พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
ผลสูตรที่ ๒
เจริญอินทรีย์ ๕ ได้อานิสงส์ ๗ ประการ
[๑๐๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว พึงหวังผลานิสงส์ได้ ๗ ประการ ผลานิสงส์ ๗ ประการเป็นไฉน? คือ
จะได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน ๑
ถ้าไม่ได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน จะได้ชมเวลาใกล้ตาย ๑
ถ้าปัจจุบันก็ไม่ได้ชม ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้ชมไซร้ ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑
ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑
ผู้อสังขารปรินิพพายี ๑
ผู้สสังขารปรินิพพายี ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑ เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว พึงหวัง
ผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้.
จบ สูตรที่ ๖อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๖๑๘๒ - ๖๑๙๓. หน้าที่ ๒๕๗ - ๒๕๘.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=6182&Z=6193&pagebreak=0ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1069ขอบคุณภาพจาก
http://www.trueplookpanya.com/
อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค โพชฌงคสังยุตต์ หมวด ๖
๑. อาหารสูตร
การทำอินทรีย์ทั้งหลาย มีศรัทธา เป็นต้น ให้เสมอกัน ชื่อว่าการปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน.
สัทธากล้า
เพราะว่า ถ้าสัทธินทรีย์ของเธอแก่กล้า อินทรีย์นอกนี้อ่อน. ทีนั้น
วิริยินทรีย์จะไม่อาจทำปัคคหกิจ (กิจคือการยกจิตไว้)
สตินทรีย์จะไม่อาจทำอุปัฏฐานกิจ (กิจคือการอุปการะจิต)
สมาธินทรีย์จะไม่อาจทำอวิกเขปกิจ (กิจคือทำจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน)
ปัญญินทรีย์จะไม่อาจทำทัสสนกิจ (กิจคือการเห็นตามเป็นจริง).
เพราะฉะนั้น สัทธินทรีย์อันกล้านั้น ต้องทำให้ลดลงเสีย ด้วยพิจารณาสภาวะแห่งธรรม ด้วยไม่ทำไว้ในใจ เหมือนเมื่อเขามนสิการ สัทธินทรีย์ที่มีกำลังนั้น.
ก็ในข้อนี้มีเรื่องพระวักกลิเถระเป็นตัวอย่าง.
(อ่านเรื่องพระวักกลิเถระ ได้ที่ http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2914.new#new)
วิริยะกล้า
แต่ถ้าวิริยินทรีย์กล้า ทีนั้น สัทธินทรีย์ก็จะไม่อาจทำอธิโมกขกิจได้ (กิจคือการน้อมใจเชื่อ).
อินทรีย์นอกนี้ก็จะไม่อาจทำกิจนอกนี้ แต่ละข้อได้.
เพราะฉะนั้น วิริยินทรีย์อันกล้านั้นต้องทำให้ลดลง ด้วยเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เป็นต้น.
แม้ในข้อนั้นก็พึงแสดงเรื่องพระโสณเถระ.
(อ่านเรื่องพระโสณโกฬิวิสเถระ ได้ที่ http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2915.new#new)
ความที่เมื่อความกล้าแห่งอินทรีย์อันหนึ่งมีอยู่ อินทรีย์นอกนี้จะไม่สามารถในกิจของตนๆ ได้ พึงทราบในอินทรีย์ที่เหลืออย่างนี้แล. 
ก็โดยเฉพาะในอินทรีย์ ๕ นี้ บัณฑิตทั้งหลายสรรเสริญอยู่
ซึ่งความเสมอกันแห่ง สัทธากับปัญญา และสมาธิกับวิริยะ.
สัทธา-ปัญญา
เพราะคนมีสัทธาแก่กล้า แต่ปัญญาอ่อน จะเป็นคนเชื่อง่าย เลื่อมใสในสิ่งอันไม่เป็นวัตถุ.
ส่วนคนมีปัญญากล้า แต่สัทธาอ่อน จะตกไปข้างอวดดี จะเป็นคนแก้ไขไม่ได้ เหมือนโรคที่เกิดแต่ยา รักษาไม่ได้ฉะนั้น วิ่งพล่านไปด้วยคิดว่า จิตเป็นกุศลเท่านั้นก็พอ
ดังนี้แล้ว ไม่ทำบุญมีทานเป็นต้น ย่อมเกิดในนรก.
ต่อธรรมทั้ง ๒ เสมอกัน บุคคลจึงจะเลื่อมใสในวัตถุแท้.
สมาธิ-วิริยะ
โกสัชชะย่อมครอบงำคนมีสมาธิกล้า แต่วิริยะอ่อนเพราะสมาธิเป็นฝ่ายโกสัชชะ.
อุทธัจจะย่อมครอบงำคนมีวิริยะกล้า แต่สมาธิอ่อน เพราะวิริยะเป็นฝ่ายอุทธัจจะ.
แต่สมาธิที่มีวิริยะประกอบเข้าด้วยกันแล้ว จะไม่ตกไปในโกสัชชะ.
วิริยะที่มีสมาธิประกอบพร้อมกันแล้ว จะไม่ตกไปในอุทธัจจะ.
เพราะฉะนั้น อินทรีย์ทั้ง ๒ นั้นต้องทำให้เสมอกัน.
ด้วยว่า อัปปนาจะมีได้ ก็เพราะความเสมอกันแห่งอินทรีย์ทั้ง ๒.
____________________
โกสัชชะ คือ ความเกียจคร้าน
สัทธาทำให้บรรลุอัปปนาสมาธิ
อีกอย่างหนึ่ง สัทธาแม้มีกำลังก็ควรสำหรับสมาธิกัมมิกะ (ผู้บำเพ็ญสมถกัมมัฏฐาน).
เธอเมื่อสัทธามีกำลังอย่างนี้ เชื่อดิ่งลงไปจักบรรลุอัปปนาได้.
ในสมาธิและปัญญาเล่า เอกัคคตา (สมาธิ) มีกำลังก็ควรสำหรับสมาธิกัมมิกะ ด้วยเมื่อเอกัคคตามีกำลังอย่างนั้น เธอจะบรรลุอัปปนาได้.
ปัญญาทำให้เห็นแจ้งไตรลักษณ์
ปัญญามีกำลังย่อมควรสำหรับวิปัสสนากัมมิกะ (ผู้บำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐาน).
ด้วยเมื่อปัญญามีกำลังอย่างนั้น เธอย่อมจะบรรลุลักขณปฏิเวธ (เห็นแจ้งไตรลักษณ์) ได้.
แต่แม้เพราะสมาธิและปัญญาทั้ง ๒ เสมอกัน อัปปนาก็คงมีได้.
สติจะรักษาจิตและควบคุมทุกอย่าง
ส่วนสติมีกำลังในที่ทั้งปวงจึงจะควร เพราะสติรักษาจิตไว้แต่ความตกไปในอุทธัจจะ เพราะอำนาจแห่งสัทธา วิริยะและปัญญาอันเป็นฝ่ายอุทธัจจะ และรักษาจิตไว้แต่ความตกไปในโกสัชชะ เพราะสมาธิเป็นฝ่ายโกสัชชะ.
เพราะฉะนั้น สตินั้นจึงจำปรารถนาในที่ทั้งปวง ดุจเกลือสะตุเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาในกับข้าวทั้งปวง และดุจสรรพกัมมิกอำมาตย์ (ผู้รอบรู้ในการงานทั้งปวง) เป็นผู้พึงปรารถนาในสรรพราชกิจฉะนั้น.
เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก็แลสติ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นคุณชาติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง.
ถามว่า เพราะเหตุไร.
ตอบว่า เพราะจิตมีสติเป็นที่พึ่งอาศัย และสติมีการรักษาเอาไว้เป็นเครื่องปรากฏ การยกและข่มจิต เว้นสติเสียหามีได้ไม่ ดังนี้.
การหลีกเว้นไกลบุคคลทรามปัญญา ผู้ไม่หยั่งลงในความต่าง มีขันธ์ เป็นต้น ชื่อว่าการหลีกเว้นบุคคลทรามปัญญา.
การคบหาบุคคลประกอบด้วยปัญญา เห็นความเกิดและความเสื่อมกำหนดได้ ๕๐ ลักษณะ ชื่อว่าการคบหาบุคคลมีปัญญา.
การพิจารณาประเภทปาฐะ ด้วยปัญญาอันลึก เป็นไปในขันธ์เป็นต้นอันละเอียด ชื่อว่าการพิจารณาปาฐะที่ต้องใช้ปัญญาอันลึก. ความที่จิตน้อมไป โน้มไป โอนไป ในอิริยาบถมีการยืนและการนั่งเป็นต้น เพื่อให้เกิดธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ขึ้น ชื่อว่าความน้อมจิตไปในธัมมวิจยะนั้น.
ก็ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์นั้นอันเกิดขึ้นอย่างนี้แล้ว ย่อมเจริญเต็มที่ได้ด้วยอรหัตมรรค. อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎกได้ที่
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=3082&Z=3189ที่มา
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=522ขอบคุณภาพจาก
http://www.9wat.net/,http://www.dmc.tv/}http://www.khonkaenlink.info/
กระทู้นี้นอกจากจะบอกอานิสงส์ของของเจริญอินทรีย์ ๕ แล้ว
ยังบอกความสำคัญของ "การปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน" 