ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กำหนดรู้ หมายถึง......  (อ่าน 8858 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
กำหนดรู้ หมายถึง......
« เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 02:49:09 am »
0
 :bedtime2: :bedtime2:


กำหนดรู้ หมายถึง........



สืบเนื่องด้วย ตอนนี้ตามอ่านกระทู้ ไปหลายหน้า และจะได้อ่าน คำว่า กำหนดรู้

เช่น เมือจิตเป็นสมาธิ ย่อม รู้ เห็นตามความเป็นจริง

ดังนั้นขอวิเคราะห์ สักนิด ( ไม่รู้จะถูกหรือป่าว )

   สติ หมายถึงการระลึกได้ มหาสติ คือการระลึกได้อย่างใหญ่

   สัมปชัญญะ การรู้ตัวทั่วพร้อม

ถ้าจะให้ หมวยนีย์ วิเคราะห์แล้ว รู้ อันนี้คือ สัมปชัญญะ ที่พัฒนามาจาก สติ ใช่หรือป่าว คร้า

  ถ้าอย่างนั้น เราควรกล่าวว่า มหาสัมปชัญญะ กำหนดรู้ เห็นตามความเป็นจริง ใช่หรือป่าว คร้า

ใช่หรือ ไม่ใช่อย่างไร แนะนำต่อด้วยนะ คร้า  :17:

 :25:















บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28565
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: กำหนดรู้ หมายถึง......
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2010, 08:55:27 am »
0
สงสัยให้รู้ว่าสงสัย "จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน"
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28565
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: กำหนดรู้ หมายถึง......
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2010, 02:15:14 pm »
0
ขอนำคำเทศนาของพระวิปัสสนาจารย์ท่านหนึ่งมาไขข้อข้องใจของ "หมวยนีย์"
นี่เป็นครั้งแรกที่ "น้องนีย์" ใช้สรรพนามแทนตัวเองว่า"หมวยนีย์"
ขอสารภาพว่า ผมไม่มีเจตนาจะตั้งชื่อให้เป็นแบบนั้น เพียงแต่เพลงมันพาไป

เอาละครับ มาตอบคำถามดีกว่า
กำหนด มาจากภาษาเขมร แปลว่า กด หรือ ข่ม
แต่ภาษาไทยให้ความหมายว่า
กำหนด [-หฺนด] ก. หมายไว้, ตราไว้. น. การหมายไว้, การตราไว้;
(เลิก) บทบริหารบัญญัติคล้ายพระราชกฤษฎีกา โดยมากเป็นบัญญัติที่เกี่ยวกับบุคคลหรือข้าราชการบางจําพวก เช่น พระราชกําหนดเครื่องแบบแต่งกายข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน.


พระวิปัสสนาจารย์กล่าวว่า เรานำมาใช้อธิบายข้อธรรมในพระไตรปิฎกโดยไม่ถูกต้อง

ขอให้ดูในสติปัฏฐาน ๔
๑.กายานุปัสสนา   แยกออกเป็น กาย-อนุ-วิปัสสนา
๒.เวทนานุปัสสนา แยกออกเป็น เวทนา-อนุ-วิปัสสนา
๓.จิตตานุปัสสนา  แยกออกเป็น จิต-อนุ-วิปัสสนา
๔.ธัมมานุปัสสนา  แยกออกเป็น ธรรม-อนุ-วิปัสสนา


อนุ คําประกอบหน้าศัพท์บาลีหรือสันสกฤตมีความหมายว่า
   - น้อย เช่น อนุทิศ = ทิศน้อย,
   - ภายหลัง, รุ่นหลัง, เช่น อนุชน = ชนรุ่นหลัง,
   - ตาม เช่น อนุวัต = เป็นไปตาม, เนือง ๆ เช่น อนุศาสน์ = สอนเนือง ๆ คือ พรํ่าสอน. (ป., ส.).

วิปัสสนา ความเห็นแจ้ง คือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม
ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้,
การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น ของมันเอง


ลองดูข้อธรรมในสติปัฏบาน ๔ ซิครับ มีคำไหนแปลว่า กำหนดบ้าง
คีย์เวิร์ดที่สำคัญคือ คำว่า "อนุ" อนุ ในที่นี้ควรแปลว่า ภายหลัง หรือ ตาม
และควรจะแปลข้อธรรมในสติปัฏฐานว่า รู้ตามกาย รู้ตามเวทนา รู้ตามจิต และรู้ตามธรรม


สติ ความระลึกได้, นึกได้, ความไม่เผลอ, การคุมใจไว้กับกิจ หรือกุมจิตไว้กับสิ่งที่เกี่ยวข้อง, จำการที่ทำและคำที่พูดแล้ว แม้นานได้
สัมปชัญญะ ความรู้ตัวทั่วพร้อม, ความรู้ตระหนัก, ความรู้ชัดเข้าใจชัด ซึ่งสิ่งที่นึกได้; มักมาคู่กับ สติ


พระวิปัสสนาจารย์ได้กล่าวว่า สติ เปรียบเสมือน เครื่องมือ
สัมปชัญญะ เป็น ตัวปัญญา (ที่ได้จาการภาวนา)

ดังนั้น สัมปชัญญะ จึงเป็นผลมาจาก สติ
กล่าวโดยอนุโลมตามที่น้องนีย์เข้าใจว่า สัมปชัญญะ พัฒนามาจาก สติ ก็น่าจะได้

คำว่า มหาสติ มหาสัมปชัญญะ ผมได้ยินมาจากหลวงตามหาบัว
ไม่เคยเห็นในพระไตรปิฎก ในพระไตรปิฎกเห็นแต่คำว่า "มหาสติปัฏฐานสูตร"
พระวิปัสสนาจารย์ท่านนี้ให้ความเห็นว่า

คำว่า "มหา" ควรจะขยายคำว่า "สูตร" ไม่ได้ขยายคำว่า "สติ"
ดังนั้น มหาสติปัฏฐานสูตร หมายถึง สูตรที่ใหญ่(ไม่ใช่สติใหญ่)

ในความเห็นของผมสูตรนี้ใหญ่และสำคัญมาก เป็นทางสายเดียวเท่านั้น
ที่มุ่งสู่นิพพาน พุทธศาสนาต่างกับศาสนาอื่นๆตรงคำสอนของสูตรนี้เท่านั้น

ถึงตรงนี้น่าจะพอตอบข้อสงสัยของน้องนีย์ได้บ้างนะครับ



คำเทศนาของพระอาจารย์ท่านนี้ผมจำได้ขึ้นใจ น้องนีย์โชดดีมากนะครับ
ที่บังเอิญผมจำได้ไม่ลืม

สุดท้ายมีคำคมครับ รู้ไหมว่า "อนุภรรยา" แปลว่าอะไร
อนุภรรยา ไม่ได้แปลว่า ภรรยาน้อย หรือภรรยาตัวเล็กๆ เอวบาง ร่างน้อย
อนุภรรยา หมายถึง ภรรยาที่มาที่หลัง ครับ

ถึงแม้หญิงใด ไปแต่งงานกับผู้ชายที่หย่าขาดกับภรรยาคนเก่าแล้ว อยู่กินกัน
จดทะเบียนสมรสกัน ทำถูกต้องตามประเพณี และถูกกฏหมายทุกอย่าง
หญิงคนนั้นก็ยังได้ชื่อว่า อนุภรรยาอยู่ดี เพราะมาที่หลัง

 :08: :57: :72:
(อันนี้ไม่ได้ลบหลู่เพศแม่นะครับ เป็นมุขของพระวิปัสสนาจารย์ที่ผมกล่าวถึง)

ขอให้ธรรมคุ้มครอง
 :25: :25: :25:


ขอแก้ไขเพิ่มเติม กลัวจะเป็นการกล่าวตู่คำสอนของพระวิปัสสนาจารย์

พระอาจารย์ที่ผมกล่าวถึง ท่านบอกว่า keyword อยู่ที่คำว่า "รู้"

ไม่ใช่คำว่า "อนุ" คำว่ารู้นั้น ผมคิดว่าน่าจะมาจากคำว่า "วิปัสสนา"นั่นเอง

พูดแบบง่ายๆโดยย่อ ก็คือ การปฏิบัติไม่มีอะไร นอกจากรู้ตามกาย รู้ตามเวทนา

รู้ตามจิต(ว่าคิดอะไร) และรู้ตามธรรม อย่าไปกำหนดหรือคิดปรุงแต่งใดๆ

การไปกำหนด กด ข่ม ปรุงแต่ง เป็นการทำสมถะ  และจะตกจากวิปัสสนาทันที

ขอสรุปเท่านี้ พูดมากเดี๋ยวพลาดอีก
 :25:

ผมคิดว่า ผมจำแม่นแล้วนา พลาดจนได้ สัญญาไม่เที่ยงครับพี่น้อง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 13, 2010, 08:37:58 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ