ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - arlogo
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
121  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / สูตรแห่งสมาธิ อีกสูตรหนึ่ง เมื่อ: มกราคม 28, 2012, 08:23:55 am
[๔๑]สมาธิสูตร
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ
สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันมีอยู่ ๑
สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่๑
สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่ ๑
สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะมีอยู่ ๑

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา ได้มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มนสิการอาโลกสัญญา อธิษฐานทิวาสัญญา  ว่า กลางคืนเหมือนกลางวัน กลางวันเหมือน กลางคืน มีใจอันสงัด ปราศจากเครื่องรัดรึง อบรมจิตให้มีความสว่างอยู่

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ    
     
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้รู้แจ้งเวทนาที่เกิดขึ้น รู้แจ้งเวทนาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งเวทนาที่ดับไป รู้แจ้งสัญญาที่เกิดขึ้น รู้แจ้งสัญญาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งสัญญาที่ดับไป รู้แจ้งวิตกที่เกิดขึ้นรู้แจ้งวิตกที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งวิตกที่ดับไป

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ

     ดูกรภิกษุทั้งหลายก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีปรกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นดังนี้ ความดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้ สัญญาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นดังนี้ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้ สังขารเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นดังนี้ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้ วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้
     
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ
     
      ดูกรภิกษุทั้งหลายสมาธิภาวนา ๔ ประการนี้แล

      ดูกรภิกษุทั้งหลายอนึ่ง คำต่อไปนี้ เรากล่าวแล้วในปุณณปัญหาในปรายนวรรค หมายเอาข้อความนี้ว่า
   ความหวั่นไหวไม่มีแก่บุคคลใด ในโลกไหนๆ เพราะ
   รู้ความสูงต่ำในโลก บุคคลนั้นเป็นผู้สงบปราศจากควันคือ
   ความโกรธ เป็นผู้ไม่มีความคับแค้น เป็นผู้หมดหวัง
   เรากล่าวว่า ข้าม   ชาติและชราได้แล้ว ฯ
             จบสูตรที่ ๑




ขออนุญาตแก้ วรรคตอนให้นะคะ
122  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / การวางใจเป็นกลาง เป็นคุณสมบัติ ของ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เมื่อ: มกราคม 28, 2012, 08:18:34 am
ว่าด้วยจริยาวัตรของมหาโลมหังสบัณฑิต
[๓๕] เรานอนอยู่ในป่าช้า เอาซากศพอันมีแต่กระดูกทำเป็นหมอนหนุน
เด็กชาวบ้านพวกหนึ่ง พากันเข้าไปทำความหยาบช้าร้ายกาจนานัปการ
อีกพวกหนึ่งร่าเริงดีใจ พากันนำเอาของหอม ดอกไม้ อาหาร และ
เครื่องบรรณาการต่างๆ เป็นอันมากมาให้เรา พวกใดนำทุกข์มาให้
เราและพวกใดให้สุขแก่เรา เราเป็นผู้มีจิตเสมอแก่เขาทั้งหมดไม่มี
ความเอ็นดู ไม่มีความโกรธ เราเป็นผู้วางเฉยในสุขและทุกข์ ใน
ยศและความเสื่อมยศ เป็นผู้มีใจเสมอในสิ่งทั้งปวง นี้เป็นอุเบกขา
บารมีของเรา ฉะนี้แล.
        จบมหาโลมหังสจริยาที่ ๑๕

ยกพระสูตร พระไตรปิฏก เล่มที่ 33 จริยาปิฏก ซึ่งได้ถูกรวบรวม ความประพฤติ เพื่อสร้างบารมีธรรมนำไปสู่ความพ้นทุกข์ ที่พระพุทธเจ้าได้บำเพ็ญมา หลาย ๆ ชาติ


   จากเรื่องที่ยกมานั้น เป็น เรื่องที่แสดงเรื่อง อุเบกขา อันเป็นกำลังของผู้ประพฤติธรรมคือการวางใจเป็นกลาง ไม่ให้ยินดี เมื่อเขาทำดีให้ ไม่ให้ยินร้าย เมื่อเขาให้ร้าย การวางใจเป็นกลางนี้ ถึงแม้จะเห็นว่าดูเหมือนง่าย แต่ไม่ใช่เรื่องที่ง่าย ๆ เพราะผู้ที่จะวางใจเป็นกลาง ต้องมีขันติ อดทน มีทมะ การข่มใจตนได้ เป็นพื้นฐานสำหรับ ผู้ที่ยังต้องปฏิบัติธรรมกันอยู่ ส่วนผู้ที่จะละได้โดยไม่ต้องใช้ขันติ หรือ ทมะแล้ว ก็ต้องเป็น พระอนาคามีบุคคล ขึ้นไปจึงจักสามารถทำได้

  ดังนั้น ผู้ที่ปรารถนาในความสงบ ที่เรียกว่า สันโดด นั้น พึงสังวรระวัง สติ ตั้งไว้ในความอดทน และ ข่มกลั้นใจ ในขณะเดียวกัน ก็รู้จักฝึก กรรมฐาน 4 อย่าง คือ เมตตากรรมฐาน กรุณากรรมฐาน มุทิตากรรมฐาน อุเบกขากรรมฐาน ไว้ด้วย

   เจริญธรรม


   ;)

 

  รอยพระพุทธบาท นัมะทานที ที่เกาะแก้ว จ.ภูเก็ต
123  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / อาชีพ เด็กไทยในมุมมอง เด็ก และ พ่อแม่ สำรวจปี 2555 เมื่อ: มกราคม 12, 2012, 05:30:53 pm
ดร.นพดล กรรณิกา ​ผู้อำนวย​การศูนย์วิจัย​ความสุขชุมชน สำนักวิจัย​เอ​แบค​โพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ​เปิด​เผยผลวิจัย​เชิงสำรวจ​เรื่อง มองต่างมุม พ่อ​แม่-ลูก ว่าด้วยอาชีพ​ในฝัน​และวัน​เวลาที่มี​ให้กัน กรณีศึกษาตัวอย่างพ่อ​แม่​ผู้ปกครอง​และบุตรหลานอายุ​ไม่​เกิน 19 ปี​ใน​เขตกรุง​เทพมหานคร จำนวน​ทั้งสิ้น 1,205 ตัวอย่าง ดำ​เนิน​โครง​การระหว่างวันที่ 4 -11 มกราคม 2555 ที่ผ่านมา พบว่า

​เมื่อสอบถาม​ผู้ตอบ​แบบสอบถามที่​เป็น พ่อ ​แม่ ​และ​ผู้ปกครอง ว่าอาชีพ​ในฝันที่อยาก​ให้บุตรหลาน​เป็นมีอะ​ไรบ้าง ผลสำรวจพบว่า อันดับ​แรกคือร้อยละ 36.1 ระบุอยาก​ให้​เป็น​แพทย์ รองลงมาคือร้อยละ 29.4 อยาก​ให้​เป็นนักธุรกิจ อันดับสามคือร้อยละ 26.3 อยาก​ให้​เป็นครู อาจารย์ นักวิชา​การ อันดับสี่คือร้อยละ 12.4 อยาก​ให้​เป็นพยาบาล อันดับห้าคือร้อยละ 12.1 อยาก​ให้​เป็นตำรวจ อันดับรองๆ ลง​ไปคือ อยาก​ให้​เป็นข้าราช​การ   ทหาร  วิศวกร  ทนาย​ความ  ​ผู้พิพากษา อัย​การ พนักงานธนาคาร นักบิน ​แอร์​โฮส​เตส ​และที่น่าพิจารณาคือ ​เพียงร้อยละ 0.4 ​เท่านั้นที่อยาก​ให้​เป็นนัก​การ​เมือง ตามลำดับ

​แต่​เมื่อสอบถาม​เด็กๆ ที่​เป็นบุตรหลานวัย​ไม่​เกิน 19 ปี พบว่า อาชีพที่อยาก​เป็นอันดับ​แรกคือร้อยละ 30.8 ของกลุ่ม​เด็กๆ อยาก​เป็น นักบิน ​แอร์​โฮส​เตส รองลงมาคือ ร้อยละ 29.1 อยาก​เป็นดารา นักร้อง นัก​แสดง ร้อยละ 28.9 อยาก​เป็น​แพทย์ ร้อยละ 25.7 อยาก​เป็นนักธุรกิจ ร้อยละ 24.4 อยาก​เป็นตำรวจ ​และรองๆ ลง​ไปคือ อยาก​เป็นพยาบาล ครูอาจารย์ นักวิชา​การ ทหาร วิศวกร พนักงานธนาคาร ​และที่น่าพิจารณา​เช่นกันคือ ​เพียงร้อยละ 0.2 ​เท่านั้นที่อยาก​เป็นนัก​การ​เมือง ตามลำดับ

​เมื่อสอบถาม​ถึง ​การจัดสรร​เวลาของพ่อ​แม่ ​ผู้ปกครองที่มี​ให้กับบุตรหลาน ​ผู้ตอบ​แบบสอบถามที่​เป็นพ่อ​แม่ ​ผู้ปกครองส่วน​ใหญ่​หรือร้อยละ 92.2 ระบุว่า​เพียงพอ​แล้ว ​แต่ที่น่าพิจารณาคือ ​ในกลุ่มของ​เด็กๆ ที่​เป็นบุตรหลานร้อยละ 65.3 ​เท่านั้นที่ระบุว่า​เพียงพอ​แล้ว ​ในขณะที่บุตรหลาน ​เกินกว่า 1 ​ใน 3 ​หรือร้อยละ 34.7 ที่ระบุว่าพ่อ​แม่ ​ผู้ปกครองยังจัดสรร​เวลา​ให้บุตรหลาน​ไม่​เพียงพอ

ผอ.ศูนย์วิจัย​ความสุขชุมชน กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้​ให้​เห็นข้อน่าคิดหลายประ​การ ​เนื่องจาก อาชีพ​ในฝันของพ่อ​แม่ ​ผู้ปกครองที่อยาก​ให้บุตรหลาน​เป็น ​แตกต่าง​ไปจาก อาชีพ​ในฝันที่​เด็กๆ อยาก​เป็น​ในหลายกลุ่มอาชีพ ​เช่น พ่อ​แม่อยาก​ให้ลูก หลาน​เป็น​แพทย์​ในอันดับที่หนึ่ง ​แต่​เด็กๆ อยาก​เป็นนักบิน ​แอร์​โฮส​เตส ตามด้วยอยาก​เป็นดารา นักร้อง นัก​แสดง ​แต่อาชีพ​แพทย์ ​และนักธุรกิจ ยังติดอันดับต้นๆ ​ใน​ทั้งสองกลุ่มที่ถูกศึกษา นอกจากนี้ประ​เด็นที่น่าพิจารณาคือ ​ในช่วงวัน​เด็กหลาย ๆ ปีที่ผ่านมาข่าวสารที่ปรากฎมักจะ​แสดงผ่านสื่อมวลชน​เน้น​ไปที่ ​การ​เปิด​ทำ​เนียบ​ให้นั่ง​เก้าอี้นายกรัฐมนตรี ​และ​การ​แสดงอาวุธยุท​โธปกรณ์ ​ซึ่ง​เป็นสิ่งที่ดี ​แต่ควร​ให้​ความรู้​แก่​เด็กๆ ​ถึง​ความสำคัญของฝ่าย​การ​เมือง​และอาวุธยุท​โธปกรณ์​เหล่านั้นว่าจำ​เป็นต่อ​ความมั่นคงของประ​เทศมากน้อย​เพียง​ใด อย่าง​ไร​ก็ตามสถาบันสื่อสารมวลชนลองจับมือกับบริษัทสาย​การบิน ​โรงพยาบาล บริษัท​เอกชนชั้นนำของประ​เทศ จัดงานวัน​เด็กยิ่ง​ใหญ่​ให้​เด็กๆ สัมผัสภารกิจ​และ​ความสำ​เร็จของนักบิน ​แอร์​โฮส​เตส ดารา นักร้อง นัก​แสดง ​แพทย์ ​และนักธุรกิจ ​เพื่อปรับทิศทางของกระ​แส รักษา​ความ​ใฝ่ฝัน​และจินตนา​การ​เชิงสร้างสรรค์ของกลุ่ม​เด็ก​และ​เยาวชน​ในสาขาอาชีพอื่นดูบ้าง
จาก​การพิจารณาลักษณะทั่ว​ไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง    ร้อยละ 44.3 ​เป็นชาย
​และร้อยละ 55.7 ​เป็นหญิง
ร้อยละ 18.3 มีอายุ 21-30 ปี
ร้อยละ 44.5 มีอายุ 31-40 ปี
ร้อยละ 35.6 มีอายุ 41-50 ปี
ร้อยละ 1.6 มีอายุ 51-60
ราย​ได้     ร้อยละ 1.8 ระบุราย​ได้​ไม่​เกิน 5,000 บาท
ร้อยละ 11.0 ระบุราย​ได้ 5,001 — 10,000 บาท
ร้อยละ 37.7 ระบุราย​ได้ 10,001 — 20,000 บาท
ร้อยละ 22.3 ระบุราย​ได้ 20,001 — 30,000 บาท
ร้อยละ 8.3 ระบุราย​ได้ 30,001 — 40,000 บาท
ร้อยละ 8.9 ระบุราย​ได้ 40,001-50,000 บาท
ร้อยละ 10.0 ระบุราย​ได้ 50,001 บาท ขึ้น​ไป
ด้าน​การศึกษา ร้อยละ 52.5 สำ​เร็จ​การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 44.0 สำ​เร็จ​การศึกษาระดับปริญญาตรี
​และร้อยละ 3.5 สำ​เร็จ​การศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ตารางที่ 1 ​แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างพ่อ​แม่​และ​ผู้ปกครองที่ระบุ อาชีพ​ในฝันที่อยาก​ให้ลูก​เป็น(ตอบ​ได้มากกว่า 1 ข้อ)

ลำดับที่          อาชีพ​ในฝันที่พ่อ​แม่อยาก​ให้ลูก​เป็น       ร้อยละ

1          ​แพทย์                                36.1

2          นักธุรกิจ                              29.4

3          ครู/อาจารย์/ นักวิชา​การ                 26.3

4          พยาบาล                              12.4

5          ตำรวจ                               12.1

6          ข้าราช​การ                            10.5

7          ทหาร                                 9.3

8          วิศวกร                                5.8

9          ทนาย​ความ/​ผู้พิพากษา/อัย​การ               3.8

10          พนักงานธนาคาร                        2.4

11          นักบิน / ​แอร์​โฮส​เตส                    1.9

12          นักบัญชี                               1.8

13          นัก​การ​เมือง                           0.4

14          อื่นๆ ​เช่น ดารา/นักร้อง/สื่อมวลชน ​เป็นต้น    4.5

ตารางที่ 2 ​แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง​ผู้​เป็นลูกที่ระบุ อาชีพ​ในฝันที่ลูกอยาก​เป็น (ตอบ​ได้มากกว่า 1 ข้อ)

ลำดับที่          อาชีพ​ในฝันที่ลูกอยาก​เป็น                                  ร้อยละ

1          นักบิน ​แอร์​โฮส​เตส                                          30.8

2          ดารา นักร้อง นัก​แสดง                                       29.1

3          ​แพทย์                                                    28.9

4          นักธุรกิจ                                                  25.7

5          ตำรวจ                                                   24.4

6          พยาบาล                                                  15.8

7          ครู อาจารย์ นักวิชา​การ                                      11.9

8          ทหาร                                                    10.8

9          วิศวกร                                                    7.3

10          พนักงานธนาคาร                                            5.6

11          นัก​การ​เมือง                                               0.2

12          อื่นๆ ​ได้​แก่ สื่อมวลชน คนขับรถ  นักบัญชี  ​ผู้พิพากษา ​เป็นต้น           5.1

ตารางที่ 3 ​แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างคุณพ่อ คุณ​แม่ที่ระบุ ​การจัดสรร​เวลา​ให้กับลูก  (มุมมองของพ่อ​แม่/​ผู้ปกครอง)

ลำดับที่          พ่อ​แม่ มอง ​การจัด​เวลา​ให้กับลูกของตน​เอง           ร้อยละ

1          ​เพียงพอ                                         92.2

2          ​ไม่​เพียงพอ                                        7.8

รวม​ทั้งสิ้น                                        100.0

ตารางที่ 4 ​แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างลูกๆ ที่ระบุ ​การจัดสรร​เวลาของพ่อ​แม่ ​ผู้ปกครอง​ให้กับลูก (มุมมองของลูก)

ลำดับที่          ลูกๆ มอง​การจัด​เวลาของพ่อ​แม่ ​ให้กับลูก             ร้อยละ

1          ​เพียงพอ                                         65.3

2          ​ไม่​เพียงพอ                                       34.7

รวม​ทั้งสิ้น                                        100.0
--​เอ​แบค​โพลล์--
-พห-
124  ธรรมะสาระ / ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด / ตามรอยตำนาน ( กรรมฐาน ) เมื่อ: ธันวาคม 28, 2011, 09:23:39 am
ตามรอยตำนาน 31-7-54 1/4



ตามรอยตำนาน 31-7-54 2/4



ตามรอยตำนาน 31-7-54 3/4



ตามรอยตำนาน 31-7-54 4/4



   ก็ คละเคล้า เป็นรายการที่อัดไว้ 4 ตอนจบ มีโฆษณาบ้าง เอาสาระสำคัญก็แล้วกันนะจ๊ะ

Uploaded by MrPong16 on Aug 21, 2011

ตามรอยตำนาน
เวลาออกอากาศ ทุกวันเสาร์ -- อาทิตย์ เวลา 13.30 -- 14.30 น.
ทางช่องมิราเคิล http://www.miraclechanneltv.com/

( บัญชี ผู้อัพโหลด ได้ทำการยกเลิก ไปแล้ว ดังนั้นติดตามไม่ได้ )
125  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / คำถามจากเมล "อะไรเป็นกิจที่ควรทำในกรรมฐาน" เมื่อ: ธันวาคม 26, 2011, 09:39:21 am
คำถามจากเมล

ปุจฉา
"อะไรเป็นกิจที่ควรทำในกรรมฐาน"

วิสัชชนา

   กิจ หมายถึง สิ่งที่ควรกระทำ
   กรรมฐาน หมายถึง อุบายที่ทำให้พ้นจากทุกข์ ( อุบายในการภาวนา / วิธีปฏิบัติภาวนา )

   ดังนั้นขอให้ความหมาย ดังนี้ สิ่งที่ควรกระทำในวิธีปฏิบัติเพื่อการทำให้พ้นจากทุกข์

   แบ่งออกเป็น 3 ระดับ

       1. ศึกษา เนื้อหา วิธีการ ของกรรมฐาน นั้น ๆ ว่ามีวิธีปฏิบัติอย่างไร ? กระทำอย่างไร ?
       2. กระทำไว้ในใจในเป้าหมาย ในการภาวนา หรือกระทำกิจภาวนานั้น ๆ
       3. หมั่นทบทวน วิธีการปฏิบัติ ขอ้ผิดพลาด และ เข้าหากัลยาณมิตร
     
  3 ประการนี้เป็นกิจที่ควรทำในการปฏิบัติกรรมฐาน ทุกกอง ก็ต้องดำเนินวิธีปฏิบัติ อย่างนี้

 เจริญธรรม

 


     
126  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / คำกลอน โยม หรือ พระ ต่างกันที่ตรงไหน เมื่อ: พฤศจิกายน 26, 2011, 12:40:49 pm
ภาพวาด โดย ธัมมะวังโส ภิกษุ


โยม หรือ พระ   
   คน ๆ หนึ่ง มี ศีลแล้ว ก็ประเสริฐ     เป็นผู้เลิศ ตั้งจิตมั่น เหมือน อุษา   
ทำกิจ โลก อยู่ กับ ธรรม ไร้มารยา     รู้รักษา ตัวรอด ใน โลก ธรรม         
เป็นผู้ไม่ เบียดเบียน เพื่อนมนุษย์       เป็นผู้หยุด กระทำ ความบัดสี         
เป็นผู้ไม่ มัวหมอง ในราคี               เป็นผู้มี ชีวี ผุดผ่อง ธรรม         
เป็นผู้ มองเห็น อริยสัจ                  ที่ขจัด ตัดสงสาร เป็นวสี         
เป็นผู้ ไม่ มัวเมา ในโลกีย์              ผู้ย่ำยี  เผาผลาญ ความมัวเมา         
   โยม และ พระ ต่างกันด้วยมุมไหน   หรือด้วยกาย นุ่งห่ม ผ้าต่างสี         
โยม และ พระ เป็นได้ ใช่วจี            หรือใช่ ที่ เป็นได้ เพราะร่างกาย         
โยม เป็น พระ เป็นได้ ใช่ทุกที่          เพราะเป็นหนี้ โลกธรรม ไม่ห่างหาย         
โยม เป็น พระ เป็นได้ ไม่ใช่กาย        ทั้ง หญิงชาย เป็นได้ เท่าเทียมกัน         
โยม เป็น พระ เป็นแล้ว พูดไม่ได้       หากพูดไป อาจเข้าข่าย เป็นมุสา         
โยม เป็น พระ เป็นได้ ใช่วาจา          เป็นแล้วลา จากไกล อบายภูมิ         
โยม เป็น พระ เป็นได้ ย่อมสูงเลิศ      สุขประเสริฐ เลิสล้ำ นำสมัย
ธัมมะวังโส ภิกษุ
1/1/2550
127  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ปีนี้ ไม่จัดพิมพ์ หนังสือ และ ออกซีดี ธรรมะ ( คำตอบสุดท้าย ) เมื่อ: ตุลาคม 31, 2011, 04:06:22 pm
ที่สอบถามเข้ามาทาง email กันมาว่า จะจัดพิมพ์หนังสือ หรือ ซีดีธรรมะ แจกหรือไม่ ก็ขอตอบว่า
ปีนี้งดพิมพ์ นะจ๊ะ เนื่องด้วย ลูกศิษย์ ส่วนใหญ่ ก็จะประสบกับสภาวะ น้ำท่วมกัน ลำพัง ที่ พยุึงงาน กฐินกาล
ให้ผ่านไปได้กัน นี้ อาตมา ก็ชื่นชมมากแล้วนะจ๊ะ ส่วนการที่จะมาเรี่ยไร ปัจจัยมาพิมพ์หนังสือ หรือ ซีดี แจกอีก
จึงเห็นว่าไม่เป็นการเหมาะสม กับคณะศิษย์ ที่กำลังลำบาก โดยเฉพาะชาว กทม. หลายท่านที่ อพยพไปอยู่ ที่ต่าง ตามศูนย์อพยพ และ ต่างจังหวัด ด้วย

ดังนั้นก็ขอให้ทุกท่าน อ่านความรู้จาก กระทู้ต่าง ๆ ในเว็บนี้ และ ดาวน์โหลดไฟล์เสียง ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเว็บศึกษาเป็นของขวัญปีใหม่ ฉลองครบ 2 ปี www.madchima.org ไปกันก่อนนะจ๊ะ

 ดังนั้นถือว่าเป็นคำตอบสุดท้าย เลยนะจ๊ะ

 เจริญธรรม
128  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ทำความเข้าใจ เรื่อง ทุกข์ ก็จะฉลาดในการภาวนา เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2011, 07:42:24 am
เนื้อหาหลักธรรม ของพระพุทธเจ้า คือ อะไร ?

ทำไมเราต้องมาศึกษา หลักธรรม ของพระพุทธเจ้า ?

และศึกษา ปฏฺบัติตาม แล้ว เราจะได้อะไร ?



มาไล่กันที ละคำถาม และลองช่วยกันตอบ ดูนะ



เนื้อหาหลักธรรม ของพระพุทธเจ้า คือ อะไร ?

เนื้อหาหลักธรรม ของพระพุทธเจ้า คือ อริยสัจจะ 4 ประการ คือการ เข้าใจ เรื่อง

  ทุกข์  อันเป็นความโศรก ความร่ำไร รำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ความประสพกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักที่พอใจ ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ความพรัดพรากจากของสิ่งเป็นที่รัก ที่ชอบใจ ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ ทั้ง 5 เป็นตัวทุกข์

  ดังนั้น เราพึงให้ความสนใจกับเรื่อง ความทุกข์ กันมาก ๆ
  ที่นี้ ทุกข์ คืออะไรในขันธ์ 5 ทุกข์ ก็คือ เวทนา ใน ขันธ์ 5 ทุกข์ คือ สุข ทุกข์ คือ อทุกขมสุข
ทำไมถึงกล่าวอย่างนั้น เพราะ ทุกข์ สุข อทุกขมสุข เกิดร่วมกันตลอดเวลา ที่มีอุปาทาน คือความยึดมั่นถือมั่น

 ดังนั้น ท่านทั้งหลายที่มาศึกษา พระกรรมฐาน จึงควรศึกษา เรื่อง ทุกข์ ไว้มากๆ  เพราะ ทุกข์ ก็เป็นหนึ่งในพระไตรลักษณาการ ด้วย

  พระพุทธเจ้า พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ ดังนั้นในชีวิตของเราที่มีอยู่ จะภาวนาหรือไม่ภาวนา ทุกข์ ก็เกิด ทุกข์ ก็ดับ อยู่เช่นนั้น และ เป็นอย่างนั้นเอง

 ดังนั้น พระพุทธเจ้า เวลาประกาศธรรมครั้งแรก พระองค์ ก็ทรงแสดง เรื่อง อริยสัจจะ ทั้ง 4 ประการ

 คือ  1. ทุกข์ ให้เราท่านทั้งลาย รู้จัก และ เข้าใจ ในความทุกข์ ว่าทุกข์ คือ อะไร  ทุกข์ มีหน้าที่ อย่างไร ควรกำหนดอย่างไร เมื่อทุกข์ เกิด ทุกข์ดับ

      2. สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ อันประกอบด้วย ปัจจยการใหญ่ ก็คือ อวิชชา เป็นต้นตอ รากเหง่าของทุกข์ ทั้งปวง ดังนั้น แม้อริยสัจจะ ข้อที่สอง ก็หาได้พ้นจากความทุกข์ไม่ ก็ยังต้องรู้จัก ทุกข์ มากขึ้น

      3. นิโรธ คือ ผลแห่งการสิ้นสุด ทุกข์ หมดทุกข์ ไม่มีความยึดมั่น ถือมั่น ต่อขันธ์ ทั้ง 5 มีนามเรียกกันไปต่างๆ นานา แต่สุดท้าย ก็หมายถึงการสิ้นทุกข์ หมดทุกข์ หมดโศรก และพ้นจากการเิกิด การแก่ การเจ็บ และ การตาย พ้นออกจาก สังสารวัฏ อันเป็นทุกข์ นับเนื่องด้วย ทุกข์ แม้อริยสัจจะ ข้อที่สาม ก็คือ ผลพวง จาก ทุกข์ที่เรา ชำนะ ชำระได้นั่นเอง

      4.มรรค คือ หนทาง ข้อปฏิบัิต การภาวนา ที่องค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นผู้ตรัสรู้เองได้โดยชอบ ได้ทรงค้นพบหนทางที่จะพ้น จากทุกข์ คือ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ และ ความตาย นี้ไปได้ พระองค์ได้ตรัสแสดงไว้ว่า
     
      ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ตราบใดที่ยังมีผู้เดินตามมรรค ที่เราได้แสดงไว้แก่เธอทั้งหลาย ตราบนั้นโลกนี้จักไม่ว่างจากพระอรหันต์

      หนทางนี้แล เป็นหนทางอันประเสริฐ อันประกอบด้วยองค์ 8 มี

       1.สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกต้อง

       2.สัมมาสังกัปปะ ความดำริถูกต้อง

       3.สัมมาวาจา การพูดจาถูกต้อง

       4.สัมมากัมมันตะ การทำการงานถูกต้อง

       5.สัมมาอาชีิวะ การเลี้ยงชีวิตถูกต้อง
 
       6.สัมมาสติ การระลึกถูกต้อง

       7.สัมมาวายามะ การพากเพียรถูกต้อง

       8.สัมมาสมาธิ การตั้งใจมั่นถูกต้อง

  ดังนั้น ผูู้ที่พ้นจากความทุกข์ ต้องประกอบด้วย 8 ประการ อย่างนี้

  ผู้ภาวนา มรรค ต้องภาวนาด้วย องค์ 8 ประการ ตามที่พระพุทธเจ้า พระองค์ ทรงตรัส

  เพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์ และ การไม่ต้องกลับมาเวียนว่าย ตายเกิด ในสังสารวัฏ นี้ต่อไป

  ดังนั้น นี้กล่าวได้ว่า เป็นเนื้อหาหลักธรรมที่พระพุทธเจ้า พระองค์ ทรงประกาศครั้งแรก ในคืนวันอาสาฬหบูชา
เพื่อที่จะทำให้ มนุษย์ ผู้ประกอบด้วยบุญบารมีที่พร้อมจะรู้ตาม ได้ดวงตาเห็นธรรม เรียกว่า ธรรมจักษุ
หรือ ได้คุณธรรมแรก ที่ควรจะได้ คือ เป็นพระอริยะพระโสดาบัน นั่่นเอง

   ส่วนเนื้อหาหลักธรรม ที่พระองค์ ทรงตรัสแสดงไว้ เพื่อการเป็นพระอริยเจ้าระดับ สูงสุด ในพระพุทธศาสนานั้นก็คือเนื้อหา ที่บรรดาเราทั้งหลาย เอ่ยชื่อกันได้ แต่จะเข้าใจหรือไม่ และเป็นธรรมที่ บรรดาคนทั้งหลายเหล่านั้นไม่รู้จักกันมาก่อน นั่นก็คือ อนัตตา

   
   อนัตตา คือ อะไร มีคำนิยามจำกัดความ และ การแปลมากมาย

   สำหรับ อาตมา นั้น อนัตตา ก็คือ อนัตตา ไม่มีคำแปลมากมาย จักรู้ได้เมื่อ ทำมรรค ให้ครบองค์ 8 ประการ

   สรุปเนื้อหา หลักธรรมที่พระพุทธเจ้า ทรงตรัสแสดงไว้เพื่อความเป็นพระอริยะเจ้า 2 เนื้อหาคือ

    1. อริยสัจจะ กับ อริยมรรค มีองค์ 8 ประการ

    2. อนัตตา


   ก็พอจะสรุปเนื้อหาไว้เท่านี้ก่อนนะจ๊ะ

   เจริญธรรม

   ;)
129  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / กิจกรรมกุศล ชมรมพุทธบุตรบารมี ในเดือน ก.ค.2554 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2011, 08:17:47 am
(เปิดพิเศษ) วันอาสาฬหบูชาสมัครอบรมปฏิบัติธรรม /ถวายเทียนจำนำพรรษา /เเละบวชต้นไม้ 84 ต้น ณ สวนป่าโพธิธรรม (ป่าธรรมชาติ) 13-15 ก.ค. 54

** ขอเชิญเหล่าพุทธบุตร พุทธบริษัท อุบาสก-อุบาสิกา ผู้ใคร่ในการปฏิบัติตนให้เข้าถึงพุทธธรรม ทุกท่านทั่วสารทิศร่วมปฏิบัติธรรมภาวนา เจริญสติปัฎฐาน ๔ <เเบบพองหนอ-ยุบหนอ>
อย่างเข้มข้น ในป่าธรรมชาติอันสงบเงียบ อากาศบริสุทธิ์ ปราศจากผู้คน เนื่องในวาระในเทศกาลวันอาสาฬหบูชาเเละวันออกพรรษา
ด้วยการปฏิบัติธรรม เป็นอาจาริยบูชา เเละเพื่อความสงบของจิตใจของเราเอง เเละร่วมกุศลด้วยการทำกิจกรรมพิเศษ ดังนี้

((ตักบาตรเช้า พระธุดงค์กรรมฐาน ในโครงการบวชถวายในหลวง ))
เวลา 07.30 วันที่ 15 ก.ค. 54
((ถวายภัตตาหารเช้า ))) มื้อเดียว 08.00 วันที่ 15 ก.ค. 54
((ถวายเทียนจำนำพรรษา เเด่พระธุดงค์กรรมฐาน ))
เวลา 11.00 น. วันที่ 15 ก.ค. 54
((ถวายกองทุนบำรุงสวนป่าโพธิธรรม ตามกำลังบารมี ))
เวลา 11.00 น. วันที่ 15 ก.ค. 54
((เเละบวชต้นไม้จำนวน 84 ต้นถวายในหลวง ))
เวลา 15.30 น. วันที่ 15 ก.ค. 54
((เวียนเทียน /นั่ง อธิฐานจิต เพื่อจะอัญเชิญต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ในเดือน ธันวาคม)
เวลา 17.00 น. วันที่ 15 ก.ค. 54




ณ ป่าธรรมชาติ สวนป่าโพธิธรรม ต. ดอนเเสลบ อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจบุรี


...... อาณาเขตบริเวณพื้นที่อยู่ติดเชิงเขา ส่วนใหญ่ปกคุมไปด้วยป่าธรรมชาติ เมกไม้นานาพันธุ์ เเละเทิกเขาหลายลูกใกล้สวนป่า โดยสถานที่สวนใหญ่เน้นเพื่อการอยู่อาศัยเเบบเรียบง่ายตามสภาวะเเวดล้อมอัน พึ่งอาศัยธรรมชาติ เพื่อจะได้รับบรรยากาศที่สดชื่นเเจ่มใสอันปกคุมไปด้วยระบบนิเวศที่เหมาะ เเก่การเข้ารับการอบรมปฏิบัติธรรม พระกรรมฐาน อันยกเเบบอย่างตามสมัย พระพุทธกาล ที่มุ่งเน้นอยู่โดยสอดคล้องกับธรรมชาติ
.......โดยเฉพาะเป็น สถานที่อันไม่ห่างจาก กรุงเทพเเละปริมณฑลมากนักเหมาะเเก่การเดินทางเพื่อเข้าสู่ความสงบ เพื่อเป็นเเห่งพักกาย, ผ่อนคลายใจ, ปลูกจิตสำนึกเวิถีเเห่งสติ เสริมสร้างผักดันปัญญาภายในให้เกิดขึ้น ด้วยการปฏิบัติตนท่ามกลางธรรมชาติ
ดัง นั้นจึงขอเชิญชวนพุทธบริษัทร่วมทำจิตใจให้ผ่องใส, ระงับชั่งที่จะส่งผล, เเละเสริมสร้างจิตใจของเราให้ผ่องใสด้วยการเข้ารับการอบรมฝึกหัดปฏิบัติธรรม อย่างมีสติภาวนา เเละมีสมาธิภาวนา ตามกำลังกาล




โครงการปฏิบัติธรรมเจริญสติ ภาวนา รักษาใจ

กำหนดการ ตั่งเเต่ วันที่ 13-15 กรกฏาคม 2554 (3 วัน)



ร่วมบูชาปฏิบัติธรรม เพื่อสร้างสติ เสริมสมาธิ ควบคุมใจ ให้สะอาด ผ่องใส
อันจะเป็นประโยชน์ต่อตนเอง เเละครอบครัว ตลอดถึงเจ้ากรรมนายเวร ด้วยสมัครเข้ารับการปฏิบัติธรรม

ณ สวนป่าโพธิธรรม ต.ดอนเสลบ อ.ห้อยกระเจา จ.กาญจนบุรี (ติดอำเภอห้อยกระเจาเเค่ 1 กม.)



...... ด้วยการสมัครเข้ารับ การอบรม ปฏิบัติธรรมเเบบเข้ม. ปฏิบัติเเบบ 3 วัน 2 คืน เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาเเด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก เพื่อสร้างบารมีธรรม เพื่อฝึกการใช้สติ สมาธิ เจริญปัญญาวิปัสสนา

จึงขอเชิญผู้ใคร่ในการเข้าถึงพุทธธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยเข้าถึงด้วยการปฏิบัติขัดเกลาจิตใจของตนเอง


....... ตามคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ตรัสไว้ ในวันจาตุรงคสันนิบาตร โดยย่อเป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนาไว้ว่า +ละความชั่ว +ทำความดี +ทำจิตใจให้ผ่องใส เเค่นี้ เราก็สามารถรู้ตื่นเบิกบานใจเมื่อเข้าถึงพุทธธรรมได้ทุกเพศทุกวัย ด้วยผลบุญจากการเเสวงหาพระธรรมด้วยการปฏิบัติ ธรรมสร้างสติในกาย-เวทนา-จิต-ธรรม อย่างมีสติรู้ตัว ทั่วพร้อมอยู่ในกายเพื่อเพิ่มพูลสติให้ดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่ประมาท




กำหนด การโครงการปฏิบัติธรรม เพื่อเป็นพุทธบูชาเเด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เนื่องในโครงการปฏิบัติธรรม เจริญสติ ภาวนา รักษาใจให้สะอาดผ่องใส



(ในวันศุกร์ ที่ 13-15 เดือน กรกฏาคม พ.ศ. 2554 )
รับจำนวนจำกัด 50 ท่านเท่านั้น



(สามารถโทรศัพท์ลงชื่อจองล่วงหน้าถึง วันที่ 12 ก.ค. 2554 ตั้งเเต่ เวลา 09.30-16.00 น.

โทร. 089-8994099)
หรือลงชื่อสมัคร บอกชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร เเละบอกว่าประสงค์จะขึ้นรถตู้ หรือนำรถมาส่วนตัวที่
อีเมล์ ทางศูนย์จะติดต่อ เเละยืนยันการสมัครอีกครั้ง
e-mail : lamphongdhamma@hotmail.com




((สถานที่ขึ้นรถตู้โดยสารไปสวนป่าโพธิธรรม))
รถตู้จอดหน้าหมอชิต 2 (หน้าเสาธงชาติ) รถออกเดินทาง เวลา บ่าย 13.00 น.



<<ถ้าประสงค์จะมาร่วมกิจกรรมวันเดียว ในวันอาสาฬหบูชา วันที่ 15 ก.ค. นี้
ก็สามารถมาได้ ตามกำหนดเวลา ดังนี้ >>


โทรลงทะเบียนสมัครทางโทรศัพท์ก่อน


เมื่อมีลงทะเบียนขึ้นรถเเล้ว เดินทางมาขึ้นรถตู้ได้ ที่
หน้าเสาธงชาติ หมอชิต 2 เขตจตุจักร
ในวันที่ 14 ก.ค. 54 รถออกเวลา 19.00 น.
สามารถขึ้รถได้ 2 สถานที่ คือ
1.หน้าเสาธงชาติ หมอชิต 2 เเละ
2. ขึ้นรถตู้ได้ที่ ปั้ม ปตท. Jiffy เลยห้างบิ๊กคิงเก่า


กิจกรรม(พิเศษ) วันที่ 15 ก.ค.54 (วันอาสาฬหบูชา)

เวลา 07.30 น. ตักบาตรพระธุดงค์กรรมฐาน จำนวน 15 รูป
เวลา 09.00 น. ปฏิบัติภาวนา
เวลา 11.00 น. ถวายเทียนจำนำพรรษา สังฆทาน เครื่องใช้ส่วนตัว
(ร่วมนำเทียน ทั้งใหญ่เเละเล็ก หรือหลอดไฟฟ้า สายไฟฟ้า เเละอุปกรณ์ต่อไฟ ร่วมถวายด้วยกัน
(สวนป่า ยังใช้เทียนอยู่เนื่องจากไม่มีไฟฟ้ามีเเต่เครื่องปั่นไฟ)
เวลา 11.00 น. ถวายกองทุนบูรณะสวนป่า (ร่วมตั้งกองทุนบุญ ตามกำลังทรัพย์ ร่วมบูรณะสวนป่าโพธิธรรม)
เวลา 13.00 น. ปฏิบัติภาวนา /ลาศีล /ขอขมา/รับใบเกียรติบัตร/ถ่ายรูปหมู่
เวลา 15.30 น. กิจกรรมบวชต้นไม้ 84 ต้น ถวายในหลวง ณ สวนป่าโพธิธรรม (เพื่อรักษาต้นไม้ไม่ให้ถูกตัด ทำร้าย)
เวลา 17.00 น. กิจกรรมอธิฐานจิต / เวียนเทียน รอบลานโพธิ์
(ณ ลานโพธิ์ สถานที่ จะอัญเชิญ ต้นศรีมหาโพธิ์จาก พุทธคยา ประเทศอินเดีย)
เวลา 18.00 น. รถออกเดินทางกลับ กทม. เดินทาง 2ชม.




<<<หมายเหตุ.กรณีที่สมัครเข้าอบรมเเล้วเเต่ไม่สามารถเดินทางไปเข้ารับการอบรมได้กรุณาเเจ้งยกเลิกก่อน 2 วัน >>>


***************************************



ตารางกำหนดการปฎิบัติธรรม เจริญสติปัฏฐาน ๔ ภาวนา รักษาใจ

ตั่งแต่วันที่ 13 -15 กรกฏาคม 2554 (3 วัน 2 คืน)



วันพุธ ที่ 13 กรกฏาคม 2554

เวลา ๑๖.๐๐ น. ลงทะเบียนเข้าปฎิบัติธรรม, รับข้อปฎิบัติในการเข้าอบรม
เวลา ๑๗.๓๐ น. สวดมนต์เเปลเย็น,
เวลา ๑๙.๓๐ น. สมาทานศีล 8 / สมาทานพระกรรมฐาน /สอนพระกรรมฐานเบื้องต้น
(สำหรับผู้เข้าอบรมพระกรรมฐานใหม่)
เวลา ๒๑.๐๐ น. พักผ่อน, อย่างมีสติ



วันพฤหัสบดี ที่ 14 กรกฏาคม 2554

เวลา ๐๓.๐๐ น. ตื่นนอน ชำระร่างกาย / เตรียมตัวทำวัตรเช้า
เวลา ๐๔.๐๐ - ๐๕.๐๐ น. สวดมนต์เช้าเเปล
เวล ๐๕.๐๐ - ๐๖.๐๐ น. ปฏิบัติธรรมเจริญสติ ภาวนา (ช่วงเช้า)
เวลา ๐๗.๓๐ น. รับประทานอาหารเช้า อย่างมีสติ
เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๑.๓๐ น. ปฏิบัติกรรมฐานเบื้องต้น (ช่วงสาย)
เวลา ๑๒.๐๐ น. (พักผ่อนตามอัธยาศัย อย่างมีสติ)
เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๕.๓๐ น. ปฏิบัติธรรม ภาวนา (ช่วงบ่าย)
เวลา ๑๖.๐๐ น. ฟังธรรมบรรยาย
เวลา ๑๗.๓๐ – ๑๘.๓๐ น. อาบน้ำ, ชำระร่างกาย, ทำกิจกรรมจิตอาสา (ดูเเลความสะอาดบริเวณศูนย์)
เวลา ๑๘.๓๐ น. สวดมนต์ทำวัตรเย็นเเปล, ฟังบรรยายธรรมะ (แนวทางปฏิบัติ)
เวลา ๑๙.๓๐ – ๒๑.๐๐ น. ปฏิบัติธรรมเจริญสติ ภาวนา(ช่วงค่ำ)
เวลา ๒๑.๐๐ น. พักผ่อน (อย่างมีสติ)




วันศุกร์ ที่ 15 กรกฏาคม 2554 (วันอาสาฬหบูชา)

เวลา ๐๓.๐๐ น. ตื่นนอน ชำระร่างกาย / เตรียมตัวทำวัตรเช้า
เวลา ๐๔.๐๐ - ๐๕.๐๐ น. สวดมนต์เช้าเเปล
เวล ๐๕.๐๐ - ๐๖.๐๐ น. ปฏิบัติธรรมเจริญสติ ภาวนา (ช่วงเช้า)
เวลา ๐๗.๐๐ น. ตักบาตรพระธุดงค์กรรมฐาน จำนวน 15 รูป (อาหารเเห้ง หรือเครื่องใช้ต่างๆ)
เวลา ๐๗.๓๐ น. รับประทานอาหารเช้า อย่างมีสติ
เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๐.๓๐ น. ปฏิบัติกรรมฐาน (ช่วงสาย)
เวลา ๑๑.๐๐ น. ถวายเทียนจำนำพรรษา เเด่พระธุดงค์กรรมฐาน
(โครงการอุปสมบทหมู่เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา)
เเละถวายกองทุนบำรุงสวนป่าโพธิธรรมร่วมสร้างอาคารพักสำหรับผู้เข้าปฏิบัติธรรมพระกรรมฐาน
เเละรับประทานอาหารเพลร่วมกัน
เวลา ๑๒.๐๐ น. (พักผ่อนตามอัธยาศัย อย่างมีสติ)
เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๕.๐๐ น. ปฏิบัติธรรม ภาวนา (ช่วงบ่าย)
เวลา ๑๕.๐๐ น. สวนมนต์เย็น, พิธีขอขมา, ลาศีล, รับศีล, รับใบประกาศเกียรติบัตร (รุ่น 1) ,
เวลา ๑๕.๓๐ – {กิจกรรมบวชต้นไม้ คนล่ะต้น {ช่วยทำความสะอาด บริเวณสวนป่าโพธิธรรม {กลับบ้าน}

* ร่วมปฎิบัติธรรม เจริญสติ ภาวนา ฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย
(เพียงเเต่มีใจศรัทธา เเละปรารถณาที่จะปฎิบัติธรรม)*






กำหนดโครงการปฏิบัติธรรมภาวนา เจริญสติปัฏฐาน ๔ ณ สวนป่าโพธิธรรม (ตลอดปี 2554 )



(รุ่นที่ 1 ) โครงการปฏิบัติธรรม ภาวนา เจริญสติปัฏฐาน ๔
<ในวาระครบรอง 1 ปี รำลึกอุทิศถวายเป็นอาจาริยบูชาเเด่ หลวงปู่สำเริง สุทธิวาสี>
-ตั่งเเต่วันศุกร์ ที่ 24 - 26 มิถุนายน 2554 (3 วัน)



<<<<<< โครงการปฏิบัติธรรม ปัจจุบัน>>>>>>>
(รุ่นพิเศษเทศกาลวันอาสาฬหบูชาเเละเข้าพรรษา 2554)
<ตั้งเเต่วันที่ 13-15 กรกฏาคม 2554> (3 วัน)



(รุ่นที่ 2) โครงการปฏิบัติธรรม ภาวนา เจริญสติปัฏฐาน ๔
<เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเเด่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เเละมอบเเด่เเม่ของเรา ในโอกาสวันเเม่เเห่งชาติ>
-ตั้งเเต่วันศุกร์ ที่ 26 - 28 สิงหาคม 2554 (3 วัน)


(รุ่นที่ 3) โครงการปฏิบัติธรรม ภาวนา เจริญสติปัฏฐาน ๔
<เพื่ออุทิศถวายเเด่พระปิยมหาราช เเละเพื่อสร้างบุญบารมีธรรมเเก่เราเเละครอบครัว
-ตั้งเเต่วันศุกร์ ที่ 28 - 30 ตุลาคม 2554 (3 วัน)


(รุ่นที่ 4) โครงการปฏิบัติธรรม ภาวนา เจริญสติปัฏฐาน ๔
<เพื่อ ปฏิบัติถวายเป็นพระราชกุศลเเด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องเดือนเเห่งวันพ่อเเห่งชาติเเละเพื่อสร้างบุญบารมีธรรมเเก่เราเเละครอบ ครัว>
-ตั้งเเต่วันศุกร์ ที่ 23 - 25 ธันวาคม 2554 (3 วัน)


<<สามารถเข้าอบรมปฏิบัติธรรม ภาวนา ตามกาลเวลาที่สะดวกต่อการเข้าอบรม>>

หมายเหตุ.
((ถ้าประสงค์จะมาอบรมเป็นหมู่คณะมากๆ สามารถติดต่อศูนย์ เพื่อเปิดอบรมปฏิบัติ ภาวนา เป็นกรณีพิเศษได้ตามความเหมาะสม))
ติดต่อล่วงหน้า 1 เดือน อย่างน้อย
สามารถเปิดรับอบรม ได้ในในรูปเเบบ ดังต่อไปนี้ คือ
1. อบรมปฏิบัติธรรม พระกรรมฐาน(เเบบสติปัฏฐาน ๔ พองหนอ-ยุบหนอ เชิงธรรมชาติ) เเบบ 3 วัน
เยาวชน-บริษัท-มหาลัย-ทั่วไป
2.อบรมจิตอาสา / ผู้นำจิตอาสา (เชิงธรรมชาติ)
3.อบรมรูปเเบบภาวนากับสติ (เชิงธรรมชาติ)
เเละอื่นๆ อีกหลากหลาย

**********************************************************



อานิสงค์ของการปฏิบัติที่ได้จากการปฏิบัติธรรม

1. ทำให้ร่างกายสดชื่นเเจ่มใจ เบิกบาน เเข็งเเรงไม่ค่อยมีโรคภัย
(เพราะจิตใจดีงาม ร่างกายก็ผ่องใส เบิกบานร่างเริง คิดสิ่งใดก็มีความสุข)
2. รู้บาป รู้บุญ รู้คุณ รู้โทษ รู้สิ่งที่มีประโยชน์ เเละไม่มีประโยชน์
(ทำให้เกิดความเบื่อหนาน ในการดำเนินชีวิต ทำให้ดำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาท)
3. เป็นผู้ที่มีความกตัญญู รู้คุณ ต่อผู้มีพระคุณ จิตใจอ่อนโยน อ้อนน้อมถ่อมตน
(เชื่อฟังพ่อเเม่มากขึ้น เพราะได้รู้จักความทุกข์จากเวทนา)
4. รู้กฎเเห่งกรรมจากการกระทำของตัวเองได้
(รู้ว่าเคยกระทำกุศล เเละอกุศลใดมา)
5. รู้เเนวทางการเเก้ไขปัญหาชีวิต ในปัจจุบันได้
(ไม่เครียด ไม่ฆ่าตัวตาย หาหนทางดับความทุกข์ทางใจได้ เเก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้)
6. รู้มีสติรู้ตัว ก่อนคิดที่จะทำสิ่งต่างๆ มากขึ้น
(เป็นผลให้เกิดความผิดพลาดน้อยลง)
7. มีความจำเป็นเลิศ
(เรียนหนังสือเก่งเพราะมีความจำเร็ว)
8. ต่ออายุให้ยาวนานขึ้น
(เพราะกรรมจากการกระทำบาปไม่มาตัดรอน)
9. มีวิบากกรรมน้อยลง
(สิ่งที่ทำให้ติดขัดความสำเร็จ)
14. สามารถเเก้กรรมจากการกระทำที่ไม่หนักมากได้
(เพราะ การปฏิบัติธรรมได้บุญและอานิสงส์เยาะ เมื่อเเผ่เมตตาออกไปเจ้ากรรมนายเวรก็ได้มาก และสัพสัตว์ ก็จะถึงมาก และถึงทุกที่เพราะจิตมีสมาธิสูงมาก)
15. สามารถเข้าถึงธรรมะขั้นสูงสุดได้
(เพราะเป็นการฝึกฝนโดยการทำลายต้นต่อของกิเลสโดยตรง)
16. เป็นบาทฐานในการเข้าถึงธรรมะในอนาคต
(เป็น การสร้างบารมีธรรมเฉกเช่นพระพุทธเจ้า เเละพระอริยบุคคลทั้งหลาย้พื่อใช้ต่อสู้กับพระยามารที่ฝังอยู่ในใจเรา รอเราชนะกิเลสอยู่ คือความโลภ ความโกรธ ความหลง)


*************************************************



คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม ดังนี้

1.เป็นผู้มีศรัทธาในการปฏิบัติธรรม
2.เป็นผู้ที่มีร่างกายสมบูรณ์เเข็งเเรง
3.เป็นผู้ไม่มีโรคร้ายเรง
4.เป็นผู้ไม่ติดอาญาเเผ่นดิน
5.เป็นผู้ว่าง่าย,สอนง่าย,กินง่าย,อยู่ง่าย,นอนง่าย ไม่เเข็งกระด้าง


***************************************************



การเตรียมตัวเบื้องต้น ดังนี้

1.นุ่งห่มด้วยชุดขาวประมาณ 3 ชุด (สำหรับเวลาปฏิบัติผู้หญิงใส่ผ้าถุง มีไสบเฉวียงบ่า) เวลาทำจิตอาสา หรือนอนอนุญาติให้ใส่กางเกงได้
ถ้าไม่มีติดต่อขอซื้อหรือขอยืมได้ที่ศูนย์
2.เตรียมเครื่องใช้ส่วนตัวมาด้วย อาทิ เเปรงสีฟัน, ยาสีฟัน,ยาสระผม, สบู่ เละอื่นๆ
3.เตรียมไฟฉายสำหรับเวลากลางคืน
4.เตรียมผ้าคลุมของใช้ส่วนตัวเพื่อปกปิดความเรียบร้อย (ถ้ามี)
5.เตรียมรองเท้าเเตะสำหรับใส่ในบริเวณวัด
6.เครื่องอุปโภค เเละบริโภค (ถ้านำมาได้สำหรับตักบาตรพระภิกษุ..วันสุดท้าย ตอนเช้า วันที่ 15 เวลา 07.00น.)
7.ยาทาสำหรับกันยุง (ถ้ามี)
8.หากมีโรคประจำตัวควรติดยาหรือคนดูเเลมาด้วย
9.นำบัตรประจำตัวประชาชน เเละทะเบียนบ้าน (เเบบถ่ายสำเนา) อย่างละ 1 ชุด
10. สำหรับผู้เข้าอบรมครั้งเเรก ต้องนำรูปถ่าย ขนาด 1 นิ้ว ติดมาด้วย 1 รูป
11. เต้นหรือมุ้งครอบ (สำหรับผู้ที่ประสงค์จะหลีกหนีความวุ่นวายในหมู่คณะ)
12.เตรียมเทียนจำนำพรรษา - หลอดไฟ-สายไฟ-เครื่องใช้ ต่าง มาถวายร่วมกิจกรรมถวายเทียนได้ ในวันที่ 15 ก.ค. 54
13.ถ้ามีความประสงค์จะร่วมบุญในการร่วมพัฒนาสวนป่าโพธิธรรม ในการดำเนินการสร้างอาคารปฏิบัติธรรม
ก็สามารถตั้งก่องทุนร่วมถวายได้ (ตามกำลังศรัทธา) ในวันที่ 15 ก.ค. 54 เวลา 11.00 น.


*************************************************

กฏระเบียบเบี้องต้นในการปฏิบัติธรรม


1. ห้ามพกสิ่งของมีค่ามาก อาทิ ทอง, เพชร, เครื่องประดับต่างๆ เข้ามาอบรม
2. ห้ามสูบบุหรี่ หรือสิ่งเสพติด ตลอดการเข้รับการอบรม
3. ห้ามทะเลาะ หรือส่งเสียงดัง
4. ห้ามพกวิทยุ เข้ามาฟังระหว่างการอบรม
5. ห้ามทำรายป่าไม้ในศูนย์ กรณาช่วยกันรักษาต้นไม้
6. งดการหายหรือเสนอเเลกเปลี่ยนสินค่าในขณะเข้าอบรม
เป็นต้น เเละข้อกฎระเบียบอีกมากมาย ดูที่ป้ายประจำศูนย์
7. ในการเข้าอบรมปฏิบัติธรรมนั้นต้อง คิดอยู่เสมอว่าเรามาเพื่อขจัดกิเลสตัณหาในลดลง เพราะฉะนั้น จงปฏิบัติตน โดยยึดหลัก
กินน้อน,พูดน้อย,นอนน้อย,ทำความเพียรให้มาก
8.จงมุ่งมั่นตั้งใจในการปฏิบัติ โดยไม่ย้อท้อ เเละไม่หลีกหนีจากการปฏิบัติยกเว้นมีธุระจำเป็นจริงๆ
9.การ ที่เราเข้ามาอบรมนั้นอาจจะเจอบางสิ่งบางอย่างที่อาจจะขัดต่อความรู้สึก หรือไม่ถูกใจตาที่เคยสัมผัสมา ก็จงยอมรับกฏระเบียบต่างๆของศูนย์ เพื่อการพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้นในการเข้าถึงพระธรรมคำสังสอน จงคิดว่าอุปสรรค คือสิ่งที่นักปฏิบัติควรที่จะเข้าใจในสัจธรรมของพระธรรม




หมายเหตุ. กรุณาอย่านำของมีค่าติดตัวมาเข้ารับการอบรมด้วย

เพื่อความสันโดษ สงบเเละเพื่อไม่ให้เกิดความลำบากเมื่อยามหาย
(ปฏิบัติ ธรรมนำจิต เพื่อเเผ่คุณงามความดีสู่ครอบครัว,มิตร,สหาย เพื่อตอบพระคุณ เพื่อส่งจิตให้สูง เพื่อเชิดชูพระเกียรติคุณ เพื่อเเสวงหาความสุขล้ำ เพื่อน้อมนำ พุทธธรรม สู่กลางใจ) ถ้าหายทางสำนักไม่รับผิดชอบ



เเผนที่ การเดินทาง สวนป่าโพธิธรรม

การเดินทางจาก กรุงเทพ ระยะทาง 150 กม. ใช้เวลาในการเดินทาง 2 ชม. หรือ 2.30 น.
สวนป่าโพธิธรรม ((ห่างจาก ตัวอำเภอห้อยกระเจา เเค่ 1 กม.))



(((เส้นทางการเดินทางโดยรถส่วนตัว)))

โดยถนนหลักที่สามารถมาสวนป่าโพธิธรรมได้ คือ


ถ้าจาก กรุงเทพ (150 กมฺ) ขับรถ 2 ชม. :

สามารถขับรถมาเอง ได้ 2 เส้นทางหลัก คือ

มุ่งหน้าขับไปถนนเส้นสุพรรณบุรี ถึงเเยกตาม 2 เส้นทาง ดังนี้คือ


((เส้นที่ 1.))

ขี่ ไปทาง วัดไผ่โรงวัด เข้าอำเภอสองพี่น้อง เมื่อถึงที่ว่าการอำเภอ ให้เลี้ยวซ้ายมือไปเรื่อยๆ ตรงไปเรื่อยๆจะเจอเเยก ทับวัดกระดาน ให้เลี้ยวซ้ายเเล้วชิดขวากลับรถมุ่งตรงไป สามเเยกเเยกจรเข้ สู่อำเภออู่ทอง ก่อนเข้าตัวอำเภออู่ทองจะมีป้ายเลี้ยวซ้ายเข้าอำเภอบ่อพลอย ป้ายนี้ติดปั้มน้ำมัน ให้เลี้ยวซ้าย ไปทางป้ายบ่อพลอย ขี่จากสามเเยกอู่่ทองเข้าไป อำเภอ ห้อยกระเจา ประมาณไม่เกิน 20 กม. โดยจะผ่าน มหาลัยเวสเทิร์น ผ่านเเยกวัดห้วยยาง ผ่านหน้าวัดวัดทิพย์สุคนธาราม (ด้านซ้ายมือ) สาขาวัดชนะสงฆ์คราม ผ่านเเยกวัดสระลงเรือ ผ่านสามเเยก จนถึงเเยกที่ 3 ก่อนถึงตัวอำเภอห้อยกระเจา มีป้ายสวนป่าโพธิธรรม ให้เลี้ยวขวา ขับรถไปอีก 200 เมตร จะถึงทางเลี้ยวเข้าสวนป่าโพธิธรรม ด้านขวามือ ขี่เข้าไป 200 เมตร ก็ถึงศูนย์ปฏิบัติธรรม "สวนป่าโพธิธรรม"

ระวังจะเลย (กรณีเลย) ถ้าเลยเเยกนี้จะผ่านที่ว่าการอำเภอห้วยกระเจา เเละ รพ.ห้วยกระเจา ให้กลับรถ เลยที่ว่าการอำเภอห้อยกระเจาไปประมาณ 300 เมตรเลี้ยวขวา เข้าไป ประมาณ 200 เมตรก็ถึง

<< ข้อจำ ให้ถามทางให้ถามทางว่า จะมุ่งหน้าไป อ.ห้อยกระเจา ก่อนถึง อำเภอบ่อพลอย จ.กาญจนบุรี >>

((เส้นที่ 2.))

ขี่ ไป ทางอำเภอบางเลน ผ่านมหาลัยเกษตรศาสตร์ สันกำเเพง ตรงไปเรื่อยๆจะเจอเเยก ทับวัดกระดาน ให้เลี้ยวซ้ายเเล้วชิดขวากลับรถมุ่งตรงไป สามเเยกเเยกจรเข้ สู่อำเภออู่ทอง ก่อนเข้าตัวอำเภออู่ทองจะมีป้ายเลี้ยวซ้ายเข้าอำเภอบ่อพลอย ป้ายนี้ติดปั้มน้ำมัน ให้เลี้ยวซ้าย ไปทางป้ายบ่อพลอย ขี่จากสามเเยกอู่่ทองเข้าไป อำเภอ ห้อยกระเจา ประมาณไม่เกิน 20 กม. โดยจะผ่าน มหาลัยเวสเทิร์น ผ่านเเยกวัดห้วยยาง ผ่านหน้าวัดวัดทิพย์สุคนธาราม (ด้านซ้ายมือ) สาขาวัดชนะสงฆ์คราม ผ่านเเยกวัดสระลงเรือ ผ่านสามเเยก จนถึงเเยกที่ 3 ก่อนถึงตัวอำเภอห้อยกระเจา มีป้ายสวนป่าโพธิธรรม ให้เลี้ยวขวา ขับรถไปอีก 200 เมตร จะถึงทางเลี้ยวเข้าสวนป่าโพธิธรรม ด้านขวามือ ขี่เข้าไป 200 เมตร ก็ถึงศูนย์ปฏิบัติธรรม "สวนป่าโพธิธรรม"

ระวังจะเลย (กรณีเลย) ถ้าเลยเเยกนี้จะผ่านที่ว่าการอำเภอห้วยกระเจา เเละ รพ.ห้วยกระเจา ให้กลับรถ เลยที่ว่าการอำเภอห้อยกระเจาไปประมาณ 300 เมตรเลี้ยวขวา เข้าไป ประมาณ 200 เมตรก็ถึง

<< ข้อจำ ให้ถามทางให้ถามทางว่า จะมุ่งหน้าไป อ.ห้อยกระเจา ก่อนถึง อำเภอบ่อพลอย จ.กาญจนบุรี >>

หรือถ้าหากไม่สะดวกเดินทางมาโดยรถส่วนตัวก็สามารถติดต่อขึ้นรถตู้มาศูนย์ได้(ไป-กลับ)
(ติดต่อก่อนเริ่มโครงการ 1- 2 วัน)

ศูนย์ประสานงานศูนย์สวนป่าโพธิธรรม(สวนปฏิบัติธรรมเชิงธรรมชาติ)
ติดต่อสอบถาม เจ้าหน้าที่ : 089-8994099
e-mail : lamphongdhamma@hotmail.com

เเละสามารถติดตามข่าวสารของศูนย์อบรมปฏิบัติธรรม สารบุญ "ชมรมพุทธบุตรบารมี" ได้ที่
facebook = ((lamphongdhamma@hotmail.com))
www.dhammadee.com

ที่มา : เข้ารับการอบรมปฏิบัติธรรมรักษาใจ รักษาธรรมชาติ เเละ เพื่อความสงบของใจ


ดูข้อมูลรูปภาพบริเวณ สถานที่จริงได้ ที่ลิงค์

http://www.dhammathai.org/meditationguide/dbview.php?No=62
130  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / พระโอวาทสมเด็จพระสังฆราชวันอาสาฬหบูชา ๒๕๕๔ เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2011, 07:40:50 am

'สมเด็จ สังฆราช' ประทานโอวาท อาสาฬหบูชา ให้คนไทยยึดมั่นพระรัตนตรัย ทุกสิ่งเกิดขึ้นย่อมมีดับไป ทูลกระหม่อมหญิงฯเสด็จหล่อเทียนจำนำพรรษา พุทธมณฑล 11 ก.ค.นี้

วัน ที่ 9 ก.ค.54 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระโอวาทวันอาสาฬหบูชา พ.ศ. 2554 ใจความว่า วันอาสาฬหบูชาเป็นวันบูชาที่สำคัญที่สุดวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา ตรงกับวันพระจันทร์เต็มดวง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 คือ เดือนอาสาฬหะ เป็นวันที่เจ้าชายสิทธัตถะ หลังจากได้ทรงตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ได้ทรงเป็นสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วได้ 2 เดือน ได้ทรงแสดงปฐมเทศนา ทรงประกาศพระธรรมที่ทรงตรัสรู้เป็นครั้งแรกโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้กรุงพาราณสี ท่านโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม รู้ว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา”

โดยสมเด็จพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปล่งพระพุทธวาจาให้เป็นที่ประจักษ์ ว่า อัญญาโกณทัญญะ คือ โกณทัญญะได้รู้แล้วหนอ วันนั้นจึงเป็นวันที่พระรัตนตรัยเกิดครบองค์ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ องค์แรกที่เกิดขึ้น คือ ท่านโกณฑัญญะ ด้วยพระบารมีพระรัตนตรัย จงมั่นใจและจงปฏิบัติเทิดทูนบูชาพระรัตนตรัยให้เต็มจิตใจทุกเวลา ขออำนวยพร

นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) กล่าวว่า เนื่องในเทศกาลวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา ประจำปี 2554 พศ.ได้จัดกิจกรรมทั่วประเทศให้พุทธศาสนิกชนได้ทำบุญรักษาศีล โดยกำหนดจัดงานตั้งแต่บัดนี้ จนถึง 16 ก.ค. ที่พุทธมณฑล จ.นครปฐม ซึ่งในวันที่ 11 ก.ค. เวลา 18.00 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จทรง เป็นองค์ประธานในพิธีหล่อเทียนจำนำพรรษา

ส่วนวันที่ 15 ก.ค. ตรงกับวันอาสาฬหบูชา ภาคเช้า เวลา 07.30 น. ตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 984 รูป เวลา 10.00 น. ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงพระกรุณาโปรดให้ตนเป็นผู้แทนพระองค์มอบเกียรติบัตร ในโครงการ “หนึ่งใจ...ให้ธรรมะ”ภาคบ่าย เวลา 16.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ ในพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในวันอาสาฬหบูชา เวลา 17.30 น. ในวันที่ 16 ก.ค. ซึ่งตรงกับวันเข้าพรรษา เวลา 15.39 น. พิธีจุดเทียนพรรษาบูชาพระศรีศากยะ ทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ เนื่องในเทศกาลวันเข้าพรรษา ประจำปี 2554

นายนพรัตน์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับกิจกรรมอื่นๆภายในพุทธมณฑลจะมีทั้งการหล่อเทียนพรรษา การแห่เทียนพรรษา การเข้าค่ายปฏิบัติธรรมของกลุ่มโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา นมัสการพระพุทธรูปแกะสลักจากไม้ตะเคียน การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตศรีลังกา พิธีเวียนเทียน การถวายสังฆทาน การแสดงพระธรรมเทศนา การสนทนาธรรม การแสดงทางวัฒนธรรม การปฏิบัติธรรม ของพระสงฆ์และฆราวาส การตักบาตร

สำหรับในส่วนภูมิภาคให้วัดทุกวัด ทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักร จัดกิจกรรม การตักบาตร การเวียนเทียน การปฏิบัติธรรม การฟังพระธรรม และเชิญชวนพุทธศาสนิกชนร่วมกิจกรรม เนื่องในงานสัปดาห์เผยแผ่พระพุทธศาสนา เนื่องในวันอาสาฬหบูชา

ด้านนายสด แดงเอียด อธิบดีกรมการศาสนา(ศน.) กล่าวว่า ในวันที่ 11 ก.ค.เวลา 10.00 น. ศน.จะแถลงข่าวถึงการจัดกินกรรมสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในวัน อาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาที่วัดสระเกศราชชวรมหาวิหาร ซึ่งจะมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย อาทิ หล่อเทียนพรรษาถวาย 9 พระอารามหลวง กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมเด็กและเยาวชน


http://www.komchadluek.net/detail/20...ูชา.html



พระโอวาทสมเด็จพระสังฆราชวันอาสาฬหบูชา ๒๕๕๔


131  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / นมัสการ พระพุทธไสยาสน์ พระแก้วมรกต ก่อนเข้าพรรษา 11 ก.ค.54 เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2011, 08:56:02 pm
ออกเดินทางในเวลา 9.00 น. ได้ความสะดวกตลอดเส้นทาง ด้วยบารมีธรรมจากหลวงปู่
อำนวยอวยชัย ให้ปฏิบัติภารกิจกุศลครั้งนี้ได้ อย่างสะดวก


ไปถึงวัดโพธิ ( วัดพระเชตุพน ) ก็ประมาณ 11.40 น.


ที่วัดวันนี้ พึ่งจะมีฝรั่งมาชมกัน เห็นเจ้าหน้าที่บอกไว้อย่างนี้นะ ว่าช่วงเลือกตั้งมาจนถึงวันอาทิตย์
ไม่มีฝรั่งมากันเลย


รอยพระพุทธบาทที่สร้างจำลองด้านปลาย มีปริศนาธรรมตาม ศิลปะของคนไทย
อยู่เป็นเครื่องยืนยัน ภูมิปัญญาคนไทยอันแฝงคติธรรม ซึ่งจุดนี้จะมีผู้บรรยายเป็นภาษา
อังกฤษให้คนต่างชาติ ฟังอยู่ และจะเป็นจุดที่แออัดด้วยผู้ฟัง



เดินออกมาที่อุโบสถ ด้านจตุรมุขก็มี พระพุทธรูปปางสำคัญ อย่างเช่นพระนาคปรกองค์นี้
นับว่าสวยงามถ่ายทอดศิลปะ ของคนไทยในความประณีตเป็นอย่างดี

เจริญธรรม เล่าเป็นตอน ๆ ไปก่อนนะ เพราะพึ่งเดินทางกลับมาถึง

 ;)
132  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / เชิญร่วมตักบาตร ดอกไม้ประจำปี 2554 15 - 16 ก.ค.54 ณ วัดพระพุึทธบาท สระบุรี เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2011, 06:11:55 am



การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานลพบุรี

ขอเชิญร่วมงานประเพณีตักบาตรดอกไม้

ประจำปี ๒๕๕๔ ระหว่างวันที่ ๑๕ - ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๔

ณ วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร อ.พระพุทธบาท  จ.สระบุรี

กิจกรรมภายในงานที่น่าสนใจ ได้แก่

                 - วันพุธที่ ๑๓  กรกฎาคม  ๒๕๕๔  เวลา ๐๙.๐๙ น. การประกอบพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เวลา ๐๙.๓๐ น. พิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในอำเภอพระพุทธบาท  ๖  แห่ง พิธีถวายเทียนพรรษา

                 - วันพฤหัสบดีที่ ๑๔  กรกฎาคม  ๒๕๕๔  เวลา ๐๖.๐๐น. พิธีตักบาตรพรสงฆ์   ๓,๐๐๐ รูป  เวลา ๑๕.๐๐ น. พิธีเปิดงานประเพณีตักบาตรดอกไม้ประจำปี ๒๕๕๔

                 - วันศุกร์ที่  ๑๕ - ๑๖  กรกฎาคม ๒๕๕๔  เวลา ๑๐.๐๐ น. พิธีตักบาตรดอกไม้รอบเช้า  และเวลา ๑๕.๐๐ น.พิธีตักบาตรดอกไม้รอบบ่าย

 

สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.)

              02-192-1924-8, 089-5003363
133  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / อะไรเล่า เป็นโทษของกามทั้งหลาย? เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2011, 09:42:24 am


[๑๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นโทษของกามทั้งหลาย?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย     
กุลบุตรในโลกนี้ เลี้ยงชีวิตด้วยความขยันประกอบศิลปใด คือ ด้วยการนับคะแนนก็ดี ด้วยการ    คำนวณก็ดี ด้วยการนับจำนวนก็ดี ด้วยการไถก็ดี ด้วยการค้าขายก็ดี ด้วยการเลี้ยงโคก็ดี ด้วย การยิงธนูก็ดี ด้วยการเป็นราชบุรุษก็ดี ด้วยศิลปอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ต้องตรากตรำต่อความหนาว     ต้องตรากตรำต่อความร้อน งุ่นง่านอยู่ด้วยสัมผัสแต่เหลืบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือกคลาน     ต้องตายด้วยความหิวระหาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์  ที่เห็นๆ กันอยู่ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้นขยัน สืบต่อ พยายามอยู่อย่างนี้ โภคะ เหล่านั้นก็ไม่สำเร็จผล เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก รำพัน ตีอก คร่ำครวญ ถึงความหลงเลือนว่า   
ความขยันของเราเป็นโมฆะหนอ ความพยายามของเราไม่มีผลหนอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็เป็น    โทษของกามทั้งหลาย ... เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.   

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้นขยัน สืบต่อ พยายามอยู่อย่างนี้ โภคะเหล่านั้น
ทำเร็จผล เขากลับเสวยทุกข์ โทมนัส ที่มีการคอยรักษาโภคะเหล่านั้นเป็นตัวบังคับว่า ทำอย่างไร   พระราชาทั้งหลาย ไม่พึงริบโภคะเหล่านั้นไปได้ พวกโจรพึงปล้นไม่ได้ ไฟไม่พึงไหม้ น้ำไม่พึงพัด   ทายาทอัปรีย์พึงนำไปไม่ได้ เมื่อกุลบุตรนั้นคอยรักษาคุ้มครองอยู่อย่างนี้ พระราชาทั้งหลาย ริบโภคะเหล่านั้นไปเสียก็ดี พวกโจรปล้นเอาไปเสียก็ดี ไฟไหม้เสียก็ดี น้ำพัดไปเสียก็ดี ทายาท   อัปรีย์นำไปเสียก็ดี เขาย่อมเศร้าโศรกลำบาก รำพัน ตีอก คร่ำครวญ ถึงความหลงเลือนว่า     
สิ่งใดเคยเป็นของเรา แม้สิ่งนั้นก็ไม่เป็นของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย ... เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.
   
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัว     
บังคับ เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล แม้พระราชาทั้งหลายก็วิวาทกันกับพวกพระราชา แม้    พวกกษัตริย์ก็วิวาทกันกับพวกกษัตริย์ แม้พวกพราหมณ์ก็วิวาทกันกับพวกพราหมณ์ แม้คฤหบดี   ก็วิวาทกันกับพวกคฤหบดี แม้มารดาก็วิวาทกับบุตร แม้บุตรก็วิวาทกับมารดา แม้บิดาก็วิวาทกับบุตร แม้บุตรก็วิวาทกับบิดา แม้พี่ชายน้องชายก็วิวาทกันกับพี่ชายน้องชาย แม้พี่ชายก็วิวาทกับ    น้องสาว แม้น้องสาวก็วิวาทกับพี่ชาย แม้สหายก็วิวาทกับสหาย ชนเหล่านั้นต่างถึงการทะเลาะ  แก่งแย่ง วิวาทกันในที่นั้นๆ ทำร้ายซึ่งกันและกัน ด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท้อนไม้    บ้าง ด้วยศาตราบ้าง ถึงความตายไปตรงนั้นบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย ... เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น. 
 
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล ฝูงชนต่างถือดาบและโล่ห์สอดแล่งธนู วิ่งเข้าสู่สงคราม ปะทะกันทั้ง ๒ ข้าง เมื่อลูกศรทั้งหลายถูกยิงไปบ้าง เมื่อหอกทั้งหลายถูกพุ่งไปบ้าง เมื่อดาบทั้งหลาย   ถูกกวัดแกว่งอยู่บ้าง ฝูงชนเหล่านั้นต่างก็ถูกลูกศรแทงเอาบ้าง ถูกหอกแทงเอาบ้าง ถูกดาบตัดศีรษะเสียบ้าง ในที่นั้น พากันถึงตายไปตรงนั้นบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้  ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย ... เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.     

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัว     
บังคับ เพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล ฝูงชนถือดาบและโล่ห์สอดแล่งธนู ตรูกันเข้าไปสู่    เชิงกำแพงที่ฉาบด้วยเปือกตมร้อน เมื่อลูกศรถูกยิงไปบ้าง เมื่อหอกถูกพุ่งไปบ้าง เมื่อดาบถูกกวัด   แกว่งบ้าง ชนเหล่านั้นต่างถูกลูกศรแทงบ้าง ถูกหอกแทงบ้าง ถูกรดด้วยโคมัยร้อนบ้าง ถูกสับ  ด้วยคราดบ้าง ถูกตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง ในที่นั้น พากันถึงตายไปตรงนั้นบ้าง ถึงทุกข์ปางตาย  บ้าง
 
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย ... เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล ฝูงชนตัดที่ต่อบ้าง ปล้นอย่างกวาดล้างบ้าง กระทำการปล้น   เรือนหลังเดียวบ้าง ดักปล้นในหนทางบ้าง สมสู่ภรรยาคนอื่นบ้าง พระราชาทั้งหลาย จับคนนั้นๆ  ได้แล้ว ให้กระทำกรรมกรณ์ต่างๆ เฆี่ยนด้วยแซ่บ้าง เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ตีด้วยไม้ค้อนบ้าง   ตัดมือเสียบ้าง ตัดเท้าเสียบ้าง ตัดทั้งมือทั้งเท้าเสียบ้าง ตัดหูเสียบ้าง ตัดจมูกเสียบ้าง ตัดทั้งหู  ทั้งจมูกเสียบ้าง
  กระทำกรรมกรณ์ ชื่อพิลังคถาลิก [หม้อเคี่ยวน้ำส้ม] บ้าง
  ชื่อสังขมุณฑกะ  [ขอดสังข์] บ้าง
  ชื่อราหูมุข [ปากราหู] บ้าง
  ชื่อโชติมาลิก [พุ่มเพลิง] บ้าง
  ชื่อหัตถปัชโชติก     [มือไฟ] บ้าง
  ชื่อเอรกวัตติก [นุ่งหนังช้าง] บ้าง
  ชื่อจีรกวาสิก [นุ่งสร่าย] บ้าง
  ชื่อเอเณยยกะ    [ยืนกวาง] บ้าง
  ชื่อพลิสมังสิก [กระชากเนื้อด้วยเบ็ด]บ้าง
  ชื่อกหาปณกะ [ควักเนื้อทีละ กหาปณะ] บ้าง
  ชื่อขาราปฏิจฉก [แปรงแสบ] บ้าง
  ชื่อปลิฆปริวัตติก [วนลิ่ม] บ้าง
  ชื่อปลาลปีฐก     [ตั่งฝาง] บ้าง
  รดด้วยน้ำมันที่ร้อนบ้าง
  ให้สุนัขกัดกินบ้าง
  เสียบที่หลาวทั้งเป็นบ้าง
  ใช้ดาบตัดศีรษะเสียบ้าง
  คนเหล่านั้นถึงตายไปตรงนั้นบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง
  ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นๆ กันอยู่ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น.     

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายนั้นแล ฝูงชนต่างประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ชนเหล่านั้น   ครั้นประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึง  อบาย ทุคติ วินิบาตนรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ ก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์    ในสัมปรายภพ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกาม     ทั้งหลายทั้งนั้น.


จากพระสุตตันตปิฎก เล่ม ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ - หน้าที่ 116
134  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / พาไปชมถ้ำดาวเขาแก้ว สระบุรี เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2011, 03:52:40 pm








135  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / ธรรมจาริก อิสาณ เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2011, 03:42:59 pm

สุดสายตา แดนลาว จากฝั่งไทย ที่ วัดถ้าำอัศจรรย์ 1


ยามเย็น เตรียมค่ำ ที่วัดถ้าอัศจรรย์


พระบรมธาตุนครพนม

ภาพถ่าย โดย ธัมมะวังโส ถ่ายด้วยกล้องมือถือ nokia n72
136  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ความเศร้าหมองของผู้บำเพ็ญตบะ เมื่อ: กรกฎาคม 01, 2011, 10:40:32 am
ความเศร้าหมองของผู้บำเพ็ญตบะ
๑.การที่บำเพ็ญตบะ แล้วอิ่มเอิบใจ เต็มความปรารถนาด้วยตบะนั้น ยกตน ข่มผู้อื่น เพราะตบะนั้น
๒.มัวเมา เพราะสักการะชื่อเสียงนั้น ทำลาภสักการะ และชื่อเสียงให้เกิด เพราะตบะนั้น แล้วอิ่มเอิบใจ เต็มความปรารถนาด้วยลาภและสักการะและชื่อเสียงนั้น ยกตน ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะ และชื่อเสียงนั้น
๓.แบ่งแยกในเรื่องอาหารว่า นี้ชอบใจ นี้ไม่ชอบใจ อันไหนไม่ชอบใจเพ่งเล็งละทิ้ง อันไหนชอบก็ติดใจ ไม่เห็นโทษ
๔.บำเพ็ญตบะ เพราะใคร่จะได้ลาภชื่อเสียง เพื่อให้พระราชา มหาอำมาตย์ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี เดียรถีย์สักการะตน
๕.รุกราน สมณะพราหมณ์บางพวกด้วยเรื่องการบริโภคพืช ผลไม้
๖.ริษยา และ ตระหนี่ ในสกุลเมื่อเห็นสมณะพราหมณ์บางพวกมีผู้สักการะเคารพนับถือ
๗.นั่งแสดงตนในทาง
๘.พูดไม่ตรงความจริง ชอบว่าไม่ชอบ ไม่ชอบว่าชอบ
๙.เมื่อตถาคตหรือสาวกของตถาคต แสดงธรรม ไม่ยอมรับปริยายที่ควรยอมรับ
๑๐.เป็นคนมักโกรธ และผูกโกรธ
๑๑.เป็นคนมักลบหลู่บุญคุณท่าน และตีเสมอ
๑๒.เป็นคนมักริษยาและตระหนี่
๑๓.เป็นคนโอ้อวดและมีมายา
๑๔.เป็นคนกระด้างและดูหมิ่นท่าน
๑๕.มีความปรารถนา ลามก ตกอยู่ใต้อำนาจของความปรารถนาลามก
๑๖.มีความเห็นผิด ประกอบด้วยความเห็นยึดส่วนสุด
๑๗.ยึดแต่ความเห็นของตน ถือมั่น สลัดยาก
ความเป็นยอดของผู้บำเพ็ญตบะ
ชั้นกระพี้ คือละความเศร้าหมอง ๑๗ ประการ 



ชั้นเปลือก เจริญคุณธรรม ๖ ประการ
๑.ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ใช้ให้ฆ่า ไม่ยินดีต่อผู้ฆ่า     ๒.ไม่ลักทรัพย์ ไม่ใช้ให้ลักทรัพย์ ไม่ยินดีต่อผู้ลัก
๓.ไม่พูดปด ไม่ใช้ให้พูดปด ไม่ยินดีต่อผู้พูดปด   ๔.ไม่เสพกามคุณ ไม่ใช้ให้ผู้อื่นเสพ ไม่ยินดีต่อผู้เสพ
๕.นั่งหรืออาศัยอยู่ในที่อันสงัด นั่งทำสติขจัด นิวรณ์ มี
 ๑.อภิชฌา ๒.พยาบาท ๓.ถีนมิทธะ ๔.อุทธัจจกุกกุจจ ๕.วิจิกิจฉา
๖.เจริญพรหมวิหาร ๔ แผ่ออกไปทุกทิศ สู่โลก ทั้งสิ้น



ชั้นแก่น คือการได้ ทิพยจักษุธรรม ปัญญาญาณ ละสังโยชน์ ๑๐ ประการ
ข้อความในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ สุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวัคค์  อุทุมพิกสูตร
137  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / วัดสุทธาราม ย่านสำเหร่ เปิดบริการล้างไต สงเคราะห์ประชาชนที่ยากจน ทุกวัน เมื่อ: มิถุนายน 27, 2011, 04:55:58 pm
วัดสุทธาราม วัดราษฎร์เล็กๆ ย่านสำเหร่ แต่ทำงานใหญ่ในนามของพระสงฆ์ทั้งประเทศ โดยเปิดบริการล้างไต สงเคราะห์ประชาชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์วันละ 100 ราย

ทั้งๆ ที่ผู้ที่ทำโครงการใหญ่เป็นเพียงพระธรรมดา ไม่มีชื่อโด่งดังด้านเกจิและอภินิหารแต่อย่างใด ท่านคือ พระครูไพศาลประชาทร (ดนัย) อายุ 57 ปี เจ้าอาวาส

แต่ละวัน นับตั้งแต่เวลา 06.00 น. ประชาชนที่ป่วยโรคไตจะทยอยมาขอเข้ารับบริการล้างไตที่ตึก 7 ชั้น ซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินของวัด แยกเป็นสัดส่วนไม่ปะปนกับเขตของพระสงฆ์ หน้าตึกเขียนว่ามูลนิธิศรีรัตนโกสินทร์ ภายในอาคารมีเครื่องล้างไตให้บริการเป็นสัดส่วน มีแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่คอยดูแลใกล้ชิด หากคนไข้เกิดช็อก แก้ไขไม่ได้จะจัดส่งโรงพยาบาลใกล้เคียงทันที ทุกอย่างอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และของพระครูไพศาลประชาทร

พระครู ไพศาลประชาทร ชื่อเดิม ดนัย นามสกุล ศิลปี อายุ 57 ปี เกิดวันที่ 27 ก.พ. 2497 ที่คลองสาน ธนบุรี ในวัยเด็กเป็นเด็กเกเร หนีออกจากบ้านตั้งแต่อายุ 11 ขวบ ผจญภัยแบบเด็กเหลือขอ ต้องถูกจับกุมคุมขัง กลายเป็นศิษย์เก่าบ้านเมตตา บ้านกรุณา และบ้าน 16 ไร่ บางนา 2 ครั้งด้วยกัน โดยไม่นับที่กักขังระยะสั้น 7 วัน และ 15 วัน ระหว่างต้องขังชีวิตพลิกผันได้รับเมตตาจากท่านประภาศน์ อวยชัย อดีตประธานศาลฎีกา และ ม.ร.ว.อดุลย์กิติ์ กิติยากร ที่ควบคุมดูแลบ้านดังกล่าว เมื่อถูกปล่อยตัวออกมา ทั้งสองท่านขอให้บวชเณรเพื่อทดแทนบุญคุณให้ด้วย จึงไปบวชที่จิตตภาวันวิทยาลัย ชลบุรี บวชเณรแล้วติดใจในความเป็นอยู่ ผ่านไป 2 พรรษา พ.ศ. 2517 อายุครบบวชพระ โยมแม่นำมาบวชพระที่วัดบ้านเกิด คือวัดสุทธาราม ซึ่งเป็นวัดใกล้บ้านเกิด บวชแล้วอยู่เรื่อยมาจนกระทั่งเป็นรักษาการเจ้าอาวาส พ.ศ. 2537 แทนเจ้าอาวาสรูปก่อนที่มรณภาพเพราะถูกฆาตกรรม ซึ่งขณะนั้นไม่มีใครอยากรับตำแหน่งใดๆ ในวัด เพราะสื่อมวลชนลงข่าวว่าเจ้าอาวาสถูกฆาตกรรมเพราะแย่งกันเป็นเจ้าอาวาส
สมเด็จ พระมหาธีราจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนกลางตอนนั้นบอกให้ตัวท่านรับเป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาส เพราะไม่มีใครอีกแล้ว ส่วนการเป็นเจ้าอาวาสค่อยว่ากันอีกที

เมื่อ เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาส ได้จัดงานศพถวายอดีตเจ้าอาวาสอย่างสมเกียรติ เป็นเพียงพระครูเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ แต่ศพอยู่ในพระราชานุเคราะห์ตลอด สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เสด็จมาทรงเป็นประธานพระราชทานเพลิงศพ

ท่านนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. 2538

ส่วน สมณศักดิ์ ปัจจุบันเป็นพระครูเทียบเท่าผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงชั้นพิเศษ แต่กว่าจะมาถึงตรงนี้เคยเป็นพระครูปลัดของพระราชาคณะชั้นราชมาก่อน ต่อมาลดชั้นเป็นพระครูวินัยธร ฐานานุกรมพระราชาคณะชั้นเทพ ลดชั้นอีกครั้งเป็นพระครูวิสารสรกิจ พระครูคู่สวด ในสมเด็จพระมหาธีราจารย์ จากนั้นจึงเป็นพระครูสัญญาบัตร

ถึงชื่อชั้นจะลด แต่หากพิจารณาฐานะของผู้ให้มีแต่สูงขึ้น

ที่ น่าทึ่งอีกอย่างหนึ่งคือเป็นพระรูปแรกของเมืองไทยที่ได้รับการถวายดุษฎี บัณฑิตกิตติมศักดิ์ด้านวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ ทั้งนี้จะเห็นว่าพระส่วนมากได้รับดุษฎีบัณฑิตด้านปรัชญา ศาสนา และภาษาศาสตร์เป็นส่วนมาก

ในการปฏิบัติศาสนกิจท่านก็ไม่บกพร่อง นำพระในวัดสวดมนต์ทำวัตรเช้าเย็นมิได้ขาด ทำวัตรเสร็จก็อบรมพระในวัดว่าอะไรควรทำควรปฏิบัติและอะไรควรเว้น พร้อมกับให้คติเตือนใจพระบวชใหม่ว่า บวชแล้วให้เอาบุญไปฝากพ่อแม่ นั่นคือทำดีประพฤติในธรรมวินัย ไม่นอกรีต นอกรอย เมื่อญาติโยมได้ฟังว่าพระประพฤติดีอยู่ในศีลในวินัยก็มีปีติ ได้รับบุญกุศลมีบุญที่ได้ยินได้ฟังเรื่องดีๆ ของพระลูกชาย แต่ถ้าพระลูกชายประพฤติชั่วนอกศีลนอกธรรม โยมพ่อ โยมแม่ทราบก็เป็นทุกข์ พระลูกชายแทนที่จะเป็นผู้นำบุญกลายเป็นผู้นำบาปไปให้พ่อแม่ เป็นบาปหนักเข้าไปอีก

นอกจากอบรมพระหลังทำวัตร ท่านจะเผยแผ่ธรรมะหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียง กทม. ในเวลา 05.0005.30 น. ทุกวัน นอกจากพูดและอธิบายธรรมะในประเด็นต่างๆ แล้ว ท่านจะเล่าเกร็ดประวัติศาสตร์ของชาติ เหตุการณ์สำคัญๆ ในอดีต รวมทั้งประวัติบุคคลที่เป็นคนสำคัญของชาติไทยเพิ่มเติม ทั้งนี้เพราะท่านชอบประวัติศาสตร์ ส่วนเรื่องอื่นๆ ที่กล่าวเพิ่มเติมมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับกิจการคลินิกล้างไต ที่ท่านเป็นผู้ริเริ่มที่วัดสุทธาราม ในนามมูลนิธิศรีรัตนโกสินทร์

ส่วน เรื่องบริการล้างไตที่ถือว่าเป็นบริการของวัดแห่งเดียวของไทย ให้บริการฟอกไตประชาชนวันละ 100 ราย เป็นที่พึ่งของคนไข้ที่มีรายได้น้อย จนเป็นที่ชื่นชมของคนทั่วไป แม้กระทั่งกรรมการมหาเถรสมาคม เมื่อเห็นรายงานของวัดสุทธารามยังกล่าวชื่นชมว่าทำดีมาก

สมเด็จพระพุ ฒาจารย์ เคยมาเยี่ยมที่วัดครั้งหนึ่งก่อนจะอาพาธ ได้ให้กำลังใจว่าอย่าทิ้งงานนี้ เพราะเป็นงานที่ทำเพื่อส่งเสริมกิจการพระศาสนา พร้อมกับบริจาคทรัพย์ซื้อเครื่องฟอกไต 1 เครื่อง ราคา 5 แสนบาท

มูลนิธิ ศรีรัตนโกสินทร์ เริ่มให้บริการฟอกไตแก่ประชาชนในระยะเริ่มต้นด้วยเครื่องฟอกไต 2 เครื่อง บริการคนไข้ได้วันละ 6 คน ปัจจุบันมีเครื่องฟอกไต 40 เครื่อง ฟอกไตให้คนไข้ได้วันละ 100 คน โดยแบ่งเป็น 3 กะ กะละ 4 ชั่วโมงต่อคน เริ่มตั้งแต่เวลา 06.00 น. ทุกวัน เว้นวันอาทิตย์



อนุโมทนา ด้วยครับ

 :25: :25: :25:
138  ธรรมะสาระ / บทสวดมนต์ มนต์พิธี / อภยปริตร สำหรับ สวดเมื่อฝันร้าย ไม่ฝันร้ายก็สวดดี เมื่อ: มิถุนายน 24, 2011, 07:45:12 am
อภยปริตร สำหรับ สวดเมื่อฝันร้าย

กรุณาเปิดเสียง อภยปริตร ได้คลิกที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้
http://www.oknation.net/blog/buddhamantra/video/20351
หรือคลิกที่ " อภยปริตร " ที Favorite Link ด้านซ้ายมือ

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
ลางชั่วร้ายอันใด และอวมงคลอันใด เสียงนก เป็นที่ไม่ชอบใจอันใด
และบาปเคราะห์อันใด สุบิน (ความฝัน) ชั่ว อันไม่พอใจอันใดมีอยู่
ขอสิ่งเหล่านั้น จงถึงความพินาศไป ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมัง คะลัญจะ
โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
ลางชั่วร้ายอันใด และอวมงคลอันใด เสียงนก เป็นที่ไม่ชอบใจอันใด
และบาปเคราะห์อันใด สุบิน (ความฝัน) ชั่ว อันไม่พอใจอันใดมีอยู่
ขอสิ่งเหล่านั้น จงถึงความพินาศไป ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมเจ้า
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
โย จามะนาโป สะกุณัสสะสัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ
ลางชั่วร้ายอันใด และอวมงคลอันใด เสียงนก เป็นที่ไม่ชอบใจอันใด
และบาปเคราะห์อันใด สุบิน (ความฝัน) ชั่ว อันไม่พอใจอันใดมีอยู่
ขอสิ่งเหล่านั้น จงถึงความพินาศไป ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์เจ้า


////////////////////////////////////////////////////////////////////////

ตำนานอภยปริตร
     
 ครั้ง หนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงพระสุบินนิมิต ถึงอาเพศ ๑๖ อย่าง แล้วให้เกิดความหวาดหวั่น ต่อมรณภัยที่มองไม่เห็น จึงทรงเล่าพระสุบินนั้น ให้พราหมณ์ปุโรหิตรับฟัง
พราหมณ์ปุโรหิตพยากรณ์ว่าจะบังเกิดเหตุการณ์ให้พระองค์มีอันตรายอย่างหนึ่งอย่างใด รวมทั้งราชสมบัติด้วย     
ปุโรหิตนั้น ได้ทูลแนะวิธีป้องกันอันตราย ด้วยบัญญัติวิธี คือ เอาสัตว์อย่างละ ๔ ๆ มาฆ่าบูชายัญ     
พระเจ้าปเสนทิโกศล จึงทรงมีรับสั่งให้จัดเตรียม ประจำพิธีและสิ่งของ ตามถ้อยคำของปุโรหิตบอก     
 พระ นางมัลลิกาเทวี พระมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล จึงทูลขึ้นว่า เสด็จพี่อย่าพึ่งทำยัญพิธีกรรมใด ๆ เลย ขอได้โปรดเสด็จไปทูลถาม ถึงพระสุบินนิมิตนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญู มิมีสิ่งใดที่พระพุทธองค์ไปรู้   
ราชาโกศล จึงเสด็จพร้อมมเหสีและบริวาร ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ เชตวันมหาวิหาร แจ้งทูลถามถึงสุบินนิมิตทั้ง ๑๖ ข้อนั้น     
       พระผู้มีพระภาคทรงตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร ภัยอันตรายใด ๆจะพึงบัง เกิดมีแก่พระองค์ จากเหตุแห่งพระสุบินนิมิตนั้น หามีไม่ สุบินนิมิตของพระองค์ เป็นสิ่งบอกเหตุที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หวังจากเราตถาคตนิพพานไปแล้ว
และในที่สุดพระผู้มีพระภาค จึงทรงขอให้พระเจ้าปเสนทิโกศล ล้มเลิกยัญพิธีทั้งปวงเสีย
     
       บัดนี้ถึงกาลอันควรแล้ว ขอเชิญพระสาวกแก้ว ได้โปรดสาธยาย อะภะยะปริตร เพื่อพิชิตอวมงคลทั้งหลายที่บังเกิดขึ้น ให้พินาศไป ด้วยเทอญ
139  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / อุทุมพิกสูตร แสดงเรื่อง สะเก็ด และ เปลือก แก่น เมื่อ: มิถุนายน 24, 2011, 07:44:11 am


จากบางส่วนของ อุทุมพริกสูตร
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค (จัดเรียงบรรทัด วรรคตอนใหม่)

[๒๔] นิโครธปริพาชกทูลถามว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคตรัสอุปกิเลสมากอย่างในการหน่ายบาปด้วยตบะที่บริบูรณ์แล้วอย่างนี้ อย่างไรเล่า ฯ
            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนิโครธะ บุคคลผู้มีตบะในโลกนี้ย่อมถือมั่นตบะ เขาเป็นผู้ ดีใจ มีความดำริบริบูรณ์ด้วยตบะนั้น
แม้ข้อที่ผู้มีตบะ ถือมั่นตบะดีใจ มีความดำริบริบูรณ์ด้วยตบะนั้น นี้แล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ ฯ
            ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นด้วยตบะนั้น
แม้ข้อที่ผู้มีตบะ ถือมั่นตบะ ยกตนข่มผู้อื่นด้วยตบะนั้น นี้แล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ ฯ
            ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะเขาย่อมเมา ย่อมลืมสติ
ย่อมถึงความเมาด้วยตบะนั้น แม้ข้อที่ผู้มีตบะ ถือมั่นตบะ เมา ลืมสติ ถึงความเมาด้วยตบะนั้น นี้แล
ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ ฯ
            ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ย่อมถือมั่นตบะ
เขาให้ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาเป็นผู้ดีใจ มีความดำริบริบูรณ์ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น
แม้ข้อที่ผู้มีตบะ ดีใจ มีความดำริบริบูรณ์ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น นี้แล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ ฯ
            ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ
เขาให้ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นด้วยสักการะและความสรรเสริญนั้น
แม้ข้อที่ผู้มีตบะ ถือมั่นตบะ ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น
ยกตนข่มผู้อื่นด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้นนี้แล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ ฯ
            ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอีก บุคคลผู้มีตบะย่อมถือมั่นตบะ
เขาให้ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดขึ้นด้วยตบะนั้น
เขาย่อมเมา ย่อมลืมสติ ย่อมถึงความเมาด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น
แม้ข้อที่ผู้มีตบะ ถือมั่นตบะยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เมา ลืมสติ
ถึงความเมาด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น นี้แล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ ฯ
            ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ย่อมถือมั่นตบะ
ย่อมถึงส่วน ๒ ในโภชนะทั้งหลายว่า สิ่งนี้ควรแก่เรา สิ่งนี้ไม่ควรแก่เรา ก็สิ่งใดแลไม่ควรแก่เขา เขามุ่งละสิ่งนั้นเสีย
แต่ส่วนสิ่งใดควรแก่เขา เขากำหนัด ลืมสติ ติดสิ่งนั้น ไม่แลเห็นโทษ ไม่มีปัญญาคิดสลัดออก บริโภคอยู่
แม้ข้อนี้แล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ ฯ
            ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ย่อมถือมั่นตบะ
ด้วยคิดว่า พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชากษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี เดียรถีย์
จักสักการะเรา เพราะเหตุแห่งความใคร่ลาภสักการะและความสรรเสริญ
แม้ข้อนี้แล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ ฯ
            ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ย่อมเป็นผู้รุกรานสมณะหรือพราหมณ์อื่นแต่ที่ไหนๆ ว่า
ก็ไฉน ผู้นี้เลี้ยงชีพด้วยวัตถุหลายอย่าง กินวัตถุทุกๆ อย่าง คือพืชเกิดแต่เหง้า พืชเกิดแต่ลำต้น พืชเกิดแต่ผล
พืชเกิดแต่ยอด พืชเกิดแต่เมล็ดเป็นที่ครบห้า ปลายฟันของผู้นี้คมประดุจสายฟ้า
คนทั้งหลายย่อมจำกันได้ด้วยวาทะว่าเป็นสมณะ แม้ข้อนี้แล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ ฯ
            ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะเห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่น
ที่เขาสักการะ เคารพ นับถือ บูชาอยู่ในสกุลทั้งหลาย เขาดำริอย่างนี้ว่า
คนทั้งหลายย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา สมณะหรือพราหมณ์ชื่อนี้แล
ผู้เลี้ยงชีพด้วยวัตถุหลายอย่าง ในสกุลทั้งหลาย แต่ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือไม่บูชาเราผู้มีตบะ
เลี้ยงชีพด้วยวัตถุเศร้าหมอง เขาเป็นผู้ให้ความริษยาและความตระหนี่เกิดขึ้นในสกุลทั้งหลาย ดังนี้
แม้ข้อนี้แล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ ฯ
            ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ เป็นผู้นั่งในที่เป็นทางที่คนแลเห็น
แม้ข้อนี้แล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ ฯ
            ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ย่อมเที่ยวแสดงตนไปในสกุลทั้งหลายว่า
กรรมแม้นี้อยู่ในตบะของเรา กรรมแม้นี้อยู่ในตบะของเรา แม้ข้อนี้แล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ ฯ
            ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะย่อมเสพโทษอันปกปิดบางอย่าง
เขาถูกผู้อื่นถามว่า โทษนี้ควรแก่ท่านหรือ กล่าวโทษที่ไม่ควรว่าควรกล่าวโทษที่ควรว่าไม่ควร
เขาเป็นผู้กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ ดังนี้ แม้ข้อนี้แล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ ฯ
            ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ เมื่อพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตแสดงธรรมอยู่
ย่อมไม่ผ่อนตามปริยายซึ่งควรจะผ่อนตามอันมีอยู่ แม้ข้อนี้แล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ ฯ
            ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะเป็นผู้มักโกรธมักผูกโกรธ
แม้ข้อนี้แล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ ฯ
            ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะเป็นผู้มีความลบหลู่ ตีเสมอ ริษยา ตระหนี่ โอ้อวด มีมารยา
กระด้าง ถือตัวจัด เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ไปสู่อำนาจแห่งความปรารถนาอันลามก เป็นมิจฉาทิฐิ
ประกอบด้วยทิฐิอันดิ่งถึงที่สุด เป็นผู้ลูบคลำทิฐิเอง เป็นผู้ถือมั่น สละคืนได้ยาก
แม้ข้อนี้แล ย่อมเป็นอุปกิเลสแก่บุคคลผู้มีตบะ ฯ
            ดูกรนิโครธะ ท่านจะพึงสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การหน่ายบาปด้วย
ตบะเหล่านี้ เป็นอุปกิเลสหรือไม่เป็นอุปกิเลส ฯ
            นิโครธปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การหน่ายบาปด้วยตบะเหล่านี้ เป็นอุปกิเลสแน่แท้
ไม่เป็นอุปกิเลสหามิได้ บุคคลผู้มีตบะในโลกนี้ พึงเป็นผู้ประกอบด้วยอุปกิเลสเหล่านี้มีครบทุกอย่าง
ข้อนี้แล เป็นฐานะที่จะมีได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงอุปกิเลสเพียงบางข้อๆ ฯ

            [๒๕] ดูกรนิโครธะ บุคคลผู้มีตบะในโลกนี้ ย่อมถือมั่นตบะ เขาเป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่มีความดำริบริบูรณ์ ด้วยตบะนั้น
ข้อที่ผู้มีตบะ ถือมั่นตบะ ไม่ดีใจไม่มีความดำริบริบูรณ์ ด้วยตบะนั้น อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น ฯ
            ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ย่อมถือมั่นตบะ
เขาย่อมไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยตบะนั้น ... อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น ฯ
            ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ย่อมถือมั่นตบะ
เขาย่อมไม่เมา ไม่ลืมสติ ย่อมไม่ถึงความเมา ด้วยตบะนั้น ... อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น ฯ
            ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ย่อมถือมั่นตบะ
เขาให้ลาภสักการะและความสรรเสริญ เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาเป็นผู้ไม่ดีใจ
ไม่มีความดำริบริบูรณ์ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น ... อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น ฯ
            ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ย่อมถือมั่นตบะ
เขาให้ลาภสักการะและความสรรเสริญ เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาย่อมไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น
ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น ... อย่างนี้ เขาเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น ฯ
            ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ย่อมถือมั่นตบะ
ย่อมไม่ถึงส่วน ๒ ในโภชนะทั้งหลายว่า สิ่งนี้ควรแก่เรา สิ่งนี้ไม่ควรแก่เรา ก็สิ่งใดแลไม่ควรแก่เขา เขาไม่มุ่งละสิ่งนั้นเสีย
ส่วนสิ่งใดควรแก่เขา เขาไม่กำหนัด ไม่ลืมสติ ไม่ติดสิ่งนั้น แลเห็นโทษ มีปัญญาคิดสลัดออก บริโภคอยู่ อย่างนี้
เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น ฯ
            ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ย่อมถือมั่นตบะ
แต่เขาไม่คิดว่า พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี เดียรถีย์ จักสักการะเรา
เพราะเหตุแห่งความใคร่ลาภสักการะและความสรรเสริญอย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น ฯ
            ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ไม่เป็นผู้รุกรานสมณะหรือพราหมณ์อื่นว่า
ก็ไฉน ผู้นี้เลี้ยงชีพด้วยวัตถุหลายอย่าง กินวัตถุทุกๆ อย่าง คือ พืชเกิดแต่เหง้า พืชเกิดแต่ลำต้น พืชเกิดแต่ผล พืชเกิดแต่ยอด
พืชเกิดแต่เมล็ดเป็นที่ครบห้า ปลายฟันของผู้นี้คมประดุจสายฟ้า คนทั้งหลายย่อมจำกันได้ด้วยวาทะเป็นสมณะ อย่างนี้
เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น ฯ
            ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ
เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่นที่เขาสักการะเคารพนับถือบูชาอยู่ในสกุลทั้งหลาย เขาไม่ดำริอย่างนี้ว่า
คนทั้งหลายย่อมสักการะ เคารพนับถือ บูชาสมณะหรือพราหมณ์ชื่อนี้แล ผู้เลี้ยงชีพด้วยวัตถุหลายอย่างในสกุลทั้งหลาย
แต่ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือไม่บูชาเราผู้มีตบะ เลี้ยงชีพด้วยวัตถุเศร้าหมอง
เขาไม่ให้ความริษยาและความตระหนี่เกิดขึ้นในสกุลทั้งหลาย ดังนี้ อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น ฯ
            ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ เป็นผู้ไม่นั่งในที่เป็นทางที่คนแลเห็น อย่างนี้
เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น ฯ
            ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ย่อมไม่เที่ยวแสดงตนไปในสกุลทั้งหลายว่า
กรรมแม้นี้อยู่ในตบะ ของเรา กรรมแม้นี้อยู่ในตบะของเรา อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น ฯ
            ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ย่อมไม่เสพโทษอันปกปิดบางอย่าง เขาถูกผู้อื่นถามว่า
โทษนี้ควรแก่ท่านหรือ กล่าวโทษที่ไม่ควรว่าไม่ควร กล่าวโทษที่ควรว่าควร เขาเป็นผู้ไม่กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ ดังนี้ อย่างนี้
เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น ฯ
            ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ เมื่อพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคตแสดงธรรมอยู่
ย่อมผ่อนตามปริยายซึ่งควรผ่อนตามอันมีอยู่อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น ฯ
            ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ไม่เป็นผู้มักโกรธไม่มักผูกโกรธ อย่างนี้
เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น ฯ
            ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ไม่เป็นผู้มีความลบหลู่ ไม่ตีเสมอ ไม่ริษยา ไม่ตระหนี่
ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ไม่กระด้างไม่ถือตัวจัด ไม่เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ไม่ไปสู่อำนาจแห่งความปรารถนาอันลามก
ไม่เป็นมิจฉาทิฐิ ไม่ประกอบด้วยทิฐิอันดิ่งถึงที่สุด ไม่เป็นผู้ลูบคลำทิฐิเองไม่เป็นผู้ถือมั่น สละคืนได้ง่าย อย่างนี้
เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น ฯ
            ดูกรนิโครธะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
ถ้าเมื่อเป็นเช่นนี้ การหน่ายบาปด้วยตบะ จะบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ ฯ
            นิโครธปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนี้ การหน่ายบาปด้วยตบะเหล่านี้บริสุทธิ์แน่แท้
ไม่บริสุทธิ์หามิได้ เป็นกิริยาที่ถึงยอดและถึงแก่น
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนิโครธะ การหน่ายบาปด้วยตบะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นกิริยาที่ถึงยอดถึงแก่น หามิได้
ที่แท้ เป็นกิริยาที่ถึงสะเก็ดเท่านั้น ฯ

            [๒๖] นิโครธปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็การหน่ายบาปด้วยตบะ เป็นกิริยาที่ถึงยอดและถึงแก่น
ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงให้ข้าพระองค์ถึงยอดถึงแก่นแห่งการหน่ายบาปด้วยตบะเถิด ฯ
            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนิโครธะ บุคคลผู้มีตบะในโลกนี้ เป็นผู้สังวรแล้วด้วยสังวร ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน
            ดูกรนิโครธะ บุคคลผู้มีตบะในโลกนี้
            ๑. ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ใช้ผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์ เมื่อผู้อื่นฆ่าสัตว์ ไม่เป็นผู้ดีใจ ฯ
            ๒. ไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ไม่ใช้ให้ผู้อื่นถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้
เมื่อผู้อื่นถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ไม่เป็นผู้ดีใจ ฯ
            ๓. ไม่พูดเท็จ ไม่ใช้ผู้อื่นให้พูดเท็จ เมื่อผู้อื่นพูดเท็จ ไม่เป็นผู้ดีใจ ฯ
            ๔. ไม่เสพกามคุณ ไม่ใช้ให้ผู้อื่นเสพกามคุณ เมื่อผู้อื่นเสพกามคุณไม่เป็นผู้ดีใจ ฯ
            ดูกรนิโครธะ บุคคลผู้มีตบะเป็นผู้สังวรแล้วด้วยสังวร ๔ ประการอย่างนี้
ดูกรนิโครธะ เพราะว่าบุคคลผู้มีตบะเป็นผู้สังวรแล้วด้วยสังวร ๔ ประการ ข้อที่จะกล่าวต่อไปนี้ จึงเป็นลักษณะของเขา
เพราะเป็นผู้มีตบะ เขารักษายิ่งซึ่งศีลไม่เวียนมาเพื่อเพศอันเลว เขาเสพเสนาสนะอันสงัด
คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำในภูเขา ป่าช้า ป่าชัด ที่แจ้ง ลอมฟาง ในปัจฉาภัต
เขากลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้จำเพาะหน้า เขาละความเพ่งเล็งในโลกเสียแล้ว
มีใจปราศจากความเพ่งเล็ง ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้ ละความประทุษร้าย คือ พยาบาท
ไม่พยาบาท มีความกรุณาหวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้าย คือพยาบาทได้
ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่
ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้
ละอุทธัจจกุกกุจจะ เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้
ละวิจิกิจฉา เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้
เขาละนิวรณ์ ๕เหล่านี้ อันเป็นอุปกิเลสแห่งใจที่ทำให้ปัญญาถอยกำลัง มีใจประกอบด้วยเมตตา
แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก
ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถานด้วยใจอันประกอบด้วยเมตตา อันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ เขามีใจประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน
ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างเบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถานด้วยใจอันประกอบ
ด้วยกรุณา อันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
เขามีใจประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนกัน
ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวางแผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน
ด้วยใจอันประกอบด้วยมุทิตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
เขามีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน
ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า
ในที่ทุกสถานด้วยใจอันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ฯ
            ดูกรนิโครธะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าเมื่อเป็นเช่นนี้ การหน่ายบาปด้วยตบะ จะบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ ฯ
            นิโครธปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนี้ การหน่ายบาปด้วยความเพียร บริสุทธิ์แน่แท้
ไม่บริสุทธิ์หามิได้ เป็นกิริยาที่ถึงยอดและถึงแก่น
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนิโครธะ การหน่ายบาปด้วยตบะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
เป็นกิริยาที่ถึงยอดหรือถึงแก่นหามิได้ ที่แท้ เป็นกิริยาที่ถึงเปลือกเท่านั้น ฯ


140  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ผู้หลุดพ้นแล้ว เหมือนบัวบาน ที่พ้นจากน้ำแล้วย่อมยังประโยชน์แก่โลก เมื่อ: มิถุนายน 24, 2011, 07:31:58 am



พระมหาปันถก เมื่อบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้รับความสุขจากการหลุดพ้น สิ้นจากกิเลส (สิ่งที่ทำให้จิตเศร้าหมอง) และอาสวะ (กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน) ทั้งปวง มีความปรารถนาจะให้จูฬปันถกผู้เป็นน้องชายมีความสุขเช่นนั้นบ้าง จึงได้ขออนุญาตธนเศรษฐีผู้เป็นตาผู้ซึ่งมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว ได้อนุญาตให้จูฬปันถกออกบวช จูฬบันถกก็ได้รับอนุญาตจากธนเศรษฐีให้ออกบวชได้ พระมหาปันถกผู้พี่ชายได้สอนคาถาพรรณนาคุณบทหนึ่งแก่พระจูฬปันถก ความว่า

ดอกบัวชื่อโกกนุท บานในเวลาเช้า ยังไม่สิ้นกลิ่น ยังหอมอยู่ ฉันใด
ท่านจงดูพระอังคีรส ผู้ไพโรจน์อยู่ เหมือนดวงอาทิตย์รุ่งโรจน์อยู่ในอากาศ ฉันนั้น

เพียง คาถาบทเดียวนี้เท่านั้น พระจูฬปันถกเรียนอยู่นานถึง ๔ เดือนก็ยังจำไม่ได้ พระมหาปันถกผู้พี่ชายพยายามให้เธอเรียนอย่างไรก็ไม่สำเร็จ ในที่สุดเห็นว่าพระน้องชายเป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา จึงตำหนิพระน้องชายแล้วขับไล่ออกจากสำนักไป

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง ทราบเรื่องนี้จึงเสด็จไปเทศนา ได้ประทานผ้าขาวผืนหนึ่งให้แก่พระจูฬปันถก ตรัสบอกให้บริกรรมด้วยคาถาว่า “รโชหรณํ รโชหรณํ” (ผ้าเช็ดธุลี ผ้าเช็ดธุลี) พร้อมกับให้พระจูฬปันถกลูบคลำผ้าผืนนั้นไปด้วยขณะบริกรรมคาถา ในเวลาไม่นาน พระจูฬปันถกได้บรรลุพระอรหัตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาญาณ คือ ปัญญาอันแตกฉาน ๔ ประการ ได้แก่ อัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในอรรถ) ธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม) นิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ คือ ภาษา) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ) และได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นหนึ่งในอสีติมหาสาวก (พระสาวกผู้ใหญ่ ๘๐ องค์) ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา ผู้เนรมิตกายสำเร็จด้วยใจ ๑ ผู้ฉลาดในการเปลี่ยนแปลงทางใจ ๑ จูฬปันถกเป็นเอตทัคคะแล.....”
141  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / ฮือฮาพระเกจิดัง ศพไม่เน่า เผยใส่โลงนานเกือบปี เมื่อ: มิถุนายน 22, 2011, 08:45:40 am


ไม่เน่า- พระลูกวัดชัยมงคล อ.เมือง จ.สมุทรสาคร อุ้มศพพระครูมงคลสาครชัย อดีตเจ้าอาวาส ออกจากโลงไม้สักมาบรรจุในโลงใหม่เพื่อเตรียมเข้าพิธีพระราชทานเพลิง และต้องอัศจรรย์ใจตามๆ กัน เพราะสภาพไม่เน่าเปื่อย ทั้งๆ ที่เก็บศพไว้เกือบ 1 ปีแล้ว
 
 
เจ้าอาวาสวัดดังที่มหาชัย! พระราชทานเพลิงศพวันนี้
 
ฮือ ฮาศพพระเกจิ อดีตเจ้าอาวาสวัดดังเมืองมหาชัยไม่เน่าเปื่อย หลังมรณภาพมานานเกือบปี ชาวบ้านเก็บใส่โลงแก้ว เปิดออกดูเพื่อเตรียมประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพวันนี้ พบยังมีสภาพสมบูรณ์ เป็นที่อัศจรรย์ใจของศิษยานุศิษย์ ก่อนมีการประชุมกัน ยืนยันให้มีการพระราชทานเพลิง เผยประวัติเป็นพระนักเทศน์ภาษารามัญ อีกทั้งเป็นศิษย์เอกหลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน สมุทรสาคร

เมื่อ เวลา 10.00 น. วันที่ 27 ม.ค. นายอนันต์ ปิ่นทอง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3 ต.ชัยมงคล อ.เมืองสมุทรสาคร เปิดเผยว่า ตามที่ พระครูวินัยธร ภทฺทธมฺโม เจ้าอาวาสวัดชัยมงคล ต.ชัยมงคล และคณะกรรมการวัดจัดงานพระราชทานเพลิงศพพระครูมงคลสาครชัย จนฺทญาโณ อดีตเจ้าอาวาสซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ชื่อดังของสมุทรสาคร ในวันอาทิตย์ที่ 28 ม.ค.นั้น ระหว่างที่พระครูวินัยธร และคณะกรรมการวัด นำศพพระครูมงคลสาครชัยออกจากโลงไม้สักของเดิม มาบรรจุไว้ในโลงที่ใช้ในพระราชทานเพลิงตามพิธีของชาวรามัญ เมื่อเปิดฝาโลงออก สร้างความตื่นตะลึงและเป็นที่อัศจรรย์ให้กับทุกคนเป็นอย่างยิ่ง เพราะสภาพศพของอดีตเจ้าอาวาสที่เห็นนั้นยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ไม่เน่าเปื่อย และไม่มีกลิ่นใดๆ ทั้งสิ้น ชาวบ้านที่มามุงดูต่างก้มลงกราบและวิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆ นานา บางคนบอกว่าหลวงพ่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว

จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้พระครูวินัยธรและคณะกรรมการวัดเรียกประชุมด่วนนานหลายชั่วโมง พร้อมกับเสนอให้ใส่โลงแก้วรักษาสภาพศพไว้ให้ลูกศิษย์มากราบไหว้ขอพรต่อไป แต่ในที่สุดที่ประชุมได้ข้อสรุปว่าจะพระราชทานเพลิงศพไปตามกำหนดการเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

สำหรับประวัติของพระครูมงคลสาครชัย จนฺทญาโณ มีชื่อเดิมว่า ชำนาญ ปัญญารัตน์ เกิดเมื่อวันที่ 6 ก.ค.2459 มรณภาพเมื่อวันที่ 3 มี.ค.2549 อายุ 90 ปี เป็นบุตรของนายคำ และนางแกละ ปัญญารัตน์ เป็นชาวต.ชัยมงคล อ.เมืองสมุทรสาคร มีพี่น้องทั้งหมด 8 คน เป็นบุตรคนที่ 6 อุปสมบทเมื่อวันที่ 6 ก.ค.2481 ที่วัดชัยมงคล มีพระครูรอด พุทฺธสณฺโท วัดบางน้ำวน พระเกจิชื่อดังที่สร้างพระเครื่องราคาองค์ละหลายแสนบาทที่เซียนพระรู้จักดี ว่า หลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน เป็นพระอุปัชฌาย์

กระทั่งวันที่ 25 ธ.ค. 2520 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดชัยมงคล ตลอดเวลาได้ทำนุบำรุงบูรณะปฏิสังขรณ์อารามให้อยู่ในสภาพมั่นคงถาวรสวยงาม นอกจากนี้ยังเป็นนักเทศน์ภาษารามัญฝีปากเอกระดับประเทศอีกองค์หนึ่งด้วย ถวายที่ดินส่วนตัวให้วัดจำนวนหลายไร่เพื่อการพัฒนาวัด จนได้รับการยกย่องให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างอีกด้วย นอกจากนี้มีชื่อเสียงทางด้านวิชาอาคม เมตตามหานิยม มีการออกวัตถุมงคลเป็นเหรียญ 1 รุ่น ซึ่งเวลานี้มีราคาแพงและหายาก เป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ

 

 

ที่มาจากหนังสือพิมพ์ ข่าวสด

ประจำวันที่ 28 มกราคม 2550 (หน้า 1)

http://www.goosiam.com/news/news1/html/0000745-2.html
142  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บ้านใกล้ครั่ง ย้อมครั่งไม่แดง นอนตะแคง ผิงแดดไม่อุ่น สวดจุ้มกุ้มมืองุ่มไม่ถึง เมื่อ: มิถุนายน 22, 2011, 08:42:54 am
บ้านใกล้ครั่ง ย้อมครั่งไม่แดง นอนตะแคง ผิงแดดไม่อุ่น สวดจุ้มกุ้มมืองุ่มไม่ถึง




           นี่ ท่านก็พูดบ่อย "แปลว่าอะไรหลวงปู่ ? ""ไปภาวนาแปลเอา แปลให้รู้แล้วมันขี้เกียจขี้คร้าน ทำความเพียร มันไม่สิ้นสงสัย " ผม(หลวงปู่จันทา) ก็เร่งความเพียรอย่างนั้น นั่นแหละอดนอนผ่อนอาหาร จิตรวมสู่ขณิกสมาธิได้ เย็นกาย เย็นจิต จิตลหุตา จิตเบา กายลหุตา กายเบา นั่นแหละ อันนี้เป็นผลรายได้จากการเจริญความเพียร

           โอ๋… การเจริญธรรมผู้ประกอบให้ทุกข์เกิดขึ้น นี่จะเป็นผู้เห็นธรรมได้ ผู้ใดทำความเพียร ติดสุข ไม่เห็นธรรมนะ

           ผู้ ใดทำความเพียร เอาทุกข์เป็นอารมณ์ของสติ เป็นอารมณ์ของใจ เผากิเลสให้ใจเร่าร้อน อย่างนั้น จะเห็นความเป็นไปในธรรมทั้งหลายนั้น ก็เลยกำหนดถามผู้รู้คือใจนี่แหละ

           บ้านใกล้ครั่ง ย้อมครั่งไม่แดง ได้แก่อะไร ?

           ได้แก่ เราเป็นชาวพุทธ ถือศาสนาพุทธนั่นแหละ แต่ไม่ประพฤติปฏิบัติตามพุทธ ถือเฉย ๆ แต่ไม่ยอมประพฤติปฏิบัติตาม ก็เลยไม่รู้ธรรมเห็นธรรม ไม่เป็นไป จิตก็ไม่ได้บรรลุธรรม ไม่ได้ดื่มรสของความสงบ พระโสดาปัตติผล พระสกิทาคามีผล พระอนาคามีผล พระอรหันต์ ไม่มี ไม่เกิดขึ้น นั่นแหละ มีแต่กิเลส เผาใจให้เร่าร้อน อันนี้เรียกว่า ย้อมครั่งไม่แดง

           นอน ตะแคง ผิงแดดไม่อุ่น นี่ได้แก่ ผู้ขี้เกียจขี้คร้าน สะสม คุณงามความดีใส่ตนไว้ ไม่เจริญธรรม เมื่อความเจ็บไข้ได้ป่วยมาถึง ความตายมาถึงแล้ว หาความสุขอะไรไม่มี มีแต่ความเร่าร้อนเกิดขึ้น เผากายเผาจิตให้เร่าร้อนทังวันคืน นั่นแหละ ได้ชื่อว่านอนตะแคงผิงแดดไม่อุ่น

           จะ ไปนอนผิงแดด มันก็ไม่อุ่น มีข้าวของเงินทองมากมาย ก่ายกองจุเมฆ มันก็ไม่มาช่วยเหลือให้อบอุ่นได้ มีแต่เร่าร้อนกระวนกระวาย หิวกระหายอย่างนั้น

           สวด จุ้มกุ้ม มืองุ่มไม่ถึง ได้แก่ ลาภยศสรรเสริญสุข ฝ่ายโลก เขาได้เป็นนายร้อย นายพัน นายพล ข้าหลวง นายอำเภอ ตลอดจนนายกรัฐมนตรี ผู้นำของชาติ ประมุขของชาติ นั่นแหละเขาได้กัน เราก็ไม่ได้ เพราะบุญน้อยวาสนาน้อย พลอยรำคาญ เล่าเรียนแล้วก็ไม่ได้

           ฝ่าย ทางธรรม เขาได้เป็นเจ้าฟ้าเจ้าคุณตลอดจนสังฆราช ประมุขของศาสนา อยากได้แล้วก็ไม่ได้ ทีนี้ทางฝ่ายธรรมเข้าไปอีก พระโสดาปัตติผล พระสกิทาคามีผล พระอนาคามีผล พระอรหัตตผล ก็ไม่ได้ไม่ถึง นั่นเพราะเหตุใด ? เพราะความขี้เกียจขี้คร้าน ไม่สะสมบุญกุศลใส่ตนไว้ ไม่รีบเร่งบำเพ็ญอินทรีย์ธรรมให้แก่ ไม่บำเพ็ญบารมีธรรมให้เกิดมีขึ้นในตน เป็นผู้ติดสุขลืมตน ประมาทท่องเที่ยวเกิดดับภพน้อยภพใหญ่ โอ๊ย…เขาผู้หมั่นขยันนั้น เขาได้ กันสนั่นหวั่นไหว เราก็ไม่ได้ เพราะเราเป็นคนขี้เกียจขี้คร้าน ขี้เซาเหงานอน ครูบาอาจารย์ท่านแนะนำพร่ำสอนอย่างไร ก็ไม่ยอมทำ ทำได้แต่ความชั่ว นั่นแหละความชั่วทำได้ แต่ความดีทำไม่ได้ ผลสุดท้ายก็อับอายขายหน้าเอาแต่ความชั่วอวดเขาทั้งนั้น ไม่ดี

http://www.vcharkarn.com/varticle/38727
143  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / สรีระร่างพระสังฆปรินายกเว่ยหลาง ที่เจดีย์ โซกาย 1200 กว่าปีแล้ว เมื่อ: มิถุนายน 22, 2011, 08:40:25 am
สรีระร่างพระสังฆปรินายกเว่ยหลาง




ความเห็นของ คุณเฮ้งตงเอี๊ยง จากเว็บพลังจิต
ตอนเด็ก ๆ เคยเห็นภาพพระนั่งขัดสมาธิเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ดับขันธ์
อยู่ใต้ต้นโพธิ์ มีรากโพธิ์ขึ้นคลุมร่างท่าน ชาวบ้านเรียกกันว่าหลวงพ่อพวงโพธิ์
ค้นข้อมูลดู มาทราบอีกว่า พระผู้ทรงคุณที่มานั่งดับขันธ์ในประเทศไทย
มีหลายองค์ เป็นพระที่จาริกบุญโปรดสัตว์ จากประเทศจีน ส่วนใหญ่จะ
เข้าป่าเมืองกาญน์ ปลงสังขาร ดับขันธ์ กันหมด ป่าแถบเมืองกาญจน์จึง
ได้รับ ขนานนามว่า ป่าช้าเซ็น




การนั่งสมาธิดับขันธ์ การรู้มรณสัญญานวันตาย ร่างไม่เน่าไม่เปื่อย
การนั่งสมาธินานๆ เป็นเดือนๆ โดยไม่กินข้าว อาจเป็นเรื่องแปลก
สำหรับคนสมัยใหม่ แต่เป็นเรื่องธรรมดามากสำหรับชาวพุทธ ถ้าใคร
ปฏิบัติธรรมถึงขั้นหนึ่ง จะรู้วันตายของตัว เช่น อาจารย์เสถียร โพธินันทะ
พระบางองค์ สามารถกำหนดวันตาย เวลาตาย ท่าตาย ของตัวได้ด้วย



ทางนิกายฝ่ายเหนือ มหายาน สุขาวดี เซน วัชรญาณ การนั่งสมาธิดับขันธ์
เป็นเรื่องธรรมดามาก เป็น ธรรมเนียม อริยประเพณีของทางนั้น คนที่ทำได้
ภูมิธรรม ภูมิจิตต้องสูง จิตเหนือกาย เหนือขันธ์แล้ว จะนั่งดับขันธ์ให้คนเห็น
ให้ศิษย์เห็นเพื่อยังศรัทธามหาชน ช่วยพระศาสนา หรือ จะนั่งดับเงียบ เพียงลำพัง
ตามป่า ตามถ้ำ ย่อมทำได้ ไม่ติดขัด เพราะจิตท่านพร้อมแล้ว ในพุทธประวัติ
พระอริยะหลายองค์ ก่อนดับขันธ์ ท่านจะแสดงอภิญญา กราบลาพระพุทธองค์
แล้วเข้าสมาบัติแสดงโตโชกสิน เหาะขึ้นกลางอากาศ แล้วเปลวไฟก็ใหม้
สรีระท่าน เหลือแต่ พระอรหันตธาตุ เช่น พระอานนท์ และอีกหลาย ๆ องค์


ส่วนร่างกายไม่เน่าไม่เปื่อย


1. พระอริยะผู้ทรงคุณ ปฏิบัติธรรมถึงขั้นหนึ่ง ธาตุขันธ์ ของท่าน
ย่อมบริสุทธิ์ ไม่เหมือนคนธรรมดา บางแห่งท่านจะเรียกว่า ขั้น วัชรกาย


2. เคยได้ทราบมาว่า บางที ขึ้นอยู่กับคำอธิษฐานจิตของท่านก่อนดับขันธ์
บางองค์อธิษฐานให้ร่างคงอยู่ไม่เน่า เพื่อโปรดศิษย์ ช่วยพระศาสนา
ดับขันธ์แบบศรัทธา เหลือร่างไว้ อาจมีพระธาตุเกาะ เพื่อเป็นอนุสติเตือนศิษย์
ให้รำลึกถึงท่าน คำสอนของท่าน ดับขันธ์แบบปัญญา ไม่มีพิธีรีตอง งานฉลอง
ไม่ต้องมีพระธาตุ ไม่ต้องมีพัดยศ เผากลางแจ้งไร้เมรุ สอนธรรมไปในตัว
อาจารย์ท่านดับแบบใหนดีทั้งนั้น สาธุ สาธุ



3. ทางวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า ร่างกายของพระเหล่านั้น มีสารเคมี
บางตัวแตกต่าง จากคนทั่วไป ทำให้แบคทีเรีย เชื้อโรค ไม่ชอบ


144  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / รูปถ่ายสังขาร หลวงพ่อทอง ธีปธัมโม อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าดงบ้านกลาง เมื่อ: มิถุนายน 22, 2011, 08:33:14 am











หนองคาย-ชาวบ้านฮือฮาศพพระที่ไม่เน่าเปื่อย มีผมขึ้นบนศรีษะ เล็บมือ เล็บเท้างอกหลังถูกเก็บไว้ในเบ้านานร่วม 10 ปี
เมื่อเวลา 12.00 น.วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2554  ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากนายโสภณ น้อยยะ กำนันตำบลหนองนางว่ามีเหตุการณ์ประหลาดเกิดขึ้นที่วัดป่าดงบ้านกลาง หมู่ 2 บ.นาดง ต.หนองนาง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย หลังทราบเรื่องจึงเดินทางไปตรวจสอบ
เมื่อผู้สื่อข่าวเดินทางไปถึงพบชาวบ้านจำนวนหนึ่งกำลังช่วยกันจัดเตรียมข้าวของเพื่อรอทำการฌาปนกิจศพของพระทอง ธีปธัมโม  อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าดงบ้านกลาง
โดยจากการสอบถามชาวบ้านที่มาช่วยงานทราบว่าศพของพระทองมีสภาพไม่เน่าเปื่อยอีกทั้งยังมีผมงอกขึ้นมาบนศรีษะ  เล็บมือ เล็บเท้างอกขึ้นมาสร้างความประหลาดใจให้กับชาวบ้านที่พบเห็นหลังจากทุบเบ้าที่ใช้เก็บศพของพระทองไว้เพื่อนำมาฌาปนกิจ
นายบุญไหล โหราฤทธิ์ อายุ 72 ปี ไวยาวัจกรวัดป่าดงบ้านกลางกล่าวว่าพระทองมรณภาพเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2544 รวมสิริอายุได้ 57 ปี  และ ได้นำเข้าเบ้าเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2544 จนกระทั่งในวันนี้ผ่านมาเกือบ 10 ปี ชาวบ้านนาดงได้กำหนดนำศพพระทองมาทำการฌาปนกิจจึงได้ทำการทุบเบ้าเพื่อนำร่าง ของพระทองมาทำการฌาปนกิจ แต่ปรากฏว่าเมื่อทุบเบ้าแล้วพบว่าสภาพร่างของพระทองยังคงมีความสมบูรณ์ไม่ เน่าเปื่อยมีผมงอกขึ้นมาบนศรีษะ เล็บเท้า เล็บมืองอกขึ้นมาสร้างความอัศจรรย์ให้กับผู้ที่พบเห็น ซึ่งพระทองก่อนมรณภาพได้ทำหน้าที่รักษาการเจ้าอาวาสวัดป่าดงบ้านกลาง โดยชาวบ้านกำหนดวันฌาปนกิจในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2554.
ภัทรวินทร์ ลีปาน
หนองคาย

http://nationpostmedia.blogspot.com/2011/02/10.html
145  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / รูปถ่ายสังขาร หลวงพ่อบั๊ก วัดเนินพะยอม เมื่อ: มิถุนายน 22, 2011, 08:27:34 am


วัดเนินพยอม เป็นวัดเล็กๆในจังหวัดอุทัยธานี

พระ อธิการเลิศน้อย ปภากโร เจ้าอาวาสวัดเนินพยอม หมู่ 5 ต.หลุมเข้า อ.หนองขาหย่าง จ.อุทัยธานี เปิดเผยว่า หลวงปู่บ๊ก หรือหลวงปู่สุวรรณ กัลยาณี อดีตเจ้าอาวาสวัดเนินพยอม เกจิอาจารย์ชื่อดัง 5 แผ่นดิน ผู้มีวาจาสิทธิ์ เมืองอุทัยธานี มรณภาพมานานถึง 9 ปี สภาพศพท่านไม่เน่าเปื่อย เส้นผมงอก เล็บงอก ผิวกายไม่เป็นสีดำ แต่ผิวพรรณกลับผ่องใสนวลเหลืองเหมือนยังมีชีวิตและจำวัดอยู่ในโลงแก้ว เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง บรรดาพุทธศาสนิกชนผู้เลื่อมใสในตัวหลวงปู่บ๊กต่างเดินทางมากราบไหว้สักการะ อยู่เป็นประจำ เพื่อความเป็นสิริมงคล หลายคนต่างพูดว่า “หลวงปู่บ๊ก ท่านสำเร็จแล้ว เป็นอริยสงฆ์ที่ควรบูชา” หลวงปู่บ๊ก มีนามเดิมว่า สุวรรณ อาจมิตร์ เป็นชาวอุทัยธานีโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 52 ที่บ้านเนินพยอม เป็นบุตรคนที่ 2 ของนายแจ่ม–นางเลี่ยม อาจมิตร์  อุปสมบท  ณ  พัทธสีมา วัดเนินพยอม ต.หลุมเข้า เมื่อวันที่  25 พ.ค. 2477 ขณะมีอายุ  25 ปี

      หลวงปู่บ๊กได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อเคน วัดดงเศรษฐี ศึกษาพุทธาคม และการทำน้ำมันรักษาแผล กระดูกหัก เรียนทำน้ำมนต์กับหมอสวิง หมอแพรง ซึ่งเป็นฆราวาสลูกศิษย์หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อพูน วัดหนองตางู ถือเป็นศิษย์ผู้พี่ หลวงปู่ตี๋ ญาณโสภโณ วัดหลวงราชาวาส นอกจากนี้ท่านยังเป็นศิษย์สายตรงของหลวงพ่อพุฒ วัดทุ่งแก้ว และร่ำเรียนวิชาอาคมจากตำราหลวงปู่ศุขด้วย ฤาษีลิงดำแห่งวัดท่าซุง เคยปรารภอยู่เสมอว่า “พระสงฆ์ที่เป็นอริยสงฆ์ควรแก่การกราบไหว้บูชา ที่พบมีอยู่  2 รูป  คือ หลวงปู่สี ฉันทสิริ  วัดเขาถ้ำบุญนาค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์  และหลวงปู่บ๊ก หรือหลวงปู่สุวรรณ กัลยาณี วัดเนินพยอม ต.หลุมเข้า  อ.หนองขาหย่าง  จ.อุทัยธานี เท่านั้น”

      หลวงปู่บ๊ก ได้ละสังขารมรณภาพลงด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 6 ก.ย.2545 รวมสิริอายุ 93 ปี พรรษา 78 ซึ่งศพของท่านยังเก็บไว้ในโลงแก้ว วัดเนินพยอม ให้ศิษยานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปได้กราบไหว้บูชา ส่วนวัตถุมงคลของหลวงปู่บ๊กทุกรุ่นมีประสบการณ์ เด่นทางด้านเมตตา โชคลาภ โภคทรัพย์  และแคล้วคลาด จึงเป็นที่เสาะแสวงหาของบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่อง และพุทธศาสนิกชนที่เลื่อมใสศรัทธาทั่วไป
 
 
อ้างอิงข่าว ข่าวสดออนไลน์



146  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / เชิญร่วมฟังธรรม โดย พระอารยะวังโส ที่ นนทบุรี 23 มิ.ย.54 17.30-19.00 น เมื่อ: มิถุนายน 09, 2011, 07:08:42 am
ชมรมลานโพธิ์ลานธรรม


ขอเชิญผู้สนใจรับฟังพระธรรมเทศนาและฝึกปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน

นำโดย พระอาจารย์อารยวังโส
เจ้าอาวาสวัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

 


วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๔

เวลา  ๑๗.๐๐-๑๙.๓๐ น

ณ ลานพระศรีมหาโพธิ์ 

ตรงข้ามตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

อำเภอเมือง จังหวัด นนทบุรี
147  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เมื่อเราปฏิบัติธรรม ภาวนา อย่า เพิ่มความคิดว่าเราเหนือคนอื่น เมื่อ: มิถุนายน 09, 2011, 07:02:02 am
วันนี้ วันธรรมสวนะ ( วันพระ ) เจริญธรรมสักหน่อย

บางครั้งการปฏิบัติธรรม ผู้ปฏิบัติมักจะพกความแตกต่าง ให้เป็นช่องว่าง ว่าเราดีกว่าคนทั่วไป เราิวิเศษกับคนทั่วไป
ควรจะมีคนเคารพนับถือเรา เป็นต้น

การปลีกวิเวกของอาตมาในเวลา  1 ปี ครึ่งนี้ จะได้ความรู้สึกเห็นจริง ว่าเราไม่ได้วิเศษกว่าคนอื่น ดีกว่าคนอื่น
ไม่จำเป็นต้องมีผู้มาเคารพกราบไหว้ เมื่อเราเป็นผู้ภาวนาหรือ ปฏิบัติ หรือมีคุณธรรมใด ๆ ซึ่งมองแล้วก็ มานะ
อัสสมิมานะ การถือตัว ถือตน อย่างยิ่ง

 ดังนั้นผู้ปฏิบัติ ภาวนา เมื่อภาวนาแล้ว ต้องลดมานะทิฏฐิ ให้ได้

 การลดมานะทิฏฐิ ที่ได้ผล ก็คือการเจริญ อนิจจสัญญา คือ ความจำหมายว่าไม่เที่ยง เสมอ ๆ

 เจริญธรรม ยามเช้า เท่านี้นะจ๊ะ

  ;)
148  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / 8.มกสชาดก เด็กผู้ฆ่ายุง เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2011, 09:19:23 am
อรรถกถา มกสชาดก
ว่าด้วย มีศัตรูผู้มีปัญญาดีกว่ามีมิตรโง่
พระบรมศาสดา เมื่อเสด็จจาริกไปในหมู่ชนชาวมคธ ทรงปรารภพวกมนุษย์ชาวบ้านที่เป็นพาล ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า “ เสยฺโย อมิตฺโต ” ดังนี้. :-
ได้ ยินมาว่า ในสมัยหนึ่ง พระตถาคตเจ้าเสด็จจากพระนครสาวัตถี ไปสู่แคว้นมคธ ขณะกำลังเสด็จจาริกไปในแคว้นมคธนั้น ทรงบรรลุถึงบ้านตำบลหนึ่ง. แม้บ้านหมู่นั้นก็หนาแน่นไปด้วยพวกมนุษย์อันธพาลโดยมาก.
ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง พวกมนุษย์อันธพาลประชุมปรึกษากันว่า ท่านทั้งหลาย พวกยุงมันรุมกัดเรา ขณะที่ไปทำการงานในป่า เพราะเหตุนั้น การงานของเราทั้งหลายจึงขาดไป พวกเราจักถือธนูแลอาวุธ ครบมือทีเดียว พากันไปรบกับฝูงยุง ฆ่ามันเสีย แทงมันเสีย ให้ตายให้หมด ดังนี้ แล้วพากันไปป่า ต่างก็หมายมั่นว่า เราจักแทงฝูงยุง กลับไปทิ่มแทง ประหารกันเอง ต่างคนต่างก็เจ็บป่วยกลับมา นอนอยู่ภายในบ้านก็มี ที่กลางบ้านก็มี ที่ประตูบ้านก็มี.
พระบรมศาสดาแวดล้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าไปสู่บ้านนั้นเพื่อบิณฑบาต. หมู่คนที่เป็นบัณฑิตที่เหลือ เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงสร้างมณฑปที่ประตูบ้าน ถวายมหาทานแก่พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ถวายบังคมพระศาสดา นั่งอยู่แล้ว.
ครั้ง นั้น พระศาสดาทอดพระเนตรเห็น คนทั้งหลายล้มนอนเจ็บในที่นั้นๆ ก็ตรัสถามอุบาสกเหล่านั้นว่า คนเหล่านี้ไปทำอะไรกันมา จึงได้เจ็บป่วยกันมากมาย?
อุบาสก เหล่านั้นก็กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนเหล่านี้คบคิดกันว่า พวกเราจักทำการรบกับฝูงยุง แล้วพากันยกไป กลับไปรบกันเอง เลยเจ็บป่วยไปตามๆ กัน.
พระ ศาสดาตรัสว่า มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น ที่พวกมนุษย์อันธพาลคบคิดกันว่า เราจักประหารฝูงยุง กลับประหารตนเอง แม้ในครั้งก่อน ก็เคยเป็นพวกมนุษย์ที่คิดว่า จักประหารยุง แต่กลับประหารผู้อื่นมาแล้วเหมือนกัน. แล้วทรงดุษณี ต่อเมื่อพวกมนุษย์เหล่านั้นทูลอาราธนาแล้ว.
ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ อยู่ในกรุงพาราณสี. พระโพธิสัตว์เลี้ยงชีวิตด้วยการค้า. ครั้งนั้น ที่บ้านชายแดนแห่งหนึ่ง ในแคว้นกาสี มีพวกช่างไม้อาศัยอยู่มาก ด้วยกัน. ช่างไม้หัวล้านคนหนึ่ง ในหมู่ช่างไม้เหล่านั้น กำลังตากไม้ ขณะนั้น มียุงตัวหนึ่ง บินมาจับที่ศีรษะ ซึ่งคล้ายกับกระโหลกทองแดงคว่ำ แล้วกัดศีรษะด้วยจะงอยปาก เหมือนกับประหารด้วยหอก. ช่างไม้จึงบอกลูกของตน ผู้นั่งอยู่ใกล้ๆ ว่า ไอ้หนู ยุงมันกัดศีรษะพ่อ เจ็บเหมือนถูกแทงด้วยหอก จงฆ่ามันเสีย.
ลูกพูดว่า พ่อจงอยู่นิ่งๆ ฉันจะฆ่ามัน ด้วยการตบครั้งเดียวเท่านั้น.
แม้ ในเวลานั้น พระโพธิสัตว์ก็กำลังเที่ยวแสวงหาสินค้าของตนอยู่ ลุถึงบ้านนั้น นั่งพักอยู่ในโรงของช่างไม้นั้น. เป็นเวลาเดียวกันกับที่ช่างไม้นั้น บอกลูกว่า ไอ้หนู ไล่ยุงนี้ที.
ลูก ขานรับว่า จ่ะพ่อ ฉันจะไล่มัน พูดพลาง ก็เงื้อขวานเล่มใหญ่คมกริบ ยืนอยู่ข้างหลังพ่อ ฟันลงมาเต็มที่ ด้วยคิดว่า จักประหารยุง เลยผ่าสมองของบิดาเสียสองซีก. ช่างไม้ถึงความตายในที่นั้นเอง.
พระ โพธิสัตว์เห็นการกระทำของลูกช่างไม้แล้ว ได้คิดว่า ถึงปัจจามิตรเป็นบัณฑิต ก็ยังดีกว่า เพราะเขายังเกรงอาญาแผ่นดิน ไม่ถึงกับฆ่ามนุษย์ได้.
แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า
“ ศัตรูผู้มีความรู้ ประเสริฐกว่ามิตรผู้ปราศจากความรู้ ไม่ประเสริฐเลย เพราะลูกชายผู้โง่เขลา คิดว่า จักฆ่ายุง กลับผ่าหัวของพ่อเสีย ” ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสยฺโย ความว่า ประเสริฐ คือสูงสุด.
บทว่า มติยา อุเปโต ความว่า ประกอบด้วยปัญญา.
บทว่า เอลมูโค แปลว่า เซ่อเซอะ คือโง่เขลา.
บท ว่า ปุตฺโต ปิตุ อพฺภิทา อุตฺตมงฺคํ ความว่า เพราะความที่ตนเป็นคนโง่เขลา แม้เป็นบุตร คิดว่า เราจักฆ่ายุง ก็ยังผ่าหัวสมองของพ่อเสียแล่งเป็น ๒ ซีก เพราะเหตุนั้น บัณฑิตถึงจะเป็นศัตรู ก็ยังดีกว่ามิตรที่โง่ๆ.
พระโพธิสัตว์ ครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว ก็ลุกขึ้นไปทำงานตามหน้าที่. แม้พวกที่เป็นญาติ ก็ได้จัดการทำสรีรกิจของช่างไม้.
พระ บรมศาสดาตรัสว่า อุบาสกทั้งหลาย แม้ในครั้งก่อน ก็ได้เคยมีมนุษย์ที่ได้คิดว่า เราจักประหารยุง แต่กลับประหารคนอื่นมาแล้ว เหมือนกัน.
ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า
ก็พ่อค้าบัณฑิตที่กล่าวคาถา แล้วหลีกไป ได้มาเป็น เราตถาคต นี้แล.


ขอบคุณที่มา
http://www.84000.org/tipitaka/atita100/jataka500.php?s=44
149  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / 7. ติตติรชาดก สหายธรรม เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2011, 09:18:41 am
ติตติรชาดก

          ณ ต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่งในป่าหิมพานต์ เป็นที่อาศัยของสัตว์สามชนิด คือ ช้าง ลิง และ นกกระทา สัตว์ทั้งสามไม่ค่อยชอบหน้ากันโดยช้างถือว่าตนมีร่างกายแข็งแรงใหญ่โต ลิงถือว่าตนแคล่วคล่องว่องไว ส่วนนกกระทาก็ถือว่าตนนั้นบินได้เก่ง จึงพยายามหาทางกลั่นแกล้งกันและกันอยู่เสมอ

          วัน หนึ่ง ช้างซึ่งคิดว่าตนเองแข็งแรงที่สุด มีรูปร่างใหญ่โต ต้องมีอำนาจมากกว่าสัตว์อื่น จึงแผดเสียงดังสนั่นหวั่นไหวจนลิงและนกกระทาตกใจนอนไม่หลับ ทำให้สัตว์ทั้งสองโกรธแค้นเป็นอันมาก

วัน หนึ่ง ลิงเห็นช้างกำลังกินหน่อไม้ริมทางอย่างเพลิดเพลิน ก็แกล้งโยนรังมดแดงใส่หลัง มดแดงรุมกัดช้างจนร้องลั่น ลิงหัวเราะชอบใจแล้วหันไปรื้อรังนกกระทา

          นก กระทาแค้นใจเป็นอันมากที่ถูกช้างและลิงกลั่นแกล้งจึงพยายามหาทางแก้แค้นคืน บ้าง พอเห็นลิงและช้างเผลอ ก็บินขึ้นไปและถ่ายมูลรดหัวช้างและลิงเป็นการแก้แค้น

ทั้งสามต่างแกล้งกันอยู่อย่างนี้ทุกวันจนไม่เป็นอันทำมาหากิน เป็นผลให้สัตว์ทั้งสามมีร่างกายผ่ายผอมอ่อนแอ จิตใจเสื่อมโทรมลงทุกวัน

          ใน ที่สุดสัตว์ทั้งสามเห็นว่าการกลั่นแกล้งกันทำให้เกิดความเดือดร้อน มีแต่ผลเสีย จึงปรึกษากันว่าควรจะเลือกผู้ที่มีอายุมากที่สุดเป็นหัวหน้า โดยใช้วิธีการสืบสาวเรื่องราวว่าใครรู้จักต้นไทรนี้ก่อนกัน

ช้างตอบว่า “ข้ารู้จักต้นไทรต้นนี้ตั้งแต่ต้นไทรสูงไม่เกินระดับท้องของข้า”

          ส่วนเจ้าลิงกลัวจะน้อยหน้าเพื่อนจึงตอบว่า “ข้านี่นะ รู้จักไทรต้นนี้ตั้งแต่ยังต้นเล็กนิดเดียวเท่านั้น”

นกกระทาได้ยินช้างกับลิงตอบเช่นนั้นจึงตอบอย่างมั่นอกมั่นใจว่า “นี่ แน่ะเพื่อนรัก ข้าจะบอกอะไรให้ เมื่อก่อนต้นไทรต้นนี้ไม่มีหรอก ข้าต้องบินไปกินผลไทรในป่าโน้นกินเสร็จก็บินกลับมาที่นี่ แล้วพอดีเกิดปวดท้องจนทนไม่ไหวจึงถ่ายมูลไว้ตรงนี้ เมล็ดไทรจากมูลที่ข้าถ่ายไว้นั่นเองที่เกิดเป็นต้นไทรขึ้น”

          เมื่อซักถามประวัติกันเรียบร้อยแล้ว ปรากฏว่านกกระทาเป็นผู้มีอายุมากที่สุด ได้รับการยกย่องให้เป็นพี่ใหญ่ ช้างและลิงต้องเชื่อฟัง

          นับ ตั้งแต่นั้นมา นกกระทาทำหน้าที่เป็นผู้ปลุกน้อง ๆ ให้ตื่นแต่เช้าแล้วบินขึ้นที่สูง เพื่อสำรวจแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ พาช้างและลิงไปที่นั่น

          โดยให้ลิงเป็นฝ่ายขึ้นไปเก็บผลไม้มากินกัน และบรรทุกผลไม้ที่เหลือไว้บนหลังช้าง เก็บไว้เป็นอาหารมื้อต่อไป

          ใน ที่สุดสัตว์ทั้งสามก็มีสุขภาพกายจิตดีขึ้นเรื่อย ๆ ต่างพร้อมใจกันทำหน้าที่ที่ตนถนัด ทำให้สามารถอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขด้วยการพึ่งพาอาศัยกันและกัน

          ชาดก เรื่องนี้สอนให้รู้ว่าการนับถือกันตามลำดับวัยวุฒิ รู้จักเคารพซึ่งกันและกัน และรู้จักเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่กันย่อมนำมาซึ่งความสุขในการอยู่ร่วมกัน

http://www.oknation.net/blog/preeeecha/2010/02/17/entry-6

150  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / คนพาลย่อมสำคัญว่าเป็นสุข เมื่อบาปยังไม่ให้ผล เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2011, 07:58:39 am
"คนพาลย่อมสำคัญว่าเป็นสุข เมื่อบาปยังไม่ให้ผล ถ้าบาปให้ผลเมื่อใด คนพาลย่อมได้รับทุกข์เมื่อนั้น ผู้ฆ่าย่อมถูกฆ่าตอบ ผู้ชนะย่อมได้รับการชนะตอบ ผู้ด่าย่อมถูกด่าตอบ ผู้โกรธย่อมได้รับการโกรธตอบ เพราะความหมุนเวียนแห่งกรรม"

สังคามวัตถุสูตร ๑๕/๑๑๙


151  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมนอนเป็นทุกข์ เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2011, 07:55:56 am


พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารบุพพาราม เมืองสาวัตถี ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลพระพุทธเจ้าถึงพระอชาตศัตรูยกทัพไปตีแคว้นกาสี พระเจ้าปเสนธิโกศลได้ยกทัพไปป้องกันแต่พ่ายแพ้กลับมา ทรงทราบและได้ตรัสว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย! วันนี้พระเจ้าปเสนธิโกศล ทรงแพ้มาแล้วอย่างนี้ จะบรรทมเป็นทุกข์ตลอดคืนนี้"

    และทรงแสดงผลแห่งสงคราม เป็นคติเตือนใจว่า

    "ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมนอนเป็นทุกข์ บุคคลละความชนะและความแพ้เสียแล้วจึงสงบระงับ(เวร)นอนเป็นสุข"
152  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / สวดพระปริตรและอธิษฐานจิตเพื่อประเทศไทย วันที่ ๒๙ พ.ค. ๕๔ ณ พระอุโบสถ วัดพระแก้ว เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2011, 07:19:36 am
สวดพระปริตรและอธิษฐานจิตเพื่อประเทศไทย วันที่ ๒๙ พ.ค. ๒๕๕๔ ณ พระอุโบสถ วัดพระแก้ว

ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนและพี่น้องประชาชนชาวไทย

"สวดพระปริตรและอธิษฐานธรรม เพื่อแผ่นดินไทย" ครั้งที่ ๓๐

นำสวดโดย พระอาจารย์อารยวังโส

เจ้าอาวาสวัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย จังหวัดลำพูน

 

ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) กทม.

วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

เวลา ๐๗.๐๐-๐๙.๓๐ น.


 

มีหนังสือสวดมนต์แจกหน้างาน

 

หมายเหตุ

ท่านใดที่เคยได้รับแจกเข็มกลัดให้ติดเสื้อมาด้วยนะคะ

ท่านที่เคยได้รับแจกหนังสือสวดมนต์แล้ว โปรดนำติดตัวไปด้วย

เพื่อจะได้มีหนังสือไว้แจกแด่...ท่านที่มาใหม่ ค่ะ

 

การแต่งกาย: ชุดสุภาพสีขาว หรือ สีสุภาพ

งดเว้น กางเกงขาสั้น  กระโปรงสั้น

*******************************************************







ก็ขอเชิญสาธุชน ที่ทราบข่าวไปร่วมงานนี้ด้วยกันนะจ๊ะ

153  เรื่องทั่วไป / แนะนำเว็บไซท์ สายธรรมะ กันหน่อยจ้า / http://www.jitsabuy.com บ้านจิตสบาย เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2011, 07:31:57 am


http://www.jitsabuy.com



เมนูหลัก

    * หน้าหลัก
    * กิจกรรมบ้านจิตสบาย
    * ปฎิทินธรรม
    * วิดีโอบรรยายธรรม
    * สาระจากพระไตรปิฎก
    * หนังสือธรรมะ

แผนที่บ้านจิตสบาย

 

การเดินทาง
1. เข้าทางด้านถนนกาญจนภิเษก จุดสังเกตหลัก คือ สมาคมชาวปักษ์ใต้ (ตรงข้ามเนติบัณฑิตฯ)
2. มาจากถนนบรมราชชนนี เลี้ยวเข้าถนนพุทธมณฑลสาย 2
เข้าสู่ถนนสุขาภิบาลบางระมาด (ห่างจากถนนพุทธมณฑลสาย 2 ประมาณ 150 เมตร)
3. มาจากถนนเพชรเกษม เลี้ยวเข้าถนนพุทธมณฑลสาย 2
เข้าสู่ถนนสุขาภิบาลบางระมาด (ห่างจากถนนพุทธมณฑลสาย 2 ประมาณ 150 เมตร)

 

รถประจำทางที่ผ่าน  สาย 157, 123, ปอ.พ.79
154  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / เมื่อเจอคนศาสนาอื่น พูดย่ำยีหลักคำสอน ของพระพุทธศาสนาควรทำอย่างไรคะ เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2011, 06:46:28 am




เมื่อเจอเพื่อนที่เป็นคนศาสนาอื่น พูดย่ำยีหลักคำสอน ของพระพุทธศาสนาควรทำอย่างไรคะ



 
   ตอนนี้ในประเทศไทยมีเพียงศาสนาเดียวที่กล่าวโจมตีศาสนาื่ือื่น ๆ และพยายามเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนไทย
สำหรับเรื่องนี้ มีการพูดมากแล้วจึงไม่ขอหยิบยกมากล่าวในนี้

  กรณีนี้เป็นเรื่องธรรมดา ปกติ วาสนาบารมีมีไม่เท่ากัน ไม่ต้องหนักใจอะไร และไม่ต้องไปสนใจ เพราะจากประสพการณ์ีที่ผ่านมาทราบดีว่า ไม่มีใครในศาสนาอื่น ๆ ที่่จะสามารถโน้มน้าวชักนำให้เปลี่ยนศาสนา หรือนับถือศาสนาใด ๆ ได้ง่าย ด้วยคำพูดที่ไม่กี่นาที
 
 คนนับถือศาสนา ส่วนใหญ่ เป็นไปตามกำเนิด ตามสังคม ตามหน้าที่การงาน
ส่วนที่นับถือ เพราะพึ่งพาศาสนาทางใจนั้น หรือ เป็นไปเพื่อสันติจริง ๆ มีน้อยมาก

 ดังนั้นอย่าป่วยการกล่าวถึงคนศาสนาอื่น ๆ เลย แม้คนศาสนาเดียวกัน ก็ยังพูดจากกล่าวคำย่ำยี ซึ่งกันและกัน
อย่างสาหัส ก็มากมาย

 ดังนั้นสรุป อย่าส่งจิตไปสนใจ เรื่องราวเหล่านี้เลย อายุพระพุทธศาสนาถูกพยากรณ์ไว้แล้วโดยพระพุทธเจ้า
หน้าที่เรา รีบภาวนาก่อนที่ศาสนาจะหมดไปเสียเถิด เพราะความทุกข์ที่จะมีหลังจากศาสนาหมดแล้ว มีมากมาย
และยาวนาน มาก....
155  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / 4 คันธาระชาดก พระคันธาระฤาษี เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2011, 06:22:06 am
ใน อดีตกาล พระโพธิสัตว์ทรงเป็นโอรสของพระเจ้าคันธาระ ในคันธารรัฐ เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ โดยพระราชบิดาทิวงคตแล้ว ทรงครองราชย์โดยธรรม แม้ในมัชฌิมประเทศ พระเจ้าวิเทหะก็ทรงครองราชย์ในวิเทหรัฐ พระราชาทั้ง ๒ พระองค์นั้นทรงเป็นพระสหายที่ไม่เคยเห็นกัน แต่ก็ทรงมีความคุ้นเคยกันอย่างมั่นคง คนสมัยนั้นมีอายุยืนดำรงชีวิตอยู่ได้ถึง ๓ แสนปี ดังนั้นในวันอุโบสถกลางเดือน พระเจ้าคันธาระก็ทรงสมาทานศีลเป็นครั้งคราว แล้วเสด็จไปประทับบน พระบวรบัลลังก์ภายในชั้นที่โอ่โถง ทรงตรวจดูโลกธาตุด้านทิศตะวันออก ทางสีหปัญชรที่เปิดไว้ ตรัสถ้อยคำที่ประกอบด้วยธรรมแก่เหล่าอำมาตย์ ขณะนั้นพระราหูได้บดบังดวงจันทร์เต็มดวง เหมือนกระโดดโลดเต้นไปในท้องฟ้า แสงจันทร์อันตรธานหายไป อำมาตย์ทั้งหลายไม่เห็นแสงพระจันทร์ จึงทูลพระราชาถึงภาวะที่ดวงจันทร์ถูกราหูยึดไว้
พระ ราชาทรงทอดพระเนตรพระจันทร์ ทรงพระดำริว่า พระจันทร์นี้ เศร้าหมองอับแสงไปเพราะสิ่งเศร้าหมองที่จรมา แม้ข้าราชบริพารนี้ก็เป็นเครื่องเศร้าหมองสำหรับเราเหมือนกัน แต่การที่เราจะเป็นผู้หมดสง่าราศีเหมือนดวงจันทร์ที่ถูกราหูยึดไว้นั้น ไม่สมควรแก่เราเลย เราจักละราชสมบัติออกบวช เหมือนดวงพระจันทร์สัญจรไปในท้องฟ้าที่บริสุทธิ์ ฉะนั้น จะมีประโยชน์อะไรด้วยผู้อื่นที่เราตักเตือนแล้ว เราจักเป็นเสมือนผู้ไม่ข้องอยู่ด้วยตระกูลและหมู่คณะ ตักเตือนตัวเองเท่านั้นเที่ยวไป นี้เป็นสิ่งที่เหมาะสำหรับเรา
แล้ว ทรงมอบราชสมบัติให้แก่เหล่าอำมาตย์ ด้วยพระดำรัสว่า ท่านทั้งหลายจงพากันแต่งตั้งผู้ที่ท่านทั้งหลายต้องประสงค์ให้เป็นพระราชา เถิด พระราชาแห่งคันธารรัฐนั้นทรงสละราชสมบัติเสด็จออกทรงผนวชเป็นฤๅษี ยังฌานและอภิญญาให้เกิดขึ้นแล้ว ทรงเอิบอิ่มด้วยความยินดีในฌาน สำเร็จการอยู่ในท้องถิ่นดินแดนหิม พานต์
ฝ่ายพระเจ้าวิเทหะตรัสถามพวกพ่อค้าทั้งหลายว่า พระราชาอันเป็นพระสหายของเราสบายดีหรือ ? ทรงทราบว่าพระองค์เสด็จออกทรงผนวชแล้วทรงดำริว่า เมื่อสหายของเราทรงผนวชแล้ว เราจักทำอย่างไรกับราชสมบัติ แล้วจึงทรงสละราชสมบัติในมิถิลนครกว้างยาว ๗ โยชน์ คลังที่เต็มเพียบอยู่ในหมู่บ้าน ๑๖,๐๐๐ หมู่บ้าน ในวิเทหรัฐประมาณ ๓๐๐ โยชน์และหญิงฟ้อน ๑๖,๐๐๐ นาง ไม่ทรงคำนึงถึงพระราชโอรส และพระราชธิดา เสด็จสู่ท้องถิ่นดินแดนหิมพานต์ทรงผนวชแล้ว เสวยผลไม้ตามที่มี ประทับอยู่ไม่เป็นประจำเที่ยวสัญจรไป
ทั้ง ๒ ท่านนั้น ประพฤติพรตและอาจาระสม่ำเสมอ ภายหลังได้มาพบกันแต่ก็ไม่รู้จักกัน ชื่นชมกันประพฤติพรตและอาจาระสม่ำเสมอกัน ครั้งนั้นวิเทหดาบส ทำการอุปัฏฐากท่านคันธารดาบส ในวันเพ็ญวันหนึ่ง เมื่อท่านทั้ง ๒ นั้นนั่งกล่าวกถาที่ประกอบด้วยธรรมกัน ณ ควงไม้ต้นใดต้นหนึ่ง พระราหูบดบังดวงจันทร์ ที่ลอยเด่นอยู่ท้องฟ้า ท่านวิเทหดาบสคิดว่า แสงพระจันทร์หายไปเพราะอะไรหนอ จึงมองดูเห็นพระจันทร์ถูกราหูยึด ไว้ จึงเรียนถามว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์อะไรหนอนั่น ได้บดบังพระจันทร์ ทำให้หมดรัศมี
ท่าน คันธารดาบสตอบว่า ดูก่อนอันเตวาสิก นี้ชื่อว่าราหูเป็นเครื่องเศร้าหมองอย่างหนึ่งของพระจันทร์ ไม่ให้พระจันทร์ส่องแสงสว่าง แม้เราเห็นดวงจันทร์ถูกราหูบังแล้ว คิดว่าดวงจันทร์ที่บริสุทธิ์นี้ก็กลายเป็นหมดแสงไป เพราะเครื่องเศร้าหมองที่จรมา ราชสมบัตินี้ก็เป็นเครื่องเศร้าหมองแม้สำหรับเรา เราจักบวชอยู่จนกระทั่งราชสมบัติจะไม่ทำให้เราอับแสงเหมือนราหูบังดวงจันทร์ แล้วทำดวงจันทร์ที่ถูกราหูบังนั่นเองให้เป็นอารมณ์ ทอดทิ้งราชสมบัติใหญ่หลวงบวชแล้ว
วิเทหดาบสถามว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ท่านเป็นพระเจ้าคันธาระหรือ ?
คันธารดาบส ถูกแล้วผมเป็นพระเจ้าคันธาระ
วิเทหดาบส ข้าแต่ท่านอาจารย์ กระผมเองก็ชื่อว่าพระเจ้าวิเทหะ ในมิถิลนครในวิเทหรัฐ พวกเราเป็นสหายที่ยังไม่เคยเห็นกันมิใช่หรือ ?
คันธารดาบส ก็ท่านมีอะไรเป็นอารมณ์ จึงออกบวช ?
วิ เทหดาบส กระผมได้ทราบว่าท่านบวชแล้ว คิดว่า ท่านคงได้เห็นคุณมหันต์ของการบวชแน่นอน จึงทำท่านนั่นแหละให้เป็นอารมณ์ แล้วสละราชสมบัติออกบวช
ตั้งแต่ นั้นมาดาบสทั้ง ๒ นั้น สมัครสมานกันชื่นชมกันเหลือเกิน เป็นผู้มีผลไม้เท่าที่หาได้เป็นโภชนาหาร ท่องเที่ยวไป ก็แหละทั้ง ๒ ท่านอยู่ด้วยกัน ณ ที่นั้นมาเป็นเวลานาน จึงพากันลงมาจากป่าหิมพานต์ เพื่อต้องการลิ้มรสเค็มรสเปรี้ยว ลุถึงชายแดนตำบลหนึ่ง คนทั้งหลายเลื่อมใสในอิริยาบถของท่าน ถวายภิกษารับปฏิญญาแล้ว พากันสร้างที่พักกลางคืนเป็นต้นให้ท่านอยู่ในป่า แม้ในระหว่างทางก็พากันสร้างบรรณศาลาไว้ในที่ๆ มีน้ำสะดวกเพื่อต้องการให้ท่านทำภัตกิจ
ท่าน พากันเที่ยวภิกขาจารที่บ้านชายแดนนั้นแล้ว นั่งฉันที่บรรณศาลาหลังนั้นแล้ว จึงไปที่อยู่ของตน คนแม้เหล่านั้นเมื่อถวายอาหารท่าน บางครั้งก็ถวายเกลือใส่ลงในบาตร บางคราวก็ห่อใบตองถวาย บางคราวก็ถวายอาหารที่มีรสไม่เค็มเลย
วัน หนึ่งพวกเขาได้ถวายเกลือจำนวนมากในห่อใบตองแก่ท่านเหล่านั้น วิเทหดาบสถือเอาเกลือไป ในเวลาภัตกิจของพระโพธิสัตว์ก็ถวายเกลือจนพอ ฝ่ายตนเองก็หยิบเอาประมาณพอควร ที่เกินต้องการก็ห่อใบตองแล้วเก็บไว้ที่ต้นหญ้า ด้วยคิดว่า จักใช้ในวันที่ไม่มีเกลือ
อยู่ มาวันหนึ่งเมื่อได้อาหารจืด ท่านวิเทหดาบสถวายภาชนะภิกษาแก่ท่านคันธาระแล้ว นำเกลือออกมาจากต้นหญ้าแล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ นิมนต์ท่านรับเกลือ คันธารดาบสถามว่า วันนี้คนทั้งหลายไม่ได้ถวายเกลือ ท่านได้มาจากไหน ?


156  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / 2 มังสชาดก วาทะธรรมของพรานป่า เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2011, 09:05:39 am


[๕๕๘]    วาจาของท่านหยาบคายจริงหนอ   ท่าน
         เป็นผู้ขอเนื้อ       วาจาของท่านเช่นกับพังผืด
         ดูก่อนสหาย  เราจะให้พังผืดแก่ท่าน.
      [๕๕๙]   คำว่า   พี่ชายน้องชายหรือพี่สาวน้องสาว
         นี้   เป็นอวัยวะของมนุษย์ทั้งหลาย    อันเขา
         กล่าวกันอยู่ในโลก      วาจาของท่านเช่นกับ
         อวัยวะ   ดูก่อนสหาย เราจะให้ชิ้นเนื้อแก่ท่าน.
      [๕๖๐]   บุตรเรียกบิดาว่า   พ่อ   ย่อมทำให้หัวใจ
         ของพ่อหวั่นไหว   วาจาของท่านเช่นกับหัวใจ
         ดูก่อนสหาย  เราจะให้เนื้อหัวใจแก่ท่าน.
      [๕๖๑]   ในบ้านของผู้ใดไม่มีเพื่อน    บ้านของผู้
         นั้นก็เป็นเหมือนกับป่า  วาจาของท่านเช่นกับ
         สมบัติทั้งมวล    ดูก่อนสหาย   เราจะให้เนื้อ
         ทั้งหมดแก่ท่าน.
                                        จบ  มังสชาดกที่  ๕


อรรถกถามังสชาดกที่ ๕
 
   พระศาสดาเมื่อประทับอยู่  ณ พระวิหารเชตวัน    ทรงปรารภ
บิณฑบาตอันมีรสที่พระสารีบุตรเถระ   ให้แก่ภิกษุทั้งหลายที่ดื่มยาถ่าย
จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้    มีคำเริ่มต้นว่า  ผรุสา  วต  เต  วาจา  ดังนี้.
   ได้ยินว่า  ในกาลนั้น   ภิกษุบางพวกในพระวิหารเชตวันพากัน
ดื่มยาถ่ายอันปรุงด้วยยางเหนียว    ภิกษุเหล่านั้นจึงมีความต้องการด้วย
บิณฑบาตอันมีรส.   ภิกษุผู้เป็นคิลานุปัฏฐากทั้งหลายคิดว่า  จักนำภัต-
ตาหารอันมีรสมา    จึงเข้าไปในนครสาวัตถี    แม้จะเที่ยวบิณฑบาตไป
ในถนนที่มีบ้านเรือนสมบูรณ์ด้วยข้าวสุก      ก็ไม่ได้ภัตตาหารอันมีรส
จึงพากันกลับ.  พระเถระเข้าไปบิณฑบาตในตอนสายเห็นภิกษุเหล่านั้น
จึงถามว่า   ผู้มีอายุทั้งหลาย   ทำไมจึงกลับสายนัก.      ภิกษุเหล่านั้นจึง
บอกเนื้อความนั้น.   พระเถระกล่าวว่า   ถ้าอย่างนั้น    ท่านทั้งหลายจง
มา     แล้วพาภิกษุเหล่านั้นไปยังถนนนั้นนั่นแหละ.     คนทั้งหลายได้
ถวายภัตตาหารอันมีรสจนเต็มบาตร.    พวกภิกษุผู้เป็นคิลานุปัฏฐากนำ
มายังพระวิหารแล้วได้ถวายแก่พวกภิกษุไข้.   ภิกษุไข้เหล่านั้นไข้บริโภค
รสเป็นที่ยินดี.    อยู่มาวันหนึ่ง    ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในโรง-
ธรรมสภาว่า   ท่านผู้อาวุโสทั้งหลาย   ได้ยินว่า   พระอุปัฏฐากของพวก
ภิกษุผู้ดื่มยาถ่ายไม่ได้ภัตตาหารอันมีรสจึงกลับออกมา   พระเถระจึงพา
เที่ยวไปในถนนที่มีบ้านเรือนซึ่งมีข้าวสุก  ส่งบิณฑบาตอันมีรสเป็นอัน
มากไปให้.   พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า   ภิกษุทั้งหลาย   บัดนี้



http://palungjit.com/tripitaka/default.php?cat=5800147


157  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / ธรรมสัญจร วันวิสาขบูชา 2554 เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2011, 07:38:56 pm
06.00 น. เดินทางเข้า กทม. ไปวัดธรรมมงคล นั่งกรรมฐาน 30 นาที บนเจดีย์
ที่ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ ( อุรังคตัง )


ถ่ายตอนที่กำลังจะเดินทางออกจากวัด




เมื่อมองจาก บนยอดเจดีย์ ชั้นที่ 14 ลงมาที่อุโบสถ ซึ่งกำลังมีการแสดงธรรมอยู่


กับภาพปริศนาที่ถ่ายภาพ พระบรมสารีริกธาตุ ( อุรังคตัง ) บนเจดีย์
หลังนั่งกรรมฐานก่อนกลับ



ภาพปริศนาธรรมการภาวนากรรมฐาน บนเจดีย์


ภาพปริศนาธรรมการภาวนากรรมฐาน บนเจดีย์
158  พระไตรปิฏก / พระเจ้า ๕๐๐ ชาติ / 1.เตมิยชาดก พระเตมีย์ใบ้ ( พระชาติใหญ่ 1 ในบารมี 10 ) เมื่อ: พฤษภาคม 17, 2011, 07:10:47 pm
มหานิบาตชาดก
๑. เตมิยชาดก
พระเจ้าเตมีย์ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี
             [๓๙๔]    ท่านจงอย่าแสดงตนเป็นคนฉลาด  จงให้คนทั้งปวงรู้ว่าตนเป็นคนโง่
                          คนทั้งหมดนั้นจะได้ดูหมิ่นท่านว่า เป็นคนกาฬกัณณี ความประสงค์ของ
                          ท่านจะสำเร็จด้วยอาการอย่างนี้.
             [๓๙๕]    ดูกรแม่เทพธิดา ข้าพเจ้าจะทำตามคำที่ท่านกล่าว  ท่านเป็นผู้ปรารถนา
                          ประโยชน์ ปรารถนาจะเกื้อกูลแก่ข้าพเจ้า.
             [๓๙๖]    ดูกรนายสารถี ท่านจะรีบขุดหลุมไปทำไม เราถามแล้ว ขอท่านจงบอก
                          ท่านจักทำประโยชน์อะไรด้วยหลุม.
             [๓๙๗]    พระราชโอรสของพระราชาเป็นใบ้ เป็นง่อยเปลี้ย ไม่มีจิตใจ พระราชา
                          ตรัสสั่งข้าพเจ้าว่า พึงฝังลูกเราเสียในป่า.
             [๓๙๘]    ดูกรนายสารถี เรามิได้เป็นคนหนวก มิได้เป็นคนใบ้ มิได้เป็นง่อยเปลี้ย
                          มิได้มีอินทรีย์วิกลการ ถ้าท่านพึงฝังเราในป่า ท่านก็ชื่อว่าพึงกระทำสิ่งที่
                          ไม่เป็นธรรม เชิญท่านดูขาและแขนของเรา และเชิญฟังคำภาษิตของเรา
                          ถ้าท่านพึงฝังเราเสียในป่า ท่านก็ชื่อว่าพึงกระทำสิ่งที่ไม่เป็นธรรม.
             [๓๙๙]    ท่านเป็นเทวดา เป็นคนธรรพ์ หรือเป็นท้าวสักกปุรินททะ ท่านเป็นใคร
                          หรือว่าเป็นบุตรของใคร เราทั้งหลายจะรู้จักท่านอย่างไร.
             [๔๐๐]    เราไม่ใช่เป็นเทวดา ไม่ใช่เป็นคนธรรพ์ ไม่ใช่เป็นท้าวสักกปุรินททะ
                          เราเป็นโอรสของพระเจ้ากาสีผู้ที่ท่านอาศัยบารมีเลี้ยงชีพอยู่ ดูกรนายสารถี
                          ถ้าท่านพึงฝังเราเสียในป่า ท่านก็ชื่อว่าพึงกระทำสิ่งที่ไม่เป็นธรรม บุคคล
                          พึงนั่งหรือนอนที่ร่มเงาต้นไม้ใด ไม่พึงหักรานกิ่งต้นไม้นั้น  เพราะว่า
                          ผู้ประทุษร้ายมิตร เป็นคนเลวทราม พระราชาเป็นเหมือนต้นไม้ เราเป็น
                          เหมือนกิ่งไม้  ท่านสารถีเป็นเหมือนคนอาศัยร่มเงา ดูกรนายสารถี
                          ถ้าท่านพึงฝังเราเสียในป่า ท่านก็ชื่อว่าพึงกระทำซึ่งสิ่งที่ไม่เป็นธรรม.
             [๔๐๑]    ผู้ใดไม่ประทุษร้ายมิตร  ออกจากเรือนของตน ไปในที่ไหนๆ ย่อมมี
                          อาหารมากมาย คนเป็นอันมากย่อมอาศัยผู้นั้นเป็นอยู่ ผู้ใดไม่ประทุษร้าย
                          มิตร ผู้นั้นไปยังชนบท นิคม ราชธานีใดๆ ย่อมเป็นผู้อันชนทั้งหลาย
                          ในชนบท นิคม ราชธานีนั้นๆ บูชา ผู้ใดไม่ประทุษร้ายมิตร ผู้นั้นโจร
                          ทั้งหลายไม่ข่มเหง พระมหากษัตริย์ ก็ไม่ทรงดูหมิ่น  และผู้นั้นย่อมข้าม
                          พ้นศัตรูทั้งปวงได้ ผู้ใดไม่ประทุษร้ายมิตร ผู้นั้นไม่ได้โกรธเคืองใครๆ
                          มายังเรือนของตน  ย่อมเป็นผู้อันมหาชนยินดีต้อนรับในสภา  ทั้งเป็น
                          ผู้สูงสุดในหมู่ญาติ ผู้ใดไม่ประทุษร้ายมิตร ผู้นั้นสักการะคนอื่นแล้ว
                          ย่อมเป็นผู้อันคนอื่นสักการะตอบ เคารพคนอื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้อันคนอื่น
                          เคารพตอบ ทั้งเป็นผู้อันบุคคลกล่าวสรรเสริญเกียรติคุณ ผู้ใดไม่ประทุษ
                          ร้ายมิตร บูชาผู้อื่น  ย่อมได้บูชาตอบ  ไหว้ผู้อื่น ย่อมได้ไหว้ตอบ
                          ทั้งย่อมถึงอิสริยยศและเกียรติยศ  ผู้ใดไม่ประทุษร้ายมิตร ผู้นั้นย่อม
                          รุ่งเรืองเหมือนกองไฟ ย่อมไพโรจน์เหมือนเทวดา เป็นผู้อันสิริไม่ละแล้ว
                          ผู้ใดไม่ประทุษร้ายมิตร  โคของผู้นั้นย่อมเกิดมากมูล พืชในนาย่อม
                          งอกงาม ผู้นั้นย่อมได้บริโภคผลที่หว่านลงแล้ว นรชนใดไม่ประทุษร้าย
                          มิตร นรชนนั้น พลาดจากภูเขา หรือพลาดตกจากต้นไม้ ย่อมได้ที่พึ่ง
                          ผู้ใดไม่ประทุษร้ายมิตร  ศัตรูทั้งหลายย่อมไม่ข่มขี่ผู้นั้น เหมือนต้นไทร
                          ที่มีรากหยั่งลงมั่นแล้ว ลมประทุษร้ายไม่ได้ฉะนั้น.
             [๔๐๒]    ข้าแต่พระราชโอรส เชิญเสด็จเถิด เกล้ากระหม่อม จักนำพระองค์
                          เสด็จกลับยังพระราชมณเฑียร เชิญพระองค์เสวยราชสมบัติ พระองค์
                          จงทรงพระเจริญ  จะทรงหาประโยชน์อะไรอยู่ในป่าเล่า.
             [๔๐๓]    ดูกรนายสารถี เราไม่ต้องการด้วยราชสมบัติ พระประยูรญาติ หรือทรัพย์
                          สมบัติ ที่เราจะพึงได้ด้วยการประพฤติธรรม.
             [๔๐๔]    ข้าแต่พระราชโอรส  พระองค์เสด็จกลับจากที่นี้แล้ว  จะทำให้เกล้า-
                          กระหม่อมได้รางวัลที่น่ายินดี เมื่อพระองค์เสด็จกลับแล้ว พระชนกและ
                          พระชนนีพึงพระราชทานรางวัลแก่เกล้ากระหม่อม ข้าแต่พระราชโอรส
                          เมื่อพระองค์เสด็จกลับแล้ว นางสนม พวกกุมาร พ่อค้า และพวก
                          พราหมณ์ จะพึงดีใจ ให้รางวัลแก่เกล้ากระหม่อม ข้าแต่พระราชโอรส
                          เมื่อพระองค์เสด็จกลับแล้ว  กองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ และ
                          กองพลราบ จะพึงดีใจให้รางวัล แก่เกล้ากระหม่อม ข้าแต่พระราชโอรส
                          เมื่อพระองค์เสด็จกลับแล้ว ชาวชนบท และชาวนิคม  ผู้มีธัญญาหาร
                          มากมาย จะมาประชุมกันให้เครื่องบรรณาการแก่เกล้ากระหม่อม.
             [๔๐๕]    เราเป็นผู้อันพระชนกและพระชนนี  ชาวแว่นแคว้น ชาวนิคม และ
                          กุมารทั้งปวงสละแล้ว เราไม่มีเรือนของตน เราอันพระชนนีทรงอนุญาต
                          แล้ว และพระชนกก็ทรงยินดี สละอยู่ในป่าแต่ผู้เดียว ไม่พึงปรารถนา
                          กามทั้งหลาย เราจะบวช.
             [๔๐๖]    ความปรารถนาผลของบุคคลผู้ไม่รีบร้อน ย่อมสำเร็จแน่นอน เราเป็น
                          ผู้มีพรหมจรรย์อันสำเร็จแล้ว ดูกรนายสารถี ท่านจงรู้อย่างนี้ ประโยชน์
                          โดยชอบของบุคคลผู้ไม่รีบร้อน ย่อมสำเร็จโดยแท้ เราเป็นผู้มีพรหมจรรย์
                          อันสำเร็จแล้ว เราออกบวชแล้ว เป็นผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ.
             [๔๐๗]    พระองค์เป็นผู้มีพระวาจาอันไพเราะ สละสลวยอย่างนี้ เพราะเหตุไร
                          พระองค์จึงไม่ตรัสในสำนักพระชนกและพระชนนีในกาลนั้น.
             [๔๐๘]    เราเป็นคนง่อยเปลี้ยเพราะไม่มีเครื่องต่อก็หาไม่  เป็นคนหนวกเพราะ
                          ไม่มีช่องหูก็หาไม่  เป็นคนใบ้เพราะไม่มีลิ้นก็หาไม่ ท่านอย่าเข้าใจว่า
                          เราเป็นใบ้  เราระลึกชาติก่อนที่เราเสวยราชสมบัติได้ เราได้เสวย
                          ราชสมบัติในกาลนั้นแล้ว ต้องไปตกนรกอันกล้าแข็ง  เราได้เสวย
                          ราชสมบัติในกาลนั้นยี่สิบปีแล้วต้องหมกไหม้อยู่ในนรก ๘๐,๐๐๐ ปี เรา
                          กลัวจะต้องเสวยราชสมบัตินั้น  จึงตั้งจิตอธิษฐานว่า ขอชนทั้งหลาย
                          อย่าได้อภิเษกเราในราชสมบัติเลย เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่พูดในสำนัก
                          ของพระชนก และพระชนนีในกาลนั้น พระชนกทรงอุ้มเรา  ให้นั่ง
                          บนพระเพลา แล้วตรัสสั่งข้อความว่า  จงฆ่าโจรคนหนึ่ง จงขังโจร
                          คนหนึ่งไว้ในเรือนจำ จงเอาหอกแทงโจรคนหนึ่ง  แล้วราดด้วยน้ำแสบ
                          ที่แผล จงเสียบโจรคนหนึ่งบนหลาว พระชนกตรัสสั่งข้อความแก่มหาชน
                          ด้วยประการดังนี้ เราได้ฟังพระวาจาอันหยาบคาย ที่พระชนกตรัสนั้น จึง
                          กลัวต่อการเสวยราชสมบัติ เรามิได้เป็นใบ้ ก็ทำเหมือนเป็นใบ้ มิได้เป็น
                          คนง่อยเปลี้ย ก็ทำเหมือนเป็นคนง่อยเปลี้ย  เราแกล้งนอนเกลือกกลิ้งอยู่
                          ในอุจจาระปัสสาวะของตน  ชีวิตเป็นของฝืดเคือง เป็นของน้อย
                          ทั้งประกอบไปด้วยทุกข์ ใครเล่าอาศัยชีวิตนี้แล้ว พึงก่อเวรกับใครๆ ใคร
                          เล่าได้อาศัยชีวิตนี้แล้ว พึงก่อเวรกับใครๆ เพราะไม่ได้ปัญญา และเพราะ
                          ไม่เห็นธรรม ความหวังผลของบุคคลผู้ไม่รีบร้อน ย่อมสำเร็จแน่นอน
                          เราเป็นผู้มีพรหมจรรย์อันสำเร็จแล้ว  ดูกรนายสารถี  ท่านจงรู้อย่างนี้
                          ประโยชน์โดยชอบของบุคคลผู้ไม่รีบร้อน ย่อมสำเร็จโดยแท้ เราเป็นผู้
                          มีพรหมจรรย์อันสำเร็จแล้ว  เราออกบวชแล้วเป็นผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ.
             [๔๐๙]    ข้าแต่พระราชโอรส แม้เกล้ากระหม่อม ก็จักบวชในสำนักของพระองค์
                          ขอพระองค์ได้โปรดตรัสอนุญาตให้เกล้ากระหม่อมบวชด้วยเถิด ขอพระ
                          องค์จงทรงพระเจริญ เกล้ากระหม่อมก็ชอบบวช.
             [๔๑๐]    ดูกรนายสารถี เรามอบรถให้ท่านไว้ ท่านจงเป็นผู้ไม่มีหนี้มา จริงอยู่
                          การบรรพชา ของบุคคลผู้ไม่มีหนี้ ท่านผู้แสวงหาทั้งหลายสรรเสริญ.
             [๔๑๑]    ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ เมื่อใด เกล้ากระหม่อมได้ทำตามพระดำรัส
                          ของพระองค์แล้ว เมื่อนั้น เกล้ากระหม่อมทูลวิงวอนแล้ว ขอพระองค์
                          ได้ทรงโปรดกระทำตามคำของเกล้ากระหม่อม  ขอพระองค์จงประทับรอ
                          อยู่ ณ ที่นี้จนกว่าเกล้ากระหม่อมจะเชิญเสด็จพระราชามา เมื่อพระชนก
                          ของพระองค์ ทอดพระเนตรเห็นแล้ว จะพึงทรงมีพระปีติโสมนัสเป็นแน่.
             [๔๑๒]    ดูกรนายสารถี เราจะทำตามคำที่ท่านกล่าวกะเรา แม้เราก็ปรารถนาจะได้
                          เห็นพระชนกของเราเสด็จมา ณ ที่นี้ เชิญท่านกลับไปเถิด ท่านได้ทูล
                          พระประยูรญาติด้วยก็เป็นความดี ท่านเป็นผู้อันเราสั่งแล้ว พึงกราบทูล
                          ถวายบังคมพระชนนีและพระชนกของเรา.
             [๔๑๓]    นายสารถีจับพระบาทของพระโพธิสัตว์ และกระทำประทักษิณแล้ว ขึ้น
                          รถบ่ายหน้าเข้าไป ยังพระทวารพระราชวัง.
             [๔๑๔]    พระราชชนนีทอดพระเนตรเห็นรถเปล่า  นายสารถีกลับมาแต่ผู้เดียว
                          ทรงกรรแสง มีพระเนตรชุ่มด้วยน้ำอัสสุชล ทอดพระเนตรดูนายสารถี
                          นั้นอยู่ ทรงเข้าพระทัยว่านายสารถีฝังลูกของเราเสร็จแล้วกลับมา ลูก
                          ของเราอันนายสารถีฝังในแผ่นดิน ถมแผ่นดินแล้วเป็นแน่ ศัตรูทั้งหลาย
                          ย่อมพากันยินดี  คนมีเวรทั้งหลายย่อมพากันอิ่มใจแน่แท้ เพราะเห็นนาย
                          สารถีกลับมา เพราะนายสารถีฝังลูกของเรา พระราชชนนีทอดพระเนตร
                          เห็นรถเปล่า  และนายสารถีกลับมาแต่ผู้เดียว จึงทรงกรรแสง มีพระเนตร
                          ชุ่มด้วยน้ำอัสสุชล  ตรัสถามนายสารถีระร่ำระรักว่า ลูกของเราเป็นใบ้
                          หรือ เป็นง่อยเปลี้ยจริงหรือ ลูกของเราขณะเมื่อท่านจะฝังในแผ่นดิน พูด
                          อะไรบ้างหรือเปล่า  ดูกรนายสารถี ขอได้บอกเนื้อความนั้นแก่เราเถิด ลูก
                          ของเราเป็นใบ้ ง่อยเปลี้ย  เมื่อท่านจะฝังลงแผ่นดิน กระดิกมือและเท้า
                          อย่างไร เราถามแล้ว ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่เรา.
             [๔๑๕]    ขอเดชะพระแม่เจ้า ขอได้โปรดพระราชทานอภัยแก่ข้าพระพุทธเจ้า ข้า-
                          พระพุทธเจ้าขอกราบทูลตามที่ได้ยินและได้เห็นมา ในสำนักพระราชโอรส.
             [๔๑๖]    ดูกรนายสารถีผู้สหาย เราให้อภัยแก่ท่าน อย่ากลัวเลย  จงพูดไปเถิด
                          ตามที่ท่านได้ฟัง หรือได้เห็นมาในสำนักพระราชโอรส.
             [๔๑๗]    พระราชโอรสนั้น มิได้ทรงเป็นใบ้ มิได้เป็นง่อยเปลี้ย มีพระวาจาสละ-
                          สลวย ทราบว่า พระองค์ทรงกลัวต่อการครองราชสมบัติ จึงได้ทรง
                          กระทำการลวงเป็นอันมาก พระองค์ทรงระลึกถึงชาติก่อนที่พระองค์ได้
                          เสวยราชสมบัติได้ พระองค์ได้เสวยราชสมบัติในกาลนั้นแล้ว  ต้องไป
                          ตกนรกอันกล้าแข็ง  พระองค์ได้เสวยราชสมบัติในกาลนั้น ๒๐ ปี   แล้ว
                          ต้องหมกไหม้อยู่ในนรก ๘๐๐๐๐  ปี พระองค์ทรงกลัวจะต้องเสวยราช-
                          สมบัตินั้น จึงทรงตั้งจิตอธิษฐานว่า ขอชนทั้งหลายอย่าอภิเษกเราใน
                          ราชสมบัติเลย เพราะฉะนั้น พระองค์จึงไม่ตรัสในราชสำนัก ของ
                          พระชนกและพระชนนีในกาลนั้น พระราชโอรสทรงสมบูรณ์ด้วยอังคา-
                          พยพ มีพระรูปสมบัติงดงามสมส่วน มีพระวาจาสละสลวย  มีพระ
                          ปัญญาเฉียบแหลม ทรงสถิตอยู่ในทางสวรรค์ ถ้าพระแม่เจ้าทรงปรารถนา
                          พระราชโอรสของพระองค์ ข้าพระพุทธเจ้าขอทูลเชิญเสด็จพระแม่เจ้า
                          เสด็จไปให้ถึงสถานที่ ซึ่งพระเตมีย์ราชโอรสประทับอยู่เถิด พระพุทธ-
                          เจ้าข้า.
             [๔๑๘]    เจ้าหน้าที่ทั้งหลายจงเทียมรถ จงเทียมม้า จงผูกเครื่องประดับช้าง จง
                          กระทั่งสังข์และบัณเฑาะว์ จงตีกลองหน้าเดียว  จงตีกลองสองหน้า
                          และรำมะนาอันไพเราะ  ขอชาวนิคม จงตามเรามา เราจักไปให้โอวาท
                          พระราชโอรส นางสนม พวกกุมาร  พวกพ่อค้า และพวกพราหมณ์
                          จงรีบตระเตรียมยาน เราจักไปให้โอวาทพระราชโอรส พวกกองพลช้าง
                          กองพลม้า กองพลรถและกองพลราบ จงรีบเทียมยาน เราจักไปให้
                          โอวาทพระราชโอรส ชาวชนบท และชาวนิคม จงมาพร้อมกัน จงรีบ
                          ตระเตรียมยาน เราจักไปให้โอวาทพระราชโอรส.
             [๔๑๙]    พวกสารถี จูงม้าที่เทียมรถและม้าสินธพ ซึ่งเป็นพาหนะว่องไว  มายัง
                          ประตูพระราชวัง  แล้วกราบทูลว่า ม้าทั้งสองนี้เทียมไว้เสร็จแล้วพระเจ้าข้า.
             [๔๒๐]    ม้าอ้วนไม่มีความว่องไว ม้าผอมไม่มีเรี่ยวแรง จงเว้นม้าผอมและม้า
                          อ้วนเสีย เลือกเทียมแต่ม้าที่สมบูรณ์.
             [๔๒๑]    ลำดับนั้น พระราชารีบเสด็จขึ้นประทับสินธพ อันเทียมแล้ว ได้ตรัส
                          กับนางชาววังว่า จงตามเรามาทุกคน พระราชาตรัสสั่งว่า จงตระเตรียม
                          เครื่องปัญจราชกกุธภัณฑ์ คือ พัดวาลวีชนี อุณหิส พระขรรค์ เศวต-
                          ฉัตร และฉลองพระบาททอง ให้ขนขึ้นรถไปด้วย ลำดับนั้นแล พระ
                          ราชาตรัสสั่งให้นายสารถีนำทางเสด็จเคลื่อนขบวนเข้าไปถึงสถานที่ ที่
                          พระเตมีย์ ราชฤาษีประทับอยู่โดยพลัน.
             [๔๒๒]    ส่วนพระเตมีย์ราชฤาษี  ทอดพระเนตรเห็นพระชนกนาถกำลังเสด็จมา
                          ทรงรุ่งเรืองด้วยพระเดชานุภาพ ทรงแวดล้อมด้วยหมู่อำมาตย์  จึงถวาย
                          พระพรว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร ทรงปราศจากพระโรคาพาธหรือ ทรง
                          พระสำราญดีหรือ ราชกัญญาทั้งปวง และโยมพระมารดาของอาตมภาพ
                          ไม่มีพระโรคพาธหรือ.
             [๔๒๓]    ดูกรพระลูกรัก ดิฉันไม่มีโรคาพาธ สุขสำราญดี พระราชกัญญาทั้งปวง
                          และโยมพระมารดาของพระลูกรักไม่มีโรคาพาธ.
             [๔๒๔]    ขอถวายพระพร มหาบพิตรไม่เสวยน้ำจัณฑ์ หรือ ไม่ทรงโปรดปราน
                          น้ำจัณฑ์หรือ พระหฤทัยของมหาบพิตรทรงยินดีในสัจจะ ในธรรม
                          และในทานหรือ.
             [๔๒๕]    ดูกรพระลูกรัก ดิฉันไม่ดื่มน้ำจัณฑ์ ไม่โปรดปรานน้ำจัณฑ์ ใจของดิฉัน
                          ยินดีในสัจจะ ในธรรมและในทาน.
             [๔๒๖]    ขอถวายพระพร พาหนะมีม้าเป็นต้นของมหาบพิตรที่เขาเทียมแล้วไม่มี
                          โรคหรือ นำอะไรๆ ไปได้หรือ มหาบพิตรไม่มีพยาธิที่เข้าไปแผดเผาพระ
                          สรีระแลหรือ.
             [๔๒๗]    ดูกรพระลูกรัก พาหนะมีม้าเป็นต้นของดิฉันที่เทียมแล้ว ไม่มีโรค นำ
                          อะไรๆ ไปได้ ดิฉันไม่มีพยาธิเข้าไปแผดเผาสรีระ.
             [๔๒๘]    ขอถวายพระพร ปัจจันตชนบทของมหาบพิตรยังเจริญดีอยู่หรือ คาม-
                          นิคมในท่ามกลางรัฐสีมาของมหาบพิตรยังแน่นหนาดีหรือ ฉางหลวง
                          และท้องพระคลังของมหาบพิตรยังบริบูรณ์ดีอยู่หรือ.
             [๔๒๙]    ดูกรพระลูกรัก  ปัจจันตชนบทของดิฉันยังเจริญดีอยู่ คามนิคมในท่าม
                          กลางรัฐสีมาของดิฉันยังแน่นหนาดี  ฉางหลวงและท้องพระคลังของ
                          ดิฉันทั้งหมดยังบริบูรณ์ดี.
             [๔๓๐]    ขอถวายพระพร มหาบพิตรเสด็จมาดีแล้ว  มหาบพิตรเสด็จไม่ร้าย ขอ
                          ราชบุรุษทั้งหลายจงจัดตั้งบัลลังก์ถวายให้พระราชาประทับเถิด.
             [๔๓๑]    ขอเชิญประทับนั่ง ณ เครื่องลาดใบไม้ที่เขาปูลาดไว้ถวายมหาบพิตร ณ
                          ที่นี้ จงทรงตักน้ำจากภาชนะนี้ล้างพระบาทของมหาบพิตรเถิด.
             [๔๓๒]    ขอถวายพระพร ใบหมากเม่าของอาตมภาพนี้เป็นของสุก (นึ่งแล้ว) ไม่
                          มีรสเค็ม  มหาบพิตรผู้เป็นแขกของอาตมภาพเสด็จมาถึงแล้วเชิญเสวย
                          เถิด ขอถวายพระพร.
             [๔๓๓]    ดิฉันไม่บริโภคใบหมากเม่า ใบหมากเม่านี้ไม่ใช่อาหารสำหรับดิฉัน ดิฉัน
                          บริโภคข้าวสุกแห่งข้าวสาลี ซึ่งปรุงด้วยมังสะอันสะอาด.
             [๔๓๔]    ความอัศจรรย์ย่อมแจ่มแจ้งกะดิฉัน เพราะได้เห็นพระลูกรักอยู่ในที่ลับแต่
                          ผู้เดียว บริโภคอาหารเช่นนี้ เหตุไรผิวพรรณ (ของผู้บริโภคอาหารเช่นนี้)
                          จึงผ่องใส.
             [๔๓๕]    ขอถวายพระพร อาตมภาพนอนผู้เดียวบนเครื่องลาดใบไม้ที่ปูลาดไว้แล้ว
                          เพราะการนอนผู้เดียวนั้น ผิวพรรณของอาตมภาพจึงผ่องใส ใครๆ มิได้
                          ตั้งการรักษาทางราชการที่ต้องผูกเหน็บดาบสำหรับอาตมภาพ  เพราะการ
                          นอนผู้เดียวนั้นผิวพรรณของอาตมภาพจึงผ่องใส ขอถวายพระพร อาตม-
                          ภาพไม่ได้เศร้าโศกถึงอารมณ์ที่ล่วงไปแล้ว ไม่ปรารถนาอารมณ์ที่ยังไม่มา
                          ถึง  ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เพราะเหตุนั้น ผิว
                          พรรณของอาตมภาพจึงผ่องใส  คนพาลทั้งหลายย่อมเหือดแห้ง เพราะ
                          ปรารถนาอารมณ์ที่ยังไม่มาถึง  เพราะเศร้าโศกถึงอารมณ์ที่ล่วงไปแล้ว
                          เปรียบเหมือนไม้อ้ออันเขียวสด ถูกถอนขึ้นทิ้งไว้ที่แดด ฉะนั้น.
             [๔๓๖]    ดูกรพระลูกรัก ดิฉันขอมอบกองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ กอง
                          พลราบ กองโล่ห์และพระราชนิเวศน์อันเป็นสถานที่รื่นรมย์แก่พระลูกรัก
                          ดิฉันขอมอบนางสนมกำนัลผู้ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง  ขอ
                          พระลูกรักจงปกครองนางสนมกำนัลเหล่านั้น  จงเป็นพระราชาของดิฉัน
                          ทั้งหลาย  หญิง ๔ คน เป็นผู้ฉลาดในการฟ้อนรำและการขับร้อง ศึกษา
                          ดีแล้วในหน้าที่ของหญิง จักยังพระลูกรักให้รื่นรมย์ในกาม พระลูกรัก
                          จักทำประโยชน์อะไรในป่า  ดิฉันจักนำราชกัญญาจากพระราชาเหล่าอื่นผู้
                          ประดับประดาดีแล้ว  พระลูกรักให้พระโอรสเกิดในหญิงเหล่านั้นหลาย
                          คนแล้วภายหลังจึงบวชเถิด พระลูกเจ้ายังทรงพระเยาว์หนุ่มแน่น ตั้งอยู่
                          ในปฐมวัย พระเกศายังดำสนิท จงเสวยราชสมบัติก่อนเถิด พระลูก
                          เจ้าจงทรงพระเจริญ จักกระทำประโยชน์อะไรในป่า.
             [๔๓๗]    ขอถวายพระพร คนหนุ่มควรประพฤติพรหมจรรย์ ผู้ประพฤติพรหมจรรย์
                          ควรจะเป็นคนหนุ่ม เพราะว่าการบวชของคนหนุ่ม ท่านผู้แสวงหาคุณ-
                          ธรรมมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นสรรเสริญคนหนุ่มควรประพฤติพรหมจรรย์ ผู้
                          ประพฤติพรหมจรรย์ควรจะเป็นคนหนุ่ม อาตมภาพจักประพฤติพรหม-
                          จรรย์ อาตมภาพไม่ต้องการด้วยราชสมบัติ อาตมภาพเห็นเด็กชายของ
                          ท่านทั้งหลาย ผู้เรียกมารดาบิดา ซึ่งเป็นบุตรที่รักอันได้มาด้วยยากยิ่งนัก
                          ยังไม่ทันถึงแก่ก็ตายเสียแล้ว  อาตมภาพเห็นเด็กหญิงของท่านทั้งหลาย
                          ซึ่งสวยสดงดงามน่าดูน่าชม มีอันสิ้นไปแห่งชีวิตเหมือนหน่อไม้ไผ่ที่ถูก
                          ถอน ฉะนั้น จริงอยู่ จะเป็นชายหรือหญิงก็ตามแม้จะยังหนุ่มสาวก็ตาย
                          เพราะเหตุนั้น ใครเล่าจะพึงวางใจในชีวิตนั้นว่า  เรายังเป็นหนุ่มสาว
                          อายุของคนเป็นของน้อยนัก เพราะวันคืนล่วงไปๆ เปรียบเหมือนอายุ
                          ของฝูงปลาในน้ำน้อย  ความเป็นหนุ่มสาวในวัยนั้นจักทำอะไรได้
                          สัตว์โลกถูกครอบงำและถูกห้อมล้อมอยู่เป็นนิตย์  เมื่อสิ่งที่ไม่เป็น
                          ประโยชน์เป็นไปอยู่ มหาบพิตรจะอภิเษกอาตมภาพในราชสมบัติทำไม.
             [๔๓๘]    สัตว์โลกอันอะไรครอบงำไว้ และอันอะไรห้อมล้อมไว้ อะไรชื่อว่าสิ่ง
                          ไม่เป็นประโยชน์เป็นไปอยู่ ดิฉันถามแล้ว  ขอพระลูกเจ้าจงบอกข้อนั้น
                          แก่ดิฉัน.
             [๔๓๙]    สัตว์โลกอันความตายครอบงำไว้ อันความแก่ห้อมล้อมไว้ วันคืนชื่อว่าสิ่ง
                          ไม่เป็นประโยชน์เป็นไป มหาบพิตรจงทรงทราบอย่างนี้ ขอถวายพระพร
                          เมื่อด้ายที่เขากำลังทอ ช่างหูกทอไปได้เท่าใด ส่วนที่จะต้องทอก็ยัง
                          เหลืออยู่น้อยเท่านั้น แม้ฉันใด ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้น แม้น้ำ
                          ที่เต็มฝั่งย่อมไม่ไหลไปสู่ที่สูง ฉันใด อายุของมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมไม่
                          กลับมาสู่ความเป็นเด็กอีก ฉันนั้น แม่น้ำที่เต็มฝั่ง ย่อมพัดพาเอาต้นไม้
                          ที่เกิดอยู่ริมฝั่งให้หักโค่นไป ฉันใด สัตว์ทั้งปวงย่อมถูกชราและมรณะพัด
                          พาไป ฉันนั้น.
             [๔๔๐]    ดูกรพระลูกรัก ดิฉันขอมอบกองพลช้าง กองพลม้า กองพลรถ กอง
                          พลราบ กองพลโล่ห์ และพระราชนิเวศน์อันเป็นสถานที่รื่นรมย์แก่พระ
                          ลูกรัก ดิฉันขอมอบนางสนมกำนัลผู้ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง
                          ขอพระลูกจงปกครองนางสนมกำนัลเหล่านั้น  จงเป็นพระราชาของดิฉัน
                          ทั้งหลาย  หญิง ๔ คน เป็นผู้ฉลาดในการฟ้อนรำและการขับร้อง ศึกษา
                          ดีแล้วในหน้าที่ของหญิง จักยังพระลูกรักให้รื่นรมย์ในกาม พระลูกรัก
                          จักทำประโยชน์อะไรในป่า  ดิฉันจักนำราชกัญญาจากพระราชาเหล่าอื่น ผู้
                          ประดับประดาดีแล้ว  มาให้แก่พระลูก  พระลูกรักให้พระโอรสเกิดใน
                          หญิงเหล่านั้นหลายคนแล้ว ภายหลังจึงบวชเถิด พระลูกเจ้ายังทรงพระ-
                          เยาว์หนุ่มแน่น ตั้งอยู่ในปฐมวัยพระเกศายังดำสนิท จงเสวยราชสมบัติ
                          ก่อนเถิด พระลูกเจ้าจงทรงพระเจริญ จักกระทำประโยชน์อะไรในป่า ดูกร
                          พระลูกรัก ดิฉันขอมอบฉางหลวง พระคลัง  พาหนะ พลนิกายและนิเวศน์
                          อันน่ารื่นรมย์ แก่พระลูกรัก พระลูกรักจงแวดล้อมด้วยราชกัญญาอันงด
                          งามเป็นมณฑล จงห้อมล้อมด้วยหมู่นางทาสี เสวยราชสมบัติก่อนเถิด
                          พระลูกรักจงทรงพระเจริญ จักกระทำประโยชน์อะไรในป่า.

           
159  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / อานาปานสติ สโตริกาญาณที่ 2 หายใจเข้ายาว หายใจออกยาว เมื่อ: มีนาคม 07, 2011, 09:10:37 am
[๓๙๐] ภิกษุเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ว่า หายใจเข้ายาว อย่างไร ฯ

     ๑. ภิกษุเมื่อหายใจออกยาว ย่อมหายใจออกในขณะที่นับยาว      ( คณนา การนับลมหายใจ )

     ๒.เมื่อหายใจเข้ายาว ย่อม หายใจเข้าในขณะที่นับยาว

     ๓.เมื่อหายใจออก หายใจเข้ายาว ย่อมหายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับยาว ฉันทะย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้เมื่อหายใจออกหายใจเข้ายาว หายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างใขณะที่นับยาว

     ๔.เมื่อหายใจออก  ยาวละเอียดกว่านั้น   ด้วยสามารถฉันทะ          ( ความพอใจในผลสมาธิ )

     ๕.ย่อมหายใจออกในขณะที่นับยาว นั้นด้วยสามารถฉันทะ

     ๖.เมื่อหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้น     ด้วยสามารถฉันทะ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับยาว  เมื่อหายใจออกหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ

     ๗.ย่อมหายใจออกบ้าง    หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับยาว   ความปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ   เมื่อหายใจออกหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถฉันทะ  หายใจออกบ้าง    หายใจเข้าบ้างในขณะ ที่นับยาว   เมื่อหายใจออกยาวละเอียดกว่า    นั้นด้วยสามารถ ความปราโมทย์ ย่อมหายใจออกในขณะที่นับยาว เมื่อหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับยาว

     ๘.เมื่อหายใจออกหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์

     ๙.ย่อมหายใจออกบ้างหายใจเข้าบ้างในขณะที่นับยาว จิตของภิกษุผู้เมื่อหายใจออกหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้นด้วยสามารถความปราโมทย์ หายใจออกบ้าง หายใจเข้าบ้างในขณะที่นับยาว ย่อมหลีกออกจากการหายใจออกหายใจเข้ายาว อุเบกขาย่อมตั้งอยู่
 
    กายคือ ลมหายใจออกลมหายใจเข้ายาว

     ด้วยอาการ ๙ อย่างนี้ ย่อมปรากฏ สติเป็นอนุปัสนาญาณ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้นท่านจึงกล่าวว่าสติปัฏฐานภาวนา คือ การพิจารณาเห็นกายในกาย ฯ

        [๓๙๑] คำว่า อนุปสฺสติ ความว่า ภิกษุพิจารณากายนั้นอย่างไร ฯ
 
        พิจารณาโดยความไม่เที่ยง ไม่พิจารณาโดยความเที่ยง

        พิจารณาโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาโดยความเป็นสุข

        พิจารณาโดยความเป็นอนัตตาไม่พิจารณาโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัดไม่กำหนัด ย่อมให้ราคะดับไป ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ
 
        เมื่อพิจารณาโดยความไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้

        เมื่อพิจารณาโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้
 
        เมื่อพิจารณาโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้
 
        เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อให้ราคะดับ  ย่อมละสมุทัยได้
 
        เมื่อสละคืนย่อมละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณากายนั้นอย่างนี้
160  ธรรมะสาระ / ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด / อานาปานสติ เมื่อ: มีนาคม 03, 2011, 03:13:49 pm
ดาวน์โหลดเสียงอ่านพระสูตรได้ที่นี่

http://board.palungjit.com/attachment.php?attachmentid=741622&d=1257061073


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

๘. อานาปานสติสูตร (๑๑๘)

-------------------------------

[๒๘๒]ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัย หนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขามิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี พร้อมด้วยพระสาวกผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นมากรูปด้วยกัน เช่น ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสป ท่านพระมหากัจจายนะ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ท่านพระมหากปิณะ ท่านพระมหาจุนทะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ และพระสาวกผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นอื่นๆ ก็สมัยนั้นแล พระเถระทั้งหลายพากันโอวาทพร่ำสอนพวกภิกษุอยู่ คือ พระเถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๒๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๓๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๔๐ รูปบ้าง ฝ่ายภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระโอวาทพร่ำสอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน ฯ


[๒๘๓]ก็ สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ทั้งเป็นวันปวารณาด้วย ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราปรารภในปฏิปทานี้เรามีจิตยินดีในปฏิปทานี้ เพราะฉะนั้นแล พวกเธอจงปรารภความเพียร เพื่อถึงคุณที่ตนยังไม่ถึง เพื่อบรรลุคุณที่ตนยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งคุณที่ตนยังไม่ทำให้แจ้ง โดยยิ่งกว่าประมาณเถิด เราจักรออยู่ในเมืองสาวัตถีนี้แล จนถึงวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท๑-พวกภิกษุชาวชนบททราบ ข่าวว่า พระผู้มีพระภาคจักรออยู่ในเมืองสาวัตถีนั้น จนถึงวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท จึงพากันหลั่งไหลมายังพระนครสาวัตถี เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาค ฝ่ายภิกษุผู้เถระเหล่านั้นก็พากันโอวาทพร่ำสอนภิกษุนวกะ เพิ่มประมาณขึ้น คือ ภิกษุผู้เถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๒๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๓๐ รูปบ้าง บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๔๐ รูปบ้าง และภิกษุนวกะเหล่านั้น อันภิกษุผู้เถระโอวาทพร่ำสอนอยู่ ย่อมรู้ชัดธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าที่ตนรู้มาก่อน ฯ


[๒๘๔]ก็ สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ เป็นวันครบ ๔ เดือนแห่งฤดูฝน เป็นที่บานแห่งดอกโกมุท วันนั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้ไม่คุยกัน บริษัทนี้เงียบเสียงคุย ดำรงอยู่ในสารธรรมอันบริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่ควรแก่การคำนับ ควรแก่การต้อนรับ ควรแก่ทักษิณาทาน ควรแก่การกระทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลกอย่างหาที่อื่นยิ่งกว่ามิได้ ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทที่เขาถวายของน้อย มีผลมาก และถวายของมาก มีผลมากยิ่งขึ้น ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัท อันชาวโลกยากที่จะได้พบเห็น ภิกษุสงฆ์นี้ บริษัทนี้เป็นเช่นเดียวกันกับบริษัทอันสมควรที่แม้คนผู้เอาเสบียงคล้องบ่า เดินทางไปชมนับเป็นโยชน์ๆ ฯ


[๒๘๕]ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นอุปปาติกะ เพราะสิ้นสัญโญชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้ง ๕ จะได้ปรินิพพานในโลกนั้นๆ มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดา แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระสกคาทามีเพราะสิ้นสัญโญชน์ ๓ อย่าง และเพราะทำราคะ โทสะ โมหะให้เบาบางมายังโลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุสงฆ์นี้ ก็มีอยู่ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ผู้เป็นพระโสดาบัน เพราะสิ้นสัญโญชน์ ๓ อย่าง มีอันไม่ตกอบายเป็นธรรมดา แน่นอนที่จะได้ตรัสรู้ในเบื้องหน้า แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญสติปัฏฐาน ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ


[๒๘๖]ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญสัมมัปปธาน ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญอิทธิบาท ๔ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญอินทรีย์ ๕ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญพละ ๕ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญโพชฌงค์ ๗ อยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ก็มีอยู่ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญเมตตาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญกรุณาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญมุทิตาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญอุเบกขาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญอสุภสัญญาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญอนิจจสัญญาอยู่ แม้ภิกษุเช่นนี้ในหมู่ภิกษุนี้ ก็มีอยู่ ฯ


[๒๘๗]ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญอานาปานสติอยู่ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ

[๒๘๘]ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไรทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัดหายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออกว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ


[๒๘๙]ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด เมื่อภิกษุหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้นหรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายมีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่งในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายมีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออกว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการใส่ใจลมหายใจออกลมหายใจเข้าเป็นอย่างดีนี้ ว่าเป็นเวทนาชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัวมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ


ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวอานาปานสติแก่ภิกษุผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่ เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้นภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ


ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้าสำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลายในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัสด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยได้ดี เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ


[๒๙๐]ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างไรทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผอเรอ ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสตสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นได้ด้วยปัญญา ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้าไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์สมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอันปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติ ปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิตตั้งมั่น ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุขย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้เป็นอย่างดี ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้นสติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ...

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ...

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียรรู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ในสมัยนั้น สติย่อมเป็นอันเธอผู้เข้าไปตั้งไว้แล้วไม่เผลอเรอ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด สติเป็นอันภิกษุเข้าไปตั้งไว้แล้ว ไม่เผอเรอ ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอเมื่อเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างนั้นอยู่ ย่อมค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์สมัยนั้น ธรรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ เมื่อเธอค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญาอยู่ ย่อมเป็นอันปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุค้นคว้า ไตร่ตรอง ถึงความพิจารณาธรรมนั้นด้วยปัญญา ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัยนั้น วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ สมัยนั้นวิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติปราศจากอามิสย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปีติปราศจากอามิสเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียรแล้ว ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ย่อมมีทั้งกายทั้งจิตระงับได้ ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ทั้งกายทั้งจิตของภิกษุผู้มีใจเกิดปีติ ระงับได้ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุข ย่อมมีจิตตั้งมั่น ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายระงับแล้ว มีความสุขย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้เป็นอย่างดี ฯ

ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเป็นผู้วางเฉยจิตที่ตั้งมั่นแล้วเช่นนั้นได้เป็นอย่างดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว สมัยนั้นภิกษุชื่อว่าย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ สมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญและความบริบูรณ์แก่ภิกษุ ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ


[๒๙๑]ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ อันน้อมไปเพื่อความปลดปล่อย ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

จบ อานาปานสติสูตร ที่ ๘


-----------------------------------------------------


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔บรรทัดที่ ๓๙๒๔ - ๔๑๘๑.หน้าที่๑๖๗ - ๑๗๗.


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=14&A=3924&Z=4181
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6