ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธิดาช่างหูก พูดเล่นลิ้น  (อ่าน 8718 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ธิดาช่างหูก พูดเล่นลิ้น
« เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2011, 12:37:21 pm »
0

               พรรษาที่ ๑๘
                    - จำพรรษาที่จาลิกบรรพต เมืองจาลิกา
                    - หลังออกพรรษา เสด็จเมืองอาฬาวีครั้งที่ ๒ โปรดธิดาช่างหูกบรรลุโสดาปัตติผล
ช่างหูกผู้เป็นบิดาขอบวชสำเร็จอรหัตตผล ตรัสอริยทรัพย์ ๗ ประการ


ที่มา http://www.baanmaha.com/community/thread29145.html




๗. เรื่องธิดานายช่างหูก [๑๔๓]
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท โลกวรรคที่ ๑๓

ข้อความเบื้องต้น
       
               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในเจดีย์ชื่อว่าอัคคาฬวะ ทรงปรารภธิดาของนายช่างหูกคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อนฺธภูโต อยํ โลโก" เป็นต้น.

คนเจริญมรณสติไม่กลัวตาย 
         
               ความพิสดารว่า วันหนึ่ง พวกชาวเมืองอาฬวี เมื่อพระศาสดาเสด็จถึงเมืองอาฬวีแล้ว ได้ทูลนิมนต์ถวายทานแล้ว.
 
              พระศาสดา เมื่อจะทรงทำอนุโมทนาในเวลาเสร็จภัตกิจ จึงตรัสว่า
               "ท่านทั้งหลายจงเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า 'ชีวิตของเราไม่ยั่งยืน ความตายของเราแน่นอน เราพึงตายแน่แท้, ชีวิตของเรามีความตายเป็นที่สุด ชีวิตของเราไม่เที่ยง, ความตายเที่ยง’
 
               ก็มรณะอันชนทั้งหลายใดไม่เจริญแล้ว, ในกาลที่สุด ชนทั้งหลายนั้นย่อมถึงความสะดุ้ง ร้องอย่างขลาดกลัวอยู่ทำกาละ เหมือนบุรุษเห็นอสรพิษแล้วกลัว ฉะนั้น.

 
               ส่วนมรณะอันชนทั้งหลายใดเจริญแล้ว ชนทั้งหลายนั้นย่อมไม่สะดุ้งในกาลที่สุด ดุจบุรุษเห็นอสรพิษแต่ไกลเทียว แล้วก็เอาท่อนไม้เขี่ยทิ้งไปยืนอยู่ฉะนั้น เพราะฉะนั้น มรณสติอันท่านทั้งหลายพึงเจริญ."

พระศาสดาเสด็จประทานโอวาทธิดาช่างหูก
             
               พวกชนที่เหลือฟังพระธรรมเทศนานั้นแล้ว ได้เป็นผู้ขวนขวายในกิจของตนอย่างเดียว. ส่วนธิดาของนายช่างหูกอายุ ๑๖ ปีคนหนึ่ง คิดว่า "โอ ธรรมดาถ้อยคำของพระพุทธเจ้าทั้งหลายอัศจรรย์, เราเจริญมรณสติจึงควร" ดังนี้แล้ว ก็เจริญมรณสติอย่างเดียวตลอดทั้งกลางวันกลางคืน.
 
               ฝ่ายพระศาสดาเสด็จออกจากเมืองอาฬวีแล้ว ก็ได้เสด็จไปพระเชตวัน.
               นางกุมาริกาแม้นั้น ก็เจริญมรณสติสิ้น ๓ ปีทีเดียว.
 
               ต่อมาวันหนึ่ง พระศาสดาทรงตรวจดูโลก ในเวลาใกล้รุ่งทรงเห็นนางกุมาริกานั้น เข้าไปในภายในข่าย คือพระญาณของพระองค์ ทรงใคร่ครวญว่า "เหตุอะไรหนอ? จักมี" ทรงทราบว่า "นางกุมาริกานี้เจริญมรณสติแล้วสิ้น ๓ ปี ตั้งแต่วันที่ฟังธรรมเทศนาของ

เรา บัดนี้ เราไปในที่นั้นแล้ว ถามปัญหา ๔ ข้อกะนางกุมาริกานี้ เมื่อนางแก้ปัญหาอยู่ จักให้สาธุการในฐานะ ๔ แล้วภาษิตคาถานี้ ในเวลาจบคาถา นางกุมาริกานั้นจักตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล เพราะอาศัยนางกุมาริกานั้น เทศนาจักมีประโยชน์แม้แก่มหาชน


               ดังนี้แล้ว มีภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปเป็นบริวาร ได้เสด็จออกจากพระเชตวัน ไปสู่อัคคาฬววิหารโดยลำดับ. ชาวเมืองอาฬวีทราบว่า "พระศาสดาเสด็จมาแล้ว" จึงไปวิหาร ทูลนิมนต์แล้ว. แม้นางกุมาริกานั้นทราบการเสด็จมาของพระศาสดา มีใจยินดีว่า

"ข่าวว่า พระมหาโคดมพุทธเจ้าผู้พระบิดา ผู้เป็นใหญ่ เป็นพระอาจารย์ ผู้มีพระพักตร์ดังพระจันทร์เพ็ญของเราเสด็จมาแล้ว" จึงคิดว่า "พระศาสดาผู้มีวรรณะดังทองคำ อันเราเคยเห็น ในที่สุด ๓ ปี แต่วันนี้ บัดนี้ เราจักได้เห็นพระสรีระซึ่งมีวรรณะดังทองคำ และฟังธรรมอันเป็นโอวาท ซึ่งมีโอชะอันไพเราะ (จับใจ) ของพระศาสดานั้น."

               ฝ่ายบิดาของนาง เมื่อจะไปสู่โรงหูก ได้สั่งไว้ว่า "แม่ ผ้าสาฎกซึ่งเป็นของคนอื่น เรายกขึ้นไว้ (กำลังทอ), ผ้านั้นประมาณคืบหนึ่ง ยังไม่สำเร็จ. เราจะให้ผ้านั้นเสร็จในวันนี้ เจ้ากรอด้ายหลอดแล้ว พึงนำมาให้แก่พ่อโดยเร็ว."

               นางกุมาริกานั้นคิดว่า "เราใคร่จะฟังธรรมของพระศาสดา ก็บิดาสั่งเราไว้อย่างนี้ เราจะฟังธรรมของพระศาสดาหรือหนอแล หรือจะกรอด้ายหลอดแล้วนำไปให้แก่บิดา?" ครั้งนั้น นางกุมาริกานั้นได้มีความปริวิตกอย่างนี้ว่า "เมื่อเราไม่นำด้ายหลอดไปให้บิดาพึงโบยเราบ้าง พึงตีเราบ้าง เพราะฉะนั้น เรากรอด้ายหลอดให้แก่ท่านแล้ว จึงจักฟังธรรมในภายหลัง" ดังนี้แล้ว จึงนั่งกรอด้ายหลอดอยู่บนตั่ง.

 
               แม้พวกชาวเมืองอาฬวีอังคาสพระศาสดาแล้ว ได้รับบาตร ยืนอยู่เพื่อต้องการอนุโมทนา. พระศาสดาประทับนิ่งแล้ว ด้วยทรงดำริว่า "เราอาศัยกุลธิดาใดมาแล้วสิ้นทาง ๓๐ โยชน์ กุลธิดานั้น ไม่มีโอกาสแม้ในวันนี้ เมื่อกุลธิดานั้นได้โอกาส เราจักทำอนุโมทนา

               ก็ใครๆ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ย่อมไม่อาจเพื่อจะทูลอะไรๆ กะพระศาสดาผู้ทรงนิ่งอย่างนั้นได้. แม้นางกุมาริกานั้นแล กรอด้ายหลอดแล้วใส่ในกระเช้า เดินไปสู่สำนักของบิดา ถึงที่สุดของบริษัทแล้ว ก็ได้เดินแลดูพระศาสดาไป.

               แม้พระศาสดา ก็ทรงชะเง้อ๑- ทอดพระเนตรนางกุมาริกานั้น. ถึงนางกุมาริกานั้นก็ได้ทราบแล้ว โดยอาการที่พระศาสดาทอดพระเนตรเหมือนกันว่า "พระศาสดาประทับนั่งอยู่ในท่ามกลางบริษัทเห็นปานนั้น ทอดพระเนตรเราอยู่ ย่อมทรงหวังการมาของเรา ย่อมทรงหวังการมาสู่สำนักของพระองค์ทีเดียว."

               นางวางกระเช้าด้ายหลอด แล้วได้ไปยังสำนักของพระศาสดา.

____________________________
๑- คีวํ อุกฺขิปิตฺวา.

               ถามว่า "ก็เพราะเหตุอะไร? พระศาสดาจึงทอดพระเนตรนางกุมาริกานั้น."
               แก้ว่า "ได้ยินว่า พระองค์ได้ทรงปริวิตกอย่างนี้ว่า ‘นางกุมาริกานั้น เมื่อไปจากที่นี้ ทำกาลกิริยาอย่างปุถุชนแล้ว จักเป็นผู้มีคติไม่แน่นอน, แต่มาสู่สำนักของเราแล้วไปอยู่ บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว จักเป็นผู้มีคติแน่นอน เกิดในดุสิตวิมาน." นัยว่า ในวันนั้น ชื่อว่าความพ้นจากความตายไม่มีแก่นางกุมาริกานั้น.

               นางกุมาริกานั้นเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ด้วยเครื่องหมายอันพระศาสดาทอดพระเนตรนั่นแล เข้าไปสู่ระหว่างแห่งรัศมีมีพรรณะ ๖ ถวายบังคมแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง.



พระศาสดาตรัสถามปัญหากะธิดาช่างหูก   
           
              ในขณะที่นางกุมาริกานั้นถวายบังคมพระศาสดาผู้ประทับนั่งนิ่งในท่ามกลางบริษัทเห็นปานนั้นแล้ว ยืนอยู่นั่นแล พระศาสดาตรัสกะนางว่า "กุมาริกา เธอมาจากไหน?"
              กุมาริกา. ไม่ทราบ พระเจ้าข้า.
               พระศาสดา. เธอจักไป ณ ที่ไหน?
               กุมาริกา. ไม่ทราบ พระเจ้าข้า.
               พระศาสดา. เธอไม่ทราบหรือ?
               กุมาริกา. ทราบ พระเจ้าข้า.
               พระศาสดา. เธอทราบหรือ?
               กุมาริกา. ไม่ทราบ พระเจ้าข้า.


               พระศาสดาตรัสถามปัญหา ๔ ข้อกะนางกุมาริกานั้น ด้วยประการฉะนี้.
               
มหาชนโพนทะนาว่า "ผู้เจริญทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงดู
ธิดาของช่างหูกนี้พูดคำอันตนปรารถนาแล้วๆ กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า,

เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ‘เธอมาจากไหน?’
ธิดาของช่างหูกนี้ควรพูดว่า ‘จากเรือนของช่างหูก’

เมื่อตรัสว่า ‘เธอจะไปไหน ?’
ก็ควรกล่าวว่า ‘ไปโรงของช่างหูก’ มิใช่หรือ?"

               พระศาสดาทรงกระทำมหาชนให้เงียบเสียงแล้ว ตรัสถามว่า

"กุมาริกา เธอ เมื่อเรากล่าวว่า ‘มาจากไหน?’ เพราะเหตุไร เธอจึงตอบว่า ‘ไม่ทราบ’".

              กุมาริกา. "พระเจ้าข้า พระองค์ย่อมทรงทราบความที่หม่อมฉันมาจากเรือนช่างหูก แต่พระองค์

เมื่อตรัสถามว่า ‘เธอมาจากไหน?’
ย่อมตรัสถามว่า ‘เธอมาจากที่ไหน จึงเกิดแล้วในที่นี้?’
แต่หม่อมฉันย่อมไม่ทราบว่า ‘ก็เรามาแล้วจากไหน จึงเกิดในที่นี้?"

               ลำดับนั้น พระศาสดาประทานสาธุการเป็นครั้งแรกแก่นางกุมาริกานั้นว่า "ดีละ ดีละ กุมาริกา ปัญหาอันเราถามแล้วนั่นแล อันเธอแก้ได้แล้ว"

แล้วตรัสถามแม้ข้อต่อไปว่า "เธอ อันเราถามแล้วว่า ‘เธอจะไป ณ ที่ไหน?’ เพราะเหตุไร จึงกล่าวว่า ‘ไม่ทราบ?’"


               กุมาริกา. "พระเจ้าข้า พระองค์ทรงทราบหม่อมฉันผู้ถือกระเช้าด้ายหลอดเดินไปยังโรงของช่างหูก,

พระองค์ย่อมตรัสถามว่า ‘ก็เธอไปจากโลกนี้แล้ว จักเกิดในที่ไหน?’
ก็หม่อมฉันจุติจากโลกนี้แล้วย่อมไม่ทราบว่า ‘จักไปเกิดในที่ไหน?’"

               ลำดับนั้น พระศาสดาประทานสาธุการแก่นางเป็นครั้งที่ ๒ ว่า "ปัญหาอันเราถามแล้วนั่นแล เธอแก้ได้แล้ว"

แล้วตรัสถามแม้ข้อต่อไปว่า "เมื่อเช่นนั้น เธอ อันเราถามว่า ‘ไม่ทราบหรือ?’ เพราะเหตุไร จึงกล่าวว่า ‘ทราบ?’"

              กุมาริกา. พระเจ้าข้า หม่อมฉันย่อมทราบภาวะคือความตายของหม่อมฉันเท่านั้น เหตุนั้น จึงกราบทูลอย่างนั้น.

               ลำดับนั้น พระศาสดาประทานสาธุการแก่นางเป็นครั้งที่ ๓ ว่า "ปัญหาอันเราถามแล้วนั่นแล เธอแก้ได้แล้ว"

แล้วตรัสถามแม้ข้อต่อไปว่า "เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอ อันเราถามว่า ‘เธอย่อมทราบหรือ?’ เพราะเหตุไร จึงพูดว่า ‘ไม่ทราบ?’"

               กุมาริกา. หม่อมฉันย่อมทราบแต่ภาวะ คือความตายของหม่อมฉันเท่านั้น พระเจ้าข้า

แต่ย่อมไม่ทราบว่า "จักตายในเวลากลางคืน กลางวันหรือเวลาเช้าเป็นต้น ในกาลชื่อโน้น เพราะเหตุนั้น จึงพูดอย่างนั้น."



คนมีปัญญาชื่อว่ามีจักษุ
             
              ลำดับนั้น พระศาสดาประทานสาธุการครั้งที่ ๔ แก่นางว่า
               "ปัญหาอันเราถามแล้วนั่นแล เธอแก้ได้แล้ว" แล้วตรัสเตือนบริษัทว่า "พวกท่านย่อมไม่ทราบถ้อยคำชื่อมีประมาณเท่านี้ ที่นางกุมาริกานี้กล่าวแล้ว ย่อมโพนทะนาอย่างเดียวเท่านั้น เพราะจักษุ คือปัญญาของชนเหล่าใดไม่มี ชนเหล่านั้นเป็น (ดุจ) คนบอดทีเดียว จักษุ คือปัญญาของชนเหล่าใดมีอยู่ ชนเหล่านั้นนั่นแล เป็นผู้มีจักษุ"
               ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

                         ๗.    อนฺธภูโต อยํ โลโก       ตนุเกตฺถ วิปสฺสติ
                            สกุนฺโต๑- ชาลมุตฺโตว      อปฺโป สคฺคาย คจฺฉติ.
                            สัตว์โลกนี้เป็นเหมือนคนตาบอด ในโลกนี้
                            น้อยคนนักจะเห็นแจ้ง, น้อยคนนักจะไปสวรรค์
                            เหมือนนกหลุดแล้วจากข่าย (มีน้อย) ฉะนั้น.

____________________________
๑- อรรถกถา เป็น สกุโณ.

แก้อรรถ
               
               บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า อยํ โลโก ความว่า โลกิยมหาชนนี้ชื่อว่าเป็นเหมือนคนบอด เพราะไม่มีจักษุคือปัญญา.
 
               สองบทว่า ตนุเกตฺถ ความว่า ชนในโลกนี้น้อยคน คือไม่มาก จะเห็นแจ้งด้วยสามารถแห่งไตรลักษณ์มีไม่เที่ยงเป็นต้น.

               บทว่า ชาลมุตฺโตว ความว่า บรรดาฝูงนกกระจาบที่นายพรานนกผู้ฉลาดตลบด้วยข่ายจับเอาอยู่ นกกระจาบบางตัวเท่านั้น ย่อมหลุดจากข่ายได้ ที่เหลือย่อมเข้าไปสู่ภายในข่ายทั้งนั้น ฉันใด;
 
               บรรดาสัตว์ที่ข่ายคือมารรวบไว้แล้ว สัตว์เป็นอันมาก ย่อมไปสู่อบาย, น้อยคนคือบางคนเท่านั้น ไปในสวรรค์ คือย่อมถึงสุคติหรือนิพพานฉันนั้น.

               ในเวลาจบเทศนา นางกุมาริกานั้นดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.
               เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่มหาชน.


ธิดาช่างหูกตายไปเกิดในดุสิตภพ
               
              แม้นางกุมาริกานั้นได้ถือกระเช้าด้ายหลอดไปสู่สำนักของบิดาแล้ว. แม้บิดานั้น ก็นั่งหลับแล้ว. เมื่อนางไม่กำหนดแล้ว น้อมกระเช้าด้ายหลอดเข้าไปอยู่ กระเช้าด้ายหลอดกระทบที่สุดฟืม ทำเสียงตกไป. บิดานั้นตื่นขึ้นแล้ว ฉุดที่สุดฟืมไป ด้วยนิมิตที่ตนจับเอาแล้วนั่นเอง. ที่สุดฟืมไปประหารนางกุมาริกานั้นที่อก นางทำกาละ ณ ที่นั้นนั่นเอง บังเกิดแล้วในที่สุดภพ.
 
               ลำดับนั้น บิดาของนางเมื่อแลดูนาง ได้เห็นนางมีสรีระทั้งสิ้นเปื้อนด้วยโลหิตล้มลงตายแล้ว. ลำดับนั้น ความโศกใหญ่บังเกิดขึ้นแก่บิดานั้น. เขาร้องไห้อยู่ด้วยคิดว่า "ผู้อื่นจักไม่สามารถเพื่อยังความโศกของเราให้ดับได้" จึงไปสู่สำนักของพระศาสดา กราบทูลเนื้อความนั้นแล้ว กราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ขอพระองค์จงยังความโศกของข้าพระองค์ให้ดับ."

               พระศาสดาทรงปลอบเขาแล้ว ตรัสว่า "ท่านอย่าโศกแล้ว เพราะว่าน้ำตาของท่านอันไหลออกแล้ว ในกาลเป็นที่ตายแห่งธิดาของท่านด้วยอาการอย่างนี้นั่นแล ในสงสารมีที่สุด ที่ใครๆ ไม่รู้แล้ว เป็นของยิ่งกว่าน้ำแห่งมหาสมุทรทั้ง ๔"
 
               ดังนี้แล้ว จึงตรัสอนมตัคคสูตร.
               เขามีความโศกเบาบาง ทูลขอบรรพชากะพระศาสดา ได้อุปสมบทแล้ว ต่อกาลไม่นานบรรลุพระอรหัตแล้ว ดังนี้แล.

               เรื่องธิดาของนายช่างหูก จบ.       
       

ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=23&p=7
ขอบคุณภาพจากhttp://j5.tagstat.com/,http://i617.photobucket.com/,http://www.tourluangprabang.com/,http://img90.imageshack.us/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 16, 2011, 11:42:17 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ธิดาช่างหูก พูดเล่นลิ้น (อ่านง่าย)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2011, 01:05:48 pm »
0


ธิดาช่างหูก พูดเล่นลิ้น

ครั้งหนึ่งเมื่อพระตถาคตเจ้าเสด็จถึงเมืองอาราวี ชาวเมืองอาราวีดีใจชวนกันอาราธนาพระองค์และถวายทานอย่างมโหฬารยิ่ง เมื่อเสวยเสร็จแล้วพระองค์ทรงอนุโมทนาปฏิสังยุตด้วยมรณสติคาถาว่า

    "ดูก่อน ชาวเมืองอาราวีทั้งหลาย ชีวิตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน แต่ความตายเป็นสิ่งที่แน่นอน เราทั้งหลายจะต้องตายเป็นแน่แท้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง ไม่เวลาใดก็เวลาหนึ่ง ชีวิตทุกชีวิตมีความตายเป็นที่สุด จบลงด้วยความตาย ท่านทั้งหลายจงเจริญมรณสติภาวนาดังนี้เถิด


    เพราะบุคคลที่ไม่เคยเจริญมรณสติภาวนา เมื่อถึงมรณสมัยย่อมถึงความสะดุ้ง หวาดกลัว ปานประหนึ่งได้เห็นอสรพิษอันมีพิษร้าย ส่วนบุคคลผู้ได้เจริญมรณสติภาวนาอยู่เสมอ ย่อมไม่กลัว ไม่สะดุ้ง เมื่อความตายใกล้เข้ามา

    อายุของมนุษย์นี้น้อยนักจำต้องไปสู่สัมปรายภพ จึงควรรีบทำกุศล รีบประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายนั้นเป็นอันไม่มี ผู้ที่อยู่ได้นานก็เพียง ๑๐๐ ปี หรือที่เกิน ๑๐๐ ปีไปก็น้อยคนนัก อายุของมนุษย์นี้น้อยนัก คนดีมีปัญญาพึงดูหมิ่นอายุนั้น คือไม่ควรภูมิใจ เพลินใจในอายุว่ามีมาก พึงรีบประพฤติความดีเสมือนบุคคลผู้อันไฟติดทั่วแล้วที่ศรีษะรีบดับเสียโดยพลัน

    เรื่องความตายจะไม่มาถึงนั้นเป็นอันไม่มี บุคคลใดเจริญมรณสติว่าน่าปลื้มใจหนอ ที่เราอยู่มาได้ตลอดวันหนึ่งคืนหนึ่ง โดยที่อันตรายแห่งชีวิตไม่เข้ามาตัดรอนซะในระหว่าง ดังนี้"

    ด้วยเหตุนี้เราจึงควรใส่ใจคำสอนของพระผู้มีพระภาค การเจริญมรณสตินั้นทำทุกวันทุกครึ่งวัน ทุกชั่วโมงก็น้อยไป ความจริงมรณสตินั้นบุคคลควรทำทุกลมหายใจเข้าและออก อย่างนี้แหละจึงจะได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่มีชีวิตอยู่อย่างไม่ประมาท

    ประชาชนชาวอาราวีนั้นส่วนมากเมื่อฟังพระธรรมเทศนา อนุโมทนาจบแล้วก็รีบกลับไป เพราะเป็นผู้ที่ขวนขวายในกิจธุระของตน แต่ว่ามีเด็กสาวคนหนึ่งเป็นธิดานายช่างหูก มีอายุประมาณ ๑๕-๑๖ ปี คิดว่า

    "โอ้ พระดำรัสของพระพุทธเจ้าช่างอัศจรรย์จริงหนอ เราควรเจริญมรณสติอย่างที่พระองค์ตรัสสอน" คิดดังนี้แล้วจึงเจริญมรณสติทั้งกลางวันและกลางคืน

    บุคคลผู้มีอุปนัยในทางธรรมเมื่อได้ฟังธรรมแม้เพียงครั้งเดียวก็มีใจดื่มด่ำอยากทำตาม ส่วนผู้ไม่มีอุปนิสัยแม้ฟังแล้วฟังอีก อยู่ใกล้ชิดกับบุคคลผู้มีธรรม แต่กระแสธรรมก็หาได้ซึมซาบไม่ หากเขาไม่ข่มใจให้สนใจเสียบ้างในครั้งแรกๆ อุปนิสัยก็จะไม่เกิดขึ้น และคงจะเป็นอยู่เช่นนั้นเรื่อยไป

    พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากเมืองอาราวี แล้วเสด็จไปสู่เมืองสาวัตถี ประทับอยู่ ณ วัดเชตุวัน
    ส่วนกุมาริกาธิดาของนายช่างหูก หลังจากที่ได้ฟังพระธรรมเทศนาอันสัมปยุทธด้วยมรณสติภาวนาแล้วก็ลองทำดู ก็เห็นผลว่าทำให้จิตใจสงบไม่กลัวตาย มีสติ สังเวช และญาณ นางจึงบำเพ็ญติดต่อกันเป็นเวลา ๓ ปี และได้เห็นผลดีขึ้นตามลำดับๆ



    เช้าวันหนึ่งพระศาสดาทรงตรวจดูสัตว์โลกตามพุทธประเพณี ทรงเห็นกุมาริกาธิดาแห่งนายช่างหูกชาวเมืองอาราวี ได้เข้าไปในข่ายคือพระญาณของพระองค์ พระองค์ทรงพิจารณาต่อไปอีกก็ทรงทราบว่า ตั้งแต่วันที่ธิดาของนายช่างหูกฟังพระธรรมเทศนาของพระองค์แล้ว ก็เจริญมรณสติอยู่นานถึง ๓ ปี

    "เธอมีอุปนิสัยควรแก่โสดาปัตติผล"
    ทรงดำริต่อไปว่า "เราควรไปในที่นั้น แล้วถามปัญหา ๔ ข้อแก่นาง นางจักดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล"
    และแล้วพระผู้มีพระภาค มีพระภิกษุสงฆ์นับร้อยเป็นบริวาร เสด็จไปสู่เมืองอาราวี ประทับอยู่ ณ อักคารววิหาร

    ชาวเมืองอาราวีพูดกันว่า พระศาสดาแสดงมาแล้ว จึงพากันไปสู่วิหารนั้น แม้ธิดาแห่งนายช่างหูกได้ฟังการมาของพระศาสดาแล้ว คิดว่า
    "บิดาของเรามาแล้ว พระองค์ทรงเป็นอาจารย์ของเราด้วย พระองค์ทรงพระนามว่าโคตมะพุทธะ ผู้มีพระพักตร์เปล่งปลั่งเบิกบานประดุจดวงจันทร์ เป็นเวลาถึง ๓ ปีแล้วที่เราไม่ได้เห็นพระศาสดาผู้มีพระฉวีดุจไล้ด้วยทอง วันนี้แหละเราจะได้เห็นพระองค์ และได้ฟังพระธรรมเทศนาที่ไพเราะจับใจยิ่ง"

    บังเอิญบิดาของนางกำลังจะไปโรงทอผ้า ได้สั่งนางไว้ในเวลานั้นว่า
    "ลูกรัก พ่อรับทอผ้าของลูกค้าคนหนึ่งไว้ กำลังทอค้างอยู่พอดีด้ายหมด ให้ลูกช่วยกรอด้ายให้พ่อด้วย พ่อจะต้องให้เสร็จในวันนี้"

    กุมาริกาคิดว่า เราจะประสงค์จะไปฟังธรรมของพระศาสดา แต่ว่าบิดาสั่งให้กรอด้าย
    "เราจะทำอย่างไรดี จะกรอด้ายให้บิดาหรือว่าจะไปฟังธรรมของพระผู้มีพระภาค หากว่าเราทิ้งงานของบิดาไปฟังธรรม ท่านอาจจะโบยหรือตีเรา เพราะฉะนั้นเราควรกรอด้ายให้เสร็จเสียก่อน แล้วไปฟังธรรมที่หลัง"


    คิดดังนี้แล้วนางจึงนั่งกรอด้ายอยู่บนเตียงน้อย แต่ว่าจิตใจของนางนั้นพะวงอยู่แต่การเข้าไปเฝ้าพระศาสดาตลอดเวลา
    ชาวอาราวีอังคาสพระตถาคตเจ้าด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประเสริฐแล้ว รับบาตรของพระองค์ และยืนเฝ้าอยู่เพื่อรับการอนุโมทนา

    พระจอมมุนีไม่เห็นกุมาริกาธิดานายช่างหูก จึงทรงดำริว่า
    "เราเดินทางมาถึง ๓๐ โยชน์ เพื่อโปรดธิดานายช่างหูก แต่ว่าบัดนี้นางยังไม่มีโอกาสมาหาเรา เมื่อนางมาแล้วเราจึงค่อยทำอนุโมทนา"


    ทรงดำริเช่นนี้แล้วจึงทรงดุษณีอยู่ เมื่อพระศาสดาทรงนิ่งใครๆ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกก็ไม่อาจจะให้พระองค์ตรัสได้ พุทธบริษัททุกคนจึงเงียบหมด บรรยากาศอยู่ในสภาพเช่นนั้นเป็นเวลานาน จนกระทั่งธิดาของนายช่างหูกกรอด้ายเสร็จแล้ว เก็บใส่ไว้ในกระเช้าแล้วรีบมาสู่สำนักของพระศาสดา นางยืนอยู่ตอนท้ายของพุทธบริษัทยืนมองดูพระศาสดาอยู่

    แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงชะเง้อพระศอมองดูนางเหมือนกัน ธิดานายช่างหูกเป็นคนฉลาด เมื่อเห็นพระอาการเช่นนั้นก็ทราบว่า พระศาสดาคงรอการมาของตน มิฉะนั้นแล้วไฉนเล่าพระองค์จึงทรงชะเง้ออยู่ท่ามกลางพุทธบริษัทมากมาย นางจึงวางของที่ติดมือมา คือกระเช้าด้ายหลอด เข้าไปสู่ที่ใกล้ของพระผู้มีพระภาค

    เหตุไฉนพระศาสดาจึงทรงกระทำเช่นนั้น เพราะพระมหากรุณา พระองค์ทรงดำริว่า การตายของปุถุชนนั้นมีคติไม่แน่นอน ธิดาช่างหูกมาสู่สำนักของพระองค์แล้ว เมื่อได้ตรัสถามปัญหา ๔ ข้อ นางจักได้บรรลุโสดาปัตติผล และมีคติที่แน่นอนไม่ตกต่ำอีกเลย และนางจะต้องตายในวันนั้นไม่สามารถหลีกพ้นได้ ดูเถิด พระมหากรุณาของพระตถาคตเจ้า



    นางเข้าไปเฝ้าพระศาสดาด้วยสัญญาณที่พระองค์ทรงมองดูนั้น ถวายบังคมแล้วยืนอยู่

    พระศาสดาตรัสถามนางว่า "ดูก่อนกุมาริกา เธอมาจากไหน"
    "ไม่ทราบพระเจ้าข้า" นางทูลตอบ
    "เธอจะไปไหน"
    "ไม่ทราบพระเจ้าข้า"
    "เธอไม่ทราบรึ"
    "ทราบพระเจ้าข้า"
    "เธอทราบรึ"
    "ไม่ทราบพระเจ้าข้า"

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามปัญหา ๔ ข้อแก่นาง ด้วยประการฉะนี้ มหาชนซึ่งประชุมกันอยู่ ณ ที่นั้น ได้ฟังแล้วก็พากันตำหนิว่า "ดูเถิด ท่านทั้งหลาย ธิดาช่างหูกกล้ากล่าวเล่นลิ้นกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นปานนี้ ก็เมื่อพระองค์ตรัสถามแล้ว ตอบเสียตามความเป็นจริงมิได้หรือว่า มาจากเรือนของนายช่างหูกผู้เป็นบิดา และจะไปสู่โรงทอผ้า"

    พระตถาคตเจ้าทรงทราบเรื่องที่มหาชนตำหนินางเช่นนั้นแล้ว จึงตรัสถามว่า
    "ที่เธอบอกว่า ไม่ทราบว่ามาจากไหนนั้น หมายความว่าอย่างไร"
    "ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐข้าพระพุทธเจ้าทราบดีว่ามาจากเรือนของนายช่างหูก แต่ไม่ทราบว่าก่อนที่จะมาเกิดในชาตินี้ข้าพระพุทธเจ้ามาจากกำเนิดใด เพราะฉะนั้นข้าพระองค์จึงทูลว่าไม่ทราบ"
    "ก็เมื่อเราถามว่าเธอจะไปไหน ทำไมเธอจึงบอกว่าไม่ทราบ"


    "ข้าพระองค์ทราบว่าจะไปสู่โรงทอผ้า แต่ข้าพระองค์ไม่อาจทราบได้ว่าเมื่อสิ้นชีพจากชาตินี้แล้วจะไปเกิดในที่ใด จะถือกำเนิดเป็นมนุษย์ หรือเดรัจฉาน เปรต อสูรกาย หรือเทพเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง"
    "เมื่อเราถามว่า ไม่ทราบรึ เธอตอบว่าทราบ หมายความว่าอย่างไร"
    "ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ข้าพระองค์ทราบว่าข้าพระองค์จะต้องตายอย่างแน่นอน"
    "เมื่อเราถามว่า เธอทราบรึ เหตุไฉนเธอตอบว่าไม่ทราบ"
    "ข้าพระพุทธเจ้าไม่ทราบว่าจะตายวันใด จะตายเวลาใด และจะตายที่ไหน"


    พระศาสดาได้ทรงประทานสาธุการทุกครั้งที่นางตอบปัญหาของพระองค์ รวม ๔ ครั้ง และแล้วพระองค์ก็ได้ตรัสกับประชาชนว่า

    "ท่านทั้งหลาย ท่านมิได้รู้ความหมายอันลึกซึ้งที่ธิดาช่างหูกกล่าวแล้วจึงติเตียน บัดนี้เธอได้อธิบายจนแจ่มแจ้งแล้ว เราสาธุการต่อคำตอบของเธอ คำตอบนั้นถูกต้อง บุคคลผู้มีจักษุพิจารณาแล้วย่อมเห็นตาม"

    พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า "โลกนี้มืดยิ่งนัก สัตว์โลกส่วนใหญ่เป็นผู้มืดบอด มีน้อยคนที่มีปัญญาเห็นแจ้ง และมีคนจำนวนน้อยที่ไปสวรรค์ เหมือนนกที่ติดข่ายแล้ว ที่รอดพ้นจากข่ายของนายพรานได้นั้นมีน้อยนัก

    โลกนี้มืดยิ่งนัก มืดอยู่ด้วยอวิชชาและความหลงผิด หาใช่ความมืดของอากาศโลกไม่ แต่หมายถึงสัตว์โลก สัตว์ทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในโลก เขาอยู่ในความมืดจนเคยชินกับความมืดนั้น แต่เมื่อใดเขาค่อยๆ เดินออกมาสู่แสงสว่างทีละน้อยๆ กระทั่งได้รับแสงสว่างเต็มที่

    เขาจะได้การเปรียบเทียบ จึงรู้ว่าการอยู่ในความมืดนั้นเป็นความทรมาน เป็นการเสี่ยงต่ออันตรายอันน่าหวาดกลัว และการอยู่ในที่ใหม่ซึ่งเต็มไปด้วยแสงสว่างนั้นเป็นความผาสุข มีอันตรายน้อย มีโอกาสเห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริงได้มากกว่า เป็นที่น่าเสียดายว่ามีคนเป็นจำนวนน้อยที่มีปัญญาเห็นแจ้งว่าอะไรเป็นอะไร ความจริงก็พอจะรู้บ้างว่าอะไรควรเว้นอะไรควรทำ

    แต่อะไรเล่าที่ทำให้เขาต้องตกอยู่ในห้วงแห่งความมืด อะไรเล่าที่ทำให้เขาต้องทนทรมานอยู่ในข่ายคือโมหะ อาจเป็นเพราะเขาประมาทมัวเมาเกินไป อาจเป็นเพราะเขาเห็นคุณค่าของธรรมะน้อยเกินไป หรือเพราะไม่อาจทนต่อสิ่งเร้าอันยั่วยวนต่างๆ ได้"

    เมื่อจบพระธรรมเทศนาของพระศาสดา ธิดาช่างหูกได้บรรลุโสดาปัตติผล พระธรรมเทศนาได้มีประโยชน์แก่มหาชนเป็นอันมาก ธิดาช่างหูกถวายบังคมพระศาสดาแล้วรีบไปสู่สำนักของบิดา ณ โรงทอผ้า



    ขณะนั้นนายช่างหูกผู้เป็นบิดานั่งหลับอยู่ นางมิได้ดูให้รู้แน่ว่าบิดาหลับอยู่หรือตื่นอยู่ จึงสอดด้ายหลอดเข้าไป ด้ายหลอดนั้นได้กระทบปลายเฟืองเสียงดังแล้วตกไปเบื้องล่าง นายช่างหูกตื่นขึ้นกระชากปลายหูกกลับมากระทบกับหน้าอกของธิดาสาวโดยแรง นางได้ถึงกาลกิริยาทันที

    นายช่างหูกได้เห็นลูกสาวมีสรีระทั้งสิ้นแดงฉานด้วยเลือดและสิ้นใจเสียแล้ว ก็เสียใจมาก คิดว่า "ความโศกของเราครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก ใครเล่าจักดับได้นอกจากพระศาสดา" จึงคร่ำครวญมีหน้าชุ่มด้วยน้ำตาไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า "พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์ทรงช่วยยังความโศกของข้าพุทธเจ้าให้ดับด้วยเถิด"

    พระศาสดาทรงปลอบนายช่างหูกว่า "อย่าเศร้าโศกเลย ในสังสารวัฏอันมีเบื้องต้น และเบื้องปลาย อันบุคคลไม่อาจรู้ได้นี้ น้ำตาของผู้ที่หลั่งออกมาในเพราะมรณกรรมแห่งปิยชนที่รัก มีธิดาเป็นต้นนั้น มีประมาณยิ่งกว่าน้ำในมหาสมุทรเสียอีก

    ดูก่อน เปสักกะ ท่านจงบรรเทาความโศกเสียเถิด สังสารวัฏอันยาวนานนี้ระดะไปด้วยความทุกข์นานาประการ สุดที่ใครจะกำหนดได้ เช่น ความทุกข์ในการแสวงหาอาหาร ความทุกข์เพราะความป่วยไข้ ความทุกข์เพราะความชรา ความทุกข์เพราะการวิวาทกัน ความทุกข์เพราะกิเลสเผาผลาญ ความทุกข์เพราะพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักเริงใจ ความทุกข์เพราะไม่ได้สัดและสังขารตามปรารถนา และความทุกข์เพราะต้องบริหารขันธ์คือร่างกาย อันเป็นเหมือนกับเด็กอ่อนอยู่เสมอนี้

    ดูก่อน เปสักกะ ทางแห่งสังสารวัฏเป็นทางที่น่ากลัว เพราะมีภัยต่างๆ เสมือนบุคคลที่หลงเข้าสู่ป่าลึก ซึ่งเต็มไปด้วยสัตว์ร้ายนานาชนิด จึงควรหาทางออกจากป่าคือสังสารวัฏนี้ เราตถาคตได้เดินทางออกจากสังสารวัฏแล้ว และชักชวนคนทั้งหลายให้เดินทางออกด้วย

    บัดนี้ ธิดาของท่านได้สำเร็จโสดาปัตติผลแล้ว ได้เห็นทางออกจากสังสารวัฏแล้ว เธอมีคติที่แน่นอนไม่ตกต่ำ ท่านเบาใจเสียเถิด"
    นายช่างหูกนั้น สดับพระพุทธพจน์อันมีเหตุผล บรรเทาความโศกได้แล้ว ได้ขอบรรพชาอุปสมบท ไม่นานนัก ได้สำเร็จอรหันต์ผล เป็นพระอรหันต์ แล

 

ที่มา http://board.palungjit.com/f14/ธิดาช่างหูก-21824.html
ขอบคุณภาพจาก http://www.dhammadelivery.com/,http://gotoknow.org/,http://women.sanook.com/,http://t2.gstatic.com
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
เสียงอ่าน "ธิดาช่างหูก พูดเล่นลิ้น"
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2011, 01:22:43 pm »
0


เรื่องธิดาช่างหูก บางคนสงสัยว่า เธอชื่ออะไร อีกคนก็บอกว่า ชื่อ "เปสการี"
ถ้าดูในอรรถกถาแล้ว ไม่ปรากฏชื่อเธอ แต่เท่าที่ค้นได้ เปสการี เป็นภาษาบาลี แปลว่า ช่างหูก
ถึงตรงนี้แล้ว ก็น่าสรุปได้ว่า ในพระไตรปิฎกคงไม่มีการบันทึกชื่อเธอไว้

เสียงอ่านเรื่องนี้ผมนำมาจากเว็บฟังธรรม(http://www.fungdham.com/index.html)
ส่วนการใส่ภาพและจัดทำเป็นวิดีโอ พร้อมทั้งอัปโหลดขึ้นยูทูบนั้น ผมทำเองครับ
:welcome: :49: :25: ;)


    ลิงค์แนะนำ "ช่างหูก คือ อาชีพอะไร ครับ"
    http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1195.msg4850#msg4850


    หูก น. เครื่องทอแบบพื้นเมือง.

    ที่มา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 16, 2011, 01:37:59 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ลูกเณร-รัตน์

  • 1.บรรพชิต
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 31
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ธิดาช่างหูก พูดเล่นลิ้น
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2011, 08:53:29 am »
0
อ้างถึง
พระศาสดาตรัสถามนางว่า "ดูก่อนกุมาริกา เธอมาจากไหน"
    "ไม่ทราบพระเจ้าข้า" นางทูลตอบ
    "เธอจะไปไหน"
    "ไม่ทราบพระเจ้าข้า"
    "เธอไม่ทราบรึ"
    "ทราบพระเจ้าข้า"
    "เธอทราบรึ"
    "ไม่ทราบพระเจ้าข้า"

   เธอทราบหรือ ไม่ทราบคะ


   จะตายวันไหนละ  ไม่รู้เลยเจ้าคะ

   ความตายเป็นสิ่งที่ควรไม่ประมาท นะครับ นับว่าเป็นเรืองที่สนับสนุน เรื่อง การระลึกถึงความตายดีอีกเรื่อง

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ภูมิใจนำเสนอ อันดับที่ ๑
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ธันวาคม 16, 2011, 12:12:12 pm »
0


            เนื้อเพลง: สาวทอผ้าไหม
          อัลบั้ม: เพลงประกอบละคร เพลงผ้า ฟ้าล้อมดาว
          ร้องโดย มณีมุกดา


                 บ้านเฮานั้นมีผู้เฒ่า ผู้แก่
                 เอาว์แมบองประโอน เด้ออ้าย
                 คืนและวันของชาวบ้านเราไม่เปล่าดาย
                 ทอผ้าไหมคิดลายสไบให้ถ้วนถี่
                 เฝ้าแต่รอรักคนที่เขาไม่รัก..เรา
                 นั่งเซาซึมป่วยในใจ หลบลี้
                 ลมหายใจที่อยู่ยาวไกล จนป่านนี้...
                 ก็เพราะชีวีน้องมีอ้ายนั้น ประจำใจ


                 เกิดมาใต้ฟ้าเดียวกัน
                 เทิด..ความ..รักนั้นยิ่งกว่าใด
                 ขวากหนามทิ่มตำหัวใจ
                 แพรสไบ ยังชุ่มฉ่ำไปด้วยรอยน้ำตา


                 เกิดมาใต้ฟ้าเดียวกัน
                 เทิด..ความ..รักนั้นยิ่งกว่าใด
                 ขวากหนามทิ่มตำหัวใจ
                 แพรสไบ ยังชุ่มฉ่ำไปด้วยรอยน้ำตา


                 บ้านเฮานั้นมีผู้เฒ่าผู้แก่
                 เอาว์แม บองประโอน ยังท่า
                 จะเป็นหรือตายขออ้ายคนดีจงกลับมา
                 รู้ไหมสาวทอผ้าไหมคนนี้...รอ
                 รู้ไหมสาวทอผ้าไหมคนนี้...รอ


ที่มา http://www.siamzone.com/music/thailyric/index.php?mode=view&artist=!!c1b3d5c1d8a1b4d2&song=!!cad2c7b7cdbce9d2e4cbc1


   
คนเจริญมรณสติไม่กลัวตาย

         
                  ความพิสดารว่า วันหนึ่ง พวกชาวเมืองอาฬวี เมื่อพระศาสดาเสด็จถึงเมืองอาฬวีแล้ว ได้ทูลนิมนต์ถวายทานแล้ว.
              พระศาสดา เมื่อจะทรงทำอนุโมทนาในเวลาเสร็จภัตกิจ จึงตรัสว่า

               "ท่านทั้งหลายจงเจริญมรณสติอย่างนี้ว่า 'ชีวิตของเราไม่ยั่งยืน ความตายของเราแน่นอน เราพึงตายแน่แท้, ชีวิตของเรามีความตายเป็นที่สุด ชีวิตของเราไม่เที่ยง, ความตายเที่ยง’
 
               ก็มรณะอันชนทั้งหลายใดไม่เจริญแล้ว, ในกาลที่สุด ชนทั้งหลายนั้นย่อมถึงความสะดุ้ง ร้องอย่างขลาดกลัวอยู่ทำกาละ เหมือนบุรุษเห็นอสรพิษแล้วกลัว ฉะนั้น.
 
               ส่วนมรณะอันชนทั้งหลายใดเจริญแล้ว ชนทั้งหลายนั้นย่อมไม่สะดุ้งในกาลที่สุด ดุจบุรุษเห็นอสรพิษแต่ไกลเทียว แล้วก็เอาท่อนไม้เขี่ยทิ้งไปยืนอยู่ฉะนั้น เพราะฉะนั้น มรณสติอันท่านทั้งหลายพึงเจริญ."




               ที่กล่าวว่าภูมิใจนั้น ไม่ใช่เพลง แต่เป็นเนื้อเรื่อง"ธิดาช่างหูก" เรื่องนี้สาระสำคัญอยู่ที่ มรณัสสติ ที่พระพุทธเจ้า สอนแก่ชาวเมืองอาฬาวี แต่ดูเหมือนว่า จะมีเพียงธิดาช่างหูกเท่านั้นที่ทำตาม เธอเจริญมรณัสสติอยู่ ๓ ปี จนอินทรีย์แก่กล้า พระพุทธเจ้าจึงมาโปรดอีกครั้ง
               การโปรดครั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่า พระพุทธองค์เจาะจงมาโปรดเธอเป็นการเฉพาะ เหมือนการโปรดองคุลีมาร และ สุภัททะปริพาชก ที่เมืองกุสินารา
              การตั้งและตอบคำถามระหว่างพระพุทธเจ้ากับธิดาช่างหูก ฟังอย่างผิวเผินก็จะรู้สึกว่า เป็นการหยอกล้อ พูดเล่นกัน การที่พระองค์ตั้งคำถามแบบนี้อาจเป็นเพราะ เห็นเธอยังอายุน้อย จึงกล่าวตามจริตที่เป็นอยู่ในขณะนั้น

               แล้วเพื่อนๆละครับชอบเรื่องไหน
:49:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ