ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: “ปัญจมหาวิโลกนะ” และ “๗ สหชาติ” ของพระสมณโคดม  (อ่าน 19669 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29290
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
.

พระบรมโพธิสัตว์เจ้า ยังมิได้รับอาราธนาของทวยเทพทั้งหลายทรงพิจารณาดู


“ปัญจมหาวิโลกนะ” และ “๗ สหชาติ” ของพระสมณโคดม (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน)



 :25: :25: :25:

ก่อนการประสูติของพระพุทธเจ้า

ในกาลนั้น พระบรมโพธิสัตว์เจ้าบังเกิดเป็นสันตุสิตเทวราชเสวยทิพยสมบัติอยู่ในรัตนวิมานสวรรค์ ชั้นดุสิตเทวโลก ครั้งนั้นท้าวมหาพรหม และเทวราชในสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้นฟ้า ชวนกันไปเผ้ากราบทูลอาราธนาพระบรมโพธิสัตว์เจ้า ให้จุติลงไปบังเกิดทั้งสองประชากร ให้รู้ธรรม และประพฤติธรรม สมดังที่พระองค์ได้บำเพ็ญบารมีตั้งพระทัยไว้แต่แรก

"ปัญจมหาวิโลกนะ" หมายถึงสิ่งที่พระบรมโพธิสัตว์ทรงพิจารณาข้อตรวจสอบที่สำคัญหรือ "การตรวจดูอันยิ่งใหญ่ ๕ อย่าง" ก่อนที่จะตัดสินพระทัยประทานปฏิญาณรับอาราธนาของเทพยดาทั้งหลาย ว่าจะจุติจากดุสิตเทวโลกไปบังเกิดในพระชาติสุดท้ายที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า มี ๕ อย่าง คือ
     ๑. กาล
     ๒. ทวีป
     ๓. ประเทศ
     ๔. ตระกูล
     ๕. มารดา

พระบรมโพธิสัตว์เจ้าทรงเลือกดังนี้
     ๑. กาล ทรงเลือกอายุกาลของมนุษย์
     ๒. ทวีป ทรงเลือกชมพูทวีป
     ๓. ประเทศ ทรงเลือกมัธยมประเทศ
     ๔. ตระกูล ทรงเลือกตระกูลกษัตริย์ศากยวงศ์
     ๕. มารดา ทรงเลือกมารดาที่มีศีลห้าบริสุทธิ์ ได้บำเพ็ญบารมีมาตลอดแสนกัป และกำหนดอายุของมารดา ทรงกำหนดได้พระนางมหามายา


@@@@@@@

การที่ทรงเลือกอายุกาลมนุษย์ เพราะอายุมนุษย์ขึ้นลงตามกระแสสังขาร บางยุคอายุ ๘ หมื่นปี ๔ หมื่นปี ๒ หมื่นปี อายุกาลของมนุษย์ในยุคนั้น ๑๐๐ ปี ตรงตามที่ทรงกำหนดไว้ คือ ต้องไม่สั้นกว่าร้อยปี ต้องไม่ยาวเกินแสนปี ที่ทรงเลือกอายุ ๑๐๐ ปีเพื่อให้เห็นความไม่เที่ยงของสังขาร เหตุที่ไม่ตรัสรู้บนสวรรค์ ทั้งนี้เพราะเทวดาไม่เห็นทุกข์มีแต่สุข อายุยืนยาวนานนัก จะไม่เห็นอริยสัจ การตรัสรู้ธรรมและแสดงธรรมได้ผลดีมากในเมืองมนุษย์

การที่ทรงเลือกชมพูทวีป ซึ่งแปลว่า "ทวีปแห่งต้นหว้า" เพราะมีต้นหว้าขึ้นมากในดินแดนแห่งนี้ แผ่นดินชมพูทวีปในยุคนั้นกว้างใหญ่ไพศาลกว่าประเทศอินเดียในปัจจุปันมากนัก มีดินแดนกินประเทศอื่นในปัจจุบันอีก ๖ ประเทศ คือ
    ๑. ปากีสถาน
    ๒. บังกลาเทศ
    ๓. เนปาล
    ๔. ภูฏาน
    ๕. สิขิม
    ๖. บางส่วนของอัฟกานิสถาน (แคว้นกัมโพชะ ในมหาชนบท ๑๖ ปัจจุบันอยู่ในอัฟกานิสถาน)

   

ทรงรับคำเชิญ แล้วจุติมากำเนิดในตระกูลกษัตริย์ศากยะ ณ กรุงกบิลพัสดุ์


ชมพูทวีปครั้งพุทธกาลแบ่งเป็นหลายอาณาจักร เป็นมหาชนบท ๑๖ แคว้น และยังปรากฎอีก ๔ แคว้นในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา อาณาจักรเหล่านี้มีพระเจ้าแผ่นดินดำรงยศเป็นมหาราชาบ้าง ราชาบ้าง มีอธิบดีบ้าง เป็นผู้ปกครองโดยทรงอำนาจสิทธิขาดบ้าง โดยสามัคคีธรรมบ้าง บางคราวตั้งเป็นอิสระ บางคราวตกอยู่ในอำนาจอื่นตามยุคตามสมัย

คนในชมพูทวีปแบ่งเป็นชนชั้น ที่จัดแบ่งออกไปตามหลักศาสนาพราหมณ์เรียกว่า วรรณะ ๔ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ และศูทร คนในชมพูทวีปสนใจในวิชาธรรมมาก มีคณาจารย์ตั้งสำนักแยกย้ายกันตามลัทธิต่าง ๆ มากมาย เกียรติยศของศาสดา เจ้าลัทธิ เจ้าสำนัก ผู้มีชื่อเสียงในสมัยนั้น ได้รับยกย่องเสมอเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดินหรือมากยิ่งกว่า

การที่ทรงเลือกมัธยมประเทศ เพราะชมพูทวีปแบ่งเป็น ๒ จังหวัดเหนือ ๑ อาณาเขต
    - อาณาเขตใน คือ มัชณิมชนบทหรือมัธยมประเทศเป็นถิ่นกลางที่ตั้งแห่งนครใหญ่ ๆ มีความเจริญรุ่งเรือง มีเศรษฐกิจดี มีประชากรหนาแน่น เป็นศูนย์กลางแห่งการค้าขาย เป็นที่อยู่ของนักปราชญ์ผู้มีความรู้ เป็นที่รวมของการศึกษาและศิลปวิทยาการ เคยเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของพวกอารยันหรืออริยกะ รูปร่างสูง ผิวค่อนข้างขาว เป็นพวกที่มีความเจริญไม่ใช่เจ้าของถิ่นเดิม ทรงกำหนดกรุงกบิลพัสดุเป็นที่บังเกิด
    - ส่วนอาณาเขตนอก เรียกว่า ปัจจันตชนบทหรือประเทศปลายแดนเป็นถิ่นที่ยังไม่เจริญ เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของคนพื้นเมืองดั้งเดิม รูปร่างเล็กผิวดำ จมูกแบน เป็นพวกเชื้อสายดราวิเดียนหรือพวกทมิฬในปัจจุบัน


@@@@@@@

การที่ทรงเลือกอุบัติในตระกูลกษัตริย์ โดยทรงเลือกพระสุทโธทนะเป็นพุทธบิดา เพระทรงกำหนดว่าเวลานั้นโลกสมบัติว่าตระกูลกษัตริย์ประเสริฐกว่าตระกูล พราหมณ์ และศากยสกุลเป็นตระกูลที่บริสุทธิ์ ๗ ชั่วโคตร ถ้าไม่บริสุทธิ์ก็ยากที่จะมีคนเคารพนับถือ การเผยแผ่ศาสนาจะทำได้ยาก เพราะคนในสมัยนั่นถือชั้นวรรณะกันมากจึงเลือกวรรณะกษัตริย์ ที่สูงสุด เพราะไม่ใช่เพื่อตรัสรู้อย่างเดียว ทรงประประสงค์สั่งสอนธรรมแก่ประชาชนด้วย

การที่ทรงเลือกมารดา และกำหนดอายุของมารดา มารดาจะต้องมีศีลห้าบริสุทธิ์ ไม่โลเลในบุรุษ ไม่เป็นนักดื่มสุรา ได้บำเพ็ญบารมีมาตลอดแสนกัป ทรงกำหนดได้พระนางมหามายา และทรงทราบว่าพระนางจะมีพระชนม์อยู่ไม่เกิน ๑๐ เดือนไปได้ ๗ วัน พระนางสิริมหามายาเป็นเจ้าหญิงแห่งเทวทหนคร เป็นพระราชบุตรีของพระเจ้าอัญชนะเป็นพระมเหสีของพระเจ้าสุทโธนะแห่งกรุงกบิลพัสดุ์

พระบรมโพธิสัตว์ทรงเลือกพระมารดาที่บริสุทธิ์ไม่แปดเปื้อน มลทินโทษ มิฉะนั้น จะยากแก่การเผยแผ่ศาสนาจะถูกโจมตี พระนางสิริมหามายา ได้อธิฐานไว้ว่า ขอเป็นมารดาพระพุทธเจ้าเมื่อประสูติ พระบรมโพธิสัตว์เจ้าได้ ๗ วันก็เสด็จทิวงคต เพระสงวนไว้สำหรับประสูติพระพุทธเจ้าองค์เดียว ไปบังเกิดเป็นเทพบุตรสถิตในดุสิตเทวโลกตามประเพณีพระพุทธมารดาไม่ได้เป็น หญิงอย่างเก่า ที่เกิดเป็นหญิงเพระอธิษฐานขอเป็นมารดาพระพุทธเจ้า



พอประสูติจากพระครรภ์พระ มารดา ณ ป่าลุมพินีวัน ก็ทรงดำเนินได้ ๗ ก้าว


"๗ สหชาติ ของพระพุทธเจ้า"

ครั้นพระนางสิริมหามายา พระราชมารดาของพระพุทธเจ้าเมื่อใกล้ถึงกำหนดพระประสูติกาล ก็เสด็จจากกรุงกบิลพัสดุ์ไปยังกรุงเทวทหะอันเป็นเมืองต้นตระกูลของพระนาง (ตามธรรมเนียมพราหมณ์ที่ฝ่ายหญิงจะต้องกลับไปคลอดที่บ้านบิดามารดา) เมื่อขบวนผ่านมาถึงอุทยานลุมพินีซึ่งตั้งอยู่ระหว่างนครทั้งสอง พระนางประชวรพระครรภ์ บรรดาข้าราชบริพาลก็รีบจัดที่ประสูติถวายภายใต้ต้นสาละใหญ่

กาลเวลานั้นแดดอ่อน ดวงตะวันยังไม่ขึ้นตรงศรีษะเป็นวันเพ็ญเดือน ๖ พระจันทร์จักโคจรเต็มดวงในยามเที่ยงคืน ชมพูทวีปเริ่มมีฝนอากาศโปร่ง ต้นไม้ในอุทยานป่าสาละกำลังผลิดอกออกใบอ่อน ดอกสาละ ดอกจำปาป่า ดอกอโศก และดอกไม้นานาพรรณกำลังเบ่งบานส่งกลิ่นเป็นที่จำเริญใจ

พระนางสิริมหามายาประทับยืน พระหัตถ์ขวาเหนี่ยวกิ่งสาละ พระหัตถ์ซ้ายปล่อยตก ประสูติพระโอรสโดยสะดวก



ทรงปลุกนายฉันนะให้ผูกม้า กัณฐกะ เพื่อประทับเป็นพาหนะเสด็จออกบรรพชา


ในวันเพ็ญเดือน ๖ วันที่พระกุมารประสูตินั้น มีมนุษย์และสัตว์กับสิ่งซึ่งเป็นสหชาติมงคลบังเกิดร่วมถึง ๗ อัน

"สหชาติ" นั้น หมายถึง ผู้เกิดร่วมด้วย ๗ สหชาติของพระพุทธเจ้า คือ

๑. พระนางพิมพา หรือ พระนางยโสธรา
เป็นพระราชบุตรีของประเจ้าสุปปพุทธะกรุงเทวทหะ เป็นพระชายาของพระสิทธัตถะเมื่อมีประชนม์ได้ ๑๖ พรรษา เป็นพระมารดาของพระราหุล ภายหลังออกบวชมีนามว่า พระภัททกัจจานา

๒. พระอานนท์
เป็นเจ้าชายในศากยวงศ์ โอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ ซึ่งเป็นพระเจ้าอาของเจ้าชายสิทธัตถะ ท่านออกบวชในพุทธศาสนา และได้รับเลือกเป็นพระอุปัฏฐากประจำพระองค์ของพระพุทธศาสนาและได้รับเลือก เป็นพระอุปัฏฐากประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้าได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในหลายด้าน

ท่านบรรลุพระอรหัตหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ๓ เดือน เป็นกำลังสำคัญในคราวทำปฐมสังคายนาท่านดำรงชีวิตสืบมาจนถึงอายุได้ ๑๒๐ ปี จึงปรินิพพานในอากาศเหนือแม่น้ำโรหิณี ซึ่งเป็นเส้นกั้นแดนระหว่างแคว้นของพระญาติสองฝ่ายคือศากยะ และโกลิยะ

@@@@@@@

๓. นายฉันนะ
เป็นอำมาตย์คนสนิท และเป็นสารถีของเจ้าชายสิทธัตถะในวัง เสด็จออกบรรพชาเมื่อมีพระชนม์ได้ ๒๙ พรรษา นายฉันนะตามเสด็จไปด้วยและนำเครื่องอาภรณ์พร้อมทั้งคำกราบทูลของเจ้าชายสิ ทธัตถะกลับกรุงกบิลพัสดุ์ ภายหลังบวชเป็นภิกษุถือตัวว่าเป็นคนใกล้ชิดพระพุทธเจ้ามาแต่เก่าก่อน ใครว่าไปฟังเกิดความบ่อย ๆ หลังจาก พระพุทธเจ้าปรินิพานแล้ว ถูกสงฆ์ลงพรหมทัณฑ์หายพยศและได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์

๔. อำมาตย์กาฬุทายี
เป็นพระสหายสนิทของเจ้าชายสิทธัตถะเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์พระเจ้าสุทโธนะส่งไป ทูลเชิญพระศาสดาเพื่อเสด็จมากรุงกบิลพัสดุ์อำมาตย์กาฬุทายีไปเผ้าพระศาสดา ที่กรุงราชคฤห์ ครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนาบรรลุพระอรหัตตผล อุปสมบทเป็นภิกษุแล้วทูลเชิญพระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ ท่านได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะ ในบรรดาผู้ทำตระกูลให้เลื่อมใส

๕. ม้ากัณฐกะ
ม้าพระที่นั่งของเจ้าชายสิทธัตถะ ตัวม้ายาวจากคอถึงหาง ๑๘ ศอก ส่วนสูงก็เหมาะสมกับส่วนยาว มีสีขาวผ่องเหมือนเปลือกหอยสังข์ที่ขาวสะอาด ในราตรีที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จหนีออกจากพระราชวัง เพื่อเสด็จออกพรรพชา การเดินทางครั้งนี้มีนายฉันนะเกาะหางม้ากัณฐกะไปด้วย

ม้ากัญฐกะเดินทางถึงแม่น้ำอโนมาใช้เวลาเที่ยงคืนถึงเช้าระยะทาง ๓๐ โยชน์ (๔๘๐ กิโลเมตร) กระโดดครั้งเดียวก็ข้ามแม่น้ำอโนมา เมื่อข้ามฝั่งแม่น้ำแล้วเจ้าชายสิทธัตถะจึงรับสั่งว่า กัณฐกะเจ้าจงกลับไปยังเมืองกบิลพัสดุ์เถิด ม้ากัณฐกะจึงเหลียวมองไปทางเจ้าชายสิทธัตถะ พอเจ้าชายลับสายตาไป ม้าก็ถึงแก่ความตายเนื่อง จากเสียใจ และได้ไปเกิดอยู่ในดาวดึงส์ มีชื่อว่า "กัณฐกเทวบุตร"
 
@@@@@@@

๖. ต้นมหาโพธิ์
เจ้าชายสิทธัตถะขณะที่มี พระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา ทรงบำเพ็ญเพียรจนตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในวันเพ็ญ เดือน ๖ ใต้ต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ ภายในป่าสาละ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ (ปัจจุบันคือ ตำบลพุทธคยา แขวงเมืองอุรุเวลาเสนานิคม ของรัฐพิหาร)

ต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นที่ ๑ เกิดพร้อมกับเจ้าชายสิทธัตถะ มีอายุ ๓๐๕ ปี (ต้นโพธิ์ตรัสต้นที่ ๒ มีอายุ ๘๙๑ ปี ต้นที่ ๓ มีอายุ ๑,๒๒๗ ปี ต้นโพธิ์ตรัสรู้ปัจจุบันเป็นหน่อที่ ๔ ปลูกราว พ.ศ. ๒๔๓๔)

๗. ขุมทรัพย์ทั้งสี่
ขุมทรัพย์ทั้ง ๔ หรือ นิธิกุมภี คือ ขุมทอง ๔ ขุม ได้แก่
      ขุมทองสังขนิธี
      ขุมทองเอลนิธี
      ขุมทองอุบลนิธี
      ขุมทองปุณฑริกนิธี






ที่มา  http://www.masteryuk.net/bb6/viewtopic.php?f=5&t=97&start=10#p235
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 06, 2025, 09:37:17 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29290
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: “ปัญจมหาวิโลกนะ” และ “๗ สหชาติ” ของพระสมณโคดม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2025, 09:56:01 am »
0
.

การประสูติของพระสิทธัตถะกุมาร (ภาพจาก unvesakaustralia.org)


“สหชาติ” ทั้ง 7 สิ่งมงคลอันเป็นอัศจรรย์ ที่เกิดพร้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ในวันประสูติของ เจ้าชายสิทธัตถะ หรือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้บังเกิดเหตุอัศจรรย์อันเป็นมงคล คือ “สหชาติ” ทั้ง 7 ที่มีประสูติกาลพร้อมพระโพธิสัตว์ เรียกง่าย ๆ ว่า เกิดวัน เดือน ปี เดียวกันกับ พระพุทธเจ้า

โดยคำว่า สหชาติ หมายถึง “เกิดพร้อมกัน” มาจาก สห- แปลว่า ด้วยกัน, ร่วม, พร้อม และ ชาติ แปลว่า การเกิด หรือกำเนิด

@@@@@@@

สหชาติ 7 เหล่า

คัมภีร์พุทธศาสนาเล่าว่า ในวันเพ็ญเดือน 6 เมื่อ 80 ปีก่อนพุทธศักราช วันที่กุมารน้อยแห่งศากยวงศ์ประสูตินั้น ได้เกิด มนุษย์ สัตว์ และสิ่งของ เป็นสหชาติร่วมกันกับพระองค์ ถึง 7 สิ่ง สหชาติเหล่านั้น ได้แก่

1. พระนางพิมพา หรือพระนางยโสธรา พระราชบุตรีของพระเจ้าสุปปพุทธะ แห่งกรุงเทวทหะ และเป็นพระขนิษฐาของพระเทวทัต พระนางเป็นพระชายาของเจ้าชายสิทธัตถะเมื่อพระชนม์ได้ 16 พรรษา เป็นพระมารดาของ พระราหุล ภายหลังเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดพระประยูรญาติ พระนางเข้าไปกอดพระบาท โหยไห้รำพึงรำพันดั่งขาดสติอย่างน่าเวทนา พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงพระธรรมเทศนา เป็นผลให้พระนางคลายโศกเศร้าถึงขั้นบรรลุโสดาบัน

ภายหลังพระนางพิมพาออกบวช มีนามว่า “พระภัททกัจจานาเถรี” เนื่องจากมีพระสิริโฉมงดงาม พระสรีระและผิวพรรณเปล่งปลั่งดุจทองคำ พระยโสธราเถรีบรรลุอรหันต์ และนิพพานขณะพระชนมายุ 78 พรรษา หรือ 2 ปีก่อนการเสด็จดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า

2. พระอานนท์ เจ้าชายในศากยวงศ์ โอรสของพระเจ้าสุกโกทนะ ซึ่งเป็นพระเจ้าอาของเจ้าชายสิทธัตถะ พระอานนท์ออกบวชในพระพุทธศาสนา และได้เป็น “พระอุปัฏฐาก” หรือผู้อุปถัมภ์ดูแลประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้า ทั้งได้รับยกย่องเป็น “เอตทัคคะ” (ผู้ยอดเยี่ยมด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ) หลายอย่าง ได้แก่ เป็นพหูสูต มีสติ มีคติ มีธิติ และการเป็นพุทธอุปัฏฐาก

พระอานนท์บรรลุอรหัตผล หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน 3 เดือน เป็นกำลังสำคัญเมื่อคราวทำปฐมสังคายนาของคณะสงฆ์ ท่านมีอายุได้ 120 ปี จึงปรินิพพานบนท้องฟ้าเหนือแม่น้ำโรหิณี พรมแดนระหว่างแคว้นของพระประยูรญาติทั้งสองฝ่าย คือศากยวงศ์และโกลิยวงศ์



ถ้ำที่มีศิลปะของราชวงศ์ถัง รูปปั้นทั้ง ๗ องค์นี้คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งบนแท่น ด้านซ้ายคือพระมหากัสสปะ พระโพธิสัตว์ และพระโลกบาล ด้านขวาคือ พระอานนท์ พระโพธิสัตว์ และพระโลกบาล (ภาพจากบทความ “ตุนหวง มงกุฎแห่งพุทธศิลป์ บนเส้นทางสายแพรไหม” โดย ปริวัฒน์ จันทร)


3. นายฉันนะ อำมาตย์คนสนิทของเจ้าชายสิทธัตถะ เป็นสารถีของเจ้าชายเมื่อครั้งยังทรงอยู่ในวัง ตอนที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชา นายฉันนะตามเสด็จไปด้วย และนำเครื่องอาภรณ์กับคำกราบทูลของเจ้าชายกลับไปแจ้งยังกรุงกบิลพัสดุ์

ภายหลังนายฉันนะบวชเป็นภิกษุ ได้ถือตนว่าเป็นคนใกล้ชิดพระพุทธเจ้ามาแต่ครั้งเป็นเจ้าชาย ภิกษุรูปอื่นว่ากล่าวตักเตือนมักไม่ฟัง เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พระฉันนะถูกเหล่าสงฆ์ลงพรหมทัณฑ์ คือพร้อมใจกันไม่พูดคุยด้วย ปล่อยให้โดดเดี่ยวจากหมู่สงฆ์ (โดนแบน) เป็นเหตุให้พระฉันนะระลึกได้ แล้วสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในที่สุด

4. อำมาตย์กาฬุทายี มหาดเล็กที่เกิดในตระกูลอำมาตย์แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ พระสหายสนิทของ เจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ พระเจ้าสุทโธทนะได้ส่งอำมาตย์กาฬุทายีไปทูลเชิญพระพุทธเจ้าที่กรุงราชคฤห์ ให้เสด็จมากรุงกบิลพัสดุ์ ปรากฏว่าเมื่อท่านได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้ฟังพระธรรมเทศนาก็บรรลุพระอรหัตผลทันที จึงอุปสมบทเป็นภิกษุ

แต่พระกาฬุทายีเถระยังรำลึกเสมอว่า ต้องทูลเชิญพระพุทธเจ้าไปโปรดพระประยูรญาติและชาวเมืองที่กรุงกบิลพัสดุ์ จึงทูลเชิญพระพุทธเจ้าพร้อมเหล่าภิกษุให้เสด็จไปจนเป็นผลสำเร็จ และได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในเรื่องผู้นำตระกูลให้เลื่อมใส

5. ม้ากัณฐกะ ม้าพระที่นั่งของเจ้าชายสิทธัตถะ ตัวยาวจากคอถึงหาง 18 ศอก ทรงม้าสมส่วน กายสีขาวผ่องเหมือนเปลือกหอยสังข์ ในคืนที่เจ้าชายเสด็จหนีออกจากพระราชวังไปออกบวชนั้น (นายฉันนะเกาะหางม้าไปด้วย) ม้ากัณฐกะเดินทางจากรุงกบิลพัสดุ์ถึงแม่น้ำอโนมา เป็นระยะทาง 30 โยชน์ (480 กิโลเมตร) ใช้เวลาจากเที่ยงคืนถึงเช้า แล้วกระโดดข้ามแม่น้ำในทีเดียว

หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะรับสั่งว่า “กัณฐกะ เจ้าจงกลับไปยังเมืองกบิลพัสดุ์เถิด” ม้ากัณฐกะที่มองพระโพธิสัตว์ลับสายตาไปได้ตรอมใจจนถึงแก่ความตายทันที ก่อนไปเกิดอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในนาม “กัณฐกเทวบุตร”

6. ต้นมหาโพธิ์ เกิดพร้อมพระกุมารเช่นกัน และเป็นต้นไม้ที่พระโพธิสัตว์ซึ่งมีพระชนมายุได้ 35 พรรษา ทรงบำเพ็ญเพียรจนตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในวันเพ็ญ เดือน 6 ใต้ต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ์นี้ ภายในป่าสาละ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ (ปัจจุบันคือ ตำบลพุทธคยา แขวงเมืองอุรุเวลาเสนานิคม ของรัฐพิหาร)

สำหรับต้นพระศรีมหาโพธิ์ต้นแรกที่เกิดพร้อมกับพระพุทธเจ้านั้น มีอายุอยู่ราว 305 ปี ได้มีการเก็บหน่ออ่อนจากมหาโพธิ์มาปลูกเป็นต้นที่ 2 ซึ่งมีอายุอยู่ 891 ปี ให้หน่ออ่อนแก่ต้นที่ 3 ซึ่งถูกนำมาปลูกต่อแล้วมีอายุยืนยาวอยู่ถึง 1,227 ปี และต้นที่ 4 คือหน่ออ่อนทายาทต้นมหาโพธิ์ที่อยู่มาปัจจุบัน ยังพบได้ที่พุทธคยา โดยปลูกเมื่อราว พ.ศ. 2434



ระเบียงคดไม้ รอบต้นโพธิ์เก่าแก่ ที่อำเภอศรีมโหสถ (รูปเก่าจากหนังสือ วัดต้นโพธิ์ศรีมหาโพธิ โดยสุจิตต์ วงษ์เทศ พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2511)


7. ขุมทรัพย์ทั้ง 4 คือ ขุมทรัพย์ หรือนิธิกุมภี เป็นขุมทอง 4 ขุม ได้แก่ ขุมทองสังขนิธี ขุมทองเอลนิธี ขุมทองอุบลนิธี ขุมทองปุณฑริกนิธี ในวันประสูติ ขุมทรัพย์ทั้ง 4 ได้บังเกิดขึ้นที่มุมกำแพงพระนครทั้ง 4 ด้าน เพื่อให้เจ้าชายสิทธัตถะใช้ หากพระองค์ประสงค์จะเป็นพระจักรพรรดิราช แต่เจ้าชายเลือกสละขุมทรัพย์ทั้งหมด แล้วออกบวชเพื่อบรรลุในพระสัมมาสัมโพธิญาณ

สรุปว่า สหชาติ ทั้ง 7 หรือ 7 สิ่งที่เกิดพร้อมพระพุทธเจ้า ประกอบด้วย พระนางพิมพา พระอานนท์ นายฉันนะ อำมาตย์กาฬุทายี ม้ากัณฐกะ ต้นมหาโพธิ์ และขุมทรัพย์ทั้ง 4

@@@@@@@

พระพุทธเจ้า กับเลข 7

อีกข้อสังเกตในช่วงพระประสูติกาล ยังมีสิ่งที่เป็นเลข 7 อีกประการคือ การเดิน 7 ก้าวพร้อมดอกบัว 7 ดอกผุดขึ้นมารองพระบาท ซึ่งถูกตีความว่าเป็นสัญลักษณ์แทนแว่นแคว้นทั้ง 7 ที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จไปประกาศพระธรรม และสัญลักษณ์ของโพชฌงค์ 7 ประการ คือธรรมอันเป็นองค์ประกอบของการตรัสรู้ ได้แก่ สติ, ธัมมวิจยะ, วิริยะ, ปีติ, ปัสสัทธิ, สมาธิ และอุเบกขา

เลข 7 จึงเป็นเลขศักดิ์สิทธิ์ของชาวอินเดียจากอิทธิพลพุทธศาสนา ซึ่งครั้งหนึ่งเคยแพร่หลาย ก่อนเสื่อมความนิยมเพราะลัทธิฮินดูอันแข็งแกร่งในอินเดียเอง กระนั้นความศักดิ์สิทธิ์ของเลข 7 ยังแพร่ไปถึงจีนและญี่ปุ่นพร้อมการไปถึงของศาสนาพุทธ โดยเฉพาะญี่ปุ่นที่ถือเอาเลข 7 ว่าเป็นเลขมงคลสูงสุดเลยทีเดียว

อ่านเพิ่มเติม :-

    • ค้นหลักฐาน “พระพุทธเจ้า” เคยเสวยพระชาติเป็น “เหี้ย”
    • “สูกรมัททวะ” พระกระยาหารมื้อสุดท้ายของพระพุทธเจ้า คืออะไรแน่ ?!?
    • “สุขาวดี” คืออะไร? ทำอย่างไรจึงจะได้เข้าสู่แดนสวรรค์อันบริสุทธิ์ของชาวพุทธ





ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ : วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2568
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2567
website : https://www.silpa-mag.com/culture/article_127646
อ้างอิง : วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล. พุทธประวัติ : เกิดเหตุอันอัศจรรย์ เกิดสหชาติทั้ง 7 ในกาลประสูติมีอะไรบ้าง. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2567. (ออนไลน์)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29290
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: “ปัญจมหาวิโลกนะ” และ “๗ สหชาติ” ของพระสมณโคดม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2025, 11:02:19 am »
0
 :25: :25: :25:

ขยายความ ขุมทรัพย์ ๔ ขุม



สรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า

[๔๒๕] เมื่อพวกพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว จังกีพราหมณ์ได้กล่าวว่า
             
    “ท่านทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงฟังเราบ้าง เรานี่แหละควรไปเข้าเฝ้า ท่านพระโคดม ท่านพระโคดมไม่ควรเสด็จมาหาเรา ได้ทราบว่า
     ท่านพระสมณโคดมทรงเป็นผู้มีพระชาติกำเนิดดีทั้งฝ่ายพระชนนีและฝ่ายพระชนก ทรงถือปฏิสนธิบริสุทธิ์ดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ ไม่มีใครจะคัดค้านตำหนิได้เพราะอ้างถึงชาติตระกูล
     ด้วยเหตุนี้ ท่านพระโคดมจึงไม่ควรเสด็จมาหาเรา เราต่างหากควรไปเข้าเฝ้าท่านพระโคดม

ท่านทั้งหลาย ได้ทราบว่า
    - พระสมณโคดมทรงสละเงินทองมากมาย ทั้งที่ฝังอยู่ในพื้นดินและในอากาศ ผนวชแล้ว ฯลฯ
    - พระสมณโคดมกำลังหนุ่มแน่นมีพระเกศาดำสนิท ทรงพระเจริญอยู่ในปฐมวัย เสด็จออกจากพระราชวัง ผนวชเป็นบรรพชิต ฯลฯ


@@@@@@@

[๖๕๐] เอวํ วุตฺเต จงฺกี พฺราหฺมโณ เต พฺราหฺมเณ เอตทโวจ เตนหิ โภ มมาปิ  สุณาถ ยถา ยถา มยเมว อรหาม  ตํ  สมณํ โคตมํ ทสฺสนาย อุปสงฺกมิตุํ น เตฺวว อรหติ โส ภวํ โคตโม อมฺหากํ ทสฺสนาย อุปสงฺกมิตุํ สมโณ ขลุ โภ โคตโม อุภโตสุชาโต 

มาติโต จ ปิติโต จ สํสุทฺธคหณิโก ยาว สตฺตมา ปิตามหยุคา อกฺขิตฺโต อนุปกฺกุฏฺโฐ ชาติวาเทน ยมฺปิ สมโณ โคตโม อุภโตสุชาโต ฯเปฯ   

ชาติวาเทน อิมินาปงฺเคน น อรหติ โส ภวํ โคตโม อมฺหากํ ทสฺสนาย อุปสงฺกมิตุํ อถ โข มยเมว อรหาม ตํ ภวนฺตํ โคตมํ ทสฺสนาย อุปสงฺกมิตุํ สมโณ ขลุ โภ โคตโม ปหูตํ หิรญฺญสุวณฺณํ โอหาย ปพฺพชิโต

ภูมิคตํจ เวหาสฏฺฐญฺจ สมโณ ขลุ โภ โคตโม ทหโรว สมาโน สุสุกาฬเกโส ภเทฺรน โยพฺพเนน สมนฺนาคโต ปฐเมน วยสา อคารสฺมา อนคาริยํ ปพฺพชิโต




ที่มา : จังกีสูตร ว่าด้วยพราหมณ์ชื่อจังกี , พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=13&siri=45


 :25: :25: :25:

อรรถกถาจังกีสูตร

ในคำว่า ภูมิคตญฺจ เวหาสฏฺฐญฺจ นี้ทรัพย์ที่อยู่ในแผ่นดินทำสระโบกขรณีอันโบกด้วยปูนขาวให้เต็มด้วยรัตนะ ๗ ประการ ทั้งในพระลานหลวงและในพระราชอุทยาน ชื่อว่า ทรัพย์อยู่ในแผ่นดิน.

ส่วนทรัพย์ที่เก็บไว้เต็มปราสาทและที่เก็บรวบรวมไว้เป็นต้น ชื่อว่า ทรัพย์ตั้งอยู่ในอากาศ.
ทรัพย์ที่มีมาตามวงศ์ตระกูลอย่างนี้ก่อน.

ส่วนเฉพาะในวันที่พระตถาคตเจ้าประสูติ มีขุมทรัพย์ผุดขึ้น ๔ ขุม คือ
     ๑. ขุมทรัพย์สังขะ
     ๒. ขุมทรัพย์เอละ
     ๓. ขุมทรัพย์อุปปละ
     ๔. ขุมทรัพย์บุณฑริกะ.

บรรดาขุมทรัพย์เหล่านั้น
     ขุมทรัพย์กว้างหนึ่งคาวุต ชื่อสังขะ.
     ขุมทรัพย์กว้างกึ่งโยชน์ ชื่อเอละ.
     ขุมทรัพย์กว้าง ๓ คาวุต ชื่ออุปปละ.
     ขุมทรัพย์กว้าง ๑ โยชน์ ชื่อปุณฑริกะ.
ที่ที่หยิบเอาทรัพย์ ในขุมทรัพย์แม้เหล่านั้นคงเต็มอยู่ตามเดิม

พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละเงินและทองมากมายออกผนวชด้วยประการดังนี้.


@@@@@@@

ภูมิคตญฺจ เวหาสฏฺฐญฺจาติ เอตฺถ ราชงฺคเณ เจว อุยฺยาเน จ สุธามฏฺฐา โปกฺขรณิโย สตฺตรตนปูรึ กตฺวา ภูมิยํ ฐปิตํ ธนํ ภูมิคตํ นาม,

ปาสาทนิยูหาทโย ปน ปูเรตฺวา ฐปิตํ เวหาสฏฺฐํ นาม.
เอวํ ตาว กุลปริยาเยน อาคตํ.

ตถาคตสฺส ปน ชาตทิวเสเยว สงฺโข เอโล อุปฺปโล ปุณฺฑรี โกติ จตฺตาโร นิธโย อุปคตา.

เตสุ สงฺโข คาวุติโก,
เอโล อฑฺฒโยชนิโก,
อุปฺปโล ติคาวุติโก,
ปุณฺฑรีโก โยชนิโกติ.
เตสุปิ คหิตคหิตฏฺฐานํ ปูรติเยว.

อิติ ภควา ปหูตหิรญฺญสุวณฺณํ โอหาย ปพฺพชิโตติ เวทิตพฺโพ.




ที่มา : อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พราหมณวรรค ,จังกีสูตร เรื่องจังกีพราหมณ์
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=646
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 06, 2025, 11:55:38 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ