ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - raponsan
หน้า: 1 ... 655 656 [657] 658 659 ... 708
26241  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: บูรณะุ "ลุมพินีสถาน" จุดกำเนิด "พุทธะ" เมื่อ: สิงหาคม 17, 2011, 01:09:50 pm
โครงการบูรณปฏิสังขรณ์สถานที่ประสูติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ณ ลุมพินีสถาน ประเทศเนปาล
เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวโรกาสมหามงคล 60 ปีราชาภิเษก และ 84 พรรษามหาราชา


1. ความเป็นมา
     เมื่อประมาณปี พ.ศ. 236 พระเจ้าอโศกมหาราชได้เสด็จมา ณ ลุมพินี โดยคำแนะนำของพระอุปคุตเถระว่า สถานที่แห่งนี้คือที่ประสูติจากพระครรภ์มารดาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเป็นหนึ่งในสังเวชนียสถานสี่แห่งที่พระพุทธองค์ทรงรับสั่งกับพระอานนท์ก่อนจะปรินิพพานว่า

ให้เป็นสถานที่แทนตัวพระพุทธองค์ภายหลังเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้วสำหรับให้พุทธบริษัทมาสักการะและปลงธรรมสังเวช พระเจ้าอโศกมหาราชจึงทรงให้สร้างเสาหินอโศกและพระสถูปไว้เป็นสัญลักษณ์ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนรุ่นหลังได้รับรู้และมาสักการะบูชาสังเวชนียสถานแห่งนี้ได้อย่างถูกต้อง


     แต่หลังจากนั้นเพียงไม่กี่ร้อยปี ลุมพินีก็ถูกปล่อยให้รกร้างมายาวนานเกือบยี่สิบศตวรรษ จนมีการขุดค้นพบเสาหินอโศก เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2438 และเมื่อถึงสมัยกึ่งพุทธกาล ฯพณฯ อูถั่น ชาวพุทธพม่าซึ่งเป็นเลขาธิการองค์การสหประชาชาติตอนนั้น ก็ได้พยายามผลักดันโครงการพัฒนาลุมพินีให้เป็นโครงการขององค์การสหประชาชาติเป็นผลสำเร็จ และได้ตั้งคณะกรรมการระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาลุมพินีขึ้น

เมื่อปี พ.ศ. 2513 ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศที่นับถือพุทธศาสนา 13 ประเทศร่วมเป็นกรรมการ โดยมีการทำแผนแม่บทพัฒนาลุมพินีสถานให้เป็นพุทธอุทยานขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่นับหมื่นเอเคอร์ อย่างไรก็ตามกาลเวลาผ่านไปแล้วกว่า 40 ปี จนถึงทุกวันนี้การพัฒนาลุมพินีตามแผนแม่บทที่วางไว้ก็ยังไม่มีความคืบหน้าอะไรมากนัก


     อนึ่ง ก่อนหน้านี้ได้มีชาวพุทธจากหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยพยายามจะขออนุญาตบูรณปฏิสังขรณ์ลุมพินีในบริเวณ " สวนอันศักดิ์สิทธิ์ " ( Sacred Garden ) ตามแผนแม่บทซึ่งเป็นที่ตั้งเสาหินอโศกและวิหารมายาเทวีมานานนับสิบ ๆ ปี แต่ก็ไม่ได้รับอนุญาตเพราะบริเวณสถานแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นมรดกโลก จนปัจจุบันสถานที่บริเวณดังกล่าวชำรุดทรุดโทรมลงมาก



     จนเมื่อคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ มีโอกาสไปสักการะบูชาลุมพินีสถาน ประเทศเนปาล เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2553 ได้เห็นความทรุดโทรมของสังเวชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ เช่น ทางเดินบริเวณรอบวิหารมายาเทวีเฉอะแฉะเป็นดินโคลนเวลาฝนตก ลานที่จะนั่งสวดมนต์หรือนั่งเจริญภาวนาก็ไม่มี รวมถึงไม่มีห้องสุขาในบริเวณนั้นด้วยซึ่งจะเป็นปัญหามากสำหรับผู้สูงอายุที่เดินทางมาสักการะบูชา เป็นต้น

จึงตั้งจิตอธิษฐานขอทำหน้าที่เป็น "สะพานบุญ" ชักชวนพุทธศาสนิกชนชาวไทยมาร่วมบูรณปฏิสังขรณ์สถานที่ประสูติจากพระครรภ์มารดาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และได้ทำเรื่องขออนุญาตบูรณปฏิสังขรณ์บริเวณ "สวนอันศักดิ์สิทธิ์" ของลุมพินี ในนามประธานมูลนิธิไทยพึ่งไทย

โดยได้รับการอนุเคราะห์ช่วยติดต่อประสานงานเป็นอย่างดียิ่งจากท่าน เจ้าคุณราชรัตนรังษี (วีรยุทธ วีรยุทโธ) ท่านเอกอัคราชทูต ณ กรุงกาฐมาณฑุ นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ และ ท่านพระมหาสุพจน์ กิตฺติวณฺโณ ซึ่งหากปราศจากการช่วยเหลือจากทั้ง 3 ท่านการดำเนินการขออนุญาตคงไม่สำเร็จลุล่วงได้


ซึ่งในที่สุดก็ได้รับการตอบอนุญาตจากกองทุนพัฒนาลุมพินี (Lumbini Development Trust หรือ LDT) ให้สามารถดำเนินการบูรณะปรับปรุงบริเวณ "สวนอันศักดิ์สิทธิ์" และได้รับอนุมัติแบบจากคณะกรรมการมรดกโลก เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2554 (11/01/2011)

ถือเป็นโชคดีของชาวไทยเพราะการบูรณปฏิสังขรณ์ในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3 ตั้งแต่การดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งแรกโดย พระเจ้าอโศกมหาราชเมื่อประมาณ 2,300 ปีก่อน และการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งที่ 2 โดยท่านอู่ถั่น ในนามขององค์กรสหประชาชาติเมื่อ 40 ปีก่อน และในครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 3 รอบ 2554 ปีที่เราชาวไทยจะได้มีโอกาสอันยิ่งใหญ่ในการบูรณปฏิสังขรณ์สถานที่ประสูติจาก LUMBINI DEVELOPMENT TRUST และคณะกรรมการมรดกโลก

เพื่อร่วมถวายเป็นพุทธบูชาในวโรกาสที่พระพุทธศาสนาจะมีอายุครบ 2,600 ปี ในพ.ศ. 2555 ตลอดจนเพื่อร่วมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องวโรกาสมหามงคล 60 ปี ราชาภิเษก และ 84 พรรษามหาราชา


การออกแบบบูรณปฏิสังขรณ์มี อาจารย์วันชัย รวยอารีย์ เป็นที่ปรึกษาในการออกแบบ อาจารย์อนุสรณ์ ภักดิ์สุขเจริญและผศ.ดร.ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ หัวหน้าภาคภาควิชาการวางแผนภาคและเมืองคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ โดยมีMR. BASANTA Senior Archaeology Officer ของ Lumbini Development Trust เป็นผ้ร่วมออกแบบ

ทางมูลนิธิจึงได้กราบเรียนเชิญท่านเจ้าคุณราชรัตนรังษี (วีรยุทธ วีรยุทโธ) เป็นที่ปรึกษาโครงการและผู้ควบคุมกำกับโครงการบูรณปฏิสังขรณ์สถานที่ประสูติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

โดยหลังสุดเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ได้เดินทางไปประเทศเนปาลเพื่อ ลงนามในบันทึกความเข้าใจในการบูรณปฏิสังขรณ์สถานที่ประสูติร่วมกับท่านลามะACHARYA KARMA SANGBO SHERPA ตำแหน่ง VICE-CHAIRPERSON ของ LUMBINI DEVELOPMENT TRUST ณ บริเวณหน้าวิหารมายาเทวี และได้วางศิลาฤกษ์ทางเดินรอบวิหารมายาเทวี


โดยท่านเจ้าคุณพระราชรัตนรังษี (วีรยุทธ วีรยุทโธ) เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และ ท่าน ส.ส.สมพล เกยุราพันธุ์ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 ตลอดจนได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างปรับปรุงทางเดินเท้าบริเวณรอบวิหารมายาเทวีแล้ว



2. วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อบูรณะปรับปรุงสถานที่ประสูติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ลุมพินีสถาน ประเทศเนปาล ตามกรอบการดำเนินงานที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกองทุนพัฒนาลุมพินี ( Lumbini Development Trust )

2.2 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสมหามงคล 60 ปีราชาภิเษก และ 84 พรรษามหาราชา

2.3 เพื่อเทิดพระเกียรติ และประกาศเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทย ให้ชาวพุทธทั่วโลกได้รับทราบ ในฐานะที่ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นองค์อัครพุทธศาสนูปถัมภก

2.4 เพื่อให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยทั่วประเทศ ได้มีโอกาสร่วมสร้างบุญกุศลในการบูรณะปรับปรุงสังเวชนียสถานที่มีคุณค่าความสำคัญยิ่งต่อชาวพุทธทั่วโลก ตลอดจนช่วยเสริมสร้างสามัคคีธรรมในหมู่คนไทย ท่ามกลางวิกฤติปัญหาความขัดแย้งแตกแยกในสังคมปัจจุบัน




3. รายละเอียดการบูรณปฎิสังขรณ์
3.1 สร้างทางเดินโดยรอบบริเวณวิหารมายาเทวี

3.2 สร้างลานปฏิบัติธรรม จำนวน 5 ลาน บริเวณหน้าเสาหินอโศก, ต้นมหาโพธิ์ และบริเวณใกล้เคียง

3.3 ขอพระราชทาน"กังหันชัยพัฒนา"มาติดตั้งเพื่อปรับปรุงสภาพน้ำ ณ สระอโนดาต สระน้ำ อันศักดิ์ที่สรงพระวรกายของสิทธัตถะราชกุมาร ภายหลังการประสูติจากพระครรภ์มารดา

3.4 สร้างอาคารเอนกประสงค์ และห้องน้ำสำหรับผู้สักการะ (กำลังรอการอนุมัติแบบจาก LDT.)

3.5 ปรับปรุงถนนทางเข้าสู่บริเวณ "สวนอันศักดิ์สิทธิ์" (Sacred Garden)

3.6 จัดสร้างสวนโดยรอบวิหารมายาเทวี และบริเวณสวนอันศักดิ์สิทธิ์ (Sacred Garden) เพื่อให้สวยงามดุจดั่งเมื่อครั้งพุทธกาลที่พระพุทธเจ้าประสูติ




4. แนวทางดำเนินการ
4.1 ทำเรื่องกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ให้ทรงทราบถึงความเป็นมาของโครงการ ที่คนไทยทั้งประเทศได้มี ส่วนร่วมทำถวายเป็นพระราชกุศลนี้ด้วยสามัคคีธรรม

4.2 ออกแบบแปลนการบูรณะปรับปรุงลุมพินีสถาน ซึ่งเป็นที่ประสูติขององค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า ณ ประเทศเนปาล ร่วมกับเจ้าหน้าที่โบราณคดีจากคณะกรรมการกองทุนพัฒนาลุมพินี ( Lumbini Development Trust )


4.3 ขออนุมัติแบบแปลนการบูรณะปรับปรุงจากคณะกรรมการ Lumbini Development Trust และจากคณะกรรมการมรดกโลก

4.4 เมื่ออนุมัติแบบแปลนแล้วคณะกรรมการ Lumbini Development Trust จะเป็นผู้จัดหาผู้รับเหมาก่อสร้าง
โดยวัดไทยลุมพินีจะเป็นผู้อนุมัติการจ่ายเงินและเป็นผู้จ่ายเงินให้แก่ผู้รับเหมารวมทั้งจะเป็นผู้ควบคุมการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งนี้

4.5 ทำการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ ชักชวนให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยทั่วประเทศ ได้มีส่วนร่วมทำบุญในการบูรณะปรับปรุงสังเวชนียสถาน ที่มีคุณค่าความสำคัญยิ่งต่อชาวพุทธทั่วโลกนี้ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยจะมุ่งเน้นที่จำนวนคน ซึ่งมีส่วนร่วมทำบุญคนละเล็กละน้อย ให้ได้ปริมาณคนที่มีส่วนร่วมมากที่สุดเพื่ออาศัยโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งแห่งการเสริมสร้างสามัคคีธรรมในหมู่คนไทย

4.6 เมื่อการบูรณะปรับปรุงเสร็จตามเป้าหมายแล้ว จะจัดตั้งกองทุนถาวรเพื่อไว้ใช้ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเช่น การดูแลสวน, ห้องน้ำ ฯลฯ รวมทั้งไว้ใช้ในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในอนาคต โดยจะมอบให้วัดไทยลุมพินีโดยท่านเจ้าคุณพระราชรัตนรังษี เป็นผู้ดูแลกองทุนนี้ต่อไป



5. ระยะเวลาดำเนินการ

มีนาคม – ธันวาคม 2554



6. ช่องทางการบริจาคเงิน[
1) โอนเงินผ่านธนาคาร ชื่อบัญชี "กองทุนลุมพินีสถาน"
1.1 "กองทุนลุมพินีสถาน" ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด บัญชีออมทรัพย์ สาขาลาดพร้าวซอย 10 เลขที่ 047-255916-4 หรือเช็คสั่งจ่ายในนาม กองทุนลุมพินีสถานโดยมูลนิธิไทยพึ่งไทย

1.2 " กองทุนลุมพินีสถาน " ธนาคารกสิกรไทย จำกัด บัญชีออมทรัพย์ สาขาประดิษฐ์มนูธรรม เลขที่613-2-10884-4 หรือเช็คสั่งจ่ายในนาม กองทุนลุมพินีสถานโดยมูลนิธิไทยพึ่งไทย

1.3 " กองทุนลุมพินีสถาน " ธนาคาร กรุงไทย จำกัด บัญชีออมทรัพย์ สาขาลาดปลาเค้า 41 เลขที่199-0-17327-6หรือเช็คสั่งจ่ายในนาม กองทุนลุมพินีสถานโดยมูลนิธิไทยพึ่งไทย

1.4 " กองทุนลุมพินีสถาน " ธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์เกษตร บัญชีออมทรัพย์ สาขาศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ (อาคาร B) เลขที่บัญชี199-2-03083-3 หรือเช็คสั่งจ่ายในนาม "กองทุนลุมพินีสถานโดยมูลนิธิไทยพึ่งไทย


2) SMS พิมพ์คำว่า LUM ส่งมาที่หมายเลข 4596999 (ครั้งละ 9 บาท)

3) ผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส ที่ร้านสะดวกซื้อ เซเว่น อีเลฟเว่น ทุกสาขาทั่วประเทศ



7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
7.1 สังเวชนียสถานที่มีคุณค่าความสำคัญยิ่งต่อชาวพุทธทั่วโลก ณ ลุมพินีสถาน ประเทศเนปาล ได้รับการบูรณะปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยพุทธศาสนิกชนชาวไทยที่มีส่วนร่วมการทำบุญอย่างกว้างขวาง

7.2 ประชาชนชาวไทยได้มีโอกาสร่วมทำบุญมหากุศลถวายเป็นพุทธบูชา และพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสปีมหามงคล

7.3 สังคมไทยมีบรรยากาศแห่งสามัคคีธรรมมากขึ้น จากกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนร่วมสร้างบุญกุศลในโครงการนี้ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสปีมหามงคล


หมายเหตุ ติดต่อสำนักงานกองทุนได้ที่ โทร. 02-971-7575 (ในเวลาราชการ) โทรสาร 02-971-6777
www.lumbinidevelopment.org‏ หรือ www.sudarat.com

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก http://www.lumbinidevelopment.org/story.php
26242  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / บูรณะุ "ลุมพินีสถาน" จุดกำเนิด "พุทธะ" เมื่อ: สิงหาคม 17, 2011, 12:43:04 pm
บูรณะุ "ลุมพินีสถาน" จุดกำเนิด "พุทธะ"


เมื่อประสูติแล้วทรงเดินได้เจ็ดก้าวในวันวิสาขบูชา (Vesak Day)

เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติและยืนได้ถนัดแล้ว ทรงเปล่งอาสภิวาจาที่ทรงยืนยันถึงวัตถุประสงค์ในการเกิดอย่างชัดเจนว่า 

"เราจะเป็นผู้เลิศแห่งโลก เราจะเป็นผู้เจริญที่สุดแห่งโลก
เราเป็นผู้ประเสริฐสุดแห่งโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ย่อมไม่มีอีก"


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก http://www.dmc.tv/pages/buddha_biography/Vesak_Day_Lord_Buddha_Day.html


http://www.youtube.com/watch?v=lyF3SPMDZis# (Embedding disabled, limit reached)

http://www.youtube.com/watch?v=7TXucDN0IO8#ws (Embedding disabled, limit reached)
26243  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ถ้าจะร้องเรียน เรื่องเสียงเครื่องขยาย ที่วัดเปิด ร้องเรียนที่ไหนครับ เมื่อ: สิงหาคม 17, 2011, 12:20:06 pm
 
หน้าบ้านผมเทศบาลนำลำโพงมาติด เปิดข่าวจากวิทยุให้ฟัง เช้า กับเที่ยง ผมหนวกหู โทรไปบอกว่า

 หนวกหู ขอให้ลดเสียง ปรากฏว่าเทศบาลไม่ทำตาม  ผมคิดว่า เหลืออยู่ทางเดียวที่ช่วยแก้ไขได้

 ก็คือ แจ้งตำรวจ แต่ต้องคิดให้ดีว่า เราต้องการค้าความหรือเปล่า เพราะอาจต้องสู่กันถึง ฎีกา

 เห็นใจครับ กรณีคุณ ฺBenten ควรแจ้งเจ้าคณะตำบลให้ทราบ แจ้งว่า เราไม่ต้องการฟังเสียงนั้น

 เรามีเสียงธรรมของเราแล้ว อะไรทำนองนี้ หรือไม่ก็บอกว่า เสียงนั้นรบกวนการพักผ่อนของเรา

 ผมคงคุยได้เท่านี้  โชดดีครับ
:49: ;)
26244  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: สมาธินิมิต ปัคคาหนิมิต อุเบกขานิมิต คืออะไร เมื่อ: สิงหาคม 16, 2011, 07:26:10 pm
เสขะ ผู้ยังต้องศึกษา ได้แก่ พระอริยบุคคลที่ยังไม่บรรลุอรหัตตผล
       โดยพิสดารมี ๗ คือ ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค ในโสดาปัตติผล ในสกทาคามิมรรค ในสกทาคามิผล ในอนาคามิมรรค ในอนาคามิผล และในอรหัตตมรรค,
       พูดเอาแต่ระดับเป็น ๓ คือ พระโสดาปัน พระสกทาคามี พระอนาคามี

อเสขะ ผู้ไม่ต้องศึกษา เพราะศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว
       ได้แก่ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล คือ พระอรหันต์;
       คู่กับ เสขะ

สังโยชน์ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ
       ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่
           ๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน
           ๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
           ๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต
           ๔. กามราคะ ความติดใจในกามคุณ
           ๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ

       ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่
           ๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต(เช่น วัตถุอันเป็นอารมณ์แห่งฌาน หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ สมาธิ)
           ๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม
           ๘. มานะ ความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่
           ๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
           ๑๐. อวิชชา ความไม่รู้จริง;

       พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้,
       พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย,
       พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด,
       พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ;


อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


   หนูหมิว ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ :08:  :57: :72: :) ;) เก่งมากครับ

   อธิจิต ในที่นี้หมายถึงสมถวิปัสสนาจิต (จิตในสมถะและวิปัสสนา) และนิมิตต่างๆ เป็นเรื่องของปุถุชน และเสขะบุคคล(โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี) กล่าวคือ ยังต้องศึกษาหรือปฏิบัติอยู่ เพราะกิเลสยังไม่สิ้น (โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังโยชน์ข้อ ๖ วัตถุอันเป็นอารมณ์แห่งฌาน หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ สมาธิ)
 
   แต่พระพุทธเจ้าเป็น อเสขะบุคคล ไม่มีอะไรให้ศึกษา จบแล้วซึ่งพรหมจรรย์ สิ้นกิเลสแล้ว จึงไม่ยึดนิมิต (ละสังโยชน์ข้อ ๖ ได้แล้ว)


   เรื่องนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ ไม่ได้ฟันธง :welcome: :49: :25: ;)

26245  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ปฏิบัติกรรมฐาน เพียงเพื่อปล่อยวาง ใช่หรือไม่ เมื่อ: สิงหาคม 16, 2011, 12:09:53 pm

   นิโรธ 5 (ความดับกิเลส, ภาวะไร้กิเลสและไม่มีทุกข์เกิดขึ้น )
       1. วิกขัมภนนิโรธ (ดับด้วยข่มไว้ คือ การดับกิเลสของท่านผู้บำเพ็ญฌาน ถึงปฐมฌาน ย่อมข่มนิวรณ์ไว้ได้ ตลอดเวลาที่อยู่ในฌานนั้น)

       2. ตทังคนิโรธ (ดับด้วยองค์นั้นๆ คือ ดับกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับหรือธรรมที่ตรงข้าม เช่น ดับสักกายทิฏฐิด้วยความรู้ที่กำหนดแยกนามรูปออกได้ เป็นการดับชั่วคราวในกรณีนั้นๆ)

       3. สมุจเฉทนิโรธ (ดับด้วยตัดขาด คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นเด็ดขาด ด้วยโลกุตตรมรรค ในขณะแห่งมรรคนั้น ชื่อสมุจเฉทนิโรธ )

       4. ปฏิปัสสัทธินิโรธ (ดับด้วยสงบระงับ คือ อาศัยโลกุตตรมรรคดับกิเลสเด็ดขาดไปแล้ว บรรลุโลกุตตรผล กิเลสเป็นอันสงบระงับไปหมดแล้ว ไม่ต้องขวนขวายเพื่อดับอีก ในขณะแห่งผลนั้นชื่อ ปฏิปัสสัทธินิโรธ )

       5. นิสสรณนิโรธ (ดับด้วยสลัดออกได้ หรือดับด้วยปลอดโปร่งไป คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นแล้ว ดำรงอยู่ในภาวะที่กิเลสดับแล้วนั้นยั่งยืนตลอดไป ภาวะนั้นชื่อนิสสรณนิโรธ ได้แก่ อมตธาตุ คือ นิพพาน)

       ปหาน 5 (การละกิเลส), วิมุตติ 5 (ความหลุดพ้น), วิเวก 5 (ความสงัด, ความปลีกออก), วิราคะ 5 (ความคลายกำหนัด, ความสำรอกออกได้ ), โวสสัคคะ 5 (ความสละ, ความปล่อย) ก็อย่างเดียวกันนี้ทั้งหมด


อ้างอิง
ขุ.ปฏิ. 31/65/39; 704/609; วิสุทธิ. 2/249.
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก www.phuketvegetarian.com



    ปหาน ๓
   ตทังคปหาน      การละชั่วคราว
   วิกขัมภนปหาน   การละด้วยสะกดเอาไว้
   สมุจเฉทปหาน    การละด้วยตัดขาด


   ปหาน แปลว่า การละ ประสงค์เอา การละความชั่ว ในที่นี้จำแนกเป็น ๓ คือ

   ๑.ตทังคปหาน การละชั่วคราว ได้แก่ การละกิเลสกาม วัตถุกาม และบาปธรรมอย่างอื่นๆของสามัญชน
ละได้เป็นพักๆ เช่น เกิดความสังเวชขึ้น หายกำหนัดในกาม  เกิดเมตตาขึ้น หายโกรธ เป็นต้น


   ๒.วิกขัมภนปหาน การละด้วยสะกดเอาไว้ ได้แก่ การละกิเลสของชนผู้ได้ฌาน อาจสะกิดไว้ได้นานๆตามกำลังฌาน เมื่อฌานเสื่อมแ้้ล้ว กิเลสและบาปธรรมกลับเกิดขึ้นอีก  ท่านเปรียบเหมือนศิลาทับหญ้า หญ้านั้นเมื่อศิลาทับอยู่ ย่อมงอกหรืึ้อเกิดขึ้นไม่ได้  ต่อเมื่อยกศิลาออกแล้ว จึงจะงอกขึ้นได้อีก

   ๓.สมุจเฉทปหาน การละด้วยตัดขาด ได้แก่ การละกิเลสและบาปธรรมของพระโสดาปัตติมรรค จนถึงพระอรหันตมรรคตามชั้นของตน กิเลสและบาปธรรม เช่น สังโยชน์ เป็นต้น ที่พระอริยบุคคลชั้นนั้นๆละได้แล้วด้วยอริยมรรค ย่อมกลับเกิดขึ้นอีกไม่ได้


อ้างอิง หนังสือคู่มือ ธรรมวิภาค ปริจเฉทที่ ๒ น.ธ.โท เรียบเรียงโดย คณาจารย์แห่งโรงพิมพ์เลี่ยงเชียง
ขอบคุณภาพจาก www.phuketvegetarian.com


   เป้าหมายการปฏิบัติกรรมฐานของพุทธศาสนา คือ นิโรธ ซึงหมายถึงการดับกิเลส
   แต่ถ้าจะให้จดจำและเข้าใจโดยง่าย ขอให้ดูที่ ปหาน ๓ ทีีได้อธิบายถึงการละกิเลสในระดับต่างๆไว้แล้ว
   หวังใจว่า จะเข้าใจเป้าหมายที่แท้จริง ของกรรมฐาน

    :welcome: :49:  :25:;)
26246  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / สมถะ วิปัสสนา เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ ที่หลายคนยังไม่เข้าใจ เมื่อ: สิงหาคม 16, 2011, 11:33:43 am

สมถะ วิปัสสนา เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ ที่หลายคนยังไม่เข้าใจ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ 
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต


   ทรงแสดงธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ( ความรู้ )   ๒ อย่าง คือ
สมถะ(การทำจิตให้สงบ) และวิปัสสนา (การทำปัญญาให้เห็นแจ้ง ) แล้วทรงแสดงผลว่า


   อบรมสมถะ ชื่อว่าอบรมจิต อบรมจิต (สมาธิ)  แล้วทำให้ละราคะ ความกำหนัดยินดีได้
   อบรมวิปัสสนาแล้ว ชื่อว่าอบรมปัญญา อบรมปัญญาแล้ว ทำให้ละอวิชชา ( ความไม่รู้จริง) ได้.


   ทรงแสดงว่า จิตที่เศร้าหมองเพราะราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น ปัญญาที่เศร้าหมองเพราะอวิชชา ย่อมชื่อว่าไม่ได้รับการอบรม ด้วยเหตุนี้

   เพราะคลายราคะ จึงชื่อว่าเจโตวิมุต ( ความหลุดพ้นเพราะสมาธิ )
   เพราะคลายอวิชชา จึงชื่อว่าปัญญาวิมุต ( ความหลุดพ้นเพราะปัญญา).



อ้างอิง
พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน (อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ)
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/12.2.html
ขอบคุณภาพจาก http://napoom.moobanthai.com



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ 
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต


             [๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา
ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ  สมถะ ๑  วิปัสสนา ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย
   สมถะที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมจิต
จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้

   วิปัสสนาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา
ปัญญาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละอวิชชาได้ ฯ


             [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น
หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล


ดูกรภิกษุทั้งหลาย
   เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ
   เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติ


จบพาลวรรคที่ ๓


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  บรรทัดที่ ๑๕๖๔ - ๑๖๑๖.  หน้าที่  ๖๘ - ๗๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=1564&Z=1616&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=267
ขอบคุณภาพจาก http://cdn.gotoknow.org
26247  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / มารู้จักกับคนที่..."กล่าวตู่พระพุทธเจ้า" เมื่อ: สิงหาคม 16, 2011, 11:09:20 am

มารู้จักกับคนที่..."กล่าวตู่พระพุทธเจ้า"

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ 
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต


   ทรงแสดงบุคคลที่กล่าวตู่พระตถาคต ๒ ประเภท คือ   
๑. ผู้คิดประทุษร้าย ตกอยู่ในอำนาจความคิดประทุษร้าย   
๒. ผู้มีศรัทธาถือเอาผิด (จำผิด,เข้าใจผิด).


   ทรงแสดงบุคคลที่กล่าวตู่พระตถาคต ๒ ประเภทอีก ๒ ข้อ คือ
ข้อแรก ผู้ที่แสดงถ้อยคำที่พระตถาคตมิได้กล่าว มิได้พูดว่า พระตถาคตกล่าวไว้ พูดไว้   
กับผู้ที่แสดงถ้อยคำที่พระตถาคตกล่าวไว้ พูดไว้ว่า ตถาคตมิได้กล่าวไว้ มิได้พูดไว้   


กับอีกข้อหนึ่ง ผู้แสดงพระสูตร ที่มีอรรถอันควรแนะนำว่า มีอรรถอันแนะนำแล้ว
และแสดงพระสูตรที่มีอรรถอันแนะนำแล้ว มีอรรถอันควรแนะนำ ( แสดงสับสนไปจากหลักธรรม).



อ้างอิง
พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน (อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ)
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/12.2.html
ขอบคุณภาพจาก http://mblog.manager.co.th



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ 
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต


             [๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมกล่าวตู่ตถาคต
๒ จำพวกเป็นไฉน คือ

คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถจะพึงนำไปว่า พระสุตตันตะมีอรรถนำไปแล้ว ๑
คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถอันนำไปแล้วว่า พระสุตตันตะมีอรรถที่จะพึงนำไป ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล ย่อมกล่าวตู่ตถาคต

ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ
คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถจะพึงนำไปว่า พระสุตตันตะมีอรรถที่จะพึงนำไป ๑
คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถอันนำไปแล้วว่า พระสุตตันตะมีอรรถอันนำไปแล้ว ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต ฯ



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  บรรทัดที่ ๑๕๖๔ - ๑๖๑๖.  หน้าที่  ๖๘ - ๗๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=1564&Z=1616&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=267
ขอบคุณภาพจาก www.bloggang.com
26248  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ สอนวิปัสสนา เมื่อศิษย์ปฏิบัิติ ถึงห้องไหนคะ เมื่อ: สิงหาคม 15, 2011, 09:37:32 pm
พอจะเข้าใจอยู่ ครับว่า อารมณ์กรรมฐาน ในสายกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

ต้องแจ้งกรรมฐาน เป็นส่วนบุคคล

  แต่ในส่วนที่ไม่ได้เป็น ศิษย์ อันนี้ให้คำแนะนำเป็น วิทยาทาน ธรรมทาน ไม่ได้หรือครับ

  :c017:

หนูกบเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายครับ ....เป็นงง?? :smiley_confused1: หนูกบอยู่ใกล้วัดพลับทำไมไม่ไปถามที่นั่นล่ะครับ

 ผมเชิญหนูกบมาที่สระบุรีแล้ว แต่หนูไม่ยอมมา หลายเรื่องยังไม่ถึงเวลาที่จะบอก
 
 เนื่องจากทิฏฐิเดิมยังไม่คลาย สัทธาที่มีอยู่ยังไม่พอ บอกไปอาจไม่เป็นผลดี

 ที่สำคัญจำเป็นต้องสอบอารมณ์กันก่อน

        หนูกบไม่มีความเพียร นี่..ต้องตำหนิกันบ้าง
:96: :96: :96:

       
26249  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ สอนวิปัสสนา เมื่อศิษย์ปฏิบัิติ ถึงห้องไหนคะ เมื่อ: สิงหาคม 15, 2011, 12:07:10 pm
คุณพิณมณี คงจะไปทราบระแคะระคายอะไรมาบางอย่าง ขอชี้แจ้งว่า ที่สระบุรี ก่อนจะออกจากกรรมฐาน

 ต้องเข้าวิปัสสนาทุกครั้ง กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ สอนสมถะและวิปัสสนา ควบคู่กันไป

 ขอยืนยันว่า ไม่มีอะไรยาก ไม่มีอะไรง่าย

 หากยังยึดเอาสัญญาเดิมๆเป็นที่ตั้ง ใจที่ไม่เปิดรับอะไรใหม่ๆ จะรู้สึกว่ายาก

 เรื่องนี้คุยมาหลายกระทู้แล้ว จำเป็นต้องพูดตรงๆ หากทำให้หลายท่านขุ่นใจ ก็ขออภัยครับ

 ขอให้ลองลงมือปฏิบัติก่อน ไม่ดีกว่าหรือครับ



ขอให้พิจารณาอินทรีย์ ๕ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา 

 ในเบื้องต้น หากคุณไม่มี สัทธาและวิริยะแล้ว

 สติ สมาธิ ปัญญา จะเกิดขึ้นได้อย่างไร

 เมื่อก่อนผมก็มีทิฏฐิบางอย่างเหมือนคุณ แต่ผมก็ยอมรินน้ำที่เต็มแก้วออกเล็กน้อย

 จากนั้นกรรมฐานมัชฌิมาฯ ก็ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับผมอีกต่อไป

  :welcome: :49: :25: ;)
 
 
 ลืมตอบคำถามไปข้อหนึ่งครับ... ตอบว่า กรรมฐานมัชฌิมาฯที่สระบุรี สอนวิปัสสนาตั้งแต่ห้องแรก

 เมื่อไปถึงห้องหรือฐานจิตต่อๆไป จะมีการเปลี่ยนวิธีวิปัสสนา(รายละเอียดต่างกัน)

 ไม่ต้องถามวิธีวิปัสสนาในแต่ละห้องกับผมนะครับ ผมจะไม่ตอบ

 ขอให้ไปถามพระอาจารย์เอาเอง ผมไม่ได้รับอนุญาตให้ตอบในที่สาธารณะ
26250  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: สอบถามปัญหาเรื่องภาษาที่ใช้ในการแผ่เมตตา เมื่อ: สิงหาคม 15, 2011, 11:36:33 am
ภาษาเป็นเพียงสมมุติบัญญััติ ที่ใช้สื่อสารกัน เฉพาะสังคมนั้นๆ ไม่น่ามีผลกับ "กุศลกรรม"

 วิบากกรรมเป็นเรื่องอจินไตย ปุถุชนไม่อาจเข้าใจ



ส่วนตัวเชื่อว่า กฏแห่งกรรม เป็นกฏธรรมชาติ ที่เป็นไปโดยอัตโนมัติ

 การส่งผลบุญไปให้จิตวิญญาณใดๆ ต้องใช้พลังจิตระดับหนึ่ง ผลบุญนั้นถึงหรือไม่ถึงอย่างไร

 ปุถุชนยากที่จะรู้ วิธีที่นิยมกันหลายสำนักก็คือ ต้องขอบารมีพระพุทธเจ้า



การอุทิศบุญของผม จะกระทำก่อนที่จะออกจากสมาธิ เมื่อเราทำสมาธิจะได้บุญกรรมฐาน

 ขณะนั้นเรามีสมาธิหรือพลังจิตอยู่ระดับหนึ่งแล้ว ผมจะขอบารมีพระพุทธเจ้า

 ขออุทิศบุญ "ทาน ศีล ภาวนา" ของผมที่กระทำมาตั้งแต่อดีตชาติ ปัจจุบันชาติ จนถึงขณะนี้ ให้ใคร...(ก็แล้วแต่)

 วิญญาณคนตายที่เป็นญาติและไม่ใช่ญาติของผม  เคยมาเข้าฝันผมบ่อย ผมก็ใช้วิธีดังกล่าว ได้ผลครับ

 ไม่มีการเข้าฝันครั้งที่สองอีก ขอคุยเป็นเพื่อนเท่านี้ครับ
 
26251  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ทิพยจักษุ ของนางมาติกะใด มหาอุบาสิกา เมื่อ: สิงหาคม 15, 2011, 07:48:10 am
ภาพจากhttp://watpachicago.com

อุบาสิกาบรรลุมรรค ๓ ผล ๓ ก่อนภิกษุ             
              จำเดิมแต่นั้น อุบาสิกานั้นก็ได้ทำการสาธยายซึ่งอาการ ๓๒ (และ) เริ่มตั้งไว้ซึ่งความสิ้นไปและความเสื่อมไปในตน ได้บรรลุมรรค ๓ ผล ๓ ก่อนกว่าภิกษุเหล่านั้นทีเดียว. ปฏิสัมภิทา ๔ และโลกิยอภิญญา ได้มาถึงแก่อุบาสิกานั้นโดยมรรคนั่นแล.
 
               นางออกจากสุขอันเกิดแต่มรรคและผลแล้ว ตรวจดูด้วยทิพยจักษุใคร่ครวญอยู่ว่า “เมื่อไรหนอแล? พระผู้เป็นเจ้าผู้เป็นบุตรของเราจึงจักบรรลุธรรมนี้” แล้วรำพึง (ต่อไป) ว่า

“พระผู้เป็นเจ้าเหล่านี้ทั้งหมด ยังมีราคะ ยังมีโทสะ ยังมีโมหะ, พระผู้เป็นเจ้าเหล่านั้นมิได้มีคุณธรรมแม้สักว่าฌานและวิปัสสนาเลย อุปนิสัยแห่งพระอรหัตของพระผู้เป็นเจ้าผู้บุตรของเรา มีอยู่หรือไม่หนอ?” เห็นว่า “มี” ดังนี้แล้ว จึงรำพึง (ต่อไป) ว่า

“เสนาสนะเป็นที่สบาย จะมีหรือไม่มีหนอ?” เห็นแม้เสนาสนะเป็นที่สบายแล้ว จึงรำพึง (ต่อไปอีก) ว่า “พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายของเรายังไม่ได้บุคคลเป็นที่สบายหรือหนอ? เห็นแม้บุคคลเป็นที่สบายแล้ว จึงใคร่ครวญอยู่ว่า “พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายยังไม่ได้อาหารเป็นที่สบายหรือหนอ?” ก็ได้เห็นว่า “อาหารเป็นที่สบายยังไม่มีแก่พวกเธอ.”

               จำเดิมแต่นั้นมา ก็จัดแจงข้าวยาคู๑- อันมีอย่างต่างๆ และของขบเคี้ยวเป็นอเนกประการ และโภชนะมีรสต่างๆ อันเลิศแล้ว นิมนต์ภิกษุทั้งหลายให้นั่งแล้ว จึงถวายน้ำทักษิโณทก๒- แล้ว มอบถวายด้วยคำว่า “ท่านผู้เจริญ พวกท่านชอบใจสิ่งใดๆ ขอจงถือเอาสิ่งนั้นๆ ฉันเถิด.”

               ภิกษุเหล่านั้น รับเอาวัตถุทั้งหลายมีข้าวยาคูเป็นต้นแล้ว บริโภคตามความชอบใจ.




     ผมนำอรรถกถาด้านบน มาโพสต์ให้อ่านกันอย่างชัดๆ จะเห็นได้ว่า นางมาติกะใด มหาอุบาสิกา ได้สำเร็จอภิญญา และได้ใช้อภิญญา ตรวจดูวาระจิตของภิกษุทุกรูป หาสิ่งต่างๆที่สัปปายะให้ภิกษุทุกรูป จนได้บรรลุธรรม

 :welcome: :49: :25: ;)
26252  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ทิพยจักษุ ของนางมาติกะใด มหาอุบาสิกา เมื่อ: สิงหาคม 15, 2011, 07:36:30 am

อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓


๒. เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง [๒๕] 
             
ข้อความเบื้องต้น
         
               พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุรูปใด รูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า “ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน” เป็นต้น.

              อุบาสิกาจัดที่อยู่ถวายภิกษุ ๖๐ รูป              
               ได้ยินว่า ได้มีบ้านตำบลหนึ่ง ชื่อมาติกคาม ใกล้เชิงเขา ในแว่นแคว้นของพระเจ้าโกศล. ภายหลังวันหนึ่ง ภิกษุประมาณ ๖๐ รูปทูลอาราธนาให้ตรัสบอกพระกัมมัฏฐานจนถึงพระอรหัต ในสำนักของพระศาสดาแล้ว ไปสู่บ้านนั้น เข้าไปเพื่อบิณฑบาต.
 
               ลำดับนั้น เจ้าของบ้านนั้นชื่อมาติกะใด มารดาของเจ้าของบ้านนั้น เห็นภิกษุเหล่านั้นแล้ว นิมนต์ให้นั่งในเรือน จึงอังคาสด้วยข้าวยาคูและภัตอันมีรสเลิศต่างๆ ถามว่า “พวกท่านประสงค์จะไป ณ ที่ไหน? เจ้าข้า.”

               ภิกษุเหล่านั้นบอกว่า “พวกฉันมีความประสงค์จะไปสู่ที่ตามความผาสุก มหาอุบาสิกา.”
               นางทราบว่า “พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ชะรอยจะแสวงหาสถานที่สำหรับจำพรรษา จึงหมอบลงที่ใกล้เท้าแล้วกล่าวว่า “ถ้าพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจักอยู่ในที่นี้ตลอด ๓ เดือนนี้ไซร้, ดิฉันจักรับสรณะ ๓ ศีล ๕ (และ) ทำอุโบสถกรรม.”

               ภิกษุทั้งหลายปรึกษากันว่า “เราทั้งหลาย เมื่ออาศัยอุบาสิกานี้ ไม่มีความลำบากด้วยภิกษา จักสามารถทำการสลัดออกจากภพได้” ดังนี้ แล้วจึงรับคำ.
               นางได้ชำระวิหารอันเป็นที่อยู่ถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น.

               ภิกษุ ๖๐ รูปทำกติกากัน               
               ภิกษุเหล่านั้นเมื่ออยู่ในที่นั้น วันหนึ่งได้ประชุมกันแล้วตักเตือนกันและกันว่า
               “ผู้มีอายุ พวกเราไม่ควรประพฤติโดยความประมาท เพราะว่ามหานรก ๘ ขุม๑- มีประตูเปิด (คอยท่า) พวกเราเหมือนอย่างเรือนของตนทีเดียว. ก็แลพวกเราได้เรียนพระกัมมัฏฐานในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ยังทรงพระชนม์อยู่แล้วจึงมา

               ก็ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย อันใครๆ ผู้โอ้อวด แม้เที่ยวไปตามรอยพระบาท ก็ไม่สามารถให้ทรงโปรดปรานได้. (แต่) บุคคลผู้มีอัธยาศัยเป็นปกติเท่านั้น สามารถให้ทรงโปรดปรานได้ ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด.
 
               พวกเราไม่ควรยืน ไม่ควรนั่งในที่แห่งเดียวกัน ๒ รูป แต่ว่าในกาลเป็นที่บำรุงพระเถระในเวลาเย็นแล และในกาลเป็นที่ภิกษาจารในเวลาเช้าเท่านั้น พวกเราจักรวมกัน, (แต่) ในกาลที่เหลือจักไม่อยู่รวมกัน ๒ รูป.

               ก็อีกอย่างหนึ่งแล เมื่อภิกษุผู้ไม่มีความผาสุก มาตีระฆังในท่ามกลางวิหารขึ้นแล้ว พวกเราจึงจักมาตามสัญญาแห่งระฆังแล้ว ทำยาให้แก่ภิกษุนั้น”

____________________________
๑- มหานรก ๘ ขุม คือ ๑. สัญชีวะ. ๒. กาลสุตะ. ๓. สังฆาฏะ. ๔. โรรุวะ ๕. มหาโรรุวะ. ๖. ตาปะ. ๗. มหาตาปะ. ๘. อเวจี.


               ภิกษุมาประชุมกันด้วยเสียงระฆัง              
               เมื่อภิกษุเหล่านั้นทำกติกากันอย่างนี้อยู่, วันหนึ่ง อุบาสิกานั้นให้บุคคลถือเภสัชทั้งหลาย มีเนยใสและน้ำอ้อยเป็นต้น อันชนทั้งหลายมีทาสและกรรมกรเป็นต้น แวดล้อมเดินไปสู่วิหารนั้นในเวลาเย็น ไม่เห็นภิกษุทั้งหลายในท่ามกลางวิหารแล้ว จึงถามพวกบุรุษว่า “พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ไปเสีย ณ ที่ไหนหนอแล?”

               เมื่อพวกเขาบอกว่า “แม่คุณ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจักเป็นผู้นั่งอยู่ในที่พักกลางคืน และที่พักกลางวันของตนๆ (เท่านั้น)” จึงกล่าว (ต่อไป) ว่า “ฉันทำอย่างไรเล่าหนอ จึงจักสามารถพบ (พวกพระผู้เป็นเจ้า) ได้.”

               ลำดับนั้น มนุษย์ทั้งหลายที่รู้กติกวัตรของภิกษุสงฆ์ จึงบอกกะอุบาสิกานั้นว่า “คุณแม่ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจักประชุมกัน ในเมื่อบุคคลมาตีระฆัง.”

               นางจึงให้ตีระฆัง ภิกษุทั้งหลายได้ยินเสียงระฆังแล้ว ออกจากที่ของตนๆ ด้วยสำคัญว่า “ภิกษุบางรูปจักไม่มีความผาสุก.” จึงประชุมกันในท่ามกลางวิหาร. ภิกษุชื่อว่า เดินมาโดยทางเดียวกันแม้ ๒ รูป ย่อมไม่มี.


               อุบาสิกาเจริญสมณธรรมตามที่ภิกษุบอก              
               อุบาสิกาเห็นภิกษุรูปหนึ่งๆ เท่านั้นเดินมาจากที่แห่งหนึ่งๆ จึงคิดว่า “(ชะรอย) พระผู้เป็นเจ้าผู้เป็นบุตรของเรา จักทำความทะเลาะวิวาทแก่กันและกัน” ดังนี้แล้ว ไหว้ภิกษุสงฆ์กล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายได้ทำความทะเลาะกันหรือ?”

               ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า “พวกฉันหาได้ทำความทะเลาะวิวาทกันไม่ มหาอุบาสิกา.”
               อุบาสิกา. ท่านผู้เจริญ ถ้าพวกท่านไม่มีความทะเลาะวิวาทกันไซร้, เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไรพวกท่านจึงไม่มา เหมือนเมื่อมาสู่เรือนของดิฉันมาโดยรวมกันทั้งหมด, (นี่กลับ) มาทีละองค์ๆ จากที่แห่งหนึ่งๆ.
 
               ภิกษุ. มหาอุบาสิกา พวกฉันนั่งทำสมณธรรมในที่แห่งหนึ่งๆ.
               อุบาสิกา. พ่อคุณทั้งหลาย ชื่อว่าสมณธรรมนั้นคืออะไร?
               ภิกษุ. มหาอุบาสิกา พวกฉันทำการสาธยายอาการ ๓๒ เริ่มตั้ง ซึ่งความสิ้นและความเสื่อมในอัตภาพอยู่.

               อุบาสิกา. ท่านเจ้าขา การทำการสาธยายอาการ ๓๒#- และการเริ่มตั้งความสิ้นความเสื่อมในอัตภาพ ย่อมสมควรแก่พวกท่านเท่านั้น หรือย่อมสมควรแก่พวกดิฉันด้วยเล่า?

____________________________
#- คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา น้ำมันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ถ้าเติมมัตถลุงคัง มันสมองเข้าด้วย เป็น ๓๒ ตามคัมภีร์วิสุทธิมรรค.


               ภิกษุ. มหาอุบาสิกา ธรรมนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงห้ามแก่ใครๆ.
               อุบาสิกา. ถ้าอย่างนั้น ขอพวกท่านจงให้อาการ ๓๒ และขอจงบอกการเริ่มตั้ง ซึ่งความสิ้นและความเสื่อมในอัตภาพ แก่ดิฉันบ้าง.

               ภิกษุ. มหาอุบาสิกา ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเรียนเอา. แล้วให้เรียนเอาทั้งหมด.

               อุบาสิกาบรรลุมรรค ๓ ผล ๓ ก่อนภิกษุ              
              จำเดิมแต่นั้น อุบาสิกานั้นก็ได้ทำการสาธยายซึ่งอาการ ๓๒ (และ) เริ่มตั้งไว้ซึ่งความสิ้นไปและความเสื่อมไปในตน ได้บรรลุมรรค ๓ ผล ๓ ก่อนกว่าภิกษุเหล่านั้นทีเดียว. ปฏิสัมภิทา ๔ และโลกิยอภิญญา ได้มาถึงแก่อุบาสิกานั้นโดยมรรคนั่นแล.
 
               นางออกจากสุขอันเกิดแต่มรรคและผลแล้ว ตรวจดูด้วยทิพยจักษุใคร่ครวญอยู่ว่า “เมื่อไรหนอแล? พระผู้เป็นเจ้าผู้เป็นบุตรของเราจึงจักบรรลุธรรมนี้” แล้วรำพึง (ต่อไป) ว่า

“พระผู้เป็นเจ้าเหล่านี้ทั้งหมด ยังมีราคะ ยังมีโทสะ ยังมีโมหะ, พระผู้เป็นเจ้าเหล่านั้นมิได้มีคุณธรรมแม้สักว่าฌานและวิปัสสนาเลย อุปนิสัยแห่งพระอรหัตของพระผู้เป็นเจ้าผู้บุตรของเรา มีอยู่หรือไม่หนอ?” เห็นว่า “มี” ดังนี้แล้ว จึงรำพึง (ต่อไป) ว่า

“เสนาสนะเป็นที่สบาย จะมีหรือไม่มีหนอ?” เห็นแม้เสนาสนะเป็นที่สบายแล้ว จึงรำพึง (ต่อไปอีก) ว่า “พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายของเรายังไม่ได้บุคคลเป็นที่สบายหรือหนอ? เห็นแม้บุคคลเป็นที่สบายแล้ว จึงใคร่ครวญอยู่ว่า “พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายยังไม่ได้อาหารเป็นที่สบายหรือหนอ?” ก็ได้เห็นว่า “อาหารเป็นที่สบายยังไม่มีแก่พวกเธอ.”

               จำเดิมแต่นั้นมา ก็จัดแจงข้าวยาคู๑- อันมีอย่างต่างๆ และของขบเคี้ยวเป็นอเนกประการ และโภชนะมีรสต่างๆ อันเลิศแล้ว นิมนต์ภิกษุทั้งหลายให้นั่งแล้ว จึงถวายน้ำทักษิโณทก๒- แล้ว มอบถวายด้วยคำว่า “ท่านผู้เจริญ พวกท่านชอบใจสิ่งใดๆ ขอจงถือเอาสิ่งนั้นๆ ฉันเถิด.”

               ภิกษุเหล่านั้น รับเอาวัตถุทั้งหลายมีข้าวยาคูเป็นต้นแล้ว บริโภคตามความชอบใจ.

____________________________
๑- แปลตามพยัญชนะว่า …ยังข้าวยาคูมีอย่างต่างๆ ด้วย ยังของเคี้ยวมีประการมิใช่น้อยด้วย ยังโภชนะมีรสอันเลิศต่างๆ ด้วย ให้ถึงพร้อมแล้ว.
๒- แปลว่า น้ำเพื่อทักษิณา.


               ภิกษุ ๖๐ รูปบรรลุพระอรหันต์              
               เมื่อภิกษุเหล่านั้นได้อาหารอันเป็นที่สบาย จิตก็เป็นธรรมชาติ มีอารมณ์เดียว (แน่วแน่). พวกเธอมีจิตแน่วแน่เจริญวิปัสสนา ต่อกาลไม่นานนัก ก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย แล้วคิดว่า

               “น่าขอบคุณ! มหาอุบาสิกาเป็นที่พึ่งของพวกเรา; ถ้าพวกเราไม่ได้อาหารอันเป็นที่สบายแล้วไซร้, การแทงตลอดมรรคและผล คงจักไม่ได้มีแก่พวกเรา (เป็นแน่), บัดนี้ พวกเราอยู่จำพรรษาปวารณาแล้ว จักไปสู่สำนักของพระศาสดา”

               พวกเธออำลามหาอุบาสิกาว่า “พวกฉันใคร่จะเฝ้าพระศาสดา.”
               มหาอุบาสิกากล่าวว่า “ดีแล้ว พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย” แล้วตามไปส่งภิกษุเหล่านั้น, กล่าวคำอันเป็นที่รักเป็นอันมากว่า “ขอท่านทั้งหลาย พึง (มา) เยี่ยมดิฉันแม้อีก” ดังนี้เป็นต้น แล้วจึงกลับ.


              พระศาสดาตรัสถามสุขทุกข์กะภิกษุเหล่านั้น               
               ฝ่ายภิกษุเหล่านั้นแล ถึงเมืองสาวัตถีแล้ว ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง อันพระศาสดาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย (สรีรยนต์มีจักร ๔ มีทวาร ๙) พวกเธอพออดทนได้ดอกหรือ? พวกเธอพอยังอัตภาพให้เป็นไปได้ดอกหรือ? อนึ่ง พวกเธอไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ?”

               จึงกราบทูลว่า “พออดทนได้ พระเจ้าข้า พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้ พระเจ้าข้า, อนึ่ง ข้าพระองค์ทั้งหลายมิได้ลำบากด้วยบิณฑบาตเลย, เพราะว่า อุบาสิกาคนหนึ่งชื่อมาติกมาตา ทราบวาระจิตของพวกข้าพระองค์.

เมื่อพวกข้าพระองค์คิดว่า ‘ไฉนหนอ มหาอุบาสิกาจะพึงจัดแจงอาหารชื่อเห็นปานนี้เพื่อพวกเรา.’ (นาง) ก็ได้จัดแจงอาหารถวายตามที่พวกข้าพระองค์คิดแล้ว” ดังนี้แล้ว ก็กล่าวสรรเสริญคุณของมหาอุบาสิกานั้น.



               อุบาสิกาจัดของถวายตามที่ภิกษุต้องการ              
               ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งสดับถ้อยคำสรรเสริญคุณของมหาอุบาสิกานั้นแล้ว เป็นผู้ใคร่จะไปในที่นั้น เรียนกัมมัฏฐานในสำนักของพระศาสดาแล้ว ทูลลาพระศาสดาว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักไปยังบ้านนั้น” แล้วออกจากพระเชตวัน ถึงบ้านนั้นโดยลำดับ

ในวันที่ตนเข้าไปสู่วิหาร คิดว่า “เขาเล่าลือว่า อุบาสิกานี้ย่อมรู้ถึงเหตุอันบุคคลอื่นคิดแล้วๆ. ก็เราเหน็ดเหนื่อยแล้วในหนทาง จักไม่สามารถกวาดวิหารได้, ไฉนหนอ อุบาสิกานี้จะพึงส่งคนผู้ชำระวิหารมาเพื่อเรา.”

               อุบาสิกานั่งในเรือนนั่นเองรำพึงอยู่ ทราบความนั้นแล้ว จึงส่งคนไปด้วยคำว่า “เจ้าจงไป, ชำระวิหารแล้วจึงมา.”

               ฝ่ายภิกษุนอกนี้อยากดื่มน้ำ จึงคิดว่า “ไฉนหนอ อุบาสิกานี้จะพึงทำน้ำดื่มละลายน้ำตาลกรวดส่งมาให้แก่เรา.” อุบาสิกาก็ได้ส่งน้ำนั้นไปให้. เธอคิด (อีก) ว่า “ขออุบาสิกา จงส่งข้าวยาคูมีรสสนิทและแกงอ่อมมาเพื่อเรา ในวันพรุ่งนี้แต่เช้าตรู่เถิด.” อุบาสิกาก็ได้ทำอย่างนั้น.

ภิกษุนั้นดื่มข้าวยาคูแล้ว คิดว่า “ไฉนหนอ อุบาสิกาพึงส่งของขบเคี้ยวเห็นปานนี้มาเพื่อเรา.” อุบาสิกาก็ได้ส่งของเคี้ยวแม้นั้นไปแล้ว เธอคิดว่า “อุบาสิกานี้ส่งวัตถุที่เราคิดแล้วๆ ทุกๆ สิ่งมา, เราอยากจะพบอุบาสิกานั่น, ไฉนหนอ นางพึงให้คนถือโภชนะมีรสเลิศต่างๆ เพื่อเรา มาด้วยตนเองทีเดียว.”
               
อุบาสิกาคิดว่า “ภิกษุผู้บุตรของเราประสงค์จะเห็นเราหวังการไปของเราอยู่”, ดังนี้แล้ว จึงให้คนถือโภชนะไปสู่วิหารแล้วได้ ถวายแก่ภิกษุนั้น.
               
ภิกษุนั้นทำภัตกิจแล้ว ถามว่า “มหาอุบาสิกา ท่านหรือ? ชื่อว่ามาติกมาตา.”
               
อุบาสิกา. ถูกแล้ว พ่อ.

               ภิกษุ. อุบาสิกา ท่านทราบจิตของคนอื่นหรือ?
               อุบาสิกา. ถามดิฉันทำไม? พ่อ.
               ภิกษุ. ท่านได้ทำวัตถุทุกๆ สิ่งที่ฉันคิดแล้วๆ, เพราะฉะนั้น ฉันจึงถามท่าน.
               อุบาสิกา. พ่อ ภิกษุที่รู้จิตของคนอื่น ก็มีมาก.
               ภิกษุ. ฉันไม่ได้ถามถึงคนอื่น, ถาม (เฉพาะตัว) ท่านอุบาสิกา.
               
แม้เป็นอย่างนั้น อุบาสิกาก็มิได้บอก (ตรงๆ) ว่า “ดิฉันรู้จิตของคนอื่น” (กลับ) กล่าวว่า “ลูกเอ๋ย ธรรมดาคนทั้งหลายผู้รู้จิตของคนอื่น ย่อมทำอย่างนั้นได้.”


               ภิกษุลาอุบาสิกากลับไปเฝ้าพระศาสดา               
              ภิกษุนั้นคิดว่า “กรรมนี้หนักหนอ, ธรรมดาปุถุชน ย่อมคิดถึงอารมณ์อันงามบ้าง ไม่งามบ้าง, ถ้าเราจักคิดสิ่งอันไม่สมควรแล้วไซร้, อุบาสิกานี้ ก็พึงยังเราให้ถึงซึ่งประการอันแปลก เหมือนจับโจรที่มวยผมพร้อมด้วยของกลางฉะนั้น, เราควรหนีไปเสียจากที่นี้” แล้วกล่าวว่า “อุบาสิกา ฉันจักลาไปละ.”
 
               อุบาสิกา. ท่านจักไปที่ไหน? พระผู้เป็นเจ้า.
               ภิกษุ. ฉันจักไปสู่สำนักพระศาสดา อุบาสิกา.
               อุบาสิกา. ขอท่านจงอยู่ในที่นี้ก่อนเถิด เจ้าข้า.
 
               ภิกษุนั้นกล่าวว่า “ฉันจักไม่อยู่ อุบาสิกา จักต้องไปอย่างแน่นอน” แล้วได้เดินออก (จากที่นั้น) ไปสู่สำนักของพระศาสดา.


               พระศาสดาแนะให้รักษาจิตอย่างเดียว              
               ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามเธอว่า “ภิกษุ เธออยู่ในที่นั้นไม่ได้หรือ?”
               ภิกษุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ไม่สามารถอยู่ในที่นั้นได้.
               พระศาสดา. เพราะเหตุไร? ภิกษุ.

               ภิกษุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ (เพราะว่า) อุบาสิกานั้นย่อมรู้ถึงเรื่องอันคนอื่นคิดแล้วๆ ทุกประการ, ข้าพระองค์คิดว่า “ก็ธรรมดา ปุถุชนย่อมคิดอารมณ์อันงามบ้าง ไม่งามบ้าง, ถ้าเราจักคิดสิ่งบางอย่างอันไม่สมควรแล้วไซร้, อุบาสิกานั้นก็จักยังเราให้ถึงซึ่งประการอันแปลก เหมือนจับโจรที่มวยผมพร้อมทั้งของกลางฉะนั้น” ดังนี้แล้ว จึงได้มา.
 
               พระศาสดา. ภิกษุ เธอควรอยู่ในที่นั้นแหละ.
               ภิกษุ. ข้าพระองค์ไม่สามารถ พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จักอยู่ในที่นั้นไม่ได้.
               พระศาสดา. ภิกษุ ถ้าอย่างนั้น เธอจักอาจรักษาสิ่งหนึ่งเท่านั้นได้ไหม ?
               ภิกษุ. รักษาอะไร? พระเจ้าข้า.

               พระศาสดา ตรัสว่า “เธอจงรักษาจิตของเธอนั่นแหละ ธรรมดาจิตนี้บุคคลรักษาได้ยาก, เธอจงข่มจิตของเธอไว้ให้ได้ อย่าคิดถึงอารมณ์ อะไร ๆ อย่างอื่น, ธรรมดาจิตอันบุคคลข่มได้ยาก” ดังนี้แล้ว


               จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
                         ๒.    ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน    ยตฺถ กามนิปาติโน
                            จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ                   จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ
                            การฝึกจิตอันข่มได้ยาก เป็นธรรมชาติเร็ว มักตก
                            ไปในอารมณ์ตามความใคร่ เป็นการดี (เพราะว่า)
                            จิตที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นเหตุนำสุขมาให้.


               แก้อรรถ               
               บัณฑิตพึงทราบวิเคราะห์ในพระคาถานั้น (ดังต่อไปนี้).
               ธรรมดาจิตนี้อันบุคคลย่อมข่มได้โดยยาก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ทุนฺนิคฺคหํ.
               จิตนี้ย่อมเกิดและดับเร็ว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ลหุ ซึ่งจิตอันข่มได้ยาก อันเกิดและดับเร็วนั้น.
 
               บาทพระคาถาว่า ยตฺถ กามนิปาติโน ความว่า มักตกไปในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งนั่นแล. จริงอยู่ จิตนี้ย่อมไม่รู้จักฐานะอันตนควรได้ หรือฐานะอันไม่ควรได้, ฐานะอันสมควรหรือฐานะอันไม่สมควร ย่อมไม่พิจารณาดูชาติ ไม่พิจารณาดูโคตร ไม่พิจารณาดูวัย, ย่อมตกไปในอารมณ์ที่ตนปรารถนาอย่างเดียว.
 
               เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า “มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่.”
               การฝึกจิตเห็นปานนี้นั้น เป็นการดี คือความที่จิตอันบุคคลฝึกฝนด้วยอริยมรรค ๔#- ได้แก่ ความที่จิตอันบุคคลทำแล้วโดยประการที่จิตสิ้นพยศได้ เป็นการดี.

____________________________
#- อริยมรรค ๔ คือ
               โสดาปัตติมรรค ๑ สกทาคามิมรรค ๑
               อนาคามิมรรค ๑ อรหัตมรรค ๑


               ถามว่า “เพราะเหตุไร?”
               แก้ว่า “เพราะว่า จิตนี้อันบุคคลฝึกแล้ว ย่อมเป็นเหตุนำสุขมาให้ คือว่า จิตที่บุคคลฝึกแล้ว ได้แก่ทำให้สิ้นพยศ ย่อมนำมาซึ่งความสุขอันเกิดแต่มรรคผล และสุขคือพระนิพพานอันเป็นปรมัตถ์.”

               ในกาลจบเทศนา บริษัทที่มาประชุมกันเป็นอันมาก ได้เป็นอริยบุคคลมีพระโสดาบันเป็นต้น, เทศนาสำเร็จประโยชน์แก่มหาชนแล้ว.

               ภิกษุนั้นกลับไปสู่มาติกคามอีก               
               พระศาสดา ครั้นประทานโอวาทนี้แก่ภิกษุนั้นแล้ว จึงทรงส่งไปด้วยพระดำรัสว่า “ไปเถิด ภิกษุ เธออย่าคิดอะไรๆ อย่างอื่น จงอยู่ในที่นั้นนั่นแหละ.” ภิกษุนั้นได้พระโอวาทจากสำนักของพระศาสดาแล้ว จึงได้ไป (อยู่) ในที่นั้น, ไม่ได้คิดอะไรๆ ที่ชวนให้คิดภายนอกเลย.
 
               ฝ่ายมหาอุบาสิกา เมื่อตรวจดูด้วยทิพยจักษุ ก็เห็นพระเถระแล้ว กำหนด (รู้) ด้วยญาณของตนนั่นแลว่า “บัดนี้ ภิกษุผู้บุตรของเราได้อาจารย์ให้โอวาทแล้ว จึงกลับมาอีก” แล้วได้จัดแจงอาหารอันเป็นที่สบายถวายแก่พระเถระนั้น.


               พระเถระบรรลุพระอรหัตและระลึกชาติได้              
               พระเถระนั้นได้โภชนะอันเป็นที่สบายแล้ว โดย ๒-๓ วันเท่านั้น ก็ได้บรรลุพระอรหัต ยับยั้งอยู่ด้วยความสุขอันเกิดแต่มรรคและผลคิดว่า

               “น่าขอบใจ มหาอุบาสิกาได้เป็นที่พึ่งของเราแล้ว เราอาศัยมหาอุบาสิกานี้ จึงถึงซึ่งการแล่นออกจากภพได้”, แล้วใคร่ครวญอยู่ว่า มหาอุบาสิกานี้ได้เป็นที่พึ่งของเราในอัตภาพนี้ก่อน, ก็เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในสงสาร มหาอุบาสิกานี้เคยเป็นที่พึ่งในอัตภาพแม้อื่นๆ หรือไม่? แล้วจึงตามระลึกไปตลอด ๙๙ อัตภาพ.
 
               แม้มหาอุบาสิกานั้น ก็เป็นนางบาทบริจาริกา (ภริยา) ของพระเถระนั้นใน ๙๙ อัตภาพ เป็นผู้มีจิตปฏิพัทธ์ในชายเหล่าอื่น จึงให้ปลงพระเถระนั้นเสียจากชีวิต.
 
               พระเถระ ครั้นเห็นโทษของมหาอุบาสิกานั้นเพียงเท่านี้แล้ว จึงคิดว่า “น่าสังเวช มหาอุบาสิกานี้ได้ทำกรรมหนักมาแล้ว.”


               อุบาสิกาใคร่ครวญดูบรรพชิตกิจของพระเถระ              
              ฝ่ายมหาอุบาสิกานั่งในเรือนนั่นเอง พลางใคร่ครวญว่า “กิจแห่งบรรพชิตของภิกษุผู้บุตรของเรา ถึงที่สุดแล้ว หรือยังหนอ?” ทราบว่า พระเถระนั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว จึงใคร่ครวญยิ่งขึ้นไป ก็ทราบว่า “ภิกษุผู้บุตรของเราบรรลุพระอรหัตแล้ว คิดว่า ‘น่าปลื้มใจจริง อุบาสิกานี้ได้เป็นที่พึ่งของเราอย่างสำคัญ’ ดังนี้แล้วใคร่ครวญ (ต่อไปอีก) ว่า

“แม้ในกาลล่วงแล้ว อุบาสิกานี้ได้เคยเป็นที่พึ่งของเราหรือเปล่าหนอ?” ตามระลึกไปตลอด ๙๙ อัตภาพ; แต่เราแลได้คบคิด๑- กับชายเหล่าอื่น ปลงพระเถระนั้นเสียจากชีวิตใน ๙๙ อัตภาพ, พระเถระนี้แลเห็นโทษมีประมาณเท่านี้ของเราแล้ว คิดว่า ‘น่าสังเวช อุบาสิกาได้ทำกรรมหนักแล้ว’”

               นางใคร่ครวญ (ต่อไป) ว่า “เรา เมื่อท่องเที่ยวอยู่ในสงสาร เรามิได้เคยทำอุปการะแก่ภิกษุผู้เป็นบุตรเลยหรือหนอ?” ได้ระลึกถึงอัตภาพที่ครบ ๑๐๐ อันยิ่งกว่า ๙๙ อัตภาพนั้น ก็ทราบว่า “ในอัตภาพที่ครบ ๑๐๐ เราเป็นบาทบริจาริกาแห่งพระเถระนั้น ได้ให้ชีวิตทานในสถานเป็นที่ปลงจากชีวิตแห่งหนึ่ง. น่าดีใจ เรากระทำอุปการะมากแก่ภิกษุผู้บุตรของเรา” นั่งอยู่ในเรือนนั่นเอง กล่าวว่า
               “ขอท่านจงใคร่ครวญดูให้วิเศษยิ่งขึ้น.”

____________________________
๑- อญฺเญหิ สทฺธึ เอกโต หุตฺวา แปลตามพยัญชนะว่า เป็นโดยความเป็นอันเดียวกันกับบุรุษทั้งหลายเหล่าอื่น.

              พระเถระนิพพาน              
               พระเถระนั้นได้สดับเสียง (ของอุบาสิกานั้น) ด้วยโสตธาตุอันเป็นทิพย์แล้ว ระลึกถึงอัตภาพที่ครบ ๑๐๐ ให้วิเศษขึ้น แล้วเห็นความที่อุบาสิกานั้นได้ให้ชีวิตแก่ตนในอัตภาพนั้น จึงคิดว่า “น่าดีใจ อุบาสิกานั้นได้เคยทำอุปการะแก่เรา” ดังนี้แล้ว มีใจเบิกบาน กล่าวปัญหาในมรรค ๔ ผล ๔ แก่อุบาสิกาในที่นั้นนั่นเอง ได้ปรินิพพานแล้วด้วยนิพพานธาตุอันเป็นอนุปาทิเสส.

               เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง จบ.
             
ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=13&p=2
อ่านเนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  บรรทัดที่ ๓๖๖ - ๓๙๔.  หน้าที่  ๑๗ - ๑๘.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=366&Z=394&pagebreak=0
ขอบคุณภาพจาก www.mahamodo.com,www.rmutphysics.com,http://3.bp.blogspot.com,http://4.bp.blogspot.com,http://tourwat.com

26253  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / สมาธินิมิต ปัคคาหนิมิต อุเบกขานิมิต คืออะไร เมื่อ: สิงหาคม 15, 2011, 07:19:29 am


สมาธินิมิต ปัคคาหนิมิต อุเบกขานิมิต คืออะไร

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

สมุคคสูตร

ทรงแสดงว่าภิกษุผู้บำเพ็ญสมาธิ  พึงใส่ใจนิมิต ( เครื่องหมายในจิตใจ ) ๓ อย่าง โดยกาลอันสมควร ได้แก่

สมาธินิมิต (เครื่องหมาย คือ สมาธิหรือความมีอารมณ์เป็นหนึ่ง )
ปัคคาหนิมิต ( เครื่องหมาย คือ ความเพียร )
อุเบกขานิมิต ( เครื่องหมาย คือ ความวางเฉย ).


ถ้าใส่ใจแต่สมาธินิมิตอย่างเดียว จิตก็จะน้อมไปเพื่อความเกียจคร้านได้, 
ถ้าใส่ใจแต่ปัคคาหนิมิตอย่างเดียว จิตก็น้อมไปเพื่อความฟุ้งสร้านได้.
ถ้าใส่ใจแต่อุเบกขานิมิตอย่างเดียว จิตก็ไม่พึงตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อสิ้นอาสวะได้ .


ต่อเมื่อใส่ใจนิมิตทั้งสามโดยกาลอันสมควร จิตจึงอ่อน ควรแก่การงาน ผ่องใสตั้งมั่นโดยชอบเพื่อสิ้นอาสวะ เปรียบเหมือนช่างทองที่หลอมทองเงิน ย่อมสูบ ( เป่าลม ) โดยกาลอันสมควร,   พรมน้ำโดยกาลอันสมควร,   วางเฉยโดยกาลอันสมควร.



อ้างอิง
พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน (อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ)
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/12.4.html
อ่านรายละเอียดได้ที่
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  บรรทัดที่ ๖๗๓๓ - ๖๗๘๓.  หน้าที่  ๒๘๗ - ๒๘๙.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=6733&Z=6783&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=542
ขอบคุณภาพจาก www.madchima.net,www.oknation.net
26254  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ใครอยู่ชั้นไหน วัดกันด้วยอุปกิเลส ๓ ชั้น(หยาบ กลาง ละเอียด) เมื่อ: สิงหาคม 15, 2011, 07:05:03 am

ใครอยู่ชั้นไหน วัดกันด้วยอุปกิเลส ๓ ชั้น(หยาบ กลาง ละเอียด)

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

สังฆสูตร

ทรงแสดงอุปกิเลส ( เครื่องเศร้าหมองแห่งจิต )ของภิกษุผู้บำเพ็ญสมาธิ   ว่ามี ๓ ชั้น คือ

อย่างหยาบ   ได้แก่ ทุจริตกาย   วาจา   ใจ,   
อย่างกลาง  ได้แก่ ความตรึก ( วิตก ) ในกาม   ในการคิดปองร้าย   ในการเบียดเบียน ,   
อย่างละเอียด   ได้แก่ความตรึกถึงชาติ   ความตรึกถึงชนบท และความตรึกที่ไม่ต้องการให้ใครดูหมิ่น


เปรียบเหมือนเครื่องเศร้าหมองของเงินทองมีทั้งอย่างหยาบ   อย่างกลาง   และอย่างละเอียด
แล้วทรงแสดงถึงการที่จิตเป็นสมาธิ มีอารมณ์เป็นหนึ่ง เป็นเหตุให้บรรลุอภิญญา ๖ คือ   

๑. อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้   
๒. ทิพพโสต หูทิพย์   
๓. เตโตปริยญาณ กำหนดรู้ใจผู้อื่น   
๔. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้   
๕. จุตูปปาตญาณ มีทิพยจักษุ เห็นความตายความเกิดของสัตว์ทั้งหลาย และ   
๖. อาสวักขยญาณ บรรลุเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันไม่มีอาสวะ.



อ้างอิง
พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน (อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ)
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/12.4.html
อ่านรายละเอียดได้ที่
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  บรรทัดที่ ๖๖๔๗ - ๖๗๓๒.  หน้าที่  ๒๘๓ - ๒๘๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=6647&Z=6732&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=541
ขอบคุณภาพจาก www.84000.org,www.dhammajak.net
26255  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: วิธีทำจิตให้ร่าเริง มีปีติ ในการภาวนา ควรทำอย่างไร คะ เมื่อ: สิงหาคม 13, 2011, 08:08:17 pm
ที่พักทีี่่ใกล้ พักกันสัก 2 -3 คน ที่ใกล้ที่สุดตรงไหน ราคาเ่ท่าไหร่ ครับ

 :c017:

             คุณนาฏนพิทย์ 081-6890220
             คุณกมลพรรณ 082-1997474  (พี่แขก)
             และคุณจิตตรี(เจ้าของบ้าน)089-7450417

             รายชื่อสามท่านนี้เป็นคนสระบุรี รู้จักพื้นที่เป็นอย่างดี น่าจะให้คำตอบได้
             :welcome: :49:
26256  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: วิธีทำจิตให้ร่าเริง มีปีติ ในการภาวนา ควรทำอย่างไร คะ เมื่อ: สิงหาคม 13, 2011, 09:51:55 am
อ้างถึง
หากคุณpamai ยังไม่ได้ขึ้นกรรมฐานมัชฌิมาฯกับอาจารย์ท่่านใด
 วันที่ ๑๔ สิงหาคมที่จะถึง เชิญที่บ้านคุณจิตตรี สระบุรี เลยครับ
น่าสนใจคะ มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างคะ

 :s_hi:

  ไม่มีครับ :welcome:
26257  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / Re: เพื่อลูกแม่จะสู้ ( ใกล้วันแม่แล้ว ) เมื่อ: สิงหาคม 13, 2011, 09:49:49 am
http://www.youtube.com/watch?v=Y9eIlRz8tfs# (Embedding disabled, limit reached)

http://www.youtube.com/watch?v=3D7rCHBkatA# (Embedding disabled, limit reached)

http://www.youtube.com/watch?v=IPKTXSOc1p4# (Embedding disabled, limit reached)

อันนี้ชอบเป็นการส่วนตัว อย่าว่ากัน :08: :) ;) :s_good: :49:
26258  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ปฏิบัติ อานาปานสติ มาก่อนหลายปีแล้ว ฝึ อานาปานสติ ในกรรมฐาน มัชฌิมา ได้หรือไม่.. เมื่อ: สิงหาคม 13, 2011, 09:42:14 am

ควรมาให้พระอาจารย์สอบอารมณ์ก่อน สะดวกที่ไหน วัดพลับ หรือ สระบุรี ก็ได้

 แต่โดยส่วนตัว คิดว่า ถ้าไม่ใช่ศิษย์กรรมฐานมัชฌิมาฯ ต้องขึ้นกรรมฐานกราบไหว้หลวงปู่เป็นอาจารย์ก่อน

 และคงต้องเริ่มฝึกตามขั้นตอนที่มีอยู่


  ไม่ต้องกลัวว่า จะทำให้เนิ่นช้า ถ้าทำตามขั้นตอนแล้ว จะเป็นการสร้างพื้นฐานที่ดี และเป็นกุศลอย่างยิ่ง

 ที่สำคัญเป็นการพิสูจน์ตัวคุณเองว่า บุญกรรมฐานที่คุณเพียรพยายามปฏิบัติมา อยู่ขั้นไหนแล้ว

 แข็งแกร่งและชำนาญแค่ไหนอย่างไร 


คุณ KEYSPIRIT พร้อมหรือยัง ? ที่จะพิสูจน์ "spirit" ของตนเอง

  :welcome: :49: :25: ;)
26259  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / สุดยอด "พุทธศิลป์" มิวเซียม "คิง เพาเวอร์" เมื่อ: สิงหาคม 12, 2011, 07:05:00 pm


สุดยอด "พุทธศิลป์" มิวเซียม "คิง เพาเวอร์"

การรวบรวมงานศิลป์อันทรงคุณค่าไม่ว่าด้านใดก็ตาม มีการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบการจัดแสดงไปตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ หน้าตา "พิพิธภัณฑ์" มีรูปลักษณ์ที่แปลกใหม่ สะดุดตา และน่าเข้าไปเยี่ยมชม

เช่นเดียวกับ "VR MUSEUM" หรือ พิพิธภัณฑ์ "วีอาร์ คิง เพาเวอร์ คอมเพล็กซ์" ภายใต้โดมชั้น 1 คิง เพาเวอร์ คอมเพล็กซ์ ถนนรางน้ำ มีการรวบรวม จัดแสดงพระพุทธรูปและประติมากรรมของศาสนาต่าง ๆ ที่เผยแผ่ในทวีปเอเชีย ทั้งศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ของประเทศต่าง ๆ อาทิ พม่า เขมร อินโดนีเซีย


เริ่มตั้งแต่พระพุทธรูปในยุคแรกที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปะกรีก โรมัน ที่เรียกกันว่า "ศิลปะคันธาระ" อันเป็นพระพุทธรูปรุ่นแรกของโลก ซึ่งมี

พระพักตร์ละม้ายเหมือนชาวยุโรป เกิดจากการผสมผสานระหว่างโลกตะวันตกและโลกตะวันออก หลังจากพระเจ้าอเล็กซานเดอร์พิชิตอินเดียเหนือได้ พระพุทธรูปสกุลช่างนี้จึงเป็นที่ยอมรับของนัก

ประวัติศาสตร์ศิลปะทั่วโลกว่า มีความงามที่ผสมผสานสุนทรียภาพแบบตะวันตกเข้ากับระบบปรัชญาของตะวันออกและหาชมตัวอย่างที่สมบูรณ์เช่นนี้ได้ยากมากในประเทศไทย

มาถึงพระพุทธรูปศิลปะ "ทวารวดี" ซึ่งจัดว่าเป็นพระพุทธรูปรุ่นแรกในประเทศไทย ซึ่งแม้จะได้รับอิทธิพลจากอินเดีย แต่ก็ปรับเปลี่ยนรูปแบบเค้าโครงพระพักตร์ให้เหมือนกับชนพื้นเมืองในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


รวมทั้งพระพุทธรูปหาชมได้ยาก เช่น พระพุทธรูปศิลปะชวา ศิลปะเขมร และศิลปะพุกาม ซึ่งแต่ละองค์ล้วนมีคุณค่าทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะ



อีกด้านหนึ่งมีการจัดแสดงพระพุทธรูปและเทวรูปสำริดขนาดเล็กจำนวนมากในกรอบกระจก เทวรูปส่วนหนึ่งสร้างขึ้นในศาสนาพราหมณ์ฮินดู เช่น พระคเณศ พระศิวะทรงโค (อุมามเหศวร) พระวิษณุ และศาสนาพุทธมหายาน เช่น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร นางปรัชญาปารมิตา พระวัชรสัตว์ เป็นต้น

บางชิ้นมีความสมบูรณ์ สวยงาม มีรายละเอียดที่ประณีตงดงาม

โซนกึ่งกลางจะเป็นบริเวณจัดแสดง "พระเครื่อง" หรือพระพิมพ์โดยเฉพาะ เป็นไฮไลต์ของพิพิธภัณฑ์ ซึ่งพระเครื่องแต่ละองค์ที่นำมาจัดแสดงล้วนเป็นพระเครื่องที่หาชมได้ยาก ส่วนใหญ่จะเห็นจากหน้ากระดาษเท่านั้น

อาทิ ชุดเบญจภาคี มีครบสมบูรณ์ทั้ง 5 องค์ โดยเฉพาะพระสมเด็จวัดระฆัง เป็นองค์ที่กดพิมพ์ได้ลึกและสมบูรณ์มากทีเดียว งานนี้ไม่ต้องก้ม ๆ เงย ๆ เพ่งพินิจให้ปวดตาและต้นคอ ทาง VR MUSEUM ได้นำแว่นขยาย iPad


จอกว้าง แค่ใช้ปลายนิ้วขยายดูรายละเอียดได้อย่างจุใจ

โซนสุดท้ายเป็นพระพุทธรูปสกุลช่างต่าง ๆ ในประเทศไทย ไล่เรียงตั้งแต่

ศิลปะสุโขทัย ศิลปะล้านนาหรือเชียงแสน ศิลปะอู่ทอง และศิลปะอยุธยา และแบ่งแยกออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ อีก เช่น เชียงแสนสิงห์หนึ่ง สิงห์สอง อู่ทองรุ่นที่ 1 อู่ทองรุ่นที่ 2

องค์ที่น่าตื่นตาตื่นใจที่สุดคือ พระพุทธรูปสุโขทัย หมวดวัดตะกวน แสดงให้เห็นอิทธิพลของพระพุทธปฏิมาประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย แบบอยุธยา ยังมีพระพุทธรูปศิลปะอยุธยาตอนกลางและอยุธยาตอนปลายที่ทรงเครื่องอย่างหรูหรา ละเอียดลออ แสดงถึงยุคสมัยอันรุ่งเรืองในประวัติศาสตร์



มาที่เดียวแต่มีให้ชมเพียบ พิพิธภัณฑ์นี้เหมาะสำหรับชีวิตคนเมืองที่ชอบงานศิลปะแต่ไม่มีเวลาเดินทาง ลองแวะมาที่ VR MUSEUM หรือชวนเพื่อนต่างชาติมาชมด้วยก็ได้ เพราะที่นี่มีคำบรรยายให้ฟังถึง 5 ภาษา เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.00-18.00 น.

สำหรับสมาชิก คิง เพาเวอร์ สามารถเข้าชมได้ฟรี เพียงแสดงบัตรสมาชิก อัตราค่าเข้าชมสำหรับบุคคลทั่วไป คนไทย 100 บาท, ชาวต่างชาติ 200 บาท, นักเรียน นักศึกษา 20 บาท

เมื่อเต็มอิ่มกับพระเครื่องและพระพุทธรูปแล้ว ก็ลองแวะไปชมนิทรรศการศิลปะชุด "เตโช วาโย

อาโป ปถวี" (The Four Elements) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-22 สิงหาคม 2554 ที่หอศิลป์จามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การแสดงงานศิลปะผ่านภาพวาดสีหมึกบนกระดาษ ระบายโดยอิสระ ผลงานของนฤพนธ์ ชุติวรรณโสภณ เต็มไปด้วยพลังความเคลื่อนไหว ผสมกลมกลืนและต่อสู้รุกราน แสดงรูปลักษณ์ทางธรรมชาติอันลี้ลับในโลกแห่งอุดมคติของศิลปิน สะท้อนความงามความละเอียดอ่อนและความสงบที่เชื่อมโยงกับปรัชญาทางธรรมชาติ

ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ล้วนเกิดจากพลวัตแห่งธาตุทั้ง 4 อันประกอบด้วย เตโช (ไฟ) วาโย (ลม) อาโป (น้ำ) ปถวี (ดิน) อันเป็นธาตุพื้นฐานของโลก

งานศิลปะจะช่วยให้คนเป็น

นักสร้าง นักคิด ทำให้คนใจเย็นและมีสติ
..........


 

อ้างอิง
(ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ ฉบับ 1-3 ส.ค.2554)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1312023552&grpid=&catid=08&subcatid=0804
ขอบคุณภาพจาก www.matichon.co.th
26260  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ''เจตนารมณ์การสร้างวัด : Emotion & Fucntion '' เมื่อ: สิงหาคม 12, 2011, 01:17:17 pm


''เจตนารมณ์การสร้างวัด : Emotion & Fucntion ''

โดย พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,ผศ.ดร. (2554)
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
นักศึกษาหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง (ปปร.)
รุ่นที่ ๑๕ สถาบันพระปกเกล้า
 
     จากตัวเลขของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติในปี ๒๕๕๓ เรามีวัดที่มีพระจำพรรษาจำนวน ๓๐,๐๐๐ กว่าวัด และวัดร้างจำนวน ๕,๐๐๐ กว่าวัด  ถึงกระนั้น เมื่อกล่าวถึง "วัด" ในยุคปัจจุบันนี้ มีทั้ง "ชมรมคนเกลียดวัด" และ "ชมรมคนรักวัด"  ชมรมคนเกลียดวัด  "อาจจะ" มาจากตัวแปรหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความผิดหวัง และพลาดหวังในตัวของพระสงฆ์ซึ่งเป็นกำลังสำคัญของพระพุทธศาสนา จึงทำให้บางท่านห่างเหินวัด และพลาดตกของหลักธรรมคำสอนซึ่งเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา

     อย่างไรก็ดี พุทธศาสนิกชนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งประกอบไปด้วยพระภิกษุ อุบาสก อุบาสิกาได้ร่วมกันตั้ง "ชมรมคนรักวัด" ขึ้น  วัดดังกล่าวคือ "วัดบัลลังก์" จ. สุพรรณบุรี  ในอดีตของวัดนี้ ประชาชนจำนวนมากได้เข้าไปร่วมพัฒนา และส่งเสริมกิจกรรมของวัด เนื่องจากเจ้าอาวาสของวัดเป็น "พระเกจิ" ซึ่งหมายถึง "เก่งกล้าสามารถในการเป่าน้ำมัน พ่นน้ำหมาก ขากเสลด" แต่เมื่อท่านมรณภาพ จึงทำให้สถานการณ์ของวัด "ทรุดโทรมลง" และ" ทยอยหายไปเพราะการจากไปจากพระในดวงใจที่ตัวเองเคารพ นับถือ และบูชา"

     การฟื้นคืนวัดให้กลับเป็น "วัด" ในความหมายของ "อาราม" ซึ่งแปลว่า "ทำให้วัดให้เป็นที่น่ายินดี"  ฉะนั้น การทำ "วัด" ให้เป็น "วัด" จึงเกิดขึ้น โดยการใช้วัดในความหมายของวัตถุ หรือในภาษาคน ให้เป็นวัดในภาษาธรรม โดยการวัดจิต วัดใจ ของผู้คนที่เข้าไปใช้วัดเป็นเครื่องมือในการพัฒนาจิต  ประดุจวัดคือแพข้ามฟาก ที่จะนำกลุ่มคนที่ประสบทุกข์ทางใจ ไปสู่ฝั่งคือความสุขทางจิตอย่างแท้จริง


     สาระสำคัญของการสร้างวัดมิได้มีเจตนารมณ์เพียงเพื่อสนองตอบอารมณ์และความรู้สึกในเชิงพิธีกรรมเท่านั้น หากแต่ควรมุ่งเน้นในเชิงของการพัฒนาวัดให้เป็นแหล่งรองรับการพัฒนาคุณค่าภาย ใน ฉะนั้น การพัฒนาวัดไม่ควรตระหนักรู้เฉพาะเรื่องของอารมณ์ และความรู้สึกทั้งในแง่ของความสุขใจ สบายใจ ทางพิธีกรรม และสถาปัตยกรรมภายในวัด (Emotion) เท่านั้น แต่ควรตระหนักรู้ถึงคุณค่าของการใช้งานจริงของศาสนวัตถุภายในวัด เช่น โบสถ์ วิหาร และลานเจดีย์ (Fucntion) ด้วยเหตุนี้ เราจึงควรทำให้วัดให้เป็นลานวัด ลานคน ลานธรรม และลานใจ

     การเกิดปรากฎการณ์ "ชมรมคนรักวัด" ในหลายๆ ท้องที่ จึงเป็นสัญญาณ และเป็นบทเรียนสำคัญที่ทำให้พุทธศาสนิกชนได้ตระหนักรู้ถึงความสำคัญของวัด และประสงค์ที่จะนำวัดให้กลับคืนไปสู่ความหมายของวัดที่แท้จริง ทั้งในแง่ของอารมณ์ (Emotion) และการใช้งานได้จริง (Fucntion) เพื่อให้วัดเป็นแหล่งที่พึ่งทางกายและทางใจของชุมชนอย่างแท้จริง  คำถามที่สำคัญก็คือ "ได้เวลาที่เราจะหันหน้ามาร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจที่จะพัฒนา "วัด" ให้เป็น "วัด" อย่างแท้จริงแล้วหรือยัง???"











ที่มา http://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=1205&menutype=1&articlegroup_id=187
ขอบคุณภาพจาก http://watburaphaphounmuangmatun.com
26261  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / โจรห้าร้อย VS มหาโจร ๕ จำพวก..ดูซิใครจะแน่กว่ากัน เมื่อ: สิงหาคม 12, 2011, 01:02:32 pm


โจรห้าร้อย

          คำว่า โจรห้าร้อย เดิมเป็นคำกล่าวเปรียบว่าโจรมีจำนวนมาก.  สำนวน โจรห้าร้อย น่าจะมาจากอรรถกถาของคัมภีร์ธรรมบท กล่าวถึง เดียรถีร์ ๕๐๐ คนกับโจร ๕๐๐ คนร่วมกันวางแผนสังหารพระโมคคัลลาน์ เนื่องจากพระโมคคัลลาน์ทำให้สาวกจำนวนมากของเหล่าเดียรถีร์หันมานับถือพระพุทธศาสนา.

คำว่า ห้าร้อย นอกจากจะปรากฏในสำนวนว่า โจรห้าร้อยแล้ว ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนายังปรากฏคู่กับคำอื่นอีกด้วย เช่น อนาถบิณฑิกเศรษฐีถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุ ๕๐๐ รูป. ต่อมาเมื่อใช้คำว่า โจรห้าร้อย มีความหมายว่า โจร, โจรชั่ว เช่น จันทโครบพานางโมราเดินป่าไปพบโจรห้าร้อยผู้หนึ่งระหว่างทาง.

ปัจจุบันเมื่อตัดใช้แต่เพียง ห้าร้อย ก็หมายถึง คนเกเร คนไม่ดี เช่น ไอ้เด็กห้าร้อย วัน ๆ ไม่เรียนหนังสือ เอาแต่ซิ่งมอเตอร์ไซค์ไปทั่ว.

          คำว่า โจรห้าร้อย เขียนเป็นตัวหนังสือไม่ใช่ตัวเลข เพราะเป็นสำนวน


ที่มา :  บทวิทยุรายการ "รู้ รัก ภาษาไทย" ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2010/10/K9766456/K9766456.html




ตัวอย่างโจร ๕๐๐

               อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาสติปัฏฐานสูตร             
           http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273&p=1       

               พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
           อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค สติปัฏฐานสูตร ว่าด้วยการเจริญสติปัฏฐาน     
           http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=131&p=1

               อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ โอปัมมวรรค วัมมิกสูตร ว่าด้วยปริศนาจอมปลวก
               http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=289&p=1
           



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑
พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑

มหาโจร ๕ จำพวก

๑. มหาโจรพวกหนึ่งคิดรวบรวมพวกตั้งร้อยตั้งพัน เพื่อจะเข้าไปฆ่า, ปล้น, เอาไฟเผาในคามนิคมราชธานี. ต่อมาก็รวบรวมพวกตั้งร้อยตั้งพันเข้าไปฆ่าปล้น เอาไฟเผาในคามนิคม ราชธานี เทียบด้วยภิกษุบางรูปคิดรวบรวมพวกตั้งร้อยตั้งพัน เพื่อจะจาริกไปในคามนิคม ราชธานี ให้คฤหัสถ์และบรรพชิตสักการะ เคารพ นับถือ บูชา อ่อนน้อม และได้จีวร บิณฑบาต ที่อยู่อาศัย ตลอดจนยารักษาโรค

ต่อมาก็รวบรวมพวกตั้งร้อยตั้งพันจากริกไปในคามนิคม ราชธานี มีคฤหัสถ์บรรพชิตสักการะ เคารพ นับถือ บูชา อ่อนน้อม และได้จีวร บิณฑบาต ที่อยู่อาศัย ตลอดจนยารักษาโรค. นี้เป็นมหาโจรประเภทที่ ๑ (ซึ่งมีความปรารถนาลาภสักการะ แล้วก็ทำอุบายต่าง ๆ จนได้สมประสงค์).

              ๒. ภิกษุชั่วบางรูปเรียนพระธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ก็โกงเป็นของตนเอง (แสดงว่าตนคิดได้เอง ไม่ได้เรียนหรือศึกษาจากใคร). นี้เป็นมหาโจรประเภทที่ ๒.

              ๓. ภิกษุชั่วบางรูปใส่ความเพื่อนพรหมจารีผู้บริสุทธิ์ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์ ด้วยข้อหาว่า ประพฤติผิดพรหมจรรย์ อันไม่มีมล. นี้เป็นมหาโจรประเภทที่ ๓.

              ๔. ภิกษุชั่วบางรูปเอาของสงฆ์ที่เป็นครุภัณฑ์ ครุบริขาร (ที่ห้ามแจกห้ามแบ่ง) เช่น อาราม ที่ตั้งอาราม วิหาร ที่ตั้งวิหาร เตียง ตั่ง เป็นต้น ไปสงเคราะห์คฤหัสถ์ ประจบคฤหัสถ์ (พราะเห็นแก่ลาภ). นี้เป็นมหาโจรประเภทที่ ๔.

              ๕. ภิกษุผู้อวดคุณพิเศษที่ไม่มีจริง ไม่เป็นจริง ชื่อว่าเป็นยอดมหาโจรในโลก เพราะบริโภคก้อนข้าวของราษฎรด้วยอาการแห่งขโมย.

              ครั้นแล้วทรงติเตียนภิกษุชาวริมฝั่งน้ำวัดคุมุทาด้วยประการต่าง ๆ พร้อมทั้งทรงบัญญัติสิกขาบท ห้ามอวดคุณพิเศษที่ไม่มีในตน เมื่ออวดไปแล้ว แม้จะออกตัวสารภาพผิดทีหลัง ก็ต้องอาบัติปาราชิก.


อ้างอิง
พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prawinai/1.5.html
อ่านรายละเอียดได้ที่
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑  บรรทัดที่ ๘๖๐๕ - ๘๖๓๕.  หน้าที่  ๓๓๒ - ๓๓๓.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=8605&Z=8635&pagebreak=0
ขอบคุณภาพจากwww.thairath.co.th/,www.khaosod.co.th/,www.oknation.net/

26262  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ความเชื่อที่ว่า ยุคนี้ไม่มีบุคคลผู้เป็น พระสาวกภูมิ แล้ว เมื่อ: สิงหาคม 11, 2011, 08:03:59 pm

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
๓. มหาปรินิพพานสูตร (๑๖)


ดูกรสุภัททะ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงตั้งใจฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าว สุภัททปริพาชกทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า

ดูกรสุภัททะ ในธรรมวินัยใด ไม่มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
ในธรรมวินัยนั้น ไม่มีสมณะที่ ๑ สมณะที่ ๒ สมณะที่ ๓ หรือสมณะที่ ๔


ในธรรมวินัยใด มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ในธรรมวินัยนั้น มีสมณะที่ ๑
ที่ ๒ ที่ ๓ หรือที่ ๔

ดูกรสุภัททะ ในธรรมวินัยนี้ มีอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
ในธรรมวินัยนี้เท่านั้น มีสมณะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ หรือที่ ๔ ลัทธิอื่นๆว่างจากสมณะผู้รู้ทั่วถึง
ก็ภิกษุเหล่านี้พึงอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐  บรรทัดที่ ๑๘๘๘ - ๓๙๑๕.  หน้าที่  ๗๘ - ๑๕๙.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=1888&Z=3915&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=67
ขอบคุณภาพจาก www.palungdham.com/



ขอแนะนำลิงค์นี้ครับ

เพื่อน ๆ สมาชิกธรรมทุกท่าน สมัยนี้ ฆราวาส ที่เป็นพระอรหันต์ ยังมีอยู่หรือไม่ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=4439.msg16402#msg16402

ครุธรรม ๘ ประการสำหรับภิกษุณี ดำรงพระสัทธรรมได้เพียง ๑,๐๐๐ ปี
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3396.msg12071#msg12071

ธาตุนิพพาน กับ การสิ้นสุดของพุทธศาสนา
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3336.msg11884#msg11884

26263  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ความเชื่อที่ว่า ยุคนี้ไม่มีบุคคลผู้เป็น พระสาวกภูมิ แล้ว เมื่อ: สิงหาคม 11, 2011, 07:41:34 pm


ในพันปีแรก พุทธกาล - พ.ศ.1000 ยังมีพระอรหันต์ที่ทรงปฏิสัมภิทา ( คือมีฤทธิ์ เช่น เหาะได้  ตาทิพย์  หูทิพย์ เป็นต้น)             

ในพันปีที่สอง  พ.ศ.1001-2000  ผู้มีคุณธรรมสูงสุด คือ พระอรหันต์ทีเป็นสุกขวิปัสสก ( คือ ไม่ทรงปฏิสัมภิทา )
               
ในพันปีที่สาม  ตั้งแต่  พ.ศ.2001-3000 (คือในยุคนี้ ) ผู้มีคุณธรรมสูงสุด เป็นเพียงพระอนาคามีบุคคล

ในพันปีที่สี่  พ.ศ.3001-4000  ผู้มีคุณธรรมสูงสุด คือ พระสกทาคามี

ในพันปีที่ห้า พ.ศ.4001-5000  ผู้มีคุณธรรมสูงสุด คือ พระโสดาบัน


ดังนั้นเลย พ.ศ.5000  จึงไม่มีพระอริยบุคคล แม้จะมีหนังสือพระไตรปิฎกอยู่ แต่ไม่มีผู้เข้าใจ  จึงกล่าวว่า พุทธศาสนา ก็หมดสิ้นไปด้วย  แต่บนสวรรค์ทั้ง 6 ชั้น และ พรหมโลก  ยังมีพระอริยบุคคลอยู่ครับ


ที่มา http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?gid=1&id=2680
ขอบคุณภาพจาก http://mail.ctc.ru.ac.th/



อรรถกถา อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต สันธานวรรคที่ ๑
๑. โคตมีสูตร

ก็คำว่า วสฺสสหสฺสํ นี้ ตรัสโดยมุ่งถึงพระขีณาสพผู้บรรลุปฏิสัมภิทาเท่านั้น

แต่เมื่อกล่าวให้ยิ่งไปกว่านั้น

๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระขีณาสพผู้สุกขวิปัสสก
๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระอนาคามี
๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระสกทาคามี
๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระโสดาบัน


ปฏิเวธสัทธรรมจักดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปีโดยอาการดังกล่าวมานี้
แม้พระปริยัติธรรมก็ดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปีนั้นเหมือนกัน.


เพราะเมื่อปริยัติธรรมไม่มี ปฏิเวธธรรมก็มีไม่ได้ แม้เมื่อปริยัติธรรมไม่มี ปฏิเวธธรรมก็ไม่มี ก็เมื่อปริยัติธรรมแม้อันตรธานไปแล้ว เพศ (แห่งบรรพชิต) ก็จักแปรเป็นอย่างอื่นไปแล.

               จบอรรถกถาโคตมีสูตรที่ ๑ 


อ้างอิง
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=141
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=5753&Z=5887
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?gid=1&id=2680
26264  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / ทีฆายุกา โหตุ มหาราชินี เมื่อ: สิงหาคม 11, 2011, 07:04:59 pm

ทีฆายุกา โหตุ มหาราชินี
ขอพระมหาราชีนีจงทรงมีพระชนมายุยั่งยืนนาน


หมายเหตุ
คำว่า "ทีฆายุโก" เป็นภาษาบาลี ใช้ ท ทหาร แปลว่า "มีอายุยืน" เมื่อรวมข้อความที่ว่า "ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา" ตามอักษรก็แปลว่า "ขอพระมหาราชจงทรงมีพระชนมายุยั่งยืนนาน"

และ "ทีฆายุกา" สำหรับพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถนั้น ก็เป็นการเปลี่ยนรูปตามไวยากรณ์ เพราะ คำว่า "มหาราชา" เป็นปุงลิงค์ คือเพศชาย จึงต้องใช้ "ทีฆายุโก" ส่วน "มหาราชินี" เป็น อิตถีลิงค์ คือ เพศหญิง จึงใช้ "ทีฆายุกา"

เหตุที่บางคนเขียนเป็น ฑ นางมณโฑนั้น คงเป็นเพราะตัว ฑ อยู่ใกล้กับ ฆ (ระฆัง) ซึ่งมีหัวหยัก เลยทำให้ ท (ทหาร) มีหัวหยัก เลยกลายเป็น ฑ (นาง มณโฑ) ตามไปด้วย ฑีฆ" (ฑ นางมณโฑ)

ในภาษาบาลีหรือสันสกฤตที่แปลว่า "ยาว" นั้นไม่มี มีแต่ "ทีฆ" (ท ทหาร) เท่านั้น


อ้างอิง
http://www.weekendhobby.com/offroad/newenergy/Question.asp?ID=290
ขอบคุณภาพจาก www.weekendhobby.com
26265  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: หากมีผู้กล่าว บทกวี สมาธิ อย่างนี้ ทุกท่านมีความเห็นอย่างไร ? เมื่อ: สิงหาคม 10, 2011, 07:10:18 pm

 คุณส้ม ได้ระบายอะไรบางอย่างออกมา น่าจะสบายใจได้แล้ว

 ดีนะที่ผมเหนื่อยเสียก่อน(มีอะไรคุยเยอะ) ไม่งั้นคุณส้มคงต้องใช้ความพยายามมากกว่านี้

 ที่ผมให้ความเห็นไป เป็นเรื่องที่คนทั่วไปที่เคยอ่านบาลีมาบ้าง จะรู้กันโดยทั่วไป ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ประการใด

 

และไม่มีใครสามารถอธิบายได้หรอกว่า ผิดหรือถูกอย่างไร

 หากมีใครฟันธงอย่างหนึ่งอย่างใดไป จะถูกกล่าวหาว่า "ตู่พุทธพจน์"

 พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกซะหน่อย เอาอะไรมาพูด (อะไรทำนองนี้)

 ฉะนั้น ก็ต้องบอกว่า การสนทนาธรรมครั้งนี้ เป็นการพูดคุยเชิงวิชาการเท่านั้น

 ไม่ได้มีเจตนาจะตีความพุทธพจน์ให้เป็นอย่างนั้นอย่างโน้น



 อีกอย่างเจ้าของกระทู้ถามแค่ คำว่า "สมาธิ" เท่านั้น ไม่ได้ถามถึงสัมมาสมาธิ

 ดังนั้นสมาธินี้ ไม่ได้อยู่ในมรรค ๘ หากถามเรื่องสัมมาสมาธิ ต้องอธิบายด้วยฌาน ๔


สุดท้าย ตอบคุณส้มนิดหนึ่ง ในเรื่องกสิณ ผมเห็นอุคหนิมิต ทั้งในยามหลับตาและลืมตา

คุณส้มอธิบายได้ไหมว่า ทำไม
;) :49:
26266  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ทำไมเวลา คนกลัว มาก ๆ ผมเปลี่ยนสี และ ผมร่วง คะ เมื่อ: สิงหาคม 10, 2011, 11:06:10 am
 
 เรื่องนี้ผมยังหาคำตอบไม่ได้ ถ้าจะอธิบายตามวิทยาศาสตร์ ก็คงจะต้องบอกว่า
 ความกลัวคงมีผลกับฮอร์โมนต่างๆในร่างกาย จนมีผลทำให้ผมร่วงได้
  ;)
26267  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: หากมีผู้กล่าว บทกวี สมาธิ อย่างนี้ ทุกท่านมีความเห็นอย่างไร ? เมื่อ: สิงหาคม 10, 2011, 11:00:46 am

สมาธิ
    [สะมาทิ] น. ความตั้งมั่นแห่งจิต; ความสํารวมใจให้แน่วแน่เพื่อให้จิตใจสงบ หรือเพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง. (ป., ส.).


อ้างอิง พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒


สมาธิ  ความมีใจตั้งมั่น, ความตั้งมั่นแห่งจิต, การทำให้ใจสงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน, การมีจิตกำหนดแน่วแน่อยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ

อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


    กรรมฐาน ๔๐ กองที่มีในพระไตรปิฎก มีพระวิปัสสนาจารย์ท่านหนึ่งกล่าวว่า "เป็นเพียงตัวอย่างเท่านั้น"
โดยส่วนตัวผมคิดว่า หากเรายึดเอาตัวอย่าง ๔๐ กอง "ความตั้งใจมั่น" ที่ไม่ได้มาจากตัวอย่างนั้น เราจะค้านว่า
นั่นไม่ใช่ "สมาธิ"

    ขอยกตัวอย่าง พระจุฬปัณถก พระพุทธเจ้า ให้ลูบผ้าขาวจนผ้าดำ ถามว่า "นี้อยู่ในกรรมฐานกองไหน"
บางคนอาจตอบว่า เป็นกสิณสีขาว
    มาในยุคปัจจุบัน หลวงพ่อเทียน สอนวิธีเคลื่อนไหวมือ แล้วอันนี้อยู่ในกรรมฐาน ๔๐ กองหรือไม่


    การหลับตา เมื่อนั่งสมาธิคนส่วนใหญ่จะหลับตา แต่พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้หลับตาเลย
ขอให้สังเกตพระพุทธรูปปางสมาธิ มีองค์ไหนหลับตาบ้าง

    การบริกรรม ไม่ว่าจะเป็นพุทโธหรือคำอื่นๆ พระพุทธเจ้าก็ไม่เคยสอนเช่นกัน

    เหตุใด พวกเราจึงทำนอกเหนือจากคำสอนของพระพุทธองค์ โดยเลือกที่จะทำตามคำสอนของอาจารย์

    เรื่องนี้เป็นกลายเป็นปัญหาใหญ่มาถึงปัจจุบัน อย่างกรณีพระอาจารย์คึกฤทธิื์ ที่ยึดเอาพระไตรปิฎกอย่างเดียว

    ไม่ยอมรับคำสอนของครูบาอาจารย์ต่างๆเลย เรื่องนี้พูดมากไม่ได้ เดี๋ยวจะกลายเป็นการปรามาสกัน



    กลับมาที่ความหมายของคำว่า "สมาธิ" ที่ยกมาแสดงข้างต้น จะเห็นว่า ไม่ได้หมายถึงการหลับตา
ไม่ได้หมายถึงการบริกรรมคำใดๆ แต่หมายถึง การตั้งใจมั่น ไม่ฟุ้งซ่าน

    ส่วนตัวผมขณะพิมพ์งาน ผมก็มีความตั้งใจมั่นระดับหนึ่ง บางครั้งก็ได้ปิติ ตัวโคลง รับรู้ถึงความสุขที่จรเข้ามา

    บางครั้งขณะอ่านหนังสือไประยะหนึ่ง รู้สึกว่า จิตมันรวม จนคิดอยากจะทำสมาธิ

    ขอคุยเป็นเพื่อนเท่านี้ รู้สึกเหนื่อยครับ

     :25:
26268  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: การบ้าน 10 ข้อ เมื่อ: สิงหาคม 10, 2011, 10:10:27 am



ชื่อเพลง หน้าที่เด็ก
คำร้อง ชอุ่ม ปัญจพรรค์
ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน


     "เด็กเอ๋ยเด็กดีต้องมีหน้าที่ 10 อย่างด้วยกัน (ซ้ำ)
     หนึ่ง นับถือศาสนา
     สอง รักษาคำให้มั่น
     สาม เชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์
     สึ่ วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน
     ห้า ยึดมั่นกตัญญู
     หก เป็นผู้รู้รักการงาน
    เจ็ด ต้องศึกษาให้เชี่ยญชาญ ต้องมานะบากบั่นไม่เกียจไม่คร้าน
    แปด รู้จักออมประหยัด
    เก้า ต้องซื่อสัตย์ตลอดกาญ น้ำใจนักกีฬากล้าหาญ ให้เหมาะแก่กาลสมัยชาติพัฒนา
    สิบ ทำตนให้เป็นประโยชน์ รู้บาปบุญคุณโทษ สมบัติชาติต้องรักษา เด็กสมัยชาติพัฒนา จะเป็นเด็กที่พาชาติไทยเจริญ "


อ้างอิง
กำเนิดเพลงเด็กดี
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2326.msg8514#msg8514
26269  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: วิทยาศาสตร์ และ ศาสนาพุทธ เหมือนกันที่ เหตุ-ผล เมื่อ: สิงหาคม 09, 2011, 11:26:17 am

แนะนำลิงค์นี้ครับ

 "ระหว่าง วิทยาศาสตร์ กับ พุทธศาสน์ อะไรเป็นที่พึ่ง ได้มากกว่ากัน"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=4856.msg17734;topicseen#new
26270  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ไอน์สไตน์พูดถึงศาสนาพุทธ เมื่อ: สิงหาคม 09, 2011, 11:19:59 am
ไอน์สไตน์พูดถึงศาสนาพุทธ


มีหลายท่านเข้าใจว่า ธรรมะกับวิทยาศาสตร์เป็นคนละเรื่องกัน

แต่ตามความเห็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าคิดว่า เป็นคนละเรื่องเดียวกัน เพียงแต่วิทยาศาสตร์สมัยนี้ ยังไม่ละเอียดอ่อนเพียงพอที่จะเข้าถึงหรืออธิบายธรรมะได้


“ในเมื่อธรรมะคือสภาวะความจริงของธรรมชาติ หากเราจะพูดเรื่องนี้ในกรอบของเซต (set) แล้ว วิทยาศาสตร์เป็นเพียงเซตย่อย (subset) ของเซตใหญ่ ที่เรียกว่าธรรมะนั่นเอง” (24 January 2007, Dayvil)

ปริศนาคำพูดของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวถึงพระพุทธศาสนาก่อนเสียชีวิต ถึงแม้อัลเบิร์ต ไอสไตล์ ได้จากโลกนี้ไปโดยที่เขายังไม่สามารถค้นพบตำตอบตามที่เขากำลังต้องการก็ตาม แต่ไอสไตล์ได้ทิ้งคำพูดที่เป็นปริศนาที่สำคัญมากให้กับมนุษยชาติ

ในช่วงวาระสุดท้ายแห่งชีวิตของเขา อัลเบิร์ตได้เริ่มสงสัยแล้วว่า พระพุทธศาสนา อาจจะเป็นศาสนาที่ให้คำตอบต่อคำถามที่เขากำลังพยายามค้นหา ในช่วง 1 ปีก่อนที่เขาจะเสียชีวิตนั้น มหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน ได้ตีพิมพ์งานเขียนชิ้นหนึ่งของเขาชื่อเรื่อง “The Human Side” ซึ่งนักฟิสิกส์ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลผู้นี้ ได้กล่าวทิ้งท้ายให้เป็นปริศนาแห่งโลกอนาคตว่า

“The religion of the future will be a cosmic religion. It should transcend a personal God and avoid dogmas and theology. Covering both the natural and the spiritual, it should be based on a religious sense arising from the experience of all things, natural and spiritual, as a meaningful unity. Buddhism answers this description. If there is any religion that would cope with modern scientific needs, it would be Buddhism.”

(May 19th, 1939, Albert Einstein’s speech on “Science and Religion” in Princeton, New Jersey, U.S.A.)”

“ศาสนาในอนาคต จะต้องเป็นศาสนาสากล ศาสนานั้นควรอยู่เหนือพระเจ้าที่มีตัวตน และควรจะเว้นคำสอนแบบสิทธันต์ (คือเป็นแบบสำเร็จรูปที่ให้เชื่อตามเพียงอย่างเดียว) และแบบเทววิทยา(คือพึ่งเทวดาเป็นหลักใหญ่) ศาสนานั้น เมื่อครอบคลุมทั้งธรรมชาติและจิตใจ จึงควรมีรากฐานอยู่บนสามัญสำนึกทางศาสนา ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ต่อสิ่งทั้งปวง คือ ทั้งธรรมชาติและจิตใจอย่างเป็นหน่วยรวมที่มีความหมาย พระพุทธศาสนาตอบข้อกำหนดนี้ได้....

ถ้าจะมีศาสนาใดที่รับมือได้กับความต้องการทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ปัจจุบัน ศาสนานั้นก็ควรเป็นพระพุทธศาสนา”

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักฟิสิกส์ ชาวเยอรมัน ผู้เสนอทฤษฏีสัมพันธภาพ ศาสนาเดียวที่จะเหลืออยู่ในโลกอนาคต ก็คือ ศาสนาที่ถือว่าเป็นวิวัฒนาการตามกฎของธรรมชาติ เหมือนกับที่ไอสน์ไตน์เขาพูดไว้ว่า

“ศาสนาที่เหลืออยู่ในโลก ก็คือศาสนาที่สามารถเผชิญกับความต้องการของโลกแห่งยุคปัจจุบัน”

แต่......กว่าจะถึงเวลานั้นเกรงว่า............โลกจะไม่เหลือผู้คนให้นับถือศาสนา



ที่มา http://board.postjung.com/562065.html
ภาพจาก http://board.postjung.com/
26271  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / หลวงปู่ดูลย์พูดถึงไอสไตน์ เมื่อ: สิงหาคม 09, 2011, 11:14:08 am


หลวงปู่ดูลย์พูดถึงไอสไตน์

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช สวนสันติธรรม ชลบุรีเล่าถึงเรื่องที่หลวงปู่ดูลย์เคยพูดถึงไอสไตน์ ไว้ว่า...

“...หลวงปู่ดูลย์เคยบอกเรื่องประหลาดนะ...หลวงปู่ดูล ย์เนี่ย อยู่บ้านนอกอยู่ป่าอยู่เขามาตลอดชีวิต...ไม่ได้เรียนวิทยาศาสตร์อะไร... ท่านวิจารณ์ไอสไตน์ได้นะ...ท่านคงพิจารณาของท่านเอง...ท่านบอกไอสไตน์น่ะมัน เก่งนะ...มันเก่ง... มันสามารถพิจารณาไปถึงนิพพานได้

แต่เค้าไม่เห็นประโยชน์...เค้าไม่รู้ว่าจะ ใช้ประโยชน์อะไร เค้าเลยไม่เอา...

ท่านวิจารณ์อย่างนี้....อย่างสิ่งที่ปิดบังนิพพานไว้ ก็มี รูปนาม ขันธ์ 5 กับสมมติ

บัญญัติ...ไอสไตน์เก่งนะ ถึงขนาดมองว่าสิ่งที่ตัวเราที่แท้จริงนี่เป็นแค่เศษธ ุลี
ในจักรวาล...เล็กนิดเดียวไม่มีนัยยะอะไร...แต่ความสำ คัญตัว สำคัญมั่นหมาย
ขึ้นมา ว่าตัวเรามีอยู่จริงๆ...มนุษย์ก็เลยแยกตัวเองออกจากส ิ่งที่แวดล้อมอยู่...


เกิดเรา เกิดเขา เกิดสิ่งแวดล้อมขึ้นมา...ไอสไตน์มองไปเห็นได้อย่างนี ้ว่า จริงๆตัวตนที่แท้จริงเราไม่มีหรอก เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในจักรวาลนี้ชั่วขณะ

เท่านั้น... สัมพัทธ์..ชั่วขณะ แล้วก็ดับสลาย...นี่หลวงปู่ดูลย์ท่านวิจารณ์นะ
ประหลาด เรายังไม่เคยอ่านเลย..อีกองค์นะ วิจารณ์เรื่องเบอร์มิวด้า..ประหลาด
นะ พระอยู่ในป่า ไม่เคยรู้หนังสือ...


ทีนี้หลวงปู่ดูลย์บอกว่า ไอสไตน์ไม่รู้มรรค...และก็ไม่รู้จะใช้ประโยชน์อะไร รู้จัก
แต่ประโยชน์ที่จะเอาออกมาทำงานทางโลก...เพราะฉะนั้น มรรคที่ไอสไตน์เสนอขึ้นมามันกลายเป็นมรรคของคริสต์...บอกว่ามนุษย์เ ป็นเศษธุลีของจักรวาล...ไม่มีความสำคัญอะไร มีแต่ความสำคัญตัวว่าใหญ่เหลือเกิน มีอัตตามาก สร้างปัญหาขึ้นมาเยอะแยะ...

เพราะฉะนั้นให้มนุษย์นี้รักเพื่อนบ้านรักคนอื่นซะ...ใช้มรรคของคริสต์...คือใช ้ความรัก...แต่มรรคของพุทธใช้ความ “รู้”...คนละวิถีกัน วิถีแห่งทางพ้นทุกข์ก็ไม่เหมือนกัน ตามสติปัญญาตามสภาพแวดล้อมแต่ละสังคม


ที่มา  www.junjaowka.com/webboard/showthread.php?t=62012
ขอบคุณภาพจาก www.dhammajak.net/,http://imacsoroban.com/
26272  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re:ระหว่าง วิทยาศาสตร์ กับ พุทธศาสน์ อะไรเป็นที่พึ่ง ได้มากกว่ากัน เมื่อ: สิงหาคม 09, 2011, 11:04:30 am
แนะนำให้อ่านลิงค์นี้ครับ

ธรรมะเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อย่างไร(๑)
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=896.0

การสอนพระพุทธศาสนาแก่เยาวชน
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=895.0

"ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2143.0

การระลึกชาติ แบบ ฟิสิกส์ใหม่
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1042.0

วิทยาศาสตร์สมาธิ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=894.0

วิวัฒนาการของโลก จากความเห็นทางวิทยาศาสตร์
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=893.0


   บอกตรงๆว่า ลิงค์ข้างบนผมเป็นคนโพสต์ทั้งหมด เหนื่อยมากครับ เจตนาที่โพสต์อยากให้ครูวิทยาศาสตร์นำไปสอนศิษย์ มีสมาชิกท่านหนึ่งนามว่า "ครูนภา" เป็นครูวิทย์ ที่เอ่ยนาม ก็น่าจะเข้าใจเจตนานะครับ ว่าผมขอรบกวนช่วยแสดงความเห็นสักนิด ผมเหนื่อยล้าเต็มทน
    :'( :'( :'( :03: :03: :03:
26273  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: วิธีตอบแทนพระคุณพ่อแม่ เมื่อ: สิงหาคม 09, 2011, 10:42:20 am






อันนี้ชอบเป็นการส่วนตัว อย่าว่ากัน :08: :) ;) :s_good: :49:
26274  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: วิธีตอบแทนพระคุณพ่อแม่ เมื่อ: สิงหาคม 09, 2011, 10:32:13 am




ขอแนะนำลิงค์นี้ครับ

คำว่า "อรหันต์ในบ้าน" อาจมีต้นกำเนิดมาจากคำเทศน์นี้
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3115.msg11001#msg11001

ทำไม พ่อ แม่ จึงเป็นพระอรหันต์ ของลูกคะั
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=853.msg17739#msg17739
26275  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ทำไม พ่อ แม่ จึงเป็นพระอรหันต์ ของลูกคะั เมื่อ: สิงหาคม 09, 2011, 10:28:07 am
ขอแนะนำลิงค์นี้ครับ
คำว่า "อรหันต์ในบ้าน" อาจมีต้นกำเนิดมาจากคำเทศน์นี้
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3115.msg11001#msg11001

วิธีตอบแทนพระคุณพ่อแม่
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=4857.msg17736;topicseen#new



26276  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: คำว่า "อรหันต์ในบ้าน" อาจมีต้นกำเนิดมาจากคำเทศน์นี้ เมื่อ: สิงหาคม 09, 2011, 10:23:46 am




ขอแนะนำลิงค์นี้ครับ
 "วิธีตอบแทนพระคุณพ่อแม่"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=4857.msg17736;topicseen#new
26277  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / อ า นิ ส ง ส์ ก า ร บ ำ รุ ง บิ ด า ม า ร ด า เมื่อ: สิงหาคม 09, 2011, 10:15:32 am


ความหวังของพ่อแม่
พ่อแม่ทุกคนที่เลี้ยงลูกมา ไม่เคยต้องการอะไรจากลูก ขอเพียงให้ลูกเป็นคนดี ประสบความสำเร็จในชีวิต
พ่อแม่ก็มีความสุขแล้ว พ่อแม่เลี้ยงลูกทุกคนมา ไม่เคยต้องการอะไรจากลูก เป็นหัวใจบริสุทธิ์ เสียสละ และมีแต่ให้ เพียงต้องการเห็นลูกได้ดี มีความสุขเท่านั้น...พอใจแล้ว

เมื่อลูกๆโตกันหมดแล้ว พ่อแม่ก็เริ่มแก่ชรา ในช่วงนี้พ่อแม่แอบหวังลึกๆไว้ในใจ ๓ ประการ คือ....

ความหวังของพ่อแม่
ยามแก่เฒ่า หวังเจ้า เฝ้ารับใช้
ยามป่วยไข้ หวังเจ้า เฝ้ารักษา
เมื่อถึงยาม ต้องตาย วายชีวา
หวังลูกช่วย ปิดตา เมื่อสิ้นใจ ฯ

หวังที่ ๑ ยามแก่เฒ่า...หวังเจ้า...เฝ้ารับใช้
ตอนที่ท่านยังหนุ่มยังสาวสามารถทำงานได้ ช่วยเหลือตัวเองได้ แต่..พอแก่ เคยพายเรือขายขนม
เคยหาบขนมขาย ทำไม่ไหวแล้ว แขนขาก็อ่อนกำลัง ใช้งานไม่ค่อยได้ ขึ้นบันไดก็ตกบันได อาบน้ำก็ล้ม
ในห้องน้ำ เดินก็เซ ช่วยตัวเองไม่ได้ พอหมดเรี่ยวหมดแรงแล้วนี่จะพึ่งใคร?...


หวังพึ่ง........ลูก ลูกที่เราเคยเลี้ยง เคยทะนุถนอม เคยเหน็ดเหนื่อย จนได้ดิบได้ดีในวันนี้ หวังให้
ลูกมาช่วยประคับประคองดูแล หาอาหารให้กิน เตรียมที่ให้นอน ประคองขึ้นลงบันได คนอื่นเขาเป็น
คนไกล ใครเขาจะมาดูแลให้ ก็หวังแต่ลูกในไส้จะแทนคุณ รอลูกยอดกตัญญูมาดูแล มีลูก ๕ คน มาดูแล
แค่คนเดียวก็พอแล้ว อีก ๔ คนไม่มา....ไม่เป็นไร

หวังที่ ๒ ยามป่วยไข้...หวังเจ้า...เฝ้ารักษา
คนเราทุกคนต้องป่วย แล้วพ่อแม่ที่แก่เฒ่าแล้ว เวลาเจ็บป่วย ใครเขาจะดูแล ใครจะพาไปหาหมอ
ใครจะพาไปโรงพยาบาล ใครจะป้อนข้าว ป้อนน้ำ ป้อนยา คนแก่เวลาเจ็บป่วยนี่ พึ่งตัวเองไม่ได้ ขนาดมี
ยา มีข้าวอยู่ใกล้ๆ ยังหยิบใส่ปากเองไม่ได้เลย ต้องรอให้คนเอายา เอาน้ำ ใส่ปากให้ ใครจะทำหน้าที่นี้ได้
ดีที่สุด ถ้าไม่ใช่ลูก....?


พยาบาลเขาเป็นคนอื่น เขาก็แค่มาดูร่างกายตามหน้าที่ แล้วใคร...จะเป็นคนมาดูใจของพ่อแม่?
เราต้องเสียสละเวลามาทำหน้าที่นี้ ถึงจะมาไม่ตลอดก็ขอให้โทรสอบถามอาการอยู่เสมอ ให้นึกถึงตอนที่
เราเป็นเด็ก เราป่วยแล้วเราช่วยตัวเองไม่ได้ ใครเป็นคนป้อนข้าว ป้อนน้ำ ป้อนยา และดูแลจิตใจเรา กอด
เรา ปลอบโยนเรา ตอนเจ็บป่วยเป็นช่วงที่จิตใจกำลังแย่ที่สุด

แค่เห็นหน้าลูกมาเยี่ยม.. แม่ก็ชื่นใจแล้ว อาการเจ็บป่วยหายไปครึ่งหนึ่ง ถ้าลูกมาเฝ้าไข้..ดูแล
ใกล้ชิด แม่ก็ปลื้มใจ..ภูมิใจ หายป่วยเร็วขึ้น “ ลูกกตัญญูรักษาไข้ใจแม่ได้ ”

หวังที่ ๓ เมื่อถึงยาม...ต้องตาย...วายชีวา...หวังลูกช่วย...ปิดตา...เมื่อสิ้นใจ
นาทีใกล้ตายคือนาทีสำคัญที่สุด ลูกคนไหนบกพร่อง..ไม่แสดงความกตัญญูในนาทีนี้ ก็จะไม่มี
โอกาสอีกแล้ว..ตลอดชีวิต ลูกคนนั้นขาดนาทีทอง..ที่จะทำให้แม่ชื่นใจ ขาดนาทีทอง..ที่จะทำให้ตัวเอง
ภูมิใจ ตอนที่พ่อแม่อาการหนัก พี่น้องจะโทรศัพท์ โทรเลข บอกให้ทุกคนมารวมกัน เพื่ออยู่พร้อม
หน้าพร้อมตา พ่อแม่จะได้ชื่นใจ แม่จะถามเสมอว่า ลูกคนนั้นยังไม่มาหรือ ลูกคนนี้ยังไม่มาหรือ ใกล้จะ
ขาดใจ ยังสอนลูกอีกว่า ให้ลูกทุกคนรักกัน พอทุกคนรับปาก แม่ก็ชื่นใจ... หลับตา.... จากไปอย่างสงบ


นาทีใกล้ตาย เป็นนาทีสำคัญที่สุด พระพุทธเจ้าตรัสบอกไว้ว่า จิตที่กำลังจะจากไป ถ้ามีใครมา
ประคับประคอง ให้พ่อแม่มีจิตเป็นกุศล เอิบอิ่ม ชุ่มชื่น สบายใจ อยู่กับบุญกุศล อยู่กับความกตัญญูของ
ลูกๆ จิตของพ่อแม่ขณะนั้นจะไปสู่สุคติ บาปไม่มีโอกาสมารั้ง บุญดึงไปก่อน นาทีที่สำคัญที่สุดนี้ ต้อง
คิดว่า ทำอย่างไรถึงจะให้พ่อแม่มีบุญ ประทับใจก่อนตาย

บางคนนิมนต์หลวงพ่อ..พระครู..หรือท่านเจ้าคุณที่พ่อแม่รู้จักศรัทธามาให้แม่กราบ พอเห็นหลวงพ่อ เห็นพระครู มาเยี่ยม แม่ก็ชื่นใจ เอาผ้าสบงใส่มือแม่ ยกมือแม่พนม ให้แม่ตั้งจิตอธิษฐาน แล้วนำท่านกล่าวถวายสังฆทาน ภาพนี้จะติดตาพ่อแม่ไปยังโลกหน้าพ่อแม่บางคนสวดมนต์เก่ง ลูกจะเข้ามานั่งใกล้ๆ บอกแม่ว่าสวดพระพุทธคุณ พระธัมมคุณพระสังฆคุณนะ แล้วก็นำสวด แม่ก็ทำปากขมุบขมิบ แล้วก็เงียบไป

แบบนี้คือการประคองจิตพ่อแม่ จนนาทีสุดท้ายไปสู่สุคติ ต้องช่วยกันประคับประคองจิตใจของพ่อแม่ เล่าให้แม่ฟังว่า.. แม่เคยบวชลูกชาย๒ คน จำได้ไหม แม่อุ้มผ้าไตรด้วย...แม่เคยไปทำบุญที่นั่นที่นี่...แม่พยักหน้า เห็นภาพตนเองกำลังทำบุญนั้นๆอยู่ อย่างนี้จิตใจเป็นกุศล ไปสู่สุคติแน่.....เท่านี้พอเป็นแนวในการปิดตาพ่อแม่ก่อนตายได้แล้ว ปิดด้วยการทำให้ท่านมีความสุข สบายใจ ไม่เป็นห่วงอะไร

พ่อแม่บางคนชอบทำกรรมฐาน ก็บอกให้พ่อแม่กำหนดบทกรรมฐานที่ถนัด ยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งบริกรรมว่าพุทโธๆ จนจิตดับไป หรือกำหนดเวทนาว่า ปวดหนอๆๆ และอื่นๆตามอาการ โดยไม่ไปคิดกังวลอะไร เมื่อจิตดับก็ไปสู่สุคติได้เหมือนกัน ที่สำคัญต้องฝึกให้พ่อแม่ทำให้เป็นตั้งแต่ยังไม่ป่วย



อ า นิ ส ง ส์ ก า ร บ ำ รุ ง บิ ด า ม า ร ด า

๑. ทำให้เป็นคนมีความอดทน
๒. ทำให้เป็นคนมีสติรอบคอบ
๓. ทำให้เป็นคนมีเหตุผล
๔. ทำให้พ้นทุกข์พ้นภัย
๕. ทำให้ได้ลาภโดยง่าย
๖. ทำให้แคล้วคลาดภัยในยามคับขัน
๗. ทำให้เทวดาลงมารักษา
๘. ทำให้ได้รับการยกย่องสรรเสริญ
๙. ทำให้มีความเจริญก้าวหน้า
๑๐. ถ้ามีลูกก็จะได้ลูกที่ดี มีกตัญญู ไม่เกเร
๑๑. ทำให้มีความสุขกาย สบายใจ
๑๒. ทำให้เป็นแบบอย่างอันดีแก่อนุชนรุ่นหลัง ฯลฯ


• ต้นไม้ที่ได้รับการดูแลให้น้ำให้ปุ๋ย ไปบำรุงลำต้นจนสมบูรณ์ เมื่อถึงเวลาแล้ว ย่อมออกดอกออกผลให้แก่เจ้าของฉันใด.คนที่ได้รับการเลี้ยงดูจนเติบใหญ ่ เมื่อมีโอกาสย่อมตอบแทนคุณ พ่อแม่และผู้มีอุปการคุณ ฉันนั้น.

งานวันเกิด ยิ่งใหญ่ ใครคนนั้น        ฉลองกัน ในกลุ่ม ผู้ลุ่มหลง

หลงลาภ ยศสรรเสริญ เพลินทะนง   วันเกิดส่ง ชีพสิ้น เร่งวันตายฯ

เลิกจัดงาน วันเกิด กันเถิดนะ         ควรที่จะ คุกเข่า กราบเท้าแม่

ระลึกถึง พระคุณ อบอุ่นแท้           อย่ามัวแต่ จัดงาน ประจานตน


อ้างอิง
หนังสือ "วิธีตอบแทนพระคุณพ่อแม่" เรียบเรียงโดย...พระมหาทองมั่น สุทฺธจิตฺโต
วัดภัททันตะอาสภาราม อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี
ขอบคุณภาพประกอบจาก http://i1045.photobucket.com/,www.love4home.com/
26278  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / วิธีตอบแทนพระคุณพ่อแม่ เมื่อ: สิงหาคม 09, 2011, 09:54:02 am

วิธีตอบแทนพระคุณพ่อแม่
เรียบเรียงโดย...พระมหาทองมั่น สุทฺธจิตฺโต วัดภัททันตะอาสภาราม อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี

พ ร ะ คุ ณ ข อ ง พ่ อ แ ม่
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอุปมาว่า ถ้าบุตรจะพึงวางบิดามารดาไว้บนบ่าทั้งสองของตน ประคับประคอง
ท่านอยู่บนบ่านั้น ป้อนข้าวป้อนน้ำและให้ท่านถ่ายอุจจาระปัสสาวะบนบ่านั้นเสร็จ แม้บุตรจะมีอายุถึง ๑๐๐ ปี
และปรนนิบัติท่านไปจนตลอดชีวิต ก็ยังนับว่าตอบแทนพระคุณท่านไม่หมด


ยังมีผู้อุปมาไว้ว่า หากเราใช้ท้องฟ้าแทนกระดาษ ยอดเขาพระสุเมรุ แทนปากกา น้ำในมหาสมุทรแทนหมึก
เขียนบรรยายคุณของพ่อแม่ จนท้องฟ้าเต็มไปด้วยอักษร ภูเขาสึกกร่อนจนหมด น้ำในมหาสมุทรเหือดแห้ง ก็ยัง
บรรยายคุณของพ่อแม่ไม่หมด

บิดามารดาเป็นผู้มีพระคุณอันยิ่งใหญ่ของบุตร สรุปโดยย่อคือ...
๑. เป็นต้นแบบทางกาย แบบเป็นสิ่งที่จำเป็นในการทำให้ของทั้งหลาย ในโลกมีค่าสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น ก้อน
ดินเหนียวธรรมดา ถ้าหากนำมาใส่แบบพิมพ์แล้วพิมพ์เป็นตุ๊กตา ก็ทำให้ดินก้อนนั้นมีค่าขึ้นมา เป็นเครื่องประดับ
บ้านเรือนได้ ดินเหนียวก้อนเดียวกันนี้ หากได้แบบที่ดีกว่าขึ้นมาอีก เช่นแบบเป็นพระพุทธรูป ดินเหนียวก้อนนี้ก็
จะทรงคุณค่ามากยิ่งขึ้น ผู้คนได้กราบไหว้บูชา จะเห็นได้ว่า คุณค่าของดินเหนียวก้อนนี้ขึ้นอยู่กับแบบที่พิมพ์
นั่นเอง


ในทำนองเดียวกัน การเกิดของสัตว์ เช่นเป็น ช้าง ม้า วัว ควาย ฯลฯ แม้จะมีปัญญาติดตัวมามากสักปานใด
ก็ไม่สามารถทำความดีได้เต็มที่ โชคดีที่เราได้เกิดเป็นคน ได้โครงร่างที่ประเสริฐกว่าสัตว์ทั้งหลาย เหมาะในการ
ทำ ความดีทุกประการ เราจึงสามารถใช้ความรู้ความสามารถประกอบคุณความดีได้เต็มที่ ทั้งนี้ก็เพราะเรามีพ่อแม่
เป็นต้นแบบทางกายให้นั่นเอง

๒. เป็นต้นแบบทางใจ ให้ความอุปการะเลี้ยงดู ฟูมฟัก ทะนุถนอม อบรมสั่งสอน ปลูกฝังกิริยามารยาท ให้
ความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมแก่ลูก พระคุณของพ่อแม่ในการเป็นต้นแบบทางกายให้เรา ก็นับว่ามีมาก
เหลือหลายแล้ว ยิ่งท่านอบรมเลี้ยงดูเรามา เป็นต้นแบบทางใจให้ด้วย ก็ยิ่งมีพระคุณมากเป็นอเนกอนันต์


ส ม ญ า น า ม ข อ ง พ่ อ แ ม่
สมญานามของพ่อแม่นั้น กล่าวกันว่าท่านเป็นทั้งพรหมของลูก เทวดาคนแรกของลูก ครูคนแรกของลูก
และเป็นพระอรหันต์ของลูก ซึ่งอธิบายได้ดังนี้

- พ่อแม่เป็นพรหมของลูก เพราะเหตุที่มีพรหมวิหารธรรม ๔ ประการ ได้แก่
๑. มีเมตตา คือมีความปรารถนาดีต่อลูกไม่มีที่สิ้นสุด
๒. มีกรุณา คือหวั่นใจในความทุกข์ของลูก และคอยช่วยเหลือเสมอ ไม่ทอดทิ้ง
๓. มีมุทิตา คือเมื่อลูกมีความสุขสบาย ก็มีความปลาบปลื้มยินดีด้วยความจริงใจ
๔. มีอุเบกขา คือเมื่อลูกมีครอบครัวสามารถเลี้ยงตนเองได้แล้ว ก็ไม่วุ่นวายกับชีวิตครอบครัวลูกจนเกินงาม
และหากลูกผิดพลาดก็ไม่ซ้ำเติม แต่กลับคอยเป็นที่ปรึกษาให้เมื่อลูกต้องการ


- พ่อแม่เป็นเทวดาคนแรก (บุรพเทพ) ของลูก เพราะคอยปกป้องคุ้มกันภัย เลี้ยงดูลูกมาก่อนผู้มีความ
ปรารถนาดีคนอื่นๆ
- พ่อแม่เป็นครูคนแรกของลูก เพราะสั่งสอนอบรมทั้งคำพูดและกิริยามารยาทให้ลูกก่อนคนอื่นๆ

- พ่อแม่เป็นวิสุทธิเทพของลูก เพราะมีคุณธรรม ๔ ประการ ได้แก่...
๑. ไม่ถือสาในความผิดของลูก แม้ว่าบางครั้งลูกจะพลาดพลั้ง ล่วงเกิน ก็ให้อภัยเสมอ
๒. ปรารถนาประโยชน์แก่ลูกเสมอ ไม่ว่าลูกจะเป็นอย่างไร ก็ยังคงปรารถนาให้ลูกได้ดี มีความสุข
๓. เป็นทักขิเณยยบุคคล เป็นเนื้อนาบุญของลูก เป็นผู้ที่ลูกควรทำบุญต่อตัวท่าน
๔. เป็นอาหุเนยยบุคคล เป็นผู้ควรแก่การรับของคำนับ และการนมัสการของลูก

คุ ณ ธ ร ร ม ข อ ง ลู ก
เมื่อพ่อแม่มีพระคุณมากมายปานนี้ ลูกจึงควรมีคุณธรรมต่อท่าน คุณธรรมของลูก เริ่มที่รู้จักคุณพ่อแม่ คือรู้
ว่าท่านดีต่อเราอย่างไร สูงขึ้นไปอีก คือตอบแทนคุณท่าน ในทางพระพุทธ ศาสนา ได้บรรยายคุณธรรมของลูกไว้อย่างสั้นๆ แต่เก็บความไว้ได้อย่างครบถ้วน คือคำว่า กตัญญู กตเวที คุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นลูกรวมอยู่ใน๒ คำนี้

กตัญญู หมายถึง เห็นคุณค่าท่าน คือเห็นด้วยใจ ด้วยปัญญาว่า ท่านเป็นผู้มีพระคุณต่อเราอย่างแท้จริง ไม่ใช่
สักแต่ว่าปากท่องพระคุณพ่อแม่ปาวๆ ไปเท่านั้น คุณของพ่อแม่ดูได้จากอุปการะ คือประโยชน์ที่ท่านทำแก่เรามีอะไรบ้าง ที่แตกต่างจากคนอื่น ตามธรรมดาของคนทั่วๆ ไป


เมื่อจะอุปการะใคร เขาต้องเห็นทางได้ เช่น เห็นหลัก ทรัพย์ หรือดูนิสัยใจคอ ต่อเมื่อแน่ใจแล้วว่าอุปการคุณของเขาจะไม่สูญเปล่า จึงลงมือช่วยเหลือ แต่ที่พ่อแม่อุปการะเรานั้น เป็นการอุปการะโดยบริสุทธิ์ใจจริงๆ ไม่ได้มองถึงหลักประกันใดๆ เลย เราเองก็เกิดมาตัวเปล่า ไม่มีหลักทรัพย์แม้แต่เข็มเล่มเดียว ยังไม่รู้เสียด้วยซ้ำว่า อวัยวะร่างกายจะใช้ได้ครบถ้วนหรือไม่ ยิ่งนิสัยใจคอแล้ว ยิ่งรู้ไม่ได้เอาทีเดียว โตขึ้นมาจะเป็นอย่างไร จะเป็นคนอกตัญญูหรือไม่ ไม่รู้ทั้งนั้น หนังสือสัญญาการรับปากสักคำเดียว ระหว่างเรากับท่านก็ไม่มี

แต่ทั้งๆ ที่ไม่มีท่านทั้งสองก็ได้โถมตัวเข้าช่วยเหลือเราจนสุดชีวิต ที่ยากจนก็ถึงกับกู้หนี้ยืมสินคนอื่นมาช่วย เรื่องเหล่านี้ ต้องคิดดูด้วยเหตุผล อย่าสักแต่คิดด้วยอารมณ์เท่านั้น การพิจารณาให้เห็นคุณของพ่อแม่ด้วยใจอย่างนี้แหละ เรียกว่ากตัญญู เป็นคุณธรรมเบื้องต้นของผู้เป็นลูก ยิ่งพิจารณาเห็นคุณท่านมากเท่าไร แสดงว่าใจของเราเริ่มใส และสว่างมากขึ้นเท่านั้น


กตเวที หมายถึง การทดแทนพระคุณของท่าน ซึ่งมีงานที่ต้องทำ ๒ ประการ คือ
๑. ประกาศคุณท่าน
๒. ตอบแทนคุณท่าน
การประกาศคุณท่าน หมายถึง การทำให้ผู้อื่นรู้ว่าพ่อแม่มีคุณแก่เราอย่างไรบ้าง? มากน้อยเพียงใด? เรื่องนี้
มีคนคิดทำอยู่มากเหมือนกัน แต่ส่วนมาก มักจะไปทำตอนงานศพ คือเขียนประวัติสรรเสริญคุณพ่อแม่ในหนังสือ
แจก การกระทำเช่นนี้ก็ถูก แต่ถูกเพียงเปลือกนอกผิวเผินนัก ถ้าเป็นการกินผลไม้ ก็แค่เคี้ยวเปลือกเท่านั้น


ยังมีทำเลที่จะประกาศคุณพ่อแม่ที่สำคัญกว่านี้ คือที่ตัวเราคนเราทุกคนคือตัวแทนของพ่อแม่ตนทั้งนั้น เลือดก็แบ่งมาจากท่าน เนื้อก็แบ่งมาจากท่าน ตลอดจนนิสัยใจคอก็ได้รับการอบรมถ่ายทอดมาจากท่าน ความประพฤติของตัวเรานี่แหละ จะเป็นเครื่องประกาศคุณพ่อแม่อย่างชัดแจ้งที่สุด ไม่ใช่อยู่ที่หนังสือแจก ไม่ใช่อยู่ที่หีบศพบนเชิงตะกอน

แต่อยู่ที่ตัวเรานี่เอง หากพิมพ์ข้อความไว้ในหนังสือแจกว่า คุณพ่อคุณแม่เป็นคนตั้งอยู่ในศีลในธรรม แต่ตัวเราเองประพฤติสำมะเลเทเมา คอร์รัปชั่นทุกครั้งที่มีโอกาส ศีลข้อเดียวก็ไม่สนใจรักษาก็ผิดที่ไป สดุดีคุณพ่อแม่ว่าเป็นคนดี สุภาพเรียบร้อย แต่ตัวเราผู้เป็นลูกกลับประพฤติตัวเป็นนักเลงอันธพาล

อย่างนี้คุณค่าของการสรรเสริญพ่อแม่ก็ลดน้ำหนักลง กลายเป็นว่ามอบหน้าที่ในการกตเวทีประกาศคุณพ่อแม่ ให้หนังสือทำแทน ให้กระดาษ ให้เครื่องพิมพ์ ให้ช่างเรียงพิมพ์ แสดงกตเวทีแทนแล้วตัวเรากลับประจานพ่อแม่ของตัวเอง อย่างน้อยที่สุดก็ประจานแก่ ชาวบ้านว่า พ่อแม่ของเราเลี้ยงลูกได้ไม่ดีพ่อแม่ของใครใครก็รัก เมื่อรักท่านก็จงประกาศคุณความดีของท่านสิ ประกาศด้วยความดีของตัวเราเองตั้งแต่เดี๋ยวนี้ ยิ่งท่านยังมีชีวิตอยู่ การประกาศคุณของเราจะทำให้ท่านมีความ สุขใจอย่างยิ่ง

ส่วนใครจะประพันธ์สรรเสริญคุณพ่อแม่ พิมพ์แจกเวลาท่านตายแล้ว นั่นเป็นประเด็นเบ็ดเตล็ด จะทำก็ได้ ไม่ทำก็ไม่เสียหายอะไรไม่ว่าเราจะตั้งใจประกาศคุณท่านหรือไม่ ความประพฤติของเราก็เป็นตัวประกาศคุณท่าน หรือประจานท่านอยู่ตลอดเวลา คิดเอาเองก็แล้วกันว่า เราจะประกาศคุณพ่อแม่ของเรา ด้วยเกียรติยศชื่อเสียง หรือจะใจดำถึงกับประจานผู้บังเกิดเกล้า ด้วยการทำตัวเป็นพาลเกเรและประพฤติต่ำทราม

การตอบแทนคุณพ่อแม่ แบ่งเป็น ๒ ช่วง คือ...

๑. เมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ ก็ช่วยเหลือกิจการงานของท่าน เลี้ยงดูท่านตอบเมื่อยามท่านชรา ดูแลปรนนิบัติการ
กินอยู่ของท่าน ให้สะดวกสบายและเอาใจใส่ช่วยเหลือ เมื่อท่านเจ็บป่วย คอยพูดคุยกับท่านอยู่เสมอ

๒. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ก็จัดพิธีศพให้ท่าน และทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ท่านอย่างสม่ำเสมอ เช่น ใส่
บาตรทุกวันที่พ่อแม่ตาย (๗ วันหนึ่งครั้งก็ยังดี) แล้วกรวดน้ำอุทิศกุศลส่งไปให้


แม้ว่าเราจะตอบแทนพระคุณท่านถึงเพียงนี้แล้ว ยังนับว่าเล็กน้อยมาก เมื่อเทียบกับพระคุณอันยิ่งใหญ่ ที่
ท่านมีต่อเรา ผู้ที่มีความกตัญญูกตเวทีต้องการจะสนองพระคุณท่าน ให้ได้ทั้งหมด พึงกระทำตามหลักพุทธศาสนา
ดังนี้

๑. ถ้าท่านยังไม่มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ก็ควรพยายามชักนำให้ท่านตั้งอยู่ในศรัทธาให้ได้
๒. ถ้าท่านยังไม่ถึงพร้อมด้วยการให้ทาน ก็พยายามชักนำให้ท่านยินดีในการบริจาคทานให้ได้
๓. ถ้าท่านยังไม่มีศีล ก็พยายามชักนำให้ท่านรักษาศีลให้ได้
๔. ถ้าท่านยังไม่ทำสมาธิภาวนา ก็พยายามชักนำให้ท่านทำสมาธิภาวนาให้ได้


เพราะว่าการตั้งอยู่ในศรัทธา การให้ทาน การรักษาศีล การทำสมาธิภาวนาเป็นประโยชน์โดยตรง และเป็นประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่ตัวบิดามารดาผู้ปฏิบัติ เองทั้งในภพนี้ภพหน้า (เป็นเสบียงติดตัวไปในภพหน้าได้) และ
เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง คือเป็นหนทางไปสู่นิพพานเพราะการปรนนิบัติในมารดาบิดานั้นแล บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขาในโลกนี้นี่เอง เขาละโลกไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์ ขุ. ชา. สตฺตติ ๒๘/๑๖๒

บุคคลใดให้มารดานั่งบนบ่าข้างหนึ่ง ให้บิดานั่งบนบ่าข้างหนึ่ง และบุคคลทั้งสองเป็นผู้มีอายุยืน ๑๐๐ ปีได้ทำการขัดสี การให้อาบน้ำ การบีบนวดให้แก่มารดาบิดาทั้งสอง มารดาบิดาได้ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะอยู่บนบ่า
ทั้งสองนั้น ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่ชื่อว่า ได้ตอบแทนคุณมารดาบิดาได้สิ้นสุด ข้อนี้เป็นเพราะเหตุไร? เพราะมารดา
บิดาเป็นผู้มีคุณมาก คือเป็นผู้ทำบุตรให้เติบโต เป็นผู้เลี้ยงบุตร ฯลฯ ไม่สามารถชดใช้พระคุณได้หมด


ส่วนผู้ใดทำมารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธา ให้มีศรัทธา ทำมารดาบิดาผู้ไม่มีศีล ให้มีศีล ทำมารดาบิดาผู้มีความ
ตระหนี่ ให้เต็มไปด้วยการสละแบ่งปัน ทำมารดาบิดาผู้ไม่มีการเจริญภาวนา ให้ได้เจริญภาวนา ผู้นั้นได้ชื่อว่าตอบ
แทนคุณมารดาบิดาได้สิ้นสุด และได้ยิ่งกว่าคุณที่มารดาบิดาทำให้แก่ตน เพราะได้สร้างที่พึ่งอันประเสริฐแก่
มารดาบิดา ทั้งชาตินี้และชาติหน้า

อ้างอิง
หนังสือ "วิธีตอบแทนพระคุณพ่อแม่" เรียบเรียงโดย...พระมหาทองมั่น สุทฺธจิตฺโต
วัดภัททันตะอาสภาราม อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี
ขอบคุณภาพประกอบจาก http://i1045.photobucket.com/,http://t1.gstatic.com/
26279  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ทำอย่างไรดี คะ กับ ความสัมพันธ์ ที่แตกออก คะ เมื่อ: สิงหาคม 09, 2011, 09:22:46 am

ออกตัวก่อนคร้า.... ช่วงนี้ มีโปรเจ็กซ์ คร้า.... ต้องใช้เวลาเป็นปี กับการศึกษา คร้า
จึงมาโพสต์ไม่ได้เหมือนก่อนนะคร้า...


 ก็คิดว่า ภาพยนต์เรื่อง เรา สอง สาม คน ก็น่าจะมีคำตอบแล้วคร้า.....
 สำหรับ ปุถุชน คนธรรมดา ก็ดีคร้า....เป็นคำตอบที่ดี เลยคร้า.........

  ตัวละครในเรื่อง ก็มี หนึ่งผู้ชายที่หล่อ รักการขับรถ กับ เพื่อน ๆ ที่ รักการขับรถ ท่องเที่ยวขับรถไป ลาว เวียตนาม กับกลุ่มรักการขับรถ ในขณะเดียวกัน ก็มีสมาชิกติดไปในรถด้วย

    คือ สาวที่หนึ่ง หูตึง หน้าตาดี

        สาวที่สอง ตาฟาง หน้าตาดี

        ทั้งสองสาว เป็นเพื่อนรักกันมาตลอด แต่มาแตกคอกันตอนไป เพราะความเข้าใจผิด

   แต่การเลือก อิจฉา น้อยใจ เสียสละ อะไรปานนี้ ก็จะมีในเหตุการณ์ เลยทำให้ หนังชวนติดตาม

 คิดว่าให้ คุณ จินตนา ชมให้จบดีกว่า ชมฟรี ทาง youtube อยู่แล้ว คร้า...

 ความเข้าใจผิด เพียงเล็กน้อย เป็นหนทางสู่ ความเข้าใจผิด ที่ใหญ่หลวง คร้า....

 ใครจะรู้ ตัวตนก่อน ก็เท่านั้นเองคร้า.....

    ขอบคุณที่ยังไม่ลืมกัน  เพื่อนๆหลายคน คงรู้สึกชื่นใจที่เห็น "หมวยจ้า" มาแสดงความเห็น
    ปริญญาโทที่หวังขอให้ได้เกียรตินิยมอันดับ๑ และที่สำคัญขอให้ Lucky in Love...นะคะ
:c017: ;)
26280  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ทำอย่างไรดี คะ กับ ความสัมพันธ์ ที่แตกออก คะ เมื่อ: สิงหาคม 08, 2011, 08:39:44 pm
คือ เรา มีเพื่อนอยู่คนหนึ่ง รักกันมาก ไปไหน ไปด้วยกัน เรียนด้วยกัน ทำงานด้วยกัน เรียกว่า ซี้ มาก ๆ

แต่มาวันหนึ่ง ปรากฏว่า มีผู้ชายคนหนึ่งเข้ามาในที่ทำงาน เขาคนนี้ก็มากับ ความประทับใจ ทั้งเรา และ เพือนของเรา

สุดท้ายก็ดูเหมือนว่า จะได้ครองหัวใจของเราทั้งสอง เพราะผู้ชายก็แสดงท่าทางว่าชอบเรา ทั้งคู่

 และแล้ว ความสัมพันธ์ ของเราที่มีกันมาเนิ่นนาน ตั้งแต่ เด็ก ๆ ก็รู้สึกว่า จะหายไป เพราะต่างอิจฉา ซึ่งกันและกันเหมือนแย่งผู้ชาย คนเดียวกัน แต่สุดท้ายเพราะธรรมะที่ได้ภาวนามาอยู้บ้างได้สงบใจในวัดบ้างในวันพระเมื่อวานนี้ จึงคิดได้ว่า ทำไมความสัมพันธ์ ของเราจึงพังทลายลง เพราะบุคคลหนึ่ง ที่มาทีหลัง

 อย่างนี้เราจะเริ่มต้น ปรับความเข้าใจ กับเพื่อนกันอย่างไร กันดีคะ

 ขอคำปรึกษา นะคะ

  :c017:

   เรื่องนี้ ผมขอยกธงขาว ครับ ยอมแพ้ครับ จนด้วยเกล้า ตอบไม่ได้

   ความรู้สึกของผู้หญิง ผมไม่เคยเข้าใจ หยั่งไม่ถึง

   แต่ผมนึกถึง เพื่อนสมาชิกคนหนึ่งได้ คนนี้น่าจะตอบคำถามนี้ได้ดี

   "หมวยจ้า" ครับ อยู่ที่ไหน มาช่วยตอบหน่อย หลายคนคิดถึง


แทนความคิดถึง
หน้า: 1 ... 655 656 [657] 658 659 ... 708