ขอร่วมด้วย ครับ
แต่เป็นคำเมือง นะครับ
"กิ๋นหื้อปอต๊อง หย้องหื้อปอตั๋ว "
คำแปล : กินให้พอดีกับท้อง แต่งตัวให้พอดีกับตัว
ขยายความ : อันนี้ตรงเป๊ะกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงที่กำลังรณรงค์กันอยู่ทุกวันนี้
มี คำโบราณอีกคำหนึ่งที่สอดคล้องกับคตินี้คือ "ปากกว้างกว่าต๊อง" หมายถึงคนที่มีปากใหญ่กว่าท้อง...ท้องมันร้องว่าพอ พอ...แต่ปากเจ้าของกลับไม่ยอมหยุดกิน คนที่ตายด้วยโรคอาหารเกินจึงมีมากกว่าคนที่เป็นโรคขาดอาหาร...

"กิ๋นนักหื้อเต้าป๋ายก้อย กิ๋นน้อยหื้อเต้าหัวแม่มือ"
คำแปล : กินมากให้เท่าปลายนิ้วก้อย กินน้อยให้เท่าหัวแม่มือ
ขยาย ความ : พระพุทธองค์ทรงอุปมาไว้ว่า "แม้จะเนรมิตภูเขาทองคำสักสองลูก ก็ยังไม่จุใจคนที่มีตัณหาเพียงคนเดียว" นั่นเพราะคน ๆ นั้นเขา"อยาก"อะไรเท่าหัวแม่มือมากกว่าเท่าปลายนิ้วก้อย...

"เก็บผักหื้อเอาตึงเครือ เก็บบ่าเขือหื้อเอาตึงขวั้น"
คำแปล : เก็บผักให้เอาทั้งเครือ เก็บมะเขือให้เอาทั้งขวั้น
ขยาย ความ : เครือของผักมีทั้งใบแก่ใบอ่อน ซึ่งล้วนแต่มีประโยชน์ทางสารอาหาร และขวั้นของมะเขือนั้นถึงแม้เราจะไม่รับประทานแต่ก็ต้องเก็บออกจากต้น เพราะหากทิ้งไว้คาต้น มันจะเป็นเหตุขัดขวางความเจริญเติบโตของมะเขือ่อนที่กำลังผลิงอกตามหลัง มา...
ตรงกับสำนวนที่ว่า...ปัญญาชนมองแต่ต้นถึงปลาย คนงมงายมองแต่ปลายทางเดียว
