ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ฟังสวดอภิธรรม ต้องมีความเข้าใจ ในเนื้อหา หรือไม่ ถึงจะได้บุญ  (อ่าน 8375 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


  เมื่อพระทั้งหลายเหล่านั้นเรียนอภิธรรม  จากสำนักของสมเด็จพระบรมครูแล้ว  จึงได้นำเอาพระอภิธรรมที่องค์สมเด็จพระประทีปแก้วสอน ไปสาธยายให้ขึ้นใจ  เพื่อจะได้จำข้อธรรมไว้ประพฤติปฏิบัติ

       ฉะนั้น  ในขณะที่ท่านทั้งหลายเข้าไปซ้อมอภิธรรมในถ้ำหลังนั้น  คือในถ้ำเดียวกันกับที่งูเหลือมนอนอยู่  แต่ว่าค้างคาวพวกนี้ไม่ได้ชอบธรรมะขององค์สมเด็จพระบรมครู หรือชอบเสียงอภิธรรมแต่เฉพาะบทอายตนะ  ท่านชอบฟังเสียงทั้งหมด  แต่ไม่รู้ว่าเสียงนั้นว่าอย่างไร  พระทั้งหลายไปซ้อมกันก็ซ้อมแบบเสียงพร้อม ๆ  กัน  ทำเสียงให้สม่ำเสมอกันเพื่อความคล่องและความมีระเบียบ  ค้างคาวทั้งหมดชอบใจเสียงทั้หมด เพราะว่าฟังเรียบ ๆ เสนาะดี  จะรู้ว่าเสียงนี้เป็นเสียงธรรมก็หาไม่  ฟังมาฟังไป ฟังไปฟังมา เผลอหลับ  เท้าก็หลุดหล่นลงมา  ศีรษะกระทบหินตายหมดทั้ง  500  ตัว

                        เมื่อตายแล้วเพราะฟังเสียงในธรรม พอใจในธรรม  ก็ไปเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลกทั้งหมด  มีวิมานทองคำเป็นที่อยู่  มีนางฟ้า  500  เป็นบริวาร




ฟังสวดอภิธรรม ต้องมีความเข้าใจ ในเนื้อหา หรือไม่ ถึงจะได้บุญ คือกำลังมานั่งคิดอยู่คะว่า ไปฟังสวดพระอภิธรรมในงานศพแล้วเราจะได้อะไร นอกเสียจากฟังไม่รู้เรื่องแล้ว จะได้อะไรอีก

 แต่ครั้นมานึกถึง ค้างคาวจำนวน 500 ตัวได้ฟังพระภิกษุสวดพระอภิธรรม ครั้นพอสิ้นชีิวิตแล้วได้บังเกิดมาเป็นเทวดา

  ที่สงสัยก็คือ ค้างคาว ซึ่งเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ขณะนั้นจะฟังพระสวดพระอภิธรรม เข้าใจหรือไม่คะ ถ้าไม่เข้าใจก็แสดงว่า ผลของการฟังสวดคือฟังแล้ว ทำให้ใจสงบ และ มีความเลื่อมใสใช่หรือไม่คะ ที่เป็นบุญที่ค้างคาวได้ทำในตอนนั้น หรือ ว่ามีบุญอะไรมากกว่านี้ ที่เรา ยังไม่เข้าใจคะ

 รบกวนเพื่อน ๆ ช่วยเฉลย ด้วยนะคะ

 :c017: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 08, 2012, 10:40:56 am โดย sunee »
บันทึกการเข้า

VongoleX

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 402
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ฟังมาฟังไป ฟังไปฟังมา เผลอหลับ  เท้าก็หลุดหล่นลงมา  ศีรษะกระทบหินตายหมดทั้ง  500  ตัว


อย่างนี้จัดได้ว่า ค้างคาว ตายเพราะการสาธยาย พระอภิธรรมของพระ อย่างนี้พระเป็นเหตุให้ค้างคาว ตาย บาปหรือไม่ครับ ผิดศีลหรือไม่ครับ อย่างนี้

  :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า
ผู้พิทักษ์รุ่นที่ 10 แห่ง Vongole จับมือกับ แก็งค์ อ๊บ อ๊บ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29307
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ประวัติพระอภิธรรม(คัดมาบางส่วน)

    เมื่อพระสารีบุตรได้ฟังพระอภิธรรมจากพระบรมศาสดาแล้ว ก็นามาสอนให้แก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป
    ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านโดยสอนตามพระพุทธองค์วันต่อวันและจบบริบูรณ์ในเวลา ๓ เดือนเช่นกัน
    การสอนพระ อภิธรรมของพระสารีบุตรที่สอนแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้
    เป็นการสอนชนิดไม่ ย่อเกินไป ไม่พิสดารเกินไป เรียกว่า นาติวิตถารนาติสังเขปนัย


    ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปนี้ เคยมีอุปนิสัยมาแล้วในชาติก่อน คือในสมัยศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า       
    ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปนี้เป็นค้างคาว อาศัยอยู่ในถ้าแห่งหนึ่ง
   ขณะนั้นมีภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรม ๒ รูปที่อาศัย อยู่ในถ้านั้นเช่นกัน กาลังสวดสาธยายพระอภิธรรมอยู่

   เมื่อค้างคาวทั้ง ๕๐๐ ตัวได้ยินเสียงพระสวดสาธยายพระอภิธรรม
   ก็รู้เพียงว่าเป็นพระธรรมเท่านั้น หาได้รู้ความหมายใดๆไม่ แต่ก็พากันตั้งใจฟังตั้งแต่ต้นจนจบ
   เมื่อสิ้นจากชาติที่เป็นค้างคาวแล้วก็ได้ไปเกิดอยู่ในเทวโลกเหมือนกันทั้งหมด
   จนกระทั่งศาสนาของพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้น
   จึงได้จุติจาก เทวโลกมาเกิดเป็นมนุษย์และได้บวชเป็นภิกษุในศาสนานี้
   ตลอดจนได้เรียน พระอภิธรรมจากพระสารีบุตรดังกล่าวแล้ว



ที่มา คู่มือการศึกษาพระอภิธรรมทางไปรษณีย์
เรื่อง สาระน่ารู้เกี่ยวกับพระอภิธรรม เรียบเรียงโดย วิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ
อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ขอบคุณภาพจาก http://i883.photobucket.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ฟังมาฟังไป ฟังไปฟังมา เผลอหลับ  เท้าก็หลุดหล่นลงมา  ศีรษะกระทบหินตายหมดทั้ง  500  ตัว


อย่างนี้จัดได้ว่า ค้างคาว ตายเพราะการสาธยาย พระอภิธรรมของพระ อย่างนี้พระเป็นเหตุให้ค้างคาว ตาย บาปหรือไม่ครับ ผิดศีลหรือไม่ครับ อย่างนี้

  :smiley_confused1:

น่าจะไม่บาปนะครับ เพราะพระท่านไม่ได้มีเจตนาอย่างนั้น นะครับ

อะไรเป็นเหตุแห่ง กรรม คือ เจตนาฆ่า เป็นกรรมครับ

บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29307
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ตำนานพระอภิธรรม(คัดมาบางส่วน)

    ท่านผู้หนักในธรรม ทั้งหลาย ! ตามนัยแห่งบรรยายเรื่องนี้ ดังที่แสดงมาแล้วนั้น แสดงออกไว้แจ่มแจ้งทีเดียวว่า “กุสลา ธมฺมา” นี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้เทวดาฟัง มิใช่แสดงให้ผีที่ไหนฟัง ทั้งฟังเป็นบุญเป็นกุศลอันสำคัญยิ่ง แต่ถึงดังนั้นก็ยังมีอีกหลายคนที่เข้าใจผิดไปว่า กุสลา ธมฺมา นี้ สำหรับพระสวดให้ผีพัง

    ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าบ้านใดมีใครตายลง ญาติมิตรต้องนิมนต์พระมาสวดให้คนตายฟัง ที่คิดมากออกไปไกลถึงทึกทักว่า เมื่อมีการสวด กุสลา ธมฺมา ขึ้นแล้ว ไม่ใช่เฉพาะแต่ผีที่ตายฟังเท่านั้น แม้ผีทั้งหลายอื่นก็พอใจ พากันมาประชุมฟัง ถึงกับบ้านใกล้เคียง มีบางคนไม่กล้าจะออกจากห้อง หรือออกจากมุ้ง กลัวผีถึงคลุมโปงจนเหงื่อออกชุ่มผ้าก็มี

    บางแห่งกลายเป็นโอกาสให้คนร้ายลอบเข้าฉกลักทรัพย์สมบัติได้ ดูประหนึ่งว่าบท กุสลา ธมฺมา เป็นมนต์มหาเสน่ห์เรียกผีมาประชุมดีนัก หรือไม่ก็เป็นมนต์ที่ภูตผีทั้งหลายพอใจฟัง คือฟังไพเราะ รู้เรื่องดี อนิจจา! เป็นไปได้ถึงเพียงนี้



    ท่านทั้งหลาย ผู้ที่เข้าใจเช่นนี้ ปรากฏว่า เป็นพุทธศาสนิกชนด้วยซ้ำไป ดูเถิดแม้พุทธศาสนิกชนยังเข้าใจนอกทางไปเช่นนี้ ที่ไม่ใช่พุทธศาสนิกชนเขาจะรู้สึกอย่างไร ถ้าไม่เห็นไปว่าเราเล่นตลก หรืองมงายจนเกินพอดี เห็นว่าควรจะแก้ เพราะยังพอแก้ได้ ทั้งแก้ก็ไม่ยาก ถ้ารักจะแก้ คือ ให้ศึกษาหาความรู้ในเรื่องนี้ ตามนัยที่บรรยายมาแล้วข้างต้นว่า กุสลา ธมฺมา นั้น เป็นพระอภิธรรม เป็นธรรมชั้นสูง ควรแก่การศึกษาและการฟังอย่างยิ่ง เป็นธรรมสำหรับคนฟัง ไม่ใช่สำหรับผีสาที่ไหนฟัง

    ที่บางแห่งพระเริ่มจะสวด เมื่อจุดธูปเทียนแล้วก็ไปเคาะโลงบอกให้ผีฟัง
    ท่านทั้งหลายเอย ผีในโลงฟังออกหรือ? ยังฟังพระสวดได้อยู่หรือ?
    ยังรับคำตักเตือน ให้ฟังสวดได้อยู่หรือ? เป็นไปไม่ได้แน่ๆ

 
  แม้แต่เมื่อยังไม่ตายก็ยังฟังไม่รู้เรื่อง หรือบางคนก็ไม่เคยฟังด้วยซ้ำไป แล้วเหตุใดตายแล้วจะฟังอภิธรรมออก ดูไปเกณฑ์ให้เกียรติแก่คนตายมากเกินไป ยังไม่ตายฟังไม่ออก ไม่พอใจฟัง ตายแล้วกลับฟังออกและพอใจฟัง
   น่าขันแท้ๆ ทำเหมือนคนตาย เป็นคนสำเร็จ มีฤทธิ์มีญาณพิเศษอะไรทำนองนั้น
   ช่าง..ปล่อยให้ทำกันตามสบายน่าอายแก่ท่านผู้รู้เรื่องอย่างยิ่ง



  ความจริงนั้น การสวดอภิธรรม เป็นการสวดให้คนเป็น คือ ญาติมิตรของผู้ตาย ซึ่งโดยปกติมีความเศร้าโศก เสียดาย อาลัยถึงผู้ตายนั้น เพื่อบรรเทาความโศก โดยรู้เห็นตามความเป็นจริงของร่างกายมนุษย์ต้องแตก ต้องทำลาย ไม่มีใครจะพ้นได้ทั้งจะร้องไห้ จะพูด จะทำอย่างไร ผู้ตายก็หารู้สึกไม่

    ญาติมิตรควรจะตั้งใจฟังให้เป็นบุญเป็นกุศล แล้วตรวจน้ำอุทิศผลบุญกุศล ที่ตั้งใจฟังสวดนั้น ไปให้ผู้ตายด้วยน้ำใจอันงาม  สมกับที่เรารักและอาลัยคิดถึงเขา หรือสงสารเขาก็ตามเถิด บ้านที่เข้าใจในเรื่องนี้ ถ้ามีการสวดอภิธรรมขึ้นที่บ้านนั้น จะเห็นญาติมิตรของเขาพร้อมใจกัน รับเป็นเจ้าภาพสวดให้เป็นวันๆ ตั้งอกตั้งใจฟัง ทำบุญอุทิศไปให้ผู้ตาย

    บ้านที่ไม่เข้าใจ ในเรื่องนี้ เมื่อมีการสวดอภิธรรมขึ้นในบ้าน คนในบ้านมักจะพากันเลี่ยง ลางที่มีแต่พระสวด ไม่มีคนฟัง เข้าลักษณะสวดให้ผีฟัง เพราะไม่มีคนฟัง เห็นแล้วน่าสลดใจ
    เพราะฉะนั้น ขอเตือนพุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้โปรดช่วยกันแก้ไขในเรื่องนี้ ทำให้ถูกกับเรื่อง ให้เกิดเป็นบุญกุศล เพื่อจะได้อุทิศผลของการสดับอภิธรรมแก่ญาติมิตรของเราในกาลต่อไป



อ้างอิง
http://tipitaka.2pt.net/ตำนาน/ตำนานสวดมนต์/ตำนานพระอภิธรรม/
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=541.0
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29307
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
   
     สิ่งที่คุณสุนีย์สงสัยเป็นเรื่อง "อำนาจแห่งพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ" และเป็นของเรื่อง"ผลแห่งบุญ"
    ซึ่งล้วนเป็นเรื่อง "อจินไตย" ทั้งสิ้น ปุถุชนไม่อาจอธิบายได้ ตอบไม่ได้ครับ

    การฟังการสวดมนต์ต่างๆ หากฟังด้วยจิตที่เป็นสมาธิ (เอาเสียงสวดเป็นอารมณ์)
    ก็เปรียบเสมือนการนั่งกรรมฐาน (ไม่ว่าจะเข้าใจความหมายของบทสวดหรือไม่ก็ตาม)
    บุญกรรมฐานเป็นไปโดยอัตโนมัติครับ จะได้มากได้น้อย ขึ้นอยู่กับระดับของจิต
    ถ้าจิตอยู่ในฝ่ายสมถะจะได้บุญระดับหนึ่ง
    หากจิตยกขึ้นสู่วิปัสสนาได้ บุญที่ได้ก็จะมากกว่าจิตที่เป็นสมถะ


    อย่างไรก็ตาม การที่จิตจะไหลไปสู่สมถะและวิปัสสนาได้นั้น
    ผมเชื่อว่า ขึ้นอยู่กับบารมีธรรมที่สั่งสมมาแต่กาลก่อน
    คนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน อินทรีย์บารมียังอ่อนครับ(ทำไม่ได้)
    คงคุยเป็นเพื่อนได้เท่านี้ครับ

     :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 09, 2012, 02:33:36 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนาสาธุ มีเนื้อหา มากครับ

  :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29307
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
การสวดพระอภิธรรมในงานศพ มีมาตั้งแต่....
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: เมษายน 11, 2012, 11:34:56 am »
0

การสวดพระอภิธรรมในงานศพ

    ทุกท่านคงจะพบคาว่า สวดพระอภิธรรม หรือ ตั้งศพสวดพระอภิธรรม ในบัตรเชิญหรือในหน้าหนังสือพิมพ์เพื่อเชิญไปร่วมงานบำเพ็ญกุศล แด่ท่านผู้วายชนม์อยู่บ่อยๆ ที่ว่าสวดพระอภิธรรมนั้น เมื่อท่านอ่านมาถึงตรงนี้ย่อมทราบดีแล้วว่าหมายถึงอะไร

    ตามหลักฐานของท่านผู้รู้กล่าวว่ามีการนำเอาพระอภิธรรมมาสวด ในพิธีศพของพุทธศาสนิกชนชาวไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และท่านได้ให้ความเห็นไว้ว่าการบำเพ็ญกุศลในงานศพเพื่ออุทิศให้ผู้วายชนม์นั้น เป็น เรื่องเกี่ยวกับความรัก ความกตัญญูต่อผู้วายชนม์ซึ่งจากไปไม่มีวันกลับ


     การที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยนำเอาคัมภีร์พระอภิธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องกับ ประเพณีนี้นั้นตามข้อสันนิษฐาน คงจะเกิดจากเหตุผลประการต่างๆ ดังนี้

ประการแรก เป็นเพราะ พระอภิธรรม ไม่กล่าวถึงสัตว์ ไม่กล่าวถึง บุคคล ไม่มีตัวตน เรา เขา
     แต่ทรงจำแนกธรรมออกเป็นกุศล อกุศล และ อัพยา- กฤต (ธรรมที่ไม่ใช่กุศลและไม่ใช่อกุศล) ทรงกระจายสรีระกายซึ่งเป็น กลุ่มก้อนออกเป็นขันธ์ ๕ บ้าง อายตนะ ๑๒ บ้าง ธาตุ ๑๘ บ้าง อินทรีย์ ๒๒ บ้าง
     อันเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยซึ่งต้องมีการเสื่อมสลายไปตามสภาวะ มิสามารถตั้งอยู่ได้ตลอดไป
     การได้ฟังพระอภิธรรมจะทำให้ผู้ฟังน้อมนำมา เปรียบเทียบกับการจากไปของผู้วายชนม์
     ทำให้เห็นสัจจธรรมที่แท้จริงของชีวิต

     ท่านโบราณบัณฑิตคงจะเห็นว่าในงานเช่นนี้เป็นโอกาสอันดีที่ท่านผู้ฟังและท่านผู้ร่วมบำเพ็ญกุศลในงานศพจะสามารถพิจารณาเห็นความจริงของชีวิตได้โดยง่าย จึงได้นำเอาพระอภิธรรมมาแสดงให้ฟัง


อีกประการหนึ่ง เพราะเห็นว่าในการตอบแทนพระคุณพุทธมารดาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
     ท่านได้เสด็จขึ้นไปทรงแสดงพระอภิธรรม เทศนาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดาซึ่งสิ้นพระชนม์ไปแล้ว ดังนั้น เมื่อบุพการีอันได้แก่ มารดา บิดา ถึงแก่กรรมลง ท่านผู้เป็นบัณฑิตจึงได้นำเอาพระอภิธรรมเข้ามาเกี่ยวข้องในการบำเพ็ญกุศลให้แก่ ผู้วายชนม์ โดยถือว่าเป็นการสนองพระคุณมารดา บิดา ตามแบบอย่างพระจริยวัตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
     ต่อมาแม้ว่าท่านผู้วายชนม์จะมิใช่มารดาบิดาก็ตาม
     แต่การนำเอาพระอภิธรรมมาแสดงในงานศพก็ถือเป็นประเพณีไปแล้ว


ประการสุดท้าย เพราะเชื่อว่าพระอภิธรรมเป็นคำสอนขั้นสูง
     ที่มีเนื้อหาละเอียดลึกซึ้งเกี่ยวกับปรมัตถธรรม ๔ ประการ
     หากนำมาแสดงใน งานบำเพ็ญกุศลให้แก่ผู้วายชนม์แล้ว ผู้วายชนม์จะได้บุญมาก



     
     การสวดพระอภิธรรม ก็คือ การนำเอาคำบาลีขึ้นต้นสั้นๆ
     ในแต่ละคัมภีร์ของพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์มาเรียงต่อกัน

     การสวดพระอภิธรรมนี้ บางทีเรียกว่า สวดมาติกา
     ถ้าเป็นงานพระศพบุคคลสำคัญในราชวงศ์ เรียกว่า พิธีสดับปกรณ์
     ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า สัตตปกรณ์ อันหมายถึง พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์นั่นเอง (สัตต = เจ็ด, ปกรณ์ = คัมภีร์, ตารา)


     ต่อมาภายหลัง มีผู้รู้ได้นำเอาคาถาในพระอภิธัมมัตถสังคหะ ของพระอนุรุทธาจารย์มาสวดเป็นทำนองสรภัญญะ (คือการสวดเป็นจังหวะสั้น-ยาว) เรียกว่า สวดสังคหะ
     โดยนำเอาคำบาลีในตอนต้นและตอนท้ายของแต่ละปริจเฉท
     ซึ่งมีทั้งหมด ๙ ปริจเฉทมาเรียงต่อกันเป็นบทสวด



อ้างอิง
คู่มือการศึกษาพระอภิธรรมทางไปรษณีย์
เรื่อง สาระน่ารู้เกี่ยวกับพระอภิธรรม เรียบเรียงโดย วิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ
อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
มูลนิธิเผยแผ่พระสัทธรรม จัดพิมพ์เป็นธรรมทาน
ขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com/,http://www.wathuakrabeu.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 11, 2012, 11:42:28 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ