ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ต้องการรู้เรื่องโพชฌงค์แนวปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา  (อ่าน 7824 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Mahajaroon

  • 1.บรรพชิต
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 63
  • ข้างนอกต้องแก้ไข ข้างในต้องปล่อยวาง
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0




ใครที่เข้าใจเรื่องโพชฌงค์ขอคำอธิบาย

๑ โพชฌงค์กับชีวิตประจำวันเป็นอย่างไร?
๒ โพชฌงค์กับวิปัสสนาภาวนาเป็นอย่างไร?
๓ พระพุทธเจ้าได้เคยตรัสเรื่องนี้ที่ใดบ้าง ?
บันทึกการเข้า
พุทธะนับหมื่นอยู่ที่ใจ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28906
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ท่านมหาจรูญ ครับ ดูเหมือนท่านจะถามภาคปฏิบัติของโพชฌงค์ ซึ่งเมื่อก่อนผมก็เคยสงสัย
มีผู้รู้กล่าวว่า โพชฌงค์ก็คือ "ภาคปฏิบัติของมรรคมีองค์ ๘" เรื่องนี้คงต้องใช้โยนิโสมนสิการเอาเอง
ตัวผมเองยังขาดปัญญาในเรื่องนี้

 เท่าที่พอจะค้นได้ ภาคปฏิบัติของโพชฌงค์ ส่วนหนึ่งน่าจะอยู่ใน "อานาปานสติสูตรและ โพชฌงควิภังค์"



 
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
๘. อานาปานสติสูตร (๑๑๘)


[๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้

ดูกรภิกษุทั้งหลายสมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ ฯ


 ฯลฯ..................ฯลฯ

อ่านรายละเอียดได้ที่
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  บรรทัดที่ ๓๙๒๔ - ๔๑๘๑.  หน้าที่  ๑๖๗ - ๑๗๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=14&A=3924&Z=4181&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=282



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
๑๐. โพชฌงควิภังค์
สุตตันตภาชนีย์
โพชฌงค์ ๗ นัยที่ ๑


             [๕๔๒] โพชฌงค์ ๗ คือ
                          ๑. สติสัมโพชฌงค์
                          ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
                          ๓. วิริยสัมโพชฌงค์
                          ๔. ปีติสัมโพชฌงค์
                          ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
                          ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์
                          ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์


             [๕๔๓] ในโพชฌงค์ ๗ นั้น สติสัมโพชฌงค์ เป็นไฉน
             ภิกษุในศาสนานี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญาอันยิ่ง ระลึกได้ ระลึกได้ย่อยๆ ซึ่งกิจที่ทำไว้นานๆ หรือวาจาที่กล่าวไว้นานๆ นี้เรียกว่า สติสัมโพชฌงค์

             ภิกษุนั้น มีสติอย่างนั้นอยู่ วิจัย เลือกสรร พิจารณา ซึ่งธรรมนั้นด้วยปัญญา นี้เรียกว่า ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

             ความเพียร ความไม่ย่อหย่อน อันภิกษุนั้นผู้วิจัย เลือกสรร พิจารณาซึ่งธรรมนั้น ด้วยปัญญา ปรารภแล้ว นี้เรียกว่า วิริยสัมโพชฌงค์

             ปีติ อันปราศจากอามิส เกิดขึ้นแก่พระภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้วนี้เรียกว่า ปีติสัมโพชฌงค์


             กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้มีใจปีติ ย่อมสงบระงับ นี้เรียกว่า ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

             จิตของภิกษุผู้มีกายสงบระงับแล้ว มีความสุขสบาย ย่อมตั้งมั่น นี้เรียกว่า สมาธิสัมโพชฌงค์


             ภิกษุนั้น เป็นผู้เพ่งเล็งอยู่ด้วยดี ซึ่งจิตที่ตั้งมั่นอย่างนั้น นี้เรียกว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์

           
อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๗๑๘๑ - ๗๒๐๗. หน้าที่ ๓๑๐ - ๓๑๑. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=7181&Z=7207&pagebreak=0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 15, 2011, 12:25:59 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28906
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 

 
อาหารของโพชฌงค์ ๗

ปัญหา อะไรเป็นอาหารเครื่องบำรุงเลี้ยงโพชฌงค์ ๗ ให้เจริญ ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เป็นที่ตั้งแห่งสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ การเพิ่มพูนโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้นเป็นอาหารให้สติสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น...

"ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาวมีอยู่การเพิ่มพูนโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้นเป็นอาหารแห่งธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์

"ความริเริ่มความพยายาม ความบากบั่นมีอยู่การเพิ่มพูนโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านี้ เป็นอาหารแห่งวิริยสัมโพชฌงค์

"ธรรมทั้งหลายที่เป็นที่ตั้งแห่งปีติสัมโพชฌงค์มีอยู่การเพิ่มพูนโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น เป็นอาหารแห่งปีติสัมโพชฌงค์

"ความสงบกาย ความสงบจิตมีอยู่ การเพิ่มพูนโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น เป็นอาหารแห่งปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

"สมาธินิมิตและอัพยัคคนิมิต (นิมิตแห่งจิตที่มีอารมณ์ไม่ฟุ้งซ่าน) มีอยู่การเพิ่มพูนโยนิโสมนสิการในนิมิตเหล่านั้น เป็นอาหารแห่งสมาธิสัมโพชฌงค์

"ธรรมทั้งหลายที่เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ การเพิ่มพูนโยนิโสมนสิการในธรรมเหล่านั้น เป็นอาหารแห่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์..."


อ้างอิง
กายสูตร
http://www.dharma-gateway.com/buddha/buddha-misc/bd-misc-07-08.htm

อ่านรายะเอียดได้ที่
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  บรรทัดที่ ๒๑๙๑ - ๒๒๒๗.  หน้าที่  ๙๓ - ๙๕.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=2191&Z=2227&pagebreak=0
ฟังพระสูตรนี้ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/listen/?b=19&item=357
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=357
ขอบคุณภาพจาก www.luangpukahlong.com



อานิสงส์โพชฌงค์ ๗

ปัญหา เมื่อเจริญโพชฌงค์ ๗ ประการบริบูรณ์และจะเกิดอานิสงส์อย่างไรบ้าง ?

พุทธดำรัสตอบ "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อโพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้..ผลานิสงส์ ๗ ประการ อันเธอพึงหวังได้ คือ

(๑) จะได้บรรลุอรหัตตผลโดยพลัน ในปัจจุบัน

(๒) ถ้าไม่ได้บรรลุในปัจจุบัน จะได้บรรลุอรหัตตผลในเวลาใกล้ตาย


(๓) ถ้าไม่ได้บรรลุในปัจจุบันในเวลาใกล้ตายจะได้เป็นพระอนาคามี ประเภทอันตราปรินิพพายี เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

(๔) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุและไม่ได้เป็นพระอนาคามีประเภทอันตราปรินิพพายี...จะได้เป็น พระอนาคามีประเภทอุปหัจจปรินิพพายีเพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป


(๕) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้บรรลุและไม่ได้เป็นพระอนาคามีประเภทอันตราปรินิพพายี ทั้งประเภทอุปหัจจปรินิพพายี จะได้เป็นพระอนาคามีประเภทอสังขารปรินิพพายีเพราะสังโยชน์ ๕ เบื้องต่ำสิ้นไป

(๖) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ ฯลฯ และไม่ได้เป็นพระอนาคามีมีผู้อสังขารปรินิพพายี...จะได้เป็นพระอนาคามีประเภทสสังขารปรินิพพายีเพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป


(๗) ถ้าในปัจจุบันก็ไม่ได้บรรลุ ฯลฯ และไม่ได้เป็นพระอนาคามีมีผู้สสังขารปรินิพพายีจะได้เป็นพระอนาคามีประเภทอุทธังโสโตอกนิฏฐคามีเพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป..."


อ้างอิง
สีลสูตร
http://www.dharma-gateway.com/buddha/buddha-misc/bd-misc-07-08.htm

อ่านรายละเอียดได้ที่
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  บรรทัดที่ ๒๒๒๘ - ๒๒๘๕.  หน้าที่  ๙๕ - ๙๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=2228&Z=2285&pagebreak=0
ฟังพระสูตรนี้ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/listen/?b=19&item=373
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=373
ขอบคุณภาพจาก http://gotoknow.org
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

miracle

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 26
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
บทนำของ โพชฌงคปริต นั้น สามารถต่อชีวิตได้หรือไม่

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=812.0

เห็นท่านมหา นำไว้ ก็ลองเสริช ค้นดูในบอร์ด ก็พบข้อความที่สำคัญมากมาย
เลยนัยว่า ศิษย์กรรมฐาน มัชฌิมา สระบุรี น่าจะมีผู้ได้ฝึกเิดินจิตโพชฌงค์บ้างแล้ว

ต้องลองค้นดูต่อไป .....
บันทึกการเข้า

miracle

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 26
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
จริง หรือ คะ ที่ กรรมฐานพลังจิต จะรักษาโรคภัย ไข้เจ็บได้

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5141.0

ตำรา นวหรคุณ แบบ pdf อยู่ กระทู้นี้ครับ

 ส่วนจะเกี่ยวกับโพชฌงค์ หรือ ไม่ ต้องรอสนทนากับพระอาจารย์ ครับ

  ในการเดินจิต โพชฌงค์ นั้นมีวิธีการกำหนด เรียกว่า วิชาโลกอุดรสยบมาร มีอยู่ในหนังสือ อานาปานสติ

หน้าสุดท้าย นะครับ หรือ ดาวน์โหลด วิชาหลวงปู่ ได้ที่เว็บ สมเด็จสุก


 :25: :014:
บันทึกการเข้า

Mahajaroon

  • 1.บรรพชิต
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 63
  • ข้างนอกต้องแก้ไข ข้างในต้องปล่อยวาง
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
จริง หรือ คะ ที่ กรรมฐานพลังจิต จะรักษาโรคภัย ไข้เจ็บได้

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5141.0

ตำรา นวหรคุณ แบบ pdf อยู่ กระทู้นี้ครับ

 ส่วนจะเกี่ยวกับโพชฌงค์ หรือ ไม่ ต้องรอสนทนากับพระอาจารย์ ครับ

  ในการเดินจิต โพชฌงค์ นั้นมีวิธีการกำหนด เรียกว่า วิชาโลกอุดรสยบมาร มีอยู่ในหนังสือ อานาปานสติ

หน้าสุดท้าย นะครับ หรือ ดาวน์โหลด วิชาหลวงปู่ ได้ที่เว็บ สมเด็จสุก


 :25: :014:







   ขอขอบคุณพระธรรมที่มีอยู่ในจิตของคุณ nathaponson และคุณ miracle เป็นอย่างยิ่งที่นำแสงสว่าง
แม้คนอ่านอยู่ขณะนี้จะเข้าใจได้เล็กน้อย  แต่น้ำใจที่มอบให้ผู้ใหม่ในศาสนานี้มากมายเหลือคณานับที่เดียว
ได้อ่านเนื้อหาและประสบการณ์เรื่องโพชฌงค์ทำให้มีกำลังใจศรัทธาพุทธศาสนานี้เพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว
    อันนี้เป็นส่วนหนึ่งในประสบการณ์ของคุณ THAWATCHAI173 ท่านกล่าวว่า
       ฯลฯ ทำให้มานั่งคิดถึงการเดินจิตภาวนาบริกรรมโพชฌงค์ ๗ ฐาน อานาปานสติ จักมีอานุภาพจริงขนาด
นี้หรืออย่างไร ผมจึงเดินจิตภาวนาซ้ำ ซึ่งก็ทำให้ผมใจวาง กายวาง ดีมากขึ้น ไม่ทะยานอยากซ่านไปในเรื่องโลก
มากนัก ใจสงบ อยากหาที่สงบสงัดภาวนา จิตหน่วงน้อมนำสู่ห้วงธรรมมากขึ้น มองโลกไร้สาระ ถามหาสาระให้
แก่ตัวตนของตนมากขึ้นทุกๆวัน เบื่อหน่ายกับการวิ่งแสวงหา เห็นทุกข์ เห็นโทษ ของการมี การเป็น อยากพ้น
มองสาระของการมีชีวิตเพื่อภาวนามากขึ้น ฯลฯ

                                                      :character0029:
บันทึกการเข้า
พุทธะนับหมื่นอยู่ที่ใจ

อาราม นิวส์ FACEBOOK

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 133
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
โพชฌงค์แนวปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: เมษายน 26, 2014, 11:40:21 pm »
0
สัพเพ  ธัมมา  อะนัตตาติ          ยะทา  ปัญญายะ  ปัสสะติ
อะถะ  นิพพินทะติ  ทุกเข          เอสะ  มัคโค  วิสุทธิยา

  เมื่อบุคคลเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
    เมื่อนั้น  ย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งที่เป็นทุกข์ที่ตนหลง
นั่นแหละ เป็นทางแห่งพระนิพพาน อันเป็นธรรมหมดจด
บันทึกการเข้า
.              ร่วมรณรงค์ รักษาศาสนา ไม่ส่งต่อ ข่าวเสีย พระสงฆ์ไทย   
                                     คงไว้ แต่ข่าวดี ๆ
ติดตาม ข่าวสารดี ๆ ของพระสงฆ์ไทย ได้ที่ "อาราม นิวส์" ข่าวพระ ได้ทางเฟสบุ๊ค

KIDSADA

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 439
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
โพชฌงค์ ภาวนา ผมก็รอฟังในรายการเหมือนกันครับ

เพราะคิดว่า ถูกชะตา กับ ธรรมส่วนนี้ ครับ


 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
เราชอบ ป่วนแก็งค์ อ๊บ อ๊บ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7263
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เดี๋ยวมีเวลาจะบรรยาย โพชฌงค์ ในรายการ นะ ติดตามฟัง

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ