ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: คนไทยใช่กบเฒ่า? เถรวาท vs. ลัทธิอาจารย์ (12)  (อ่าน 2146 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29305
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


คนไทยใช่กบเฒ่า? เถรวาท vs. ลัทธิอาจารย์ (12)
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)

ดูสังคมไทย ก่อนเข้าใจเถรวาท

เมื่อคนไทยเมินถิ่น หมิ่นของไทย

ที่จริง เรื่องนี้มีแง่มองเยอะเลย ตั้งแต่ในแง่ของสภาพสังคมไทย ซึ่งแม้จะไม่อยู่ในตัวประเด็น ก็เป็นเรื่องเกี่ยวโยงที่สำคัญ จึงน่าจะพูดถึงด้วย

เมื่อกี้ ได้บอกว่า เรื่องนี้มีประเด็นสั้นๆ 2 ข้อนิดเดียว แต่สองข้อนิดเดียวนั้นมันโยงไปหาเรื่องอื่นอีกเยอะเลย ตอนนี้ก็อยากจะพูดเรื่องปลีกย่อยเล็กๆ น้อยๆ ก่อน คือปัญหาเรื่องพื้นความรู้หรือฐานความเข้าใจของคนไทย

เรื่องที่ถูกติเตียนนี้ ควรจะมองให้ได้ประโยชน์ อย่างน้อยก็เป็นเครื่องกระตุกเตือนให้เรามองดูตัว สำรวจตนเอง จะเห็นว่า พอคุณสุจิตต์เขียนบทความนี้ออกมา เรื่องก็ฟ้องเลยว่า คนไทยเรานี้ แม้แต่ความรู้ข้อมูล ความรู้พื้นๆ เกี่ยวกับเรื่องของตัวเองนี้ ก็อ่อนอย่างมาก

ถ้าเราถือว่าพระพุทธศาสนา แล้วก็โดยเฉพาะคือแบบที่เรารับเอามา ที่เรียกว่าแบบเถรวาทนี้ เราบอกว่าเรานับถือกันมาไม่รู้กี่ร้อยปีแล้ว แต่เราก็ไม่ค่อยรู้เรื่อง เขาว่าอะไรมา ก็ไม่มีหลักไม่มีข้อรู้ไม่มีข้อมูลที่จะเอามาใช้พิจารณา ได้แต่ฟังตามเขางงๆ ไป บทความที่เขาเขียนนี้เป็นเรื่องที่ฟ้องให้ทราบสภาพอันนี้

อย่างที่ผมเคยเล่าที่นี่ว่า ถอยหลังไปใกล้ๆ พ.ศ. 2490 ตอนนั้นท่านยังไม่เกิดกันใช่ไหม ที่ผมบอกว่าตอนนั้นคนไทยกำลังหันไปมองข้างนอก พากันฝากความหวังไว้กับอารยธรรมตะวันตก (ของ "อารยประเทศ") นิยมชมชื่นความเจริญแบบสมัยใหม่ยิ่งนัก ตามอย่างฝรั่ง

ตอนนั้น ฝรั่งก็อยู่ในภาวะอย่างนี้ ที่ฝรั่งเองเรียกว่า scientism คือตกอยู่ใต้ลัทธินิยมวิทยาศาสตร์ จะแปลว่าคลั่งวิทยาศาสตร์ก็ได้ เขาฝากความหวังไว้กับวิทยาศาสตร์ โยงไปยังเทคโนโลยี และอุตสาหกรรม หวังว่ากระบวนการนี้จะพามนุษย์ให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นๆ เรื่อยไป จนลุถึงซึ่งความสุข ความสมหวัง ความสมบูรณ์ทุกประการ

ดังที่เขาเรียกความคิดฝันนี้ว่า "คติแห่งความก้าวหน้า" (idea of progress) หรือเรียกให้เต็มว่า "คติแห่งความก้าวหน้าที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้" (idea of inevitable progress)

คนไทยตอนนั้นมองไปทางเมืองนอก ใฝ่ฝันถึงเมืองฝรั่งเต็มที่ แล้วก็หันหลังให้กับสมบัติวัฒนธรรมของตัวเอง (ไม่นานนักนี้ สัก 40 ปีมานี่เอง จึงชักจะเริ่มหันกลับมานึกถึงสมบัติเก่าของตัว แล้วก็เกิดมีศัพท์ใหม่ๆ เช่นคำว่า "ภูมิปัญญาไทย")

ตอนนั้น วัฒนธรรมไทย พ่วงด้วยพุทธศาสนา เป็นเรื่องที่คนไทยทั่วไปมองด้วยความรู้สึกดูถูก ว่าคร่ำครึ โดยเฉพาะคนที่เรียกว่าสมัยใหม่ ส่วนชาวบ้านในชนบทที่อาจจะไม่รู้ไม่ชี้ ก็มัวๆ พร่าๆ ตามกันไป เพราะคนบ้านนอกก็นึกถึงเมืองกรุงเป็นภาพของเมืองแมน เหมือนอย่างคนกรุงนึกถึงเมืองฝรั่งเป็นแดนสวรรค์ คนเมืองก็มองฝรั่งอย่างดูถูกตัวเอง พร้อมกับมองคนบ้านนอกอย่างเหยียดๆ

ต้องเข้าใจว่า การคมนาคมสมัยนั้นไม่สะดวกอย่างยิ่ง และสื่อสารก็ไม่มีหรือไม่ถึงกัน ฉะนั้น สภาพที่แตกต่างกันจึงชัดมาก คนบ้านนอกได้แต่นึกฝัน แต่ไม่รู้จักเมืองกรุง น้อยนักจะมีโอกาสเข้ากรุง เวลาเข้ามากรุงเทพฯ เรียกกันว่า "บ้านนอกเข้ากรุง" ก็เดินเกาะกันเป็นหมู่ เขารู้กันเลยว่านี่คนบ้านนอกมาเข้ากรุง เวลาจะข้ามถนนนี่ ต้องรอกันมาให้พร้อม แล้วเดินเป็นแถวเลย ข้ามไปพร้อมกัน ตามกันไป เพราะเขากลัว ไม่เคยชิน แต่เดี๋ยวนี้ ต่างจังหวัดกับกรุงเทพฯ แทบจะไม่ต่างกันแล้ว ใช่ไหม

สมัยก่อนโน้น ชีวิตคนบ้านนอกก็ไปอย่าง คนในเมืองหลวงก็ไปอีกอย่าง ไกลกันมาก อย่างที่พูดแล้วว่าคนบ้านนอกมองกรุงเทพฯ เป็นเมืองสวรรค์ และคนกรุงเทพฯ ก็ดูถูกหรือเหยียดคนชนบท คนต่างจังหวัด หรือคนบ้านนอกค่อนข้างจะมากอยู่

ที่ว่าคนไทยสมัยใหม่ดูถูกคนบ้านนอกนั้น ลึกลงไป ความเป็นบ้านนอกก็โยงไปหาสิ่งที่เป็นของไทยที่มีมาแต่เดิม ซึ่งรวมไปถึงพุทธศาสนา มันโยงต่อกันไปเอง

พอพูดถึงวัฒนธรรมไทย พูดถึงเรื่องพุทธศาสนา คนไทยสมัยใหม่จะมีความรู้สึกไม่ดี มีท่าทีเหยียดๆ


ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaWRXUXdPVEV6TURFMU5RPT0=&sectionid=TURNd053PT0=&day=TWpBeE1pMHdNUzB4TXc9PQ==
ขอบคุณภาพจาก http://www.watnyanaves.net/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ