ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: “เกรียน” - รู้โลกไม่สู้รู้ตน  (อ่าน 2693 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
“เกรียน” - รู้โลกไม่สู้รู้ตน
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2012, 07:48:20 pm »
0


“เกรียน” - รู้โลกไม่สู้รู้ตน

เคยได้ยินคำว่า “เกรียน” อยู่บ่อยครั้งในระยะหลัง ๆ ในฐานะคนที่มีอายุเกินวัยรุ่นมาระยะใหญ่ๆแล้ว เลยสอบถามน้องๆกันว่า

ไอ้คำว่า “เกรียน” นี้มีความหมายว่าอะไร ก็ได้ความมาว่า


เป็นศัพท์แสลงของไทยที่แปลว่า เด็กๆที่เริ่มต้นเรียนรู้เรื่อง ตรรกะมาบ้างแล้วก็ใช้ ความรู้ตรรกะที่มีอยู่จำกัดๆนั้นมา ใช้ในการโต้เถียงแสดงความคิดเห็นกัน ที่เรียกว่าเกรียนก็เพราะว่า เปรียบเสมือนเด็กมัธยมที่ยังตัดผมทรงเกรียนอยู่แต่ทำตัวแสดงท่าทีแก่เกินวัย
 
ก็ลองนึกไปว่าคอนเซปต์ “เกรียน” นี้มีอยู่ในโลกสากลหรือเปล่าจึงได้นึกถึงคำว่า “sophomoric” อันเป็นคำนามวิเศษณ์ (adjective) ในภาษาอังกฤษนั่นแหละครับ คำนี้คนอ่านแล้วคงนึกถึงคำว่า Sophomore ที่แปลว่า นิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยปีที่ 2



สำหรับคำว่า sophomoric นั้นเป็นคำแปลที่ใกล้กับคำว่า “เกรียน” มากที่สุดเพราะหมายถึง คนที่อวดอ้างความรู้ที่มีอยู่จำกัด และชอบใช้ความรู้และตรรกะที่จำกัดๆของตัวเองนั้นในการโต้เถียงอวดภูมิของตัวเอง (ที่ไม่ได้จำกัดว่าอยู่วัยไหน)
 
อยากจะพูดถึงเรื่องนี้เพราะสังคมไทยในปัจจุบันจะพบว่า มีคนที่ "แสดงความคิดเห็น" เยอะแยะมากมายไปหมดจนกระทั่งไม่รู้ว่าอะไรคือชุดความจริงที่ถูกต้องเพราะทุกคนต่างก็มีเหตุผลของตนเอง และ ตอนนี้ก็ด้วย “ชุดความคิด” และ “ชุดความจริง” ที่แตกต่างทำให้คนไทยนี่แหละกินแหนงแคลงใจกันจะฆ่าจะแกงกันไม่เว้นแต่ละวัน

จนบางคนถึงกับบอกว่า “เราเลิกคุยกันด้วยเหตุด้วยผลจะดีไหม เพราะคุณก็มีเหตุผลของคุณ ผมก็มีเหตุผลของผม แต่เหตุผลของพวกเราสองชุดมัน ไปกันคนละทิศละทางยิ่งคุยก็ยิ่งทะเลาะ” หากให้เข้าบริบทคำว่า “เกรียน” ต่างฝ่ายต่างก็มองว่าชุดเหตุผลของแต่ละคนนั้นไม่น่าเชื่อถือกันอีกด้วย (เฮ่อ.. แอบถอนหายใจ)

 

สิ่งนี้ทำให้นึกถึง บทสนทนาของผมกับ พระอาจารย์ ว. วชิรเมธี ที่เมืองพุทธคยารัฐพิหารประเทศอินเดีย อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระบรมศาสดา ที่ผมถาม ท่าน ว. ว่า

พระพุทธเจ้าตรัสรู้ค้นพบ "อริยสัจ" แสดงว่า ความจริงและเหตุผลของชาวอินเดียก่อนที่พระพุทธองค์จะพบกับ “อริยสัจ” ผ่านการตรัสรู้นั้นเป็น “ชุดความจริง” (หรือ สจฺจ) ที่ไม่อริยะใช่หรือไม่?

คำตอบก็คือ ความจริงในยุคพุทธกาลนั้นมีอยู่มากมายหลายชุด แต่ในฐานะชาวพุทธ ความจริงที่พระพุทธองค์ค้นพบถือเป็นชุดที่สิ้นสุดไม่จำต้องโต้เถียงกันอีกต่อไปแล้ว ถือเป็นความจริงอันเป็นอริยะ
 
สังคมสมัยพุทธกาลที่มีความจริงหลายชุด เถียงกันไม่จบ ก็คงคล้ายๆกับสังคมปัจจุบันของไทยในวันนี้ เป็นสังคมที่ ทุกคนแสดงความคิดเห็นอย่างรุนแรง ใช้เหตุใช้ผลในการประหัตประหารกัน ไม่ค่อยยอมลดราวาศอกกัน คนที่เป็นผู้รู้จริงก็มีมาก

แต่พวกที่เป็น “เกรียน” ก็มีอยู่ไม่น้อยดังนั้น การจะหาว่าอะไรถูกอะไรผิดนั้นก็หาข้อยุติไม่ได้ง่ายๆ ท่นผู้อ่านก็คงถามว่าแล้วถ้าเราไม่ใช้เหตุผลคุยกันแล้วเราจะใช้อะไร จึงหาข้อสรุปกันได้

 

ก็คงไม่ง่ายเหมือนกันแต่ อย่างหนึ่งที่อยากจะฝากเอาไว้คือ “การละการยึดมั่นถือมั่น" ตามแนวพุทธนี่แหละครับ ตราบเท่าที่เรายังไม่รู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด เราก็ไม่ควรยึดติดยืดมั่นถือมั่นจนเกินไป นักปรัชญาชื่อดังชาวอังกฤษ เบอร์ทรานด์ รัสเซล เคยพูดเอาไว้ว่า

"คนเราไม่ควรที่จะต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ใดอุดมการณ์หนึ่งจนสุดโต่ง เพราะวันหนึ่งอาจจะพิสูจน์ได้ว่า สิ่งที่ตัวเองยึดมั่นอย่างเหนียวแน่นนั้นมันผิด ซึ่งถ้าถึงเวลานั้นแล้วเราจะแก้ไขอะไรก็ไม่ทันกาล”
 
หลายท่านอาจคิดว่าแล้วมันมีด้วยหรือที่คนเราจะเชื่อมั่นหัวชนฝาแต่แล้ววันหนึ่งก็กลับมาคิดว่าตัวเองผิด ตัวอย่างของ องคุลีมาร ก็หนึ่ง หากมองประวัติศาสตร์ใกล้ๆก็เช่น เรื่องของ นาซีเยอรมัน ที่คนเยอรมันยุคนั้นให้การสนับสนุนเต็มที่ แต่แล้ววันหนึ่งก็ตื่นขึ้นมาจากฝันรู้ว่าสิ่งที่ตนเองสนับสนุนและยึดมั่นมันคืออุดมการณ์ที่คร่าชีวิตคนยิว 6 ล้านคน มานั่งเสียใจก็ไม่ทันกาลเสียแล้ว
 
   ในยามที่เรายังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าอะไรคือถูก อะไรคือผิด
   (อีกอย่างตัวเราเองนั้นเข้าข่าย “เกรียน” หรือไม่ก็ไม่รู้ คนเขียนเอง “เกรียน” หรือเปล่าก็ไม่รู้)

   “การละความยึดมั่นถือมั่น” ไม่สู้ ไม่เถียง เพื่ออะไรอย่าง “หัวชนฝา” จะช่วยให้เราฟังเหตุผลกันและกันมากขึ้น และจะนำสังคมไปในทางที่ดีขึ้น อย่างน้อยก็น่าอยู่มากขึ้นกว่าวันนี้แหละครับ.. แล้วคุณล่ะ ลดอัตตาตัวเองได้บ้างแล้วหรือยัง?.

เรื่องโดย ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.dailynews.co.th/article/630/13874
http://uc.exteenblog.com/,http://1.bp.blogspot.com/,http://saveworld.ch7.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

sakol

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 242
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: “เกรียน” - รู้โลกไม่สู้รู้ตน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2012, 12:07:07 am »
0
ใช่ เกรียน มาก ๆ ในสมัยนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นอย่างนั้น เอาเป็นว่า ไม่รู้จริงแล้ว ถอย.....


  :08:
บันทึกการเข้า

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: “เกรียน” - รู้โลกไม่สู้รู้ตน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2012, 02:20:44 pm »
0
คนสมัยนี้ เกรียนกันจริงๆ ไม่ยอมลดลาวาศอกกันเลย ต่างคนต่างคิดว่าตัวเองถูกเสมอ ......สังคมถึงได้วุ่นวายขนาดนี้ เกรียน เกรียน เกรียน......  :c017: :c017:   :41: :41:
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ