พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต ติตถิยสูตร ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายว่า ถ้านักบวชลัทธิอื่นถามว่า ราคะ โทสะ โมหะ ต่างกันอย่างไร พึงตอบว่า
ราคะมีโทษน้อย แต่คลายช้า ,
โทสะมีโทษมาก แต่คลายเร็ว,
โมหะมีโทษมาก และคลายช้า.
สุภนิมิต ( เครื่องหมายที่สวยงาม ) ทำราคะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วให้เจริญยิ่งขึ้น.
ปฏิฆนิมิต ( เครื่องหมายที่ทำให้ขัดใจ ) ทำโทสะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วให้เจริญยิ่งขึ้น.
อโยนิโสมนสิการ ( การไม่ทำไว้ในใจคือไม่พิจารณาโดยแยบคาย ) ทำโมหะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วให้เจริญยิ่งขึ้น. ที่มา
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/12.4.htmlขอบคุณภาพจาก
www.bloggang.com
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
ติตถิยสูตร
- อสุภนิมิต คือ ความกำหนดหมายว่าไม่งาม เมื่อบุคคลทำไว้ในใจโดยแยบคายถึงอสุภนิมิต ราคะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้
- เมตตาเจโตวิมุติ เมื่อบุคคลนั้นทำไว้ในใจโดยแยบคายถึงเมตตาเจโตวิมุติ โทสะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้
- โยนิโสมนสิการ เมื่อบุคคลนั้นทำไว้ในใจโดยแยบคาย โมหะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้ ฯลฯ........ฯลฯ.........อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๕๒๖๘ - ๕๓๑๙. หน้าที่ ๒๒๕ - ๒๒๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=5268&Z=5319&pagebreak=0ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=508ขอบคุณภาพจาก
http://image.ohozaa.com