ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กามฉันทะ และ ฉันทะสมาธ ต่างกันอย่างไร  (อ่าน 5088 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

เด็กวัด

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 150
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
กามฉันทะ  และ ฉันทะสมาธ ต่างกันอย่างไร

 เนื่องด้วย สมาธิ ย่อมละนิวรณ์ทั้ง 5 มี กามฉันทะ เป็นต้น

แต่ผู้ฝึกภาวนา สมาธิ ต้องมี ฉันทะสมาธิ เมื่อเป็นดังนั้น  จะเรียกว่า พ้นกามฉันทะ ได้อย่างไร

 :smiley_confused1: :c017:



บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: กามฉันทะ และ ฉันทะสมาธิ ต่างกันอย่างไร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2011, 07:51:22 pm »
0
กามฉันทะ  และ ฉันทะสมาธิ ต่างกันอย่างไร




ความใคร่ปรารถนาสุขเสพในรูปสัมผัสอันแปรปรวนนั้น หมายเอาความถึง กามฉันทะ อันเป็นนิวรณ์ (สิ่งกีดขวางหนทาง

เจริญ) ส่วนในการภาวนาใดใดนั้น ต้องมีฉันทะสมาธิ กล่าวคือ ความใคร่ยินดีที่จะน้อมนำไปสู่วิถีแห่งความตั้งมั่น (ยินดี

น้อมขมาภาวนาธรรม) ขออย่าเขวศัพย์ไขว้คำมาสับสนกันนะครับ




http://widget.sanook.com/view-widget/text/?widget=360189
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 29, 2011, 08:19:05 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28906
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: กามฉันทะ และ ฉันทะสมาธ ต่างกันอย่างไร
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 30, 2011, 12:44:42 am »
0
กามฉันท์, กามฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น, ความพอใจในกามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
       (ข้อ ๑ ในนิวรณ์ ๕)



ฉันทะ
       1. ความพอใจ, ความชอบใจ, ความยินดี, ความต้องการ, ความรักใคร่สิ่งนั้นๆ, ความรักงาน
           (เป็นกลางๆ เป็นอกุศลก็มี เป็นกุศลก็มี, เป็นอัญญสมานาเจตสิกข้อ ๑๓, ที่เป็นอกุศล เช่นในคำว่า กามฉันทะ ที่เป็นกุศลเช่น ข้อ ๑ ในอิทธิบาท ๔)

       2. ฉันทะ ที่ใช้เป็นคำเฉพาะ มาเดี่ยวๆ โดยทั่วไปหมายถึงกุศลฉันทะ หรือธรรมฉันทะ
           ได้แก่ กัตตุกัมยตาฉันทะ คือ ความต้องการที่จะทำหรือความอยากทำ(ให้ดี);
           ตรงข้ามกับ ตัณหาฉันทะ คือ ความอยากเสพ อยากได้ อยากเอาเพื่อตัว ที่เป็นฝ่ายอกุศล

       3. ความยินยอม, ความยอมให้ที่ประชุมทำกิจนั้นๆ ในเมื่อตนมิได้ร่วมอยู่ด้วย, เป็นธรรมเนียมของภิกษุ ที่อยู่ในวัดซึ่งมีสีมารวมกัน มีสิทธิที่จะเข้าประชุมทำกิจของสงฆ์ เว้นแต่ภิกษุนั้นอาพาธจะเข้าร่วมประชุมด้วยไม่ได้ ก็มอบฉันทะ คือแสดงความยินยอมให้สงฆ์ทำกิจนั้นๆ ได้


อ้างอิง   พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


สังโยชน์ ๑๐ (กิเลสอันผูกใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือผูกกรรมไว้กับผล)

ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ (สังโยชน์เบื้องต่ำ เป็นอย่างหยาบ เป็นไปในภพอันต่ำ)

๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน เช่น เห็นรูป เห็นเวทนา เห็นวิญญาณ เป็นตน เป็นต้น)

๒. วิจิกิจฉา (ความสงสัย, ความลังเล ไม่แน่ใจ)

๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร)

๔. กามราคะ (ความกำหนัดในกาม, ความติดใจในกามคุณ)

๕. ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งในใจ, ความหงุดหงิดขัดเคือง )


ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ (สังโยชน์เบื้องสูง เป็นอย่างละเอียด เป็นไปแม้ในภพอันสูง)

๖. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต, ความปรารถนาในรูปภพ )

๗. อรูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน หรือในอรูปธรรม, ความปรารถนาในอรูปภพ)


๘. มานะ (ความสำคัญตน คือ ถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่)

๙. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)

๑๐. อวิชชา (ความไม่รู้จริง, ความหลง)


สังโยชน์ ๑๐ ในหมวดนี้ เป็นแนวพระสูตร หรือ สุตตันตนัย แต่ในบาลีแห่งพระสูตรนั้นๆ มีแปลกจากที่นี้เล็กน้อย คือ ข้อ ๔ เป็น กามฉันท์ (ความพอใจในกาม) ข้อ ๕ เป็น พยาบาท (ความขัดเคือง, ความคิดร้าย) ในความเหมือนกัน


อ้างอิง   พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


    คุณเด็กวัดครับ กามฉันทะ กับสมาธิฉันทะ ไม่เหมือนกัน

    คำว่า "ฉันทะ" มีความหมายเหมือนกันก็จริง แต่ฉันทะไม่ใช่กิเลส

    คำว่า"กาม" และคำว่า"สมาธิ" มีความหมายไม่เหมือนกัน แต่เป็นกิเลสทั้งคู่

    การพ้นจากกามฉันทะ และการพ้นจากสมาธิฉันทะ ไม่เกี่ยวข้องกัน เป็นกิเลสที่อยู่ต่างระดับกัน



    ขอให้ดูในหัวข้อสังโยชน์ กามฉันทะเป็นสังโยชน์ข้อ ๔ อนาคามีผลขึ้นไปเท่านั้น ที่ละได้

    ส่วนสมาธิฉันทะ เป็นเรื่องของอารมณ์ในฌาน อยู่ในสังโยชน์ข้อ ๖ และ ๗ อรหันตผลเท่านั้น ที่ละได้



    คุณเด็กวัดไม่ต้องกลัวว่า จะติดสมาธิหร็อกครับ เพราะการติดสุขในสมาธิ ในทางโลกถือว่า เป็นเรื่องกุศล

    เมื่อใดที่คุณมีความต้องการจะเป็นอรหันตผล เมื่อนั้นจึงจำเป็นต้องละกิเลสตัวนี้


    ;) :25: :49: :welcome:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 30, 2011, 12:47:07 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

เฉินหลง

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 153
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: กามฉันทะ และ ฉันทะสมาธ ต่างกันอย่างไร
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 30, 2011, 08:46:21 am »
0
กามฉันทะ คือ ความพึงพอใจ ใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เรียกว่า กามคุณ 5

ฉันทะสมาธิ จะมีได้ เมื่อได้ผล สมาธิ ตั้งแต่ ปีติ ขึ้นไป เป็น ผล ให้เกิด ปราโมทย์ ในสมาธิ

ดังนั้น กามฉันทะ นั้น ถึงไม่ทำสมาธิ ก็เกิดขึ้นได้ ตามสภาพ ของสภาวะกิเลส

ส่วน ฉันทะสมาธิ จะเกิดได้ ต้องภาวนาปฏิบัติ กรรมฐานใด กรรมฐานหนึ่ง เจริญจิต เป็นสมาธิ จึงจะมีได้

ดังนั้น ความเหมือน ความต่าง ก็เป็นอย่างนี้

  แต่ กามฉันทะ หากอยู่กับ กามคุณ บ่อย ๆ มาก ๆ ก็มีผลให้เกิด ความทุกข์ได้

  ส่วน ฉันทะสมาธิ หากอยู่ด้วยกันบ่อยมากขึ้น ก็มีผลให้จิต เป็นสุข ๆๆๆๆ ยิ่งกว่า สุข ที่ปุถุชนเข้าใจ

 :s_hi: :s_hi:
บันทึกการเข้า