ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "ลาซา" มหานครแห่งศรัทธา (ชมภาพ)  (อ่าน 2744 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29310
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
"ลาซา" มหานครแห่งศรัทธา (ชมภาพ)
« เมื่อ: กันยายน 06, 2012, 08:30:08 pm »
0
"ลาซา" มหานครแห่งศรัทธา
Delight Moment 55 / สุมิตรา จันทร์เงา

ในที่สุดเมื่อ ๕ วันแห่งการรอนแรมผ่านพ้น ก็มาถึงแล้ว นครลาซา เมืองอันเป็นหัวใจและจิตวิญญาณแห่งชาวทิเบต

 
ระหว่างทางเข้าสู่นครลาซา


     จากหลักฐานทางชาติพันธุ์วิทยา ชาวทิเบตส่วนใหญ่มีเชื้อสายมองโกล ผิวสีน้ำตาลรูปร่างค่อนข้างเตี้ย
     นอกจากทิเบตบางเผ่าซึ่งเป็นนักรบอาจจะมีรูปร่างสูงใหญ่ถึง 6 ฟุต ตามตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาระบุว่า
     ชาวทิเบตสืบเชื้อสายมาจากตระกูลศากยวงศ์อันเป็นวงศ์แห่งสมเด็จพระบรมศาสดา
     แต่สำหรับชาวอินเดียกลับรู้จักดินแดนทิเบตมาแต่ดึกดำบรรพ์ ในฐานะอาณาเขตแห่งพิมพานต์ หรือ หิมวัต
ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่าภูเขาพระสุเมรุและภูเขาที่มีชื่อในวรรณคดีเก่าๆ เช่น เขาไกรลาศ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นภูเขาที่กั้นเขตแดนทิเบต-อินเดีย หรือบางลูกก็อยู่ในทิเบตเอง



ใต้หลังคานี้ในอดีตเคยเป็นแท่นบรรทมขององค์ทะไลลา

 
      ประวัติศาสตร์ทิเบตเพิ่งจะถือเป็นหลักฐานจริงจังได้ เมื่อเริ่มมีความสัมพันธ์กับพุทธศาสนาในราวพุทธศตวรรษที่ 15 โดยพระสงฆ์จากอินเดียนำพุทธศาสนาเข้าไปเผยแผ่ จนสามารถทำให้ชาวทิเบตเปลี่ยนจากการนับถือผีในลัทธิบอนมาเป็นศาสนาพุทธอย่างกว้างขวาง

      มีการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาทิเบตมากมาย จนกระทั่งวางรากฐานพุทธศาสนาแบบมี “ลามะ” เป็นผู้นำทำให้ศาสนาพุทธในดินแดนแห่งนี้เจริญรุ่งเรืองเป็นมากจนได้รับการขนานนามว่าเป็น “วาติกันแห่งเอเชีย”



รูปปั้นยักสองตัวนี้อยู่กลางนครลาซา

 
       ทิเบตเคยตกอยู่เป็นของจีนมาตั้งแต่ยุคจักรพรรดิกุบไลข่านเรืองอำนาจ แต่ประชาชนก็ดำเนินชีวิตอย่างสงบสุขด้วยวิธีการปกครองอันชาญฉลาด มีการแบ่งทิเบตออกเป็นแคว้นๆ ให้แต่ละแคว้นปกครองตนเอง แต่อยู่ภายใต้บัญชาขององค์ลามะที่เฉลียวฉลาด และมีอำนาจเป็นใหญ่ประดุจพระเจ้าแผ่นดินองค์หนึ่ง

       กระทั่งราชวงศ์มองโกลล่ม ลามะผู้ครอบครองทิเบตในเวลานั้นคือ สงขะปะ ได้เปลี่ยนพุทธศาสนาลัทธิพุทธตันตระที่เชื่อในพิธีกรรมเกี่ยวกับภูติผีปิศาจ มาเป็นนิกายมหายาน หรือ วัชรยาน แบบปัจจุบัน และ ”ทะไล ลามะ” ได้ปกครองแผ่นดินทิเบตอย่างเป็นอิสระมายาวนานหลายร้อยปี



สถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและลักษณะการตกแต่งประดับประดา

 
      ต่อมาทิเบตเริ่มถูกคุกคามจากประเทศมหาอำนาจในยุคล่าอาณานิคม โดยอังกฤษที่ยึดครองอินเดียอยู่ได้พยายามแผ่อิทธิพลเข้าสู่ทิเบต ถึงขั้นส่งกำลังเข้ารุกรานลาซาในปี พ.ศ.2447 จนทิเบตจำต้องยินยอมทำสัญญาการค้าผูกขาดกับอังกฤษ รวมทั้งต้องจ่ายค่าเสียหายจากการทำสงครามจำนวนมาก และด้วยเหตุนี้องค์ทะไลลามะที่ 13 จึงจำเป็นต้องอพยพไปลี้ภัยที่มองโกเลียถึง 6 ปี


พบเธอที่ทางขึ้นวัดแห่งหนึ่งบนหลังคาโลก


         ปี พ.ศ.2493 จีนได้เคลื่อนกองกำลังเข้ายึดครองทิเบต โดยอ้างว่าเป็นการปลดปล่อยทิเบตให้เป็นเอกราชจากการปกครองของอังกฤษ แม้ชาวทิเบตจะต่อสู้อย่างเข้มแข็งแต่ก็ไม่อาจต้านทางกำลังพลและเสนยานุภาพของกองทัพจีนได้ ในที่สุดทะไลลามะที่ 14 องค์ปัจจุบันก็ต้องอพยพลี้ภัยไปอยู่ที่อินเดีย โดยตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นที่เมืองธรรมศาลาตั้งแต่ปี พ.ศ.2502 จนกระทั่งบัดนี้

         ทุกวันนี้ องค์ทะไลลามะยังทรงยึดแนวทางศานติ ต่อสู้เรียกร้องเอกราชเพื่อชาวทิเบตที่รักของพระองค์อยู่ต่อไป แต่ขณะเดียวกันรัฐบาลจีนได้ยกย่องให้ “ปันเชนลามะ” ซึ่งแต่เดิมเป็นประมุขทางศาสนจักรเฉพาะที่เมืองซิกเกตเซ ขึ้นมาเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณคนใหม่ของชาวทิเบตแทนทะไลลามะซึ่งในอดีตเป็นทั้งองค์ประมุขฝ่ายศานจักรและอาณาจักร

        ดังนั้น ในพื้นที่ทุกตารางนิ้วของแผ่นดินทิเบตในปัจจุบัน รัฐบาลจีนจึงไม่อนุญาตให้มีรูปเคารพ หรือสัญลักษณ์ใดๆของทะไลลามะปรากฏอยู่ในที่สาธารณะอย่างเด็ดขาด



สิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปตามวัดทิเบต


    ใครที่พกพาภาพถ่ายองค์ทะไลลามะติดตัวเข้าทิเบต ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ไม่เพียงแต่จะโดนริบรูปเท่านั้น แต่ยังมีโอกาสถูกสอบกราวรูดถึงขั้นไม่ได้กลับออกมาอีกเลยก็ได้


มองมุมไกล เห็นพระราชวังโปตาลา อยู่ ณ จุดสูงสุด เด่น สะดุดตา


พระราชวังโปตาลา


      ร่างกายที่ค่อยๆ ปรับสภาพมาได้ เมื่อถึงนครลาซาเริ่มมีสภาพใกล้เคียงกับปกติ แต่มัคคุเทศก์ท้องถิ่นของเราก็ยังเตือนให้ทุกคนระมัดระวังการเดินเหินทุกก้าว ระหว่างเดินไต่บันไดขึ้นสู่พระราชวังโปตาลา เรายังต้องหยุดพักบ่อยๆ พยายามสูดหายใจลึก ๆ ก้าวให้ช้าลง เคลื่อนไหวร่างกายแต่พอดี ไม่หักโหม

      กลางคืนก่อนนอนเราได้รับคำแนะนำให้ "ฟอกเลือด" ด้วยการนอนนิ่ง ๆ หายใจลึก ๆ ประมาณครึ่งชั่วโมง เพื่อให้เลือดได้รับออกซิเจนอย่างเต็มที่ วิธีนี้จะช่วยลดอาการนอนไม่หลับหรือหลับๆตื่นๆได้ดี แต่หลายคนก็ถึงกับต้องใช้ยาแก้แพ้ความสูงซึ่งมีอยู่หลายสูตร รวมทั้งสูตรยาสมุนไพรพื้นเมืองของทิเบตด้วย



มุมหนึ่งมองจากยอดพระราชวังโปตาลา

แหงนคอตั้งบ่า มองพระราชวังโปตาลา


       จากท้องถนนในเมือง ขึ้นสู่ยอดพระราชวัง ความรู้สึกหลายอย่างไหลบ่าท่วมท้น แม้ศรัทธามหาชนต่อศาสนาและองค์ทะไลลามะยังเปี่ยมล้น แต่พระราชวังที่ไม่มีองค์ประมุขอีกแล้ว และบ้านเมืองที่ถูกผู้ครอบครองเปลี่ยนโฉมไปจนสิ้นเสน่ห์ ทิเบตวันนี้ก็มิใช่ทิเบตในความฝันอันลางเลืองของผู้คนอีกต่อไป

        โอม...มณี ปทเมหุม โอม...มณี ปทเมหุม โอม...มณี ปทเมหุม
        ฉันเผลอสวดมนตร์ตามเสียงที่ได้ยินอยู่รายรอบ



ซุ้มทางเข้าประตูวัดสีสดใสศิลปะทิเบต


ขอบคุณบทความและภาพจาก
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1346849220&grpid=&catid=02&subcatid=0200
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 06, 2012, 08:46:11 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29310
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: "ลาซา" มหานครแห่งศรัทธา (ชมภาพ)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 06, 2012, 08:54:29 pm »
0

พระพุทธรูปภายในวัดของทิเบตมีขนาดใหญ่โตสีทองเปล่งปลั่ง


อีกมุมหนึ่งของพระราชวังโปตาลา


ขอบคุณบทความและภาพจาก
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1346849220&grpid=&catid=02&subcatid=0200



อัปโหลดโดย weareloso เมื่อ 21 ก.ย. 2011
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: "ลาซา" มหานครแห่งศรัทธา (ชมภาพ)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 07, 2012, 10:57:09 am »
0
ใครมีโอกาสไป ก็อนุโมทนา ด้วยครับ ผมคนหนึ่งก็ปรารถนาไปธิเบตสักครั้ง นะครับ
 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า