อภัย, อภัย-
[อะไพ, อะไพยะ-] น. ความไม่มีภัย, ความไม่ต้องกลัว. (ป., ส.), นิยมใช้ประกอบกับคําอื่น เช่น ขออภัย หมายความว่า ขอให้ยกโทษให้ ขออย่าได้ถือโทษ, ให้อภัย หมายความว่า ยกโทษให้.ก. ยกโทษ เช่น ฉันอภัยให้เธอ.
ภัย
น. สิ่งที่น่ากลัว, อันตราย, เช่น อัคคีภัย คือ ภัยที่เกิดจากไฟ อุทกภัย คือ ภัยที่เกิดจากน้ำ. (ป., ส. ภย).
เวร
น. ความพยาบาท, ความปองร้าย, บาป, เช่นเวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร; คําแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมของตนในอดีต เช่นเวรของฉันแท้ ๆ ทำเงินเดือนหายไปทั้งเดือน, กรรมเวร หรือ เวรกรรม ก็ว่า. (ป.; ส. ไวร).ที่มา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
อภัยทาน ให้ความไม่มีภัย, ให้ความปลอดภัยที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
คหบดีวรรคที่ ๕
๑. ปัญจเวรภยสูตรที่ ๑
[๑๕๒] ภัยเวร ๕ ประการสงบแล้วเป็นไฉน ดูกรคฤหบดี
บุคคลผู้ฆ่าสัตว์ ย่อมประสพภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์ คือโทมนัสบ้าง เพราะปาณาติบาตเป็นเหตุ ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากปาณาติบาตสงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้
บุคคลผู้ลักทรัพย์ย่อมประสพภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์ คือโทมนัสบ้าง เพราะอทินนาทานเป็นเหตุ ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากอทินนาทานสงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้
บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม ย่อมประสพภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะกาเมสุมิจฉาจารเป็นเหตุ ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจารสงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้
บุคคลผู้พูดเท็จ ย่อมประสพภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้างเพราะมุสาวาทเป็นเหตุ ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากมุสาวาทสงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้
บุคคลผู้ตั้งอยู่ในความประมาท เพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยย่อมประสพภัยเวรใด อันมีในชาตินี้บ้าง อันมีในชาติหน้าบ้าง ย่อมเสวยเจตสิกทุกข์คือโทมนัสบ้าง เพราะการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเป็นเหตุ ภัยเวรของอริยสาวกผู้เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทสงบแล้วด้วยอาการอย่างนี้ ภัยเวร ๕ ประการนี้สงบแล้ว ฯอ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๑๘๑๒ - ๑๘๘๓. หน้าที่ ๗๕ - ๗๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=1812&Z=1883&pagebreak=0ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=151
การให้อภัย อยู่ตรงข้ามกับ การให้ภัย
ในพระไตรปิฎกกล่าวถึง ภัยเวร ๕ ประการเอาไว้ ซึ่งก็หมายถึง ศีล ๕ นั่นเอง
ดังนั้น หากเราจะสรุปง่ายๆ ก็จะต้องให้ความหมายของคำว่า "ให้อภัย" ก็คือ "การถือศีล" นั่นเอง
ศีลมีหลายระดับ ศีลของปุถุชนที่ควรปฏิบัติ น่าจะเป็น"อินทรียสังวรศีล" คือ ใช้สติ ในการสำรวมกาย วาจา ใจ
รู้สึกเหนื่อยแล้วครับ ขอพักก่อน มีโอกาสจะมาคุยใหม่ 