ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การทำบุญ สังฆทาน แบบที่วัดจัดไว้ให้เราซื้อแล้ว เวียนไป เวียนมา นี้ ได้บุญอย่างไร  (อ่าน 4813 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

colo

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 44
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เวลาไปทำบุญ ถวายสิ่งขอพระสงฆ์ ก็มีการเตรียมถัง บ้าง ดอกไม้ บ้าง และ หรืออื่น ๆ บ้างมาให้ วันนั้นผมรับ เวียนเป็นคิวที่เท่าไหร่แล้วก็ไม่รู้ ไปกับแฟน ก็เลยไม่ขัด พระก็รับ ไว้เสร็จแล้วก็นำมาจำหน่าย ให้คนต่อไปที่เข้าไปอีก ผมยืนมอง อยู่สักครู่หนึ่ง จึงสงสัยว่า ผมจะได้บุญหรือไม่ หรือ บุญ หมายถึง ความสบายใจ เท่านั้น

  ถ้าบุญ คือ ความสบายใจ ผมเองเพียงนึำก ก็ได้บุญแล้ว อย่างนี้ไม่ต้องไปทำบุญอย่างนั้นก็ได้ใช่หรือไม่ครับ

  ช่วยตอบผมหน่อยนะครับ กำลังสงสัยเป็นอย่างมากครับ

  :25: :c017: :25: :c017: :smiley_confused1: :smiley_confused1: :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28595
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

3.4 วิธีการทำทาน       
   
          เงื่อนไขที่จะทำให้การทำทาน แต่ละครั้งมีความสมบูรณ์พร้อม คือ ทำแล้วได้ผลบุญมาก จะมีองค์ประกอบสำคัญๆ อยู่หลายประการ เช่น ในเบื้องต้นต้องมีศรัทธา มีไทยธรรม และมีผู้รับทาน โดยเฉพาะที่เป็นทักขิไณยบุคคล ผู้เป็นเนื้อนาบุญอันเลิศ

           นอกจากองค์ประกอบสำคัญทั้งสามนั้นแล้ว ยังมีสิ่งสำคัญอื่นอีก เช่น กำหนดเวลาที่จะทำทานได้ (กาลทาน) เจตนาและกิริยาอาการที่เราให้ เป็นต้น ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้ บางครั้งไม่อยู่ในขอบเขตที่ เราสามารถกำหนดเองได้ เช่น อยากถวายผ้ากฐิน แต่ยังไม่ถึงกาล หรืออยากทำทาน แต่ได้ผู้รับไม่มีศีล เป็นต้น

           อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ทานที่เราทำไปได้บุญมากที่สุด ก็ควรเตรียมตัวของเราเองให้พร้อมไว้  โดยเมื่อจะทำทานครั้งใด ก็ให้ทำไปตามลำดับดังนี้ คือ

           3.4.1 ตั้งใจ ทำเจตนาของเราให้บริสุทธิ์ก่อนที่จะทำทาน ด้วยการระลึกนึกถึงคุณของพระรัตนตรัย และคุณประโยชน์ของการทำทาน ที่ทำให้เราชนะความตระหนี่ในใจของเราได้ เป็นการชำระใจให้สะอาด บริสุทธิ์ ปลูกจิตให้เลื่อมใสศรัทธา และปีติยินดีอย่างเต็มที่ว่าเราจะได้ทำทานในครั้งนี้

           3.4.2 แสวงหาไทยธรรม (สิ่งของที่ควรให้ทาน) ด้วยความเพียรที่บริสุทธิ์ ให้เหมาะสมและดูควรแก่ผู้รับ เมื่อได้มาแล้วพึงจัดแจงตกแต่งให้งดงาม สะอาด ประณีต ให้เป็นสามีทาน และควรให้ทานให้ ครบถ้วนตามคำสอนที่มีมาในพระไตรปิฎก คือทานในพระสูตร พระวินัย และพระอภิธรรม จะทำให้ได้  บุญกุศลที่ยิ่งใหญ่เป็นพิเศษ

           3.4.3 ทำตนเองให้บริสุทธิ์ก่อนที่จะให้ทาน ด้วยการสมาทานศีล 5 หรือศีล 8 แล้วนั่งสมาธิ กลั่นใจให้ใสสะอาดบริสุทธิ์ นึกถึงปฏิคาหก (ผู้รับ) เสมือนท่านเป็นพระอรหันต์ หรือเป็นตัวแทนของสงฆ์ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

           3.4.4 ตั้งจิตอธิษฐาน ด้วยการยกทานนั้น จบ เหนือศีรษะว่า ขอให้ทานของข้าพเจ้านี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ตนและผู้อื่น....จะเริ่มต้นด้วยให้ความสมบูรณ์พูน สุขหรือด้วยอะไรก็ตาม แต่ลงท้ายให้เป็น....นิพพานปัจจโย โหตุ (จงเป็นปัจจัยเพื่อพระนิพพาน) ดังที่บัณฑิตทั้งหลาย ในกาลก่อนจบอธิษฐานก่อนให้ทานว่า.....ขอให้พบดวงแก้ว ขอให้แคล้วบ่วงมาร ขอให้ถึงพระนิพพาน ในอนาคตกาลเทอญ จะทำให้ใจของเราใสสะอาดเต็มที่ในขณะที่ให้

           3.4.5 เมื่อทำทานเสร็จแล้ว ให้สละทานขาดออกจากใจ ไม่คิดเสียดายทรัพย์เลย ให้ปีติเบิกบาน ใจทุกครั้งที่นึกถึงทานที่ทำแล้ว บุญจากการทำทานนั้นก็จะส่งผลเต็มที่ทันที เมื่อบุญเกิดขึ้นแล้ว ควรอุทิศส่วนกุศลผลบุญนั้น เป็นปัตติทานมัย จะด้วยการกรวดน้ำให้ หรือตั้งจิตอุทิศให้ก็ได้ ขอเพียงจิตเป็นสมาธิ บุญจึงจะสำเร็จประโยชน์ ด้วยคำอุทิศส่วนกุศล ฯลฯ

            .............................


3.5.3 ทำทานต่างกันให้ผลไม่เหมือนกัน       

           การทำทานทุกครั้งย่อมมีอานิสงส์ดังที่ได้กล่าวมาแล้วแต่ต้น แต่ผลที่เกิดขึ้นก็ใช่ว่าจะเหมือนกันทุก ครั้งไป เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยรอบข้างหลายประการ ตั้งแต่ความต่างแห่งวัตถุ ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ  ที่ให้เจตนาที่ให้ทาน กาลเวลาที่ให้ทาน หรือผู้รับทานแตกต่างกัน เป็นต้น ซึ่งจะได้ยกความแตกต่างในการทำทานมาดังนี้
       
           ความแตกต่างที่เจตนา 3 กาล               

          ผู้ใดก่อนที่จะให้ทานเกิดความดีใจ (ปุพพเจตนาบริสุทธิ์) อานิสงส์แห่งบุญย่อมส่งผลในภพชาติหน้า ให้ชีวิตในปฐมวัย (ตั้งแต่เกิดถึงอายุ 25 ปี) ของผู้นั้นพบแต่ความสมบูรณ์พูนสุขเพียบพร้อมไปด้วยสิ่งดีงาม
               
          ผู้ใดขณะที่ให้ทาน เกิดความเลื่อมใส (มุญจนเจตนาบริสุทธิ์) อานิสงส์แห่งบุญย่อมส่งผลในภพชาติ หน้า ให้ชีวิตในมัชฌิมวัย (อายุ 26-50 ปี) ของผู้นั้น พบกับความสุข ความสบาย บริบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์สมบัติ
               
          ผู้ใดหลังจากที่ให้ทานแล้ว เกิดความเบิกบานใจ ไม่เสียดายทรัพย์ (อปราปรเจตนาบริสุทธิ์) อานิสงส์แห่งบุญย่อมส่งผลในภพชาติหน้า ให้ชีวิตในปัจฉิมวัยของผู้นั้น (อายุ 51 ปี ขึ้นไป) ถึงพร้อมด้วย ความสุข สมหวังในสิ่งอันพึงปรารถนาทุกประการ สามารถใช้ทรัพย์ได้อย่างเบิกบานใจ ไม่เป็นเศรษฐีที่มีความตระหนี่ถี่เหนียว
         
           และเมื่อผู้ใดสามารถรักษาเจตนาให้บริสุทธิ์ครบทั้ง 3 ระยะอย่างนี้ได้ ก็ย่อมได้บุญมาก และมีความสุขสมบูรณ์ไปจนตลอดชีวิต
         
           จะเห็นได้ว่าเจตนามี 3 ระยะ แต่ละระยะจะส่งผลในแต่ละวัย ถ้าเจตนาดีจะส่งผลดี แต่ถ้าเจตนา ระยะใดเสียไป วัยนั้นก็จะเสียไปด้วย เช่น ก่อนจะให้ทาน ผู้ให้รู้สึกไม่ค่อยเต็มใจนัก แต่ครั้นถึงเวลาให้ เห็นพระภิกษุจำนวนมากมาย จึงเกิดความเลื่อมใสขึ้น ยินดีในการให้นั้น และหลังจากให้แล้ว นึกถึงบุญทีไร ก็เกิดความปีติเบิกบานใจทุกครั้ง

          บุญที่ทำนี้จะส่งผลให้เกิดในภพชาติหน้า คือ ในช่วงปฐมวัย จะมีชีวิตที่ลำบาก ต้องต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆ มากมาย ต่อเมื่อถึงมัชฌิมวัย จึงจะเริ่มประสบกับความสุข ความสำเร็จ และ   ปัจฉิมวัยก็มีความสุขความสบาย สามารถใช้ทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สุข และสร้างบุญกุศลได้อย่างเต็มที่ เป็นต้น
         
           อีกนัยหนึ่ง ในภพชาตินี้ ถ้าในช่วงปฐมวัยเรามีความสุขดี มัชฌิมวัยก็เจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน แต่ปัจฉิมวัยกลับพบแต่อุปสรรค มีทรัพย์ก็เสียดาย ไม่กล้าทำบุญ ไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย แสดงว่าในอดีตนั้น เวลาทำบุญ ปุพพเจตนาและมุญจนเจตนาดี แต่อปราปรเจตนาเสียไป ทำบุญแล้วใจไม่เลื่อมใส เสียดายทรัพย์ ดังนี้เป็นต้น
         
           ดังที่ได้เคยกล่าวมาแล้วว่า การให้ทานจะมีผลมากนั้น ต้องขึ้นอยู่กับเจตนาที่บริสุทธิ์ของผู้ให้ทั้ง 3 ระยะ เป็นสำคัญ คือ ก่อนให้ก็ดีใจ ขณะให้ก็เลื่อมใส และหลังจากให้แล้วก็ปีติเบิกบานใจ หากสามารถประคองเจตนาทั้ง 3 ระยะนี้ได้  นั่นย่อมหมายถึงอานิสงส์ผลบุญที่จะเกิดขึ้นอย่างสุดประมาณ


อ้างอิง

ที่มา http://main.dou.us/view_content.php?s_id=385
ขอบคุณภาพจาก http://gotoknow.org/,http://www.banmaesa.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28595
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
3.5.3 ทำทานต่างกันให้ผลไม่เหมือนกัน       

           การทำทานทุกครั้งย่อมมีอานิสงส์ดังที่ได้กล่าวมาแล้วแต่ต้น แต่ผลที่เกิดขึ้นก็ใช่ว่าจะเหมือนกันทุก ครั้งไป เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยรอบข้างหลายประการ ตั้งแต่ความต่างแห่งวัตถุ ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ  ที่ให้เจตนาที่ให้ทาน กาลเวลาที่ให้ทาน หรือผู้รับทานแตกต่างกัน เป็นต้น ซึ่งจะได้ยกความแตกต่างในการทำทานมาดังนี้
       
           ความแตกต่างที่เจตนา 3 กาล               

          ผู้ใดก่อนที่จะให้ทานเกิดความดีใจ (ปุพพเจตนาบริสุทธิ์) อานิสงส์แห่งบุญย่อมส่งผลในภพชาติหน้า ให้ชีวิตในปฐมวัย (ตั้งแต่เกิดถึงอายุ 25 ปี) ของผู้นั้นพบแต่ความสมบูรณ์พูนสุขเพียบพร้อมไปด้วยสิ่งดีงาม
               
          ผู้ใดขณะที่ให้ทาน เกิดความเลื่อมใส (มุญจนเจตนาบริสุทธิ์) อานิสงส์แห่งบุญย่อมส่งผลในภพชาติ หน้า ให้ชีวิตในมัชฌิมวัย (อายุ 26-50 ปี) ของผู้นั้น พบกับความสุข ความสบาย บริบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์สมบัติ
               
          ผู้ใดหลังจากที่ให้ทานแล้ว เกิดความเบิกบานใจ ไม่เสียดายทรัพย์ (อปราปรเจตนาบริสุทธิ์) อานิสงส์แห่งบุญย่อมส่งผลในภพชาติหน้า ให้ชีวิตในปัจฉิมวัยของผู้นั้น (อายุ 51 ปี ขึ้นไป) ถึงพร้อมด้วย ความสุข สมหวังในสิ่งอันพึงปรารถนาทุกประการ สามารถใช้ทรัพย์ได้อย่างเบิกบานใจ ไม่เป็นเศรษฐีที่มีความตระหนี่ถี่เหนียว
         
           และเมื่อผู้ใดสามารถรักษาเจตนาให้บริสุทธิ์ครบทั้ง 3 ระยะอย่างนี้ได้ ก็ย่อมได้บุญมาก และมีความสุขสมบูรณ์ไปจนตลอดชีวิต
         
           จะเห็นได้ว่าเจตนามี 3 ระยะ แต่ละระยะจะส่งผลในแต่ละวัย ถ้าเจตนาดีจะส่งผลดี แต่ถ้าเจตนา ระยะใดเสียไป วัยนั้นก็จะเสียไปด้วย เช่น ก่อนจะให้ทาน ผู้ให้รู้สึกไม่ค่อยเต็มใจนัก แต่ครั้นถึงเวลาให้ เห็นพระภิกษุจำนวนมากมาย จึงเกิดความเลื่อมใสขึ้น ยินดีในการให้นั้น และหลังจากให้แล้ว นึกถึงบุญทีไร ก็เกิดความปีติเบิกบานใจทุกครั้ง

          บุญที่ทำนี้จะส่งผลให้เกิดในภพชาติหน้า คือ ในช่วงปฐมวัย จะมีชีวิตที่ลำบาก ต้องต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆ มากมาย ต่อเมื่อถึงมัชฌิมวัย จึงจะเริ่มประสบกับความสุข ความสำเร็จ และ   ปัจฉิมวัยก็มีความสุขความสบาย สามารถใช้ทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สุข และสร้างบุญกุศลได้อย่างเต็มที่ เป็นต้น
         
           อีกนัยหนึ่ง ในภพชาตินี้ ถ้าในช่วงปฐมวัยเรามีความสุขดี มัชฌิมวัยก็เจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน แต่ปัจฉิมวัยกลับพบแต่อุปสรรค มีทรัพย์ก็เสียดาย ไม่กล้าทำบุญ ไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย แสดงว่าในอดีตนั้น เวลาทำบุญ ปุพพเจตนาและมุญจนเจตนาดี แต่อปราปรเจตนาเสียไป ทำบุญแล้วใจไม่เลื่อมใส เสียดายทรัพย์ ดังนี้เป็นต้น
         
           ดังที่ได้เคยกล่าวมาแล้วว่า การให้ทานจะมีผลมากนั้น ต้องขึ้นอยู่กับเจตนาที่บริสุทธิ์ของผู้ให้ทั้ง 3 ระยะ เป็นสำคัญ คือ ก่อนให้ก็ดีใจ ขณะให้ก็เลื่อมใส และหลังจากให้แล้วก็ปีติเบิกบานใจ หากสามารถประคองเจตนาทั้ง 3 ระยะนี้ได้  นั่นย่อมหมายถึงอานิสงส์ผลบุญที่จะเกิดขึ้นอย่างสุดประมาณ


อ้างอิง

ที่มา http://main.dou.us/view_content.php?s_id=385


เวลาไปทำบุญ ถวายสิ่งขอพระสงฆ์ ก็มีการเตรียมถัง บ้าง ดอกไม้ บ้าง และ หรืออื่น ๆ บ้างมาให้ วันนั้นผมรับ เวียนเป็นคิวที่เท่าไหร่แล้วก็ไม่รู้ ไปกับแฟน ก็เลยไม่ขัด พระก็รับ ไว้เสร็จแล้วก็นำมาจำหน่าย ให้คนต่อไปที่เข้าไปอีก ผมยืนมอง อยู่สักครู่หนึ่ง จึงสงสัยว่า ผมจะได้บุญหรือไม่ หรือ บุญ หมายถึง ความสบายใจ เท่านั้น

  ถ้าบุญ คือ ความสบายใจ ผมเองเพียงนึำก ก็ได้บุญแล้ว อย่างนี้ไม่ต้องไปทำบุญอย่างนั้นก็ได้ใช่หรือไม่ครับ

  ช่วยตอบผมหน่อยนะครับ กำลังสงสัยเป็นอย่างมากครับ

  :25: :c017: :25: :c017: :smiley_confused1: :smiley_confused1: :smiley_confused1:

      ปัญหาสังฆทานเวียนนี้ เป็นปัญหาที่หลายคนให้ความสนใจ ตัวผมเองก็เคยประสบมาแล้ว

     พอผมเห็นว่าเป็นของเวียนแล้ว จิตใจก็ไม่เบิกบาน ทั้งก่อนให้ ขณะให้ และหลังให้
     เรื่องบุญจะได้หรือไม่ ส่วนตัวคิดว่า ตอนนั้นผมได้บุญน้อยมาก
     เพราะจิตใจไม่เบิกบานเลย ทั้งสามกาล


     ปัญหาของเจ้าของกระทู้น่าจะอยู่ที่ หลังให้แล้วจิตใจที่ไม่เบิกบาน เพราะมีความลังเลสงสัย
     จากข้อความด้านบน พอจะสรุปได้ว่า การทำบุญจะได้ผลสูงสุด ต้องมีเจตนาบริสุทธิ์ และมีจิตเบิกบาน

     ดังนั้น น่าจะตอบคำถามได้ว่า ที่คุณทำไปนั้น ได้บุญแน่นอน แต่อาจไม่มากนัก

     ส่วนคำถามที่ว่า ถ้า บุญ คือ ความสบายใจ ไม่ต้องทำบุญได้ไหม เพียงแต่นึกๆเอาให้สบายใจ
     ตอบว่า การไม่ได้ทำบุญด้วยตัวเอง แล้วได้บุญ มีเพียงวิธีเดียวครับ คือ ปัตตานุโมทนามัย
     หมายถึง การอนุโมทนานั่นเอง


     อย่างไรก็ตาม เหตุที่บางวัดใช้สังฆทานเวียน อาจเนื่องมาจาก วัดนั้นมีสังฆทานเยอะแล้ว และมีความต้องการเงินสดไปทำกิจกรรมต่างๆของวัด
     แต่ที่ผมเห็นและทราบมา บางวัดก็นำสังฆทานที่มีเกินความต้องการ ไปใ้ห้วัดอื่นๆที่ญาติโยมไม่ค่อยได้เข้าไป


     สุดท้ายครับ มีบางท่านกล่าวว่า เทคนิคการทำำสังฆทานให้ได้บุญมาก ต้องรู้ว่าวัดนั้นขาดอะไร ต้องเลือกซื้อด้วยตัวเอง ต้องห่อด้วยตัวเอง ต้องทำทุกอย่างด้วยตัวเอง
     อย่าลืมใช้เงินของตัวเอง...นะครับ
:49:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ขอบคุณ คุณปุ้มมากนะค่ะ ดิฉันก็เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้ ทุกวันนี้ก็ยังสงสัยอยู่จนได้มาอ่านข้อมูลของคุณ ปุ้มจึงหายสงสัย :c017:
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ