ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: คนไทยใช่กบเฒ่า? เถรวาท vs. ลัทธิอาจารย์ (1)  (อ่าน 2396 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28595
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

คนไทยใช่กบเฒ่า? เถรวาท vs. ลัทธิอาจารย์ (1)

พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)

พระพรหมคุณาภรณ์ : มีอะไรจะคุยกัน ก็ว่ากันไป คราวที่แล้วมีอะไรติดค้างอยู่ หรือจะต่อเลย หรือจะเปลี่ยนเรื่อง ก็แล้วแต่ท่าน


พระนวกะ : ครั้งที่แล้วค้างไว้ เป็นเรื่องที่จะเรียนถามในครั้งนี้ ก็คือปัญหาที่มีการเข้าใจผิดต่อคำว่า "เถรวาท" โดยมีคอลัมนิสต์เอาไปใช้ในทางที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดพลาดในความหมาย ก็เลยจะถามในประเด็นที่มาของคำว่า "เถรวาท" และการทำความเข้าใจที่ถูกต้อง ในแง่มุมต่างๆ


พระพรหมคุณาภรณ์ : เอาเป็นว่าอะไรเป็นตัวปัญหาเกิดขึ้น ก็ตอบให้ตรงตัวปัญหานั้นไปเลย ดีไหม

พระนวกะ : ดีครับ

พระพรหมคุณาภรณ์ : มีคอลัมนิสต์ว่า ก็ขอทราบที่เขาว่าอย่างไรก่อน แล้วค่อยตอบให้ตรงกับที่เขาว่า

พระนวกะ : ปัญหานั้น เกิดจากบทความในหนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2551 ก็คือว่า มีบทความชื่อว่า "การศึกษา 'แห่งชาติ' ของไทย ใน 'วิถีเถรวาท' ท่องจำคำครูเป็นสำคัญ" ซึ่งเขียนโดย สุจิตต์ วงษ์เทศ ต้องอ่านคอลัมน์ด้วยไหมครับ


พระพรหมคุณาภรณ์ : ดี ท่านที่มานี่อาจจะยังไม่ได้ฟัง ยังไม่ได้อ่านกันหมด ก็จะได้ฟัง แล้วเราจะได้ทราบข้อมูลที่เราจะพูดถึง คือสิ่งที่เราจะพูดถึง เราก็ต้องรู้ให้ชัด และพูดให้ตรงกับที่เขาว่า


บทความที่ 1 : วิถีเถรวาท

พระนวกะ : ขออนุญาตอ่านบทความให้ฟัง :
"มติชน" วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ.2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11022
คอลัมน์ สยามประเทศไทย โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ
การศึกษา "แห่งชาติ" ของไทย ใน "วิถีเถรวาท"ท่องจำคำครูเป็นสำคัญ

อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ

(มีภาพประกอบนำเรื่อง เข้าใจว่าเป็นภาพนิสิต นักศึกษา หรือนักเรียนในเครื่องแบบ นั่งพับเพียบบนพื้นห้องประชุมในพิธีไหว้ครู มีคำบรรยายใต้ภาพว่า วิถีเถรวาทในเครื่องแบบการศึกษา "แห่งชาติ" ต่อจากนั้น เป็นตัวบทความ ดังต่อไปนี้)

การศึกษา "แห่งชาติ" ระดับอุดมศึกษาของไทยอยู่ในภาวะด้อยประสิทธิภาพ เห็นชัดเจนมาก จนเป็นที่รับรู้ทั่วกัน สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาเลยต้องจัดประชุมสัมมนาวิพากษ์การอุดมศึกษาไทย ในปลายเดือนพฤษภาคมนี้

เอกสารของสำนักงานฯ ระบุว่า "ในปัจจุบันอุดมศึกษาในภาพรวมประสบปัญหาเกี่ยวกับขาดปรัชญาแนวทางการบริหารจัดการที่ชัดเจน" และมีรายละเอียดว่า

"ขีดความสามารถในด้านการแข่งขันของมหาวิทยาลัยไทยในปัจจุบันมีการถดถอยลงอย่างต่อเนื่อง โดยสังเกตได้จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่กระทำโดยหน่วยงานต่างๆ อาทิ Times Higher Education ซึ่งในปี ค.ศ.2005-2006 มีมหาวิทยาลัยไทยเพียง 1 แห่งติดอันดับ

แต่ในการประเมินครั้งล่าสุดมหาวิทยาลัยไทยไม่ติดกลุ่มมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีคุณภาพทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมต่ำ โครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับท้ายๆ ของประเทศที่ได้รับการจัดอันดับ"

"การศึกษาของธนาคารโลกในเรื่องการอุดมศึกษาในประเทศกำลังพัฒนาที่ระบุว่าปัจจัยทำให้มหาวิทยาลัยในกลุ่มประเทศเหล่านี้ถดถอยลง ได้แก่
    1. คุณภาพของคณาจารย์ในมหาวิทยาลัย
    2. ปัญหาที่นักศึกษาประสบ
    3. ทรัพยากรที่ไม่เพียงพอและความเป็นอิสระของมหาวิทยาลัย และ
    4. การเมืองในมหาวิทยาลัย เช่น การได้มาของผู้บริหารโดยการเลือกตั้งของมหาวิทยาลัย"


เหตุที่อุดมศึกษา "แห่งชาติ" ของไทยด้อยประสิทธิภาพก็เพราะ มีวิถีคิดอย่าง "เถรวาท" หมายถึงท่องจำตามคำสอน (วาทะ) ของครูอาจารย์ (เถระ) เป็นใหญ่สุด ใครจะละเมิดหรือสงสัยมิได้

ถ้าไม่ปรับเปลี่ยนวิถีเถรวาทให้ลดลงหรือเลิกไป ก็เปลี่ยนอย่างอื่นไม่ได้ หรือเปลี่ยนได้ลำบากมากจนไม่เปลี่ยน



ที่มา http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdNekkyTVRJMU5BPT0=&sectionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE1TMHhNaTB5Tmc9PQ==
ขอบคุณภาพจาก http://www.watnyanaves.net/,http://www.meiq3.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: คนไทยใช่กบเฒ่า? เถรวาท vs. ลัทธิอาจารย์ (1)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 26, 2011, 11:41:45 am »
0
 :smiley_confused1: :smiley_confused1: :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ