พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
๑๐. สังคีติสูตร (๓๓)
[๓๕๖] อนุปุพพนิโรธ ๙ อย่าง
๑. กามสัญญาของท่านผู้เข้าปฐมฌานย่อมดับไป
๒. วิตกวิจารของท่านผู้เข้าทุติยฌานย่อมดับไป
๓. ปีติของท่านผู้เข้าตติยฌานย่อมดับไป
๔. ลมอัสสาสะและปัสสาสะของท่านผู้เข้าจตุตถฌาน ย่อมดับไป
๕. รูปสัญญาของท่านผู้เข้าอากาสานัญจายตนะสมาบัติ ย่อมดับไป
๖. อากาสานัญจายตนสัญญาของท่านผู้เข้าวิญญาณัญจายตนสมาบัติย่อมดับไป
๗. วิญญาณัญจายตนสัญญาของท่านผู้เข้าอากิญจัญญายตนสมาบัติย่อมดับไป
๘. อากิญจัญญายตนสัญญาของท่านผู้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
ย่อมดับไป
๙. สัญญาและเวทนาของท่านผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธย่อมดับไป ฯที่มา
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=11&A=4501&Z=7015ขอบคุณภาพจาก
http://www.jepata.com/
เมื่อสูตรนี้พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัสโดยตรง แต่พระองค์สั่งให้พระสารีบุตรแสดงธรรมแทน มูลเหตุของสูตรนี้มีอยู่ดังนี้ (ขอยกเอาข้อหมายในพระไตรปิฎก ฉบับประชาชน โดย อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ มาแสดง)๑๐. สังคีติสูตร
สูตรว่าด้วยการร้อยกรองหรือสังคายนาคำสอน
พระผู้มีพระภาค พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จจาริกในแคว้นมัลละ ทรงแวะ ณ นครปาวา ประทับอยู่ในป่ามะม่วงของนายจุนทะบุตรช่างทอง.
ครั้งนั้น มัลลกษัตริย์สร้างสัณฐาคารขึ้นใหม่ ยังไม่มีใครใช้ เมื่อทราบว่าพระผู้มีพระภาคเสด็จมาจึงนิมนต์ให้ทรงใช้ก่อน มัลลกษัตริย์จะใช้ภายหลัง พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว เสด็จไปพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์. พระองค์เองประทับนั่งพิงเสากลาง ภิกษุสงฆ์นั่งพิงฝาด้านตะวันออก มัลลกษัตริย์นั่งพิงฝาด้านตะวันตก
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมจนดึก จึงตรัสให้มัลลกษัตริย์กลับได้. ครั้นเห็นภิกษุสงฆ์ยังไม่ง่วง จึงตรัสสั่งพระสารีบุตรให้แสดงธรรมแทน. พระองค์เองทรงปูผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้น ทรงพักผ่อนสำเร็จสีหไสยา ( บรรทมแบบราชสีห์ คือตะแคงขวา ).
พระสารีบุตรปรารภความที่นครถนาฏบุตรถึงแก่กรรม สาวกแตกกันเป็นสองฝ่าย โต้เถียงกันด้วยเรื่องธรรมวินัย จึงสอนแนะให้ภิกษุทั้งหลายสังคายนาพระธรรมไม่วิวาทกัน เพื่อให้พรหมจรรย์ตั้งอยู่ยั่งยืน. ครั้นแล้วท่านได้แสดงตัวอย่างการสังคายนาธรรมเป็นหมวด ๆ ที่มา
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/3.4.htmlขอบคุณภาพจาก
http://www.bds53.com/
บทสรุปของพระสูตรที่ต้องการให้เข้าใจก็คือ เมื่ออยู่ในฌานที่ ๔ ลมหายใจเข้าออกจะดับ คือ ไม่หายใจนั่นเอง แต่ไม่ได้ตายนะครับ ความรู้สึกหรือเวทนายังมีอยู่ คือ มีสติรู้ตัวอยู่
ความรู้สึกหรือเวทนาจะดับจริงๆ เมื่ออยู่ในสัญญาเวทยิตนิโรธเท่านั้น