ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มีความคิดเห็นอย่างไร ? ถ้าให้ความสำคัญกับ มรรค ข้อ ที่ 5 และ 6 มากที่สุด  (อ่าน 2833 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

บูรณะ

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 11
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ข้อความนะครับ มีความคิดเห็นอย่างไร ? ถ้าให้ความสำคัญกับ มรรค ข้อ ที่ 5 และ 6 มากที่สุด


ข้อที่ห้าเป็นข้อสำคัญ คือ สัมมาอาชีวะ  เมื่อพยายามทุก ๆ ข้อมาจนถึงข้อนี้แล้ว  ถามตัวเองว่า  ในความเป็นอยู่ทุกวันนี้ของตัวเอง  เป็นอยู่อย่างมีศักดิ์ศรีหรือเปล่า ?

ไม่พูดโกหก  ไม่ด่าว่าใคร  รักษาศีลห้าแล้ว  แต่ถึงเวลาที่จวนตัว หาเงินไม่ทัน ได้ืำทำสิ่งที่ผิดหรือเปล่า

ไม่เคยชอบคนคนนี้  แต่ถึงเวลาต้องขอยืมเงิน ก็เข้าประจบเค้าหรือไม่ ? ไม่เคยคุยกับเค้า แต่พอออกมาทำธุรกิจ , หางานทำไม่ได้ , ไม่อยากทำงานเลยจะหลอกกินผู้ชายคนนี้ ผู้หญิงคนนี้ , เลยสองหน้าทำตัวตีสนิทเขาหรือไม่

พูดจาทีเล่นทีจริง หยอกบ้าง จริงบ้าง ทำหน้ายู่้ยี่แกล้งเครียดบ้าง เพื่อหวังอะไรจากใครหรือไม่ ?

เอาเรื่องคนนี้มาเล่าให้คนนั้นฟัง  เอาเรื่องคนนั้นมาเล่าให้คนนี้ฟัง เพื่อเอาใจ เพราะเราจะได้รับผลประโยชน์หรือไม่ ?

ชวนเค้าคุยสนุก ๆ เพราะหวังจะให้เค้าพอใจ และหาช่องทางโน้มน้าว เพื่อหวังผลประโยชน์หรือไม่ ?

คบเขา  บอกรักเขา  เพื่อหวังให้เขาเลี้ยงหรือไม่ ?

ทำตัวสกปรก เพื่อให้ตัวเองอยู่รอดหรือไม่ ?

การหลอกลวง การตีสนิท เพื่อหวังเอาอะไรจากใคร  ทุกอย่้าง  ขวางมรรคผลและทำให้ลงนรกทั้งสิ้น

เรียกว่า ถ้านั่งสมาธิให้ใจสงบ แต่ชีวิตยังเป็นอยู่ด้วยการหลอกลวงใครแม้แต่คนเดียว ก็เข้าสู่นิพพาน อันเป็นภาวะที่บริสุทธิ์ เกิดจากจิตที่ไม่มีการหลอกลวงไม่ได้


ในส่วนของข้อที่หกคือ การไม่ทำสิ่งที่ไม่ดีที่เคยทำ การทำสิ่งที่ ๆ ให้มากขึ้นไป และข้อที่เจ็ดการตั้งสติในกาย เวทนา จิต และธรรม อย่างใดอย่างหนึ่ง ในส่วนนี้อาจจะเป็นการปฏิบัติปรกติของผู้ปฏิบัติธรรม แต่สิ่งที่สำคัญคือการทำให้ครบทุกข้อ เพื่อให้มรรคจิต ๑ ดวง เท่านั้นเกิดขึ้นเพียง ๑ ขณะจิต ทำลายภพชาติทั้งหมดให้่เหลีออย่างมากเพียง ๗ ชาติด้วยโสดาปัตตัมรรค


สร้างเหตุที่บริสุทธิ์ที่สุดอันปราศจากมลทิน  เพื่อผลคือ ความบริสุทธิ์  คือ มรรคผล ที่ำพาไปถึงพระนิพพาน
 :67: :smiley_confused1: :13: :49:


มีความคิดเห็นอย่างไร โปรดแสดงได้เต็มที่นะครับ เชิญร่วม ธรรมวิจารณ์ครับ




 :49:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28559
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

  เดี๋ยวว่างๆ จะมาคุยครับ เพื่อนๆช่วยคุยเป็นเพื่อนไปก่อน :49:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ส้ม

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 184
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อยู่ในสัง คม เถรตรงไม่ได้หรอกคะ

   พูดดี ก็จบได้นะคะ เพื่อความอยู่รอด เรียกว่า ศิลปะของการมีชีิวิตอยู่

  เอาง่าย เห็นลูกพี่เดินเข้ามาหน้ามุ่ย อารมณ์ไม่ดี จะทักไปว่า ทำหน้ายู่ยี่อย่างนี้ ลูกน้องก็เซ็งตาย พูดอย่างนี้ก็จบสิคะ ถ้าเปลี่ยนไปเป็น มธุรสวาจาบ้าง หัวหน้าวันนี้หน้าใส แสดงว่าเมื่อคืนนอนหลับดีใช่หรือไม่คะ เปลี่ยนเรื่อง หน.ฟังแล้วยังเฉย ๆ หรือ ดีขึ้น นี่สิเรียกว่า ศิลปะของการมีธรรมะ ถามว่าโกหกหรือไม่

  ถ้าว่าไป ก็เจตนาในตอนนั้น เพื่อให้อารมณ์ดี สิคะ

  ถ้าซื่อเกิน จบไว ที่ไหน ๆ ก็เป็นแบบนี้ เพื่อนของดิฉันคนหนึ่งโดนโยกย้ายไปที่อื่น ด้วยข้อหาว่า คุณดีเกินไป ไม่รู้ัจักผ่อนสั้น ผ่อนยาว เถรตรง ประมาณนี้รางวัลไปประจำชายแดนเลยคะ ดีนะชายแดน ด้านเหนือ ถ้าไปด้านใต้ ช้ำใจตายเลย

   คุยแล้วนะคะ

    :s_hi:
บันทึกการเข้า
เส้นทางแสนเปรี้ยว จะมีสุขจริงบ้างหรือไม่ ?

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28559
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


มรรค ทาง, หนทาง
       1. มรรค ว่าโดยองค์ประกอบ คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่าทางมีองค์ ๘ ประการอันประเสริฐ เรียกสามัญว่า มรรคมีองค์ ๘ คือ

           ๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ
           ๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ
           ๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ
           ๔. สัมมากัมมันตะ ทำการชอบ
           ๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ
           ๖. สัมมาวายามะ เพียรชอบ
           ๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ
           ๘. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ


    องค์ ๘ ของมรรค จัดเข้าในธรรมขันธ์ ๓ ข้อต้น คือ
    ข้อ ๓-๔-๕ เป็น ศีล
    ข้อ ๖-๗-๘ เป็น สมาธิ
    ข้อ ๑-๒ เป็น ปัญญา
ดู สิกขา ๓

    สิกขา ๓ หรือ ไตรสิกขา (ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติที่เป็นหลักสำหรับศึกษา คือ ฝึกหัดอบรมกาย วาจา จิตใจ และปัญญา ให้ยิ่งขึ้นไปจนบรรลุจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพาน)
      ๑. อธิสีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง)
      ๒. อธิจิตตสิกขา (สิกขาคือจิตอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกหัดอบรมจิตเพื่อให้เกิดคุณธรรม เช่น สมาธิอย่างสูง)
      ๓. อธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูง)


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์และธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://board.siamha.com/,http://www.bloggang.com/



      คุณบูรณะ อย่าได้น้อยใจนะครับ มาคุยช้าหน่อย ขอโทษด้วย

      มรรคข้อที่ ๕ คือ สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีพชอบ อยู่ในกลุ่มของศีล แต่คุณบูรณะได้นำเอามรรคที่ ๓ และ ๔
มากล่าวด้วย (๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ และ ๔. สัมมากัมมันตะ ทำการชอบ)
      ผมขอสรุปว่า คุณบูรณะพูดถึง "ศีลสิกขา"

      การประกอบอาชีพนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสห้ามไม่ให้ทำ อยู่ใน"วณิชชสูตร" คือ
         ๑. การค้าขายศัสตรา   
         ๒. การค้าขายสัตว์ 
         ๓. การค้าขายเนื้อสัตว์     
         ๔. การค้าขายน้ำเมา   
         ๕. การค้าขายยาพิษ


      คุณบูรณะคงไม่ได้ประกอบอาชีพดังกล่าวนะครับ
      สิ่งที่คุณบูรณะเป็นกังวล น่าจะเป็นเรื่อง "การเจรจาชอบและทำการชอบ" มากกว่า

      ขอให้นึกถึง อรหันตสาวกในสมัยพุทธกาล ผมขอยกตัวอย่าง ๒ ท่าน
      ท่านแรก "องคุลีมาร" ท่านนี้ชัดเจน ทำผิดศีลข้อปาณาฯ แต่ทำไมท่านบรรลุธรรมได้
      ตอบว่า เพราะบารมีธรรมที่สั่งสมมาในกาลก่อน มีมากจนเต็ม ถึงขั้นที่จะบรรลุธรรมได้


      ท่านที่สอง "สันตติมหาอำมาตย์" ท่านนี้เพิ่งไปทำศึกแล้วชนะ พระราชายกบัลลังก์ให้ครอง ๗ วัน
      คิดดูซิครับ การทำศึก ต้องฆ่าคน ต้องพูดจาล่อหลอก พอกลับมาได้ครองบัลลังก์ชั่วคราว สุรา นารี เพียบ
      ศีลทั้งห้าข้อ ผมคิดว่า ท่านละเมิดทั้งหมด แล้วทำไมท่านบรรลุธรรมได้
      ตอบว่า เพราะบารมีธรรมเดิมมีมากพอ เช่นเดียวกับ "องคุลีมาร"


      ในความเป็นจริงของชีวิตปุถชน การสร้างกุศลและอกุศลนั้น ถูกกระทำทั้งสองทาง
      และเป็นเรื่องยากที่ใครคนใดคนหนึ่ง จะทำเพียงกุศลหรืออกุศลเพียงทางเดียว

      ในขณะที่เราปฏิบัติกรรมฐาน จิตเราสงบระดับหนึ่ง เพราะเราไม่ได้ทำผิดศีล
      ถึงแม้ก่อนหน้านั้น เราอาจทำผิดศีลมาบ้าง แต่อำนาจอกุศลกรรมนั้น ทำอะไรเราไม่ได้เพรา
      แต่ในทางตรงข้าม เรามีจิตที่ไม่ค่อยสงบ บางครั้งก็สงบ สลับกันไปมา
      คิดนั้นคิดนี่ไปเรื่อย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะศีลของเราไม่บริสุทธิ์ อีกส่วนหนึ่งเพราะบารมีธรรมยังไม่พอ
      ตัวอย่างเช่น เราอาจยังขาด มรรคข้อที่ ๖ (สัมมาวายามะ เพียรชอบ) หรือมีความเพียรแต่ไม่พอ


      ความเห็นส่วนตัวคิดว่า มรรค ๘ ในบาลี เป็นมรรคของอริยบุคคล ไม่ใช่ของปุถุชน
      มรรคของปุถุชน ท่านผู้รู้เรียกว่า บุพภาคมรรค(มรรคเบื้องต้น)
      ขอให้นึกถึงคำเต็มๆ ของมรรค ๘ คือ อริยอัฏฐังคิกมรรค ต่างกันไหมครับ..??


      อีกคำหนึ่งที่อยากให้เพื่อนๆทำความเข้าใจ คือ คำว่า "อธิสีลสิกขา"
      อธิสีลสิกขา คือ สิกขาคือศีลอันยิ่ง, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมในทางความประพฤติอย่างสูง
      ศีลอันยิ่ง ไม่น่าจะเป็นของ ปุถุชน


      เพื่อนๆทราบไหมว่า ใครที่มีศีลอันยิ่ง ขอให้ไปอ่าน "เสขสูตรที่ ๒" อยู่ใน
      พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

      (คลิกลิงค์นี้ได้  http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=4954.0)

      เฉลยครับ คนที่มี "อธิสีล หรือ ศีลอันยิ่ง" คือ โสดาบันปัตติผล
      คุยเป็นเพื่อนเท่านี้ครับ

      :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ