อานาปานสติ จัดว่าเป็นทั้งหมด ที่พระพุทธเจ้าสอนแล้ว นะจ๊ะ
เพราะ พระศาสดา พระองค์เองนั้นถึงสอนธรรม มากมาย แต่ พระธรรมที่ทรงปฏิบัติ ทุกวัน ก็คือ อานาปานสติ นะจ๊ะ เพื่อความเข้าใจจะแสดง สโตริกาญาณ 16 ให้เห็นก่อน จะได้ทราบว่าเป็น สติปัฏฐาน 4 ตรงส่วนไหนบ้าง
อานาปานัสสะติ
กายานุปัสสนา
1.เป็นผู้มีสติ หายใจเข้า และ หายใจออก
2.หายใจเข้ายาว หายใจออกยาว ก็มีสติรู้ชัด ว่า หายใจเข้ายาว หายใจออกยาว
3.หายใจเข้าสั้น หายใจออกสั้น ก็มีสติรู้ชัด ว่า หายใจเข้าสั้น หายใจออกสั้น
4.ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้กาย ทั้งปวง หายใจเข้า และ หายใจออก
เวทนานุปัสสนา
5.ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขาร ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
6.ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติ ทั้งหายใจเข้า หายใจออก
7.ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตตสังขาร ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
8.ย่อมศึกษาว่า จักระงับ จิตตสังขาร ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
จิตตานุปัสสนา
9.ย่อมศึกษาว่า จักกำหนด รู้จิต ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
10.ย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิง ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
11.ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่น ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
12.ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิต ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
ธรรมานุปัสสนา
13.ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความเป็นของไม่เที่ยง ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
14.ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความคลายกำหนัด ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
15.ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความดับสนิท ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
16.ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความสลัดคืน ทั้งหายใจเข้า และ หายใจออก
อ่านเพิ่มเติมจากลิงก์
อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อการภาวนา
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=811.0 ที่นี้มีหลายท่านสงสัยว่า ทำไมกรรมฐาน มัชฌิมา จึงมีห้อง อนุสสติ 7 ต่อจาก พระอานาปานสติอีก คำตอบก็คือ เมื่อเจริญ อานาปานสติ คุณธรรมก็จะเข้าไปสู่ อนุสสติเอง ถึงแม้จะไม่รู้ขั้นตอนแต่ด้วยอำนาจญาณที่รู้ก็จะรู้ไปตามลำดับ ของอนุสสติ ที่เหลือ อันนี้ก็สำหรับท่านที่เจริญมุ่งหวังที่ การบรรลุ มรรค ผล นิพพาน นะจ๊ะ
แต่ก้มีส่วนหนึ่ง ยังไม่ต้องการบรรลุ จึงต้องดำเนินจิตไปตาม ฌาน แต่กรรมฐาน มัชฌิมา ก็สอนที่ ปัญจมฌาน ก่อนนะ
คำตอบถึงแม้ จะดูชื่อกรรมฐาน มากมายก็จริง แต่ กรรมฐานนัันก็เป็นสภาวะ ลำดับขั้น ต่อเนื่องไป เป็นไปตามลำดับ นะจ๊ะ ขึ้นอยู่ผู้ฝึก จะมีกำลัง บารมีธรรมเป็น เจโตวิมุตติ หรือ ปัญญาวิมุตติ ด้วยนะจ๊ะ
เจริญธรรม
