ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มัคคัญญู มัคควิทู มัคคโกวิทะ และ มัคคานุคา..ต่างกันอย่างไร  (อ่าน 3727 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28559
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

๖. พุทธสูตร
ว่าด้วยเหตุให้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า

      [๑๒๕] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
       ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หลุดพ้นเพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด
เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นรูป ... เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เทวดาและมนุษย์ ต่างพากันเรียกว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
       ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุผู้หลุดพ้นได้ด้วยปัญญาหลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นรูป ... เวทนา ...สัญญา ... สังขาร ... วิญญาณ เราเรียกว่า ผู้หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา.


       [๑๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้นจะมีอะไรเป็นข้อแปลกกัน จะมีอะไรเป็นข้อประสงค์ที่ยิ่งกว่ากัน จะมีอะไรเป็นเหตุทำให้ต่างกัน ระหว่างพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ากับภิกษุผู้หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา?
        ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน เป็นแบบฉบับ เป็นที่อิงอาศัย ขอประทานพระวโรกาส ขออรรถแห่งภาษิตนี้ จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคทีเดียวเถิด ภิกษุทั้งหลาย ได้สดับต่อพระผู้มีพระภาคแล้วจักทรงจำไว้.


        พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.
        ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว.
        พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
        ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทางที่ยังไม่เกิดให้เกิด
        ยังประชุมชนให้รู้จักมรรคที่ใครๆไม่รู้จัก บอกทางที่ยังไม่มีใครบอก
        เป็นผู้รู้จักทาง ประกาศทางให้ปรากฏ ฉลาดในทาง.

        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สาวกทั้งหลาย ในบัดนี้ เป็นผู้ที่ดำเนินไปตามทาง เป็นผู้ตามมาในภายหลัง.

        อันนี้แล เป็นข้อแปลกกัน อันนี้ เป็นข้อประสงค์ยิ่งกว่ากัน อันนี้ เป็นเหตุทำให้ต่างกัน ระหว่างพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า กับภิกษุผู้หลุดพ้นได้ด้วยปัญญา.
        จบ สูตรที่ ๖.

อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๑๔๔๙ - ๑๔๗๑. หน้าที่ ๖๓ - ๖๔.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=1449&Z=1471&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=125
ขอบคุณภาพจาก http://www.buddhajayanti.net/



อรรถกถา สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ขันธสังยุตต์ มัชฌิมปัณณาสก์ อุปายวรรคที่ ๑
พุทธสูตรที่ ๖ ว่าด้วยเหตุให้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า

         อรรถกถาพุทธสูตรที่ ๖               
         ในพุทธสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
         บทว่า โก อธิปฺปายโส ความว่า อะไรเป็นความประสงค์ที่ยิ่งกว่ากัน.
         บทว่า อนุปฺปนฺนสฺส ความว่า จริงอยู่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ทรงให้มรรคจิตนี้เกิดขึ้น. ถัดจากนั้น ศาสดาอื่นไม่อาจให้เกิดขึ้นได้.
         พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าทำมรรคจิตที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้.
         จริงอยู่ ในนคโรปัมมสูตร ทางเก่าเกิดในที่ที่ไม่มีร่องรอย ในที่นี้ชื่อว่ามรรคที่ยังไม่เกิดขึ้น เพราะอรรถว่ายังไม่เป็นไป.
         บทว่า อสญฺชาตสฺส เป็นไวพจน์ของบทว่า อนุปฺปนฺนสฺส นั่นเอง.
         บทว่า อนกฺขาตสฺส ได้แก่ มิได้ตรัสไว้.


         ชื่อว่า มัคคัญญู เพราะรู้มรรคจิต.
         ชื่อว่า มัคควิทู เพราะทำมรรคจิตให้แจ่มแจ้ง คือให้ปรากฏ.
         ชื่อว่า มัคคามัคคโกวิทะ เพราะฉลาดในมรรคจิตและธรรมชาติมิใช่มรรคจิต.


         บทว่า มคฺคานุคา แปลว่า ไปตามมรรคจิต.
         บทว่า ปจฺฉา สมนฺนาคตา ความว่า เราถึงก่อน สาวกถึงภายหลัง.


               จบ อรรถกถาพุทธสูตรที่ ๖   
   

ที่มา http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=125
ขอบคุณภาพจาก http://j5.tagstat.com/



พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาบาลี) เล่มที่ ๑๗
สุตฺตนฺตปิฏเก เล่มที่ ๙ สํยุตฺตนิกายสฺส ขนฺธวารวคฺโค

       [๑๒๕] สาวตฺถี   ฯ   ตตฺร   โข  ฯ  ตถาคโต  ภิกฺขเว  อรหํสมฺมาสมฺพุทฺโธ   รูปสฺส   นิพฺพิทา   วิราคา  นิโรธา  อนุปาทา  วิมุตฺโตสมฺมาสมฺพุทฺโธติ   วุจฺจติ   ฯ   ภิกฺขุปิ   ภิกฺขเว   ปญฺญาวิมุตฺโต  รูปสฺสนิพฺพิทา  วิราคา  นิโรธา  อนุปาทา  วิมุตฺโต  ปญฺญาวิมุตฺโตติ  วุจฺจติ  ฯ ตถาคโต   ภิกฺขเว   อรหํ   สมฺมาสมฺพุทฺโธ  เวทนาย  นิพฺพิทา  วิราคา นิโรธา    อนุปาทา   วิมุตฺโต   สมฺมาสมฺพุทฺโธติ   วุจฺจติ   ฯ
 
   ภิกฺขุปิ ภิกฺขเว    ปญฺญาวิมุตฺโต   เวทนาย   นิพฺพิทา   ฯเปฯ   ปญฺญาวิมุตฺโตติ วุจฺจติ   ฯ   ตถาคโต   ภิกฺขเว   อรหํ   สมฺมาสมฺพุทฺโธ   สญฺญาย  ฯ สงฺขารานํ    ฯ   วิญฺญาณสฺส   นิพฺพิทา   วิราคา   นิโรธา   อนุปาทาวิมุตฺโต   สมฺมาสมฺพุทฺโธติ   วุจฺจติ   ฯ   ภิกฺขุปิ  ภิกฺขเว  ปญฺญาวิมุตฺโต วิญฺญาณสฺส  นิพฺพิทา  วิราคา  นิโรธา  อนุปาทา  วิมุตฺโต  ปญฺญาวิมุตฺโตติ วุจฺจติ ฯ

       [๑๒๖]  ตตฺร   ภิกฺขเว  โก  วิเสโส  โก  อธิปฺปายโส  กึ นานากรณํ    ตถาคตสฺส    อรหโต    สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส   ปญฺญาวิมุตฺเตน ภิกฺขุนาติ  ฯ  ภควํมูลกา  โน  ภนฺเต  ธมฺมา  ภควํเนตฺติกา ภควํปฏิสรณา สาธุ   วต     ภนฺเต     ภควนฺตญฺเญว     ปฏิภาตุ     เอตสฺส ภาสิตสฺส   อตฺโถ   ภควโต   สุตฺวา   ภิกฺขู   ธาเรสฺสนฺตีติ  ฯ  เตนหิ โป. ม. ยุ. เอตฺถนฺตเร โขสทฺโท ทิสฺสติ ฯ
        ภิกฺขเว   สุณาถ   สาธุกํ   มนสิกโรถ   ภาสิสฺสามีติ  ฯ 
        เอวํ  ภนฺเตติ โข   เต   ภิกฺขู  ภควโต  ปจฺจสฺโสสุ ฯ  ภควา  เอตทโวจ  ตถาคโต


        ภิกฺขเว    อรหํ   สมฺมาสมฺพุทฺโธ   อนุปฺปนฺนสฺส   มคฺคสฺส   อุปฺปาเทตาอสญฺชาตสฺส   มคฺคสฺส   สญฺชาเนตา   อนกฺขาตสฺส   มคฺคสฺส   อกฺขาตา มคฺคญฺญู  มคฺควิทู  มคฺคโกวิโท  ฯ    
        มคฺคานุคา  จ  ภิกฺขเว  เอตรหิสาวกา   วิหรนฺติ   ปจฺฉา  สมนฺนาคตา ฯ 
                   
        อยํ  โข  ภิกฺขเว  วิเสโส อยํ   อธิปฺปายโส  อิทํ  นานากรณํ  ตถาคตสฺส  อรหโต  สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ปญฺญาวิมุตฺเตน ภิกฺขุนาติ ฯ

ที่มา http://etipitaka.com/compare?lang1=thai&lang2=pali&p1=63&p2=81&volume=17
ขอบคุณภาพจาก http://www.buddhajayanti.net/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28559
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ความเหมือนและความแตกต่าง ระหว่าง สัมมาสัมพุทธะกับปัญญาวิมุตต์
           
           ภิกษุ ท. ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ หลุดพ้นแล้วจากรูป เพราะความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ และความไม่ยึดมั่น จึงได้นามว่า “สัมมาสัมพุทธะ”.
           ภิกษุ ท. ! แม้ภิกษุผู้ปัญญาวิมุตต์ ก็หลุดพ้นแล้วจากรูป เพราะความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด
ความดับ และความไม่ยึดมั่น จึงได้นามว่า “ปัญญาวิมุตต์”
(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ก็ได้ตรัสไว้ มีข้อความแสดงหลักเกณฑ์อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปที่กล่าวแล้ว)


           ภิกษุ ท. ! เมื่อเป็นผู้หลุดพ้นจากรูป เป็นต้น ด้วยกันทั้งสองพวกแล้ว, อะไรเป็นความผิดแผกแตกต่างกันอะไรเป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน อะไรเป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ กับ ภิกษุผู้ปัญญาวิมุตต์ ?

           ภิกษุ ท. ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะได้ทำมรรคที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น,
           ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครรู้ ให้มีคนรู้, ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าว ให้เป็นมรรคที่กล่าวกันแล้ว,       
           ตถาคตเป็นมัคคัญญู (รู้มรรค), เป็นมัคควิทู (รู้แจ้งมรรค), เป็นมัคคโกวิโท (ฉลาดในมรรค);

           ภิกษุ ท.! ส่วนสาวกทั้งหลายในกาลนี้ เป็นมัคคานุคา (ผู้เดินตามมรรค) เป็นผู้ตามมาในภายหลัง.

           ภิกษุ ท. ! นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกันเป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ กับภิกษุผู้ปัญญาวิมุตต์.

__________________________________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค พุทธสูตร ๑๗/๘๑/๑๒๕.


อ้างอิง หนังสือ “พุทธวจน ฉบับ ตามรอยธรรม” โดยคณะงานธรรมวัดนาป่าพง
ที่มา  http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/09/Y11092670/Y11092670.html
ขอบคุณภาพจาก http://gallery.palungjit.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ