ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ขั้นตอนการนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน  (อ่าน 9917 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

mature_na

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 239
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

ปฐมบท

กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เป็นกรรมฐานเหมาะกับทุกจริต



โดยเริ่มแรกของผู้ปฎิบัติลำดับห้อง ในการภาวนา กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
ในระดับขั้นต้น พระพุทธานุสสติ มี 3 ห้อง
คือรูปกรรมฐาน ตอน ๑ ได้แก่
๑.ห้องพระปีติห้า
๒.ห้องพระยุคลหก
๓.ห้องพระสุขสมาธิ
พระกรรมฐาน ๓ ห้องนี้เป็นพระกรรมฐาน สำหรับฝึกตั้งสมาธิ เป็นพระกรรมฐานต่อเนื่องของจิต จากจิตหยาบ ไปหาจิตที่ละเอียด ถึงขั้นอุปจารสมาธิเต็มขั้น หรือ เรียกว่ารูปเทียมของปฐมฌาน สอบนิมิต เป็นอารมณ์


     เมื่อจะเรียนพระกรรมฐานนั้น ต้องมอบตัวต่อพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และ อาจารย์ ผู้บอกพระกรรมฐาน โดยให้จัดเตรียม ดอกไม้ ๕ กระทง ข้าวตอก ๕ กระทง เทียน ๕ เล่ม ธูป ๕ ดอก ใส่เรียงกันในถาดสี่เหลี่ยมผืนผ้า มาขึ้นในวัน พฤหัสบดี ข้างขึ้น หรือ ข้างแรมก็ได้ มาขอขึ้นกรรมฐานที่วัดราชสิทธารามคณะ5 กับพระครูสิทธิสังวร(หลวงพ่อวีระ) ผู้สืบทอดกรรมฐานมัชณิมาในยุคนี้ (โทร. 084-651-7023;weera2548@yahoo.co.th )


ถ้าผู้ใดยังไม่สะดวกมาไหว้ครูกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับหลวงพ่อว่าก็สามารถภาวนาไปก่อนได้แล้วค่อยมาไหว้ครูกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับพร้อมแจ้งอารมณ์กรรมฐานภายหลัง


จากนี้ไปจะเป็นการเริ่มนั่งกรรมฐานตามรูปแบบนะครับ เริ่มโดยกล่าวบททำวัตรพระก่อน


บททำวัตรพระ
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
(ให้ว่า ๓ หน)
พุทธํ ชีวิตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ ฯ
อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสะทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสสานํ พุทโธ ภควาติ ฯ
   เย จ พุทธา อตีตา  จ,   เย จ พุทธา อนาคตา,
   ปจฺจุปฺปนฺนา จ เย พุทธา,   อหํ วนฺทามิ สพฺพทา,
   พุทธานาหสฺมิ ทาโสว,   พุทธา เม สามิกิสฺสรา,
   พุทธานญฺ จ สิเร ปาทา,   มยฺหํ ติฏฐนฺตุ สพฺพทาฯ
   นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ,   พุทโธ เม สรณํ วรํ,
   เอเตน สจฺจ วชฺเชน,   โหตุ เม ชยฺมํ คลํ ฯ
   อุตฺตมํเคน วนฺเทหํ,   ปาทปงฺสุํ วรุตฺตมํ,
   พุทโธ โย ขลิโต โทโส,   พุทโธ ขมตุ ตํ มมํ ฯ
(กราบแล้วหมอบลงว่า)
         ข้าฯจะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระพุทธเจ้า และคุณพระพุทธเจ้า ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระพุทธเจ้า อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน สิ้นกาลนานทุกเมื่อ และข้าฯจะขอเป็นข้าแห่งพระพุทธเจ้า ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ขอพระบาทบาทาของพระพุทธเจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าฯสิ้นกาลนานทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าฯหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ข้าฯไหว้ละอองธุลีพระบาท ทั้งพระลายลักษณ์สุริยะฉาย ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด อนึ่ง โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระพุทธเจ้า อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน ขอพระพุทธเจ้าจงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านี้เถิด ฯ (คำแปล พระเทพโมลีกลิ่น)
(กราบ)
   ธมฺมํ ชีวิตํ ยาว นิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ ฯ
   สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฐิโก อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญญูหีติฯ
   เย จ ธมฺมา อตีตา จ,   เย จ ธมฺมา อนาคตา,
   ปจฺจุปปนฺนา จ เย ธมฺมา,   อหํ วนฺทามิ สพฺพทาฯ
   ธมฺมา นาหสฺสมิ ทาโสว,   ธมฺมา เม สามิกิสฺสรา,
   สพฺเพ ธมฺมาปิ ติฏฐนฺตุ,   มมํ สิเรว สพฺพทาฯ
   นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ,   ธมฺโม เม สรณํ วรํ,
   เอเตน สจฺจ วชฺเชน,   โหตุ เม ชยฺมํ คลํ ฯ
   อุตฺตมํ เคน วนฺเทหํ   ธมฺมญฺ จ ทุวิธํ วรํ,
   ธมฺเม โย ขลิโต โทโส,   ธมฺโม ขมตุ ตํ มมํฯ
(กราบแล้วหมอบลงว่า)
        ข้าฯจะขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระปริยัติธรรมเจ้า และพระนวโลกุตตระธรรมเจ้า และคุณพระธรรมเจ้าในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้งมวล  อันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันสิ้นกาลทุกเมื่อ แลข้าฯจะขอเป็นข้าฯแห่งพระธรรมเจ้า ขอพระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้นจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ข้าฯขออาราธนาพระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้น จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าฯสิ้นกาลทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าฯหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระธรรมเจ้าทั้งมวลนั้นเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด ข้าฯขอกราบไหว้พระธรรมเจ้าทั้งสองประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาดพลั้งไว้ในพระธรรมเจ้าทั้งสองประการ ขอพระธรรมเจ้าทั้งสองประการ จงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านี้เถิดฯ
(กราบ)
   สงฺฆํ ชีวิตตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํ คจิฉามิ ฯ
   สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสํโฆ, ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสะยุคฺคานิ อฏฺฐะ ปุริสปุคะลา, เอส ภควโต สาวกสํโฆ, อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทกฺขิเนยโย อญฺชลีกรณีโย อนุตฺตรํ ปุญญกฺเขตตํ โลกสฺสาติ
   เย จ สงฺฆา อตีตา จ   เย จ สงฺฆา อนาคตา
   ปจฺจุปปนฺนา จ เย สงฺฆา   อหํ วนฺทามิ สพฺพทา ฯ
   สงฺฆานาหสฺสมิ ทาโสว   สงฺฆา เม สามิกิสฺสรา
   เตสํ คุณาปิ ติฏฐนฺตุ   มมํ สิเรว สพฺพทา ฯ
   นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ   สงฺโฆ เม สรณํ วรํ
   เอเตน สจฺจวชฺเชน,   โหตุ เม ชยฺมงฺคลํฯ
   อุตฺตมํ เคน วนฺเทหํ,   สงฺฆญฺ จ ทุวิธุตฺตมํ,
   สงฺเฆ โย ขลิโต โทโส   สงฺโฆ ขมตุ ตํ มมํ ฯ
(หมอบกราบ แล้วว่า)
           ข้าฯขอยึดหน่วงเอาซึ่งพระอริยสงฆ์เจ้า และคุณพระอริยสงฆ์เจ้า ในอดีต อนาคต ปัจจุบัน จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน และข้าฯจะขอนมัสการกราบไหว้พระอริยสงฆ์เจ้าอันเป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน สิ้นกาลทุกเมื่อ และข้าฯจะขอมอบตัวเป็นข้าฯแห่งพระอริยสงฆ์เจ้า ขอพระอริยสงฆ์เจ้าจงมาเป็นเจ้าเป็นใหญ่แก่ข้าฯ ข้าฯขออาราธนาคุณแห่งพระอริสงฆ์เจ้า จงมาประดิษฐานอยู่เหนือเศียรเกล้าแห่งข้าสิ้นกาลทุกเมื่อ สิ่งอันอื่นจะได้เป็นที่พึ่งแก่ข้าหามิได้ ถ้าเว้นไว้แต่พระอริยสงฆ์เจ้าป็นที่พึ่งแก่ข้าฯเที่ยงแท้นักหนา  ชัยมงคลทั้งหลายจงมาบังเกิดมีแก่ข้าฯด้วยคำสัจนี้เถิด ข้าฯขอกราบไหว้พระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการอันประเสริฐ โทษอันใดข้าฯได้ประมาทพลาด       พลั้งไว้ในพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการ ขอพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งสองประการ จงมาอดโทษทั้งปวงนั้นให้แก่ข้าฯพระพุทธเจ้านั้นเถิดฯ
(กราบ)


2. จากนั้นให้กล่าวคำขอขมาโทษต่อพระรัตนตรัยซึ่งโทษนั้นๆที่เราเคยทำอาจเป็นอุปสรรคปิดกั้นการเจริญพระกรรมฐาน
(สำหรับทุกท่านที่เพิ่งเริ่มปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับต้องกล่าวทุกครั้งก่อนนั่งกรรมฐาน)

คำกล่าวขอขมาโทษ
         อุกาสะ วนฺทามิ ภนฺเต สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺ เต มยากตํ ปุญญํ สามินา อนุโมทิตพฺพํ สามินา กตํ ปุญญํ มยฺหํ ทาตพฺพํ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ   (กราบ)
          ข้าขอกราบไหว้ ขอท่านจงอดโทษแก่ข้าฯ บุญที่ข้าฯทำแล้ว ขอท่านพึงอนุโมทนาเถิด บุญที่ท่านทำ ท่านก็พึงให้แก่ข้าฯด้วยฯ (กราบ)
          สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺเต, อุกาสะ ทวารตฺตเยน กตํ สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺเต, อุกาสะ ขมามิ ภนฺเต (กราบ)
       ขอท่านจงอดโทษทั้งปวงให้แก่ข้าฯด้วยเถิด ขอท่านจงอดโทษทั้งปวงที่ข้าฯทำด้วยทวาร(กาย วาจา ใจ) ทั้งสามแก่ข้าฯด้วยเถิด ข้าฯก็อดโทษให้แก่ท่านด้วย (กราบ)
       ก่อนที่จะนั่งภาวนาพระกรรมฐานนั้น จะเกิดผลสำเร็จได้ ต้องมีการขอขมาโทษก่อน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ขมานะกิจ  คือการนำดอกไม้ธูปเทียนแพ ไปตั้งจิตอธิษฐาน ขอขมาโทษต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่ท่านทั้งหลายอาจเคยล่วงเกินต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อันเป็น อดีต ปัจจุบัน เป็นเหตุให้มีโทษติดตัว การเจริญกุศลธรรมอาจไม่เกิดขึ้นได้ หรือ เจริญขึ้นได้ และ อาจเป็นอุปสรรคปิดกั้นการเจริญพระกรรมฐาน จึงต้องมีการ ขอขมาโทษก่อน เพื่อไม่ให้ เป็นเวร เป็นกรรม ปิดกั้น กุศลธรรม ที่กำลังบำเพ็ญอยู่ และเป็น ปฏิปทาห่างจากกรรมเวร


3.จากนั้นกล่าวคำอาราธนาพระกรรมฐานเป็นบาทฐาน(สำหรับทุกท่านที่เพิ่งเริ่มปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับต้องกล่าวทุกครั้งและเริ่มด้วยพระลักษณะ พระขุททกาปีติธรรมเจ้า จนกว่าจะสอบอารมณ์กับพระอาจารย์วีระผ่านท่านจึงจะให้เปลี่ยนคำอาราธนาครับ  ห้ามเปลี่ยนเองโดยพลการ)



อธิบายคำอาราธนาสมาธินิมิต(เหตุใดต้องกล่าวคำอาราธนาพระกรรมฐานทุกครั้ง)
      เมื่อจะนั่งเข้าที่ภาวนานั้น องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงกำหนดไว้ว่า ต้องอธิษฐานสมาธินิมิต  หรือ อาราธนาสมาธินิมิต เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญยิ่งๆขึ้นไป กุศลธรรมในที่นี้หมายถึง สมาธิจิตที่ตั้งมั่น เป็น สัมมาสมาธิ อีกประการหนึ่งเพื่อเป็นการ เตรียมจิต ก่อนที่จะภาวนาสมาธิ ดังปรากฏใน พระสุตตนฺตปิฏก องฺคุตตรนิกาย ติกนิบาต ปาปณิกสูตรที่ ๑

คำอาราธนาพระกรรมฐาน
(อธิษฐานสมาธินิมิต)
ของ สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน

          ข้าฯขอภาวนาพระพุทธคุณเจ้า เพื่อจะขอเอายัง พระลักษณะ พระขุททกาปีติธรรมเจ้า นี้จงได้ ขอพระพุทธเจ้าจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิดฯ ขอพระธรรมเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิดฯ ขอพระอริยะสงฆ์เจ้าตั้งแรกแต่พระมหาอัญญาโกญฑัญญะเถรเจ้าโพ้นมาตราบเท่าถึงพระสงฆ์สมมุติในกาลบัดนี้ จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าฯนี้เถิดฯ ขอพระอริยะสงฆ์องค์ต้นอันสอนพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวล จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯ ขอพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวลจงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้านี้เถิดฯ
        อุกาสะ อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าจะขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้า เพื่อจะขอเอายัง พระลักษณะ  พระขุททกาปีติธรรมเจ้านี้จงได้ ขอจงเจ้ากูมาปรากฏบังเกิดอยู่ใน จักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าฯในขณะเมื่อข้านั่งภาวนาอยู่นี้เถิดฯ


        อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ วิชชาจะระณะสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวะมนุสสานํ พุทโธ ภควาติ ฯ
สมฺมาอรหํ     สมฺมาอรหํ     สมฺมาอรหํ
อรหํ      อรหํ     อรหํ
(องค์ภาวนา พุทโธ)



ปล.

การเริ่มนั่งกรรมฐานตามแบบที่พระอาจารย์บอกสืบๆกันมา โดยแรกท่านจะให้ องค์ภาวนาว่าพุท-โธ ให้ตั้งจิต คิด นึก รู้ อยู่ใต้สะดือ2 นิ้ว

คำว่า2 นิ้วนี้วัดโดยใช้นิ้วมือของเรา2นิ้วทาบใต้สะดือสุดที่ใดก็ให้ตั้งจิต คิด นึก รู้ไว้ตรงจุดนั้นนั่นเอง



4. คำอธิบายเวลากำหนดจิต


   หลังจากอาราธนาองค์พระกรรมฐานแล้ว ครั้งแรกกำหนดจิตให้มารวมไว้ที่ใต้สะดือ ๒ นิ้วมือ(ภาวนา พุท-โธ) กำหนดด้วยความตั้งใจจริง ค่อยดำเนินไปด้วยความเพียรชั้นกลาง แลมีสติค่อยประคับประคองให้ตรงต่อจุดมุ่งหมาย อย่ารีบร้อนให้มี ให้เป็นจนเกินไปกว่าเหตุผลจะอำนวยให้ เพราะคุณสมบัติสมาธินี้เป็นของกลาง เป็นเองด้วย บังคับไม่ได้ เราอยากให้เป็นสมาธิก็ไม่เป็น ไม่อยากให้เป็นสมาธิก็ไม่เป็น เราทำก็ไม่เป็น เราหยุดเสียไม่ทำก็ไม่เป็น แต่จะสำเร็จผลในขณะที่เราทำให้มาก เจริญให้มากโดยสายกลาง  ไม่หย่อนนัก ไม่ตึงนัก เป็นไปโดยสม่ำเสมอ ไม่ขาดสายทำไปโดยอาการเยือกเย็น และจิตกล้าหาญ ในเมื่อจิตรวมเป็นหนึ่งได้แล้ว กระบวนการแห่งสมาธิก็จะเป็นไปเอง
 
วิธีนั่งเข้าที่ภาวนาโดยละเอียด


       นั่งคู้บัลลังก์ เท้าขวาทับ เท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้ายตั้งกายตรง บริกรรม พุทโธ กำหนดจิตดังนี้


        ๑.สมาธินิมิต คือเครื่องหมายสำหรับตั้งสมาธิ ให้ตั้งที่ใต้นาภี คือ สะดือ สองนิ้วมือ เป็นที่ชุมนุมธาตุ และ สัมปยุตธาตุ บริกรรมในที่นี้จะเกิดกำลังมาก อันห้องพระพุทธคุณ อยู่ใต้นาภี สองนิ้วมือ
        ๒. ปัคคาหะนิมิต คือการยกจิตไปอยู่ที่สมาธินิมิต คือที่ใต้นาภี สองนิ้วมือ จิต ได้แก่ การนึก การคิด การรับรู้อารมณ์ หรือ สติ
        ๓. อุเบกขานิมิต คือ การวางเฉยในอารมณ์ จิตไม่ซัดส่ายไปในอารมณ์ ที่เป็น อดีต ที่เป็นอนาคต ให้มีจิตอยู่ในอารมณ์ปัจจุบัน จิตที่แล่นไปใน อดีต อนาคต เป็นจิตที่ฟุ้งซ่าน
    การกำหนด สมาธินิมิต (นาภี) โดยส่วนเดียว เป็นเหตุให้จิตเป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน
           การกำหนดปัคคาหะนิมิต (ยกจิต) โดยส่วนเดียว เป็นเหตุให้จิตเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่าน
        การกำหนด อุเบกขานิมิต (วางเฉย) โดยส่วนเดียว เป็นเหตุให้จิตไม่ตั้งมั่น
        ต้องกำหนดนิมิต สามประการ คือ สมาธินิมิต ปัคคาหะนิมิต อุเบกขานิมิต ไปพร้อมกันตลอดกาล ตามกาล จึงทำให้จิตอ่อนควรแก่การงาน จิตที่อ่อนควร แก่การงาน คือ จิต ที่ปราศจากนิวรณธรรม คือ กามฉันท์ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส พยาบาท ได้แก่การปองร้าย ถีนะมิทธะ ความง่วงหงาวหาวนอน อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน รำคาญ วิจิกิจฉา ความสงสัย
        การกำหนด สมาธินิมิต ปัคคาหนิมิต อุเบกขานิมิต มาใน พระสุตตันตปิฏก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต สมุคคสูตร ว่า
        ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดภิกษุประกอบสมาธิจิต กำหนดไว้ในใจซึ่ง  สมาธินิมิต ตลอดกาล ตามกาล กำหนดไว้ในใจซึ่ง ปัคคาหะนิมิต ตลอดกาล ตามกาล กำหนดไว้ในใจซึ่ง อุเบกขานิมิต ตลอดกาล ตามกาล เมื่อนั้นจิตย่อมอ่อนควรแก่การงาน ผุดผ่องและ ไม่เสียหาย จิตย่อมตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อความสิ้นอาสวะ และ ภิกษุนั้นย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อ ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้งด้วยธรรมอันยิ่งใดๆเธอย่อมสมควรเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ในเมื่อเหตุเป็นอยู่ มีอยู่
ก่อนนั่งสมาธิภาวนาพึงสำเหนียกในใจก่อนว่า
          จิตของเราจักเป็นจิตหยุด ตั้งมั่นอยู่ภายใน    ธรรมทั้งหลายอันเป็นบาปอกุศล ที่เกิดขึ้นแล้ว  จะต้องไม่ยึดจิตของเรา ตั้งอยู่
   เป็นการอธิษฐานจิต ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง  เพื่อมิให้จิตซัดส่ายไปตามอารมณ์ต่างๆ   เป็นการวางอารมณ์ ของจิตให้แน่วแน่ มีสติรู้ทัน ธรรมทั้งหลายที่เป็นบาปอกุศล เช่น นิวรณธรรมเป็นต้น  ไม่ให้มารบกวนจิต  ยึดจิตติดอยู่ ทำให้จิตไม่บรรลุสมาธิได้ง่าย   


5.
หลังเลิกนั่งภาวนา

            เมื่อเจริญภาวนาเสร็จเรียบร้อยแล้ว อย่าพึ่งลุกออกจากอาสนะ ให้แผ่เมตตา กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่สรรพสัตว์ก่อน จึงลุกออกจากที่ เมื่อนั่งแล้วรู้เห็นอะไร ห้ามไปคุยกันเอง  ให้ไปแจ้งบอกกล่าว กับพระอาจารย์กรรมฐาน โดยมากพระอาจารย์จะให้กล่าวบทกรวดน้ำยังกิญจิ

บทกรวดน้ำยังกิญจิ
ของพระเจ้าโลกวิชัย ผู้เป็นพระบรมโพธิสัตว์

ยังกิญจิ กุสะลัง กัมมัง      กัตตัพพัง กิริยัง มะมะ
กาเยนะ วาจามะนะสา      ติทะเส สุคะตัง กะตัง
เย สัตตา สัญญิโน อัตถิ   เยจะ สัตตา    อะสัญญิโน
กะตัง ปุญญะผะลัง มัยหัง   สัพเพ ภาคี    ภะวันตุ  เต
เย ตัง กะตัง สุวิทิตัง      ทินนัง ปุญญะผะลัง มะยา
เย จะ ตัตถะ นะ ชานันติ   เทวา คันตวา    นิเวทะยุง
สัพเพ โลกัมหิ เย  สัตตา   ชีวันตาระเหตุกา
มะนุญญัง โภชะนัง สัพเพ   ละภันตุ มะมะ เจตะสาติฯ
   กุศลกรรมอย่าง ใดอย่างหนึ่งเป็นกิจที่ควรฝักใฝ่ ด้วยกาย วาจา ใจ เราทำแล้วเพื่อไปสวรรค์ สัตว์ใดมีสัญญา หรือไม่มีสัญญา ผลบุญที่ข้าฯทำนั้นทุกๆสัตว์ จงมีส่วน สัตว์ใดรู้ก็เป็นอันว่าข้าฯให้ แล้วตามควร สัตว์ใดมิรู้ถ้วน ขอเทพเจ้าจงไปบอกปวงสัตว์ ในโลกีย์ มีชีวิตด้วยอาหาร จงได้โภชนะสำราญ ตามเจตนา ของข้าฯเทอญ ฯ     





6.วิธีแจ้งพระกรรมฐาน
(รูปกรรมฐาน สอบนิมิต อรูปกรรมฐาน สอบอารมณ์)


      เมื่อจะไป แจ้งพระกรรมฐาน หรือไปสอบอารมณ์นั้น  พระภิกษุให้ห่มผ้าเรียบร้อย ไปพร้อมดอกไม้ธูปเทียน กราบพระพุทธรูปก่อนแล้ว จึงกราบพระอาจารย์ผู้บอกพระกรรมฐาน ถวายดอกไม้ให้พระอาจารย์ด้วย แล้วจึง แจ้งอารมณ์พระกรรมฐาน กับพระอาจารย์(ถ้าเป็นฆราวาสก็เพียงแต่ติดต่อไปยังพระอาจารย์วีระ)

รูปพระอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับที่ท่านควรรู้จักครับ









บันทึกการเข้า

mature_na

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 239
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ความสำคัญโดยย่อ ของพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 27, 2012, 10:49:11 pm »
0

ความสำคัญโดยย่อ ของ
พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับสำหรับพระพุทธศาสนาในไทยนั้นสำคัญขนาดที่ว่า  พระมหากษัตริย์ในแทบจะทุกยุคของไทยแลแถบสุวรรณภูมิตั้งแต่สมัย ทวารวดี  สุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี จนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้ทรงให้ความใส่ใจและทรงศึกษาเพื่อรักษา พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับให้คงอยู่ตลอดมา รัชกาลที่1-2-3-4นั้นก็ยังทรงศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับนี้กับสมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)


***ข้อควรรู้ล้นเกล้ารัชกาลที่สองทรงสังคายนาพระกัมมัฏฐานแบบลำดับ(กรรมฐานมัชฌิมา)





ใน ขณะนั้น พระกรรมฐานและเนื้อหาการเรียนรู้ในบวรพระุพุทธศาสนายังไม่้เรียบร้อยและไม่เป็นหมวดหมู่ดีนัก
ล้นเกล้ารัชกาลที่สองทรงเล็งเห็นว่าจะเป็นภัยแก่พระศาสนาที่คนรุ่นต่อไปจะหา ของจริงที่ถูกต้องไว้เล่าเรียนไม่ได้จึงทรงมีพระบรมราชโองการ ให้ทำ สังคายนาพระกัมมัฏฐานแบบลำดับ ไว้เป็นหมวดหมู่ โดยมีสมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)ทรงเป็นองค์ประธาน ในการชุมนุมพระสงฆ์สังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับเมื่อพุทธศักราช ๒๓๖๔

อนึ่งมูลเหตุของการทำสังคายนาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับนั้นเกิดจากการพูดคุยสนทนากัน ในหมู่พระสงฆ์จากหัวเมืองและชานกรุงว่า  ...... การปฎิบัติกรรมฐานอย่างนี้ถูกการปฎิบัติกรรมฐานอย่างนี้ผิด เสียงวิจารณ์เล่าลือขยายไปทั่วกรุงรัตนโกสินทร์ .......


ความนั้นทราบไปถึงเจ้านายชั้นผู้ใหญ่และข้าราชการผู้ใหญ่ในราชสำนักผู้มีหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการคณะสงฆ์  เจ้านายชั้นผู้ใหญ่และข้าราชการผู้ใหญ่สองท่านนั้น จึงนำความทั้งหลายเหล่านี้ขึ้นกราบบังคมทูลให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงทราบฝ่าพระบาท

ต่อมาจึงมีการประสานงานระหว่างทางราชการและคณะสงฆ์ให้ชุมนุมสงฆ์  ทำการประชุมสังคายนาพระกรรมฐานขึ้น3วัน ....พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานถวาย ภัตตาหาร น้ำปานะ แด่พระสงฆ์ ๓ เพลาทุกวัน


ซึ่งพระกัมมัฎฐานแบบลำดับนั้นต่อมาก็ได้เผยแพร่สืบต่อกันเรื่อยๆมาอย่างไม่ขาดสายสมกับ พระราชประสงค์ จนถึง พระสังวรานุวงศ์เถระ(ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม ปรากฏว่า พระกัมมัฎฐานแบบลำดับนั้นรุ่งเรืองมาก มีภิกษุ สามเณร ร่ำเรียนมากมาย

===============================================================

กัมมัฏฐาน ๓ ยุค

credit :nathaponson ;http://www.madchima.org





[size=5]ประณามพจน์ปฐมบทเรื่องของพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯ

(ประณาม ก. น้อมไหว้ เช่น ขอประณามบาทบงสุ์พระทรงศรี.)

    บทความนี้เป็นความภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้บันทึกเรื่องราวอันทรงคุณค่าที่สุด ในประวัติศาตร์ของชาติสยามในเรื่องพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯที่ผ่านมาเพราะพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯเป็นการดำรงรักษาวิธีการกล่อมเกลา จิตใจเพื่อยกระดับภูมิจิตภูมิธรรมที่พระเถรานุเถระแต่ครั้งอดีตได้บำเพ็ญ ฝึกฝน เป็นการฝึกจิตระดับเจโตวิมุติที่เพียบพร้อมทั้งสมาธิที่เป็นบาทฐานของอิทธิ ปาฏิหาริย์ที่เหนือปกติธรรมดาและหากน้อมปฏิบัติตามมรรคมีองค์- ๘ ก็จะเห็นแจ้งในสัจธรรมได้ไม่ยากเป็นทางประเสริฐที่อาจทำให้ผู้ก้าวไปบรรลุสู่ความสงบที่แท้จริง

     พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯมีความสำเร็จได้ประโยชน์ในสองส่วน เป็นทั้งการบำเพ็ญเพื่อความหลุดพ้นและได้อิทธิฤทธิ์ ไปพร้อมกัน

     พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯนั้นได้รวมพุทธธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ทรงกำหนดขั้นตอนทั้งการปฏิบัติสมถะกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานรวมถึงพุทธธรรมอื่นๆที่หลอมรวมกันอย่างลงตัว


พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯนั้นเป็นการปฏิบัติจิต ปฏิบัติธรรมทางพุทธศาสนาที่ชาวสุวรรณภูมิยึดถือปฏิบัติมาตลอด

นับแต่ครั้งกรุง สุโขทัย บรรดาพระอริยะเจ้าและพระเถระในอดีตต่างเคยฝึกฝนอบรมภูมิจิตภูมิธรรมในแนวพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯแบบนี้มาแล้วทั้งสิ้น

     ไม่ว่าจะเป็นพระมหาเถระคันฉ่อง (สมเด็จพระพนรัตนวัดป่าแก้ว ในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) สมเด็จสวามีรามคุณูปมาจารย์(ปู)ที่รู้จักกันในนามสมเด็จเจ้าพะโคะ(หลวงปู่ ทวดแห่งสทิงพระ) สมเด็จพระสังฆราชสุก(ไก่เถื่อน)ก็ล้วนแล้วแต่ปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯ

     แม้พระอมตเถระที่เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ เลื่องลือด้านอิทธิฤทธิ์ที่แสดงปาฏิหาริย์เป็นที่ศรัทธาแก่มหาชนชาวพุทธ อย่างเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์(โต) แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม
     พระครูวิมลคุณากร(หลวงปู่ศุข)วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท
     หลวงพ่อเงินวัดบางคลาน จ.พิจิตร
     หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก กทม.
     ซึ่งที่กล่าวนามท่านมาก็เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่พุทธศาสนิกชนชาวไทยเราว่าท่านเหล่านั้นทรงภูมิจิตภูมิธรรมสูงส่งเพียงใดก็ล้วนแล้วแต่
ปฎิบัติพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯทั้งสิ้นท่านทราบหรือไม่ครับ




    บทความนี้ไม่อาจจะสำเร็จได้เลยหากไม่ได้รับความเมตตาข้อมูลจากท่านพระครู สังฆรักษ์ (วีระ)ฐานวีโร แห่งวัดราชสิทธาราม(พลับ) กทม. ที่ ให้คำแนะนำข้อมูลต่างๆอย่างมิรู้เบื่อหน่ายต่อคำซักไซ้ไล่เรียงของผู้เขียน

     แม้ท่านจะเหน็ดเหนื่อยจากกิจทางพระศาสนาเพียงใดก็ตาม ด้วยกำลังใจที่แน่วแน่ของพระคุณเจ้าท่านนี้ที่มุ่งมั่นในการดำรงรักษามรดก ล้ำค่าของพระพุทธศาสนาชิ้นเอกเป็นเอกลักษณ์หนึ่งเดียวของสุวรรณภูมิให้คง อยู่เพื่อลูกหลานอนุชนรุ่นต่อไป เป็นการช่วยการรักษาแก่นธรรมของพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ตามรอยเท้าบูรพาจารย์ แต่ครั้งอดีตนับล่วงได้ ๑๘๐๐ ปี

     อานิสงส์ประการใดที่ได้จากการรักษา เผยแพร่ มรดกพุทธธรรมอันยอดยิ่งนี้ขอจงสัมฤทธิ์ ผลแก่บูรพาจารย์ บุพพการี ผู้มีบุพกรรมร่วมกันทั้งส่วนกุศลกรรมและอกุศลกรรม เทพยดานับถ้วนทั่วจากภูมิมนุษย์จนพรหมโลกจรดขอบจักรวาล ตลอดจนญาติกัลยาณมิตร
     สรรพสัตว์ทั้งหลายทุกภพภูมิจงโปรดสำรวมจิตตั้งมั่นในสัมมาทิฎฐิ น้อมใจรำลึกคุณพระบรมศาสดาศรีศากยมุนี สัมมาสัมพุทธเจ้า ในภัทรกัปนี้แล้ว

    อนุโมทนาในกุศลเจตนาครั้งนี้จะก่อเกิดเป็นมหากุศล ให้ทุกท่านถึง “ธรรม” ถ้วนทั่วทุกตัวตนเป็นผู้ถึงสุขที่แท้พ้นภัยภายนอกและภายในทุกกาลสมัยเทอญ




ความเป็นมาของพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ

      แต่ครั้งพุทธกาลที่พระบรมศาสดาศรีศากยมุนีสมณโคดมยังทรงพระชนม์ชีพทรง อุตสาหะสั่งสอนให้กุลบุตรทั้งหลายฝึกสมาธิ ตั้งสมาธิ ยังสมาธิอบรมสมาธิ เพื่อให้เกิดปัญญา พิจารณาเพื่อความหลุดพ้น ได้มรรคได้ผล อันเป็นแก่นของพระพุทธศาสนา 

     
(ข้อด้านล่างนั้นคัดมาจากข้อมูลเท่าที่ปรากฎและเท่าที่ทราบครับซึ่งหากมีความผิดพลาดประการใดต้องกราบขอขมาพระรัตนตรัยมาณที่นี้ครับ)


   

 




การสอนกัมมัฏฐานการบอกกัมมัฏฐานแบ่งออกเป็น ๓ ยุคได้คร่าวๆ

   ๑. ยุคที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่และทรงเริ่มประกาศศาสนา พระองค์ทรงประกอบด้วยทศพลญาณ คือ กำลังของพระพุทธเจ้า ๑๐ ประการ มีฐานาฐานญาน เป็นต้น มีอาสวักขยญาณเป็นปริโยสาน
   ฉะนั้น พระองค์จึงเป็นกัลยาณมิตรที่ถึงพร้อมด้วยประการทั้งปวง
   ดังนั้นการศึกษาพระกัมมัฏฐานตามแบบที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติและสั่งสอนสาวกไว้แล้วเท่านั้นจึงสมควร




(เมื่อพูดถึงจุดนี้ก็อยากทวนความจำถึงจุดเริ่มต้นของพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับให้ท่านได้ทราบอีกครั้ง;ในยุคสมัยพุทธกาลนั้น พระราหุลมหาเถระเจ้า ได้บรรลุอรหันต์เป็นเอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษา

พระองค์ ได้สอบถามกับพระพุทธองค์ว่าพุทธองค์มีการปฎิบัติกรรมฐานอย่างใด และท่านได้รวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่อีกทั้งท่านยังได้ ไปเรียนรู้และสอบถามความรู้เพิ่มเติมกับพระอรหันต์สาวกองค์อื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก และรวบรวมการปฎิบัติกรรมฐานของพระพุทธศาสนาไว้เป็นด้วยกันเป็นการฝึกฝนแบบตามลำดับขั้นตอน

จากนั้นจึงกำเนิดการเรียนรู้กรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ ในขอบเขตของบวรพระพุทธศาสนาขึ้น จากการเรียบเรียงของพระราหุลนั่นเอง)


   ๒. ยุคของพระอสีติมหาสาวก ๘๐ พระองค์ ;พระอรหันตสาวก;พระอริยะ และพระสาวกอื่นๆ

พระภิกษุสงฆ์ทั่วไปและพระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นเสขบุคคลคือยังไม่ได้บรรลุอรหัตตผลก็ล้วนแล้วแต่เรียนศึกษาและปฎิบัติตามพระกรรมฐานแบบลำดับทั้งสิ้นแล้วแต่ว่าจะศึกษากับพระอสีติมหาสาวกพระอรหันตสาวกหรือพระอริยะ องค์ใด     พระอาจารย์ทุกท่านล้วนบอกพระกรรมฐานแบบลำดับให้ลูกศิษย์ทั้งสิ้นตามแต่ผู้ใดไปได้ช้าหรือเร็วประการใด

   ความสำคัญตรงนี้พระอาจารย์ได้บอกไว้ว่า

ขั้นตอนการฝึกพระกรรมฐานแบบลำดับซึ่งฝึกกันเป็นมาตรฐานตั้งแต่พุทธกาลนั้นผู้ฝึกล้วนต้องผ่านการฝึกเป็นขั้นๆแต่สมัยพุทธกาลนั้น
คนมีบุญบารมีมีมากมาย
ทำให้จิตผ่านแต่ละลำดับได้อย่างรวดเร็วคือผ่านจาก
รูปกรรมฐาน
๑.ห้องพระปีติห้า
๒.ห้องพระยุคลหก
๓.ห้องพระสุขสมาธิ

อย่างรวดเร็วจนถึงห้องอานาปานสติกรรมฐานและจิตเข้าสู่มรรคผลอย่างรวดเร็วจนทำให้คนสมัยนี้ส่วนใหญ่เข้าใจคลาดเคลื่อนไป ว่าเริ่มที่อานาปานสติได้เลยแต่จริงๆหาได้เป็นเช่นนั้นไม่เพราะต้องเริ่มที่ ห้องพระปีติทั้ง5 ซึ่งตั้งต้นที่พระขุททะกาปีติ

โดยเริ่มตั้งองค์ภาวนา ว่าพุท-โธ  ให้ตั้งจิต คิด นึก รู้     ตั้งใต้นาภีคือสะดือ 2นิ้วมือ เป็นบาทฐาน

   (ส่วนขององค์พระราหุลมหาเถระเจ้าก็ได้ทรงสอนพระกรรมฐานแบบลำดับ(พระกรรมฐานมัชฌิมา)และมีศิษย์ของท่านสืบทอดพระกรรมฐานแบบลำดับมาเรื่อยๆ


   ๓. ยุคเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระมหาอสีติสาวกปรินิพพานแล้ว พระภิกษุทั้งหลายจะบอกกัมมัฏฐานแบบลำดับ(พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯซึ่งเป็นกรรมฐานแบบมาตรฐาน)เท่านั้น 


    อีกทั้งภิกษุในสมัยพระพุทธเจ้าและพระอสีติมหาสาวกนิพพานแล้ว ท่านเคารพในพระพุทธพระธรรมและพระสงฆ์ และรู้ประมาณในวิสัยของท่านเอง




     ดังนั้น พระกรรมฐานแต่โบราณจึงบอกกัมมัฏฐานแก่ผู้อื่นด้วย"พระกัมมัฏฐานแบบลำดับ"เท่านั้น (พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯ)
     ผู้เรียนแบบลำดับแล้วจะรู้ได้ด้วยตนเองว่า กัมมัฏฐานกองไหน
     จะต้องกับ "จริตหรือจริยาที่เป็นอาจิณกรรมในภพก่อนๆ" ของตนเองคือจะขึ้นมาเอง(แต่สำคัญที่ว่าต้องผ่านการเรียน"พระกัมมัฏฐานแบบลำดับ"แล้วจากพระอาจารย์ผู้ประกอบด้วยคุณวุฒิและวัยวุฒิคือผู้เป็นกัลยาณมิตรนั่นเอง )


   

     กัมมัฏฐานแบบลำดับ(พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯ)นี้เข้ามาสู่สุวรรณภูมิเมื่อหลังตติยสังคายนาในสมัยพระ เจ้าอโศกมหาราช โดยส่งพระโสณกเถรและพระอุตรเถรมายังสุวรรณภูมิ โดยการเล่าเรียนสืบ ๆ กันมา ยังไม่มีการจดบันทึก

     การเรียนแบบพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯนี้สืบทอดเรื่อยๆ มาจนถึงยุคกรุงสุโขทัย มากรุงศรีอยุธยา และครั้งกรุงสุโขทัยนั้น พระคัมภีร์วิสุทธิมรรค ก็ได้มีการนำมาเผยแพร่ด้วยโบราณาจารย์กล่าวว่า คัมภีร์วิสุทธิมรรคนี้เป็นคัมภีร์ปฏิบัติที่เน้นปริยัติ จึงทำให้พระสงฆ์ที่ปฏิบัติกัมมัฏฐานในสมัยนั้นมีความรู้ทั้งทางปฏิบัติและ ปริยัติ ภาคปฏิบัติดี จึงมีความรู้เชี่ยวชาญมาก

      เมื่อถึงกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชการที่ ๑ ได้อาราธนาพระอธิการสุก วัดท่าหอยแขวงกรุงเก่า มากรุงเทพ ฯ
      เมื่อท่านมานั้น ได้นำตำราสมุดข่อยไทยดำบันทึกกัมมัฏฐานแบบลำดับมากรุงเทพฯ ด้วย แล้วรัชกาลที่ ๑ ทรงตั้งท่านให้เป็นพระภิกษุสงฆ์ผู้ทรงไว้ซึ่งแบบแผนตามรักษาวงศ์ รักษาประเพณี เป็นพระภิกษุผู้ถือตามโบราณจารย์กัมมัฏฐานแบบลำดับ ด้วยความเคารพในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์สาวกแต่ปางก่อน

      พระองค์ท่านก็เรียนกัมมัฏฐานแบบลำดับ(พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯ)มาจนครบทุกลำดับ จนท่านได้มรรค ได้ผล
      ฉะนั้น โบราณาจารย์ทางกัมมัฏฐานแต่ปางก่อนทั้งหลาย จึงได้กล่าวเป็นคติพยากรณ์ถึงการ รักษาการเรียนกัมมัฏฐานแบบลำดับไว้เป็น ๓ คาบว่า
            ลัชชี รักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา
            ลัชชี รักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา
            ลัชชี รักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา
 
   


ความหมายของส่วนที่ว่า "ลัชชี รักขิสสติ ภิกษุลัชชีจักรักษา"

"อนาคเต ลชฺชี รกฺขิสฺสติ, ลชฺชี รกฺขิสฺสติ, ลชฺชี รกฺขิสฺสติ : ในกาลภายหน้า ภิกษุผู้มียางอาย จักรักษาไว้ได้ ภิกษุผู้มียางอาย จักรักษาไว้ได้ ภิกษุผู้มียางอาย จักรักษาไว้ได้"
ภิกษุที่จัดว่ามียางอาย คือภิกษุที่มีความรู้สึกละอายต่อสิ่งที่พึงละอาย ละอายต่อการที่จะแตะต้องบาปอกุศลธรรม เป็นคนรังเกียจบาป
ภิกษุผู้เป็นลัชชียังมีคุณธรรมอื่นอีก คือ มีความเกรงกลัวบาป มีความเคารพหนักแน่นในหลักคำสอนของพระพุทธองค์ ยกย่องพระสัทธรรมไว้เหนือตนเอง
นอกจากจะละอายบาป ยังมีความเอ็นดู อนุเคราะห์ช่วยเหลือ ให้แล้วไม่หวังตอบแทน พูดจริง ไม่กล่าวให้คลาดจากความจริง ไม่สร้างความแตกแยก สมานสามัคคี เจรจาไพเราะ พูดถูกกาลเทศะ พูดจริง พูดเป็นอรรถเป็นธรรม มีที่อ้างอิงประกอบด้วยประโยชน์


ภิกษุที่เป็นลัชชี จะมีความยำเกรง ใคร่ในการศึกษา จะไม่ทำให้เสียแบบแผนเพราะเห็นแก่ความเป็นอยู่ แสดงเฉพาะธรรมและวินัย จะประคองสัตถุศาสน์ไว้อย่างมั่นคง ท่านจะไม่ละหลักการทางวินัย ไม่ละเมิดหลักการทางวินัย จะยืนหยัดมั่นคงในหลักการทางวินัย ตามภาวะของผู้มียางอาย
ภิกษุลัชชีที่จะรักษาพระสัทธรรมไว้ได้นี้ เป็นระดับพหูสูตผู้คงแก่เรียน มิใช่ไม่มีการศึกษา เป็นผู้ไม่ง่อนแง่น เมื่อถูกสอบถามข้อความในพระไตรปิฎก หรืออรรถกถาตอนท้าย หรือตอนต้น ย้อนไปย้อนมา ก็ไม่ทื่อ ไม่หวั่น ชี้แจงได้ว่า เรากล่าวอย่างนี้ อาจารย์ของเราก็กล่าวอย่างนี้ ดุจดังใช้แหนบถอนขนทีละเส้น เป็นผู้ทีทรงจำหลักการในพระไตรปิฎก และข้อวินิจฉัยในอรรถกถาได้อย่างแม่นยำ ไม่มีหมู่ดสิ้น



ภิกษุแม้จะเป็นพหูสูต ผู้คงแก่เรียน แต่ถ้าเป็นผู้ไม่มียางอาย เป็นผู้เห็นแก่ได้ ก็มักจะทำให้แบบแผู้นคลาดเคลื่อน แสดงหลักคำสอนของพระศาสดานอกธรรมนอกวินัย สร้างความมัวหมู่องอย่างมหันต์ขึ้นในพระศาสนา ก่อให้เกิดสังฆเภทบ้าง สังฆราชีบ้าง
ภิกษุผู้เป็นลัชชีเท่านั้น ที่จะปกป้องพระสัทธรรม ยอมสละตนเพื่อรักษาธรรม ส่วนภิกษุอลัชชี มักจะสละธรรมเพื่อรักษาตนและพวกพ้องของตน ยอมสละหลักการแห่งพระพุทธศาสนาเพื่อลาภสักการะ




ที่กล่าวมานี้ คือระบุถึงบุคคลผู้ที่รักษาพระสัทธรรมไว้ แต่การจะรักษาไว้ได้นั้น ก็มีขั้นตอนกระบวนการอยู่ คือต้องรู้ว่า อะไรเป็นแก่นแท้ที่เป็นพระสัทธรรม ภิกษุที่รู้สึกว่า ตนก็เป็นผู้มียางอาย หวงแหนปกป้องพระศาสนา แต่ถ้าไม่รู้จักพระศาสนา หรือพระสัทธรรมที่แท้ ก็อาจจะรักษาสัทธรรมปฏิรูปไว้ก็ได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเรียนรู้พระสัทธรรมแท้ให้เข้าใจ ในเรื่องนี้ ก็ต้องอาศัยพระพุทธพจน์ที่พระบรมศาสดาได้ทรงแสดงไว้ในพระไตรปิฎก
การที่พระสัทธรรมจะเสื่อมสลายหายสูญไป มิใช่ว่า เพราะไม่มีผู้รักษา มีผู้รักษา แต่อาจจะรักษาไว้แต่ที่พิรุธคลาดเคลื่อนก็เป็นได้ เหตุที่จะทำให้พระสัทธรรมเสื่อมสลายนั้น พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้ในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาตว่า :-
ภิกษุทั้งหลาย เหตุ ๒ ประการ ที่ทำให้สัทธรรมเสื่อมสลายหายไป คือ บทพยัญชนะ (หมู่ายถึงพระพุทธวจนะ) ที่จำมาผิด (หรือคัดลอกมาผิด) และเข้าใจเนื้อความไม่ถูกต้อง เมื่อจำบทพยัญชนะมาผิด ก็ย่อมจะเข้าใจเนื้อความผิดไปด้วย
อีกแห่งหนึ่งพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงเหตุที่จะทำให้พระสัทธรรมเสื่อมสลายไปไว้ว่า :-



เหตุ ๔ ประการ ที่ทำให้สัทธรรมเสื่อมสลายหายไป คือ

๑. ภิกษุทั้งหลาย ศึกษาเล่าเรียนสุตตันตะที่เรียนกันมาผิดลำดับ ตามบทพยัญชนะที่จำกันมาผิด เนื้อความแห่งบทพยัญชนะที่จำกันมาผิด ก็ทำให้เข้าใจผิดกันไปด้วย

๒. ภิกษุทั้งหลาย เป็นคนที่ว่ายากสอนยาก มีนิสัยที่ว่ายากสอนยาก มีนิสัยไม่อดทน ไม่รับฟังคำสอนโดยเคารพ

๓. บรรดาภิกษุที่เป็นพหูสูต คล่องปริยัติทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ไม่ตั้งใจถ่ายทอดสุตตันตะแก่ผู้อื่น เมื่อท่านเหล่านั้นล่วงลับไป สุตตันตะก็ขาดรากฐาน ไม่มีที่พึ่งอาศัย (ไม่มีที่อ้างอิง)

๔. บรรดาภิกษุระดับเถระ เป็นพระมักมาก เป็นพระย่อหย่อน เป็นผู้นำในทางคลายความเพียร ละทิ้งวิเวก ไม่ระดมความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ภิกษุรุ่นหลังก็พากันเอาเยี่ยงอย่าง


เหตุ ๔ ประการนี้ที่ทำให้สัทธรรมเสื่อมสลายหายไป


ที่กล่าวมานี้ คือตัวสาเหตุที่จะทำให้พระสัทธรรมเสื่อมสูญสลายหายไป ในข้อความที่กล่าวมานั้น มีถ้อยคำที่ควรทำความเข้าใจ เช่นคำว่า "บทพยัญชนะที่จำมาผิด" (ทุนฺนิกฺขิตฺตํ ปทพฺยญฺชนํ) นั้น หมายถึงตัวอักษรที่ส่องให้รู้เนื้อความจำกันมาคลาดเคลื่อนไป

เมื่อบทพยัญชนะพิรุธคลาดเคลื่อน การกำหนดความหมายเฉพาะบทย่อมคลาดเคลื่อนไปด้วย เช่นคำว่า "สุวิชาโน ปราภโว : คนเสื่อม (ชั่ว) ก็รู้ได้ง่าย" จำกันมาคลาดเคลื่อนไปว่า "ทุวิชาโน ปราภโว" ก็เลยตีความคลาดเคลื่อนไปแปลกันว่า "ผู้รู้ชั่วเป็นผู้เสื่อม" จึงเกิดความสงสัยกันว่า พระพุทธองค์ก็ทรงทราบเรื่องชั่วที่เรียกว่า อกุศลธรรม เป็นธรรมที่ต้องละ เรียกว่า ปหาตัพพธรรม พระองค์ก็มิได้มีความเสื่อมเสียอะไร


ที่กล่าวมานี้ เป็นการกล่าวถึงลักษณะผู้ที่จะรักษาพระสัทธรรมไว้ได้   



ภาพพานกรรมฐานเวลากราบขอขึ้นครูเรียนกรรมฐานมัชฌิมา

      หลวงปู่สุก(ไก่เถื่อน)ท่านก็นับเป็นพระลัชชีรูปหนึ่งที่รักษาแบบแผน ประเพณีกัมมัฏฐานแบบลำดับจนถึงสมัยปลายรัชการที่สอง ประมาณ พ.ศ. ๒๓๖๔ ปรากฏว่ามีผู้ตั้งตัวเป็นผู้บอกกัมมัฏฐานกันมากแต่ไม่มีการรักษาแบบแผน รักษาวงศ์ รักษาประเพณี ของพระกัมมัฏฐานแบบลำดับ(พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯ)ไว้สอนตามคติของตัวเองไม่เคารพพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อริยสาวกแต่ปางก่อน

      ซึ่งหากพิเคราะห์ดูก็ปรากฏให้เห็นได้ในปัจจุบันอยู่ดาษดื่น บางรายเป็นเด็กยังไม่เดียงสาก็ตั้งตัวเป็นอาจารย์บอกกัมมัฏฐาน ซ้ำร้ายยังอวด ฤทธิ อวดเดชที่ไม่เหมาะสมกับจริยวัตรของนักปฏิบัติที่จะไม่แพร่งพรายหรืออวดอ้างผลการปฏิบัติ

      เพราะจะเป็นอุปกิเลสทำให้ผลปฏิบัติที่ได้เสื่อมถอนและไม่ก้าวหน้า เป็นธรรมจริยะที่เหล่าผู้ฝึกฝนปฏิบัติต้องเคร่งครัดนับแต่โบราณที่อนุญาตให้ แสดงผลการปฏิบัติได้เฉพาะกับผู้เป็นอาจารย์เท่านั้น
     

                            ผู้ที่หลงเลื่อมใสอาจารย์กัมมัฏฐานประเภทรู้เอง-คิดเอง-เดาเอาเหมาเข้าข้างตัวเช่นนี้เป็นผู้น่าสงสารที่ลูบคลำพระพุทธศาสนาอย่างผิดทาง จึงไม่อาจรับประโยชน์จากพระพุทธศาสนาได้อย่างเต็มที่


      ในขณะนั้น ล้นเกล้ารัชกาลที่สองทรงเล็งเห็นว่าจะเป็นภัยแก่พระศาสนาที่คนรุ่นต่อไปจะหา ของจริงที่ถูกต้องไว้เล่าเรียนไม่ได้จึงทรงมีพระบรมราชโองการ ให้ทำ สังคายนาพระกัมมัฏฐานแบบลำดับ(พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับฯ) ไว้เป็นหมวดหมู่ซึ่งต่อมาได้เผยแพร่สืบต่อกันมาเรื่อยๆอย่างไม่ขาดสายสมกับ พระราชประสงค์ จนถึง พระสังวรานุวงศ์เถระ(ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม ปรากฏว่า พระกัมมัฎฐานแบบลำดับนั้นรุ่งเรืองมาก มีภิกษุ สามเณร ร่ำเรียนมากมาย


ต้นที่มา โดยรวมของเรื่อง

หลวงพ่อจิ๋ว โทร. 084-651-7023
;[พระครูสิทธิสังวร;วีระ ฐานวีโร ;ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง]

รายละเอียดของสถานที่ฝึก
ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม(พลับ) ซ.อิสรภาพ 23 แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ โทร. 084-651-7023

ขอบคุณภาพจากhttp://www.ounamilit.com/,http://www.bloggang.com/,http://www.rmutphysics.com/,
[/quote]


==========================================

ข่าวสารเกี่ยวกับพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับที่คุณควรรู้



oxfordทึ่งพบแหล่งเก็บคัมภีร์กรรมฐานแบบลำดับครบถ้วนที่สุดท้ายในโลกที่วัดพลับ



http://www.prommapanyo.com/smf/index.php?topic=2798.msg22489#msg22489

==========================================


   
เชิญร่วมสร้างบุษบกประดิษฐาน+เฉลิมฉลองพระพุทธมัชฌิมามุนีฯ
http://www.prommapanyo.com/smf/index.php?topic=2798.msg22466#msg22466


==========================================
   
ขั้นตอนการเริ่มนั่งกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับโดยพื้นฐาน


http://www.prommapanyo.com/smf/index.php?topic=2798.msg22518#msg22518


บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29302
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 
สาธุ ขออนุโมทนา
:25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

vichai

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 207
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา สาธ ครับ

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
มาศึกษาธรรมะ ครับ ยินดีรู้จักทุกท่านที่เป็นกัลยาณมิตร ครับ
เครดิต คุณกบแย้มกะลา