท้ ว่างจากสมมุติ พ้นจากบัญญัติ
บันทึกการเข้า
ความสันโดษ เป็นบรมสุข

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: มิจฉาสมาธิ และ สัมมาสมาธิ ต่างกันอย่างไร ?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 26, 2010, 12:51:53 pm »
0
 :34:
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28938
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: มิจฉาสมาธิ และ สัมมาสมาธิ ต่างกันอย่างไร ?
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 26, 2010, 05:01:39 pm »
0

สัมมาสมาธิเป็นไฉน ?


ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม

บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่

เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น

เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข

อันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ
 
เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป

บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า

ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข

เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์

และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้

มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ


ที่มา  เล่ม ๑๒ พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
------------------------------------------------------

สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน  อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐีเขตพระนครสาวัตถี  สมัยนั้นแล  พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว  ฯ

   พระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้ว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เราจักแสดงสัมมาสมาธิของพระอริยะอันมีเหตุ  มีองค์ประกอบ  แก่เธอทั้งหลาย  พวกเธอจงฟังสัมมาสมาธินั้น  จงใส่ใจให้ดี  เราจักกล่าวต่อไป  ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า  ชอบแล้ว  พระพุทธเจ้าข้า  ฯ

   [๒๕๓]  พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ก็สัมมาสมาธิของพระอริยะ  อันมีเหตุ  มีองค์ประกอบ  คือ  สัมมาทิฐิ  สัมมาสังกัปปะสัมมาวาจา  สัมมากัมมันตะ  สัมมาอาชีวะ  สัมมาวายามะ  สัมมาสติ  เป็นไฉน  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งประกอบแล้วด้วยองค์  ๗  เหล่านี้แล  เรียกว่า  สัมมาสมาธิของพระอริยะ  อันมีเหตุบ้าง  มีองค์ประกอบบ้าง  ฯ

   [๒๕๔]  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  บรรดาองค์ทั้ง  ๗  นั้น  สัมมาทิฐิย่อมเป็นประธาน ฯ

ที่มา  เล่ม ๑๔ พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
------------------------------------------------------

 เรื่้่องสัมมาสมาธินี้ได้เคยกล่าวไว้หลายกระทู้แล้ว คุณกิติศักดิ์คงไม่ได้สังเกต

 แต่เมื่อคุณอยากคุย ก็จะคุยเป็นเพื่อน

 ---------------------------------
 
  ในส่วนความเห็นของคุณกิติศักดิ์นั้น ผมเห็นด้วย

 ส่วนตัวผมแล้ว ขอแบ่งการพิจารณาออกเป็นสองส่วน คือ สมถะ และ วิปัสสนา


 สมถะนั้น ต้องการเพียงความสงบ ถ้าทำแล้วไม่สงบ ก็คือ มิจฉาสมาธินั่นเอง


 วิปัสสนาต้องการสมาธิเป็นบาทฐาน  การเจริญวิปัสสนาต้องการดับกิเลส

 หากการเจริญวิปัสสนา ดำเนินไปแล้วกิเลสยังไม่ดับ

 ส่วนหนึ่งของปัญหาที่อาจเป็นได้ ก็คือ สมาธิที่ใช้เพื่อการวิปัสสนานั้น

 ไม่ใช่ สัมมาสมาธิ  หรืออาจกล่าวโดยอนุโลมว่า เป็นมิจฉาสมาธิ


 
ส่วนเรื่องระดับของสมาธิที่ใช้ในการภาวนานั้น(วิปัสสนาภาวนา)

 ขอให้ไปอ่านเรื่อง มรรค ๔ ของพระอานนท์ ให้เข้าใจก่อน อยู่ในนี้ครับ


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
 ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
 ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา

 http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=31&A=7564&w=%C2%D8%A4%B9%D1%B7%B8%C7%C3%C3%A4_%C2%D8%A4%B9%D1%B7%B8%A1%B6%D2


โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่า ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ(ฌาน ๑-๘)

 สามารถใช้ในการวิปัสสนาได้ทั้งสิ้น ขึ้นอยู่ว่าจะใช้มรรคข้อไหน(ใน ๔ ข้อนั้น)

 ถ้าจะให้ดีขอให้อ่านอรรถกถา และคัมภีร์วิสุทธิมรรคด้วยจะดีมากเลย

 อย่างไงก็รบกวนไปทำการบ้านก่อนนะครับ แล้วค่อยมาคุยกัน

 ขอให้ธรรมคุ้มครอง

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ