ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: นักเลงพระ-พระนักเลง สมัยพุทธกาล..ก็มี  (อ่าน 3308 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
นักเลงพระ-พระนักเลง สมัยพุทธกาล..ก็มี
« เมื่อ: กันยายน 26, 2011, 07:34:18 am »
0


ว่าด้วย "หนอนท้าช้างสู้"

               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สูโร สูเรน สงฺคมฺม ดังนี้.

               ได้ยินว่า ในครั้งนั้น มีบ้านในนิคมแห่งหนึ่งจากเชตวันมหาวิหาร ประมาณโยชน์กับหนึ่งคาวุต. ที่บ้านนั้นมีสลากภัตรและปักขิกภัตรเป็นอันมาก.


        มีบุรุษด้วนผู้หนึ่งชอบซักถามปัญหาอยู่ที่บ้านนั้น
        บุรุษนั้นถามปัญหาภิกษุหนุ่มและสามเณร ที่ไปรับสลากภัตรและปักขิกภัตรว่า
        พวกไหนดื่ม พวกไหนเคี้ยวกิน พวกไหนบริโภค
        ทำให้ภิกษุและสามเณรเหล่านั้นไม่สามารถตอบปัญหาได้ ให้ได้อาย.


  ภิกษุและสามเณรทั้งหลายจึงไม่ไปบ้านนั้น เพื่อรับสลากภัตรและปักขิกภัตร เพราะเกรงบุรุษด้วนนั้น.

     อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งไปโรงสลากถามว่า ท่านผู้เจริญ สลากภัตรหรือปักขิกภัตรที่บ้านโน้นยังมีอยู่หรือ เมื่อภิกษุผู้เป็นภัตถุทเทสก์กล่าวว่า ยังมีอยู่ ท่าน แต่ที่บ้านนั้น มีบุรุษด้วนคนหนึ่งคอยถามปัญหา ด่าว่าภิกษุสามเณรที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้

   จึงไม่มีใครอยากไปเพราะเกรงบุรุษด้วนนั้น จึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขอจงให้ภัตรที่บ้านนั้นถึงผมเถิด ผมจักทรมานบุรุษนั้น ทำให้หมดพยศ จะทำให้หนีไปเพราะเห็นผมตั้งแต่นั้นเลย.

ภิกษุทั้งหลายรับว่า ดีละ จะให้ภัตรที่บ้านนั้นถึงแก่ท่าน ภิกษุนั้นจึงไปที่บ้านนั้นห่มจีวรที่ประตูบ้าน.


               บุรุษด้วนเห็นภิกษุนั้น ก็ปรี่เข้าไปหาดังแพะดุ กล่าวว่า สมณะจงแก้ปัญหาของข้าพเจ้าเถิด. ภิกษุนั้นกล่าวว่า อุบาสก ขอให้อาตมาเที่ยวบิณฑบาตในบ้าน รับข้าวยาคูมาศาลานั่งพักเสียก่อนเถิด.
              บุรุษด้วน เมื่อภิกษุนั้นรับข้าวยาคู แล้วมาสู่ศาลานั่งพัก ก็ได้กล่าวเหมือนอย่างนั้น.


   ภิกษุนั้นก็ผลัดว่า ขอดื่มข้าวยาคูก่อน ขอกวาดศาลานั่งพักก่อน ขอรับสลากภัตรมาก่อน
   ครั้นรับสลากภัตรแล้ว จึงให้บุรุษนั้นถือบาตร กล่าวว่า ตามมาเถิด เราจักแก้ปัญหาท่าน
   พาไปนอกบ้าน จีบจีวรพาดบ่า รับบาตรจากมือของบุรุษนั้น ยืนอยู่.


          บุรุษนั้นกล่าวเตือนว่า สมณะจงแก้ปัญหาของข้าพเจ้า.
          ภิกษุกล่าวว่า เราจะแก้ปัญหาของท่าน แล้วผลักโครมเดียวล้มลง
          โบยตีดังจะบดกระดูกให้ละเอียด เอาคูถยัดปากขู่สำทับว่า
          คราวนี้ตั้งแต่นี้ไป เราจะคอยสืบรู้ในเวลาที่ถามปัญหาไรๆ กะภิกษุที่มาบ้านนี้.
          ตั้งแต่นั้นบุรุษด้วนเห็นภิกษุแล้วก็หนี.


          ครั้นต่อมา การกระทำของภิกษุนั้นได้ปรากฏขึ้นในหมู่สงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจึงประชุมสนทนากันในโรงธรรมว่า ดูก่อนอาวุโส ได้ยินว่า ภิกษุรูปโน้นเอาคูถใส่ปากบุรุษด้วนแล้วก็ไป.

   พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า

   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นจะรุกรานบุรุษด้วนด้วยคูถในบัดนี้เท่านั้นก็หาไม่ แม้เมื่อก่อนก็ได้รุกรานแล้วเหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.


               ในอดีตกาล ชาวอังคะและมคธทั้งหลาย ต่างก็ไปมาหาสู่ยังแว่นแคว้นของกันและกัน. วันหนึ่งต่างเข้าไปอาศัยบ้านหลังหนึ่งที่พรมแดนของรัฐทั้งสอง ดื่มสุรา กินปลาเนื้อกันแล้ว ก็เทียมยานออกเดินทางแต่เช้าตรู่.

   ในเวลาที่ชนเหล่านั้นไปกันแล้ว หนอนกินคูถตัวหนึ่งได้กลิ่นคูถจึงมา เห็นสุราที่เขาทิ้งไว้ตรงที่นั่งกัน จึงดื่มด้วยความกระหาย ก็เมาไต่ขึ้นบนกองคูถ คูถสดๆ ก็ยุบลงหน่อยหนึ่ง เมื่อหนอนไต่ขึ้นไป.
   หนอนนั้นก็ร้องว่า แผ่นดินทานตัวเราไปไม่ได้.



               ขณะนั้นเอง ช้างตกมันตัวหนึ่งมาถึงที่นั้น ได้กลิ่นคูถแล้วรังเกียจ ก็หลีกไป. หนอนเห็นช้างนั้นแล้ว เข้าใจว่า ช้างนี้กลัวเราจึงหนีไป เราควรจะทำสงครามกับช้างนี้ จึงร้องเรียกช้างนั้น กล่าวคาถาแรกว่า :-

               ท่านก็เป็นผู้กล้าหาญ มาพบกับเราผู้กล้าหาญ อาจประหารได้ไม่ย่นย่อ มาซิช้าง ท่านจงกลับมาก่อน ท่านกลัวหรือจึงได้หนีไป ขอให้พวกชาวอังคะและมคธะได้เห็นความกล้าหาญของเราและของท่านเถิด.

               เนื้อความแห่งคาถานี้ว่า ท่านก็เป็นผู้กล้าหาญมาพบกับเราผู้กล้าหาญ ผู้ไม่ย่อท้อทางความเพียร บากบั่น เป็นนักต่อสู้ เพราะสามารถในทางสู้รบ เหตุใดจึงไปเสียไม่ประสงค์การสงครามเล่า การประหารกันสักทีเดียว ก็ควรกระทำมิใช่หรือ เพราะฉะนั้น

     ดูก่อนช้าง จงมาเถิด จงกลับก่อน ท่านกลัวตายด้วยเหตุเพียงเท่านั้น จะกลัวหนีไปเทียวหรือ ชาวอังคะและมคธทั้งหลายผู้อยู่พรมแดนนี้ จงคอยดูความเก่งกาจ ความทรหด อดทนของเราและของท่าน.
      ช้างนั้นแผดเสียงร้องได้ฟังคำของหนอนนั้นแล้ว จึงกลับไปหาหนอน



               เมื่อจะรุกรบหนอนนั้น ได้กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า
               เราจักไม่ต้องฆ่าเจ้าด้วยเท้า งา หรือด้วยงวงเลย เราจักฆ่าเจ้าด้วยคูถ หนอนตัวเน่า ควรฆ่าด้วยของเน่าเช่นกัน.

               เนื้อความแห่งความคาถานั้นว่า เราจักไม่ฆ่าเจ้าด้วยเท้าเป็นต้น แต่เราจักฆ่าเจ้าด้วยคูถจึงสมควรแก่เจ้า ก็และครั้นช้างกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงกล่าวต่อไปว่า สัตว์กินคูถเน่า ควรตายด้วยของเน่า
.

               ช้างจึงถ่ายคูถก้อนใหญ่ลงบนหัวหนอนนั้นแล้วถ่ายปัสสาวะรด ยังหนอนให้ถึงแก่ความตายในที่นั้นเอง แผดเสียงเข้าป่าไป.

               พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดก.
               ตัวหนอนในครั้งนั้น ได้เป็น บุรุษด้วนในครั้งนี้
               ช้างได้เป็น ภิกษุรูปนั้น
               ส่วนเทวดาผู้เกิดในไพรสณฑ์นั้นเห็นเหตุนั้นโดยประจักษ์ คือ เราตถาคต นี้แล.

               จบ อรรถกถาคูถปาณกชาดกที่ ๗



อ้างอิง
อรรถกถา คูถปาณกชาดก ว่าด้วย หนอนท้าช้างสู้ จบ.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=303 
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=27&A=1734&Z=1741
ขอบคุณภาพจาก www.dhammathai.org,www.meesook.com,http://202.80.231.103,http://img.kapook.com
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: นักเลงพระ-พระนักเลง สมัยพุทธกาล..ก็มี
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 26, 2011, 08:08:48 am »
0
 โลกวัชชะ อาบัติที่เป็นโทษทางโลก
       คือ คนสามัญที่มิใช่ภิกษุทำเข้าก็เป็นความผิดความเสียหาย
       เช่น โจรกรรม ฆ่ามนุษย์ ทุบตีกัน ด่ากัน เป็นต้น;
       บางทีว่าเป็นข้อเสียหายที่ชาวโลกเขาติเตียน ถือว่าไม่เหมาะสมกับสมณะ เช่น ดื่มสุรา เป็นต้น


อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


  โลกวัชชะ แปลว่า มีโทษทางโลก ใช้เรียกอาบัติหรือความผิดของพระภิกษุที่ชาวโลกตำหนิติเตียนว่าไม่เหมาะไม่ควรแก่สมณะ

  ความผิดที่เป็นโลกวัชชะนั้น เช่น ทะเลาะวิวาท ทำโจรกรรม ฆ่าคนตาย ความผิดอย่างนี้แม้คนทั่วไปทำเข้าก็ถูกตำหนิติเตียนเหมือนกันพระภิกษุไปทำเข้า ยิ่งถูกตำหนิมากขึ้น

การกระทำบางอย่างแม้ไม่เป็นความผิดตามพระวินัย แต่ก็เป็นโลกวัชชะ คือ ถูกตำหนิติเตียนได้ เช่น สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ ส่งเสียงดังในที่ชุมนุมชน ไม่เอื้อเฟื้อแก่สตรีและเด็ก

อ้างอิง คำวัด โดยพระธรรมกิติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต
http://www.kalyanamitra.org/daily/dhamma/index.php?option=com_content&task=view&id=2696&Itemid=99999999


  ถาม  อยากทราบว่าโลกวัชชะมีอะไรบ้างค่ะ ขอคำอธิบาย ขอบคุณค่ะ
  ตอบ ความหมายทั่วไป หมายถึง  สิ่งที่ชาวโลกติเตียน  เช่น กายวาจาที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ทุบตี   ฆ่าผู้อื่น  ลักขโมย  โกหก  ด่ากัน  เป็นต้น    แต่ในทางพระวินัยมีความหมายที่ ละเอียดกว่านั้น
 
     นอกจากหมายถึง  อาบัติที่เป็นโทษทางโลก  คือ คนสามัญที่มิใช่ภิกษุ ทำเข้าก็เป็นความผิดความเสียหาย  ชาวโลกติเตียน  ยังมุ่งไปที่สภาพจิต

  แม้ชาวโลกจะไม่ติเตียน  แต่สิกขาบทข้อใดที่ต้องอาบัติด้วยอกุศลจิตล้วนๆ   
  สิกขาบทนั้นเป็นโลกวัชชะ  ดังข้อความในอรรถกถาพระวินัยมหาวิภังค์อธิบายไว้ว่า


                พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 745
                           [สิกขาบททั้งหมด  มีโทษ  ๒  อย่าง]
        จริงอยู่ สิกขาบทมี  ๒  อย่าง  คือ   
                     โลกวัชชะ  (มีโทษทางโลก) ๑
                     ปัณณัตติวัชชะ  มีโทษทางพระบัญญัติ) ๑

        บรรดาโทษ ๒ อย่างนั้น สิกขาบทใด  ในฝ่ายสจิตตกะ มีจิตเป็นอกุศลล้วน ๆ สิกขาบทนั้นชื่อว่า เป็นโลกวัชชะ ที่เหลือเป็นปัณณัตติวัชชะ


ที่มา  http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=11998&PHPSESSID=4aaa0b097c4791bc8e682ffa2946ce41


นักเลง
   น. ผู้ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ๆ เช่น นักเลงหนังสือ นักเลงการพนัน; ผู้เกะกะระราน เช่น เป็นนักเลง, นักเลงโต ก็ว่า.
   ว. มีใจกว้าง กล้าได้กล้าเสีย เช่น ใจนักเลง.


อันธพาล
    น. คนเกะกะระราน. (ป.).

ที่มา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒


     เพื่อนๆครับ ภิกษุในเรื่อง"หนอนท้าช้างสู้"นั้น ในอรรถกถาไม่ได้บอกว่า"ท่านต้องอาบัติ" พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ตรัส
ติเตียนอันใด ภิกษุรูปนั้นไปทำร้ายบุรุษด้วน เห็นได้ชัดว่า เข้าข่ายปาณา แต่ทำไมพระพุทธเจ้าไม่ตรัสอะไรเลย

    เรื่องนี้อาจเป็นโลกวัชชะ ที่ชาวโลกติเตียนได้ แต่ในทางธรรม ภิกษุรูปนั้นอาจทำร้ายผู้อื่นโดยไม่มีจิตอกุศลแต่อย่างใด เลยไม่ได้รับการติเตียน

    ใครมีความเห็นอย่างไร ช่วยแสดงด้วยครับ
:49:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 26, 2011, 08:11:16 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ