ความเพียร แบบไหน ชือว่า ความเพียรพอดี
อันนี้ตอบไม่ได้ โดยส่วนรวมนะจ๊ะ เพราะ ความพอดี เป็นของเฉพาะตน
ความเพียร ไม่ใช่ความขยัน แต่ ความเพียร หมายถึง การสร้างกุศลและรักษากุศลนั้นไว้ ต่างหาก
พิจารณา จาก ปธาน 4
1. ละจากอกุศล
2. อกุศลให้พยายามนำออก
3. สร้างกุศล
4. รักษกุศลที่สร้างไว้ มิให้หายไป
สรุป ทำข้อ 3 เพียงข้อเดียวเท่านั้น คือ สร้างกุศล เมื่อ สร้างกุศล อกุศลก็ย่อมหายไป และถูกนำออก การสร้างกุศล ก็คือ การรักษากุศล
ดังนั้นการทำความเพียร ก็คือ การสร้างกุศล
ส่วนความพอดี นั้นเป็นของ เฉพาะตน ความพอดี ก็คือ ความต้านทานเฉพาะบุคคล
ตังนั้น บางคน เดินจงกรมได้เป็นวัน บางคนทำไม่ได้ บางคนกินข้าวได้มาก บางคนกินข้าวได้น้อย
ดังนั้น ความพอดี ก็คือต้านทานเป็นรายบุคคล
เราบอกว่า พระรูปนี้เคร่งมาก สามารถ อดหลับอดนอน ภาวนาได้ทั้งวันทั้งคืน ท่านเพียรมากเกินไป อันนี้ตอบยาก ก็ท่านมีความต้านทานในระดับนั้นได้ ก็คงจะไม่มากหรอกนะจ๊ะ
เห็นหรือไม่ว่า ตอบยาก
ดูอย่าง พระจักขุบาล ท่านเกินพอดี แต่ สำเร็จเป็นพระอรหันต์
พระอานนท์ ยอมละกาำรภาวนา จะล้มตัวลงนอน สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ระหว่างที่นอน
ความพอดี จะหมายถึง สิ่งใด กับ บุคคลได้
ปัคคาหะ เพียรจัดเป็นอย่างไร เพียรน้อยเป็นอย่างไร ก็ต้องไปดูมาตรฐาน กัน
อะไร เรียกว่า มาตรฐาน
พระอริยมรรค เรียกว่า มาตรฐาน ถ้าผิด จากพระอริยมรรค ก็ผิดจากมาตรฐาน
ที่นี้ มาตรฐาน ส่วนนี้ จึงขนานนามว่า ทางสายกลาง หรือ เป็นกลาง
ดังนั้น ตอบ ความเพียรที่พอดี ก็คือ ความเพียรใน พระอริยมรรค นะจ๊ะ
เจริญธรรม
