เสขะ ผู้ยังต้องศึกษา ได้แก่ พระอริยบุคคลที่ยังไม่บรรลุอรหัตตผล
โดยพิสดารมี ๗ คือ ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ในโสดาปัตติผล ในสกทาคามิมรรค ในสกทาคามิผล ในอนาคามิมรรค ในอนาคามิผล และในอรหัตตมรรค,
พูดเอาแต่ระดับเป็น ๓ คือ พระโสดาปัน พระสกทาคามี พระอนาคามี
อเสขะ ผู้ไม่ต้องศึกษา เพราะศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว
ได้แก่ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล คือ พระอรหันต์;
คู่กับ เสขะ
สังโยชน์ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ
ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่
๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน
๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต
๔. กามราคะ ความติดใจในกามคุณ
๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่
๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต(เช่น วัตถุอันเป็นอารมณ์แห่งฌาน หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ สมาธิ) ๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม
๘. มานะ ความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่
๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
๑๐. อวิชชา ความไม่รู้จริง; พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้,
พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย,
พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด,
พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ;อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
หนูหมิว ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ เก่งมากครับ
อธิจิต ในที่นี้หมายถึงสมถวิปัสสนาจิต (จิตในสมถะและวิปัสสนา) และนิมิตต่างๆ เป็นเรื่องของปุถุชน และเสขะบุคคล(โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี) กล่าวคือ ยังต้องศึกษาหรือปฏิบัติอยู่ เพราะกิเลสยังไม่สิ้น (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังโยชน์ข้อ ๖ วัตถุอันเป็นอารมณ์แห่งฌาน หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ สมาธิ)
แต่พระพุทธเจ้าเป็น อเสขะบุคคล ไม่มีอะไรให้ศึกษา จบแล้วซึ่งพรหมจรรย์ สิ้นกิเลสแล้ว จึงไม่ยึดนิมิต (ละสังโยชน์ข้อ ๖ ได้แล้ว)
เรื่องนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ ไม่ได้ฟันธง