เวทนา ที่เกิดคือ ความเจ็บย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
เมื่อเกิดเวทนา จิตที่เสวยเวทนา เมื่อกายรับทุกขเวทนา แล้วทนไม่ได้ ก็จะเป็นความทุกข์
ส่วนใหญ่ ครูอาจารย์ก็มักจะสอนให้เข้าไปสังเกตการณ์ เวทนา กัน หรือ กำหนดรู้เวทนา การทำเยี่ยงนี้เป็นการเปลี่ยนอารมณ์กรรมฐาน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะทุกข์ในปัจจุบัน แต่การฝึกอย่างนี้เป็นการเจริญสติ มิใช่ สมาธิ จึงทำให้ผู้ฝึกเพียงกำหนดรู้ และ แบ่งรับแบ่งสู้ กับเวทนาต่อไป ผลการฝึกจิตไม่แกร่งพอก็สู้เวทนา ไม่ได้ก็ล้มเลิก การฝึก ถึงแม้นั่งฝืนกำหนดดูอยู่ สุดท้ายก็ต้องเลิกเพื่อเข้ารับความสุข ทำให้วิปัสสนาไม่ขาด คือ ถูก สันตติ ความสืบเนื่อง เข้าครอบงำเช่นเดิม
วิธีแก้ไข ให้เจริญสมาธิเช่นเดิม ตามขั้นตอนเิดิม มิให้เปลี่ยนองค์กรรมฐาน ให้วางอุเบกขานิมิตให้หนักขึ้นตามเวลาที่กำหนดไว้ ให้มั่นคงในนิมิตทั้ง 3 คือ ปัคคาหะ บริกรรม และ อุเบกขา กำหนดนิมิตทั้ง 3 เป็นอารมณ์ตามขั้นตอนของพระกรรมฐาน ครั้งแรกจะปวดมาก เจ็บมาก หน่อย ครั้งต่อ ๆ ไป ก็จะปวดน้อยลง เพราะตบะสมาธิจิต แกร่งขึ้น ไม่ใช่กายแกร่งขึ้นอย่าไปเข้าใจผิด ว่าเป็นกายทนได้มากขึ้น กายก็เหมือนเดิม แต่จิตนั้นมีกำลังและตบะมากขึ้น
ดังนั้นไม่มีคำใดดีที่สุด เท่ากับคำว่า อ ด ท น ที่ต้องใช้คู่กับ ขั้นตอนของพระกรรมฐาน
เจริญพร / เจริญธรรม