มหาสถูปแห่งเกสรียา ต้นกำเนิดของกาลามสูตร
ที่มา หนังเล่าเรื่องอินเดีย ภาค ๓ เขียนโดย venfaa
http://www.kanlayanatam.com/tammabook.htm
กาลามสูตรกังขานิยฐาน ๑๐ (หมายถึง วิธีปฏิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อ ที่ตรัสไว้ในกาลามสูตร)
๑.
มา อนุสฺสเวน (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา)
๒.
มา ปรมฺปราย (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา)
๓.
มา อิติกิราย (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ)
๔.
มา ปิฎกสมฺปทาเนน (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์)
๕.
มา ตกฺกเหตุ (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก)
๖.
มา นยเหตุ (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน)
๗.
มา อาการปริวิตกฺเกน (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล)
๘.
มา ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว)
๙.
มา ภพฺพรูปตาย (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ )
๑๐.
มา สมโณ โน ครูติ (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา)
ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น
สูตรนี้ ในบาลีเรียกว่า เกสปุตติยสูตร ที่ชื่อกาลามสูตร เพราะทรงแสดงแก่ชนเผ่ากาลามะ แห่งวรรณะกษัตริย์ ที่ชื่อเกสปุตติยสูตร เพราะพวกกาลามะนั้นเป็นชาวเกสปุตตนิคม A.I.189 องฺ.ติก.๒๐/๕๐๕/๒๔๑.
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)