ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระปิงคิยะ ผู้ภาวนา พุทธานุสสติกรรมฐาน คาถาที่ 1  (อ่าน 5818 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

paisalee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 382
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พระสุตตันตปิฎก  ขุททกนิกาย  จูฬนิทเทส  [ปารายนวรรค]
 ๗.  ปารายนานุคีติคาถานิทเทส




ขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com

 
            [๑๑๓] (พระปิงคิยเถระกล่าวว่า)
   ท่านพราหมณ์    อาตมภาพไม่ประมาท
ทั้งกลางคืนและกลางวัน    ย่อมเห็นพระโคดมพุทธเจ้า
พระองค์นั้นด้วยใจ    เหมือนเห็นด้วยตา
  อาตมภาพนอบน้อมพระองค์อยู่ตลอดราตรี
อาตมภาพเข้าใจความไม่อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น


            คำว่า    อาตมภาพ...ย่อมเห็นพระโคดมพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยใจ    เหมือนเห็นด้วยตา    อธิบายว่า    อาตมภาพย่อมเห็น    คือ    แลเห็น    มองดู    เพ่งพินิจ    พิจารณาเห็นพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า    เหมือนคนตาดี    พึงมองเห็น    คือ    แลเห็น    มองดูพิจารณาเห็นรูปทั้งหลายในที่แจ้ง    ฉะนั้น    รวมความว่า    อาตมภาพ...ย่อมเห็นพระโคดมพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยใจ    เหมือนเห็นด้วยตา
            คำว่า    ท่านพราหมณ์    ...ไม่ประมาททั้งกลางคืนและกลางวัน    อธิบายว่าอาตมภาพเจริญพุทธานสสติด้วยใจทั้งกลางคืนและกลางวัน    ชื่อว่าไม่ประมาท    รวมความว่า    ท่านพราหมณ์    ...ไม่ประมาททั้งกลางคืนและกลางวัน
            คำว่า    นอบน้อมอยู่    ในคำว่า    นอบน้อมอยู่ตลอดราตรี    อธิบายว่า    อาตมภาพนอบน้อมอยู่    คือ    สักการะ    เคารพ    นับถือ    บูชาอยู่    ด้วยกาย    วาจา    ใจ    ปฏิบัติเอื้อประโยชน์    ปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม    ได้แก่    ให้คืนและวันผ่านไป    ให้ล่วงไป(ด้วยการปฏิบัติ)    รวมความว่า    นอบน้อมอยู่ตลอดราตรี
            คำว่า    อาตมภาพเข้าใจความไม่อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นอธิบายว่า    อาตมภาพเมื่อเจริญด้วยพุทธานุสสตินั้น    ย่อมเข้าใจพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นว่า    มิได้อยู่ปราศจาก    ย่อมเข้าใจ  คือ    รู้ทราบ    รู้ทั่ว    รู้แจ่มแจ้ง    รู้เฉพาะ    แทงตลอดอย่างนี้ว่า    มิได้อยู่ปราศจากแล้ว    รวมความว่า    อาตมภาพเข้าใจความไม่อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น    ด้วยเหตุนั้น    พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า


           
   ท่านพราหมณ์    อาตมภาพไม่ประมาท
ทั้งกลางคืนและกลางวัน    ย่อมเห็นพระโคดมพุทธเจ้า
พระองค์นั้นด้วยใจ    เหมือนเห็นด้วยตา
  อาตมภาพนอบน้อมพระองค์อยู่ตลอดราตรี
อาตมภาพเข้าใจความไม่อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 07, 2011, 08:03:01 am โดย paisalee »
บันทึกการเข้า
บุญที่้ข้าพเจ้าได้ทำวันนี้ ขออุทิศให้แก่ บิดาและน้องชายที่ล่วงลับ มารดาที่ยังมีชีวิตอยู่

paisalee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 382
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
พระปิงคิยะ ผู้ภาวนา พุทธานุสสติกรรมฐาน คาถาที่ 2
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 07, 2011, 08:08:43 am »
0

ขอบคุณภาพจาก http://watkomafai.igetweb.com

[๑๑๔]  (พระปิงคิยเถระกล่าวว่า)
            ธรรมเหล่านี้    คือ    สัทธา    ปีติ    มนะ    และสติ
 ย่อมไม่หายไปจากศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้า
 พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจภูริ    เสด็จไปสู่ทิศใด  ๆ
 อาตมภาพเป็นผู้น้อมไปทางทิศนั้น  ๆ    นั่นแล


            คำว่า    สัทธา    ในคำว่า    สัทธา    ปีติ    มนะ    และสติ    อธิบายว่า    สัทธาความเชื่อ    ความกำหนด    ความเลื่อมใส    สัทธา    คือ    สัทธินทรีย์    สัทธาพละ    ปรารภพระผู้มีพระภาค

            คำว่า    ปีติ    ได้แก่    ความอิ่มเอิบ    ความปราโมทย์    ความชื่นใจ    ความบันเทิง ความเบิกบาน    ความร่าเริง    ความรื่นเริง    ความปลื้มใจ    ความยินดี    ความมีใจสูงความมีใจแช่มชื่น    ความที่ใจเลื่อมใสยิ่ง

           คำว่า    มนะ    ได้แก่    จิต    มโน    มานัส    หทัย    ปัณฑระ    มนะ    มนายตนะ    มนินทรีย์วิญญาณ    วิญญาณขันธ์    มโนวิญญาณธาตุ๑    อันเกิดจากวิญญาณขันธ์นั้นปรารภพระผู้มีพระภาค

            คำว่า    สติ    ได้แก่    สติ    ความระลึกถึง    สัมมาสติปรารภพระผู้มีพระภาค    รวมความว่า    สัทธา    ปีติ    มนะ    และสติ
 
           คำว่า    ธรรมเหล่านี้  ...  ย่อมไม่หายไปจากศาสนาของพระโคดม    อธิบายว่าธรรม    ๔    อย่างเหล่านี้    ย่อมไม่หายไป    คือ    ไม่ไป    ไม่ละไป    ไม่สูญหายไป    จากศาสนาของพระโคดม    คือ   จากศาสนาของพระพุทธเจ้า    จากศาสนาของพระชินเจ้า    จากศาสนาของพระตถาคต    จากศาสนาของพระอรหันต์    รวมความว่า    ธรรมเหล่านี้  ...ย่อมไม่หายไปจากศาสนาของพระโคดม

            คำว่า    สู่ทิศใด  ๆ    ในคำว่า    พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจภูริ    เสด็จไปสู่ทิศใด  ๆอธิบายว่า   เสด็จไป    ดำเนินไป    มุ่งไป    มุ่งหน้าสู่ทิศตะวันออก    ทิศตะวันตก    ทิศใต้หรือทิศเหนือก็ตาม

            คำว่า    ผู้มีพระปัญญาดุจภูริ    อธิบายว่า    ผู้มีพระปัญญาดุจภูริ    คือ    มีพระปัญญามาก    มีพระปัญญาเฉียบคม    มีพระปัญญากว้างขวาง    มีพระปัญญาอาจหาญมีพระปัญญาฉับไว    มีพระปัญญาเพิกถอนกิเลส
            แผ่นดิน    เรียกว่า    ภูริ

            พระผู้มีพระภาคทรงประกอบด้วยปัญญานั้นกว้างขวาง    แผ่ไปเสมอด้วยแผ่นดินนั้น    รวมความว่า    พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจภูริ    เสด็จไปสู่ทิศใด  ๆ

            คำว่า    อาตมภาพเป็นผู้น้อมไปทางทิศนั้น  ๆ    นั่นแล    อธิบายว่า    พระพุทธ-เจ้าประทับอยู่   ณ    ทิศใด    อาตมภาพก็น้อมไปทางทิศนั้น    เอนไป    โอนไป    โน้มไปน้อมใจไปในทิศนั้น    มีทิศนั้นเป็นใหญ่    รวมความว่า    อาตมภาพเป็นผู้น้อมไปทางทิศนั้น  ๆ    นั่นแล    ด้วยเหตุนั้น    พระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า



            ธรรมเหล่านี้    คือ    สัทธา    ปีติ    มนะ    และสติ
 ย่อมไม่หายไปจากศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้า
 พระโคดมผู้มีพระปัญญาดุจภูริ    เสด็จไปสู่ทิศใด  ๆ
 อาตมภาพเป็นผู้น้อมไปทางทิศนั้น  ๆ    นั่นแล


บันทึกการเข้า
บุญที่้ข้าพเจ้าได้ทำวันนี้ ขออุทิศให้แก่ บิดาและน้องชายที่ล่วงลับ มารดาที่ยังมีชีวิตอยู่

paisalee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 382
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พระปิงคิยะ ผู้ภาวนา พุทธานุสสติกรรมฐาน คาถาที่ 3
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 07, 2011, 08:15:01 am »
0

ขอบคุณภาพจาก http://image.dek-d.com


[๑๑๕] (พระปิงคิยเถระกล่าวว่า)
    อาตมภาพชราแล้ว    มีกำลังและเรี่ยวแรงน้อย
เพราะเหตุนั้นแล    ร่างกายจึงไปในสถานที่
ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ไม่ได้
 แต่อาตมภาพไปเฝ้าพระองค์เป็นนิจ
 โดยการไปด้วยความดำริ    ท่านพราหมณ์
เพราะว่าใจของอาตมภาพเกาะเกี่ยวอยู่กับสถานที่
 ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่นั้น


            คำว่า    ชราแล้ว    ในคำว่า    อาตมภาพชราแล้ว    มีกำลังและเรี่ยวแรงน้อยได้แก่    ชราแล้ว    คือ    เป็นผู้เฒ่า    สูงอายุ    ล่วงกาลมามาก    ผ่านวัยมามาก    รวมความว่าชราแล้ว

            คำว่า    มีกำลังและเรี่ยวแรงน้อย    ได้แก่    เป็นผู้เฒ่า    คือ    มีเรี่ยวแรงน้อยลงมีเรี่ยวแรงนิดเดียว    รวมความว่า    อาตมภาพชราแล้ว    มีกำลังและเรี่ยวแรงน้อย

            คำว่า    ร่างกายจึงไปในสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ไม่ได้    อธิบายว่าร่างกายไปไม่ได้    คือ    มิได้ถึง    มิได้เดินทางไป    มิได้ก้าวไปทางที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่รวมความว่า    ร่างกายจึงไปในสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ไม่ได้

            คำว่า    แต่อาตมภาพไปเฝ้าพระองค์เป็นนิจ    โดยการไปด้วยความดำริอธิบายว่า    อาตมภาพไปเฝ้า    คือ    ถึง    เดินทางไป    ก้าวไปโดยการไปด้วยความดำริคือ โดยการไปด้วยความตรึก ด้วบญาณ    ด้วยปัญญา    ด้วยความรู้    รวมความว่าแต่อาตมภาพไปเฝ้าพระองค์เป็นนิจ    โดยการไปด้วยความดำริ

            คำว่า    ใจ    ในคำว่า    ท่านพราหมณ์    เพราะว่าใจของอาตมภาพเกาะเกี่ยวอยู่กับสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่นั้น    ได้แก่    จิต    มโน    มานัส    หทัย    ปัณฑระมนะ    มนายตนะ    มนินทรีย์    วิญญาณ    วิญญาณขันธ์    และมโนวิญญาณธาตุ    ที่เกิดจากวิญญาณขันธ์นั้น

            คำว่า    ท่านพราหมณ์    เพราะว่าใจของอาตมภาพเกาะเกี่ยวอยู่กับสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่นั้น    อธิบายว่า    ใจของอาตมภาพเกาะเกี่ยว    คือ    เกี่ยวเนื่องผูกพันกับสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่แล้ว    รวมความว่า    ท่านพราหมณ์    เพราะว่าใจของอาตมภาพเกาะเกี่ยวอยู่กับสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่นั้น    ด้วยเหตุนั้นพระปิงคิยเถระจึงกล่าวว่า



    อาตมภาพชราแล้ว    มีกำลังและเรี่ยวแรงน้อย
เพราะเหตุนั้นแล    ร่างกายจึงไปในสถานที่
ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ไม่ได้
 แต่อาตมภาพไปเฝ้าพระองค์เป็นนิจ
 โดยการไปด้วยความดำริ    ท่านพราหมณ์
เพราะว่าใจของอาตมภาพเกาะเกี่ยวอยู่กับสถานที่
 ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่นั้น

บันทึกการเข้า
บุญที่้ข้าพเจ้าได้ทำวันนี้ ขออุทิศให้แก่ บิดาและน้องชายที่ล่วงลับ มารดาที่ยังมีชีวิตอยู่

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พระปิงคิยะ ผู้ภาวนา พุทธานุสสติกรรมฐาน คาถาที่ 1
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กันยายน 07, 2011, 09:40:39 am »
0
อนุโมทนา สาธุ ด้วยครับ กับเรื่อง พุทธานุสสติ ครับ
แสดงให้เห็นว่า พระพุทธเจ้า ได้ทรงแนะนำตรัสสอนพระสาวกให้ปฏิบัติ พุทธานุสสติ ด้วยนะครับ
 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

มะเดื่อ

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 181
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พระปิงคิยะ ผู้ภาวนา พุทธานุสสติกรรมฐาน คาถาที่ 1
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กันยายน 07, 2011, 09:41:35 am »
0
 :c017: ขอบคุณกับธรรมะ ยามเช้า ครับ

 :25:
บันทึกการเข้า