ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - raponsan
หน้า: 1 ... 649 650 [651] 652 653 ... 708
26001  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: การภาวนา พุทโธ ถ้าเปลี่ยนเป็น ยุบหนอ พองหนอ จะได้หีรืิอไม่ ? เมื่อ: กันยายน 24, 2011, 05:12:23 pm

 ยกตัวอย่างในห้องพุทธานุสติ พระอาจารย์บอกว่า ใช้คำภาวนาอะไรก็ได้

 แต่พอถึงจุดหนึ่ง ภาวนาจนถึงขั้นจิตละเอียดมาก จะไม่มีคำภาวนาใดที่เหมาะสมไปกว่า คำว่า "พุทโธ"

 เรื่องนี้แนะนำว่า ขอให้ลองพิสูจน์ดู

 ขอคุยเป็นเพื่อนเท่านี้
:25:
26002  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: พลังจิต มีอะไรเป็นข้อพิสูจน์ ว่ามีจริง ? เมื่อ: กันยายน 24, 2011, 04:36:57 pm

การฝึกฝนจิต มีประโยชน์อย่างไร มีข้อพิสูจน์อย่างไร ว่าคนที่ฝึกพลังจิต แล้ว ใช้ประโยชน์ จากพลังจิต

ที่สำคัญ การฝึกพลังจิต ต้องฝึกด้วยกรรมฐาน เสมอไปหรือไม่ ?

ขออภัย ที่ถามคำถามที่อาจจะดูเหมือนบ๊องส์ นะคะ แต่เพราะความสงสัย

ขอบคุณทุกท่านที่ได้ตอบคำถาม คะ

 :c017:

    การฝึกพลังจิต ก็คือการฝึกสมาธินั้นเอง ในมรรคมีองค์แปด เรียกว่า สัมมาสมาธิ

    ในพระไตรปิฏก หมายถึง ฌาน ๔ กรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง ล้วนทำให้เกิดฌานทั้งสิ้น

    อำนาจของพลังจิต มีมากมาย ตามที่ได้เสนอบทความไปข้างต้น

    พลังจิตในขั้นโลกียะ นำมาแสดงอภิญญา(อิทธิฤทธิื์)ต่างๆได้ เช่น ทิพยจักขุญาณ(ตาทิพย์)

    การจะมีอภิญญาได้โดยทั่วไปต้องฝึกกสิณ เรื่องนี้เป็นปัจจัตตัง  เมื่อฝึกได้คุณจะรู้สึกและสัมผัสได้เอง

    หากสนใจจะฝึกอภิญญา เพื่อจะพิสูจน์ว่า พลังจิตมีประโยชน์อย่างไร

    ผมจะแนบไฟล์หนังสือของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ให้ดาวน์โหลด
26003  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: พลังจิต มีอะไรเป็นข้อพิสูจน์ ว่ามีจริง ? เมื่อ: กันยายน 24, 2011, 04:34:01 pm
อำนาจของจิต

จิต หรือ วิญญาณ นี้ นอกจากจะเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ตามที่ทราบแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นประธานในธรรมทั้งปวง คือ การงานต่าง ๆ ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ ไม่ว่าจะเป็นบุญ (กุศลกรรม) หรือเป็นบาป (อกุศลกรรม) จะสำเร็จได้ก็ด้วยจิตทั้งสิ้น ดังในธรรมบทที่แสดงไว้ว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฎฺฐา มโนมยา ซึ่งมีความหมายว่า ธรรมทั้งหลายมีจิตเป็นใหญ่ มีจิตเป็นหัวหน้า สำเร็จได้ด้วยจิต

           
          จิต นี้ แม้จะเป็นนามธรรมที่ไม่มีรูปร่างตัวตน และแสดงความรู้สึก อยู่ภายในเท่านั้นก็จริง แต่ก็มีอำนาจวิเศษอย่างน่าอัศจรรย์ และวิจิตรพิสดารยิ่งนัก กล่าวคือ
           
          ๑. มีอำนาจในการกระทำ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน ของอวัยวะน้อยใหญ่ในร่างกาย การพูด การเคลื่อนไหว การกระทำต่าง ๆ ตลอดจนการคิดก็เกิดขึ้นด้วยจิตทั้งสิ้น สรรพสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรถ เรือ เครื่องบิน ยานอวกาศ อาวุธยุทโธปกรณ์ อุปกรณ์สื่อสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ สิ่งก่อสร้าง ภาพวาด วิทยาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ ฯลฯ ก็ล้วนมีจิตเป็นผู้คิดขึ้นมาทั้งสิ้น
           
          ๒. มีอำนาจด้วยตนเอง คือ มีอำนาจในการทำบุญ ทำบาป ทำสมาธิถึงขั้นฌานสมาบัติ มีอำนาจในการแสดงอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ (อภิญญา) ตลอดจนมีอำนาจในการทำลายอนุสัยกิเลส ที่เป็นเหตุให้มีการเวียนว่ายตายเกิด อย่างไม่รู้จักจบจักสิ้น
           
          ๓. มีอำนาจในการสั่งสมกรรม เพราะจิตเป็นต้นเหตุ ให้มีการทำบาป ทำบุญ ทำฌาน ทำอภิญญา ทำวิปัสสนากรรมฐาน กรรมทั้งหลายที่ได้กระทำลงไปแล้ว ไม่ว่าจะดีหรือชั่ว จะถูกเก็บบันทึกเอาไว้ด้วยอำนาจของจิต
           
          ๔. มีอำนาจในการรักษาวิบาก (ผลของกรรม) กรรมทั้งหลายที่ได้กระทำลงไปแล้ว ทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล แม้จะนานเท่าไรก็ตาม กี่ภพกี่ชาติก็ตาม ย่อมติดตามส่งผลตลอดไป จนกว่าจะปรินิพพาน 
           
          ๕. มีอำนาจในการสั่งสมสันดานของตนเอง การกระทำใด ๆ หากกระทำอยู่บ่อย ๆ กระทำอยู่เสมอ ๆ ก็จะฝังในจิตติดเป็นสันดาน และคิดจะทำเช่นนั้นเรื่อยไป เช่น คบคนพาลก็จะกลายเป็นคนพาล คบบัณฑิตก็จะเป็นบัณฑิต ทั้งนี้ เป็นเพราะอำนาจในการสั่งสมสันดานของจิตนั่นเอง
           
          ๖. มีอำนาจในการรับอารมณ์ต่าง ๆ ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ไม่ว่าจะเป็นอดีตอารมณ์ อนาคตอารมณ์ หรือปัจจุบันอารมณ์ และไม่ว่าจะเป็นบัญญัติอารมณ์ หรือ ปรมัตถอารมณ์ จิตก็สามารถรับได้ทั้งสิ้น   
         
          แม้จิตจะเกิดดับอยู่ตลอดเวลาก็ตาม แต่ บาป บุญ ที่ทำไว้ และอนุสัยกิเลสที่นอนเนื่อง อยู่ในขันธสันดาน จะไม่สูญหายไป พร้อมกับการดับของจิตแต่ละดวง ทั้งนี้ เพราะจิตดวงใหม่ มีเหตุมีปัจจัยมาจากจิตดวงเดิม และจิตดวงใหม่ ที่เกิดขึ้นก็เป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้แก่จิตดวงต่อไป เพื่อสืบต่อ บาป บุญ และกิเลสที่สั่งสมไว้ไป จนกว่าจะปรินิพพาน


บทเรียนอภิธรรม เรียบเรียงโดย นายวิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ
ที่มา http://www.buddhism-online.org/Section02A_08.htm
26004  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: อยากให้ห้องกรรมฐาน ช่วยตอบให้ด้วยครับ เรื่อง อานาปานสติ คะ เมื่อ: กันยายน 24, 2011, 04:26:47 pm
จากประสบการณ์ ตอนแรกผมก็ใช้คำว่า "พุทโธ" ภาวนาไปเรื่อยๆ คำว่าพุทโธ มันหายไปเอง (ทั้งที่ไม่มีเจตนา)
ตอนแรกก็ตกใจ ต่อมาก็เข้าใจว่า จิตมันจะทิ้งคำภาวนาไปเองโดยอัตโนมัติ เราห้ามจิตไม่ได้

 ในกรรมฐานมัชฌิมาฯ ในห้องพุทธานุสติ ก็ใช้คำำภาวนา"พุทโธ"
 ผมปฏิบัติแล้ว ตอนแรกๆก็รู้สึกอึดอัด พอถึงจุดหนึ่งจิตเริ่มมีสมาธิ
 จิตจะเกิดฉันทะ มีความพอใจที่จะใช้คำภาวนานี้ มาถึงตรงนี้ได้
 จิตจะแยกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งกล่าวภาวนาพุทโธ อีกส่วนหนึ่งจะเฝ้าดูการภาวนาพุทโธ
 คล้ายๆกับเราฟังเสียงจากวิทยุหรือเครื่องเสียงต่างๆนั่นเอง


 การใช้คำภาวนาพุทโธกับการไม่ใช้ ตอบไม่ได้ว่า อย่างไหนดีกว่ากัน

 ส่วนการเห็นนิมิตต่างๆ ผมไม่เคยเห็น(ยกเว้นฝึกกสิณ)
 เท่าที่ได้อ่านมา ต้องทิ้งนิมิตครับ อันนี้เป็นอุปกิเลสอย่างหนึ่ง

 แนะนำว่า ขอให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่งไปก่อน โดยไม่ต้องกลัวว่าจะเกิดอะไรขึ้น
 เราปฏิบัติธรรม "ธรรมย่อมคุ้มครองผู้ประพฤติธรรม" ลองทำให้ถึงที่สุดก่อนนะครับ
 มีปัญหาอะไร ค่อยมาคุยกันอีกที

 ขอคุยเ็ป็นเพื่อนเท่านี้นะครับ
:welcome:
26005  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ฝันเห็นแต่คนที่ตายไปแล้ว ทีละคน ตั้งแต่เริ่มฝึกกรรมฐาน เมื่อ: กันยายน 24, 2011, 03:57:17 pm

ญาติผมที่เสียไปแล้ว มาเข้าฝันผม ผมก็อุทิศบุญไปให้ จากนั้นก็ไม่มาเข้าฝันอีกเลย

 กรณีของคุณพิมพา ความเป็นไปได้ก็คือ เค้ายังได้บุญไม่พอ หรือไม่ก็บุญไปไม่ถึงเค้า

 ข้อสำคัญของการอุทิศบุญก็คือ ต้องขอบารมีพระพุทธเจ้า อีกอย่างก็คือ กำลังสมาธิ

 คุณพิมพาลองเข้าสมาธิก่ิอน ขณะอยู่ในสมาธิให้อุทิศบุญ ลองวิธีนี้ดู..นะครับ

  :25:
26006  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: การรักษา ศีล เป็นการทำบุญ หรือไม่ คะ เมื่อ: กันยายน 24, 2011, 01:48:36 pm
คือไม่ค่อยมีโอกาส ไปทำบุญ อย่างคนอื่นเขา ก็เลยรักษา ศีล 5 ให้ได้ วันไหนทำได้ ก้อุทิศส่วนกุศลจากการรักษาศีลนี้ไปให้ บุคคลที่เป็นที่รักเป็นต้น

 แต่โดยส่วนตัว ก็ยังไม่ค่อยจะเข้าใจคะว่า ศีล นี้จัดเป็น บุญ แล้วอุทิศไปแล้ว ผู้ที่ได้รับจะได้อานิสงค์ อย่างไรในการอุทิศให็คะ

  :88: :58: :c017:

     หากจะถามว่า อุทิศบุญที่เกิดจากศีล ให้คนตายแล้ว คนตายจะเป็นอย่างไร
เรื่องบุญบาป วิบากกรรม เป็นเรื่องอจินไตย ยากที่ปุถุชนจะเข้าใจ เราไม่จำเป็นต้องไปสนใจ 

   พระพุทธองค์ได้ตรัสถึงอานิสงส์ของศีลไว้แล้ว ในเบื้องต้นศีลเป็นทางสู่สวรรค์ อย่าได้ลังเลสงสัย อยากอุทิศก็อุทิศไป อุทิศแล้วสบายใจก็ทำไป


    เวลาอุทิศบุญขอแนะนำว่า ให้อาราธนาบารมีพระพุทธเจ้าก่อน เช่น
    ข้าพเจ้าขออาราธนาบารมีพระพุทธเจ้า อุทิศบุญ ทาน ศีล ภาวนา ที่ข้าพเจ้าได้สั่งสมมาทุกๆชาติ
ตราบจนบัดนี้ ให้กับ......


    อย่างไรก็ตาม การรักษาศีลได้บุญน้อยกว่า การภาวนา

    :welcome: :49: :25: ;)
26007  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: การรักษา ศีล เป็นการทำบุญ หรือไม่ คะ เมื่อ: กันยายน 24, 2011, 01:24:04 pm
 
ภาพจากwww.dhammathai.org

สุดยอดหญิงงามในสมัยพุทธกาล คือ นางวิสาขา หากคุณจันทราและคุณส้ม ต้องการสวยแบบนางวิสาขา คือ สวยแบบเบญจกัลยาณี ต้องทำอย่างนี้ครับ

      ถาม:  คนที่จะได้เป็นเบญจกัลยาณี ต้องทำบุญอย่างไรบ้างเจ้าคะ ?
      ตอบ:  เบญจกัลยาณีนี้ จุดสำคัญที่สุดก็คือว่าซ่อมพระพุทธรูป เป็นพระพุทธรูปปรักหักพังอย่างไรก็ไปซ่อม แต่ว่าขณะเดียวกัน ถ้ามีเมตตาเป็นปกติ มีศีลเป็นปกติ ก็จะสวยอยู่แล้ว คราวนี้ความสวยนี้จะเสื่อมไปตามวัย เบญจกัลยาณีนี้ถ้ามีลูกเมื่อไรจะอยู่แค่นั้น ได้กำไรกว่าเขาอยู่อันหนึ่ง


ที่มา http://www.grathonbook.net/book/33.3.html


ลิงค์แนะนำ
"อานิสงส์การซ่อมแซมพระพุทธรูป"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3648.0

"สวยขึ้นได้ทันทีในชาตินี้ ด้วยอานิสงส์ขัดพระพุทธรูป"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3647.msg13204#msg13204




เบญจกัลยาณี ความงามของสตรี ๕ อย่าง คือ
     ๑. ผมงาม คือ หญิงที่มีผมยาวถึงสะเอวแล้วปลายผมงอนขึ้น
     ๒. เนื้องาม คือหญิงที่มีริมฝีปากแดงดุจผลตำลึงสุกและเรียบชิดสนิทกันดี
     ๓. กระดูกงาม คือหญิงที่มีฟันสีขาวประดุจสังข์ และเรียบเสมอกัน
     ๔. ผิวงาม คือหญิงที่มีผิวงามละเอียด ถ้าดำก็ดำดังดอกบัวเขียว ถ้าขาวก็ขาวดังดอกกรรณิกา
     ๕. วัยงาม คือ หญิงที่แม้จะคลอดบุตรถึง ๑๐ ครั้ง ก็ยังคงสภาพร่างกายสาวสวยดุจคลอดครั้งเดียว





อีกอย่างก็คือ ถือศีลข้อแรกโดยเคร่งครัด

        อานิสงส์ของศีลข้อที่ 1  เว้นจากการฆ่าสัตว์
          1. เป็นผู้มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน
          2. มีร่างกายสูงใหญ่สมส่วน 
          3. มีความแคล่วคล่องว่องไว   
          4. มีฝ่าเท้าเต็ม
          5. มีความแช่มช้อย   
          6. มีความอ่อนโยน 
          7. มีความสะอาด 
 
          8. มีความแกล้วกล้า 
          9. มีกำลังมาก     
          10. มีวาจาสละสลวย
          11. เป็นที่รักของชาวโลก 
          12. พวกพ้องบริวารไม่แตกแยกกัน
          13. ไม่เป็นคนขี้กลัว   
          14. ไม่ถูกทำลาย
          15. ไม่ตายเพราะถูกผู้อื่นทำร้าย   
          16. มีพวกพ้องบริวารมาก
          17. มีรูปงาม (มีผิวพรรณงาม)   
          18. มีทรวดทรงงาม

          19. มีโรคน้อย
          20. ไม่เป็นคนเศร้าโศก
          21. ไม่พลัดพรากจากคนและของรัก 
          22. มีอายุยืน


อ้างอิง

ที่มา http://main.dou.us/view_content.php?s_id=311
ขอบคุณภาพจาก http://main.dou.us,http://a5.sphotos.ak.fbcdn.net


อานิสงส์รักษาศีล

......พ่อค้าสำเภา ได้ไปค้าขายหัวเมืองต่าง ๆ ในท้องมหาสมุทรอยู่มาวันหนึ่งเกิด
มรสุมพายุพัดอันแรงกล้า จนพวกพ่อค้าสำเภาหมดปัญญาแก้ไขได้คิดทอดอาลัยตามแต่บุญกรรม หัว
หน้าพ่อค้าสำเภาเรียกมาพร้อมกัน ๕๐๐ คน ให้สมาทานศีลเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวไปในชาติหน้ากันเถิด
เมื่อสมาทานศีลจบแล้ว เรือสำเภาก็แตก จมลงในมหาสมุทรนั้น พ่อค้า ๕๐๐ คน ถึงแก่ความตายพร้อม
กันหมดด้วยอำนาจรักษาศีลด้วยความตั้งใจเพียงชั่วครู่เท่านั้น ก็ไปเกิดในสวรรค์มีวิมานทองเป็นที่อยู่
ตลอดทั้ง ๕๐๐ คน


ที่มา http://www.84000.org/anisong/20.html



บทสรุปอานิสงส์ของศีล

          อานิสงส์ของศีล สามารถกล่าวโดยสรุปได้เป็น 3 ข้อใหญ่ ได้ดังนี้
 
                    "สีเลนะ  สุคะติง  ยันติ
                     สีเลนะ  โภคะสัมปะทา
                     สีเลนะ  นิพพุติง  ยันติ
                     ตัสมา  สีลัง  วิโสธะเย" 


          มีความหมายดังต่อไปนี้
 
          1. สีเลนะ สุคะติง ยันติ แปลว่า ศีลทำให้ไปสู่สุคติ 
 
          2. สีเลนะ โภคะสัมปะทา  แปลว่า ศีลทำให้มีโภคทรัพย์
 
          3. สีเลนะ นิพพุติง ยันติ  แปลว่า ศีลทำให้ไปพระนิพพาน


          โดยเฉพาะในข้อ 3 นี้ หมายความว่า ศีลมีส่วนทำให้ไปถึงพระนิพพานได้ ถ้าไม่มีศีลก็ไปพระ-นิพพานไม่ได้ และพระนิพพานมีความหมายเป็น 2 นัย ด้วยกัน คือ
 
          1. พระนิพพานขั้นต้น หมายถึง คนที่มีศีลย่อมเกิดความสบายใจ จะอยู่ที่ใดก็สงบร่มเย็นเป็นสุข
 
          2. พระนิพพานขั้นสูง หมายถึง ศีลทำให้ผู้รักษาหมดกิเลส ผู้ที่หมดกิเลสย่อมได้ไปพระนิพพานทั้งสิ้น
 
          พระนิพพานเป็นเป้าหมาย สูงสุดของชาวพุทธ แต่จะไปสู่เป้าหมายสูงสุดได้ มีความจำเป็นต้องปฏิบัติไปตามลำดับขั้นตอน คือ ศีล สมาธิ และปัญญา เพราะศีลเป็นที่ตั้งของสมาธิ สมาธิเป็นที่ตั้งของปัญญา ถ้าไม่รักษาศีลให้บริสุทธิ์แล้ว สมาธิและปัญญาก็เกิดขึ้นไม่ได้
 
          ดังนั้น จึงต้องรักษาศีลก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อปิดกั้นทุจริตทางกาย และวาจา เป็นผลให้เกิด ความบริสุทธ์ทางกาย วาจา ใจ อันเป็นที่ตั้งแห่งคุณความดีทั้งหลาย ดังมีภาษิตกล่าวไว้ว่า

        "ศีลเป็นเขตแดน เป็นเครื่องปิดกั้นทุจริต ทำจิตให้ร่าเริงแจ่มใส และเป็นท่าหยั่งลงมหาสมุทร คือ นิพพานของพระพุทธเจ้าทั้งปวง เพราะฉะนั้นบุคคลพึง รักษาศีลให้บริสุทธิ์"


อ้างอิง

ที่มา http://main.dou.us/view_content.php?s_id=311
ขอบคุณภาพจาก http://a5.sphotos.ak.fbcdn.net,http://main.dou.us


   ผมแนบไฟล์หนังสือ "อานิสงส์ของการรักษาศัล" ฉบับเต็ม มาให้อ่าน เชิญดาวน์โหลด
26008  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: การรักษา ศีล เป็นการทำบุญ หรือไม่ คะ เมื่อ: กันยายน 24, 2011, 12:42:17 pm


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

             [๑๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ
   บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยทาน ๑
   บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยศีล ๑
   บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยภาวนา ๑


             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานนิดหน่อย ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลนิดหน่อย ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นผู้มีส่วนชั่วในมนุษย์ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานพอประมาณ ทำบุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยศีลพอประมาณ ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นผู้มีส่วนดีในมนุษย์ ฯ

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานมีประมาณยิ่ง ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลมีประมาณยิ่ง ไม่เจริญบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยภาวนาเลย เมื่อตายไป เขาเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นจาตุมมหาราช

             ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาราชทั้ง ๔ ในชั้นนั้น ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทานเป็นอดิเรก ทำบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยศีลเป็นอดิเรก ย่อมก้าวล่วงเทวดาชั้นจาตุมมหาราชโดยฐานะ ๑๐ ประการ คือ อายุทิพย์ วรรณทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์ อธิปไตยทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ โผฏฐัพพทิพย์ ฯ


 ......ฯลฯ........ฯลฯ........

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  บรรทัดที่ ๔๙๙๓ - ๕๐๔๖.  หน้าที่  ๒๑๕ - ๒๑๘.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=4993&Z=5046&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=126
ขอบคุณภาพจาก http://img.ryt9.com



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

     ตรัสแสดงบุญกิริยาวัตถุ ( เรื่องของการทำบุญ ) ๓ ประการ คือ
     บุญญกิริยา วัตถุสำเร็จด้วย ๑.ทาน, ๒.ศีล, ๓.ภาวนา( การอบรม ) คือ


     ๑. ทำ ๒ ข้อแรกน้อย ไม่มีข้อหลังเลย ทำให้ตายไปแล้ว เกิดมีส่วนชั่วในมนุษย์
     ๒. ทำ ๒ ข้อแรกพอประมาณ ไม่มีข้อหลังเลย ทำให้เกิดมีส่วนดีในมนุษย์
     ๓. ทำ ๒ ข้อแรกมาก แต่ไม่มีข้อหลังเลย ทำให้เกิดในเทพชั้นจาตุมหาราช ๔.-๕. ทำเหมือนข้อที่ ๓ ทำให้เกิดในเทพชั้นดาวดึงส์, ชั้นยามะ, ชั้นดุสิต, ชั้นนิมมานรดี, ชั้นปรนิมมิตวสัตตี.


อ้างอิง พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน อ.(สุชีพ ปุญญานุภาพ)
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/15.2.html
ขอบคุณภาพจาก http://statics.atcloud.com
26009  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ทำไมพระพุทธเจ้า จึงห้ามอวดอุตริมนุษยธรรม เมื่อ: กันยายน 24, 2011, 12:09:45 pm


ทำไมพระพุทธเจ้าห้ามอวดอุตริมนุษย์ธรรม ...อยากรู้ไหม
เพราะพระพุทธเจ้าเหนื่อยมาก่อนแล้ว กับพาลปุถุชน

    เป็นเพราะในสมัยนั้นเรื่องฤทธิ์ ก็มีผู้อื่นทำได้อยู่แล้วเหมือนกัน ถ้าเน้นเรื่องฤทธิ์ก็จะมีคนนำไปเปรียบเทียบกับผู้อื่นได้ แต่สิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้นั้นซึ่งก็คือ อนุสาสนีปาฏิหาริย์นั้น มีเฉพาะแต่กับพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ทำได้ การแสดงฤทธิ์พร่ำเพรื่อนั้นจะทำให้ผู้อื่นตำหนิหรือไม่เลื่อมใสได้ หรือบางกรณีภิกษุก็อาจจะแอบอ้างเอาเรื่องอิทธิฤทธิ์หรือคุณวิเศษต่างๆ เหล่านี้ทั้งๆ ที่ไม่มีในตนมาเพื่อแสวงหาลาภสักการะแก่ตนได้


    แต่ในบางกรณีพระพุทธเจ้าท่านก็ทรงตรัสให้สาวกแสดงฤทธิ์เอง เพื่อยังพุทธบริษัทให้เกิดความเลื่อมใส หรือมีเหตุที่จะต้องใช้ฤทธิ์เพื่อทรมานบุคคลต่างๆ ให้คลายทิฏฐิมานะเสียก่อน จึงค่อยเทศนาพระธรรม
     เช่น เรื่องที่ทรงสั่งให้พระโมคคัลลานะแสดงฤทธิ์ทรมานพระนันโทปนันทนาคราช เรื่องพระพุทธเจ้าสั่งให้พระสาคตะแสดงฤทธิ์เพื่อยังศรัทธาให้เกิดแก่พุทธบริษัท เรื่องพระอุรุเวลกัสสปะ เรื่องอาฬาวกยักษ์ เรื่ององคุลีมาร เรื่องนายพรานที่จะมายิงพระองค์ ฯลฯ


เกวัฏฏสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=09&A=7317&Z=7898

เรื่องพระปิณโฑลภารทวาชะเหาะเอาบาตรไม้จันทน์
http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=07&A=256&Z=312

เรื่องพระวังคีสะขอบวชเพื่อเรียนมนต์ที่จะทำให้รู้ว่าพระอรหันต์ตายแล้วไปไหน
http://www.dhammathai.org/monk/monk46.php

เรื่องพระปิลินทวัจฉะ เหาะและรู้วาระจิตผู้อื่นได้ แต่พอเจอพระพุทธเจ้าวิชาก็เสื่อม เลยขอบวชเพื่อจะเรียนวิชามหาคันธาระจากพระพุทธเจ้า
http://www.84000.org/one/1/41.html

พระพุทธเจ้าสั่งให้พระสาคตะแสดงฤทธิ์เพื่อยังพุทธบริษัทให้เกิดศรัทธา
http://84000.org/one/1/40.html

พระพุทธเจ้าบัญญัติพระวินัยเพื่อป้องกันไม่ให้ภิกษุอวดอุตริฯ เพื่อหวังลาภสักการะ อันจะเป็นสาเหตุให้ผู้คนเสื่อมศรัทธาหรือไม่เลื่อมใส
http://www.vinaya-mbu.moe.go.th//sec2book1/page111.htm

พระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์
http://www.dhammathai.org/buddha/g73.php

ปล.สรุปแล้วก็คือขึ้นอยู่ที่ "เจตนา" นั่นเองครับ แสดงฤทธิ์เพื่อทำให้คนเกิดศรัทธา หรือ เป็นกุศโลบายเพื่อให้คนทำบุญให้ทานหรือทำความดี กับ แสดงฤทธิ์เพื่อหวังลาภสักการะนั้น แตกต่างกันครับ


ที่มา เว็บพลังจิต โพสต์โดยคุณwiit
ขอบคุณภาพจาก www.bloggang.com
26010  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: อยากทราบความหมายของคำว่า ปุถุชน และ โคตรภู คะ เมื่อ: กันยายน 24, 2011, 11:17:45 am


ปุถุชน

   น. คนที่ยังมีกิเลสหนา, สามัญชน, ผู้ที่มิได้เป็นพระอริยบุคคล. (ป. ปุถุชฺชน; ส. ปฺฤถคฺชน).

โคตรภู

   [โคดตฺระพู] (แบบ) น. บุคคลผู้ตั้งอยู่ในญาณซึ่งเป็นลําดับอริยมรรค, พระสงฆ์ที่ไม่เคร่งครัดในศาสนา มีขนบธรรมเนียมห่างจากธรรมวินัย แต่ยังถือตนว่าเป็นภิกษุสงฆ์อยู่ เรียกว่า โคตรภูสงฆ์. (ส. โคตฺรภู ว่า อ้างแต่เพศ ไม่มีคุณความดีของเพศ).

อ้างอิง พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
ขอบคุณภาพจาก www.dhammathai.org



ปุถุชน คนที่หนาแน่นไปด้วยกิเลส, คนที่ยังมีกิเลสมาก หมายถึงคนธรรมดาทั่วๆ ไป ซึ่งยังไม่เป็นอริยบุคคล หรือพระอริยะ

กัลยาณปุถุชน คนธรรมดาที่มีความประพฤติดี, ปุถุชนผู้มีคุณธรรมสูง

โคตรภู ผู้ตั้งอยู่ในญาณซึ่งเป็นลำดับที่จะถึงอริยมรรค, ผู้อยู่ในหัวต่อระหว่างความเป็นปุถุชนกับความเป็นอริยบุคคล

โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตร
       คือ ปัญญาที่อยู่ในลำดับจะถึงอริยมรรค หรืออยู่ในหัวต่อที่จะข้ามพ้นภาวะปุถุชนขึ้นสู่ภาวะเป็นอริยะ

   
โคตรภูสงฆ์ พระสงฆ์ที่ไม่เคร่งครัด ปฏิบัติเหินห่างธรรมวินัย แต่ยังมีเครื่องหมายเพศ เช่น ผ้าเหลืองเป็นต้น และถือตนว่า ยังเป็นภิกษุสงฆ์อยู่,
       สงฆ์ในระยะหัวต่อจะสิ้นศาสนา



อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://news.dmc.tv,www.kalyanamitra.org
26011  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ทำไมเราต้องตั้งศาลพระภูมิ เจ้าที่ด้วยคะ เมื่อ: กันยายน 24, 2011, 10:52:54 am


ความเป็นมาของพระภูมิชัยมงคลตามคติทางพระพุทธศาสนา

        ตำนานความเป็นมาของพระภูมิไนพระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้าเมื่อยังทรงเป็นพระโพธิ์สัตว์ เสด็จออกบวช และประทับบำเพ็ญญาณสมาบัติใต้ต้นไทรใหญ่ จนตกกลางคืนก็ปรากฎภูมิเทวดาทรงพระนามว่า พระเจ้ากรุงพาลี ซึ่งไม่พอใจที่พระโพธิ์สัตว์มาบำเพ็ญบารมีในถิ่นตนจึงขับไล่ พระโพธิ์สัตว์จึงขอพื้นดินของพระเจ้ากรุงพาลี 3 ก้าวเพื่อใช้บำเพ็ญบารมีต่อไป

        ฝ่ายพระเจ้ากรุงพาลีเห็นว่าเล็กน้อยจึงถวายให้ พระโพธิ์สัตว์ก็ทรงแสดงอิทธิฤทธิ์ก้าว 3 ก้าว ก็กินอาณาบริเวณพื้นที่ของพระเจ้ากรุงพาลีจนหมดสิ้น ทำให้พระเจ้ากรุงพาลีไม่มีที่อาศัยต้องออกไปอยู่นอกเขตมนุษย์ ทำให้ลำบากยากเข็ญจนทนไม่ไหว จึงให้คนใช้ 3 คน( นายจันถี,นายจันทิศและนายจันสพ)

        พระเชิงเรือนไปขอแบ่งที่ดินจากพระโพธิ์สัตว์ พระโพธิ์สัตว์ก็ทรงประทานให้และทรงสั่งสอนให้พระเจ้ากรุงพาลีตั้งมั่นในความสุจริตไม่เบียดเบียนผู้อื่น คอยคุ้มครองมนุษย์และสัตว์โลกตลอดไปและหากกระทำการมงคลใดๆ จะต้องทำพิธีบูชาพระเจ้ากรุงพาลีในฐานะเจ้าของที่ จึงจะประสบความสำเร็จมีความสุข,เจริญรุ่งเรือง


ที่มา http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/ศาลพระภูมิ
ขอบคุณภาพจาก www.panyathai.or.th,www.romphosai.com,http://2.bp.blogspot.com



ขอแนะนำอีกลิงค์ครับ เอาไว้เปรียบกัน
http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/ศาลพระภูมิ

สารบัญ
    1 ประวัติความเป็นมาของพระภูมิชัยมงคล
    2 ความเป็นมาของพระภูมิชัยมงคลตามคติทางพระพุทธศาสนา
    3 ความเป็นมาของพระภูมิตามคติพราหมณ์และคติพุทธ
    4 สถานที่ที่ตั้งศาล
    5 ทิศทางการหันหน้าศาลพระภูมิสู่ทิศมงคล
    6 ทิศต้องห้ามในการตั้งศาลพระภูมิ
    7 วันและฤกษ์ตั้งศาล
    8 เวลาฤกษ์อันเป็นมงคล
    9 วันต้องห้าม
    10 ความสูงของศาล
    11 การปักเสาตั้งศาล
    12 รายการของมงคลใส่หลุม
    13 ผู้ประกอบพิธีกรรมการตั้งศาลพระภูมิ
    14 ส่วนประกอบสำคัญของศาลพระภูมิ
    15 เครื่องประดับตกแต่งก็จะประกอบด้วย
    16 เครื่องสังเวยสำหรับตั้งศาล
    17 เครื่องสังเวยสำหรับตั้งศาลมังสวิรัติ
    18 ผลไม้ที่ห้ามนำถวาย
    19 ส่วนฤกษ์ที่ห้ามยกศาลโดยเด็ดขาด
    20 วิธีบูชาศาลพระภูมิ


26012  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ทำไมเราต้องตั้งศาลพระภูมิ เจ้าที่ด้วยคะ เมื่อ: กันยายน 24, 2011, 10:31:07 am
ปัญหาเรื่อง "ศาลพระภูมิ"
ผู้ถาม..อ.วีระ (ยกทรง) งามขำ
ผู้ตอบ..หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
จาก..หนังสือตอบปัญหาธรรม เล่มที่ ๕ รวบรวมโดย..พระอาจารย์ชัยวัฒน์ อชิโต
   

ความเป็นมาของการตั้งศาลพระภูมิ

    ผู้ถาม : หลวงพ่อครับ เทวดาที่สิงสถิตย์อยู่ที่ศาลพระภูมิ เป็นเทวดาชั้นไหนครับ?

    หลวงพ่อ : ไม่มี..ที่ศาลนี่ไม่มีจริงๆ นะ ศาลเป็นที่สักการะเฉยๆ ใช่ไหม.. แต่วิมานเขามีอยู่ และการยกศาลเป็นการแสดงยอมรับนับถือ จะให้เข้าไปนั่งในศาลพระภูมิต้องทำตัวเล็กซินะ (หัวเราะ) อันนี้เป็นการแสดงการยอมรับนับถือ ยอมรับนับถือซึ่งกันและกันจึงตั้งศาลขึ้น

    เรื่องนี้เคยถามภูมิเทวดาท่าน เมื่อก่อนนี้เคยยกศาลบ่อยๆ สงสัยก็เชิญท่านมา ท่านก็มาจึงถามว่า

    "..ความเป็นมาของการตั้งศาลพระภูมิเป็นมาอย่างไร ท่านบอกว่า จริงๆ มันไม่มีแบบ เดิมทีชาวบ้านยังไม่มีพุทธศาสนา ใช่ไหม.. ก็นับถือเจ้าที่เจ้าทาง เทวดาประจำถิ่นบ้าง.. อะไรบ้าง.. การแสดงความเคารพก็ไม่มีอะไรมาก เอาไม้กระบอกปักเข้าจูดธูปบอก ต่อมาก็คิดว่าเราอาศัยเทวดามาก ก็ควรจะมีอะไรถวายเทวดาบ้าง ก็ทำเป็นศาลเพียงตาขึ้นมา เอาของวางข้างล่าง ก็คิดว่าเทวดานั่งข้างบน

    ต่อมาก็เห็นใจเทวดานั่งตากแดดนั่งตาฝนก็ทำร่มให้ แล้วต่อมาก็ทำเป็นแล้ว แล้วต่อมาก็ทำเป็นตึก เวลานี้เป็นปราสาทนะ สวยงามมาก แสดงว่าพระภูมินี่ร่ำรวยขึ้น คือบ้านสวย อันนี้เป็นภุมิเทวดา แต่ว่าถ้าเป็นศาลสี่เสา หรือ หกเสา เป็น "อากาศเทวดา" นะ

    แต่ถ้าถามว่าในสถานที่ไหน..ควรจะใช้สี่เสาหรือหกเสาก็ต้องดูก่อนว่า ที่นั่นมีอากาศเทวดารักษาหรือเปล่า..เพราะอากาศเทวดาก็เป็นเทวดาชั้นจาตุมหาราช องค์หนึ่งก็คุมพระภูมิหลายสิบองค์ เหมือนกับเจ้าเมืองนะ เจ้าเมืองก็มีคนเดียวใช่ไหม.. นอกนั้นก็มีกำนันผู้ใหญ่บ้านเยอะ นี่ตามที่ถามท่านมานะ ที่พูดนี่ไม่มีตำรานะ เป็นเพียงถามภูมิเทวดาท่าน ตำรามถามนี้ดีเหมือนกันนะ ไม่ต้องเขียน..!



อ้างอิง
http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=905
ขอบคุณภาพจาก www.watthasung.com,http://login.totalweblite.com



หากต้องการรายละเอียดเรื่องศาลพระภูมิ ขอให้คลิกลิงค์นี้ครับ
http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=905

หัวข้อตามสารบัญ มีดังนี้


     - ปัญหาเรื่อง "ศาลพระภูมิ"
       http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=905#1
     - ความเป็นมาของการตั้งศาลพระภูมิ
       http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=905#2
     - การตั้งศาลพระภูมิ
       http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=905#3
     - ตั้งศาลบนดาดฟ้า
       http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=905#4
     - ตั้งศาลพระภูมิเอง
       http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=905#5
     - วันเวลาที่เป็นมงคล
       http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=905#6
     - ตั้งศาลไว้ในบ้าน
       http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=905#7
     - เจ้าที่
       http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=905#8
     - เทวดาต้องการ 4 เสา
       http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=905#9
     - เจ้าที่เจ้าทาง
       http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=905#10
     - ตั้งศาลพระภูมิไว้ในใจ
       http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=905#11
     - ตั้งศาลพระภูมิสองหลัง
       http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=905#12
     - เครื่องบรวงสรวงแบบย่อ
       http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=905#13
     - เครื่องบรวงสรวงสำหรับตั้งศาลพระภูมิ และศาลอากาศเทวดา
       http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=905#14
     - ผู้ที่บนแล้วจำไม่ได้
       http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=905#15
     - แก้บนท้าวมหาราช
       http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=905#16
     - การบนหลวงพ่อ ๕ พระองค์ที่วัดท่าซุง
       http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=905#17
26013  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ทำไมพระพุทธเจ้า จึงห้ามอวดอุตริมนุษยธรรม เมื่อ: กันยายน 24, 2011, 09:55:32 am



ทำไมพระพุทธเจ้า จึงห้ามอวดอุตริมนุษยธรรม

เหตุและผลของการอวดอุตริมนุษยธรรม

บทบัญญัติซึ่งแสดงถึงเจตนารมณ์ที่มุ่งเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ให้ความสำคัญแก่สงฆ์ ได้แก่ พุทธบัญญติไม่ให้ภิกษุอวดอุตริมนุษยธรรม


คือ คุณวิเศษหรือการบรรลุธรรมอย่างสูงที่เกินปกติของมนุษย์สามัญ เช่น สมาธิ ฌาน สมาบัติ มรรคผล ถ้าอวดโดยที่ตนไม่มีคุณวิเศษนั้นจริง คือ หลอกเค้าย่อมต้องอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นภิกษุ

แต่ถึงแม้ว่าจะได้ บรรลุคุณวิเศษนั้นจริง ถ้าพูดอวดหรือบอกเล่าแก่ชาวบ้าน หรือผู้อื่นใดที่มิใช่ภิกษุ หรือภิกษุนี ก็ไม่พ้นเป็นความผิดเพียงแต่เบาลงมา เป็นอาบัติชาจิตตีต์

ต้นเหตุที่จะให้มีพุทธบัญญัตินี้เกิดจากในคราวทุพภิกขภัย ภิกษุพวกนี้คิดหาอุบาย ให้พวกตนมีอาหารฉันโดยไม่ลำบาก กล่าวสรรเสริญกัน ให้ชาวบ้านฟังทั้งจริงและไม่จริงบ้าง ชาวบ้านเลื่อมใสพากันบำรุงเลี้ยงภิกษุกลุ่มนั้น พระพุทธเจ้าทรงทราบจึงทรงบัญญัติสิกขาบทขึ้น

ห้ามติเตียนว่าไม่สมควรอวดอ้าง คุณความดีพิเศษกัน เพราะเห็นแก่ท้องและสำหรับผู้ที่อวดอ้างโดยไม่เป็นจริง ทรงติเตียนอย่างรุนแรงว่า เป็นมหาโจรที่เลวร้ายที่สุดในโลก เพราะบริโภคอาหารของชาวบ้านชาวเมือง โดยฐานบริโภค


พุทธบัญญัติอีกข้อหนึ่ง ในจำพวก ห้ามอวดอุตริมนุษยธรรม คือ สิกขาบทที่มีให้ภิกษุแสดงอิทธิปาฏิหาริย์แก่ชาวบ้าน ภิกษุใดแสดงภิกษุนั้นมีความผิด ต้องอาบัติทุกกฎ


ต้นเหตุเกิดจากเศรษฐีท่านเอาบาตรไม้จันทร์แขวนไว้ที่ปลายไม้ไผ่ แล้วประกาศท้าพิสูจน์ว่า ใครเป็นพระอรหันต์ มีฤทธิ์จริงก็ขอถวายบาตรนั้นแต่ให้เหาะไปเอาลงมาพระปิณโฑลภารัทวาชะได้ยินคำ ท้า ต้องการจะรักษาเกียรติของพระศาสนา จึงเหาะขึ้นไปเอาบาตรลงมา พระพุทธเจ้าทรงทราบจึงทรงบัญญัติสิกขาบทห้าม โดยตำหนิว่า ไม่สมควรแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ซึ่งเป็นธรรม ล้ำสามัญมนุษย์

เพราะเห็นแก่บาตรที่มีค่าต่ำ ทรงเปรียบการทำเช่นนั้นว่าเป็นเหมือนสตรี ที่เผยอวัยวะพึงสงวนให้เขาดูเพราะเห็นแก่เงินทองของต่ำทราม

เจตนารมที่คำนึงถึงสงฆ์ เพื่อการดำรงพระศาสนาตามหลักการของพระพุทธศาสนา การดำรงอยู่แห่งธรรมวินัย เพื่อประโยชน์สุขของชาวโลกนั้น ขึ้นอยู่กับสงฆ์เป็นส่วนรวม การที่จะสืบต่อพระศาสนา หรือรักษาธรรมวินัย จึงต้องทำให้สงฆ์คงอยู่ยั่งยืน



การอวดคุณพิเศษของภิกษุ ย่อมทำให้ประชาชนรวมจุดความสนใจไปที่ภิกษุนั้นแล้วหันไปทุ่มเทความอุปถัมถ์ บำรุงให้ในเวลาเดียวกัน สงฆ์จะด้อยความสำคัญลงภิกษุ ส่วนใหญ่ไม่ได้รับความเอาใจใส่ และพระสงฆ์ส่วนรวมก็จะอ่อนกำลังลง การยืนยันความตรัสรู้ เป็นหน้าที่ของพระศาสดา

การอวดหรือบอกกล่าวอุตริมนุษยธรรม คือ คุณวิเศษของตน แก่ชาวบ้าน แม้จะเป็นจริงก็มีผลเสียหาย ที่สำคัญแก่ส่วนรวม ดังนี้

1. ทำให้ชาวบ้านตื่นเต้น ระดมความสนใจ มารวมที่บุคคลทั่วไป หรือกลุ่มเดียว แทนสนใจสงฆ์ดังได้กล่าวแล้ว และชาวบ้านผู้ไม่รู้ไม่เข้าใจก็จะคิดเปรียบคิดเทียบเกิดความรู้สึก ดูถูกดูแคลนท่านอื่น กลุ่มอื่น อย่างถูกต้องบ้าง


2. เมื่อมีการอวดกันได้ ไม่เฉพาะท่านที่รู้จริงได้ จริงเท่านั้น ที่จะอวดท่านที่สำคัญตนผิด ก็จะอวดแต่ที่ร้ายแรงยิ่งก็คือ เป็นช่องให้ผู้ไม่ละอายทั้งหลาย พากันฉวยโอกาสกันวุ่นวาย ชาวบ้านซึ่งไม่ได้รู้ไม่ได้มีประสบการณ์เอง ก็แยกไม่ถูกว่าอย่างไหนจริงอย่างไหนเท็จ

3. ชาวบ้านระดับโลกียปุถุชน ทั้งหลายมีความพอใจนิยมชมชอบต่างๆกัน ตื่นเต้นในต่างสิ่งต่างระดับกัน และผู้ที่บรรลุธรรมวิเศษ ก็มีบุคลิกลักษณะ คุณสมบัติและความสามารถด้านอื่นๆต่างๆ กันไป มิใช่จะมีคุณสมบัติที่พร้อมจะเป็นผู้นำตามรอยบาทพระศาสดาได้เหมือนกัน

4. เมื่อท่านที่บรรลุจริงสอนเก่ง อวดแล้วสอนบ้าง ท่านที่บรรลุจริงสอนไม่เป็น แต่พูดออกมาบ้างท่านที่ไม่รู้จริงสำคัญตนผิด คิดว่าบรรลุแล้วเที่ยวบอกเล่าไว้บ้าง ท่านที่ไม่บรรลุแต่ชอบหลอกพูดลวงเขาไปบ้างต่อไป หลักพระศาสนา ก็จะสับสนป่นเปฟั่นเฟือน ไม่รู้ว่าอันใดแท้อันใดเทียมเพราะหย่อนความรู้ทางปริยัติก็ทำให้หลักธรรม สับสนเสียเอกภาพแห่งคำสอนของพระศาสดา ความจริงนั้นความยืนยันความตรัสรู้ เป็นภารกิจของพระศาสดา ซึ่งเป็นผู้นำในเมื่อจะทำหน้าที่ตั้งพระศาสนา และปกป้องพระศาสนานั้น พร้อมทั้งหมู่สาวก

ส่วนหมู่สาวกภายหลัง เมื่อสมัครเข้ามาก็คือยอมรับคำสอนของพระองค์ ความรับผิดชอบในการ สอน ไม่อยู่ที่อ้างกานบรรลุของตน แต่อยู่ที่สอนให้ตรงกับคำสอน ของพระศาสดา



อ้างอิง
คัดลอกมาจากหนังสือ เหตุและผลของการอวดอุตริมนุษย์ธรรม โดย พระธรรมปิฎก (ป.ว. ปยุต.โต )
http://board.palungjit.com/f8/ทำไมพระพุทธเจ้า-จึงห้ามอวดอุตริมนุษยธรรม-290137.html
ขอบคุณภาพจาก www.rmutphysics.com,www.oknation.net,http://hilight.kapook.com
26014  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ในยุคเรา มีพระที่พิสูจน์ อิทธิฤทธิ์ ด้วยการให้หวยแม่นที่สุด มีหรือไม่ ? เมื่อ: กันยายน 24, 2011, 09:28:21 am


หวย ก.ข. ในสมัย ร.4 สมเด็จโตให้หวย

การเล่นหวยในประเทศไทยเกิดมีมาตั้งแต่สมัยก่อนซึ่งสมัยนั้นเขาเรียกกันว่า หวย ก.ข. ซึ่งหวยจะออกวันละ2ครั้ง คือ เช้า – เย็น เป็นที่นิยมเล่นกันในกรุงเทพฯ

ส่วนโอกาสในการถูกหวยนั้นก็ยังเหมือนกับการเล่นหวยในสมัยปัจจุบันนี้ คือ มีโอกาสถูกกินมากกว่า ผลก็คือเจ้ามือหวยร่ำรวยขึ้น ส่วนคนจนก็จนกว่าเดิม เพราะเล่นหวยจนติด

ตอนเช้าพอถึงเวลาหวยออกเขาก็จะชักรอกที่ใส่เบอร์หวยลงมาดูว่าหวยออกอะไร หวยรอบบ่ายก็เหมือนกัน

ส่วนเรื่องที่มีคนพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง ก็คือ เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านใบ้หวยแม่นมาก โดยท่านมักจะให้เป็นปริศนาต่างๆ เช่น ในตอนจบของการแสดงธรรมเทศนา ท่านก็ใบ้หวยโดยกล่าวตอนจบว่า เอวัง กังสือ บางครั้งก็ เอวัง หุนหัน

คนที่ชอบเล่นหวยก็ตีเป็นหวยไปซะ และก็พูดต่อๆกันไปจนข่าวแพร่สะพัด ถึงขนาดมีคนมาคอยติดตามเฝ้าดูกิจวัตรของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เพื่อนำไปตีเป็นหวยก็มีหลายคน



หลายครั้งที่ท่านเทศน์สอนไม่ให้คนไปหมกมุ่นกับเรื่องหวย เพราะมันเป็นเหตุทำให้ยากจน แต่ท่านก็เมตตาคนจนอยากจะช่วยเหลือ เช่น บางทีท่านเทศน์ไปมือก็ขยับเชือกปอที่คาดเอวไปด้วย คล้ายกับจะบอกว่า วันนี้หวยจะออก ตัว “ป” พวกที่จ้องจะเอาไปตีเป็นหวยก็ไม่พลาด บางทีแม่ค้านำขนมจีนมาถวาย พอแม่ค้าหันหลังกลับท่านก็จะตะโกนบอก 2 จานนะจ๊ะ ซ้ำๆอยู่สองสามครั้ง เหมือนจะบอกว่า หวยจะ ตัว “จ”

ข่าวลือเรื่องท่าเจ้าประคุณสมเด็จใบ้หวยได้อย่างแม่นยำก็ไปพระกรรณของในหลวงรัชกาลที่4 และในปีจุลศักราช 1226 ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯจึงได้รับนิมนต์ให้ไปเทศน์หน้าพระที่นั่ง ต่อหน้าพระพักต์ของในหลวง ร.4

ในหลวงยังทรงหยอกท่านเจ้าประคุณสมเด็จว่า “เขาพากันชมเจ้าคุณว่าเทศน์ดีนักนี่ วันนี้ต้องลองฟังดู” ท่านเจ้าประคุณสมเด็จ ทรงตอบกลับไปว่า “ผู้ที่ไม่มีความรู้ในเหตุผลธรรมครั้นเขาฟังรู้เขาก็ชมว่าดี” รัชกาลที่4ทรงพระสรวล และถามว่า “ได้ยินข่าวว่าเจ้าคุณบอกหวยเขาถูกกันจริงหรือ” สมเด็จโต จึงทูลว่า “ตั้งแต่อาตมาได้อุปสมบทมาไม่เคยออกวาจาว่าหวยจะออก ด กวางเหม้ง ตรงๆเหมือนดังบอกแต่สมเด็จพระบรมบพิตรอย่างวันนี้…”

ปรากฏว่า..วันนั้นหวยออก ด กวางเหม้ง ตรงตามที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จท่านกล่าวไว้ทุกประการ…….


อ้างอิง
http://lotto.tlcthai.com/หวย-ก-ข-ในสมัย-ร-4-สมเด็จโตใ.html
ขอบคุณภาพจาก www.luangputo.com,www.amuletcenter.com


ประชาชนจำนวนมากหลั่งไหลมากราบไหว้ขอเลขเด็ดจากต้นกล้วย”เจ้าแม่ตานี”ปากซอยเพชรเกษม 31/4 หลังให้โชคติดต่อกันหลายงวด ขณะที่รถเริ่มติดขัดอย่างหนักเป็นระยะทางยาวเกือบ 3 กิโลเมตร…

อ้างอิง
http://lotto.tlcthai.com/แห่ขอหวย-ตานี-ปากซอยเพชร.html
ขอบคุณภาพจาก http://lotto.tlcthai.com
26015  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: พอเพียง เมื่อ: กันยายน 23, 2011, 07:43:18 pm

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

     หลายท่านคงเคยได้ยินคำว่า”เศรษฐกิจพอเพียง”จากสื่อต่างๆมาพอสมควร โดยเฉพาะรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้น้อมนำเอาปรัชญานี้เข้าไปเป็นนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ หลายท่านอาจเข้าใจความหมาย แต่ก็มีหลายท่านเช่นกันที่ไม่เข้าใจอย่างท่องแท้ เพื่อให้ทุกท่านมีความเข้าใจที่ตรงกัน และสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง

    จึงขอนำความหมายของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเกิดจากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาให้ทุกท่านได้อ่าน ในครั้งที่ปรัชญานี้ได้ออกเผยแพร่ใหม่ๆ ทรงมีพระประสงค์ที่จะให้พสกนิกรทุกท่านได้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง จึงทรงโปรดให้ข้าราชบริพารจัดทำความหมายโดยย่อ ไม่ให้เกินหน้ากระดาษขนาดA4เผยแพร่ให้ประชาชนทราบโดยทั่วกัน
 
       ต่อไปนี้เป็นความหมายโดยย่อของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
       เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์

       ความพอเพียงหมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลง ทั้งภายนอกและภายใน

      ทั้งนี้ต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ

     โดยมีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญาและความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒธรรม จากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

     
___________________________________   
คัดลอกความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงมาจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
ขอบคุณภาพจาก http://3.bp.blogspot.com
26016  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: สวดแต่ บทพระพุทธคุณ อย่างเดียวเวลาภาวนา ใช่เป็นการฝึกสมาธิ หรือ ไม่คะ เมื่อ: กันยายน 23, 2011, 07:27:30 pm

  ในกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ มีการสัมปยุตธรรมลงศูนย์นาภี ก่อนการเดินจิตตามฐานต่างๆ
  โดยกล่าวบทสรรเสริญพทธคุณดังนี้

          อิติปิโส ภควา อรหํ สมฺมาสมฺพุทโธ วิชชาจะระณะสมฺปนฺโน สุคโต โลกวิทู
          อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวะมนุสสานํ พุทโธ ภควาติ ฯ
          สมฺมาอรหํ     สมฺมาอรหํ     สมฺมาอรหํ
          อรหํ      อรหํ     อรหํ

         (กล่าวในใจ ๓ เที่ยว)

   บางครั้งผมจิตใจว้าวุ่น ก็อาศัยการสัมปยุตธรรมลงศูนย์นาภีเป็นวิหารธรรม

   ส่วนการดูลมหายใจ หลายครั้งที่จิตผมค่อนข้างจะว่าง มีนิวรณ์น้อย

   และมีสมาธิระดับหนึ่ง(ไม่ได้ตั้งใจจะทำสมาธิ) ผมจะรู้สึกถึงลมหายใจ ได้ชัดมาก



   ถ้าจะให้บอกว่า อย่างไหนดีกว่า ผมบอกไม่ได้   ที่จะบอกได้อย่างหนึ่งก็คือ

   การรู้สึกถึงลมหายใจได้ จิตต้องว่างระดับหนึ่ง คือ รู้สึกสบายใจก่อน การรู้ลมจึงตามมา

   ส่วนการสัมปยุตธรรมลงศูนย์นาภีนั้น เกิดจากจิตไม่ว่างมีนิวรณ์เข้าแทรก จึงต้องทำการสัมปยุต

   อันนี้เป็นจริิตส่วนตัวผมนะครับ อย่านำไปเป็นบรรทัดฐาน

    :25:
26017  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: เป็นพระ ต้องอยู่วัด เสมอไปหรือไม่ครับ เมื่อ: กันยายน 23, 2011, 07:02:24 pm
 

เป็นพระแต่ไม่อยู่วัด

ถาม : เอ๊ะ..! ท่านครับ ทำไมมานอนที่นี่ได้..ไม่ผิดหรือครับ?

ตอบ : "ไม่ได้นอนกับผู้หญิงนี่หว่า..! ตูนอนคนเดียว"


ถาม : แต่ที่นี่ไม่ใช่วัด ไม่ใช่...?

ตอบ : พระเขาไม่ได้บังคับว่าให้ต้องอยู่วัด เขาใช้คำว่าให้อยู่ในที่สงัด

ที่สงัดนั้นจำเป็นสำหรับการปฏิบัติขั้นแรก พอเลยจากนั้นไป ถ้ากำลังใจทรงตัว อยู่ที่ไหนก็ได้ทั้งนั้น


ถาม : ไม่มีบทบัญญัติเลยว่าต้องเป็นวัดเท่านั้น?

ตอบ : ท่านบอกว่าอยู่ที่ไหนก็ได้ จะอยู่ในป่าช้า อยู่ในป่าชัฏ อยู่ในบ้านร้าง อยู่ในเรือนว่าง อยู่ในกองเกวียน

กองเกวียนนี่ยุ่งกว่านี้อีกเยอะ เพราะสมัยก่อนเขาเดินทางกัน บางครั้งครึ่งค่อนปี ไปกับกองเกวียน เขาให้จำพรรษาในกองเกวียนได้


คราวนี้ก็มีการว่ากำหนดเขตติจีวรวิปปวาส คือ เขตที่ภิกษุจะอยู่ได้โดยปราศจากไตรจีวรได้

การกำหนดเขตจะอยู่ประเภทที่เรียกว่าผ่อนผันมาก คือให้สุดระยะของกองเกวียน แล้วคิดดูว่าถ้าเกวียนสักร้อยเล่ม..? แต่ว่านี่เป็นพุทธบัญญัติพระองค์ท่านผ่อนผันให้จริงๆ ว่า คนที่มีความจำเป็นต้องไปกับกองเกวียนขนาดนั้น ต้องได้รับความลำบากเรื่องอื่นพอแล้ว

เพราะฉะนั้น เรื่องไตรจีวรก็เลยผ่อนผันให้ว่า เขตอยู่ปราศจากไตรจีวร ให้สุดระยะของกองเกวียน ไม่อย่างนั้น ถ้าเขาเกิดจอดเกวียนลงแล้ว ตัวเองอยู่ท้ายกองเกวียน แล้วจะต้องเดินไปฉันข้างหน้า ต้องแบกของทุกอย่างไปด้วยก็แย่เหมือนกันใช่ไหม? พระองค์ท่านจึงอนุญาตให้



สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือมิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๔๔
ที่มา : http://www.watthakhanun.com/webboard...ead.php?t=2097
ขอบคุณภาพจาก www.thaigoodview.com


   ปัญหานี้ขอนิมนต์พระคุณเจ้าทุกท่าน ตอบด้วยครับ เรื่องนี้เป็นวินัยของพระ ผมไ่ม่สันทัด
   นอกจากการจำพรรษาสามเดือนแล้ว พระไปอยู่ที่ไหนได้บ้าง นิมนต์อธิบายด้วยครับ

    :25:
26018  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: มีผู้กล่าวว่า รอยพระพุทธบาท ที่อยู่ในประเทศไทย นั้นเป็นรอยที่สร้างมาทั้งหมด เมื่อ: กันยายน 23, 2011, 03:38:51 pm
 
คุณดรุณีและเพื่อนๆทุกท่าน ผมได้เสนอบทความต่างๆที่เห็นสมควรไ้ด้เพียงเท่านี้
 ท่านใดมีข้อมูลที่ยิ่งกว่า ในทางสนับสนุนความเชื่อนี้ ขอให้นำเสนอด้วยครับ


ขอแนะนำให้ไปอ่านเรื่องนี้ สำคัญมาก
 "การกราบไหว้ บูชา รอยพระพุทธบาทมีอานิสงค์อะไรครับ"

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3176.0
  :welcome: :49: :25: ;)
26019  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: มีผู้กล่าวว่า รอยพระพุทธบาท ที่อยู่ในประเทศไทย นั้นเป็นรอยที่สร้างมาทั้งหมด เมื่อ: กันยายน 23, 2011, 03:23:12 pm


หลวงพ่อปานไหว้พระพุทธบาท

วันนี้วันที่ 29 พ.ย. 2514 วันนี้ฉันไม่ได้นอนฝัน คงไม่เสียเวลาเล่าเรื่องของหลวงพ่อปานตามที่ลูกหลานอยากรู้เรื่อง มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า อย่ามัวเล่นสำนวนกันเลย ฉันเป็นคนแก่ใจร้อน ด้วยทราบว่าเวลาตายใกล้เข้ามาเต็มที มีอะไรพอระบายได้ก็จะรีบระบาย ที่เกินวิสัยจะพูด เพราะถ้าพูดไปลูกหลานจะลงนรก ก็จะงดไม่พูด เพื่อความสุขของลูกหลาน

เมื่อหลวงพ่อปานและคณะของท่านมีใครบ้าง ไม่บอกให้ทราบ เพราะเรื่องข้างหน้าหนัก คนที่ร่วมทางยังไม่ตายก็มี จะสร้างความหนักใจให้ท่าน เมื่ออำลาคณะท่านสาธุชนผู้ทรงความดีมีเมตตาแด่พระสงฆ์จริง ๆ ไม่ใช่พระสงฆ์ที่ธุดงค์ปลอม แล้วท่านก็มุ่งเข้าเขตพระ พุทธบาท ทางของพระธุดงค์ที่ผ่านเข้าพระพุทธบาทสมัยนั้นไม่มีทางรถ ใช้ทางเกวียนหรือทางเดินเท้าของชาวบ้าน เรื่องทางของดเพราะไม่มีความสำคัญ

เมื่อเข้าพระพุทธบาทแล้วต่างก็นมัสการตามปกติของนักบุญ เวลาที่เข้านมัสการไม่ตรงกับเทศกาลนมัสการพระพุทธบาท ทั้งนี้หลวงพ่อท่านให้ความเห็นว่า การมานมัสการในงานเทศกาลคนแย่งกันไหว้ อารมณ์ตั้งมั่นน้อย มาไหว้แบบนี้เงียบสงัด อารมณ์เยือกเย็น มีปีติโสมนัสดีกว่าไหว้ในงานเทศกาลมาก

เมื่อเวลายังไม่ใกล้ค่ำเหลือเวลามาก ท่านก็คุยเรื่องพระพุทธบาทให้คณะที่ร่วมทางไปด้วยฟัง ท่านว่าประวัติที่เขาเขียนจะเขียนว่าอย่างไรอย่าคำนึงถึง ทุกองค์จงใช้หลักวิชชา 3 ใช้ให้เป็นประโยชน์ คำว่าวิชา 3 หมายถึงอภิญญาเล็ก คือมีทิพยจักษุญาณและปุเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ

..............................................

ตามที่พูดมานี้เพียง 2 ในวิชชา 3 เท่านั้น ส่วนอีกข้อหนึ่งคือ อาสวักขยญาณ การทำกิเลสให้สิ้นไป ยังไม่ใช้ในเวลานี้ หมายถึงเวลาที่ท่านไปธุดงค์กัน เข้าใจว่าขณะไปธุดงค์ยังคงไม่มีใครบรรลุอรหันต์ แต่คณะที่ร่วมทางคงทรงญาณตามที่กล่าวมาแล้วคล่องตัวทุกองค์


เมื่อท่านบอกว่าทุกองค์จงอย่าอาศัยประวัติ เพราะคนเขียนประวัติเอาแน่นักไม่ได้ เพราะเขียนตามความคิดว่าอาจจะเป็นตามนั้นก็ได้ ให้ใช้ญาณที่มีตามลำดับ อารมณ์จะได้ไม่เกาะอุปาทาน ท่านให้เวลาคนละ 3 นาที แล้วต่างคนต่างให้เขียนตอบท่านว่ามีอะไรสำคัญ

ท่านทำแบบนี้เป็นการซักซ้อมคณะของท่านให้คล่องในการใช้ญาณ ทุกองค์เมื่อรับบัญชาไม่มีใครกล้าหลับตาด้วยเขาคล่องทั้งลืมตาและหลับตา ลืมตาดูเหมือนจะคล่องกว่าหลับตาเสียอีก ต่างก็หยิบกระดานที่ติดตัวไปออกมาเขียนตรงกัน

       ที่นี่มีความสำคัญทางพุทธศาสนาจริง
       นอกจากมีรอยพระพุทธบาทที่ไม่ปลอม ซ่อนอยู่ใต้รอยพระพุทธบาท เทียมที่ท่านสร้างคลุมของเก่าไว้แล้ว
       ยังมีพระบรมสารีริกธาตุที่พระอรหันต์ท่านนำมาบรรจุไว้อีก 3 องค์


เมื่อทุกองค์ส่งหนังสือถวายท่าน ๆ อ่านแล้วก็ยิ้ม กล่าวว่า พวกเธอพอใช้ได้ แต่ยังไม่ดีแท้ เอาเท่านี้พอคุ้มตัวได้ คืนนี้มาพิสูจน์ความจริงกัน ที่พวกเธอว่ามีพระบรมสารีริกธาตุ พระบรมธาตุมีที่ไหนต้องมีปาฏิหาริย์ที่นั่น เอาล่ะซี ท่านเกิดจะซ้อมความสามารถของญาณด้วยการพิสูจน์ปาฏิหาริย์


อ้างอิง
หนังสือ ประวัติหลวงพ่อปาน โสนันโท
โดย พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=6&t=38701&sid=4b9092bcd8e10705bf179d1d06148e9c&start=1
ขอบคุณภาพจาก www.dhammajak.net
26020  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: มีผู้กล่าวว่า รอยพระพุทธบาท ที่อยู่ในประเทศไทย นั้นเป็นรอยที่สร้างมาทั้งหมด เมื่อ: กันยายน 23, 2011, 02:50:00 pm
อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สฬายตนวรรค

ปุณโณวาทสูตร

๓. อรรถกถาปุณโณวาทสูตร 
   

(คัดมาเพียงบางส่วน)
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปถึงหมู่บ้านพ่อค้าพร้อมกับภิกษุ ๕๐๐ รูป ที่อยู่ในเรือนยอด ทรงทำให้ใครๆ มองไม่เห็นเรือนยอดแล้วเสด็จไปสู่หมู่บ้านพ่อค้า. พวกพ่อค้าได้ถวายทานใหญ่แก่หมู่ภิกษุซึ่งมีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประมุข แล้วทูลอาราธนาพระศาสดาเสด็จไปยังมกุฬการาม. พระศาสดาทรงเข้าสู่โรงปะรำ.

มหาชนรอเวลาจนพระศาสดาดับความกระวนกระวายเกี่ยวกับพระอาหาร ให้สงบต่างรับประทานอาหารมื้อเช้าเสร็จแล้วสมาทานองค์อุโบสถ์ถือของหอม และดอกไม้เป็นอันมากกลับมาวัดเพื่อต้องการฟังธรรม. พระศาสดาทรงแสดงธรรม. การหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องผูกเกิดแก่มหาชนแล้ว. ความโกลาหลเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ขนานใหญ่ได้มีแล้ว.

               เพื่อสงเคราะห์มหาชน พระศาสดาประทับ ๒-๓ วันในที่นั้นเอง. และก็ทรงยังอรุณให้ตั้งขึ้นในพระมหาคันธกุฏีนั่นแหละ. เมื่อประทับในที่นั้น ๒-๓ วันแล้วก็เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในหมู่บ้านพ่อค้าแล้วตรัสสั่งให้พระปุณณเถระกลับว่า เธอจงอยู่ในที่นี้แหละ ในระหว่างทางมีแม่น้ำชื่อ นิมมทา ได้เสด็จไปถึงฝั่งของแม่น้ำนั้น. นิมมทานาคราชถวายการต้อนรับพระศาสดาทูลเสด็จเข้าสู่ภพนาคได้กระทำสักการะพระรัตนตรัยแล้ว.



         พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่นาคราชนั้นแล้ว ก็เสด็จออกจากภพนาค.
         นาคราชนั้นกราบทูลขอว่าได้โปรดประทานสิ่งที่พึงบำเรอแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
         พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงบทเจดีย์ รอยพระบาท ไว้ที่ฝั่งแม่น้ำนิมมทา.
         รอยพระบาทนั้น เมื่อคลื่นซัดมาก็ถูกปิด เมื่อคลื่นเลยไปแล้วก็ถูกเปิด.
         กลายเป็นรอยพระบาทที่ถึงสักการะอย่างใหญ่.


เมื่อพระศาสดาทรงออกจากนั้นแล้วก็เสด็จถึงภูเขาสัจจพันธ์ ตรัสกับพระสัจจพันธ์ว่า มหาชนถูกเธอทำให้จมลงในทางอบาย เธอต้องอยู่ในที่นี้แหละ แก้ลัทธิของพวกคนเหล่านี้เสีย แล้วให้พวกเขาดำรงอยู่ในทางพระนิพพาน.



          แม้ท่านพระสัจจพันธ์นั้น ก็ทูลขอสิ่งที่จะต้องบำรุง.
          พระศาสดาก็ทรงแสดงรอยพระบาทไว้บนหลังแผ่นหินทึบ
          เหมือนประทับตราไว้บนก้อนดินเหนียวสดๆ ฉะนั้น.


ต่อจากนั้นก็เสด็จไปถึงพระเชตวันทีเดียว. ท่านหมายเอาข้อความนี้จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ด้วยภายในพรรษานั้นเองดังนี้.



อ่านเรื่องนี้เต็มๆ(อรรถกถา)ได้ที่
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=754
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=9641&Z=9745
ขอบคุณภาพจาก http://gallery.palungjit.com,www.siamfreestyle.com
ลิงค์แนะนำ
การกราบไหว้ บูชา รอยพระพุทธบาทมีอานิสงค์อะไรครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3176.0
26021  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: มีผู้กล่าวว่า รอยพระพุทธบาท ที่อยู่ในประเทศไทย นั้นเป็นรอยที่สร้างมาทั้งหมด เมื่อ: กันยายน 23, 2011, 02:32:51 pm
รอยพระพุทธบาท ๕ แห่ง

แต่ก่อนที่ถึงเรื่องราวทั้งหลายต่อไป จะขอ ย้อนกล่าวถึงรอยพระพุทธบาททั้ง ๕ แห่งเสีย ก่อน ความจริงรอยพระพุทธบาทในประเทศไทย ยังมีอีกมาก แต่เท่าที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกจนเป็น ที่ยอมรับของท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายนั้น มีปรากฏอยู่ในพระบาลีดังนี้ คือ :-

๑. สุวรรณมาลิก (ลังกา) หาภาพไม่ได้

๒. สุวรรณบรรพต อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี

๓. สุมนกูฏ(ลังกา) หาภาพไม่ได้

๔. โยนกปุระ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

๕. นัมทานที เกาะแก้วพิสดาร จ.ภูเก็ต


ข้อความในวงเล็บนั้น ผู้เขียนลงเอาไว้เพื่อความเข้าใจตามที่ได้ค้นคว้ามา ซึ่งจะหาอ่านรายละเอียดได้จากหนังสือ “ธัมมวิโมกข์” ฉบับ ที่ ๑๕๖, ๑๖๓, ๑๖๔ (ปี ๒๕๓๗) ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะรอยพระพุทธบาทที่ ๕ “นัมทานที” ซึ่งได้ยืนยันไว้เป็นหลักฐานจากหนังสือ “พุทธสาสนสุวัณณภูมิปกรณ์”อ่านคำจารึกโดย พระราชกวี (อ่ำ ธมฺมทตฺโต) วัดโสมนัสราชวรวิหาร กรุงเทพฯ มีใจความตามสำนวนสมัยเมื่อสอง พันห้าร้อยกว่าปีมานี้เองว่า

“บุญมุนี อยู่ถ้ำฤษี ผู้นำพุทธ สู่เกาะ คนชาวน้ำ หมู่คนน้ำ เกาะแก้ว เข้ากราบไหว้ ห้อมล้อม พุทธสอนมาก หมู่คนขอรอยตีนไว้ ชายทเล พุทธเหยียบดิน ทำให้ใหญ่กว่า ๓ เท่า เมื่อวันขึ้น ๑๓ ค่ำ เดือนอ้าย พุทธพัสสา ๒๒...”
ถ้าใช้สำนวนในปัจจุบันอ่านได้ดังนี้

“พระปุณณะ อยู่ถ้ำฤษี (เขางู จ.ราชบุรี) ผู้นำพระพุทธเจ้า สู่เกาะคนชาวน้ำ (ชาวเล) หมู่คนน้ำ เกาะแก้ว เข้ากราบไหว้ ห้อมล้อม พระพุทธเจ้าสอนมาก หมู่คนขอรอยพระบาท ไว้ที่ชายทะเล...”
ท่านเจ้าคุณพระราชกวี ได้วินิจฉัยเรื่องนี้ ไว้อีกว่า

“เท่าที่ปรากฏรอยตีนพุทธนี้ ย่อมทรงแสดงให้เห็นหลักฐาน พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระองค์ว่า ได้เสด็จตั้งแต่ใต้สุดถึงเหนือสุดของ ดินแดน “สุวัณณภูมิ” จึงเสด็จเพื่อทรงเหยียบ แสดงรอยพระบาทเป็นประจักษ์พยานไว้
     สัจจพันธ์คีรี (จังหวัดสระบุรี)
     และที่ เกาะแก้ว(เกาะแก้วพิสดาร?,ภูเก็ต) หรือ “นิมมทานที” (ไทยว่า..นัมมะทา)
ซึ่งเป็นที่เลื่องลือมานาน กระทั่งถึงต่างประเทศคือลังกาและชมพูทวีป เพราะคำใน “อรรถกถา” ยืนยันอยู่


ที่มา
พระพุทธบาทที่ปรากฏในพระไตรปิฏก มีกี่รอยจ๊ะ และมีอยู่ที่ไหนบ้าง
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=181.0
ขอบคุณภาพจาก www.siamfreestyle.com,http://g1.buildboard.com,http://gallery.palungjit.com
26022  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: พระอรหันต์ โวยวาย ใส่อารมณ์ ทำลายข้าวของ มีหรือไม่ ในครั้งพุทธกาล เมื่อ: กันยายน 23, 2011, 12:26:03 pm
วาสนา อาการกายวาจา ที่เป็นลักษณะพิเศษของบุคคล ซึ่งเกิดจากกิเลสบางอย่าง และได้สั่งสมอบรมมาเป็นเวลานานจนเคยชินติดเป็นพื้นประจำตัว แม้จะละกิเลสนั้นได้แล้ว แต่ก็อาจจะละอาการกายวาจาที่เคยชินไม่ได้ เช่น คำพูดติดปาก อาการเดินที่เร็ว หรือเดินต้วมเตี้ยม เป็นต้น

       ท่านขยายความว่า วาสนา ที่เป็นกุศล ก็มี เป็นอกุศล ก็มี เป็นอัพยากฤต คือ เป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ก็มี
       ที่เป็นกุศลกับอัพยากฤตนั้น ไม่ต้องละ


       แต่ที่เป็นอกุศลซึ่งควรจะละนั้น แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ
       ส่วนที่จะเป็นเหตุให้เข้าถึงอบาย

       กับส่วนที่เป็นเหตุให้เกิดอาการแสดงออกทางกายวาจาแปลกๆ ต่างๆ
       ส่วนแรก พระอรหันต์ทุกองค์ละได้
       แต่ส่วนหลัง พระพุทธเจ้าเท่านั้นละได้ พระอรหันต์อื่นละไม่ได้


       จึงมีคำกล่าวว่า พระพุทธเจ้าเท่านั้นละกิเลสทั้งหมดได้ พร้อมทั้งวาสนา;
       ในภาษาไทย คำว่า วาสนา มีความหมายเพี้ยนไป กลายเป็นอำนาจบุญเก่า หรือกุศลที่ทำให้ได้รับลาภยศ


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)



พระปิลินทวัจฉเถระ
เอตทัคคะในทางผู้เป็นที่รักใคร่ของเทพยดา


พระปิลินทวัจฉะ เป็นบุตรของพราหมณ์ ตระกูลวัจฉโคตร เดิมชื่อว่า “ปิลินทะ” แต่
คนทั่วไปมักเรียกว่า “ปิลินทวัจฉะ” ตามชื่อตระกูลของท่านเมื่อเจริญวัยได้รับการศึกษาจบไตร
เพทตามลัทธินิยม


มีปกติเรียกคนอื่นว่า “คนถ่อย”
พระปิลินทวัจฉะ เป็นผู้มีปกติเรียกภิกษุด้วยกัน และคฤหัสถ์ทั้งหลายด้วยถ้อยคำว่า
“วสละ” ซึ่งเป็นคำหยาบ หมายถึง “คนถ่อย” โดยมีเรื่องเล่าดังต่อไปนี้:-

วันหนึ่ง ท่านเข้าไปบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์ เห็นชายคนหนึ่งถือถาดใส่ดีปรีเต็มถาด
กำลังเข้าไปในเมือง ท่านจึงถามว่า

“แนะเจ้าคนถ่อย ในถาดของท่านนั้นถืออะไร ?”
ชายคนนั้นได้ฟังแล้วก็รู้สึกไม่พอใจขึ้นมาทันที จึงตอบไปว่า
“ขี้หนู ครับท่าน”
พระปิลินทวัจฉะ ก็พูดเป็นการรับทราบตามคำของชายคนนั้นว่า
“อ้อ เจ้าคนถ่อย ของนั้นเป็นขี้หนู


ด้วยอำนาจแห่งคุณความเป็นพระอรหันต์ของพระเถระ และคำพูดไม่ดีอันเกิดจากอกุศล
จิตของชายคนนั้น ทำให้ดีปรีในถาดของเขากลายเป็นขี้หนูไปเสียทั้งหมด เขาตกใจมาก เพราะคิด
ขึ้นได้ว่ายังมีดีปรีอยู่ในเกวียนนอกเมืองอีก เมื่อเขากลับไปดูก็พบว่าดีปรีกลายเป็นขี้หนูไปทั้งหมด
จริง ๆ เขาเสียใจเป็นอย่างยิ่งเพราะดีปรีเหล่านั้นเป็นของมีค่ามาก และเขาเตรียมเพื่อจะนำมาขาย
ขณะที่เขาแสดงอาการเสียใจและกำลังโกรธพระเถระอยู่นั้น มีอุบาสกคนหนึ่งเดินผ่านมา สอบ
ถามได้ทราบความแล้วก็เข้าใจเหตุการณ์โดยตลอด จึงแนะนำขึ้นว่า:-

“ดูก่อนสหาย ท่านจงถือถาดขี้หนูนี้ไปยืนรอที่หนทาง ซึ่งพระเถระผ่านมา เมื่อพระเถระ
ผ่านมาเห็นแล้วก็จะถามว่า “แน่เจ้าคนถ่อย ในถาดของท่านนั้นคืออะไร ?”
ท่านก็จงตอบว่า “ดีปรี ครับท่าน”
พระเถระก็จะกล่าวว่า “อ้อ เจ้าคนถ่อย ของนั้นเป็นดีปรี”
อย่างนี้แล้ว ท่านก็จะได้ดีปรีกลับคืนมา
ชายคนนั้นทำตามคำแนะนำของอุบาสก และในที่สุดขี้หนูก็กลับกลายเป็นดีปรีดังเดิม


พระเถระถูกเพื่อภิกษุฟ้องพระพุทธเจ้า
สมัยหนึ่ง เมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ ภิกษุ
ทั้งหลายพากันเข้าเฝ้าแล้วกราบทูลกล่าวโทษพระปิลินทวัจฉเถระว่า:-

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระปิลินทวัจฉเถระ มักเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยคำว่า วสละ พระเจ้าข้า”

พระบรมศาสดา จึงรับสั่งให้พระภิกษุรูปหนึ่งไปเรียกท่านมาแล้วตรัสถามว่า
“ดูก่อนปิลินทวัจฉะ ได้ทราบว่าเธอมักเรียกภิกษุทั้งหลาย ด้วยคำว่า วสละ จริงหรือ ?”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เป็นจริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า”


พระบรมศาสดา ครั้นได้สดับแล้ว จึงตรัสเล่าถึงบุพกรรมในอดีตชาติอันยาวนานของ
ท่านให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า

“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าได้ถือโทษโกรธปิลินทวัจฉะเลย ท่านมิได้มีความโกรธแค้น
ในตัวเธอทั้งหลายเลย แต่ที่ท่านมักเรียกพวกเธอว่า วสละ นั้น เป็นเพราะในอดีตชาติย้อนหลังไป
๕๐๐ ชาติ ท่านก็มักกล่าวอย่างนั้นมาตลอดกาลช้านาน คำนั้นจึงเป็นอุปนิสัยที่ติดตัวท่านมาตั้งแต่
อดีตชาติ”


อ่านรายละเอียดทั้งหมดได้ที่
http://www.84000.org/one/1/41.html
ขอบคุณภาพจากwww.trueplookpanya.com,www.dmc.tv



    พระอรหันต์ระดับสาวก ละวาสนาไม่ได้ ตัวอย่างในสมัยพุทธกาล นอกจาก"พระปิลินทวัจฉเถระ"
ยังมีพระสารีบุตร พระสารีบุตรในอดีตชาติเคยเกิดเป็นลิงมา ๕๐๐ ชาติ อากัปกิริยาของลิงเลยติดมา
พระสารีบุตรชอบที่จะกระโดด พอได้อยู่ในป่าก็แสดงอาการดีใจ(ลิงโลด)


    สาวกของพระพุทธเจ้าเคยนำเรื่องพระสารีบุตรไปฟ้องว่า "พระเถระทำไมแสดงกิริยาอย่างนี้" พระพุทธเจ้าเลยต้องแสดงบุพกรรมในอดีตชาติให้สาวกฟัง

    ขอสรุปว่า "อรหันตสาวก ละวาสนาไม่ได้" มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ละได้

    :welcome: :49: :25: ;)
26023  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: การนินทา จัดเป็นการโกหก ด้วยหรือไม่? เมื่อ: กันยายน 23, 2011, 11:59:49 am
 
      พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า

      "ผู้ไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก"

      "บุรุษผู้ถูกนินทาโดยส่วนเดียว หรือถูกสรรเสริญโดยส่วนเดียวไม่มีแล้ว จักไม่มี และไม่มีในบัดนี้"

     ลิงค์แนะนำ
     "ผู้ถูกนินทา หรือ ถูกสรรเสริญ โดยส่วนเดียวไม่มี"
     http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5178.0
26024  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: อยากทราบความหมายของคำว่า พระ ภิกษุ สงฆ์ ใช้ต่างกันอย่างไร เมื่อ: กันยายน 23, 2011, 11:45:38 am
ผมมักได้ยินคนทั่วไปพูดคำว่า "พระภิกษุสงฆ์" อยู่บ่อยๆ คำนี้น่าจะออกมาจากสื่อต่างๆ

 โดยส่วนตัวผมเห็นว่า คำว่า "พระ" เป็นภาษาทั่วไปที่คนไทยนิยมเรียกแทน "คนโกนผมห่มเหลือง"



ส่วนคำว่า"ภิกษุ" จะเห็นอยู่ในพระไตรปิฎกเป็นส่วนใหญ่ พระพุทธเจ้าใช้คำนี้เรียกสาวกของพระองค์

 และคำนี้มาจากภาษาบาลีคือ "ภิกฺขุ"



อีกคำหนึ่งก็คือ "สงฆ์" คำนี้คนไทยไม่นิยมใช้ คำนี้จะโยงไปถึงคำว่า "สังฆทาน" และแน่นอน

 ต้องกล่าวว่า การถวายสังฆทานต้องมีพระ ๔ รูปเป็นอย่างน้อย คำนี้จึงหมายถึงพระ ๔ รูปขึ้นไป

 ขอคุยเท่านี้นะครับ
:49:
26025  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: การนินทา จัดเป็นการโกหก ด้วยหรือไม่? เมื่อ: กันยายน 22, 2011, 08:48:26 pm
     
กุศลกรรมบถ ทางแห่งกรรมดี, ทางทำดี, ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล,
       กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติมี ๑๐ อย่าง คือ
       ก. กายกรรม ๓ ได้แก่
           ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำลายชีวิต
           ๒. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาของที่เข้ามิได้ให้
           ๓. กาเมสุมิจฉาจาร เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม


       ข. วจีกรรม ๔ ได้แก่
           ๔. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ
           ๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด
           ๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ
           ๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ


       ค. มโนกรรม ๓ ได้แก่
           ๘. อนภิชฌา ไม่โลภคอยจ้องอยากได้ของเขา
           ๙. อพยาบาท ไม่คิดร้ายเบียดเบียนเขา
           ๑๐. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม


ที่มา  พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


นินทา
    น. คําติเตียนลับหลัง.ก. ติเตียนลับหลัง. (ป., ส. นินฺทา ว่า การติเตียน).


ที่มา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒


องค์แห่งการพูดเท็จ

การพูดเท็จต้องประกอบด้วยองค์ 4 คือ
 
          1. เรื่องไม่จริง
 
          2. มีจิตคิดจะพูดให้ผิดไปจากความจริง
 
          3. พยายามที่จะพูดให้ผิดไปจากความจริง
 
          4. คนฟังเข้าใจความที่พูดนั้น



ลักษณะของการพูดเท็จ การพูดเท็จ มี 7 ประการ คือ
 
          - การพูดปด ได้แก่ การโกหก
 
          - การสาบาน ได้แก่ การทำให้ผู้อื่นหลงเชื่อด้วยการสาบาน
 
          - การทำเล่ห์กระเท่ห์ ได้แก่ การอวดอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันไม่เป็นจริง
 
          - มารยา ได้แก่ การแสดงอาการให้เขาเห็นผิดจากที่เป็นจริง
 
          - ทำเลศ ได้แก่ การพูดเล่นสำนวน คลุมเครือ ให้คนฟังเข้าใจผิด
 
          - พูดเสริมความ ได้แก่ การเสริมให้มากกว่าความเป็นจริง
 
          - พูดอำความ ได้แก่ การตัดข้อความที่ไม่ประสงค์จะให้รู้ออกเสีย เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน



การพูดอนุโลมการพูดเท็จ มี 2 ประการ คือ
 
          1. อนุโลมพูดเท็จ คือ เรื่องที่ไม่จริง แต่พูดโดยมีเจตนาให้คนอื่นเชื่อถือ ได้แก่
 
          - เสียดแทง เป็นการว่าผู้อื่นให้เจ็บใจ เช่น การประชด การด่า
 
          - สับปลับ เป็นการพูดปดด้วยความคะนองปาก

 
          2. ปฏิสสวะ คือ การรับคำของผู้อื่นด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์ แต่ภายหลังเกิดกลับใจไม่ทำตามที่รับนั้น ได้แก่
 
          - ผิดสัญญา คือ การที่สองฝ่ายทำสัญญาต่อกัน แต่ภายหลังฝ่ายหนึ่งได้บิดพลิ้ว ไม่ทำตาม ที่สัญญาไว้
 
          - เสียสัตย์ คือ การที่ฝ่ายหนึ่งได้ให้คำสัตย์ไว้ แต่ภายหลังได้บิดพลิ้วไม่ทำตามนั้น
 
          - คืนคำ คือการรับคำว่าจะทำสิ่งนั้นๆ โดยไม่มีข้อแม้ แต่ภายหลังหาได้ทำตามนั้นไม่



ยถาสัญญา คือ การพูดตามโวหารที่ตนเองจำได้ ถือว่าไม่ผิดศีล มี 4 ประการ
 
          1. พูดโวหาร ได้แก่ การพูดหรือเขียนตามธรรมเนียม เช่น ขอแสดงความเคารพอย่างสูง ซึ่งใจจริงอาจไม่เคารพ เลยก็ได้ เช่นนี้ถือว่าไม่ผิดศีล
 
          2. การเล่านิทานหรือนิยายให้ผู้อื่นฟัง หรือแต่งเรื่องขึ้นเพื่อใช้เป็นบทละคร หรือภาพยนตร์
 
          3. การพูดด้วยความเข้าใจผิด
 
          4. การพูดเพราะความพลั้งเผลอ



การพูดเท็จ มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ
 
1. ความเสียหายที่เกิดขึ้นว่ามากน้อยเพียงใด
 
          2. คุณความดีของผู้ที่ถูกละเมิด
 
          3. ผู้พูดนั้นเป็นใคร เช่น

 
          - คฤหัสถ์ที่โกหกว่า "ไม่มี" เพราะไม่อยากให้ของของตน อย่างนี้มีโทษน้อย แต่การเป็นพยาน เท็จมีโทษมาก
 
          - บรรพชิตพูดเล่นมีโทษน้อย แต่การพูดว่าตน "รู้เห็น" ในคุณวิเศษที่ตนไม่รู้ไม่เห็นมีโทษมาก



อ้างอิง

ที่มา http://main.dou.us/view_content.php?s_id=311


    การนินทาเป็นการติเตียนลับหลัง หากเป็นการติเตียนด้วยความสัตย์ ไม่ถือว่าโกหก

    แต่อย่างไรก็ตาม ขอให้พิจารณาองค์ประกอบของการพูดเท็จให้ดีด้วยว่า เข้าข่ายหรือไม่

    หากการติเตียนเข้าข่ายตามองค์ประกอบนั้นก็ถือว่า มุสา

     :25: :25: :25:
26026  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: นั่งสมาธิ แต่ได้ยินเสียงด้านนอก ตลอดเวลา ทำให้ไม่เป็นสมาธิ เมื่อ: กันยายน 22, 2011, 07:05:39 pm
 
เสียงดังก็อย่าฝืนทำสมาธิเลยครับ หาที่สงบที่อื่น หรือไม่ก็รอจนกว่าจะเงียบ

 หรืออีกทางก็คือ เปลี่ยนเวลาไปทำสมาธิเวลาอื่น อันนี้่น่าจะง่ายกว่า

 อย่าไปโกรธคนอื่น ให้ดูจิตตัวเอง อุปกิเลสเกิดที่ใจ ก็ให้จบที่ใจ

 อย่าให้อุปกิเลสล้นออกมาทางวาจา หรือทางกาย

 "มารไม่มีบารมีไม่เกิด"
:49:
26027  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: วิญญาณแสนรู้ เมื่อ: กันยายน 22, 2011, 02:59:27 pm


อำนาจของจิต

จิต หรือ วิญญาณ นี้ นอกจากจะเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ตามที่ทราบแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นประธานในธรรมทั้งปวง คือ การงานต่าง ๆ ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ ไม่ว่าจะเป็นบุญ (กุศลกรรม) หรือเป็นบาป (อกุศลกรรม) จะสำเร็จได้ก็ด้วยจิตทั้งสิ้น ดังในธรรมบทที่แสดงไว้ว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฎฺฐา มโนมยา ซึ่งมีความหมายว่า ธรรมทั้งหลายมีจิตเป็นใหญ่ มีจิตเป็นหัวหน้า สำเร็จได้ด้วยจิต
         
          จิต นี้ แม้จะเป็นนามธรรมที่ไม่มีรูปร่างตัวตน และแสดงความรู้สึก อยู่ภายในเท่านั้นก็จริง แต่ก็มีอำนาจวิเศษอย่างน่าอัศจรรย์ และวิจิตรพิสดารยิ่งนัก กล่าวคือ
         
          ๑. มีอำนาจในการกระทำ ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน ของอวัยวะน้อยใหญ่ในร่างกาย การพูด การเคลื่อนไหว การกระทำต่าง ๆ ตลอดจนการคิดก็เกิดขึ้นด้วยจิตทั้งสิ้น สรรพสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรถ เรือ เครื่องบิน ยานอวกาศ อาวุธยุทโธปกรณ์ อุปกรณ์สื่อสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ สิ่งก่อสร้าง ภาพวาด วิทยาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ ฯลฯ ก็ล้วนมีจิตเป็นผู้คิดขึ้นมาทั้งสิ้น
         
          ๒. มีอำนาจด้วยตนเอง คือ มีอำนาจในการทำบุญ ทำบาป ทำสมาธิถึงขั้นฌานสมาบัติ มีอำนาจในการแสดงอิทธิฤทธิ์ต่าง ๆ (อภิญญา) ตลอดจนมีอำนาจในการทำลายอนุสัยกิเลส ที่เป็นเหตุให้มีการเวียนว่ายตายเกิด อย่างไม่รู้จักจบจักสิ้น

       

          ๓. มีอำนาจในการสั่งสมกรรม เพราะจิตเป็นต้นเหตุ ให้มีการทำบาป ทำบุญ ทำฌาน ทำอภิญญา ทำวิปัสสนากรรมฐาน กรรมทั้งหลายที่ได้กระทำลงไปแล้ว ไม่ว่าจะดีหรือชั่ว จะถูกเก็บบันทึกเอาไว้ด้วยอำนาจของจิต
         
          ๔. มีอำนาจในการรักษาวิบาก (ผลของกรรม) กรรมทั้งหลายที่ได้กระทำลงไปแล้ว ทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล แม้จะนานเท่าไรก็ตาม กี่ภพกี่ชาติก็ตาม ย่อมติดตามส่งผลตลอดไป จนกว่าจะปรินิพพาน
         
          ๕. มีอำนาจในการสั่งสมสันดานของตนเอง การกระทำใด ๆ หากกระทำอยู่บ่อย ๆ กระทำอยู่เสมอ ๆ ก็จะฝังในจิตติดเป็นสันดาน และคิดจะทำเช่นนั้นเรื่อยไป เช่น คบคนพาลก็จะกลายเป็นคนพาล คบบัณฑิตก็จะเป็นบัณฑิต ทั้งนี้ เป็นเพราะอำนาจในการสั่งสมสันดานของจิตนั่นเอง
         
          ๖. มีอำนาจในการรับอารมณ์ต่าง ๆ ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ไม่ว่าจะเป็นอดีตอารมณ์ อนาคตอารมณ์ หรือปัจจุบันอารมณ์ และไม่ว่าจะเป็นบัญญัติอารมณ์ หรือ ปรมัตถอารมณ์ จิตก็สามารถรับได้ทั้งสิ้น
         
          แม้จิตจะเกิดดับอยู่ตลอดเวลาก็ตาม แต่ บาป บุญ ที่ทำไว้ และอนุสัยกิเลสที่นอนเนื่อง อยู่ในขันธสันดาน จะไม่สูญหายไป พร้อมกับการดับของจิตแต่ละดวง ทั้งนี้ เพราะจิตดวงใหม่ มีเหตุมีปัจจัยมาจากจิตดวงเดิม และจิตดวงใหม่ ที่เกิดขึ้นก็เป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้แก่จิตดวงต่อไป เพื่อสืบต่อ บาป บุญ และกิเลสที่สั่งสมไว้ไป จนกว่าจะปรินิพพาน




ที่มา  http://www.buddhism-online.org/Section02A_08.htm
ขอบคุณภาพจาก http://file.siam2web.com,http://book.dou.us,www.bloggang.com
26028  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: วิญญาณแสนรู้ เมื่อ: กันยายน 22, 2011, 12:51:30 pm

ใครต้องการอ่านแบบเว็บเพจ เชิญคลิกตามลิงค์นี้ครับ

 ชีวิตคืออะไร
 http://www.buddhism-online.org/Section02A_01.htm

 รูปนามกับขันธ์๕ สัมพันธ์กันอย่างไร
 http://www.buddhism-online.org/Section02A_02.htm

 จิตคืออะไร
 http://www.buddhism-online.org/Section02A_03.htm
 
 จิตกับอารมณ์
 http://www.buddhism-online.org/Section02A_04.htm

 ลักษณะการทำงานของจิต
 http://www.buddhism-online.org/Section02A_05.htm

 บุญบาปเิกิดขึ้นได้อย่างไร
 http://www.buddhism-online.org/Section02A_06.htm

 ที่เกิดของจิต
 http://www.buddhism-online.org/Section02A_07.htm

 อำนาจของจิต
 http://www.buddhism-online.org/Section02A_08.htm


 อ่านง่ายเข้าใจง่ายครับ ไม่ต้องกลัวภาษาบาลี
  :welcome: :49: :25: ;)
26029  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: วิญญาณแสนรู้ เมื่อ: กันยายน 22, 2011, 12:26:21 pm
   วิญญาณขันธ์ หรือ จิต  คือ ธรรมชาติที่รับรู้สิ่งต่าง ๆ ที่มาปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ อีกทั้งเป็นธรรมชาติที่ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ

          การเกิดขึ้นของจิต (วิญญาณขันธ์) จะเกิดขึ้นโดยไม่มีเจตสิก (เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์) นั้นไม่ได้ ลำพังจิตอย่างเดียว ไม่สามารถรับรู้หรือนึกคิดอะไรได้เลย จิตเปรียบเสมือนนาฬิกา เจตสิกเปรียบเสมือน ชิ้นส่วนและเฟืองจักรต่าง ๆ ที่ทำให้นาฬิกาทำงานได้ จิตและเจตสิก จะแยกจากกันไม่ได้ ต้องเกิดร่วมกันอิงอาศัยกัน จิตแต่ละดวงที่เกิดขึ้น จะต้องมีเจตสิกประกอบปรุงแต่งด้วยเสมอ



จิตคืออะไร

          จิต คือธรรมชาติที่รู้อารมณ์ หรือธรรมชาติที่ทำหน้าที่ เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้สึกต่อการสัมผัสถูกต้องทางกาย และรู้สึกนึกคิดทางใจ จิตนี้ไม่ว่าจะเกิดแก ่สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา หรือพรหมก็ตาม ย่อมมีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ เหมือนกันทั้งสิ้น
         
          จิต เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มองไม่เห็น สัมผัสด้วยกายไม่ได้ ไม่มีรูปร่างสัณฐาน สีสัน วรรณะใด ๆ แต่เป็นธรรมชาติชนิดหนึ่งที่มีอยู่จริงๆ เป็นปรากฏการณ์ของธรรมชาติฝ่ายนามธรรม ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับ ไปอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยเหตุอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ทำให้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปตามกฎของธรรมชาติ
         
          อำนาจของจิตมีอยู่มากมาย เช่น มีอำนาจในการกระทำ การพูด การคิด การสั่งสมกรรมดี กรรมชั่ว นอกจากนี้ยังมีอำนาจในการสร้างฤทธิ์ ทำสมาธิ ทำฌาน ทำอภิญญา และอื่น ๆ ให้เกิดขึ้นได้อย่างมหัศจรรย์
         
          จิต จะเกิดดับอย่างรวดเร็วมาก ชั่วเวลาลัดนิ้วมือเดียว จิตจะมีการเกิดดับถึงแสนโกฏิขณะ คือ ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ ครั้ง (หนึ่งล้านล้านครั้ง) จึงเป็นการยากที่บุคคลจะรู้เท่าทันได้

          ดังนั้น จิต หรือ วิญญาณ จึงหมายถึงสิ่งเดียวกัน นอกจากนี้ จิต ยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น หทัย, ปัญฑระ, มโน, มนัส, มนินทรีย์, มโนธาตุ, มโนวิญญาณธาตุ, วิญญาณขันธ์, มนายตนะ เป็นต้น จึงขอให้เข้าใจว่า แม้จะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม ชื่อเหล่านั้นก็คือ จิต นั่นเอง

อ้างอิง
บทเรียนอภิธรรม เรียบเรียงโดย นายวิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ มูลนิธิเผยแผ่พระสัทธรรม
http://www.buddhism-online.org/Section02A_02.htm
http://www.buddhism-online.org/Section02A_03.htm


   ผมแนบหนังสืออภิธรรม เรื่อง ชีวิตคืออะไร มาให้อ่าน
   คิดว่าคำตอบที่ต้องการ น่าจะอยู่ในเล่มนี้แล้วทั้งหมด
26030  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: อยากทราบความหมายของคำว่า พระ ภิกษุ สงฆ์ ใช้ต่างกันอย่างไร เมื่อ: กันยายน 22, 2011, 12:04:16 pm


พระ
   [พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลงโบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คําพระ พระมาตรัส,

ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ;


พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ;

นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน;

ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง;

ใช้ประกอบหน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง
๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ
๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพเมธี
๔. นักบวช เช่น พระแดง
๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศเจ้านาย เช่น พระรามคําแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา;


บรรดาศักดิ์ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม;

โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก.

 ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.



ที่มา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
ขอบคุณภาพ www.pantip.com



ภิกษุ ชายผู้ได้อุปสมบทแล้ว, ชายที่บวชเป็นพระ, พระผู้ชาย;
       แปลตามรูปศัพท์ว่า “ผู้ขอ” หรือ “ผู้มองเห็นภัยในสังขาร” หรือ “ผู้ทำลายกิเลส”


ภิกษุสงฆ์ หมู่ภิกษุ, หมู่พระ

ภิกษุณี หญิงที่ได้อุปสมบทแล้ว, พระผู้หญิงในพระพุทธศาสนา;
       
ภิกษุณีสงฆ์ หมู่แห่งภิกษุณี, ประดาภิกษุณีทั้งหมดกล่าวโดยส่วนรวมหรือโดยฐานเป็นชุมนุมหนึ่ง, ภิกษุณีตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ประชุมกันเนื่องในกิจพิธี

สงฆ์ หมู่, ชุมนุม
       1. หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า เรียกว่า สาวกสงฆ์ ดังคำสวดในสังฆคุณ ประกอบด้วยคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ เริ่มแต่ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค จนถึงพระอรหันต์ ต่างจาก ภิกขุสงฆ์ คือ หมู่แห่งภิกษุหรือชุมนุมภิกษุ (ดูความหมาย ๒),
           ต่อมา บางทีเรียกอย่างแรกว่า อริยสงฆ์ อย่างหลังว่า สมมติสงฆ์
       2. ชุมนุมภิกษุหมู่หนึ่งตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ซึ่งสามารถประกอบสังฆกรรมได้ตามกำหนดทางพระวินัย ต่างโดยเป็นสงฆ์จตุรวรรคบ้าง ปัญจวรรคบ้าง ทศวรรคบ้าง วีสติวรรคบ้าง


พระสงฆ์ หมู่ชนที่ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย, หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://61.47.2.69/~midnight
26031  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / มหกรรม"สาธุกีฬา" ใครไม่ชอบต้องลง... เมื่อ: กันยายน 22, 2011, 11:39:41 am


มหกรรม"สาธุกีฬา" ใครไม่ชอบต้องลง...

               พระเจ้าอชาตศัตรูได้ทรงสร้างพระสถูปบรรจุพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า และงานมหกรรมในกรุงราชคฤห์.
               ถามว่า ได้ทรงทำอย่างไร?
               ตอบว่า ได้ทรงทำการมหกรรม ตั้งแต่กรุงกุสินาราจนถึงกรุงราชคฤห์ เป็นระยะทาง ๒๕ โยชน์. ในระหว่างนั้น ทรงให้ทำทางกว้าง ๘ อุสภะปราบพื้นเรียบ สั่งให้ทำการบูชาในทางแม้ ๒๕ โยชน์ เช่นที่เหล่าเจ้ามัลละสั่งให้ทำการบูชาระหว่างมกุฏพันธนเจดีย์และสัณฐาคาร ทรงขยายไปในระหว่างตลาดในที่ทุกแห่ง เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก ทรงให้ล้อมพระบรมธาตุที่บรรจุไว้ในรางทองคำด้วยลูกกรงหอก ให้ผู้คนชุมนุมกันเป็นปริมณฑล ๕๐๐ โยชน์ ในแคว้นของพระองค์.


               ผู้คนเหล่านั้นรับพระบรมธาตุ เล่นสาธุกิฬา ออกจากกรุงกุสินารา พบเห็นดอกไม้มีสีดั่งทองคำในที่ใดๆ ก็เก็บดอกไม้เหล่านั้นในที่นั้นๆ บูชาพระบรมธาตุในระหว่างหอก เวลาดอกไม้เหล่านั้นหมดแล้วก็เดินต่อไป เมื่อถึงฐานแอกแห่งรถในคันหลัง ก็พากันเล่นสาธุกีฬาแห่งละ ๗ วันๆ เมื่อผู้คนรับพระบรมธาตุมากันด้วยอาการอย่างนี้ เวลาก็ล่วงไป ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน.


              เหล่ามิจฉาทิฏฐิพากันติเตียนว่า ตั้งแต่พระสมณโคดมปรินิพพาน พวกเราก็วุ่นวายด้วยการเล่นสาธุกีฬา โดยพลการ การงานของพวกเราเสียหายหมด แล้วก็ขุ่นเคืองใจ ไปบังเกิดในอบายประมาณ ๘๖,๐๐๐ คน.


               เหล่าพระขีณาสพระลึกแล้วเห็นว่า มหาชนขุ่นเคืองใจ พากันบังเกิดในอบาย แล้วดำริว่า พวกเราจักให้ท้าวสักกะเทวราชทรงทำอุบายนำพระบรมธาตุมา ดังนี้ จึงพากันไปยังสำนักท้าวสักกะเทวราชนั้น ทูลบอกเรื่องนั้นแล้ว ทูลว่า ท่านมหาราช ขอได้โปรดทรงทำอุบายนำพระบรมธาตุมาเถิด.

               ท้าวสักกะตรัสว่า ท่านเจ้าข้า ขึ้นชื่อว่าปุถุชนที่มีศรัทธาเสมอด้วยพระเจ้าอชาตศัตรูไม่มี พระองค์ไม่ทรงเชื่อเราดอก ก็แต่ว่า ข้าพเจ้าจักแสดงสิ่งที่น่าสะพึงกลัว เสมือนมารที่น่าสะพึงกลัว จักประกาศเสียงดังลั่น จักทำเป็นคนไข้สั่นระรัว เหมือนคนผีเข้า ขอพระคุณเจ้าทูลว่า มหาบพิตร พวกอมนุษย์เขาโกรธเคือง ได้โปรดให้นำพระบรมธาตุไปโดยเร็ว ด้วยอุบายอย่างนี้ ท้าวเธอก็จักทรงให้นำพระบรมธาตุไป.

               ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะก็ได้ทรงทำทุกสิ่งทุกอย่างดังกล่าวนั้น
               ฝ่ายพระเถระทั้งหลายก็เข้าไปเฝ้าพระราชาทูลว่า ถวายพระพร พวกอมนุษย์เขาโกรธเคือง โปรดให้นำพระบรมธาตุไปเถิด.
 
               พระราชาตรัสว่า ท่านเจ้าข้า จิตของโยมยังไม่ยินดีก่อน แต่เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จะให้เขานำพระบรมธาตุไป. ในวันที่ ๗ ผู้คนทั้งหลายก็นำพระบรมธาตุมาถึง. ท้าวเธอทรงรับพระบรมธาตุที่มาด้วยอาการอย่างนั้น ทรงสร้างพระสถูปไว้ ณ กรุงราชคฤห์ และทรงทำมหกรรม แม้เหล่าเจ้าพวกอื่นๆ ก็นำไปตามสมควรแก่กำลังของตนๆ สร้างพระสถูปไว้ ณ สถานของตนๆ แล้วทำมหกรรม.


    โปรดติดตามตอนต่อไป


อ้างอิง
ธาตุถูปปูชาวณฺณนา มหาปรินิพพานสูตร
อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=10&A=1888&Z=3915
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=67&p=5
ขอบคุณภาพจาก www.dhammajak.net,www.thairath.co.th,www.dhamma5minutes.com
26032  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / กำเนิด "สุรา" มาจากคนชื่อ "สุระ" (จิงจิง) เมื่อ: กันยายน 22, 2011, 11:17:33 am

กำเนิด "สุรา" มาจากคนชื่อ "สุระ" (จิงจิง)

              ลำดับนั้น นางวิสาขาถวายบังคมพระศาสดา แล้วกราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำดื่มที่ชื่อว่าสุราอันเป็นเครื่องทำลายหิริโอตตัปปะนี้ เกิดแล้วแต่ครั้งไร พระเจ้าข้า.
               เมื่อพระศาสดาจะตรัสบอกแก่นาง จึงทรงนำอดีตนิทานมาตรัสดังต่อไปนี้


               ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในพระนครพาราณสี มีนายพรานป่าผู้หนึ่งชื่อว่าสุระ เป็นชาวแคว้นกาสี ได้ไปสู่ป่าหิมพานต์เพื่อต้องการแสวงหาสิ่งของ

               ในป่าหิมพานต์นั้น มีต้นไม้ต้นหนึ่งลำต้นตั้งตรง ที่ฐานสูงประมาณชั่วบุรุษหนึ่งได้แตกออกเป็นสามค่าคบ ระหว่างค่าคบ ๓ แห่งของต้นไม้นั้นได้มีโพรงใหญ่ขนาดเท่าตุ่ม เมื่อฝนตกก็เต็มไปด้วยน้ำ ได้มีต้นสมอ มะขามป้อมและเถาพริกไทขึ้นล้อมรอบต้นไม้นั้น ผลแห่งต้นไม้นั้นๆ สุกแล้ว ก็หลุดออกจากขั้วตกลงไปในโพรงนั้น.

               ใกล้ๆ ต้นไม้นั้นมีข้าวสาลีเกิดขึ้นเอง และนกแขกเต้าทั้งหลายมาคาบเอารวงข้าวสาลีจากที่นั้น แล้วก็บินไปจับกินอยู่บนต้นไม้นั้น เมื่อนกแขกเต้าพากันจิกกินอยู่ เมล็ดข้าวเปลือกก็ดี เมล็ดข้าวสารก็ดี หลุดหล่นลงไปในโพรงนั้น น้ำในโพรงนั้นถูกแสงแดดแผดเผาก็เกิดมีรสมีสีแดงๆ ด้วยประการฉะนี้.

               ในฤดูร้อน ฝูงนกทั้งหลายที่ระหายน้ำ บินมากินน้ำนั้นก็มึนเมาพลัดตกลงไปที่โคนต้นไม้ ม่อยไปหน่อยหนึ่งแล้วส่งเสียงคูขันบินไป. ถึงสุนัขป่าและลิงเป็นต้น ก็มีนัยอย่างเดียวกันนี้.

               พรานป่าเห็นดังนั้นก็หลากใจคิดว่า ถ้าน้ำนี้เป็นพิษ สัตว์เหล่านี้คงตาย แต่นี่มันม่อยไปหน่อยหนึ่งแล้วก็บินไปได้ตามสบาย น้ำนี้คงไม่มีพิษ. เขาจึงลองดื่มเอง ก็เกิดมึนเมาและอยากจะกินเนื้อสัตว์ ลำดับนั้นเขาจึงก่อไฟให้โชนขึ้น แล้วฆ่านกที่พลัดตกไปที่โคนไม้ มีนกกระทาและไก่เป็นต้นตาย ย่างเนื้อที่ถ่านเพลิง มือหนึ่งฟ้อนรำมือหนึ่งถือเนื้อกัดกิน อยู่ในที่นั้นวันหนึ่งถึงสองวัน


               ก็ ณ ที่ใกล้บริเวณนั้น มีดาบสรูปหนึ่งชื่อวรุณะ นายพรานป่าเดินไปยังสำนักพระดาบสนั้นโดยธุระอย่างอื่น. เขาได้เกิดความคิดว่า เราจักดื่มน้ำนี้ร่วมกับพระดาบส เขาจึงตักน้ำใส่กระบอกไม้ไผ่อันหนึ่งจนเต็ม หิ้วไปกับเนื้อย่าง ถึงบรรณศาลาแล้วกล่าวชวนว่า ท่านขอรับ จงลองดื่มน้ำนี้ดูเถิด แล้วทั้งสองก็บริโภคเนื้อดื่มน้ำด้วยกัน.

               ด้วยประการฉะนี้ น้ำดื่มนั้นเลยเกิดมีชื่อว่าสุราบ้าง วรุณีบ้าง เพราะนายพรานสุระและพระวรุณดาบสพบเห็นเข้า.

               ฝ่ายสุรพราณกับวรุณดาบส ทั้งสองคนคิดได้ว่า มีอุบายทำมาหากินได้อยู่ จึงตักสุราใส่กระบอกไม้ไผ่จนเต็ม แล้วพากันหาบไปจนถึงปัจจันตนคร ให้คนกราบทูลพระราชาว่า มีคนทำน้ำดื่มมาเฝ้า
               พระราชาจึงตรัสสั่งให้คนทั้งสองเข้าเฝ้า เขาจึงนำน้ำดื่มเข้าไปถวาย พระราชาทรงเสวยได้ สอง-สามครั้งก็ทรงมึนเมา แต่น้ำเมานั้น พอเสวยได้เพียงวันสองวันเท่านั้น



    ต่อมาพระราชาตรัสถามคนทั้งสองว่า น้ำชนิดนี้ มีอยู่ที่อื่นบ้างไหม? เขาพากันกราบทูลว่า ขอเดชะมีอยู่ พระเจ้าข้า พระราชาตรัสถามว่า มีอยู่ที่ไหน? เขาทูลว่า ที่ป่าหิมพานต์ พระเจ้าข้า พระราชาตรัสสั่งว่า ถ้าเช่นนั้นท่านทั้งสองจงไปเอามา

    ชนทั้งสองไปนำเอามาคราวสองคราว แล้วปรึกษากันว่า พวกเราไม่อาจเอามาบ่อยๆ ได้ จึงกำหนดจดจำเครื่องปรุงทั้งปวงไว้ แล้วเอาเปลือกเป็นต้นของต้นไม้นั้น มาใส่ปนลงในเครื่องปรุงทุกอย่าง ปรุงสุราขึ้นในพระนคร



               ชาวพระนครพากันดื่มสุราจนถึงความประมาทมัวเมา เลยยากจนเข็ญใจไปตามๆ กัน พระนครก็ได้เป็นเหมือนเมืองร้าง ด้วยเหตุนั้น คนทำน้ำดื่มทั้งสองจึงหลบหนีออกจากพระนครนั้น ไปยังเมืองพาราณสี ให้กราบทูลพระราชาว่า คนทำน้ำดื่มมาเฝ้า

               พระเจ้าพาราณสีตรัสสั่งให้คนทั้งสองเข้าเฝ้าแล้วพระราชทานเสบียงแก่คนทั้งสอง เขาช่วยกันจัดการปรุงสุราขึ้น แม้ในพระนครพาราณสีนั้น ถึงพระนครนั้นก็พินาศไปเช่นนั้นอีก
               เขาทั้งสองจึงหนีออกจากเมืองนั้นไปเมืองสาเกต หนีออกจากเมืองสาเกตไปยังเมืองสาวัตถี


               ครั้งนั้น พระเจ้าสัพพมิตต์ได้เป็นกษัตริย์พระนครสาวัตถี ท้าวเธอทำการสงเคราะห์แก่คนทั้งสองนั้น แล้วตรัสถามว่า พวกเจ้าต้องการสิ่งใดบ้าง เมื่อเขากราบทูลว่า ต้องการรากไม้สำหรับปรุง แป้งข้าวสาลี และตุ่มห้าร้อยดังนี้ ก็ตรัสสั่งให้ประทานครบทุกอย่าง.

               พรานสุระและวรุณดาบสทั้งสองปรุงสุราใส่ตุ่ม ๕๐๐ ใบตั้งไว้แล้ว ประสงค์จะป้องกัน โดยเกรงว่าหนูจะรบกวน จึงผูกแมวไว้ข้างๆ ตุ่มใบละตัว แมวเหล่านั้นพากันดื่มสุราที่ไหลลงก้นตุ่ม ในเวลาที่ต้มแล้วตักใส่ตุ่ม จนมึนเมาหลับไป พวกหนูมาแทะหูจมูกหนวดและหางแมว แล้วพากันวิ่งหนีไป

               พวกอายุตตกบุรุษ(คนสอดแนม) คิดว่าแมวดื่มสุราพากันตายหมด จึงไปกราบทูลให้พระราชาทรงทราบ พระเจ้าสัพพมิตต์ทรงเห็นว่า ชนทั้งสองนี้จักทำยาพิษ จึงตรัสสั่งให้ตัดศีรษะคนทั้งสองเสีย คนทั้งสองพร่ำทูลขอร้องว่า ขอเดชะ ดื่มสุรามีรสอร่อย พระเจ้าข้า ดังนี้ จนขาดใจตาย

     ครั้นพระราชาตรัสสั่งให้ประหารชีวิตคนทั้งสองแล้ว มีพระราชโองการให้ทำลายตุ่มเสีย ฝ่ายแมวทั้งหลาย เมื่อฤทธิ์สุราสร่างจางไปก็ลุกขึ้นวิ่งเล่นได้ พวกราชบุรุษเห็นดังนั้นจึงกราบทูลให้พระราชาทรงทราบ พระราชาทรงพระดำริว่า
     ถ้าน้ำสุราเป็นพิษ แมวคงตาย ชะรอยจะมีรสอร่อย เราจะลองดื่มดู แล้วตรัสสั่งให้ประดับตกแต่งพระนคร ให้สร้างมณฑปขึ้นที่หน้าพระลาน เสร็จแล้วประทับนั่งบนราชบัลลังก์ ซึ่งยกเศวตฉัตรขึ้นไว้บนมณฑปที่ประดับตบแต่งแล้ว แวดล้อมด้วยหมู่อำมาตย์มุขมนตรี เริ่มจะเสวยสุรา.


โปรดติดตามตอนต่อไป

ตอนที่แล้ว อยู่ที่นี้ครับ
"หญิงเมาเหล้า ตีกัน สร่างเมา บรรลุโสดาบัน"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5177.0



อ้างอิง
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=2292,http://thaitwil.com
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=27&A=9232&Z=9308
ขอบคุณภาพจาก http://media.thaigov.go.th,http://statics.atcloud.com,
26033  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / Re: อนุโมทนา กับผู้บริจาค เน็ตบุ๊ค ให้กับงาน สำันักงานส่งเสริมพระกรรมฐาน เมื่อ: กันยายน 21, 2011, 08:58:30 pm
ขอขอบคุณ ในน้ำใจ ที่มีให้ 

ปันน้ำใจ เสียสละ ได้สุขสม

เพื่อเพาะจิต บ่มใจ กลางกมล

สุขเหลือล้น ได้สั่งสม บุญทานจริง

                           รักหนอ



 :58: :58: :58: :58:



   กลอนบทนี้ น่าจะเป็นครั้งแรก ของคุณรักหนอ ที่โพสต์ในเว็บนี้
   ผมยังจำได้ พี่นีย์ของคุณรักหนอ บอกว่าคุณรักหนอแต่งกลอนไม่เป็น
   อย่างไงก็ ชี้แจงแถลงไขสักนิด
:smiley_confused1:  ???

   อะนุโม ทะนา สาธุแล้ว        จิตผ่องแผ้ว พลอยยินดี มิมีหาย
   กิเลสใด จรมา อย่าได้กราย   ขอสหาย ชื่อกุศล ช่วยคนดี

                                                                              ..ลูกแม่ปลีก
    :08: :) ;) :49: :25:
26034  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ปัตตานุโมทนามัย ทำบุญด้วยการ"ยินดีในความดีของผู้อื่น" เมื่อ: กันยายน 21, 2011, 02:09:21 pm

ปัตตานุโมทนามัย ทำบุญด้วยการ"ยินดีในความดีของผู้อื่น"


การอนุโมทนาในส่วนบุญที่ผู้อื่นแบ่งให้ หรือพลอยยินดีด้วยในส่วนบุญที่ผู้อื่นกระทำ ชื่อว่า “ปัตตานุโมทนา"

การอนุโมทนาบุญที่มีผู้แบ่งให้
    คาถาธรรมบท พราหมณวรรค เรื่องพระโชติกะเถระ แสดงไว้ว่า กฎุมพีสองพี่น้อง ในกรุงพาราณสี ทำไร่อ้อยไว้เป็นอันมาก วันหนึ่งกฎุมพีผู้น้องไปไร่อ้อย ถือเอาอ้อยมาสองลำคิดจะให้พี่ชายด้วย ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็มีจิตเลื่อมใสได้ถวายอ้อยในส่วนของตนลงในบาตร ตั้งความปรารถนาว่า

"ด้วยผลแห่งรส (อ้อย) อันเลิศนี้ ข้าพเจ้าพึงได้เสวยสมบัติในเทวโลก และมนุษยโลก ในที่สุดพึงบรรลุธรรมที่ท่านบรรลุแล้วนั่นแล"

    เมื่อท่านฉันแล้ว เขาจึงได้ถวายอ้อย ส่วนที่สอง อันเป็นส่วนของพี่ชายลงในบาตรอีก ด้วยคิดว่า เราจักให้มูลค่าหรือส่วนบุญแก่พี่ชาย พระปัจเจกพุทธเจ้าอนุโมทนาแล้ว เหาะไปสู่ภูเขาคันธมาทน์ ถวายน้ำอ้อยนั้นแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าอีก ๕๐๐ องค์ที่ภูเขานั้น กฎุมพีผู้น้องเห็นเหตุการณ์นั้นเกิดปีติ กลับไปเล่าให้พี่ชายฟัง ถึงเหตุนั้น

ถามพี่ชายว่า "พี่จักรับเอามูลค่าอ้อยนั้น หรือจักรับเอาส่วนบุญ" พี่ชายมีจิตเลื่อมใส ไม่รับเอามูลค่า ขออนุโมทนาส่วนบุญจากกกฎุมพีผู้น้องด้วยใจโสมนัส ตั้งความปรารถนาว่า "ขอเราพึงได้บรรลุธรรมที่พระปัจเจกพุทธเจ้าเห็นนั้นเถิด"


นี่คือตัวอย่างของการที่มีผู้แบ่งบุญให้ที่ชื่อว่า "ปัตตานุโมทนา"

การพลอยยินดีด้วยในบุญที่ผู้อื่นกระทำ
     ในขุททกนิกาย วิมานวัตถุ ความย่อมีว่า พระอนุรุทธะถามนางเทพธิดาว่า "ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เหมือนดาวประกายพรึก เมื่อท่านฟ้อนอยู่ เสียงอันเป็นทิพย์น่าฟังรื่นรมย์ใจ ย่อมเปล่งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วน ทั้งกลิ่นทิพย์อันหอมหวลก็ฟุ้งออกจากกายทุกส่วน เสียงของเครื่องประดับ ช้องผมที่ถูกรำเพยพัดก็กังวานไพเราะดุจเสียงดนตรี แม้พวงมาลัยบนเศียรเกล้าของท่าน ก็มีกลิ่นหอมชวนเบิกบานใจ หอมฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ดูกร นางเทพธิดา อาตมาขอถามว่า นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร"



นางเทพธิดาตอบว่า "ข้าแต่พระคุณเจ้า นางวิสาขามหาอุบาสิกา ผู้สหายของดิฉัน ที่อยู่ในเมืองสาวัตถี ได้สร้างวิหารถวายสงฆ์ ดิฉันได้เห็นวิหารนั้น มีจิตเลื่อมใสอนุโมทนาพลอยยินดีด้วยในบุญนั้นของนาง ก็วิมานและสมบัติทุกอย่างที่ดิฉันได้แล้วนี้ เพราะการพลอยยินดีโมทนาบุญของสหายนั้น ด้วยจิตอันบริสุทธิ์อย่างเดียวเท่านั้น"

จากพระสูตรนี้จะเห็นได้ว่า เพียงจิตเลื่อมใสอนุโมทนาในบุญที่ผู้อื่นที่ได้กระทำแล้ว ยังให้ผลเห็นปานนี้ แม้ว่าจะยังไม่มีใครบอกบุญให้ก็อนุโมทนาเช่น เห็นคนกำลังใส่บาตร มีจิตยินดีอนุโมทนาด้วยในบุญนั้น ก็นับเป็นบุญที่ชื่อว่า "ปัตตานุโมทนา"



(เอกสารแจก : วัดพระมหาธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช)
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=667
ขอบคุณภาพจาก www.our-teacher.com,www.dhammajak.net,www.madchima.org,www.oknation.net



บุญกิริยาวัตถุ สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ, เรื่องที่จัดเป็นการทำบุญ, ทางทำความดี,
       หมวด ๓ คือ
           ๑. ทานมัย ทำบุญด้วยการให้
           ๒. สีลมัย ทำบุญด้วยการรักษาศีลและประพฤติดี
           ๓. ภาวนามัย ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา ;


       หมวด ๑๐ คือ
         ๑. ทานมัย ทำบุญด้วยการให้
           ๒. สีลมัย ทำบุญด้วยการรักษาศีลและประพฤติดี
           ๓. ภาวนามัย ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา
           ๔. อปจายนมัย ด้วยการประพฤติอ่อนน้อม
           ๕. เวยยาวัจจมัย ด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้
           ๖. ปัตติทานมัย ด้วยการเฉลี่ยส่วนความดีให้ผู้อื่น

            ๗. ปัตตานุโมทนามัย ด้วยความยินดี ความดีของผู้อื่น
           ๘. ธัมมัสสวนมัย ด้วยการฟังธรรม
           ๙. ธัมมเทสนามัย ด้วยการสั่งสอนธรรม
           ๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ ด้วยการทำความเห็นให้ตรง



ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://a8.sphotos.ak.fbcdn.net,http://board.palungjit.com
26035  เรื่องทั่วไป / แจ้งปัญหาการใช้งานบอร์ด / Re: ไม่ได้ยินเสียง วิทยุ RDN 3 วันแล้วคะ เมื่อ: กันยายน 21, 2011, 12:43:13 pm
ไม่ได้ยินเสียง คะ

 หน้าแรก บอกว่า ดีเจไม่อยู่ คะ

  :88: :25:

    ระบบอินเตอร์เน็ทบางส่วน อาจมีปัญหาชั่วขณะ ของผมก็เป็น ต้องกด reflesh/ F5
   
เมื่อสักครู่ ได้ฟัง เหมือนเสียงพระอาจารย์ ออกอากาศสด ใช่หรือไม่ คะ ปกติไม่ค่อยได้ฟังเสียงพระอาจารย์มาตั้งนาน แล้วคะ

   :25: :13:

   ไม่สด...ขอรับ เป็น record
   โดยเทคนิคแล้วจัดสดไม่ได้ เพราะเสียงที่ออกไปจะดีเลย์ ไม่ออนไทม์

    :49:
26036  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ฆราวาสต้องทำอย่างไร "ไม่ให้เสื่อมจากสัทธรรม" เมื่อ: กันยายน 21, 2011, 10:49:00 am



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

หานิสูตร

     [๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่อุบาสก ๗ ประการเป็นไฉน คือ
     อุบาสกขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุ ๑
     ละเลยการฟังธรรม ๑ 
     ไม่ศึกษาในอธิศีล ๑
     ไม่มากด้วยความเลื่อมใสในภิกษุทั้งที่เป็นเถระ ทั้งเป็นผู้ใหม่ ทั้งปานกลาง ๑
     ตั้งจิตติเตียนคอยเพ่งโทษฟังธรรม ๑
     แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑
     ทำสักการะก่อนในเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่อุบาสกดูกร



ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่อุบาสก๗ ประการเป็นไฉน คือ
     อุบาสกไม่ขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุ ๑
     ไม่ละเลยการฟังธรรม ๑
     ศึกษาในอธิศีล ๑
     มากด้วยความเลื่อมใสในภิกษุทั้งที่เป็นเถระ ทั้งเป็นผู้ใหม่ทั้งปานกลาง ๑
     ไม่ตั้งจิตติเตียน ไม่คอยเพ่งโทษฟังธรรม ๑
     ไม่แสวงหาเขตบุญภายนอกศาสนานี้ ๑
     กระทำสักการะก่อนในเขตบุญในศาสนานี้ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แลย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่อุบาสก ฯ

          อุบาสกใดขาดการเยี่ยมเยียนภิกษุผู้อบรมตน ละเลยการฟังอริยธรรม ไม่ศึกษาในอธิศีล มีความไม่เลื่อมใสเจริญยิ่งๆขึ้นไป ในภิกษุทั้งหลาย ตั้งจิตติเตียนปรารถนาฟังสัทธรรม แสวงหาเขตบุญอื่นภายนอกศาสนานี้ และกระทำสักการะก่อนในเขตบุญภายนอกศาสนานี้ อุบาสกนั้นซ่องเสพธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม อันเราแสดงแล้ว ๗ ประการนี้แล ย่อมเสื่อมจากสัทธรรม



          อุบาสกใดไม่ขาดการเยี่ยม เยียนภิกษุผู้อบรมตน ไม่ละเลยการฟังอริยธรรม ศึกษาอยู่ในอธิศีล มีความเลื่อมใสเจริญยิ่งๆ ขึ้นไปในภิกษุทั้งหลายไม่ตั้งจิตติเตียนปรารถนาฟังสัทธรรม ไม่แสวงหาเขตบุญอื่นภายนอกศาสนานี้ และกระทำสักการะก่อนในเขตบุญในศาสนานี้ อุบาสกนั้นซ่องเสพธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม อันเราแสดงดีแล้ว ๗ ประการนี้แล ย่อมไม่เสื่อมจากสัทธรรม ฯ

                          จบสูตรที่ ๙


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  บรรทัดที่ ๖๒๒ - ๖๔๙.  หน้าที่  ๒๗ - ๒๘.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=622&Z=649&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=2
ขอบคุณภาพจาก www.rmutphysics.com
26037  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ความอัศจรรย์ไม่เคยมี ๔ ประการ เมื่อ: กันยายน 21, 2011, 10:26:52 am

อรรถกถา อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ตติยปัณณาสก์ ภยวรรคที่ ๓
๗. อัจฉริยสูตรที่ ๑

               
อรรถกถาปฐมอัจฉริยสูตรที่ ๗
             
               พึงทราบวินิจฉัยในปฐมอัจฉริยสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-
               บทว่า ปาตุภาวา คือ เพราะปรากฏขึ้น.
               ในบทว่า กุจฺฉึ โอกฺกมติ นี้ ความว่า เป็นผู้ลงสู่ครรภ์แล้ว. ความจริง เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นลงแล้ว แสงสว่างก็เป็นอย่างนั้น เมื่อกำลังหยั่งลง แสงสว่างก็เป็นอย่างนั้น.
               บทว่า อปฺปมาโณ ได้แก่ มีประมาณเพิ่มขึ้น คือไพบูลย์กว้างขวาง.
               บทว่า อุฬาโร เป็นไวพจน์ของบทว่า อปฺปมาโณ นั่นเอง.



               ในบทว่า เทวานํ เทวานุภาวํ นี้ ได้แก่ อานุภาพอันหาประมาณมิได้ของเหล่าเทวดา รัศมีของผ้าที่นุ่งแผ่ไปได้ตลอด ๑๒ โยชน์ของสรีระก็อย่างนั้น ของวิมานก็อย่างนั้น. อธิบายว่า ล่วงเทวานุภาพแห่งเทวดานั้น.
               บทว่า โลกนฺตริกา ความว่า ที่ว่างในระหว่างสามจักรวาล จะมีโลกันตริกนรกอยู่แห่งหนึ่ง เหมือนระหว่างล้อเกวียนทั้งสามล้อที่ถึงกันแล้วหรือตั้งจดติดกันและกัน ก็มีที่ว่างตรงกลาง. ก็โลกันตริกนรกนั้น ว่าโดยประมาณได้แปดพันโยชน์.


               บทว่า อฆา คือ เปิดเป็นนิตย์.
               บทว่า อสํวุตา คือ ไม่มีฐานที่ตั้งแม้ภายใต้.
               บทว่า อนฺธการา คือ มืด.
               บทว่า อนฺธการติมิสา ความว่า ประกอบด้วยความมืด ทำให้เป็นเหมือนตาบอดเพราะห้ามการเกิดขึ้นแห่งจักษุวิญญาณ. ได้ยินว่า จักษุวิญญาณไม่เกิดในโลกันตริกนรกนั้น.

               บทว่า เอวํมหิทฺธิกานํ ความว่า ได้ยินว่า ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ปรากฏในทวีปทั้งสาม พร้อมคราวเดียวกัน จึงมีฤทธิ์มากอย่างนี้ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ส่องแสงสว่าง กำจัดมืดได้เก้าแสนโยชน์ ในทิศแต่ละทิศจึงมีอานุภาพมากอย่างนี้.



               บทว่า อาภา นานุโภนฺติ คือ แสงสว่างไม่พอ. ได้ยินว่า ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เหล่านั้น โคจรไปท่ามกลางจักรวาลบรรพต ล่วงเลยจักรวาลบรรพตไปก็เป็นโลกันตริกนรก เพราะฉะนั้น แสงสว่างแห่งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เหล่านั้น จึงส่องไปไม่ถึงในที่นั้น.

               บทว่า เยปิ ตตฺถ สตฺตา ความว่า สัตว์แม้เหล่าใดเกิดแล้วในโลกันตรมหานรกนั้น.
               ถามว่า สัตว์เหล่านั้นทำกรรมอะไร จึงเกิดในโลกันตริกนรกนั้น.
               ตอบว่า สัตว์ผู้ทำกรรมหนัก ทารุณต่อมารดาบิดาและความผิดร้ายแรงต่อสมณพราหมณ์ผู้ทรงธรรม และทำกรรมสาหัสอื่นมีฆ่าสัตว์ทุกๆ วันเป็นต้น จึงไปเกิดดุจอภัยโจรและนาคโจรเป็นต้น ในตามพปัณณิทวี (ลังกา) สัตว์เหล่านั้นมีอัตภาพขนาด ๓ คาวุต มีเล็บยาวเหมือนค้างคาว เอาเล็บเกาะห้อยอยู่ที่เชิงเขาจักรวาล คล้ายค้างคาวเกาะห้อยอยู่ที่ต้นไม้ฉะนั้น

               เมื่อมือเปะปะไปถูกกันและกันเข้า ต่างก็สำคัญว่าเราได้เหยื่อแล้ว ดังนี้ แล่นไล่หมุนไปรอบๆ ก็พลัดตกไปในน้ำรองโลกคล้ายผลมะซาง เมื่อถูกลมประหารอยู่ก็ขาดตกไปในน้ำ พอตกลงไปถึงก็เปื่องย่อยไปในน้ำกรด ราวกะแป้งตกน้ำละลายไปฉะนั้น.



               บทว่า อญฺเญปิ กิร โภ สนฺติ สตฺตา ความว่า สัตว์เหล่านั้นเห็นกันในวันนั้น จึงได้รู้ว่า ได้ยินว่า สัตว์เหล่าอื่นมาเกิดในที่นี้เพื่อเสวยทุกข์นี้ เหมือนเราทั้งหลายเสวยทุกข์ใหญ่อยู่ฉะนั้น. แต่แสงสว่างนี้จะสว่างอยู่แม้เพียงดื่มยาคูอีกหนึ่งก็หามิได้ สว่างอยู่ชั่วเวลาที่สัตว์หลับแล้วตื่นขึ้นอารมณ์แจ่มใสฉะนั้น. ส่วนพระทีฆภาณกาจารย์กล่าวว่า แสงสว่างนั้นส่องเพียงพอสัตว์พูดว่านี้อะไร ก็หายไป คล้ายแสงสว่างฟ้าแลบชั่วลัดนิ้วมือเท่านั้น.

               จบอรรถกถาปฐมอัจฉริยสูตรที่ ๗



อ้างอิง
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=127
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=21&A=3613&Z=3645
26038  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ความอัศจรรย์ไม่เคยมี ๔ ประการ เมื่อ: กันยายน 21, 2011, 10:11:51 am
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

อัจฉริยสูตรที่ ๑

   [๑๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอัศจรรย์ไม่เคยมี ๔ ประการย่อมปรากฏเพราะความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔ ประการเป็นไฉนดูกรภิกษุทั้งหลาย


     เมื่อใดพระโพธิสัตว์จุติจากชั้นดุสิต มีสติสัมปชัญญะ เสด็จลงสู่ครรภ์พระมารดา เมื่อนั้น แสงสว่างอัน
โอฬารหาประมาณมิได้ ย่อมปรากฏในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์
พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย


     แม้ในโลกันตริกนรกอันโล่งโถง ไม่มีอะไรปิดบัง มืดมิดมองไม่เห็นอะไร ซึ่งแสงสว่างแห่งพระจันทร์และพระอาทิตย์ ผู้มีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนั้นส่องไม่ถึง แต่แสงสว่างอันยิ่ง หาประมาณมิได้ ย่อมปรากฏแม้ใน
โลกันตริกนรกนั้น
ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย

     แม้พวกสัตว์ที่เกิดในนรกนั้น ย่อมจำกันและกันได้ด้วยแสงสว่างนั้นว่าท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า แม้สัตว์เหล่าอื่นผู้เกิดในที่นี้ก็มี (ไม่ใช่มีแต่เรา)
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีข้อที่ ๑ ย่อมปรากฏ เพราะความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ฯ



     อีกประการหนึ่ง เมื่อใด พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ ประสูติจากครรภ์พระมารดา ฯลฯ
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีข้อที่ ๒ ย่อมปรากฏ เพราะความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ฯ



    อีกประการหนึ่ง เมื่อใด พระตถาคตตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณฯลฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีข้อที่ ๓ ย่อมปรากฏ เพราะความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ฯ



    อีกประการหนึ่ง เมื่อใด พระตถาคตประกาศอนุตรธรรมจักร เมื่อนั้นแสงสว่างอย่างยิ่งหาประมาณมิได้ ย่อมปรากฏในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลกพรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย
 
    แม้ในโลกันตริกนรกอันโล่งโถง ไม่มีอะไรปิดบัง มืดมิดมองไม่เห็นอะไร ซึ่งแสงสว่างแห่งพระจันทร์และพระอาทิตย์ผู้มีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนั้นส่องไม่ถึง แต่แสงสว่างอย่างยิ่ง หาประมาณมิได้ ย่อมปรากฏแม้ในโลกันตริกนรกนั้น ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย

    แม้พวกสัตว์ที่เกิดในนรกนั้น ย่อมจำกันและกันได้ ด้วยแสงสว่างนั้นว่า ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า แม้สัตว์เหล่าอื่นผู้เกิดในที่นี้ก็มี (ไม่ใช่มีแต่เรา)

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีข้อที่ ๔ ย่อมปรากฏ เพราะความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอัศจรรย์ไม่เคยมี ๔ ประการนี้ ย่อมปรากฏเพราะความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ฯ

             จบสูตรที่ ๗

อ้างอิง                        
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑  บรรทัดที่ ๓๖๑๓ - ๓๖๔๕.  หน้าที่  ๑๕๕ - ๑๕๖.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=3613&Z=3645&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=127
ขอบคุณภาพจาก www.84000.org
26039  เรื่องทั่วไป / แจ้งปัญหาการใช้งานบอร์ด / Re: ไม่ได้ยินเสียง วิทยุ RDN 3 วันแล้วคะ เมื่อ: กันยายน 21, 2011, 09:28:38 am
ไม่ได้ยินเสียง วิทยุ RDN 3 วันแล้วคะ

ไม่ทราบว่า RDN ยกเลิกรายการแล้วหรือคะ

 :25:

    หนูอยากฟังเวลาไหนเหรอค่ะ เข้าเว็บแต่เช้าเลย
     :bedtime2: :34: :coffee2: :49:
26040  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ผู้ถูกนินทา หรือ ถูกสรรเสริญ โดยส่วนเดียวไม่มี เมื่อ: กันยายน 20, 2011, 02:38:48 pm



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

 
คาถาธรรมบท โกธวรรคที่ ๑๗

             [๒๗] บุคคลพึงละความโกรธเสีย พึงละมานะเสีย พึงก้าวล่วงสังโยชน์เสียทั้งหมด ทุกข์ทั้งหลายย่อมไม่ตกตามบุคคลนั้นผู้ไม่ข้องอยู่ในนามรูป ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล บุคคลใดแล พึงห้ามความโกรธที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้ ดุจบุคคลห้ามรถซึ่งกำลัง  แล่นไปได้ ฉะนั้น เรากล่าวบุคคลนั้นว่าเป็นสารถี คนนอกนี้เป็นคนถือเชือก       
         พึงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ
         พึงชนะความไม่ดีด้วยความดี
         พึงชนะความตระหนี่ด้วยการให้ 
         พึงชนะคนมักกล่าวคำเหลาะแหละด้วยคำสัตย์
         พึงกล่าวคำสัตย์ไม่พึงโกรธ


         แม้เมื่อมีของน้อย ถูกขอแล้วก็พึงให้ บุคคลพึงไปในสำนักแห่งเทวดาทั้งหลาย เพราะเหตุ ๓ ประการนี้
                          มุนีเหล่าใดผู้ไม่เบียดเบียน สำรวมแล้วด้วยกายเป็นนิตย์
                          มุนีเหล่านั้นย่อมไปสู่สถานที่ไม่จุติ ที่คนทั้งหลายไปแล้วไม่เศร้าโศก
                          อาสวะทั้งหลายของผู้ตื่นอยู่ทุกเมื่อ ศึกษาเนืองๆทั้งกลางวันและกลางคืน
                          ผู้น้อมไปแล้วสู่นิพพาน ย่อมถึงความไม่มี



            ดูกรอตุละ การนินทาหรือการสรรเสริญนี้มีมาแต่โบราณ มิใช่มีเพียงวันนี้ คนย่อมนินทาแม้ผู้นั่งนิ่ง แม้ผู้พูดมาก แม้พูดพอประมาณ
                 ผู้ไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก
                 บุรุษผู้ถูกนินทาโดยส่วนเดียว หรือถูกสรรเสริญโดยส่วนเดียวไม่มีแล้ว จักไม่มี และไม่มีในบัดนี้

 
           ถ้าว่าผู้รู้ใคร่ครวญแล้วทุกวัน ย่อมสรรเสริญบุคคลใด ผู้มีความประพฤติไม่ขาด เป็นนักปราชญ์ ตั้งมั่นแล้วในปัญญาและศีล ใครย่อมควร   เพื่อจะนินทาบุคคลนั้น ผู้เหมือนดังแท่งแห่งทองชมพูนุช แม้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ก็ย่อมสรรเสริญบุคคลนั้น  แม้พรหมก็สรรเสริญบุคคลนั้น

           ภิกษุพึงรักษาความกำเริบทางกายพึงเป็นผู้สำรวมด้วยกาย ละกายทุจริตแล้ว พึงประพฤติสุจริตด้วยกาย พึงรักษาความกำเริบทางวาจา พึงเป็นผู้สำรวมด้วยวาจาละวจีทุจริตแล้ว พึงประพฤติสุจริตด้วยวาจา พึงรักษาความกำเริบทางใจ พึงเป็นผู้สำรวมด้วยใจ ละมโนทุจริตแล้ว พึงประพฤติสุจริตด้วยใจ นักปราชญ์ทั้งหลาย สำรวมแล้วด้วยกาย สำรวมแล้วด้วยวาจา สำรวมแล้วด้วยใจ ท่านเหล่านั้น   แล สำรวมเรียบร้อยแล้ว                       
                                 
         จบโกธวรรคที่ ๑๗


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕  บรรทัดที่ ๘๖๒ - ๘๙๔.  หน้าที่  ๓๗ - ๓๙.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=862&Z=894&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=27
ขอบคุณภาพจาก www.budnet.org,www.athingbook.com,www.thaipr.net



                                     อันนินทากาเลเหมือนเทน้ำ    ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหิน
                                 แม้แต่องค์พระปฏิมายังราคิน  คนเดินดินหรือจะสิ้นคนนินทา


                                                                กลอนสุนทรภู่


หน้า: 1 ... 649 650 [651] 652 653 ... 708