ปฐมฌานคือ (ยังมีตรึก ซึ่งเรียก ว่า วิตก มีตรอง ซึ่งเรียกว่า วิจาร เหมือนอารมณ์ของคนสามัญ มีปีติ คือความอิ่มใจ มีสุข คือความสบายใจอันเกิดแต่วิเวกคือความเงียบ และประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปซึ่งเรียกว่า เอกัคตา) หลายๆคนอาจผ่านฌานนี้กันมาแล้ว แต่มิได้ใช้ประโยชน์ในการสร้างวิปัสสนาญาณไปอย่างน่าเสียดาย โดยเมื่อออกจากฌานนี้ มักจะเกิดลังเลสงสัยบ้างว่ามันคืออะไร เราได้สภาวะนั้นสภาวะนี้แล้วใช่ไหม เกิดความอิ่มเอมยินดี ติดในรสความสงบ เกิดความอยาก อยากได้อีกอยากเป็นอีก ดังนั้นได้ปฐมฌานสำหรับบางคนกลายเป็นโทษแทนที่จะเป็นคุณ เราจึงควรปรับวิธีปฏิบัติเสียใหม่ เมื่อทำปฐมฌานจนชำนาญพอสมควร ตอนถอยออกมาจากฌาน เราจะต้องมีสติระลึกอย่างใดอย่างหนึ่ง ตรงนี้แหละสำคัญ ต้องฝึกกันหน่อย แทนที่จะระลึกสิ่งที่เป็นมิจฉาสติ คือระลึกให้เกิดกิเลส ให้หันมาระลึกชอบแทน หรือสัมมาสติแทน คือระลึกว่ามันเป็นเช่นนั้นเอง อย่าไปยินดียินร้ายกะมัน มันหาสาระอะไรไม่ได้ ไม่ให้สาระกับทุกๆความรู้สึกที่ผุดขึ้นมา อย่าไปดีใจลิงโลดใจหรือปล่อยไปเฉยๆ ต้องมีสติชอบทันทีที่ออกจากฌานทุกๆฌาน การกระทำเช่นนี้นี่แหละคือการเห็นไตรลักษณ์ ในอารมณ์ฌาน ต้องเห็นตอนออกจากฌานแล้ว ต้องฝึกไม่ให้สาระสำคัญกับอารมณ์ฌาน ต้องไม่รู้ไม่ชี้ ไม่เอากะมัน การไม่เกาะอารมณ์ฌาน การไม่เอากะมันนี่แหละจะทำให้เราได้อารมณ์ฌานที่สูงขึ้นโดยไม่รู้ตัว ได้อารมณ์ฌานใดๆก็ไม่เอากะมันอีก ไม่ให้สาระสำคัญกะมันอีก นี่คือการปล่อยวางความเห็นว่ามีตัวตนของตัวฌาน ของตัวผู้ได้ฌาน นี่แหละคือธรรมอันหมดจด นี่แหละคือทางแห่งนิพพาน
ลอกเขามานะครับ คุยกันก่อนพระอาจารย์เข้ามาตอบ
