บางส่วนจาก เรื่องวิธีรู้แจ้งด้วยจิต ท่านพ่อลี ธัมมธโร กล่าวว่า "อธิบายบริกรรมนิมิต บริกรรมนิมิตคือยึดเอาคำภาวนาเป็นที่ตั้งแห่งจิต เป็นต้นว่าได้ยึดเอาพุทโธบ้าง อรหัง บ้าง บทใดบทหนึ่งนี้ก็เป็นของควรปล่อยวาง ไม่ควรยึด เห็นว่าเรามีจิตมั่นคง มีสติ และมีการพิจารณาอยู่ ให้ปล่อยวาง คือให้หยุดคำบริกรรมเสีย แล้วกำหนดจิตให้รู้อยู่เฉพาะจิตที่รู้อันเดียว)
ก็เป็นวิธีการที่ หลวงพ่อลี สอนส่วนหนึ่ง นะคะ
ซึ่งไม่ได้เป็นแนวกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับคะ
ถ้าในแนวกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
ซึ่งในยุคนี้ก็ สมเด็จพระญาณสังวร มหาเถระเจ้า พระสังฆราชองค์ที่ 4 ( หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน )
มีตำราถ่ายทอดมารุ่น ต่อรุ่นถึงแม้จะมีผู้รู้จักน้อยลง แต่ระบบของกรรมฐาน แบบแผนที่รักษากันมาไว้นั้น
มีอายุมามากว่า พันปีในสุวรรณภูมิ โดยกลุ่มพระมหาเถระ พระโสณะ พระอุตตระ
ในขั้นตอนหยุดบริกรรม นั้นมีอยู่ตั้งแต่ พระธรรมปีติแล้วคะ เป็นวิปัสสนา เรียกว่า สัมปยุตธาตุ
การฝึกมีการแยกออกให้รู้ว่า ช่วงไหนควรเจริญจิติ เป็น สมาธิ ช่วงไหนที่จิตพร้อม วิปัสสนา
ซึ่งเราต้องผ่านการทดสอบแจ้งสภาวะกรรมฐาน กับครูอาจารย์ กันคะ ในส่วนนี้
ดังนั้นขอให้หยิบประเด็น อ้างบุคคล ใดสอนผิด หรือ สอนถูก ออกคะเพื่อเป็นการภาวนาที่เป็นกลาง
สมกับชื่อ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับนั้น มุ่งสอนผู้ภาวนาได้ครบตามอริยมรรค คะ
ก็ยังไม่เก่ง เหมือนกันคะ ยังภาวนาอยู่เช่นกัน คงช่วยตอบในระหว่างที่พระอาจารย์ มาตอบไม่ได้ในช่วงนี้คะ
เพราะดูแล้ว ทีมงาน มัชฌิมา จะเลี่ยงที่จะตอบในส่วนนี้กันอยู่ เพราะเป็นอารมณ์สภาวะ ด้วยความเคารพใน
ครูอาจารย์ คะ เพราะน่าจะได้รับคำสั่งว่าไม่ให้ตอบ ไม่ให้แสดงเกินกว่านี้
ดังนั้นในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับนั้น เมื่อผู้ภาวนาได้แล้วก็จะไมคุยบอกกัน ต้องแจ้งกรรมฐานกับพระ
อาจารย์ผู้สอนกรรมฐานเท่านั้น
คือต้องเป็นเรื่องที่ต้องคุย ระหว่าง ศิษย์ กับพระอาจารย์
คิดว่า คำตอบที่ลึกกว่านี้ ต้อง หลังไมค์กับทีม หรือ email แล้วคะ
อนุโมทนา กับทุกท่านที่แสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสพการณ์ กันนะคะ
